You are on page 1of 8

ผลของการใหน้ําในระดับที่แตกตางกันที่มีตอการเจริญเติบโตของขมิ้นชัน

Effect of Different Irrigation Regimes on Turmeric Growth


จักรกฤษณ วิวัฒนภิญโญ และ สมยศ เดชภิรัตนมงคล
Jukkris Wiwatpinyo, and Somyot Detpiratmongkol
บทคัดยอ
การใหน้ําชลประทานมีผลทําใหการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้น อยางไรก็ตามการตอบสนอง
ทางด า นการเจริ ญ เติ บ โตของขมิ้ น ชั น ต อ การให น้ํ า ในปริ ม าณที่ แ ตกต า งกั น ยั ง มี ข อ มู ล ที่ น อ ยมาก ดั ง นั้ น
จุดประสงคของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อตองการทราบถึงผลของการใหน้ําชลประทานในปริมาณที่ตางกันตอการ
เจริญเติบโตของขมิ้นชัน ซึ่งทําการทดลองที่แปลงทดลองพืชไร ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง ระหวางเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยวางแผนการ
ทดลองแบบ Randomized Complete Block มีจํานวน 4 ซ้ํา สิ่งทดลองไดแกปริมาณการใหน้ําแกขมิ้นชันโดยใช
อัตราสวนของปริมาณน้ําที่ใหตอคาการระเหยสะสม (irrigation water to evaporation, IW/E) 5 ระดับคือ 1.0,
0.7, 0.5, 0.3 และ 0.1 จากผลการทดลองพบวาเมื่อใหน้ําในปริมาณที่ลดลงมีผลทําให คา total conductance
อัตราการคายน้ําจากใบ และปริมาณน้ําในใบมีคาลดต่ําลง แตอุณหภูมิใบมีคาสูงขึ้น นอกจากนี้การใหน้ําใน
ปริมาณที่แตกตางกันมีผลตอการเจริญเติบโตของขมิ้นชันโดยตรง ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากที่สุด (IW/E
1.0) ขมิ้นชันมีความสูง การสะสมน้ําหนักแหงรวม และน้ําหนักเหงาสดและแหงมากที่สุด ในขณะที่ขมิ้นชันที่
ไดรับน้ําในปริมาณนอยที่สุด (IW/E 0.1) ใหคาต่ําสุด
ABSTRACT
Irrigation provides effective means to increase crop growth and yield. However, there is
relatively little information about turmeric growth response to different amounts of irrigation water.
Thus, the objective of this study was to determine the effects amounts of irrigation water on growth of
turmeric. The experiment was carried out under field condition at the Faculty of Agricultural
Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, during June to November, 2007.
A Randomized Complete Block design with 4 replications was used. Five irrigation regimes based on
the ratio amount of irrigation water (IW) to cumulative evaporation (E) (i.e. 1.0, 0.7, 0.5, 0.3 and 0.1).
The results disclosed that the lower water amounts decreased diffusive conductance of stomata,
transpiration rate and relative water content but increased leaf temperature. In addition, different
irrigation amounts significantly affected on growth of turmeric. The highest amount of irrigation water
(IW/E 1.0) gave the highest plant height, total dry weight and rhizome fresh and dry weight whereas
the lowest amount of irrigation water (IW/E 0.1) gave the lowest.
Key word : Turmeric, Irrigation amount, growth.
E-mail : Jukkris6 @ hotmail.com.
ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
กรุงเทพมหานคร 10520
Department of Plant Production Technology Faculty of Agricultural Technology, King Mongkut’s Institute of Technology
Ladkrabang. Bangkok 10520
คํานํา
ขมิ้นชัน (Turmeric) มีชื่อวิทยาศาสตรวา Curcuma longa L. จัดวาเปนพืชสมุนไพรที่มีความสําคัญ
พืชหนึ่งของประเทศไทย เดิมการปลูกขมิ้นชันของเกษตรกรสวนใหญมีการปลูกจํากัดอยูตามบานเรือนเทานั้น
ต อ มาเมื่ อ มี ค วามต อ งการใช ข มิ้ น ชั น เพื่ อ ผลิ ต เป น การค า ในรู ป พื ช สมุ น ไพรทั้ ง ในด า นการส ง ออกและใช
ภายในประเทศเพิ่มขึ้นทุกป (นที, 2545) จึงทําใหเกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกขมิ้นชันเพิ่มขึ้น ปญหาที่พบ
อยูเสมอของเกษตรกรที่ปลูกขมิ้นชันก็คือ ขมิ้นชันมักไดรับน้ําไมเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูกและเกิดการขาด
น้ําขึ้นในชวงตางๆ กันของการเจริญเติบโตอยูเสมอ ถึงแมวาขมิ้นชันจะเปนพืชที่มีความสามารถในการทนทานตอ
ความแหงแลงไดดีก็ตาม แตเมื่อไดรับน้ําไมเพียงพอตอการเจริญเติบโต อาจมีผลทําใหการเจริญเติบโตทางลํา
ตนลดลง และมีผลกระทบไปถึงผลผลิตเหงาที่นํามาใชทําสมุนไพรลดลงตามไปดวย ศยามลและศิราพร (2548)
พบวาถาขมิ้นชันไดรับน้ําไมเพียงพอตอการเจริญเติบโตโดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต จะสงผลทํา
ใหการเจริญเติบโตและผลผลิตของขมิ้นชันลดลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกันกับขมิ้นชันที่ไดรับน้ําอยางเพียงพอ
ตลอดอายุการเจริญเติบโต พเยาว (2529) กลาววาถาขมิ้นชันไดรับน้ําในปริมาณที่มากจนเกินไปก็ไมเปนผลดี
เชนกัน เพราะถารดน้ํามากหรือแฉะจนเกินไปก็มีผลใหเหงาขมิ้นชันเนาเสียหายได อยางไรก็ตามขมิ้นชันควร
ได รับ น้ํา ในปริ ม าณเท าใดจึ งจะเพี ย งพอและเหมาะสมในป จ จุบั นยั งไมเ คยมี การศึ ก ษามาก อ น ดัง นั้น จึง ได
ทําการศึกษาในครั้งนี้ขึ้น
อุปกรณและวิธีการ
ทําการทดลองที่แปลงของ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหาร
ลาดกระบัง ระหวางเดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized
Complete Block มีจํานวน 4 ซ้ํา สิ่งทดลองคือปริมาณน้ําที่ใหแกขมิ้นชันโดยใชอัตราสวนของปริมาณน้ําที่ใหตอ
คาการระเหยสะสม (irrigation water to evaporation, IW/E) 5 ระดับคือ 1.0, 0.7, 0.5, 0.3 และ 0.1 ตามลําดับ
ปลูกลงในแตละแปลงยอย ขนาด 2x3 เมตร จํานวนทั้งหมด 20 แปลงยอย โดยใชระยะปลูก 20x20 เซนติเมตร
หลังปลูกมีการใหน้ําอยางสม่ําเสมอทุก 2 วัน โดยควบคุมการใหน้ําในปริมาณที่จํากัด ครั้งละ 10 มิลลิเมตร เมื่อ
ขมิ้นชันมีอายุได 30 วัน ก็จะเริ่มใหน้ําในปริมาณที่กําหนดไวในสิ่งทดลอง โดยปริมาณน้ําที่ใหไดจากคาการระเหย
ของน้ําจากถาดระเหย American Class A Pan เมื่อคาการระเหยของน้ําจากถาดระเหยที่สะสมครบ 30
มิลลิเมตร ก็จะมีการใหน้ําชลประทานตามสิ่งทดลองที่กําหนด สวนการดูแลรักษาไดมีการกําจัดวัชพืชทุกเดือน
และมีการใสปุยสูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 50 กิโลกรัมตอไร สําหรับขอมูลที่ตรวจวัดในการทดลองไดแก ความสูง
ของลําตน และน้ําหนักเหงาสด ตรวจวัดเมื่อขมิ้นชันมีอายุ 30, 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก โดยสุม
วัดขมิ้นชันในแตละแปลงยอยจํานวน 1 หลุม แลวจึงนําหาคาเฉลี่ย สวนน้ําหนักเหงาแหงและน้ําหนักแหงรวมของ
ขมิ้นชันหาไดจากการนําขมิ้นชันไปอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เปนเวลานาน 48 ชั่วโมง หรือจนกระทั่ง
น้ําหนักคงที่หลังจากนั้นจึงนํามาชั่งหาน้ําหนักเหงาแหงและน้ําหนักแหงรวม สวนปริมาณน้ําในใบ (relative
water content) ไดจากการเก็บตัวอยางใบขมิ้นชันในแตละแปลงยอยจํานวน 3 ใบ นํามาหาคาปริมาณน้ําในใบ
ตามวิธีของ Schonfeld et al. (1988) ที่อายุ 30, 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก สวนการวัดคา total
conductance อัตราการคายน้ําจากใบ และอุณหภูมิใบของขมิ้นชัน ทําการวัดเมื่อขมิ้นชันมีอายุ 30, 60, 90,
120, 150 และ 180 วันหลังปลูก โดยใชเครื่องมือ LI – 600 steady state porometer ทําการสุมวัดใบที่มีการ
ขยายตัวเต็มที่อยูบริเวณบนสุดของลําตน จํานวน 3 ใบ แลวจึงนํามาหาคาเฉลี่ย
ผลการทดลอง
1. ปริมาณน้าํ ในใบ (relative water content)
ปริมาณน้ําในใบของขมิ้นชัน (Table 1) เมื่อไดรับน้ําในปริมาณที่แตกตางกัน มีความแตกตางกันในทาง
สถิติ ที่อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากขึ้นมีผลทําใหปริมาณน้ํา
ในใบมีคาขึ้นตามปริมาณน้ําที่ไดรับ
Table 1 Relative water content of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Relative water content (percent)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 79.63 77.21 73.26 82.77 80.05 73.21
IW/E 0.3 79.65 78.30 74.32 89.28 84.81 74.50
IW/E 0.5 84.57 81.55 79.21 89.72 85.72 79.42
IW/E 0.7 79.61 85.25 85.42 90.21 87.51 84.62
IW/E 1.0 80.87 89.17 88.47 91.70 88.31 85.08
LSD0.05 ns 10.96 9.63 3.97 7.32 14.44
CV (%) 4.88 8.64 9.44 12.38 5.57 11.81
1/
: DAP = day after planting; ns = no significant at the 0.05 probability level; IW/E 0.1, IW/E 0.3, IW/E
0.5, IW/E 0.7 and IW/E 1.0 = irrigation water is evaporation 0.1, 0.3, 0.5, 0.7 and 1.0 respectively.
2. Total conductance
คา total conductance ของขมิ้นชัน (Table 2) ที่ไดรับน้ําในปริมาณที่แตกตางกัน มีความแตกตางกัน
ในทางสถิติที่อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากที่สุดมีคา total
conductance มากที่สุด และคา total conductance ของขมิ้นชันมีคาลดลงเมื่อขมิ้นชันไดรับน้ําในปริมาณที่
ลดลง โดยขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่นอยที่สุดมีคา total conductance ต่ําที่สุด
Table 2 Total conductance of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Total conductance (mmol m-2 s-1)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 1.29 2.01 2.65 2.77 3.27 5.19
IW/E 0.3 1.40 7.01 7.32 7.45 8.81 5.38
IW/E 0.5 1.13 5.57 7.76 9.08 9.63 5.82
IW/E 0.7 1.20 7.10 8.60 9.27 9.75 8.09
IW/E 1.0 1.35 8.06 8.98 10.11 10.42 11.63
LSD0.05 ns 3.05 2.18 2.35 2.55 4.91
CV (%) 33.14 33.34 20.02 19.73 19.80 44.11
1/
: refer to Table 1 for captions.
3. อัตราการคายน้ําจากใบ (transpiration rate)
อัตราการคายน้ําจากใบของขมิ้นชัน (Table 3) ที่ไดรับน้ําในปริมาณที่แตกตางกัน มีความแตกตางกัน
ในทางสถิติ ที่อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก อัตราการคายน้ําจากใบของขมิ้นชันมีคาเพิ่มขึ้นเมื่อ
ขมิ้นชันไดรับน้ําในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
Table 3 Transpiration rates of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Transpiration rate (μg cm-2 s-1)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 0.52 0.72 0.82 1.49 1.40 1.49
IW/E 0.3 0.72 1.47 1.71 2.75 2.95 1.85
IW/E 0.5 0.58 1.63 1.82 3.36 3.50 2.26
IW/E 0.7 0.65 2.11 2.16 3.51 3.57 3.03
IW/E 1.0 0.66 2.14 2.24 4.55 4.72 3.68
LSD0.05 ns 1.21 1.22 1.78 1.72 1.38
CV (%) 31.99 32.83 31.65 36.98 34.70 36.46
1/
: refer to Table 1 for captions.
4. อุณหภูมใิ บ (leaf temperature)
อุณหภูมิใบของขมิ้นชัน (Table 4) เมื่อไดรับน้ําในปริมาณที่แตกตางกัน มีคาแตกตางกันในทางสถิติที่
อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก ขมิ้นชันเมื่อไดรับน้ําในปริมาณลดลงมีผลทําใหอุณหภูมิใบของ
ขมิ้นชันมีคาเพิม่ ขึ้น
Table 4 Leaf temperature of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Leaf temperature ( OC)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 37.27 35.72 35.97 35.32 37.52 35.60
IW/E 0.3 39.11 34.40 34.57 34.82 37.07 34.47
IW/E 0.5 39.17 34.12 34.40 33.62 35.80 34.42
IW/E 0.7 39.40 33.22 33.55 32.95 35.45 33.92
IW/E 1.0 38.07 32.65 33.07 32.82 35.07 33.57
LSD0.05 ns 0.82 0.72 0.65 0.91 0.68
CV (%) 3.78 1.57 1.38 1.24 1.64 1.28
1/
: refer to Table 1 for captions.
5. ความสูง(plant height)
ความสูงลําตนของขมิ้นชัน (Table 5) มีคาเพิ่มขึ้นตามอายุของขมิ้นชันที่เพิ่มขึ้น ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําใน
ปริมาณที่แตกตางกัน มีคาแตกตางกันในทางสถิติที่อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วันหลังปลูก กลาวคือ
ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากที่สุดเทากับ IW/E 1.0 ขมิ้นชันมีความสูงของลําตนมากที่สุด และเมื่อขมิ้นชัน
ไดรับน้ําในปริมาณที่ลดลงก็มีผลทําใหความสูงของลําตนลดลงตามลําดับ ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่นอย
ที่สุดมีความสูงของลําตนต่ําสุด
Table 5 Plant height of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Plant height (cm)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 13.25 15.52 24.37 25.16 28.25 29.37
IW/E 0.3 14.50 21.25 29.12 30.00 30.75 31.50
IW/E 0.5 13.25 18.62 32.25 33.83 35.75 35.77
IW/E 0.7 13.75 23.50 32.62 34.00 37.50 38.17
IW/E 1.0 14.12 24.00 35.75 36.00 37.75 40.20
LSD0.05 ns 6.62 8.32 9.02 5.28 3.38
CV (%) 13.53 20.96 17.53 10.60 10.09 6.26
1/
: refer to Table 1 for captions.
6. ผลผลิตน้ําหนักแหงรวม (total dry weight yield)
ผลผลิตน้ําหนักแหงรวมของขมิ้นชัน (Table 6) มีคาเพิ่มขึ้นตามอายุของขมิ้นชันที่เพิ่มขึ้น ขมิ้นชันที่ไดรับ
น้ําในปริมาณที่แตกตางกัน ใหผลผลิตน้ําหนักแหงรวมของขมิ้นชันที่มีความแตกตางกันในทางสถิติที่อายุ 60, 90,
120, 150 และ 180 วันหลังปลูก กลาวคือ ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากที่สุดเทากับ IW/E 1.0 ขมิ้นชันมี
ผลผลิตน้ําหนักแหงรวมมากที่สุด รองลงมาคือ ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่ลดลงเปน IW/E 0.7, IW/E 0.5,
IW/E 0.3 และ IW/E 0.1 ตามลําดับ
Table 6 Total dry weight of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Total dry weight (g/plant)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 4.14 6.55 15.74 21.33 33.37 41.72
IW/E 0.3 3.11 7.21 21.30 30.35 40.67 46.75
IW/E 0.5 2.69 8.33 24.80 38.75 50.82 64.35
IW/E 0.7 2.86 10.88 29.54 55.88 60.37 85.02
IW/E 1.0 2.69 13.11 34.78 63.57 73.21 101.83
LSD0.05 ns 3.59 8.22 14.29 11.12 17.60
CV (%) 32.87 25.30 21.16 18.08 13.96 16.81
1/
: refer to Table 1 for captions.
7. น้ําหนักเหงาสด (rhizome fresh weight)
น้ําหนักเหงาสดของขมิ้นชัน (Table 7) เพิ่มขึ้นตามอายุของขมิ้นชันที่เพิ่มขึ้น ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําใน
ปริมาณที่แตกตางกัน ใหน้ําหนักเหงาสดที่มีความแตกตางกันในทางสถิติที่อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วัน
หลัง ปลู ก กล า วคือ ขมิ้ นชั นที่ ได รับน้ํ า ในปริม าณที่ม ากที่ สุด (IW/E 1.0) มี ผลผลิ ตน้ํ า หนักเหง า สดมากที่สุ ด
รองลงมาคือ ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่ลดลงเปน IW/E 0.7, IW/E 0.5, IW/E 0.3 และ IW/E 0.1 ตามลําดับ
Table 7 Rhizome fresh weight of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Rhizome fresh weight (g/plant)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 15.38 24.83 59.89 87.86 168.74 180.32
IW/E 0.3 10.75 27.29 71.77 137.97 177.75 222.88
IW/E 0.5 11.57 31.28 83.67 149.45 215.94 256.12
IW/E 0.7 16.17 32.73 96.13 208.51 240.24 322.56
IW/E 1.0 11.73 34.35 120.28 233.19 288.78 435.42
LSD0.05 ns 7.51 37.92 63.72 65.00 69.76
CV (%) 42.35 16.19 28.51 20.71 19.32 15.97
1/
: refer to Table 1 for captions.
8. น้ําหนักเหงาแหง (rhizome dry weight)
น้ําหนักเหงาแหงของขมิ้นชัน (Table 8) เพิ่มขึ้นตามอายุของขมิ้นชันที่เพิ่มขึ้น ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําใน
ปริมาณที่แตกตางกัน ใหน้ําหนักเหงาแหงที่มีความแตกตางกันในทางสถิติที่อายุ 60, 90, 120, 150 และ 180 วัน
หลังปลูก กลาวคือ ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากที่สุด (IW/E 1.0) มีผลผลิตน้ําหนักเหงาแหงมากที่สุด
รองลงมาคือ ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่ลดลงเปน IW/E 0.7, IW/E 0.5, IW/E 0.3 และ IW/E 0.1 ตามลําดับ
Table 8 Rhizome dry weight of turmeric grown with varying amounts of irrigation water1/.
Treatments Rhizome dry weight (g/plant)
30 DAP 60 DAP 90 DAP 120 DAP 150 DAP 180 DAP
IW/E 0.1 1.29 1.54 2.42 10.32 18.24 25.10
IW/E 0.3 1.38 1.88 3.71 15.76 20.37 26.15
IW/E 0.5 1.38 2.06 4.80 18.03 27.14 37.80
IW/E 0.7 1.67 2.08 5.42 27.57 29.79 52.21
IW/E 1.0 1.28 2.33 6.12 33.01 37.90 61.55
LSD0.05 ns 0.80 1.83 10.84 8.45 12.43
CV (%) 46.05 26.44 26.49 27.51 20.56 19.90
1/
: refer to Table 1 for captions.
วิจารณ
ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่มากที่สุด (IW/E 1.0) มีการเจริญเติบโตทางลําตน และการสะสมน้ําหนัก
แหงรวมสูงที่สุด แตเมื่อมีการใหน้ําชลประทานในปริมาณที่ลดลงคือ IW/E 0.7, IW/E 0.5 และ IW/E 0.3 ก็จะมีผล
ทําใหขมิ้นชันมีการเจริญเติบโตทางลําตน และการสะสมน้ําหนักแหงรวมมีคาลดลงตามลําดับ สวนขมิ้นชันที่
ไดรับน้ําในปริมาณนอยที่สุด (IW/E 0.1) ขมิ้นชันจะมีการเจริญเติบโตทางลําตน และการสะสมน้ําหนักแหงรวมมี
คาต่ําที่สุด (Tables 5 และ 6) สมยศและคณะ (2548) ไดทดลองเพื่อศึกษาถึงผลของความถี่ของการใหน้ําและ
ปริมาณน้ําที่มีตอการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช พบวาพืชที่ไดรับน้ําในระดับความถี่ที่มากขึ้น และใหน้ําใน
ปริมาณมากที่สุด พืชมีความสูงของลําตน อัตราการเจริญเติบโตของลําตน และผลผลิตน้ําหนักแหงรวมมีคามาก
ที่สุด ในขณะที่พืชที่ไดรับน้ําที่ระดับความถี่นอยลง และปริมาณน้ําที่ใหนอยที่สุดจะมีคาต่ําที่สุด ซึ่งสิ่งนี้ได
ชี้ใหเห็นวาปริมาณน้ําที่ใหแกพืช เปนปจจัยที่สําคัญในการกําหนดการเจริญเติบโต และการสะสมน้ําหนักแหง
รวมของพื ช พื ช ที่ ไ ด รั บ น้ํ า ในปริ ม าณที่ น อ ยก็ จ ะแสดงอาการขาดน้ํ า โดยมี ผ ลต อ ปริ ม าณน้ํ า ในใบ ค า total
conductance และอัตราการคายน้ําจากใบลดลง (Kirda et al., 2005) ซึ่งผลจากการทดลองนี้ ก็พบวาเมื่อ
ขมิ้นชันไดรับน้ําในปริมาณที่ลดลงขมิ้นชันจะแสดงอาการขาดน้ําเกิดขึ้นซึ่งจะมีผลทําใหปริมาณน้ําในใบ คา total
conductance และอัตราการคายน้ําจากใบมีคาลดลง แตอุณหภูมิของใบมีคาเพิ่มขึ้น (Tables 1, 2, 3 และ 4) ซึ่ง
จะสงผลกระทบตอการสะสมน้ําหนักแหงรวม และผลผลิตเหงาขมิ้นชันสดและแหงใหมีคาลดลง (Tables 6, 7
และ 8) สอดคลองกับการทดลองของ Liu et al. (2006) ซึ่งพบวาพืชเมื่อไดรับน้ําในปริมาณที่ไมเพียงพอตอการ
เจริญเติบโตก็จะมีผลทําให การเปดของปากใบ อัตราการคายน้ําของพืช และการสังเคราะหแสงของพืชลดลง ซึ่ง
มีผลกระทบตอการเจริญเติบโตทางลําตน และผลผลิตของพืชใหมีคาลดลงในที่สุด สําหรับการใหน้ําในปริมาณที่
ลดลงก็พบวาพืชจะมีการตอบสนองและมีผลทําใหพืชเกิดการขาดน้ําขึ้นนี้ นอกจากจะพบในขมิ้นชันแลวยังไดมี
การศึกษาเพิ่มเติมในพืชชนิดอื่นอีกเชน เผือก (สมยศและคณะ, 2549) และขาวโพด (Payero et al., 2006) ก็
พบวาพืชมีการตอบสนองและใหผลเชนเดียวกัน
สรุป
จากผลการทดลองนี้สรุปไดวา ปริมาณน้ําที่ใหแกขมิ้นชันแตกตางกันมีผลทําใหการเจริญเติบโตทางลํา
ตนของขมิ้นชันแตกตางกัน กลาวคือขมิ้นชันที่ไดรับปริมาณน้ํามากที่สุด (IW/E 1.0) มีการเจริญเติบโต การสะสม
น้ําหนักแหงรวมและผลผลิตเหงาสดและแหงมีสูงสุด และเมื่อขมิ้นชันไดรับน้ําในปริมาณที่ลดลงก็มีผลทําใหการ
เจริญเติบโต การสะสมน้ําหนักแหงรวมและผลผลิตเหงาสดและแหงลดลงตามการลดลงของปริมาณ นอกจากนี้
ขมิ้นชันที่ไดรับน้ําในปริมาณที่นอยลงยังมีผลทําใหคา total conductance อัตราการคายน้ําจากใบ และปริมาณ
น้ําในใบลดลง แตมีคาอุณหภูมิใบเพิ่มขึ้น
เอกสารอางอิง
นที ชวนสนิท. 2545. แนวโนมการตลาดผลิตภัณฑสมุนไพรภายในประเทศและตางประเทศ. แนวทางการ
พัฒนาพืชสมุนไพรไทย. สํานักงานคณะกรรมการการวิจัยแหงชาติ. กรุงเทพมหานคร.
พเยาว เหมือนวงษญาติ. 2529. ตําราวิทยาศาสตรสมุนไพร. เมดิคัล มีเดีย จํากัด. กรุงเทพมหานคร. หนา
102 – 104.
ศยามล นุยลําพูน และศิราพร รื่นภาคเวก. 2548. ผลของการขาดน้ําเปนชวงระยะเวลาที่ยาวนานที่มีตอการ
เจริญเติบโตและผลผลิตขมิ้นชัน. ปญหาพิเศษปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.
สมยศ เดชภิรัตนมงคล ธวัชชัย อุบลเกิด และสมมารถ อยูสุขยิ่งสถาพร. 2548. ผลของความถี่ของการใหน้ํา
และปริมาณน้ําที่มีตอการเจริญเติบโตและผลผลิตตะไครพันธุพื้นเมือง. หนา 632 – 640. ในเอกสารการ
ประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ครั้งที่ 43 วันที่ 1 – 4 กุมภาพันธ 2548. มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร กรุงเทพมหานคร.
สมยศ เดชภิรัตนมงคล สมมารถ อยูสุขยิ่งสถาพร และนพวรรณ ประสาทเงิน. 2549. ผลของการขาดน้ําที่มี
ตอการเจริญเติบโตและผลผลิตเผือกหอมพันธุพื้นเมือง. หนา 511 – 517. ในเอกสารการประชุมวิชาการ
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ครั้งที่ 44 วันที่ 30 มกราคม - กุมภาพันธ 2549. มหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร กรุงเทพมหานคร.
Kirda, C., S. Topcu, H. Kaman, A.C. Ulger, A. Yazici, M. Cetin and M.R. Derici. 2005. Grain yield
response and N-fertilizer recovery of maize under deficit irrigation. Field Crops Res. 93 :
132–141.
Lui, F.l., A. Shahnazari, M.N. Andersen, S.E. Jacobsen and C.R. Jensen. 2006. Effects of deficit
irrigation (DI) and partial root drying (PRD) on gas exchange, biomass partitioning, and water
use efficiency in potato. Scientia Horticulturae 109 : 113–117.
Payero, J.O., S.R. Melvin, I. Suat and T.K.S. David. 2006. Yield response of corn to deficit irrigation
in a semiarid climate. Agric. Water Manage. 84 : 101–112.
Schonfeld, M.A., R.C. Johnson, B.F. Carver and D.W. Mornhiweg. 1988. Water relations in winter
wheat as drought resistance indicator. Crop Sci. 28(3): 526 – 531.

You might also like