You are on page 1of 14

เมตะบอลิสม์ของลิปิด

ในแต่ละวันคนเรารับประทานอาหารไขมันประมาณ 60-150 กรัม ส่วนมาก 90 % ของอาหารไขมันที่รับประทานจะอยู่ในรูปไตรกลีเซอไรด์ (Triglycericle


หรือ Triacylglycerol) ส่วนที่เหลือก็เป็นลิปิดชนิดอื่นๆ เช่น โคเลสเตอรอล โคเลสเตอรอลเอสเตอร์, ฟอสโฟลิปดิ และกรดไขมันอิสระ

การย่อยลิปิดในอาหาร
1. การย่อยที่ปากและกระเพาะอาหาร
ในปากและกระเพาะอาหารมีเอนไซม์ Linqual lipase และ gastric lipase เป็นเอนไซม์ที่ทำางานได้แม้ในสภาวะที่เป็นกรด(acid lipase)
โดยโมเลกุลไตรกลีเซอไรด์ที่มีกรดไขมัน short และ medium chain (พบในนม) เป็นองค์ประกอบจะถูกย่อยโดย lipase ได้เป็นกรดไขมัน (fatty acid) และ
2-monoacylglycerol แต่อัตราการย่อยจะเกิดช้า เนื่องจากไขมันไม่อยู่ในรูปที่ emulsified และเอนไซม์ก็สามารถย่อยได้เฉพาะไขมันที่อยู่ผิวนอกสุด (water
interface) ดังนั้นจึงพบว่า lipase ทีป่ ากและกระเพาะอาหารจะ ทำางานได้ดีในเด็กทารกที่รับประทานนำ้านมแม่ หรือ นมวัว เพราะไตรกลีเซอไรด์ในนำ้านมอยู่ในรูปที่
emulsified แล้ว และเป็นไขมันที่มีกรดไขมันประเภท short และ medium chain อยู่มากเอ็นไซม์จึงเข้าย่อยได้
ดังนั้นในผู้ใหญ่อาหารพวกไขมันจะไม่ถูกย่อยในปากและกระเพาะ
2. การย่อยที่ลำาไส้เล็ก
ทีล่ ำาไส้เล็กเป็นแหล่งที่ลิปิดจากอาหารถูกย่อยได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากลิปิดเป็นสารที่ไม่ละลายนำ้า
ดังนั้นในขบวนการดูดซึมและการย่อยต้องมีการทำาให้อาหารไขมันละลายเข้ากับนำ้าเสียก่อน โดยขบวนการ emulsification โดยอาศัยกรดนำ้าดีและเกลือนำ้าดี (bile acid
and bile salt) ช่วยกระจายโมเลกุลของไขมันให้อยู่ในรูป mixed micelle ทำาให้ไขมันละลายนำ้าได้ดีขึ้น เอ็นไซม์จึงทำาการย่อยไขมันได้ เนื่องจาก bile salt
เป็นสารประกอบพวก amphipathic ที่มีทั้งส่วนที่เป็น hydroprobic และ hydrophilic ในโมเลกุล ถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ตับแล้วเก็บไว้ในถุงนำ้าดี จะหลั่งสู่ลำาไส้เล็ก
เมื่อมีฮอร์โมน cholecystokinin มากระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของถุงนำ้าดี การย่อยอาหารไขมันในลำาไส้เล็กอาศัยเอนไซม์ที่สร้างมาจากตับอ่อน
การหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการย่อยไขมัน ในชั้นเยื่อบุผนังลำาไส้เล็ก จะมีการสร้างฮอร์โมน cholecystokinin (CCK)
โดยฮอร์โมนจะออกฤทธิ์ไปกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของถุงนำ้าดี ทำาให้มีการปล่อยนำ้าดีออกสู่ลำาไส้เล็ก และมีผลทำาให้ลำาไส้เคลื่อนช้าลง เพื่อให้เกิดการย่อยที่สมบูรณ์
และยังมีผลต่อการหลั่งเอนไซม์ของตับอ่อน ( pancreatic lipase) ด้วย และ Secretin จะกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่ง bicarbonate เพื่อช่วยปรับ pH ของ chyme
ให้เหมาะสม (pH ∼ 6) กับการถูกย่อยโดยเอนไซม์ในลำาไส้เล็ก ดังนี้คือ
ก. การสลายไตรกลีเซอไรด์ เนื่องจากโมเลกุลของ Triglyceride มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะถูกนำาเข้าสู่ mucosal ของ intestinal villi
ดังนั้นจึงต้องถูกย่อยโดย pancreatic lipase กอน ตัดเอง fatty acid ที่ C1 และ 3 ออก ได้เป็น 2-monoacylglycerol และ 2 fatty acid
ข. การสลายโคเลสเตอรอล เอสเตอร์ ถูกสลายโดย pancreatic cholesterol ester ได้ โคเลสเตอรอลและไขมันอิสระ
ค. การสลายฟอสโพลิปิด ถูกสลายโดย phospholipase A2 และ lysophospholipase ได้กรดไขมัน กลีเซอรอลฟอสเฟต และสารไนโตรจีนัสเบส เช่น
โคลีน เอตนอลามีน หรีอ อินอลซิทอล ฯลฯ

ตารางที่ 1 Pa nc rea ti c Enz yme s an d Di et ar y Li pid s

Enz yme Act iva ti on Sub st at e

Lipase bile lipids triacyglycerol


Phospholipids
Co-lipase
2 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

Phospholipase A2 trypsin, Ca2+ phospholipid


Cholesteryl ester bile salts cholesteryl ester
hydrolase

triacylglycerol 2- monoacylglycerol + 2 fatty acids


phospholipid lyso-phospholipid + 2 fatty acids
cholesteryl ester cholesterol + fatty acid

การดูดซึมลิปิด ที่ลำาไส้เล็ก
ไตรกลีเซอไรด์จากอาหารที่ถูกย่อยในลำาไส้เล็ก ได้เป็นกรดไขมันโดย long chain fatty acid จะรวมตัวกันอยู่ในรูป micelles กับทั้ง cholesterol , fat-
soluble vitamins ด้วย (มีการจัดเรียงตัวในลักษณะที่ลิปิดเอาด้าน hydrophobic อยู่ด้านในและเอาด้าน hydrophilic อยู่ด้านนอก)
ซึ่งทำาให้ไขมันอยู่ในรูปที่สามารถซึมผ่าน brush border membrane ของเยื่อบุผนังลำาไส้และ ละลายอยู่ใน intestinal lumen ได้ ส่วนกรดไขมันชนิด short และ
medium chain (C4-C12) สามารถซึมผ่านเซลล์ลำาไส้เล็กได้โดยตรงเข้าสู่ portal blood และถูกพาไปยังตับโดยรวมตัวกับ albumin
ส่วนกลีเซอรอลจะขนย้ายไปยังตับเพื่อเมตะบอไลท์ต่อไป ส่วน bile salt ประมาณ 95 % จะถูกนำากลับไปยังตับโดยผ่านทาง enterohepatic circulation
เพื่อนำาไปเก็บไว้ที่ถุงนำ้าดี เอาไว้ใช้เมื่อมีการย่อยอาหารไขมันอีก
(re-esterify) เป็น triacylglyceral(TG) ใหม่ เช่นเดียวกับ cholesterol และ
หลังจากดูดซึมแล้วกรดไขมันและกลีเซอรอลจะรวมกันอย่างรวดเร็ว
lysophospholipid ก็จะรวมตัวกับ fatty acid ใหม่เป็น cholesterol ester และ phospholipid ตามลำาดับ แล้วจึงมีการรวมตัวกันของ cholesterol,
cholesterol ester, phospholipid และ โปรทีน เป็น ไลโปโปรทีนชื่อ ไคโลไมครอน (chylomicron) เพื่อทำาหน้าที่พา TG (exogeneous triglyceride)
จากการย่อยและดูดซึมที่ลำาไส้เล็กไปให้เนื้อเยื่อต่างๆ ทางระบบนำ้าเหลือง

การสังเคราะห์ ไลโปโปรตีนเพื่อการขนส่งลิปิด
เนื่องจากลิปดิ เป็นสารประกอบที่ไม่ละลายนำ้า ดังนั้นในการขนส่งในกระแสเลือดจึงต้องมีตัวกลาง ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลใหญ่ที่ประกอบด้วย โปรทีนกับลิปดิ ชนิดต่างๆ
เรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein) มีโครงสร้างเป็นแบบ micelles ซึ่งประกอบด้วยลิปิดที่เอาปลายด้าย nonpolar อยู่ด้านในของโครงสร้างและปลายด้าน polar
ออกด้านนอก
(long chain) จะรวมตัวกับ 2-monaglyceral ได้เป็นไตรกลีเซอรได์โมเลกกุลใหม่
ยกตัวอย่างเช่น ในเซลล์ลำาไส้เล็ก กรดไขมันที่มีขนาดยาว
ขณะเดียวกันเซลล์ของลำาไส้เล็กจะสร้างโปรตีนที่เรียกว่า Apoprotein A-I และ Apoprotein B-48 เพื่อรวมตัวกับไตรกลีเซอไรด์ที่เกิดขึ้นใหม่ และ phospholipid
,cholesterol, cholesterol ester เกิดเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีทั้งลิปิด และโปรทีน เรียกว่า lipoprotein (chylomicrons) ซึ่งจะผ่านผนังลำาไส้เล็ก
พาไขมันจากอาหารดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตทางท่อนำ้าเหลืองไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ

รูปที่ 1 โครงสร้างและส่วนประกอบของไลโปโปรตีน (lipoprotein)


3 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

นอกจาก chylomicron แล้วยังมีไลโปโปรทีนอีกหลายชนิดที่ทำาหน้าที่ขนส่งลิปิดชนิดอื่นๆไปยังเซลล์ต่างๆ


ไลโปโปรทีนเหล่านี้มีลิปิดชนิดต่างๆเป็นองค์ประกอบดังแสดงไว้ในตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 แสดงปริมาณลิปิดต่างๆใน Human Plasma Lipoprotein

Lipoprotein class

Component chylomicron VLDL IDL LDL HDL

Wt%
Apoprotein 2 10 18 25 43
Triacylglycerol 83 50 31 4 2
Cholesterol 2 6 6 9 5
Cholesteryl ester 3 14 22 42 20
Phospholipid 7 18 22 22 30

การขนส่งลิปิดในกระแสเลือด แบ่งได้เป็น
1. การขนส่งอาหารลิปดิ จากการดูดซึมทีล่ ำาไส้เล็กไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย(exogeneous lipid)
2 2. การขนส่งลิปิดที่สร้างตับไปเก็บสะสมที่เนื้อเยื่อไขมัน (endogeneous lipid)
3 3. การขนส่งกรดไขมันออกจากเนื้อเยื่อกรดไขมันเพื่อไปออกซิไดส์ที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ (storage lipid)

การขนส่งอาหารไขมัน (TG ) จากการดูดซึมที่ลำาไส้เล็กไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ (ex og ene ou s lipi d)


ไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ในอาหารภายหลังการย่อยและดูดซึมที่ลำาไส้เล็ก และถูกสังเคราะห์ขึ้นใหม่บริเวณผนังลำาไส้โดยขบวนการ
reesterification (exogeneous triglycerides) จะรวมตัวกับอะโปโปรตีน โคเลสเตอรอล และฟอสโพลิปิด ได้เป็น chylomicron
ซึ่งจะถูกขับออกจากเซลล์บุผนังลำาไส้เข้าสู่ทางเดินนำ้าเหลือง จากนั้นผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไคโลไมครอนจะถูกกำาจัดออกจากพลาสม่า
โดยโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ใน chylomicron จะถูกสลายโดยเอนไซม์ lipoprotein lipase (เอ็นไซม์ lipoprotein lipase จะถูกกระตุ้นโดย Apoprotein
C-II ที่พบในโมเลกุลไคไลโมครอน ที่พบอยู่ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดฝอยภายในเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ)
ตัดเอาโมเลกุลของกรดไขมันจากไตรกลีเซอไรด์ได้เป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่เซลล์ เพื่อนำาไปออกซิไดซ์ดว้ ยขบวนการเบต้าออกซิเดชั่นภายในเซลล์
เพื่อให้ได้พลังงานหรือถูกนำาไปเก็บไว้ใน adipose tissue fasting หรือ starvation
ในรูปของไตรกลีเซอไรด์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำารองในระยะ
ซึ่งหลังจากถูกสลายเอาไตรกลีเซอไรด์ออกจากโมเลกุลของ Chylomicron แล้วโมเลกุลจะมีขนาดเล็กลง เรียก chylomicron remnent
ซึ่งจะไปจับกับตัวรับ (receptor) บนเซลล์ตบั receptor ที่จำาเพาะต่อ Apoprotein E ของ Chylomicron remnants และถูกนำาเข้าสู่ตับโดยขบวนการ
endocytosis และสารชีวโมเลกุลต่างๆจะถูกสลายโดย lysosomal enzyme ได้เป็น fatty acid, amino acid, glycerol, cholesterol และ
phosphate เซลล์ตบั สามารถนำา product เหล่านี้กลับมาใช้ได้อีก เช่น ใช้สังเคราะห์ triglyceride , bile salt, phospholipid , cholesterol ฯลฯ
Glycerol ที่ถูกสลายจากโมเลกุลของ triacylglycerol โดย lipoprotein lipase จะถูกนำากลับไปสร้างเป็น glycerol-3-phosphate ทีต่ ับ
และนำากลับมาใช้ในขบวนการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ได้อีก หรือใช้ในขบวนการ glycolysis หรือ gluconeogenesis
4 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

การขนส่งลิปิด (TG)ทีส่ ร้างในตับไปเก็บสะสมที่เนื้อเยื่อไขมัน (endogeneous lipid)


ภายในเซลล์ตับก็จะมีการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ขึ้นมาจากนำ้าตาลกลูโคสและกรดไขมัีนอิสระ (endogeneous triglycerides) ไตรกลีเซอไรด์ดังกล่าว
จะรวมตัวกับโคเลสเตอรอล, อะโปโปรตีน B-100 , C และ E ได้เป็น VLDL แล้วปล่อยสู่กระแสเลือด ในระยะ Fed state เช่นภายหลังรับประทานอาหาร การเก็บสะสม
TG จะเพิ่มขึ้น เซลล์ไขมันจะสังเคราะห์ lipoprotein lipase และหลั่งออกมาในเส้นเลือดฝอยของเนื้อเยื่อไขมัน และ Apo-C จะกระตุ้น lipoprotein lipase
ให้สลายไตรกลีเซอไรด์ใน VLDL ได้เป็นกรดไขมันและมีการปล่อย free cholesterol และ phospholipid ให้แก่ HDL และรับ Cholesterol ester มาจาก
HDL สุดท้ายจะได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง เรียกว่า IDL ซึ่งถูกกำาจัดออกจาก พลาสม่า โดยตับ IDL จะเปลี่ยนเป็น LDL และถูกจับโดยเซลล์ที่มี LDL receptor
เพื่อสลายเอาโคเลสเตอรอลออกมาใช้
HDL จะทำาหน้าที่ต่างจาก Chylomicron และ VLDL ที่ทำาหน้าที่ในการขนส่งลิปิดชนิด Triglyceride โดย HDL จะทำาหน้าที่ในการแลกเปลี่ยน โปรทีน
และลิปิด กับ lipoprotein ชนิดอื่น ๆ คือ
1. HDL จะให้ ApoE, apoCII แก่ Chylomicron และ VLDL
2. HDL จะรับ Cholesterol จาก lipoprotein อื่น ๆ, จาก cell membrane เปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ Cholesterol ester
3. HDL จะนำา cholesterol และ cholesterol ester ไปยังตับ หรือให้ cholesterol ester กับ lipoprotein อื่น ๆ ซึ่งจะถูกส่งไปทำาลายที่ตับ HDL
มีหน้าที่หลักในการนำาเอา cholesterol กลับไปยังตับเพื่อได้นำาเอา cholesterol ไปใชัสังเคราะห์สารที่จำาเป็น พบว่าในคนที่มีระดับ cholesterol ในเลือดสูง
มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ที่เป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ในกรณีที่มี LDL cholesterol สูง พบว่ามี
HDL สูงด้วย จะสามารถป้องกันการสังเคราะห์คีโตนบอดี้ส

รูปที่ 2 เมตะบอลิสม์ของไลโปโปรตีน: การสังเคราะห์ไลโปโปรตีนและการสลาย TG จากไลโปโปรตีน


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

การสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์
การสังเคราะห์ TG ที่เยื่อบุลำาไส้เล็กโดยขบวนการ re-esterification ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ในร่างกายการสังเคราะหื TG
ยังเกิดได้ทตี่ ับและเนื้อเยื่อไขมันและเกิดขึ้นโดยกรดไขมันจะทำาปฏิกิริยากับ glycerol-3-P ที่ได้จากการสลาย glucose ซึ่งจะเกิดสารตัวกลางคือ phosphtidic acid
และ 1, 2 diacylglycerol จากนั้นจะมีการ เติมกรดไขมันตัวที่ 3 เข้าไปให้แก่ 1, 2-diacyglycerol ได้เป็น triglyceride นอกจากนี้glycerol-3-P
สามารถสร้างจาก glycerol ได้ภายในเซลล์ตับ แต่จะไม่พบในเซลล์ไขมันเนื่องจากเนื้อเยื่อไขมันไม่มี glycerokinase ที่จะเปลี่ยน glycerol ไปเป็น glycerol 3-P
5 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

รูปที่ 3 การสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ (TG) ในตับ, เนื้อเยื่อไขมัน และเซลล์เยื่อบุลำาไส้ โดยใช้ glycerol-3-P


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

การสะสมไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ไขมัน
ภายหลังการรับประทานอาหาร การเก็บสะสม TG จะเพิ่มขึ้น โดยเซลล์ไขมันสามารถนำา glucose เข้าเซลล์ได้เมื่อมีการกระตุ้นของ insulin เท่านั้น
โดยกลูโคสจะถูกออกซิไดส์ โดยขบวนการ glycolysis ได้ glycerol-3-P ขณะเดียวกัน กรดไขมันจะได้ทั้งจากการสังเคราะห์จาก acetyl CoA ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์
หรือได้กรดไขมันมาจากการสลายไตรกลีเซอไรด์จาก VLDL และ chylomicron โดย liproprotein lipase
ที่หลั่งออกมาในเส้นเลือดฝอยของเนื้อเยื่อไขมันเมื่ออัตราส่วนของอินสุลิน/กลูคากอนเพิ่มขึ้น เอนไซม์นี้จะทำาการย่อย กรดไขมันที่ได้จะเข้าสู่เซลล์ไขมัน แล้วเปลี่ยนเป็น fatty acyl
CoA ทำาปฏิกิริยากับ glycerol 3-P ได้เป็น TG สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆเนื่องจากกรดไขมันจะไม่ถูกเก็บไว้ในรูปกรดไขมันอิสระเพราะมีความเป็นกรด ละลายนำ้ายาก
และอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ถ้าร่างกายมี glucose มาก ในขณะที่เซลล์ตับมีการสร้าง triglyceride เก็บได้ปริมาณหนึ่งเท่านั้น และมีส่งไตรกลีเซอไรด์ออกจากตับในรูปของ
VLDL

รูปที่ 4 การสังเคราะห์ TG สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน: acetyl-CoA หรือจากการสลาย TG จากไลโปโปรตีน


กรดไขมันสังเคราะห์จาก
( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

การสังเคราะห์กรดไขมันจาก ac et yl CoA เพื่อสร้างเป็น TG


เมื่อเซลล์มีพลังงานเพียงพอและมี Acetyl CoA เหลือ ร่างกายจะนำา Acetyl CoA ไปสังเคราะห์เป็นกรดไขมัน
แต่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดไขมันได้ทุกชนิดเนื่องจากมีข้อจำากัดเกี่ยวกับเอนไซม์ ดังนั้นจึงจำาเป็นต้องได้รับกรดไขมันบางชนิดจากพืชและสัตว์ด้วย
6 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

การสังเคราะห์กรดไขมันพบมาในตับ, เซลล์ไขมัน เกิดขึ้นใน cytosol fatty acid synthetase


เอนไซม์ ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันเรียกว่า
complex ที่มีบริเวณเร่ง 7 แห่ง และมี 2 หน่วยย่อย ในการสังเคระาห์กรดไขมันสารตั้งต้นคือ acetyl CoA ใน cytoplasm ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจาก glucose
metabolism จะทำาปฎิกิริยากับ CO2 และใช้พลังงานในรูปของ ATP ได้เป็น malonyl CoA ซึ่งเร่งปฎิกิริยาโดยเอนไซม์ Acetyl CoA carboxylase
ขัน้ ต่อไปทั้ง Acetyl CoA และ Malonyl CoA จะทำาปฏิกิริยากับ ACP (acyl carrier protein) ได้เป็น malonyl-ACP และ acetyl-ACP โดยเอนไซม์
fatty acid synthetase complex
ขัน้ ตอนการสังเคราะห์กรดไขมัน
การสังเคราะห์กรดไขมันประกอบด้วยปฏิกิริยา 4 ขั้น คือ
1. ปฏิกิริยาการรวมตัวกันระหว่าง Malonyl-ACP และ Acetyl-ACP (Condensation) ได้เป็น acetoacetyl- ACP
4 2. ปฏิกิริยา Reduction เป็นการเปลี่ยนหมู่คีโท จาก acetoacetyl-ACP ให้เป็นหมู่ไฮดรอกซิล คือ 3-hydroxy acyl CoA
5 3. ปฏิกิริยา dehydation เป็นปฏิกิริยาการดึงนำ้าออกจาก 3-hydroxy acyl ACP ได้เป็น 2,3-unsaturated acyl ACP
6 4. ปฏิกิริยา Reduction เป็นการเติมอะตอมของ ไฮโดรเจนเข้าทีต่ ำาแหน่งพันธะคู่ทำาให้ได้เป็นพันธะเดี่ยว ได้เป็น saturated acyl ACP
ซึงเมื่อมาถึงขั้นตอนนี้.จะมีคาร์บอนเพิ่มขึ้อีก 2 อะตอม

ปฏิกิริยาการสังเคราะห์กรดไขมัน palmi tic acid


CH3-C-ScoA + 7 HOOC CH3-C-ScoA + 14NADPH + 14 H+
Acetyl CoA molonyl CoA

Fatty acid synthease


O
CH3(CH2)14C-OH+7CO2+8CoASH+ 6H2O+14NADP+

แหล่งของ ace ty l C oA
1. การสลาย amino acid ใน cytoplasm ได้ product เป็น acetyl CoA
2. การ oxidation ของ fatty acid ใน mitochondria ได้เป็น acetyl CoA ซึ่งจะออกมาที่ Cytosol ในรูปของ citrate (acetyl CoA +
oxaloacetate) เนื่องจากโคเอนไซม์เอ ของ acetyl ไม่สามารถผ่าน mitochondria membrane ได้ ขบวนการขนย้าย citrate จาก mitochrondria ไปยัง
cytosol จะเกิดขึ้นเมื่อมี ATP ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีพลังงานเหลือเฟือจะมีการสร้างกรดไขมันขึ้นมาก โดยพบว่า ATP ที่มีมากจะยับยั้ง isocitrate
dehydrogenase ใน TCA cycle ทำาให้มี citrate คั่งใน mitochondria และผ่านออกมายัง cytosol ได้ เกิดการสลายเป็น acetyl CoA และ
oxaloacetat3.การสลาย glucose โดยขบวนการ glycolysis ใน cytoplasm ได้เป็น pyruvate ทีผ่ ่านเข้าไปใน mitochondria แล้วเปลี่ยนเป็น acetyl
CoA โดย pyruvate dehydrogenase แล้วเปลี่ยนเป็น citrate จึงสามารถมาอยู่ใน cytosol
7 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

แหล่งของ NA DPH
1. ได้จาก HMS ซึ่งเป็น pathway ที่ให้ NADPH ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมัน
2. เป็น NADH ที่ได้จากการเปลี่ยน malate เป็น pyruvate

รูปที่ 6 การสังเคราะห์กรดไขมันจาก Acetyl CoA


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)
ร่างกายสามารถสร้างกรดไขมันที่มีคาร์บอนได้มากสุด 16 C (palmitic acid) และ palmitic acid
ถูกใช้เป็นสารตั้งต้นต่อในการสังเคราะห์กรดไขมันที่ยาวขึ้น โดยอาจถูกเติมคาร์บอนที่ละ 2 อะตอม ที่ ER หรือที่ mitochrondria โดยเรียกว่าปฏิกิริยา chain
elongation และเมื่อร่างกายต้องการกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว จะมีการดึงเอา hydrogen ออกโดยปฏิกิริยา Desaturation ทำาให้เกิดพันธะคู่ในโมเลกุล

รูปที่ 5 การสังเคราะห์กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวโดยขบวนการ Desaturation และ การสังเคราะห์กรดไขมันสายยาวจาก palmitic acid โดยขบวนการ


Elongation
( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

การสลายเอากรดไขมันจาก TG ในเนื้อเยื่อไขมัน
ในภาวะที่ร่างกายขาดแคลนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต(fasting state) , อดอาหาร (starvation) หรือออกกำาลังกายอย่างหนัก
จะต้องมีการสลายไตรกลีเซอไรด์ที่เก็บสะสมไว้เพื่อให้ได้กรดไขมันออกมาจาก TG กรดไขมันและกลีเซอรอลที่ได้จะเข้าสู่ระบบไหลเวียน
กรดไขมันที่เกิดขึ้นจะถูกพาจากเซลล์ไขมันไปกับกระแสเลือดโดยจับตัวกับ albumin ซึ่งจะถูกออกซิไดซ์ด้วยขบวนการ -oxidation เพื่อให้ได้พลังงาน
การเกิดพลังงานจากกรดไขมันเกิดได้โดยอาศัยการออกซิไดซ์โดยปฏิกิริยาในขบวนการ -oxidation เป็นการออกซิไดส์โดยใช้ออกซิเจน
8 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

ซึ่งเมื่อสิ้นสุดขบวนการแล้วจะได้พลังงานออกมาจำานวนมาก ซึ่งการสลาย ไตรกลีเซอไรด์ที่เซลล์ไขมัน ขึน้ อยู่กับอิทธิพลของฮอร์โมน epinephrine, norepinephrine,


glucogon ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้เอนไซม์ hormone sensitive lipase สลายไตรกลีเซอไรด์ที่อยุ่ในเนื้อเยื่อไขมันเป็น glycerol และ กรดไขมัน 3 โมเลกุล

รูปที่ 7 การสลาย TG ในเนื้อเยื่อไขมัน( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

การสลายกรดไขมัน โดยขบวนการ -o xi dat ion


การเกิดพลังงานจากกรดไขมันเกิดได้โดยอาศัยการออกซิไดซ์โดยปฏิกิริยาในขบวนการ -oxidation เป็นการออกซิไดส์โดยใช้ออกซิเจน
ซึ่งเมื่อสิ้นสุดขบวนการแล้วจะได้พลังงานออกมาจำานวนมาก นอกจากนี้ยังมี -oxidation และ - oxidation ในการสลายกรดไขมันอีก
การเกิดขบวนการ -o xi dat ion
- ขบวนการ -oxidation ของกรดไขมันเกิดใน mitochrondria
- กรดไขมันถูกออกซิไดส์ โดยคาร์บอนอะตอมในโมเลกุลถูกตัดออกไปทีละ 2 อะตอม จากปลาย COOH ได้เป็น Aceyl CoA (n-2) และ Acetyl CoA
- Acetyl CoA ที่ได้จะถูกออกซิไดส์ต่อให้สมบูรณ์โดย TCA cycle เพื่อให้ได้ ATP
- NADH, FADH ที่ได้จากการออกซิไดส์กรดไขมัน จะถูกออกซิไดส์ต่อโดยขบวนการ electron transport system นำาไปสร้างเป็น ATP

ขัน้ ตอนการเกิด -o xi dat ion


ปฏิกิริยาขั้นแรกใน -oxidation pathway เป็นปฏิกิริยาที่ต้องกระตุ้น (activation) กรดไขมันเสียก่อน โดยอาศัยโคเอนไซม์เอ, ATP และเอนไซม์
acetyl CoA synthase ดังแสดง
O
RCH2CH2COOH + ATP + CoASH RCH2CH2-C-SCOA + AMP + Pi
Acyl CoA (acyl CoA)
synthase
เอธิลโคเอที่ได้ไม่สามารถผ่าน inner mitochondria membrane เพื่อเข้าไปใน metrix ได้ จึงต้องอาศัย carnitine เป็นตัวพาเข้าไปเรียกว่า carnitine shutle
9 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

รูปที่ 7 การขนส่งกรดไขมันจาก cytosol สู่ Mitochondrial matrix โดย carnitine shutle


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

จากนั้นเอธิลโคเอ (Acyl CoA)จะเป็นสับสเตรทของเอนไซม์ใน -oxidation ได้เกิดปฏิกิริยา 4 ขัน้ ตอนดังนี้


1. ปฏิกิริยาเอาไฮโดรเจนออก เกิดเป็น 2
trans-enoyl acyl CoA โดยเอนไซม์ acyl CoA dehydrogenase ซึ่งต้องการ FAD
2. ∆2 trans-enoyl acyl CoA ถูกเติมโมเลกุลของนำ้า (hydration) โดยการเร่งของเอนไซม์ enoyl hydratase
2
ที่มีความจำาเพาะต่อโครงสร้างแบบพันธะคู่ที่ตำาแหน่ง เท่านั้น ได้เป็น L-β hydroxyacyl CoA
3. L-β hydroxyacyl CoA จะเกิดปฏิกิริยาเอาไฮโดรเจนออก โดยการเร่งของเอนไซม์ L-β
hydroxyacyl CoA dehydrogenase ได้สาย -ketoacyl CoA
4. เป็นการตัดพันธะระหว่างคาร์บอนและคาร์บอนใน -ketoacyl CoA โดยเอนไซม์ thiolase ได้เป็น acetyl CoA และ acyl CoA
ที่มีคาร์บอนน้อยกว่าเดิม 2 อะตอม

รูปที่ 8 ขัน้ ตอนการสลายกรดไขมันเป็นพลังงานโดยขบวนการ -oxidation


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)
acyl CoA ที่เกิดขึ้นใหม่ จะเกิดปฏิกิริยา -oxidation และคาร์บอนถูกตัดออกไปทีละ 2 อะตอม ให้เป็น acetyl CoA
จนคาร์บอนอะตอมในโมเลกุลถูกเปลี่ยนเป็น acetyl CoA จนหมด
สารตัวกลางที่เกิดแต่ละปฏิกิริยา จะนำาไปสร้าง ATP ดังนี้
- สร้าง 2 ATP จาก FADH2 1 โมล ผ่าน electron transport chain
- สร้าง 3 ATP จาก NADH 1 โมล ผ่าน electron transport chain
- สร้าง 12 ATP จาก acetyl CoA 1 โมล ผ่าน TCA cycle
- มีการใช้ ATP ไป 2 โมล ในการกระตุ้นกรดไขมันให้เป็น acyl CoA
ตัวอย่างพลังงานจากการออกซิไดส์กรด palmitic โดย -oxidation
O
C16H31O2 8 CH3-C-ScoA + 7 FADH2 + 7 NADH + 7H+
10 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

O
8 CH3-C-ScoA เข้า TCA cycle ได้ 12x8 = 96 ATP
7 FADH2 เข้า electron transport ได้ 2x7 = 14 ATP
7 NADH เข้า eletron transport ได้ 3x7 = 21 ATP
ใช้ ATP ในปฏิกิริยาการกระตุ้น = -2 ATP
ปริมาณ ATP ที่ได้ทั้งหมด = 129 ATP

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
การออกซิไดซ์กรดไขมันไม่อิ่มตัว สามารถเกิดปฏิกิริยาโดย -oxidation ได้เช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว เฃ่น การออกซิไดซ์กรดโอเลอิค (18:1 ω-9)
CH3(CH2)7 CH=CHCH2 CH2 CH2 C H2 CH2CH2 CH2 COOH

β-oxidation 4 รอบ
O O
CH3(CH2)6 CH=CH-C ∼ SCoA + 4FADH2 + 4NADH + 4H +
+ 4CH3-C-ScoA

จะเกิดปฏิกิรยิาออกซิเดชั่นทางปลาย COOH เข้ามาจนถึงรอบที่ 4 ผลที่ได้คือ acyl CoA 2 เนื่องจากโมเลกุลของ acyl CoA


ที่มีพันธะคู่ที่ คาร์บอนที่
ที่เกิดขึ้นมีพันธะคู่ในโครงสร้างแล้ว ดังนั้นปฏิกิริยาเอาไฮโดรเจนออก (ปฏิกิริยาที่ 1) เพื่อสร้างพันธะคู่โดยอาศัย FAD จึงไม่เกิด Acyl CoA ที่ได้สามารถเป็นสับสเตรทของ
enoyl hydratase ต่อไปได้ โดย enoyl hydratase จะเร่งให้เกิดปฏิกิริยา hydration ต่อจนครบรอบของ -oxidation ดังนั้นในรอบที่ 5 จะมี acetyl CoA
และ NADH, + H เกิดขึ้นเท่านั้นไม่มี FADH2 เกิดขึ้นเพราะไม่ได้เกิดปฏิกิริยา dehydrogenation เพื่อทำาให้เกิดพันธะคู่ และปฏิกิริยา -oxidation
+

จะเกิดต่อเนื่องไป จนคาร์บอนอะตอมในโมเลกุลถูกเปลี่ยนเป็น acetyl CoA จะได้พลังงาน = [(9x12) + (7x2) + (8x3) –2] = 144 ATP

เมตะบอลิสม์ของ glycerophospholipids และ sphingolipid


Phospholipid เป็นโครงสร้างของเยื่อหุ้มต่างๆ จะถูกสังเคราะห์ขึ้นด้วยอัตราคงที่และจะไม่มีการสะสมในร่างกาย
Glycerophosphplipid
ในคนปกติก็จะมีการสร้างและสลายโมเลกุลแห่งนี้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะนั้นต้องการสร้างตัวไหนมากใช้เป็นส่วนประกอบของเซลล์
ยังเป็นส่วนประกอบของไลโปโปรตีน และ lung surfactant ลิปิดดังกล่าวยังเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ eicosanoid ส่วน ether glycerophoshpolipid
ใช้ในการสังเคราะห์ plasmalogen, platelet activating factor ในตอนแรกๆ การสังเคราะห์ฟอสโฟลิปิดคล้ายกับการสังเคราะห์ Triacylglycerol
คือการนำาเอากรดฟอสฟาติดิกมาเติมหมู่ต่างๆ เช่น choline, ethanolamine, serine และ inositol เป็นต้น แต่ในการเติมนั้น
กรดฟอสฟาติดิกต้องถูกเปลี่ยนเป็นรูปที่ไวต่อการทำาปฏิกิริยาคือ CDP-diacylglycerol ก่อน
11 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

รูปที่ 9 การสังเคราะห์ phosphatidic acid และ phospholipid ชนิดต่างๆ


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

Sphingosine เป็นลิปิดที่พบมากในเนื้อเยื่อสมองและประสาท ที่สำาคัญคือ sphingomyelin ซึงโครงสร้าง


ประกอบด้วย sphingosine,fatty acid , phosphatidic acid และ choline การสังเคราะห์ Sphingosine ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
การสังเคราะห์ ceramide และการนำาเอา ceramide ไปสร้างเป็น sphingomyeline

รูปที่ 10 การสังเคราะห์ Ceramide และ Sphingolipids


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

การสังเคราะห์และการสลายโคเลสเตอรอล
โคเลสเตอรอลสามารถสังเคราะห์ในร่างกายได้ และจะถูกลำาเลียงในกระแสโลหิตในรูปของ lipoproteins นำาไปใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างผนังเซลล์
หรือนำาไปเปลี่ยนเป็นกรดนำ้าดี ไวตามินดี และสเตียรอยด์ ฮอร์โมน โคเลสเตอรอลในร่างกายอาจได้มาจากอาหารหรือจากการสังเคราะห์ตั้งต้น คือ acetyl CoA ซึ่งอาจได้มาจาก
glucose, fatty acids หรือ amino acid ซึ่งพบมากทีต่ ับและลำาไส้เล็ก
ปฏิกิริยาแรกในการสังเคราะห์ โคเลสเตอรอล เกิดจาก acetyl CoA 2 โมเลกุลมารวมตัวกันได้เป็น Acetoacetyl CoA ซึ่งจะรวมกับ acetyl CoA
อีกโมเลกุลหนึ่งเป็น 3-hydroxy-3-methyglutaryl CoA (HMG CoA) และ HMG CoA จะเปลี่ยนเป็น mevalonate โดยเอนไซม์ HMG CoA
reductase ปฏิกิริยาทั้งหมดนี้เป็นจุดควบคุมอัตราเร็วของกระบวนการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล และเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นรูป isoprene
จนกระทั่งสุดท้ายได้เป็นโคเลสเตอรอล ที่มีคาร์บอน 27 อะตอม

Major Stages in the Biosynthesis of Cholesterol


Stage 1. Condensation
3 acetyl-CoA mevalonate + 3CoA
Stage 2. Formation of isoprene unit of Polymerization
5 mevalonate squalene + 5 CO2
Stage 3. Cyclization & Transformation
Squalene lanosterol
12 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

Lanosterol cholesterol + 2 CO2 + HCOO

การควบคุมการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในเซลล์ตบั เป็นการควบคุมแบบย้อนกลับ โดยปริมาณโคเลสเตอรอลที่มีมากเกินไปจะไปยับยั้งการทำางานของเอ็นไซม์ HMG


CoA reductase ถ้าหากร่างกายมีความผิดปกติในการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล เช่นสังเคราะห์มากเกินไปจะทำาให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน (artherosclerosis)
ทำาให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆนั้นไม่สะดวก

การสังเคราะห์และการสลายคีโตนบอดีส์
ในสภาวะที่มีการสลายกรดไขมันมาก ๆ เช่น ภาวะอดอาหารหรือในคนที่เป็นโรคเบาหวาน จะมี acetyl CoA มาก ซึ่งตับก็จะเปลี่ยน acetyl CoA ไปเป็น
ketone bodies (acetoacetate, 3-hydroxybotyrate และ acetone) และถูกส่งผ่านกระแสเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทีส่ ามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น acetyl
CoA และถูก Oxidized ต่อจนได้พลังงาน
ในภาวะปกติตับจะมีการสร้าง ketone bodies ได้น้อย และมีระดับหนึ่งเท่านั้นประมาณ 1
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของพลาสม่าเพื่อเป้นสารเชื้อเพลิงแก่เซลล์กล้ามเนื้อ หัวใจ ไต และจะมีคีโตนบอดี้กำาจัดออกทางปัสสาวะไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน
แต่จะมีการสร้างมากขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะอดอาหาร ซึ่งร่างกายจำาเป็นต้องใช้พลังงาน ดังนี้นจึงต้องมีการสร้าง ketone bodies แต่เมื่อได้ตามที่อัตราการสร้าง ketone
bodies มากกว่าการใช้ จะทำาให้เกิด ketonemia และ ketonuria ซึ่งสามารถพบได้ในคนที่อดอาหารนาน ๆ หรือเป็นโรคเบาหวานรุนแรงควบคุมได้
ketone bodies เป็นแหล่งพลังงานทีส่ ำาคัญ เพราะ
1. ละลายได้ดีในกระแสเลือด จึงไม่จำาเป็นต้องรวมตัวอยู่ในรูป lipoprotein หรือ ขนส่งโดย albumin
2. ในช่วงที่มี acetyl CoA มากเกิดกว่าที่ตับจะเปลี่ยนแปลงโดยขบวนการ oxidative ได้ตับจะทำาหน้าที่เปลี่ยนเป็นคีโตนบอดีส์ได้ทันที
3.Extrahepatic tissue เช่น skeletal, cardiac muscle, renal cortex สามารถนำาไปใช้ได้ แม้แต่สมอง

รูปที่ 11 การสังเคราะห์โคเลสเตอรอล และ คีโตนบอดีส์


( http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)

พยาธิสภาพที่เกิดจากความผิดปกติของลิปิดเมตะบอลิสม์

ภาวะไคโลไมครอนสูงในเลือด (Hyperchylomicronemia)
เป็นภาวะที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดด้วย แต่จะเป็นไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากอาหาร
หากไลโปโปรทีนไลเปสที่ผนังเซลล์หลอดเลือดซื่งสลายกรดไขมันจากไตรกลีเซอไรด์ใน chylomicron มีการทำางานลดลง ทำาให้การสลาย chylomicron
ในเลือดลดลง จืงทำาให้ปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด
การรักษาควรให้ได้อาหารไขมันประเภท medium chain triglyceride เพราะไขมันประเภทนี้หลังจากการย่อยแล้ว
กรดไขมันที่ได้จะสามารถดูดซึมไปใช้ได้โดยจะจับตัวกับอัลบูมิน ไม่มีการรวมตัวใหม่ในผนังลำาไส้เล็ก จึงไม่มี chylomicron
13 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

ภาวะไขมันคั่งในตับ (fatty liver)


ตับเป็นอวัยวะสำาคัญที่เป็นแหล่งของการสังเคราะห์ไขมันชนิดต่างๆ หลังจากการสร้างไขมันแล้ว จะปล่อยออกไปสู่กระแสโลหิต จะมีการจับตัวเป็น lipoprotein
ชนิด VLDL เพื่อเป็นการนำาพาไขมันที่สร้างในร่างกายไปยังเนื้อเยื่ออื่นโดยเฉพาะเนื้อเยื่อไขมัน ในการสร้างฟอสโฟกลีเซอไรด์ มีสารสำาคัญ เช่น choline ซึ่งมารวมกับ
phosphoglyceride เพื่อเป็น phospholipid และมีสารอื่น เช่น methionine ซึ่งจะให้หมู่เมธิลในการเกิดฟอสโฟลิปิดเช่นกัน
การขาดสารดังกล่าวทำาให้การสร้างฟอสโฟลืปิดในตับเกิดผิดปกติ ส่งผลกระทบให้การสร้าง VLDL ที่จะพาไขมันออกจากตับผิดปกติ
ทำาให้เกิดการคั่งและการสะสมไขมันที่สร้างขึ้นมาในตับ

การติดสุราและการเกิดตับแข็ง
สุราที่ดื่มเข้าไปเมื่อถูกออกซิไดส์ในร่างกายที่ตับ จะทำาให้ได้อัลดีไฮด์ และมี NADH คั่งในกระแสเลือดอย่างมาก NADH
ที่มีมากในเลือดส่งผลกระทบให้เกิดการยับยั้งเอ็นไซม์ที่ใช้ในการออกซิไดส์กรดไขมัน แต่จะเกิดการกระตุ้นสารที่ใช้สังเคราะห์กรดไขมันขึ้นมาแทนที่
เพราะแอบลกอฮอล์ที่ถูกออกซิไดส์ทตี่ ับ ทำาให้มี acetyl CoA ในตับเพิ่มขึ้น เกิดกระตุ้นการสร้างไขมันชนิด longchain fatty acid
และนำาไปสู่การสังเคราะห็เป็นไตรกลีเซอไรด์ ขณะเคดียวกันแอลกอฮอล์ทำาให้อัตราการสร้างโปรทีนที่จะมารวมตัวกับลิปดิ เป็นไลโปโปรทีนชนิด VLDL มีลดลง
ทำาให้การพาไขมันออกจากตับเกิดได้น้อยกว่าปกติ จึงทำาให้มีไขมันคั่งในตับเกิดภาวะ fatty liver และนำาไปสู่ตับแข็ง (cirrhosis) ได้ในที่สุด

ภาวะอ้วนผิดปกติ (Obesity)
เป็นภาวะที่มีการสะสมไตรกลีเซอไรด์มากเกิดปกติ โดยธรรมชาติของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลต่างๆ เพื่อให้เกิดพลังงานและเก็บเป็นเชื้อเพลิงสะสม
มีการเปลี่ยนกลูโคส กรดไขมันเป็นไตรกลีเซอไรด์เพื่อเป็นพลังงานสะสม ร่างกายมีความสามารถที่จะสะสมไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อ ตับ ในปริมาณที่จำากัด
แต่การเก็บเชื้อเพลิงสะสมที่เนื้อเยื่อไขมันไม่มีขีดจำากัด การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากๆ เกิดการกระตุ้นเอ็นไซม์ fatty acid synthetase ให้ทำางานดีขึ้นมา
ขณะเดียวกันการเมตะบอลิสม์คาร์โบไฮเดรต ทำาให้เกิด acetyl CoA ในร่างกายมาก จึงสามารถนำาไปสร้างเป็นกรดไขมัน และสร้างในรูปไตรกลีเซอไรด์
เพื่อสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันได้โดยไม่มีขีดจำากัด ทำาให้เกิดภาวะอ้วนผิดปกติ

ภาวะ Diabetic ketosis


ผูท้ ี่เป็นโรคเบาหวานรุนแรง ไม่สามารถควบคุมระดับกลูโคสในร่างกายได้ ทำาให้เซลล์ขาดพลังงานเพราะกลูโคสไม่สามารถเข้าเซลล์เพื่อไปออกซิไดส์ได้ตามปกติ
ร่างกายจึงมีการสลายไขมันจากเนื้อเยื่อไขมันเป็นกรดไขมัน เพื่อนำาไปออกซิไดส์ให้พลังงานแทน เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง การออกซิไดส์กรดไขมันที่มากเกินไป
ทำาให้เกิดอะซทธิลโคเอมาก และร่างกายนำาไปสร้ารคีโตนบอดีส์มากเกินสมดุลย์ ทำาให้เกิดภาวะ ketosis เลือดจะมีความเป็นกรดมาก เพราะคีโตนบอดีส์มีสภาพเป็นกรด
กลูโคสที่มีมากในเลือดจะถูกขับออกทางปัสสาวะมาก เกิดการสูญเสียนำ้า อิเลคโตลัยท์ต่างๆ

เอกสารอ้างอิง
1. Myrray RK,Granner DK, Mayes PA, Rodwell VW. Harper's biochemistry. 24 th ed. New Jersey: Prentice Hall
International Inc., 1996.
2. Voet D, Parson WW, Vance DE. Principles of biochemistry. Oxford: Wm.C. Brown Publishers, 1995.
3. Mathews CR, Van Holde KE. Biochemistry. 2 ed. Puerto Rico: The Benjamin/Cummings Publishing Company
nd

Inc,1996
4. Marks DB, Marks AD, Smith CM. Basic medical biochemistry : A clinical approach. Baltimore, Maryland :
Williams& Wilkins, 1996.
5. (http://www.kumc.edu/research/medicine/biochemistry/bioc800/lip-lobj.htm)
6.อุษณีย์ วินิจเขตคำานวณ. ลิปิด: ชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใ เชียงใหม่
7. สมทรง เลขะกุล. เมตะบอลิสมของลิปิด: นิโลบล เนื่องตัน,บรรณาธิการ. ชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลใ กรุงเทพ: โรงพิมพ์ บริษัทธรรมสาร จำากัด .2536
14 ลิปิดเมตะบอลิสม์ / อ.วรรณรัตน์ ยิ่งสังข์

You might also like