You are on page 1of 1

กลไกการตรึง

คาร์บอนไดออกไซด์
ในพืช C3 C4 และ CAM

C3 Calvin Cycle
• พืช C, เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวเหนียว ถั่ว
และพืชในเขตอบอุ่นทั่วๆ ไป
• มีการตรึง CO2 ด้วยวัฏจักรคัลวินเพียงอย่างเดียว
• สารตัวแรกที่เสถียรที่เกิดจากการตรึง CO2 คือ
PGA เป็นสารที่มี C-3อะตอม จึงเรียกพืชกลุ่มนี้
ว่า พืช C3
• การตรีง CO2 ด้วยวัฏจักรคัลวินของพืช C3 เกิดขึ้นที่
mesophyll
• wบ photorespiration C4 Hatch Stack Pathway
• ข้าวโพด หญ้าคา หญ้าขน ข้าวฟ้าง อ้อย บานไม่รู้โรย ฯลฯ
• พืช C4 มีการตรึง CO2 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใน mesophyll
ครั้งที่ 2 ใน bundle sheath
• C02 ที่ละลายอยู่ในไซโทพลาสซึม จะอยู่ในรูปของ HCO3 โดยสามารถ
รวมกับPhosphoenol pyruvate (PEP/ c-3 อะตอม) จากการ
ทำงานของเอนไซม์ PEP carboxylase ซึ่งอยู่บริเวณ cytosol
ของ mesophyll cell เกิดเป็นสารOxaloacetate(OAA) เป็นสารที่
มี C-4 อะตอม
• OAA รับ e- จาก NADPH และเปลี่ยนเป็น Malate และเคลื่อนย้าย
จาก Mesophyl cell เข้าสู่ Bundle sheath cell โดยแพร่ผ่านทาง
Plasmodesmata
• Malate จะสลายตัวเป็น Pyruvate (c-3 อะตอม) และ CO2 ที่จะถูกตรึงเข้าสู่ Calvin cycle ต่อไป
เป็นสาเหตุให้ความเข้มข้นของ C02 สูง ส่วน Pyruvate จะถูกส่งกลับไปที่ mesophyl cell
เพื่อเปลี่ยนเป็น PEP สำหรับตรึง CO2 ครั้งต่อไป

CAM
- เวลากลางคืน : T ต่ำ ความชื้นสูง ปากใบเปิด ก๊าซ CO2
เข้าทางรูปากใบในรูปของ HCO3 ไปยังเซลล์ mesophyll
สารประกอบ PEP จะตรึง CO, ไว้โดยเอนไซม์ PEP
carboxylase ได้ oxaloacetate (OAA) ซึ่งเป็นสาตัวกลาง
ที่ไม่เสถียร OAA จึงเปลี่ยนเป็นสารที่มี C-4 อะตอม คือ
malate หรือกรดมาลิก โดยอาศัยการทำงานของ
malic dehydrogenase และถูกลำเลียงไปเกิดไว้ในแวคิวโอล

- เวลากลางวัน : มีแสง ปากใบปิด เพื่อลดการสูญเสียน้ำ


malate จะถูกแพร่ออกมาจากแวคิวโอลและเปลี่ยนเป็น
pyruvate และ CO2 จากนั้น CO2 จะถูกลำเลียงไปยัง Chloroplast เพื่อเข้าสู่วัฎจักรคัลวิน และเนื่องจากปากใบปิด
CO2 แพร่ออกจากปากใบได้ยาก ความเข้มของ CO2 จึงสูง ทำให้อัตราโฟโตเรสไพเรชันลดลงมาก ส่วน pyruvate
จะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็น PEP โดยใช้พลังงาน ATP จากปฏิกิริยาแสง เพื่อทำหน้าที่ตรึง HCO3 อีก

น.ส.จีรนันท์ ปะดา
ม.5/2 เลขที่ 21

You might also like