You are on page 1of 9

สาขาภาษาไทย

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑
รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๒๒๑๐๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต เวลา ๒ คาบ (๙ o นาที)

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด
ท ๔.๑ ม. ๒/๕ รวบรวมและอธิบายความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
๑. สาระสำคัญ
คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต เป็นคำยืมภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทยอย่างแพร่หลาย โดยทั้ง
สองภาษามีลักษณะเฉพาะที่ช่วยให้จำแนกได้ว่าเป็นคำยืมที่มาจากภาษาใด การศึกษาเรื่อง คำยืมภาษาบาลี
และสันสกฤต จะทำให้นักเรียนจำแนกคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตได้ อีกทั้งสามารถอธิบายความหมายของ
คำยืมทีพ่ บได้อย่างถูกต้อง
๒. จุดประสงค์การเรียนรู้
๒.๑ ด้านความรู้ (K)
๒.๑.๑ นักเรียนบอกที่มาและลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤตได้
๒.๑.๒ นักเรียนจับคู่คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีความหมายเดียวกันได้
๒.๒ ด้านทักษะ (P)
๒.๒.๑ นักเรียนเขียนสรุปลักษณะของคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตได้
๒.๓ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
๒.๓.๑ นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน
๒.๓.๒ นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
๒.๔ ด้านสมรรถนะ
๒.๔.๑ ความสามารถในการสื่อสาร
๒.๔.๒ ความสามารถในการคิด
๓. สาระการเรียนรู้
๓.๑ ที่มาของภาษาบาลีและสันสกฤต
๓.๒ ลักษณะของคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต
๓.๓ ตัวอย่างคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีความหมายเดียวกัน
๔. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (๙ o นาที)
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (๑๐ นาที)
๑. ครูกล่าวทักทายและเช็กชื่อนักเรียน
๒. นักเรียนทำกิจกรรม “เพราะฉันคือคนไทย” โดยให้นักเรียนร่วมกันค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ
ประเทศไทยในแต่ละข้อ ได้แก่ ขนมไทย นางงามไทย สัตว์ประจำชาติไทย นักร้องไทย และคำไทยแท้ โดยครู
เฉลยทีละข้อหลังนักเรียนตอบในข้อนั้น ๆ
๓. ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน โดยถามนักเรียนว่า
คำถาม : “คำที่ไม่ได้ตอบว่าเป็นคำไทยแท้ นักเรียนคิดว่าเป็นคำที่มาจากภาษาใด”
แนวคำตอบ : ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต
(อธิบายเพิ่มเติม : “จากกิจกรรมจะเห็นได้ว่า นักเรียนใช้การสังเกตและพิจารณาจากความรู้เดิมที่มี
ก่อนตอบ ดังนั้นจึงต้องศึกษาว่า คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตมีที่มาและลักษณะอย่างไร เพื่อให้นักเรียนมี
ความรู้ไปใช้จำแนกและใช้คำได้อย่างเหมาะสม”)
ขั้นสอน (๗๐ นาที)
๑. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและศึกษาที่มาของภาษาบาลีและสันสกฤตว่ามีที่มาจากที่ใด
ผ่านโปรแกรมนำเสนอ PowerPoint
๒. ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด โดยถามนักเรียนว่า
คำถาม : “นักเรียนคิดว่า คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตมีลกั ษณะที่คล้ายหรือแตกต่างกัน
หรือไม่ อย่างไร”
แนวคำตอบ : มีทั้งส่วนที่คล้ายและแตกต่างกันเพราะมาจากตระกูลภาษาเดียวกัน
๓. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและศึกษาลักษณะของคำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตตาม
ลำดับ จากนั้นนักเรียนเขียนสรุปการสังเกตลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤตลงในใบงาน
๔. นักเรียนทำกิจกรรม “เปิดป้ายจับคู่” โดยให้นักเรียนเลือกเปิดแผ่นป้ายเพื่อหาคำยืมภาษาบาลี
และสันสกฤตที่มีความหมายเหมือนกัน และนำคำตอบไปเขียนลงใบงาน แบบฝึกหัดที่ ๑
๕. ครูเฉลยและอธิบายเพิ่มเติม
ขั้นสรุป (๑ o นาที)
๑. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปที่มา ลักษณะของคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต และทบทวนความ
หมายของคำยืมในแบบฝึกหัดที่ ๑
๒. นักเรียนสอบถามในประเด็นที่สงสัยเพิ่มเติม
๕. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
๑. โปรแกรมนำเสนอ PowerPoint เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต
๒. ใบความรู้เรื่อง คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต
๓. ใบงานเรื่อง คำยืมภาษาบาลีและสันสกฤต (แบบฝึกหัดที่ ๑)
๖. การวัดและประเมินผล
เกณฑ์
จุดประสงค์ที่ต้องการวัด วิธีการวัด เครื่องมือการวัด
การประเมินผล
ด้านความรู้ (K)
๑. นักเรียนบอกที่มาและลักษณะของภาษา การถาม-ตอบ คำถาม ตอบคำถามถูกร้อยละ
บาลีและสันสกฤตได้ ๘ o ขึ้นไปถือว่า ผ่าน
๒. นักเรียนจับคู่คำยืมภาษาบาลี การตรวจสอบ แบบฝึกหัดที่ ๑ ตอบถูกร้อยละ ๘ o
ความถูกต้องของ ขึ้นไปถือว่า ผ่าน
และสันสกฤตที่มีความหมายเดียวกันได้
แบบฝึกหัดที่ ๑
ด้านทักษะ (P)
๑. นักเรียนเขียนสรุปลักษณะของคำยืม การตรวจสอบ ใบงานเรื่อง ตอบถูกและครบถ้วน
ภาษาบาลีและสันสกฤตได้ ความถูกต้อง คำยืมภาษาบาลี ร้อยละ ๘ o ขึ้นไป
ในการเขียนสรุป และสันสกฤต ถือว่า ผ่าน
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
๑. นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า
๒. นักเรียนมีสว่ นร่วมในการทำกิจกรรม ระดับ ดี ถือว่า ผ่าน
ด้านสมรรถนะ
๑. ความสามารถในการสื่อสาร การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า
๒. ความสามารถในการคิด ระดับ ดี ถือว่า ผ่าน

๗. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
๗.๑ ผลการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
๗.๒ ปัญหาและอุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
๗.๓ แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
.…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
ลงชื่อ ………………………………………. ผู้สอน
(นางสาวตรีทพิ ย์นิภา สรณพานิชกุล)
วันที่ ………………………………………….
แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนรายบุคคล
วิชา …………………………………… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………………….. ห้อง …………………….
เรื่อง ………………………………….. วันที่ ………………….. เดือน ………………….. พ.ศ. ……………………
มีส่วนร่วม
เลขที่ ชื่อ-สกุล กระตือรือร้นในการเรียน
ในการทำกิจกรรม
๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑









๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑

แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนรายบุคคล
วิชา …………………………………… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………………….. ห้อง …………………….
เรื่อง ………………………………….. วันที่ ………………….. เดือน ………………….. พ.ศ. ……………………
กระตือรือร้นในการเรียน มีส่วนร่วม
เลขที่ ชื่อ-สกุล ในการทำกิจกรรม
๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕
๒๖
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐
๓๑
๓๒
๓๓

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การตัดสิน
ดีมาก คะแนนรวมระหว่าง ๗-๘ คะแนน
ดี คะแนนรวมระหว่าง ๕-๖ คะแนน
พอใช้ คะแนนรวมระหว่าง ๓-๔ คะแนน
ปรับปรุง คะแนนรวมต่ำกว่า ๒ คะแนน

ลงชื่อ ……………………………………… ผู้ประเมิน


( )
วันที่ ……………………………………….
เกณฑ์การให้คะแนนแบบสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
วิชา …………………………………… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………………….. ห้อง …………………….
เรื่อง ………………………………….. วันที่ ………………….. เดือน ………………….. พ.ศ. ……………………
ระดับคะแนน
สมรรถนะสำคัญ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
(๔ คะแนน) (๓ คะแนน) (๒ คะแนน) (๑ คะแนน)
๑. ความสามารถ ตอบคำถามได้ตรง ตอบคำถามได้ตรง ตอบคำถามได้ตรง ตอบคำถามได้
ในการสื่อสาร ประเด็น วิเคราะห์ ประเด็น วิเคราะห์ ประเด็น วิเคราะห์
ปัญหาได้ละเอียด ปัญหาได้ละเอียด ปัญหาได้ละเอียด
ยกเหตุผลประกอบ ยกเหตุผลประกอบ
ชัดเจน มีข้อมูล ชัดเจน
อ้างอิง
๒. ความสามารถ พูดสื่อสารความคิด พูดสือ่ สาร พูดสื่อสาร พูดสื่อสารได้
ในการคิด เห็นได้ถูกต้องชัดเจน ความคิดเห็นได้ถูก ความคิดเห็นได้ถูก
ใจความสำคัญครบ ต้องชัดเจน ใจความ ต้องชัดเจน
ถ้วนสมบูรณ์ ไม่ สำคัญครบถ้วน
สับสนวกวน เป็น สมบูรณ์
ระบบ

แบบสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
วิชา …………………………………… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………………….. ห้อง …………………….
เรื่อง ………………………………….. วันที่ ………………….. เดือน ………………….. พ.ศ. ……………………
ความสามารถ ความสามารถ
เลขที่ ชื่อ-สกุล ในการสื่อสาร ในการคิด
๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑









๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑

แบบสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
วิชา …………………………………… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ………………….. ห้อง …………………….
เรื่อง ………………………………….. วันที่ ………………….. เดือน ………………….. พ.ศ. ……………………
ความสามารถ ความสามารถ
เลขที่ ชื่อ-สกุล ในการสื่อสาร ในการคิด
๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕
๒๖
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐
๓๑
๓๒
๓๓
ระดับคุณภาพ เกณฑ์การตัดสิน
ดีมาก คะแนนรวมระหว่าง ๗-๘ คะแนน
ดี คะแนนรวมระหว่าง ๕-๗ คะแนน
พอใช้ คะแนนรวมระหว่าง ๓-๔ คะแนน
ปรับปรุง คะแนนรวมต่ำกว่า ๒ คะแนน

ลงชื่อ ……………………………………… ผู้ประเมิน


( )
วันที่ ……………………………………….

You might also like