You are on page 1of 3

กลุ่มที่ : 8

ชื่อการทดลอง : การตรวจวัดค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ Dissolved Oxygen; (DO)


วิธีวิเคราะห์ : เอไซด์โมดิฟิเคชั่น (Azide Modification)
วันที่ทำการทดลอง : 25 มกราคม 2567 เวลา 13.06 น.
ชื่อผู้วิเคราะห์ : 1. นางสาวณัชชา ยังจิตร รหัสนักศึกษา 64201302013
2. นางสาวณัฐฐินันท์ พลยุทธ์ รหัสนักศึกษา 64201302014
3. นายธณภัทร ผลโอฐ รหัสนักศึกษา 64201302016
4. นางสาวสุดารัตน์ ทองชัย รหัสนักศึกษา 64201302046
อุปกรณ์/สารเคมีที่ใช้
- ขวดบีโอดี ขนาด 300 ml พร้อมจุกปิดสนิท
- ตู้อินคิวเบท
-Volumetric flask
-Burette
- ลูกยาง
-Pipette
-Cylinder
- สารละลายแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4)
- สารละลายอัลคาไล-ไอโอไดด์-เอไซด์ (AIA)
- กรดซัลฟิวริก
- น้ำแป้ง
- สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.025 นอร์มัล (Na2S2O3)
- ตัวอย่างน้ำผิวดิน (น้ำก๊อกหน้าฐานพระ)
- ขวดเก็บน้ำตัวอย่าง
ขั้นตอนการทดลอง
1. เติมสารละลายแมงกานีสซัลเฟต 1 มล.และสารละลายอัลคาไลด์–ไอโอไดด์–เอไซด์ 1 มล.ลงใน ตัวอย่าง
โดยให้ปลายปิเปตต์จุ่มอยู่ใต้ผิวน้ำ และไม่ไล่สารละลาย ปิดจุกระวังไม่ให้มีฟองอากาศ หลังจากนั้น เขย่า โดย
การคว่ำขวดน้ำตัวอย่าง ไปมา 15 ครั้ง (ใช้มือกดจุกขวดไว้ในระหว่างเขย่าน้ำตัวอย่าง) หลังจากเกิด ตะกอน ให้นำ
ตั้งทิ้งไว้ ให้ตะกอนตกลงสู่ก้นขวด จนมีน้ำใสอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนของปริมาตรขวด
2. หลังจากที่ตะกอนตกลงสู่ก้นขวดแล้วได้น้ำใสอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนของปริมาตรขวดแล้ว ให้นำ
ไป เติมกรดซัลฟิวริก 1 ml ในตู้ฮูด โดยปล่อยให้กรดค่อยๆ ไหลลงข้างคอขวด ปลายปิเปตต์อยู่เหนือ ผิวน้ำ หลังจาก
นั้นเขย่าให้เข้ากันโดยวิธีการคว่ำขวดไปมาเช่นเดิม จนตะกอนละลายหมด (เขย่าไม่เกิน 20 นาที) ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5
นาทีก่อนนำไปไตเตรท (ควรทำการไตเตรทภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง)
3. ระหว่างรอครบ 5 นาที เตรียมสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.025 นอร์มัล 20 ml ลงใน
Burette ให้พร้อมเพื่อทำการไตเตรท
4. จากตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้ว ให้ตวงสารละลายในขวดมา 201 ml ใส่ลงใน Volumetric
flask นำไปไตเตรทด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.025 นอร์มัล จนได้สีเหลืองอ่อนๆ (สีฟางข้าว) หลัง
จากนั้น เติมน้ำแป้งลงไป 1 ml เป็นอินดิเคเตอร์ เกิดเป็นสีน้ำเงิน และทำการไตเตรทต่อจนถึงจุดยุติ (สีน้ำเงินหายไป)
5. บักทึกค่าที่วิเคราะห์ได้ โดยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.025 นอร์มัล 1 ml จะเท่ากับ
ออกซิเจน 1 mg/l
ผลการทดลอง
การไทเทรตด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต (Na2S2O3) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ใน
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของ ปริมาณสารละลายโซเดียมไธโอ น้ำ(DO)
ตัวอย่างน้ำ ซัลเฟตที่ใช้ในการไทเทรต
(Na2S2O3)
จากสีน้ำตาลเป็ นสีฟางข้าว 5 ml. 7.8 mg/l
จากสีน้ำเงินเป็นไม่มีสี 2.8 ml.

การคำนวณ
ออกซิเจนละลายในน้ำ ,mg/l = ml ของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.025 นอร์มัล
ที่ใช้ Titrate จนถึงจุดยุติ
= 7.8 mg/l
ดังนั้น ออกซิเจนละลายน้ำ เท่ากับ 7.8 mg/l
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองการหาค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำหรือ DO โดยวิธีเอไซด์โมดิฟิเคชั่น
(Azide Modification) สรุปได้ว่าการทดลองตรวจวัดค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (DO) ของน้ำตัวอย่างที่
ก๊อกน้ำหน้าฐานพระ ครั้งนี้มีค่าเท่ากับ 7.8 มก./ลิตร เป็นน้ำที่มีคุณภาพดี ซึ่งมาตรฐานน้ำที่มีคุณภาพดี จะมี
ค่า DO ประมาณ 5 – 8 mg/L แสดงว่า เป็นแหล่งน้ำผิวดินที่เหมาะแก่การดำรงชีวิต การขยายพันธุ์และ
การ อนุรักษ์สัตว์น้ำ เนื่องจากมีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (DO) อยู่ในระดับมาตรฐานของแหล่งน้ำผิวดิน
ประเภทที่ 2 ซึ่งได้กำหนดค่า DO มีค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (DO) ไม่น้อยกว่า 6 มก./ลิตร ซึ่งถือว่าน้ำ ตัวอย่างมี
ค่า DO อยู่ในเกณฑ์

ภาพประกอบ

อ้างอิง
คู่มือการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.กรมควบคุม
มลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ค่ามาตรฐานของน้ำ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567,
จาก http://water.rid.go.th/wrd/const14/images/KL/KL3.pdf

You might also like