You are on page 1of 21

Gas

1 Law

กฏของกาซ
Gas Law

เนื้อหาในบทเรียน
1. กฎของกาซ
1.1 กฎของบอยล
1.2 กฎของชารลส
1.3 กฎของเกย ลุสแซก
2. สมมติฐานของอาโวกาโดร
3. แบบจําลองและทฤษฎีจลนของกาซอุดมคติ
3.1 แบบจําลองของกาซอุดมคติ
3.2 ทฤษฎีจลนของกาซ
4. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลกาซ
5. พลังงานจลนเฉลี่ยและพลังงานภายในระบบของ
โมเลกุลกาซอุดมคติ
6. การแจกแจงพลังงานและความเร็วในโมเลกุลกาซ
7. สมการของแวนเดอรวาลส

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 1
Gas
2 Law

กาซประกอบดวยอนุภาคเล็กมากจํานวนมากมาย โดยแตละอนุภาคเรียกวาโมเลกุล โดย


โมเลกุลของกาซจะอยูหางกันมากกวาโมเลกุลของของแข็งและของเหลว เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยว
ระหวางโมเลกุลของกาซมีคานอยมาก ทําใหโมเลกุลของกาซเคลื่อนที่ตลอดเวลา โดยมีทิศทางไม
แนนอน กาซสามารถฟุงกระจายไดงาย ความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิมีผลทําใหสมบัติตาง ๆ
ของกาซเปลี่ยนไป

1. กฎของกาซ
ในการศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของกาซ เราสามารถจัดแบงกาซออกเปน 2 ชนิด คือ

• กาซอุดมคติ (Ideal Gas) หมายถึง กาซที่ถูกสมมติขึ้นเพื่อใชอธิบายคุณสมบัติตาง ๆ ของกาซ


โดยไมวาที่สภาวะใดก็ตามกาซนี้จะเปนไปตามกฎตางๆ ของกาซ ซึ่งกาซนี้ไมมีอยูจริงใน
ธรรมชาติ
• กาซจริง (Real Gas) หมายถึง กาซที่มีอยูทั่วไปในธรรมชาติ เชน O2 , CO2 เปนตน โดยกาซ
นี้ไมเปนไปตามกฎของกาซ ยกเวนเมื่ออุณหภูมิสูงและความดันต่ํา กาซจริงจะมีสมบัติ
ใกลเคียงกับกาซอุดมคติ

ซึ่งในการอธิบายกฎตาง ๆ ของกาซ นักวิทยาศาสตรหลายทานไดทําการทดลองและใช


กาซอุดมคติในการอธิบาย ดังนี้

1.1 กฎของบอยล (Boyle’s Law) เปนกฎที่ใชอธิบายความสัมพันธระหวางความดันและ


ปริมาตรของกาซ โดยผูที่คนพบกฎนี้คือ โรเบริต บอยล (Robert Boyle) พบวา “เมื่อ
อุณหภูมิและมวลของกาซคงที่ ความดันสัมบูรณของกาซจะแปรผกผันกับปริมาตรของ
กาซ” หมายความวา เมื่อความดันสัมบูรณมีคาเพิ่มขึ้น จะมีผลทําใหปริมาตรของกาซ
ลดลง ดังรูปที่ 13.1

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 2
Gas
3 Law

1
V
รูปที่ 1 แสดงการทดลองของบอยล

ถาให P แทนความดันสัมบูรณของกาซ , V แทนปริมาตรของกาซ และ T แทน


อุณหภูมิของกาซจะได

1
ที่ T คงที่ P α
V

หรืออาจเขียนไดวา PV = k เมื่อ k แทนคาคงที่ โดยจะพบวาที่อุณหภูมิคงที่ ผลคูณระหวาง


ความดันสัมบูรณกับปริมาตรของกาซใด ๆ มีคาคงที่ ซึ่งถาความดันของกาซเปลี่ยนแปลงจาก P1
เปน P2 ปริมาตรของกาซจะเปลี่ยนจาก V1 เปน V2 จะได

P1V1 = P2V2 (1)

1.2 กฎของชารลส (Charles’s Law) เปนกฎที่ใชอธิบายความสัมพันธระหวางปริมาตร


และอุณหภูมิของกาซ โดยผูที่คนพบกฎนี้คือ Jacques Charles พบวา “ถาใหความดันและมวล
ของกาซคงที่ ปริมาตรจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิองศาสัมบูรณของกาซ” สามารถเขียน
ความสัมพันธไดดังนี้

ที่ P คงที่ V α T

V
โดยที่ =k ซึ่ง k เปนคาคงที่ เมื่อความดันและมวลของกาซคงที่ ถาปริมาตรของกาซ
T
เปลี่ยนจาก V1 เปน V2 และอุณหภูมิของกาซเปลี่ยนจาก T1 เปน T2 จะได

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 3
Gas
4 Law

V1 V2
= (2)
T1 T2

T(K)

รูปที่ 13.2 แสดงการทดลองของชารลส

1.3 กฎของเกย ลุสแซก (Gay Lussac’s Law) เปนกฎที่ใชอธิบายความสัมพันธระหวาง


ความดันและอุณหภูมิของกาซ โดยผูที่คนพบกฎนี้คือ Gay Lussac พบวา “ถาใหปริมาตรและ
มวลของกาซคงที่ ความดันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิองศาสัมบูรณของกาซ” สามารถเขียน
ความสัมพันธไดดังนี้

V คงที่ P α T

P
โดยที่ =k ซึ่ง k เปนคาคงที่ เมื่อปริมาตรและมวลของกาซคงที่ ถาความดันของกาซ
T
เปลี่ยนจาก P1 เปน P2 และอุณหภูมิของกาซเปลี่ยนจาก T1 เปน T2 จะได

P1 P2
= (3)
T1 T2

เมื่อรวมกฎของบอยล ชารลส และเกย ลุสแซก เขาดวยกัน จะไดความสัมพันธระหวาง


ความดัน ปริมาตรและอุณหภูมิของกาซเมื่อมวลของกาซมีคาคงที่ ดังนี้

PV α T

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 4
Gas
5 Law

หรืออาจเขียนไดวา
PV
= k (4)
T

โดยที่ k เปนคาคงที่ จากการทดลองพบวา กาซทุกชนิดที่ S.T.P. ( T = 273 K , P = 1.013 x


105 N/m2 ) กาซ 1 โมล จะมีปริมาตร(V) 22.4 x 10-3 m3 ถาคิดที่กาซ n โมล จะมีปริมาตร
22.4x10-3 n m3 เมื่อแทนคาในสมการที่ (13.4) จะได

(1.013 x10 5 N / m 2 )(22.4 x10 −3 n m 3 )


k =
(273K )

ดังนั้น k = 8.314 n J/mol.K

ถาให R = 8.314 J/mol.K แทน คาคงที่สากลของกาซ (Universal gas constant)


สมการที่ (4) สามารถเขียนไดใหมเปน

PV = nRT (5)

เมื่อ P เปนความดัน มีหนวยเปนนิวตันตอตารางเมตร (N/m2)


V เปนปริมาตร มีหนวยเปนลูกบาศกเมตร (m3)
T เปนอุณหภูมิ มีหนวยเปนเคลวิน (K)
n เปนจํานวนโมล มีหนวยเปนโมล (mol)
R เปนคาคงที่สากลของกาซ มีคา 8.314 J/mol.K
m
( คําแนะนํา: จํานวนโมล ( n ) = โดยที่ m แทนมวลของกาซในหนวยกรัม และ M แทน
M
มวลโมเลกุลของกาซในหนวยกรัมตอโมล )

เรียกสมการที่ (5) วา กฎของกาซอุดมคติ (Ideal gas law) หรือ สมการสถานะของกาซอุดมคติ


(Equation of state for an ideal gas) ซึ่งสมการนี้แสดงความสัมพันธของปริมาณทั้งสามคือความ
ดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ โดยพิจารณาที่จํานวนโมลของกาซ

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 5
Gas
6 Law

ถาใหกาซจํานวน n1 โมล เปลี่ยนเปน n2 โมล ความดันของกาซเปลี่ยนจาก P1 เปน P2


ปริมาตรของกาซเปลี่ยนจาก V1 เปน V2 และอุณหภูมิของกาซเปลี่ยนจาก T1 เปน T2 จะได

P1V1 P2V2
= (6)
n1T1 n2T2

m1 m2
ถา n1 = และ n2 = โดย m1 และ m2 แทนมวลของกาซในหนวยกรัม และ M
M M
แทนมวลโมเลกุลของกาซในหนวยกรัมตอโมล สมการที่ (6) เขียนใหมไดเปน

P1V1 P2V2
= (7)
m1T1 m 2T2

แตถากาซมีมวลคงที่ ( m1 = m2 ) จะได

P1V1 P2V2
= (8)
T1 T2

สมการขางตนจะใชคํานวณหาคาความดัน ปริมาตรและอุณหภูมิ เมื่อเปลี่ยนจากสภาวะ


หนึ่งไปสูอีกสภาวะหนึ่ง

ตัวอยางที่ 1 ออกซิเจน 1 m3 ที่ 00C ภายใตความดัน 76 N/m2 มีมวล 1.429 กรัม จงหามวลของ
ออกซิเจน 1 m3 ที่ 150 0C ความดัน 57 N/m2

วิธีทํา จากสมการที่ (13.7)


P1V1 P2V2
=
m1T1 m2T2

(76 N / m 2 )(1m 3 ) (57 N / m 2 )(1m 3 )


=
( )
1.429 x10 −3 kg (273K ) m(150 + 273K )

m = 0.691x10-3 kg = 0.691 กรัม ตอบ

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 6
Gas
7 Law

ตัวอยางที่ 2 ยางรถยนตถูกเติมลมจนมีความดัน 200 kPa ที่ 100C หลังจากขับไปได 100 km


อุณหภูมิภายในยางเพิ่มเปน 400C จงหาความดันภายในยางที่อุณหภูมิ 400C

P1V1 P2V2
วิธีทํา จากสมการที่ (13.8) =
T1 T2

เนื่องจากปริมาตรกาซคงที่ (V1 = V2 ) ดังนั้นจะได


P1 P2
=
T1 T2
200 kPa P2
=
(10 + 273) K (40 + 273) K

(200 kPa )(313K )


P2 = = 221.2 kPa
(283K )
ความดันภายในยางที่อุณหภูมิ 400C มีคา 221.2 kPa ตอบ

ตัวอยางที่ 3 ถังบรรจุจะตองมีปริมาตรกี่ลูกบาศกเมตร จึงจะสามารถบรรจุกาซ 1 โมล ที่ S.T.P.

วิธีทํา กาซ 1 โมลที่ S.T.P. คือ ที่ความดัน (P) 1.013 x 105 N/m2 และอุณหภูมิ 273 K

จาก PV = nRT

(1.013x105N/m2) V = (1 mol)(8.314 J/mol.K)(273 K)

V = 0.0244 m3 ตอบ

2. สมมติฐานของอาโวกาโดร (Avogadro’s hypothesis)


ในป ค.ศ. 1811 อาเมเดโอ อาโวกาโดร ไดศึกษาปริมาตรของกาซมีความสัมพันธกับ
จํานวนอนุภาคของกาซ จึงไดตั้งสมมติฐานขึ้นดังนี้ “กาซที่มีปริมาตรเทากัน ที่อุณหภูมิและความ
ดันเดียวกัน จะมีจํานวนโมเลกุลเทากัน” จํานวนโมเลกุลในหนึ่งโมล เรียกวา เลขอาโวกาโดร
(Avogadro’s number) แทนดวย NA โดยที่

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 7
Gas
8 Law

NA = 6.02 x 1023 โมเลกุล / โมล

ถาให N เปนจํานวนโมเลกุลทั้งหมดของกาซในปริมาตรที่พิจารณา จะไดวา

N = nN A

ดังนั้น จํานวนโมล ( n ) จะสัมพันธกับจํานวนโมเลกุล( N ) และเลขอาโวกาโดร(NA) ดังนี้

N
n = (9)
NA

จากกฎของกาซอุดมคติ ในสมการที่ (5) แทนคา n ในสมการที่ (9) ลงไป เขียนใหมได


เปน
N
PV = RT
NA
หรือ
PV = Nk B T (10)

โดยที่ N แทน จํานวนโมเลกุลของกาซ หนวยเปนโมเลกุล


kB แทน คาคงตัวของโบลตมานต (Boltzmann’s constant) โดยที่
R 8.314 J /( mol.K )
kB = = = 1.38 x10-23 J/K
NA 6.02 x10 23 (mol ) −1

ตัวอยางที่ 4 จงหาจํานวนโมเลกุลและจํานวนโมลของกาซที่อยูในภาชนะที่มีปริมาตร 1 m3 ที่


ความดันบรรยากาศ 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 00 C

วิธีทํา โจทยกําหนดให V = 1 m3 , P = 1 atm = 1.013 x105 N/m2 , T = 273 K คํานวณหา


จํานวนโมเลกุลได จากสมการที่ (13.10)
PV = Nk B T
(1.013 x105 N/m2)( 1 m3) = N (1.38 x 10-23J/K)(273 K)

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 8
Gas
9 Law

N = 2.69 x 1025 โมเลกุล ตอบ


25
N 2.69 x10 molecules
จํานวนโมล n = = = 44.7 mol ตอบ
NA 6.02 x10 23 molecules / mol

3. แบบจําลองและทฤษฎีจลนของกาซอุดมคติ
3.1 แบบจําลองของกาซอุดมคติ
ในการศึกษาเกี่ยวกับกาซ นักวิทยาศาสตรไดสรางแบบจําลองของกาซอุดมคติ โดยมี
นิยามของแบบจําลองกาซดังนี้
1. โมเลกุลหนึ่ง ๆ ของกาซอุดมคติเปนมวลทรงกลมขนาดเล็ก ๆ ซึ่งมีคาพลังงานภายใน
เปนพลังงานจลนเชิงเสนอยางเดียวเทานั้น และระหวางโมเลกุลเปนที่วางมากทําใหแรงดึงดูด
ระหวางโมเลกุลมีคานอยมากจนตัดทิ้งได
2. ปริมาตรของโมเลกุลของกาซอุดมคติมีคานอยมาก เมื่อเทียบกับปริมาตรของกาซใน
ภาชนะ
3. โมเลกุลทั้งหลายของกาซอุดมคตินั้นมีการเคลื่อนที่อยางอิสระไมเปนระเบียบ เรียกการ
เคลื่อนที่แบบนี้วา การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian Motion) โดยการเคลื่อนที่เปนไปตาม
กฎขอที่ 2 ของนิวตัน โดยเมื่อโมเลกุลของกาซเกิดการชนกันแลว อัตราเร็วของโมเลกุลอาจเพิ่มขึ้น
หรือลดลงก็ได และในขณะเดียวกันทิศทางการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนไปอยางไมเปนระเบียบ การ
เปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและทิศทางของความเร็วทําใหการเคลื่อนที่เปนไปในทุกทิศทางถือวาเทากัน
ดังนั้นการชนของโมเลกุลกาซจึงจัดเปนการชนแบบยืดหยุนสมบูรณ โดยไมมีการสูญเสียพลังงาน
ในการชนกัน
4. โมเลกุลทั้งหลายของกาซอุดมคติ จะเคลื่อนที่ดวยความเร็วสูง ซึ่งความเร็วของแตละ
โมเลกุลไมจําเปนตองเทากัน แตเมื่อเวลาผานไป ถือวาโมเลกุลทั้งหลายมีความเร็วเฉลี่ยเปนคาคง
ตัวเดียวกัน

3.2 ทฤษฎีจลนของกาซ

พิจารณาภาชนะรูปลูกบาศกยาวดานละ L มีกาซอยูทั้งหมด N โมเลกุล แตละโมเลกุลมี


มวล m0 เมื่อโมเลกุลเขาไปชนผนังจะสะทอนออกมา ทําใหเกิดแรงกระทําตอผนังนั้น เนื่องจากมี

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 9
Gas
10 Law

โมเลกุลจํานวนมาก แรงเชนนี้ก็จะมีติดตอกันไปทําใหเกิดความดันกระทํากับผนังดานขางซึ่งมี
พื้นที่ A ดังรูป

y y
L L

m0 v x
A - m0 v x
x x

z z

(ก) ลูกบาศกดานยาว 4 บรรจุกาซอุดมคติโดย (ข) โมเลกุลของกาซชนแบบยืดหยุนกับผนัง


แตละโมเลกุลมีอัตราเร็ว v ของภาชนะ
รูปที่ 3 แสดงการเคลื่อนที่ของโมเลกุลกาซ

พิจารณาโมเลกุลของกาซหนึ่งมีความเร็ว v ซึ่งแยกยอยตามแกนได v x , v y , และ v z


เมื่อไปชนผนังทางแกน x จะเห็นวามีโมเมนตัมไปทางแกน x Px1 = - m0vx เมื่อสะทอนกลับก็
จะเกิดโมเมนตัมในทิศทางตามแกน x ดังนี้ Px 2 = m0vx

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม ΔPx = Px 2 - Px1 = 2 m0 v x

2L
การเปลี่ยนโมเมนตัมนี้เกิดในเวลา Δt = เมื่อ vx คือ ขนาดของความเร็วยอยใน
vx
แนวแกน x

ถาให Fx คือ ขนาดของแรงเฉลี่ยในแนวแกน x ที่โมเลกุลหนึ่ง ๆ กระทําตอผนังใน


เวลา Δt จากคําจํากัดความของการดลจะได

Fx Δt = ΔPx = 2 m0 v x

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 10
Gas
11 Law

ดังนั้นจะไดแรงที่กระทํากับผนังภาชนะ

2m0 v x 2m0 v x m0 v x2
Fx = = = (11)
Δt 2L / vx L

แรงทั้งหมดที่กระทําตอผนังที่ชนในแนวแกน x เกิดจากการวมแรงของทุกอนุภาค โดยที่


พื้นที่ของผนังที่ถูกชนมีคา A = L2 ดังนั้น ความดันที่ผนังดานขางภาชนะ

P = ∑F x

m0 2
= 3
( v x1 + v x22 + v x23 + ... + v xN2 ) (12)
L

เมื่อ v x1 , v x 2 ,........ หมายถึง อัตราเร็วของโมเลกุลกาซของอนุภาคที่ 1,2, …, N ในแนวแกน x


ดังนั้น ถา v x2 แทนคาเฉลี่ยของโมเลกุล N โมเลกุลคือ

v x21 + v x21 + v x22 + ....v xn


2
v x2 = (13)
N

แทนสมการที่ (13) ในสมการที่ (12) โดยถา V แทนปริมาตรของภาชนะซึ่ง V = L3 จะได


PV = Nm0 v x2 (14)

แตเนื่องจากอนุภาคมีโอกาสวิ่งชนผนังทั้ง 3 ทิศทาง ( x , y , z ) เทา ๆ กัน โดยมี

v x2 = v y2 = v z2

แต v2 = v x2 + v y2 + v z2 = 3v x2

1 2
ดังนั้น v x2 = v y2 = v z2 = v แทนในสมการที่ (13.14) จะได
3

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 11
Gas
12 Law

1
PV = Nm0 v 2 (15)
3
ถาให vrms แทน คาอัตราเร็วกําลังสองเฉลี่ย (root mean square speed) โดยที่ v rms = v 2
สมการที่ (15) เขียนใหมไดดังนี้

1
PV = 2
Nm0 v rms (16)
3

โดยที่ N แทน จํานวนโมเลกุลของกาซ


m0 แทน มวลของกาซ 1 โมเลกุล มีหนวยเปนกิโลกรัม

เนื่องจากมีโมเลกุลอยูเปนจํานวนมากในกาซปริมาตรหนึ่ง ๆ จึงทําใหคา vrms และ


ความเร็ ว เฉลี่ ย v 2 ไม แ ตกต า งกั น มากนั ก ดั ง นั้ น ในการคํ า นวณโดยทั่ ว ๆ ไปที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ
โมเลกุลจํานวนมากอยูในปริมาตรใดที่ความดันไมสูงนัก คาของ vrms จะถือวาเปนคาเดียวกับคา
v 2 ได โดยไมทําใหเกิดความผิดพลาดในผลลัพธมากนัก

4. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลกาซ
อัตราเร็วโมเลกุลของกาซที่เคลื่อนที่แตละโมเลกุลมีคาไมเทากัน ดังนั้นจึงคิดเปนอัตราเร็ว
เฉลี่ย ซึ่งสามารถคํานวณไดดังนี้
จากสมการกฎของกาซ PV = nRT = Nk BT เมื่อเปรียบเทียบกับสมการที่ (16)
จะได

1 2
Nm0 v rms = nRT = Nk B T
3

3nRT 3RT 3k B T
v rms = = = (17)
Nm0 M m0

m m0 N
คําแนะนํา : n แทน จํานวนโมล โดย n = =
M M
M แทน มวลโมเลกุล ในหนวยกรัมตอโมล
m แทน มวลกาซ ในหนวยกรัม

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 12
Gas
13 Law

m0 แทน มวลกาซ 1 โมเลกุล ในหนวยกรัม

จากสมการที่ (17) พบวา อัตราเร็วเฉลี่ยของกาซมีคาขึ้นกับอุณหภูมิ โดยถาอุณหภูมิของ


กาซสูงขึ้น จะมีผลทําใหอัตราเร็วเฉลี่ยของกาซมีคามากขึ้นดวย

ตัวอยางที่ 5 จงหาอัตราเร็ว vrms ของโมเลกุลออกซิเจน และโมเลกุลอีเลียม ที่อุณหภูมิ 27 0C


วิธีทํา คํานวณหา vrms ของโมเลกุลออกซิเจน ไดจาก

3RT
v rms =
M

โดยที่มวลโมเลกุลของออกซิเจน M = 32 กรัม = 32x10-3 kg , R = 8.31 J/mol.K , T =


(27+273) = 300 K แทนคา

3(8.31J / mol.K )(300 K )


v rms = = 483.44 m/s ตอบ
32 x10 −3 kg

สําหรับฮีเลียมเปนกาซอะตอมเดี่ยว 1 โมเลกุลของกาซฮีเลียมประกอบดวย 1 อะตอมเทานั้น มวล


อะตอมของฮีเลียม M = 4 กรัม = 4x10-3 kg ดังนั้น

3(8.31J / mol.K )(300 K )


vrms = = 1367.39 m/s ตอบ
4 x10 −3 kg

ตัวอยางที่ 6 จงหาอุณหภูมิที่มีผลทําให vrms ของกาซไนโตรเจน มีคาเทากับ vrms ของกาซ


ออกซิเจน ที่ 300 C
3RT
วิธีทํา จาก v rms =
M
3RT1
คิดที่กาซไนโตรเจน v rms1 = (1)
M1
3RT2
คิดที่กาซออกซิเจน v rms2 = (2)
M2
(1) = (2) ดังนั้น

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 13
Gas
14 Law

3RT1 3RT2
=
M1 M2
มวลโมเลกุลของกาซไนโตรเจน M1 = 28x10-3 kg และ มวลโมเลกุลของกาซออกซิเจน M2 =
32x10-3 kg แทนคา
T1 (30 + 273) K
=
(28 x10 −3 )kg (32 x10 −3 )kg

T1 = 265.13 K = -7.870 C ตอบ

5. พลังงานจลนเฉลี่ยและพลังงานภายในระบบของโมเลกุลกาซอุดมคติ
ถาให E k แทนคาพลังงานจลนเฉลี่ย ซึ่งหมายถึงคาเฉลี่ยของพลังงานจลนของแตละ
โมเลกุลของกาซ โดยที่แตละโมเลกุลเคลื่อนที่ดวยอัตราเร็วเฉลี่ย ( vrms )

1
Ek = 2
m0 v rms
2

จากสมการที่ (17) แทนคาจะได

1 3k B T 2 3
Ek = m0 ( ) = k BT (18)
2 m0 2

จากสมการที่ (18) พบวา พลังงานจลนเฉลี่ยของโมเลกุลกาซแปรผันตรงกับอุณหภูมิ ซึ่งถา


อุณหภูมิของระบบมีคามากขึ้นจะทําใหพลังงานจลนเฉลี่ยมีคามากขึ้นดวย

ถาให U แทนพลังงานภายในระบบ เกิดขึ้นเนื่องจากโมเลกุลของกาซเคลื่อนที่ดวย


อัตราเร็วเฉลี่ยตลอดเวลาและแรงยึดเหนี่ยวระหวางโมเลกุลมีคานอยมาก พลังงานรวมของโมเลกุล
กาซจึงอยูในรูปพลังงานจลนเพียงอยางเดียว ซึ่งพลังงานจลนรวมของแตละโมเลกุลแทนดวย E k
โดยที่ E k = NE k โดย N แทนจํานวนโมเลกุลทั้งหมดของกาซ และ E k แทนพลังงานจลน
เฉลี่ยของกาซแตละโมเลกุล ดังนั้นพลังงานภายในระบบที่เกิดขึ้นก็คือพลังงานจลนรวมของระบบ
นั่นเอง จะไดวา

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 14
Gas
15 Law

U = Ek = NE k
3
โดยที่ Ek = k BT แทนคาจะได
2

3
U = Nk B T
2

เพราะวา PV = Nk B T = nRT ดังนั้น

3 3 3
U = Nk B T = PV = nRT (19)
2 2 2

จากสมการที่ (19) จะพบวา พลังงานภายในระบบมีความสัมพันธกับ ความดัน , ปริมาตร


และอุณหภูมิ ซึ่งถาปริมาณใดปริมาณหนึ่งเปลี่ยนแปลงจะทําใหพลังงานภายในเปลี่ยนไปถา ΔU
แทนพลังงานภายในระบบที่เปลี่ยนไป จะได

3 3 3
ΔU = Nk B ΔT = PΔV = nRΔT (20)
2 2 2

สมการที่ (19) และ (20) ใชกับกาซเปนอะตอมเดี่ยว เชน กาซเฉื่อย ซึ่งไดแก ฮีเลียม


(He) , นีออน (Ne) เปนตน แตถาเปนกาซอะตอมคูหรือกาซที่โมเลกุลซับซอนมากขึ้น ดังนั้น
พลังงานภายในของกาซตองเปนผลรวมของพลังงานจลนเนื่องจากการเคลื่อนที่เชิงเสน พลังงาน
จลนเนื่องจากการหมุน และพลังงานจลนเนื่องจากการสั่น ซึ่งพลังงานภายในระบบของกาซอะตอม
คูนี้ จะไดวา

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 15
Gas
16 Law

5 5 5
ΔU = Nk B ΔT = PΔV = nRΔT (21)
2 2 2
ตัวอยางที่ 7 จงหาพลังงานจลนเฉลี่ยและพลังงานภายในระบบของโมเลกุลของกาซนีออน (Ne)
มวล 1 กรัม ที่ 30 0C (มวลโมเลกุล 20.2 u)
วิธีทํา คํานวณหาคาพลังงานจลนเฉลี่ย
3
Ek = k BT
2
3
= (1.38 x10 − 23 J / K )(30 + 273) K
2
= 6.27 x 10-21 J ตอบ
คํานวณหาคาพลังงานภายในระบบ
U = NE k

โดยที่ N แทนจํานวนโมเลกุล โดยที่

N m
=
NA M

1x10 −3
โดยที่ N = mN A
M
= −3
(6.02 x10 23 ) = 2.98x10 22 โมเลกุล
20.2 x10

U = (2.98 x10 22 )(6.27 x10 −21 )

= 1.87 x 102 J ตอบ

ตัวอยางที่ 8 ถังกาซปริมาตร 0.3 m3 บรรจุกาซฮีเลียม 3 โมล ที่อุณหภูมิ 370C โดยสมมติวา


ฮีเลียมมีพฤติกรรมเหมือนกาซอุดมคติ จงหา
ก. พลังงานภายในระบบ
ข. พลังงานจลนเฉลี่ยของกาซนี้
ค. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซนี้
ง. ถาอุณหภูมิเทากับ -300C จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซนี้
จ. ถากาซที่บรรจุคือออกซิเจน จงหา vrms ของโมเลกุลของออกซิเจนที่อุณหภูมิ 27 0C

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 16
Gas
17 Law

วิธีทํา
3
ก. พลังงานภายในระบบ U = nRT
2

3
= (3 mol) (8.31 J/mol.K)(37+273)K
2

= 11.59x103 J ตอบ
3
ข. พลังงานจลนเฉลี่ยของกาซนี้ Ek = k BT
2
3
Ek = (1.38 x 10-23 J/K) (37+273 )K
2
= 6.42 x 10-21 J ตอบ

ค. อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซนี้
3RT
v rms =
M

แตน้ําหนักโมเลกุลของฮีเลียม M = 4 g / mol = 4 x 10-3 kg/mol แทนคา

3(8.31J / mol.K )(37 + 273)K


v rms =
4 x10 −3 kg / mol
= 1.39 x 103 m/s ตอบ

ง. ถาอุณหภูมิเทากับ -300C อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของกาซนี้


3RT
v rms =
M
3(8.31J / mol.K )(273 − 30 )K
=
4 x10 −3 kg / mol
= 1.23 x 103 m/s ตอบ

จ. vrms ของโมเลกุลของออกซิเจนที่อุณหภูมิ 27 0C

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 17
Gas
18 Law

3RT
v rms =
M
น้ําหนักโมเลกุลของออกซิเจน M = 32 g / mol = 32 x 10-3 kg /mol

3(8.31J / mol.K )(273 + 27 )K


v rms =
32 x10 −3 kg / moL
= 483.44 m/s

6. การแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลกาซ
โมเลกุลของกาซนั้นมีการเคลื่อนที่ทุกทิศทุกทางดวยอัตราเร็วตาง ๆ กันซึ่งเรียกการ
เคลื่อนที่แบบนี้วา การเคลือ่ นที่ของบราวเนียน (Brownian Motion) มีโมเลกุลจํานวนมากที่มี
อัตราเร็วมากกวาอัตราเร็วเฉลี่ย และก็ยังมีอีกจํานวนมากที่มีอัตราเร็วนอยกวาอัตราเร็วเฉลี่ย ในป
1859 แมกซเวลส (James Cleark Maxwell) ใชทฤษฎีจลนของกาซหาสมการแจกแจงอัตราเร็วของ
โมเลกุลในกาซ N โมเลกุล ไดดังนี้
1 mv 2
m 3 / 2 2 − 2 k BT
N (v) = 4πN ( ) v e (22)
2πk B T

โดยที่ N (v) แทนจํานวนโมเลกุลในชวงอัตราเร็ว v กับ v + dv


m แทนมวลของกาซ 1 โมเลกุล
T แทนอุณหภูมิสัมบูรณ
kB แทนคาคงที่ของโบลตมานน

สําหรับกาซชนิดใดชนิดหนึ่ง การแจกแจงอัตราเร็วขึ้นอยูกับอุณหภูมิ โดยถาให


N (v)dv แทนจํานวนโมเลกุลที่มีอัตราเร็วอยูระหวาง v กับ v + dv ซึ่งถาตองการหาจํานวน
โมเลกุลทั้งหมด N ไดโดยการรวมจํานวนโมเลกุลทั้งหมดในชวงอัตราเร็วเล็ก ๆ ตั้งแตศูนยถึง
อนันต ดังนั้น

N = ∫ N (v)dv (23)
0

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 18
Gas
19 Law

รูปที่ 4 แสดงกราฟการแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลกาซ

จากกราฟ แสดงการแจกแจงอัตราเร็วของโมเลกุลของกาซที่อุณหภูมิตางๆ กัน จะพบวา


พื้นที่ใตกราฟจะแทนจํานวนโมเลกุลทั้งหมดของกาซ ที่อุณหภูมิใด ๆ โมเลกุลกาซในชวงอัตราเร็ว
ที่เพิ่มขึ้นนอย ๆ จะมีคา เพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราเร็วเพิ่มขึ้นจนถึงคาหนึ่ง จะได N (v) มีคาสูงสุดซึ่งก็
คือ จํานวนโมเลกุลที่มีอัตราเร็ว v P จะมีมากที่สุด และหลังจากนั้นจํานวนโมเลกุลจะคอย ๆ
ลดลงจนเปนศูนยเมื่ออัตราเร็วเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบวาถาอุณหภูมิสูงขึ้น เสนกราฟจะโคงแบน
ลงดังนั้นจํานวนโมเลกุลที่มีอัตราเร็วสูงจะเพิ่มขึ้น ซึ่งผลอันนี้จะใชอธิบายปรากฏการณหลายอยาง
เชน การเพิ่มขึ้นของการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเกิดปฏิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต การเพิ่มขึ้นของพลังงาน
จลน ขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้น เปนตน

7. สมการของแวนเดอรวาลส
สมการ PV = nRT เปนสมการที่ใชไดเฉพาะกาซอุดมคติ เพราะพลังงานภายในระบบ
ขึ้นกับอุณหภูมิเพียงอยางเดียว เมื่อกาซจริงที่มีความหนาแนนต่ํา กาซนี้จะเปนไปตามกฎของกาซ
อุดมคติ แตถาความหนาแนนสูงขึ้น พฤติกรรมจะผิดจากกฎของกาซอุดมคติไปมาก เจ.ดี.แวนเดอ
วาสล (J.D. van der Waals) ไดพิจารณาแกไขปรับปรุง สมการที่ใชกับกาซอุดมคตินํามาใชกับกาซ
จริงไดดังนี้

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 19
Gas
20 Law

⎛ an 2 ⎞
⎜⎜ P + 2 ⎟⎟(V − nb ) = nRT (24)
⎝ V ⎠

เมื่อ a และ b เปนคาคงที่ ซึ่งขึ้นอยูกับชนิดของกาซ โดยที่ a จะสัมพันธกับแรงยึด


เหนี่ยวระหวางโมเลกุล b แทนขนาดของโมเลกุลกาซแตละโมเลกุล(ปริมาตรของโมเลกุลกาซ)
ใน 1 โมล ดังนั้นปริมาตรของกาซที่เคลื่อนที่จะมีคาเทากับ nb และ V − nb แทนปริมาตร
สุทธิของโมเลกุลกาซที่เคลื่อนที่ เรียกสมการที่ (23) วา สมการของแวนเดอวาสล (Van Der Waals
Equation)
ถา n = 1 โมล สมการที่ (24) จะเปน

⎛ P + an 2 ⎞
⎜⎜ 2
⎟⎟(V − b ) = RT (25)
⎝ V ⎠

โดยสมการที่ (25) สามารถนํามาเขียนกราฟระหวางความดันกับปริมาตรไดดังรูป โดยที่สมการ


ของแวนเดอวาสลนี้จะมีคาถูกตองที่อุณหภูมิสูง เชน T1 , T2 , T3 และ TC โดยที่ TC ซึ่งเรียกวา
อุณหภูมิวิกฤต(Critical Temperature) ซึ่งเปนอุณหภูมิที่ตา่ํ เพียงพอที่จะทําใหกาซถูกอัดใหเปน
ของเหลวได

T1
T2
T3

รูปที่ 5 แสดงกราฟระหวางความดัน(P) กับปริมาตร(V)

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 20
Gas
21 Law

ตารางที่ 1 แสดงคาคงที่ตาง ๆ ในสมการของแวนเดอวาสล

สาร a b PC TC
(J.m3/mol2) (m3/mol) (MPa) (K)
อากาศ 0.1358 3.64 x 10-5 3.77 133
กาซคารบอนไดออกไซด 0.3643 4.27 x 10-5 7.39 304.2
กาซไนโตรเจน 0.1361 3.85 x 10-5 3.39 126.2
กาซไฮโดรเจน 0.0247 2.65 x 10-5 1.30 33.2
น้ํา 0.5507 3.04 x 10-5 22.09 647.3
กาซแอมโมเนีย 0.4233 3.73 x 10-5 11.28 406
กาซฮีเลียม 0.00341 2.34 x 10-5 0.23 5.2
กาซฟรีออน 1.078 9.98 x 10-5 4.12 385

ผศ.ปรียา อนุพงษองอาจ 21

You might also like