You are on page 1of 22

แบบรายงานผลปฏิบัติการที่ 8

เรื่อง Pressure Gauge Test


Sec 11 Group J
จัดทำโดย
นายธราเทพ ริมชัยสิทธิ์ รหัสนิสิต 6410505001
นายธีรเดช ต่อตระกูล รหัสนิสิต 6410505019
นายธีรพัฒน์ ศักดิ์ดีชุมพล รหัสนิสิต 6410505027
นายธีรภัทร จตุวิมล รหัสนิสิต 6410505035
นายนราวิชญ์ สุนทราจารย์ รหัสนิสิต 6410505043
นายปองพล ธนกฤติกาญจนา รหัสนิสิต 6410505051
นางสาวพรรณกาญจน์ พิภักดี รหัสนิสิต 6410505060
นางสาวพัชรพร บุญชุ่ม รหัสนิสิต 6410505078
เสนอ
รศ.ดร. ธัญญะ เกียรติวัฒน์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ปฏิบัติการวิศกรรมเครื่องกล I รหัสวิชา 01208381
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2566
วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์ 2 อย่างคือ
- เพื่อเรียนรู้หลักการของเครื่องวัดความดันและความสำคัญของการสอบเทียบ
- เพื่อเรียนรู้หลักการของ DWPGT
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure)


ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure) คือการวัดความดันเทียบกับภาวะสุญญากาศ สัญลักษณ์ที่ใช้คือ “a” หรือ
“abs” ซึ่งจะเขียนสัญลักษณ์นั้นไว้ต่อท้ายชื่อหน่วย เช่น barabs, Psia เป็นต้น ความดันสัมบูรณ์มีค่า เท่ากับ
101.325 kpa ที ่ ค วามดั น บรรยากาศ (1 atm) ค่ า ความดั น สั ม บู ร ณ์ จ ะใช้ ส ำหรั บ ในการคำนวณทาง
Thermodynamic เป็นส่วนใหญ่ เช่นการหา Boiler Efficiency เป็นต้น

ความดันเกจ (Gauge Pressure)


ความดันเกจ (Gauge Pressure) คือ ความดันที่วัดเทียบกับความดันของบรรยากาศ ถ้าต่ำกว่าความดันบรรยากาศ
จะเรียกว่า ความดันเกจลบ (Negative Gauge Pressure หรือ Vacuum) และถ้าสูงกว่าความดันบรรยากาศ
จะเรียกว่า ความดันเกจบวก (Positive Gauge Pressure) โดยส่วนใหญ่ในงานอุตสาหกรรมจะบอกเป็นความ
ดันเกจแทบทั้งสิ้น โดย Gauge Pressure จะมีค่าเป็น 0 ที่ความดันบรรยากาศ สัญลักษณ์ที่ใช้คือ “g” หรือ “G”
ซึ่งจะเขียนสัญลักษณ์นั้นไว้ต่อท้ายชื่อหน่วย เช่น barg, Psig เป็นต้น

P(abs) = P(g) + P(atm)


P(abs) = absolute pressure
P(atm) = local atmospheric pressure
P(g) = gauge pressure

Bourdon ท่อบูร์ดอง
อาศัยหลักการยืดหดของท่อ เมื่อเกิดแรงดันบาร์ ตัวที่ติดกับเข็มบ่งชี้ (Pointer) จะเกิดการยืดหด ทำให้เข็มชี้ขยับ
ตามแรงดันที่เกิด ในบางครั้งอาจเรียกเกจที่ทำงานแบบนี้ว่า Analog Pressure Gauge

Dead-weight gauge / เกจวัดความดัน


เกจวัดความดันชนิด dead-weight ทำงานโดยการวางน้ำหนักที่ทราบค่าลงบนฐานรองบนลูกสูบที่ติดตั้งแบบพอดี
อยู่กับท่อทรงกระบอกทางด้านซ้าย บริเวณท่อทรงกระบอกทางด้านขวาติดตั้งกับเกจวัดความดันที่ต้องการวัดหรือ
สอบเทียบ เมื่อลูกสูบทางด้านซ้ายได้รับแรงจะส่งแรงดันผ่านของไหลไปที่เกจวัดความดัน ค่าความดัน (pressure)
ของของไหลจะเพิ่มขึ้นจนลูกสูบสามารถลอยตัวได้อย่างอิสระและอยู่ในสภาวะสมดุล ย่านการวัดความดัน (range)
ของเกจชนิดนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่วางบนฐานของลูกสูบ ขนาดพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบ และชนิดของของไหลที่เป็น
ตัวกลางส่งผ่านแรงดัน โดยทั่วไปใช้อากาศเป็นตัวกลางสำหรับการวัดความดันในย่านความดันต่ำ (1 ถึง 10 บาร์)
และใช้น้ำมันสำหรับย่านความดันสูง (สูงกว่า 10 บาร์)
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

ขั้นตอนทั่วไป
1. กำจัดอากาศทีเ่ หลืออยู่ในท่อไฮดรอลิก
1.1 เปิดวาล์ว
1.2 ด้ามจับปั๊มสกรูลมทวนเข็มนาฬิกาจนสุด
1.3 ปั๊มลมแบบสกรูหมุนตามเข็มนาฬิกาจนสุดเพื่อกำจัดอากาศที่เหลืออยู่
2. ดึงน้ำมันไฮดรอลิกเข้าเลสเลอร์
2.1 ด้ามจับปั๊มลมแบบสกรูทวนเข็มนาฬิกาจนสุด
2.2 ปิดวาล์ว
3. โหลดตุ้มน้ำหนักมาตรฐานซึ่งเทียบเท่ากับแรงกดที่ต้องการ
4. ใช้แรงกดโดยหมุนที่จับปั๊มสกรูตามเข็มนาฬิกาจนสุดจนสูกสูบสูงขึ้น เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ก็หมายความว่าได้แรงดัน
ภายในเลสเตอร์ที่ถูกต้อง
ใช้กับรุ่น 380D (รูปที่ 4 )
• จากพื้นที่หน้าตัดหนึ่งถึงสอง
• จากหนึ่งวาล์วเป็นสองวาล์ว
• ควรสังเกตว่าต้องปล่อยความดันออกสู่ความดันบรรยากาศก่อนที่จะเพิ่ม/ลบน้ำหนัก
3. ขั้นตอนการทดลอง
• เกจวัดแรงดันเชื่อมต่อกับเลสเตอร์แล้ว
• ตรวจสอบระดับของเครื่องทดสอบเพื่อให้ชุดลูกสูบ/กระบอกสูบอยู่ในแนวตั้ง
• เลือกพื้นที่หน้าตัด 1/80” เนื่องจากสเกลของเกจวัดความดันอยู่ในช่วง 0-600 บาร์
1. วางแผนการสอบเทียบตั้งแต่
• จุดข้อมูลจำนวนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการสอบ (แนะนำอย่างน้อย 10 คะแนน)
• ช่วงการวัดของเกจวัดความดัน
• ขนาดและจำนวนน้ำหนักมาตรฐาน (ระวังน้ำหนักของลูกสูบและส่วนรองรับ)
2. กำจัดอากาศที่เหลืออยู่ในท่อไฮดรอลิก
2.1 เปิดวาล์ว A และ B
2.2 ด้ามจับปั๊มลมแบบสกรูทวนเข็มนาฬิกา
2.3 ด้ามจับปั๊มสกรูลมตามเข็มนาฬิกาจนสุดเพื่อกำจัดอากาศที่เหลืออยู่
3. ดึงน้ำมันไฮดรอลิกเข้าไปในเครื่องทดสอบโดยหมุนที่จับปั๊มสกรูทวนเข็มนาฬิกาจนสุด
4. ปิดวาล์ว A เพื่อเชื่อมต่อเกจกับพื้นที่หน้าตัด 1/80” ของลูกสูบ
5. เปิดวาล์ว B เพื่อให้น้ำมันอยู่ในพื้นที่หน้าตัด 1/8” ของลูกสูบ
6. บรรจุตุ้มน้ำหนักมาตรฐานซึ่งเท่ากับแรงดันที่ต้องการตามที่วางแผนไว้ในขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากน้ำหนักต่ำสุด
7. ใช้แรงกดโดยหมุนด้ามจับปั๊มสกรูตามเข็มนาฬิกาจนสุดจนลูกสูบเคลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งสมดุล (แรงเนื่องจาก
น้ำหนักลูกสูบ + แรงเนื่องจากแรงน้ำหนักมาตรฐานเนื่องจากแรงดันภายในเครื่องทดสอบ) ตำแหน่งสมดุลนี้
สามารถสังเกตได้ง่ายจากป้ายแถบสีแดงตรงกลาง
8. อ่านและจดบันทึกค่าความดันจากเกจวัดความดันลงในตารางที่ 1
9. ปล่อยแรงดันภายในเลสเตอร์โดยหมุนด้ามจับปั๊มสกรูทวนเข็มนาฬิกาจนสุด
10. เพิ่มน้ำหนักมาตรฐานตามที่วางแผนไว้ในขั้นตอนที่ 1 และทำซ้ำขั้นตอนในขั้นตอนที่ 7-9 จนกระทั่งน้ำหนัก
รวมเพิ่มขึ้นเป็นค่าสูงสุด
11. คำนวณความดันเฉลี่ยของเกจ เปอร์เซ็นต์ของข้อผิดพลาด และค่าแก้ไข
12. พล็อตกราฟของความสัมพันธ์เหล่านี้ :
• ค่าที่อ่านได้ของความดันเกจและความดันมาตรฐาน
• ค่าที่อ่านได้ของความดันเกจและเปอร์เซ็นต์ของข้อผิดพลาดอ้างอิง ให้มีขนาดเต็มขนาด
• ค่าที่อ่านได้ของความดันเกจและเปอร์เซ็นต์ของข้อผิดพลาดอ้างอิง ถึงแรงดันมาตรฐาน
• ค่าการอ่านค่าความดันเกจและค่าแก้ไข
หมายเหตุ : ใช้ค่าที่อ่านได้ของความดันเกจสำหรับแกนนอน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

รูปที่ 1 การแสดงกราฟของเกจและความดันสัมบูรณ์
รูปที่ 2 เกจวัดความดัน Bourdon

รูปที่ 3 : ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องทดสอบเกจวัดแรงดันเดดเวท


รูปที่ 4 : แผนผังและรูปถ่ายของเครื่องทดสอบเกจวัดแรงดันเดดเวท (รุ่น 380D)
ผลการทดลอง

Table 1: Error

Pressure Gauge Test 1 Test 2 Test 3 Average %Error


(lb/in2) (lb/in2) (lb/in2) (lb/in2) Compared
Dead Weight (lb/in2) To Dead Weight
14 14 14 14 14 0%
21 21 21 21 21 0%
35 36 36 36 36 2.86%
63 67 65 65 65.67 1.03%

Table 2: Repeatability

Pressure Gauge Standard Deviation of


Dead Weight(lb/𝐢𝐧𝟐) Gauge Reading Value
14 0
21 0
35 0
63 0.94
Table 3: Hystersis

Pressure Gauge
Forward Test Backward Test
(lb/in2) (lb/in2)
Dead Weight(lb/in2)
14 14 13
21 21 19
35 36 33
63 69 69

Hysteresis Plot

80

70

60
Pressure Gauge

50

40

30

20

10

0
14 21 35 63
Dead Weight
Forward Test (lb/in^2) Backward Test (lb/in^2)
สรุปผลการทดลอง

จากตารางการทดลองที่1 เพื่อหาค่า error ตัว dead weight เมื่อน้ำหนักยิ่งมีค่าเพิ่มมากขึ้ นค่าความ


คลาดเคลื่อนของน้ำหนักจะมีค่าเพิ่มขึ้น โดย % error ของน้ำหนัก 14, 21, 35, 63 𝑙𝑏/𝑖𝑛2 เป็นดังนี้ 0%, 0%,
2.86% และ 1.03% ตามลำดับ การทดลองนี้เป็นการหาค่าความถูกต้องของตัวน้ำหนักที่นำมาสอบเทียบ
จากตารางการทดลองที่ 2 เพื่อบอกความน่าเชื่อถือ ของตัวน้ำหนักที่จะนำมาทดสอบ โดยใช้หลักการ
กระจายข้อมูลเพื่อบอกว่าน้ำหนักที่จะนำมาสอบเทียบนั้นมีความแม่นยำมากน้อยแค่ไหน จากการคำนวณ SD
(Standard Deviation) ของน้ำหนัก 14, 21, 35, 63 𝑙𝑏/𝑖𝑛2 เป็นดังนี้ 0, 0, 0, 0.94 ตามลำดับ ซึ่งถือว่ามีค่า
ความแม่นยำที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีความเบี่ยงเบนของข้อมูลที่น้อยมาก
จากตารางการทดลองที่3 เพื่อหาค่า hysteresis หรือค่าความหน่วงทั้งไปและกลับของตัวน้ำหนัก จากผล
การทดลองแบบ forward test ค่าน้ำหนักที่อ่านได้มีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนัก dead weight จริง แต่ที่น้ำหนัก 63
𝑙𝑏/𝑖𝑛2 ค่ า ที่ อ่ า นได้ ป ระมาณ 69 𝑙𝑏/𝑖𝑛2 ซึ ่ ง มากกว่ า น้ ำ หนั ก จริ ง ค่ อนข้ า งมาก ส่ ว นผลการทดลองแบบ
backward test ค่าน้ำหนักที่อ่านได้จะน้อยกว่าค่าน้ำหนักจริง ซึ่งอาจจะมีปัจจัยมากจากตัวเครื่องที่ใช้สอบเทียบมี
อายุการใช้งานที่นานอาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
วิจารณ์การทดลอง

จากการทดลองเพื่อสอบเทียบน้ำหนักกับตัว pressure gauge นั้นค่าที่อ่านได้จากการทดลองอาจจะเกิด


ความผิดพลาดและคลานเคลื่อนได้ โดยสเหตุนั้นอาจจะเกิดจากการอ่านค่าของผู้วัดที่ผิดพลาด หรือ สภาพของวัตถุ
ที่นำมาใช้ทดสอบมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้การอ่านค่าได้
จุดอ้างอิงเมื่อวางน้ำหนักลงไปแล้วหมุนเพื่ออ่านค่าความดันนั้น จำเป็นจะต้องมีจุดอ้างอิงที่ชัดเจนแต่ใน
การทดลองเราประมาณตำแหน่ง เพื่อให้ได้ความดันประมาณ 1 bar ซึ่งการประมาณค่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ
ของผู้วัดแต่ละคน อาจจะทำให้ค่าไม่ตรงกันได้
คำถามท้ายการทดลอง

6410505001 ธราเทพ ริมชัยสิทธิ์

1. Explain the different between gauge pressure, absolute pressure and vacuum pressure.
gauge pressure คือ การวัดความดันเทียบกับความดันของบรรยากาศ
absolute pressure คือ การวัดความดันเทียบกับภาวะสุญญากาศ
vacuum pressure คื อ ความดั น จากความดั น ศู นย์ส ัม บูร ณ์ไ ปจนถึง ความดัน บรรยากาศเป็ นค่ า ที ่ ต่ ำกว่า ความดัน
บรรยากาศ
2. From the experiment, what is the pressure error of this pressure gauge in PSI, explain?
จากการทดลอง ค่าerror เกิดขึ้นได้เนื่องจากเครื่องมือวัดผ่านการ ใช้งานมานาน และการอ่านค่าโดยใช้สายตา
3. From the experiment, what is the repeatability of this pressure gauge, explain?
ความสามารถในการทวนซ้ำของเครื่องมือวัด ซึ่งแสดงถึงระดับความถูกต้องใกล้เคียงกันของผลการวัดที่ได้จากการวัด
หลายๆครั้งในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
4. From the experiment, what is the appropriated working range of this pressure gauge, explain.
ช่วงการใช้งานที่เหมาะสมของเครื่องวัดความดันนี้คือตั้งแต่ 14-63 Psi เพราะจากการทดลองได้ทดสอบเฉพาะช่วงนี้เท่านั้น
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอุปกรณ์ใช้งานได้ดีในช่วงความดันนี้
ธีรเดช ต่อตระกูล 6410505019

1. Explain the different between gauge pressure, absolute pressure and vacuum pressure.
Ans gauge pressure และ absolute pressure มีความต่างกันที่การวัดความดันเทียบ โดยที่ gauge pressure
จะเที ย บความดั น กั บ ความดั น ของบรรยากาศแต่ absolute pressure จะเที ย บความดั น กั บ ความดั น ของ
สุ ญ ญากาศ ส่ ว น vacuum pressure คื อ ความดั น จากความดั น ศู น ย์ ส ั ม บู ร ณ์ (0 atm) ไปจนถึ ง ความดั น
บรรยากาศซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ
2. From the experiment, what is the pressure error of this pressure gauge in PSI, explain?
Ans ในการทดลองสามารถมีค่า error เกิดขึ้นได้เนื่องจากการใข้สายตาในการวัดค่าหรืออ่านค่าของผู้ทดลอง
รวมถึงตัวอุปกรณ์ในการทดลองซึ่งมีความเก่า ทั้งหมดนี้อาจส่งผลให้มีค่า error ในการทดลองได้
3. From the experiment, what is the repeatability of this pressure gauge, explain?
Ans repeatability คือ การทวนซ้ำ โดยในการมดลองนี้จะมีการทวนซ้ำให้ตัวอุปกรณ์หรือก็คือเครื่องมือวัด
นั่นเองเพราะจะแสดงค่าระดับความถูกต้องจากผลการวัดในการทดลองได้หลายครั้งในช่วงเวลาเดียวกัน
4. From the experiment, what is the appropriated working range of this pressure gauge, explain?
Ans ช่วงการที่เหมาะสมในการใช้เครื่องวัดความดันคือตั้งแต่ 14-63 Psi เนื่องจากอุปกรณ์จะสามารถใช้งานได้มี
ประสิทธิภาพในช่วงความดันนี้เพราะในการทดลองนี้ผู้ทดลองได้สอบสอบในเวลาดังกล่าว
ธีรพัฒน์ ศักดิ์ดีชุมพล 6410505027

1. Explain the difference between gauge pressure, absolute pressure, and vacuum pressure.
- Gauge Pressure
Manufacture a standard that Gauge pressure equal to zero at 1 ATM and use Pg as a symbol.
- Absolute Pressure
Use Pa as a symbol, Absolute pressure equal to 101.325 kPa at 1 ATM Absolute pressure
normally used in Thermodynamic.
- Vacuum Pressure
Normally appear with minus (-) symbol.
2. From the experiment, what is the pressure error of this pressure gauge in PSI, explain?
Errors in the experiment can stem from the experimenters themselves, often arising from
reliance on visual assessments for measurements or readings, as well as potential degradation
of the experimental equipment over time. These factors collectively introduce inherent
imprecision into the experimental process.
3. From the experiment, what is the repeatability of this pressure gauge, explain?
The repeatability of a pressure gauge refers to its ability to produce consistent results
when measuring the same pressure under identical conditions over multiple trials. In the context
of the experiment, repeatability would be determined by conducting multiple measurements of
the same pressure using the pressure gauge and then analyzing the consistency of the recorded
values.
4. From the experiment, what is the appropriate working range of this pressure gauge, explain?
The normal range is 14-63 psi, In this range, gives the best %Error and Repeatability
ธีรภัทร จตุวิมล 6410505035

1. Explain the different between gauge pressure, absolute pressure, and vacuum pressure.
ตอบ gauge pressure คือ การวัดความดันเทียบกับความดันของบรรยากาศ
absolute pressure คือ การวัดความดันเทียบกับภาวะสุญญากาศ
vacuum pressure คือ ความดันจากความดันศูนย์สัมบูรณ์ไปจนถึงความดันบรรยากาศ
เป็นค่าที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ

2. From the experiment, what is the pressure error of this pressure gauge in PSI, explain?
ตอบ จากการทดลอง ค่าerror เกิดขึ้นได้เนื่องจากเครื่องมือวัดผ่านการ ใช้งานมานาน และการอ่านค่าโดยใช้ การ
สายตา เลยทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
3. From the experiment, what is the repeatability of this pressure gauge, explain?
ตอบ คือ ความสามารถในการทวนซ้ำของเครื่องมือวัด
ซึ่งแสดงถึงระดับความถูกต้องใกล้เคียงกันของผลการวัดที่ได้จากการวัดหลายๆครั้งในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
แสดงให้เห็นถึง precision ของ pressure gauge
4. From the experiment, what is the appropriated working range of this pressure gauge, explain?
ตอบ ช่วงการใช้งานที่เหมาะสมของเครื่องวัดความดันนี้คือตั้งแต่ 14-63 Psi เพราะจากการาดลองได้ทดสอบ
เฉพาะช่วงนี้เท่านั้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอุปกรณ์ใช้งานได้ดีในช่วงความดันนี้ หากจะใช้งานในช่วงความดันอื่นๆ
ต้องนำอุปกรณ์ไปทดลองในช่วงความดันนั้น ๆ เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของอุปกรณ์
นราวิชญ์ สุนทราจารย์ (6410505043)

คำถามท้ายการทดลอง
1. Gauge pressure เป็ น ความดั น ที ่ อ ่ า นได้ จ ากค่ า เกจซึ ่ ง เป็ น ค่ า absolute pressure ลบกั บ
atmospheric pressure
Absolute pressure เป็นค่าความดันวัดเทียบกับความดันสุญญากาศ (P = 0) ซึ่งต่างจาก gauge
pressure ที่วัดเทียบกับ atmospheric pressure
Vacuum pressure เกิดจากความดัน absolute ที่มีค่าน้อยกว่า atmospheric pressure ทำให้
gauge pressure มีค่าติดลบ
2. ค่า error ที่เกิดขึ้นอยู่ที่ประมาณ 0-2 psi ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างเช่นค่าน้ำหนักเพิ่มเติม, การ
ทดลองคลาดเคลื่อน ซึ่งค่าที่อ่านได้ยังคงใกล้เคียงกับค่า reference อยู่
3. ค่า repeatability มี deviation ต่ำมาก ซึ่งหมายความว่าจากการวัดหลายๆ ครั้ง ค่าที่อ่านได้จะ
เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากๆ
4. ช่วงการวัดที่เหมาะสมอยู่ที่ 14-63 psi ซึ่งจากการทดลองแล้วมีค่า %error และ repeatability ที่มี
ลักษณะดี ซึ่งช่วงการวัดอาจเพิ่มได้อีกแต่จำเป็นต้องทดลองเพิ่มเติม
ปองพล ธนกฤติกาญจนา 6410505051

คำถามท้ายผลการทดลอง
1. การสอบเทียบเกจวัดความดันและการสอบเทียบเครื่องมืออื่นๆต่างกันอย่างไรในแง่ของการปรับค่าที่ยุ่งเหยิง
ตอบ มีความแตกต่างกันดังนี้
1) การสอบเทียบเกจวัดความดัน
• ในการสอบเทียบเกจวัดความดัน มักจะใช้มาตรฐานหรือเครื่องมือที่มีความแม่นยำเพื่อปรับค่าของเกจให้
ได้ค่าที่ถูกต้อง
• การปรับค่าที่ยุ่งเหยิงอาจเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างในเงื่อนไขการทดสอบ
2) การทดสอบเครื่องมืออื่น
• สำหรับเครื่องมืออื่น ๆ การสอบเทียบจะใช้มาตรฐานหรือเครื่องมือที่มีความแม่นยำเพื่อปรับค่า ของ
เครื่องมือเหล่านั้น
• การปรับค่าที่ยุ่งเหยิงอาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม
2. ความแตกต่างระหว่างการสอบเทียบเกจวัดแรงดันโดยใช้ DWPGT และการใช้ WMPGT I คืออะไร
ตอบ ความแตกต่างระหว่างการสอบเทียบเกจวัดแรงดันโดยใช้ DWPGT และการใช้ WMPGT I คือ วิธีการสร้างแรงดันที่
ใช้ในการสอบเทียบเกจวัดความดัน โดยที่ DWPGT ใช้น้ำหนักที่ทรุดลง และ WMPGT I ใช้น้ำในท่อและมาตรฐานความ
ลึกในท่อ
3. กำหนดน้ำหนักของน้ำหนักมาตรฐานแต่ละอัน
ตอบ น้ำหนักมาตรฐานของน้ำหนักที่ใช้ในการสอบเทียบเกจวัดความดันมักจะแตกต่างกันไปตามมาตรฐานและ
ความต้องการใช้งานต่างๆ ของแต่ละอัน เช่น 1 kg เท่ากับ 5 lbs
4. หากจานรองมีน้ำหนัก 0.23 กก. ให้กำหนดน้ำหนักของลูกสูบ
ตอบ หากจานรองมีน้ำหนัก 0.23 กก. ควรเลือกใช้ลูกสูบที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วงประมาณ 1kg ถึง 2 kg เพื่อให้สามารถ
สร้างแรงดันที่เพียงพอในการสอบเทียบและปรับค่าของจานรองได้โดยเหมาะสม
พรรณกาญจน์ พิภักดี 6410505060

1. Explain the difference between gauge pressure, absolute pressure and vacuum pressure.
Gauge pressure
- Reference Point: Atmosphere pressure.
- Scale: Starts from zero, representing atmosphere pressure.
Absolute Pressure
- Reference Point: Perfect vacuum (absence of pressure).
- Scale: Starts from zero at a perfect vacuum. Always positive, includes atmospheric pressure.
Vacuum pressure
- Reference Point: Atmosphere pressure.
- Scale: Expressed as negative values, indicating pressure below atmospheric. A deeper vacuum is
represented by larger negative numbers.
2. From the experiment, what is the pressure error of this pressure gauge in PSI, explain?
In the experiment, errors may arise due to the experimenter themselves. This can be attributed
to the use of visual assessment for measurements or readings, and it may also result from the aging of
the experimental equipment employed. These factors contribute to the inherent imprecision in the
experiment process.
3. From the experiment, what is the repeatability of this pressure gauge, explain?
The repeatability of this pressure gauge is influenced by calibration, maintenance, and external
factors, emphasizing the need for regular calibration and proper handling.
4. From the experiment, what is the appropriate working range of this pressure gauge, explain?
The pressure gauge is most effective within the range of 14-63 psi, as evidenced by experiments
conducted during this specified range.
พัชรพร บุญชุ่ม 6410505078

1. Explain the difference between gauge pressure, absolute pressure and vacuum pressure.
- gauge pressure คือความดันที่วัดเทียบกับความดันบรรยากาศ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างความดั นของ gas หรือ
fluid ที่วัดได้ลบกับความดันบรรยากาศ สามารถเป็นได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ
- absolute pressure คือความดัน ที่วัดได้จาก gas หรือ fluid นั้นๆ โดยเป็นความดันที่รวมกั บความดัน
บรรยากาศแล้ว และเป็นความดันที่วัดเทียบกับความดันสุญญากาศ
- vacuum pressure หรือความดันลบ (negative pressure) เป็นความดันที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ จึง
สามารถติดลบได้ โดยเป็นความแตกต่างของความดันภายในระบบกับความดันบรรยากาศ
2. From the experiment, what is the pressure error of this pressure gauge in PSI, explain?
- pressure error ที่เกิดขึ้นใน pressure gauge เป็นค่าความคลาดเคลื่อนของตัวน้ำหนักที่ใช้ในการวัดสอบเทียบ
โดยค่า error ที่ได้มีค่าน้อยมาก แสดงว่าตัวน้ำหนักที่นำมาทดสอบค่อนข้างมีความแม่นยำสูง
3. From the experiment, what is the repeatability of this pressure gauge, explain?
- repeatability หรือการทำซ้ำ เป็นการบอกว่าความแม่นยำของตัว pressure gauge ที่นำมาสอบเทียบ โดยจะ
บันทึกค่าอย่างน้อย 3 รอบขึ้นไปแล้วนำมาหาค่า SD (Standard Deviation) เพื่อดูการเบี่ยงเบนค่ามาตรฐานของ
ตัว pressure gauge ถ้าค่าที่ได้ยิ่งต่ำหรือเข้าใกล้สูงแสดงว่า pressure gauge มีค่าความแม่นยำสูงมาก
4. From the experiment, what is the appropriated working range of this pressure gauge,
explain?

- ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ตัว pressure gauge คือช่ วง dead weight ประมาณ 14-63 𝑙𝑏/𝑖𝑛2
เนื่องจากค่าได้ช่วงนี้มี error ที่ต่ำและมีค่าความแม่นยำที่ค่อนข้างสูง จากการคำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ
Standard Deviation จะมีค่าประมาณ 0 ซึ่งเหมาะกับการใช้สอบเทียบมากที่สุด

You might also like