You are on page 1of 24

โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ

1. โครงสร้างอะตอม
2. อนุภาคมูลฐาน
3. ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์ ไอโซอิเล็กทรอนิก
4. คลืน
่ แม่เหล็กไฟฟ้า และ สเป็กตรัมเบือ้ งต้น
5. การจัดเรียงอิเล็กตรอน
6. ตารางธาตุและการใช้ประโยชน์จากตารางธาตุ
7. พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization Energy : IE)
8. อิเล็กโตรเนกาติวิตี (Electronegativity : EN)

โครงสร้างอะตอม
ทฤษฏีของดอลตัน
1. สารประกอบด้วยอะตอม ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สดุ แบ่งแยกต่อไปอีกไม่ได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นหรือทำาลายให้
สูญหายไป
2. ธาตุเดียวกันประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีมวลและคุณสมบัตเิ หมือนกัน แต่จะแตกต่างจากธาตุอื่น
3. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปด้วยสัดส่วนที่คงที่
4. อะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีรูปร่างและนำ้าหนักเฉพาะตัว
5. นำ้าหนักของธาตุที่รวมกัน ก็คอ
ื นำ้าหนักของอะตอมทัง้ หลายของธาตุทรี่ วมกัน

อนุภาคของอะตอม ได้แก่
1. โปรตอน (proton) เป็นประจุบวก อยูภ ่ ายในนิวเคลียส
2. นิวตรอน (neutron) เป็นกลางทางไฟฟ้า (ไม่มีประจุ) อยูภ ่ ายในนิวเคลียส
3. อิเล็กตรอน (electron) เป็นประจุลบ โคจรอยูร่ อบๆ นิวเคลียส

อนุภาคมูลฐาน

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เป็นสัญลักษณ์สากลทีใ่ ช้สำาหรับบ่งบอกธาตุ

- X คือ ธาตุ เช่น O ก็คอ


ื ธาตุออกซิเจน
C คือ ธาตุคาร์บอนเป็นต้น
- Z คือ เลขอะตอม (atomic number)
- A คือ เลขมวล (mass number)

ไอออน (Ion) คือ อะตอมที่มีการเปลี่ยนแปลงอิเล็กตรอน


หลักการ
1. ถ้าเป็นไอออนลบ แสดงว่า อะตอมรับอิเล็กตรอนเข้าไป
2. ถ้าเป็นไอออนบวก แสดงว่า อะตอมเสียอิเล็กตรอนเข้าไป
ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์ ไอโซอิเล็กทรอนิก

ไอโซ (iso) แปลว่า เท่ากัน

ไอโซโทป (isotope) คือ ธาตุชนิดเดียวกัน(มีโปรตอนเท่ากัน) แต่มีเลขมวลไม่เท่ากัน


ไอโซโทน (isotone) คือ ธาตุสองชนิดที่มีนิวตรอนเท่ากัน
ไอโซบาร์ (isobar) คือ ธาตุสองธาตุที่มีเลขมวลเท่ากัน
ไอโซอิเล็กทรอนิก (isoelectronic) คือ ธาตุหรือไอออนที่มีอเิ ล็กตรอนเท่ากัน

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสเปกตรัมเบื้องต้น

คลืน
่ แม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลืน ่ ชนิดหนึ่งที่ไม่ตอ
้ งอาศัยตัวกลางในการเคลือ
่ นที่ ต่างจากคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นทีต
่ ้องอาศัย
ตัวกลางในการเคลือ ่ นที่ ซึ่งก็คอ
ื อนุภาคของอากาศ เสียงไม่สามารถเคลือ ่ นทีใ่ นสุญญากาศได้

โครงสร้างอะตอมแบบกลุม
่ หมอก
คือ ตรงกลางของอะตอมเป็นนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ส่วนรอบนอกจะเป็นกลุ่มหมอก โดยที่กลุม

หมอกหมายถึงความน่าจะเป็นทีจ
่ ะพบอิเล็กตรอนบริเวณนั้น

การจัดเรียงอิเล็กตรอน

จำานวนอิเล็กตรอนในแต่ละชั้น = 2n2 เม�ืื่อ n คือ ระดับพลังงาน

ระดับพลังงานย่อย (subshell)
s มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 2 ตัว
p มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 6 ตัว
d มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 10 ตัว
f มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 14 ตัว

ข้อยกเว้นในการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
จะไม่พบการจัดเรียงเป็น 4s2 3d4 และ 4s2 3d9
แต่จะเปลีย
่ นเป็น 4s1 3d5 และ 4s1 3d10 ตามลำาดับ เสมอ

ข้อควรรู้
อิเล็กตรอนทีอ
่ ยู่วงนอกสุด เรามักเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน
(valence electron)
ตารางธาตุและการใช้ประโยชน์จากตารางธาตุ

การอ่านตารางธาตุ

ส่วนประกอบของตารางธาตุ

คำาศัพท์ทค
ี่ วรรู้
คาบ คือ แนวนอนของตารางธาตุ ซึ่งจะเรียงตามเลขอะตอมไปเรื่อยๆ ซึ่งจะมีคาบที่ 1–7 สมบัติของธาตุในแต่ละธาตุใน
คาบเดียวกันนั้นมีลก
ั ษณะค่อนข้างแตกต่างกันมาก
หมู่ คือ แนวตั้งของตารางธาตุ โดยธาตุทอ
ี่ ยู่ในหมู่เดียวกันจะอิเล็กตรอน วงนอกสุด (valence electron) เท่ากัน และแต่ละ
ธาตุมีสมบัตคิ ล้ายๆกันโดยในตารางธาตุจะแบ่งออกเป็นได้ 2 หมู่ใหญ่ๆ ได้แก่

- หมู่ A (representative) ซึ่งมีทั้งสิ้น 8 หมู่ (ตัง้ แต่ IA – VIIIA)


- หมู่ B (transition) คือ ธาตุทั้งหมดที่เหลือที่ไม่ใช่หมู่ A เป็นโลหะทัง้ หมด บางครั้งเราเรียกว่า โลหะแทรนซิชัน
เส้นขั้นบันได คือ เส้นทีก่ ั้นระหว่างธาตุที่เป็นโลหะและธาตุที่เป็นอโลหะ โดยธาตุที่อยูท ่ างด้านขวาของเส้นขั้นบันได คือ
ธาตุอโลหะธาตุที่อยูท ่ างด้านซ้ายมือของเส้นขั้นบันได คือ ธาตุโลหะ ส่วนธาตุทอ ี่ ยู่ใกล้ๆกับเส้นขั้นบันได คือ ธาตุกึ่งโลหะ

การบอกตำาแหน่งของธาตุในตารางธาตุ
หลักการ
1. ตัวเลขตัวสุดท้าย (อิเล็กตรอนวงนอกสุด หรือ เวเลนซ์อิเล็กตรอน) คือ หมู่ ทีธ
่ าตุนั้นอยู่
2. จำานวนตัวเลข (จำานวนระดับพลังงาน) คือ คาบ ที่ธาตุนั้นอยู่
3. การบอกตำาแหน่งของธาตุด้วยการจัดเรียงอิเล็กตรอน บอกได้แค่หมู่ A เท่านั้น

พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization Energy: IE)


คือ พลังงานน้อยที่สด
ุ ที่ธาตุรับเข้าไปจนทำาให้ธาตุนั้นเสียอิเล็กตรอนออกไปได้

อิเล็กโตรเนกาติวิตี (Electronegativity: EN)

คือ ความสามารถในการรับอิเล็กตรอน ไม่มีหน่วย


ถ้าธาตุใดมี EN สูงๆ แปลว่า มีความสามารถรับอิเล็กตรอนได้ดี ก็คอ
ื เป็นไอออนลบได้ดี เช่นพวกอโลหะ ในทาง
กลับกัน พวกโลหะ รับอิเล็กตรอนได้ไม่ดี เพราะฉะนั้น EN ของโลหะจะตำ่า
สารชีวโมเลกุลเบื้องต้น
1. คาร์โบไฮเดรต
2. โปรตีน
3. ลิพด

4. กรดนิวคลิอก

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates)
- เป็นสารชีวโมเลกุลที่พบได้มากที่สด
ุ ในโลก
- คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี

นำ้าตาล (Saccharides) มี 2 ประเภท


นำ้าตาลอัลโดส คือ นำ้าตาลที่เป็น “สารประกอบของพอลิไฮดรอกซีอล
ั ดีไฮด์” (polyhydroxyaldehydes)
นำ้าตาลคีโตส คือ นำ้าตาลที่เป็น “สารประกอบของพอลิไฮดรอกคีโตน” (polyhydroxyketones)
นำ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharides)
คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีนำ้าตาลเพียง 1 หน่วย มีคาร์บอนตัง้ แต่ 3 อะตอมขึ้นไป มีสต
ู รอย่างง่ายคือ (CH2O)n ได้แก่ กลูโคส
ฟรุกโทส กาแลกโทส ไรโบส ไรบูโลส เป็นต้น

กลูโคส ฟรุกโทส กาแลกโทส

ออลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharides)
คือ นำ้าตาลโมเลกุลเดีย
่ วตัง้ แต่ 2 – 10 โมเลกุล มาต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดก
ิ และเสียนำ้า (H2O) ออกไป 1
โมเลกุล
พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides)
คือ การนำานำ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides) หลายๆตัว (มากกว่า 10 โมเลกุล) มาต่อเข้าด้วยกันด้วย
พันธะไกลโคซิดก ิ ทำาให้เกิดเป็นสารต่างๆ ทีม
่ ีสมบัตแ
ิ ตกต่างกันออกไป
1) แป้ง (starch) ได้แก่
ก.อะไมโลส (Amylose) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง มีหน่วยย่อยเป็นกลูโคส มีลก ั ษณะเป็นเส้นตรง มีองค์
ประกอบของแป้งประมาณ 20% ทดสอบกับสารละลายไอโอดีนได้สีนำ้าเงิน
ข. อะไมโลเพกติน (Amylopectin) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ส่วนใหญ่ของแป้ง คือประมาณ 80% มีหน่วยย่อยเป็น
กลูโคสเหมือนกับอะไมโลส แต่ว่ามันเป็นโครงสร้างที่ตอ ่ กับอะไมโลสแล้วเป็นกิง่ แยกย่อยออกมา ทดสอบกับสารละลาย
ไอโอดีนได้สีนำ้าตาลแดง

การย่อยสลายแป้ง

2) ไกลโคเจน (glycogen)
เป็นคาร์โบไฮเดรตทีส
่ ะสมในเซลล์ของสัตว์ มักจะพบในตับและกล้ามเนื้อไกลโคเจนมีลก
ั ษณะเป็นโซ่กิ่ง แต่
มีขนาดและมวลโมเลกุลมากกว่า อะไมโลเพกตินมีหน่วยย่อยเป็นกลูโคสเช่นกัน

3) เซลลูโลส (cellulose)
เป็นคาร์โบไฮเดรตทีพ่ บมากที่สด
ุ ในโลก เพราะว่ามันเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ (cell wall) ของสาหร่ายสี
เขียวและพืช เซลลูโลสมีพอลิเมอร์ของกลูโคสโครงสร้างเป็นเส้นตรง และเซลลูโลสเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงมาก ในชีวิต
ประจำาวันของเราก็มกี ารใช้ประโยชน์จากเซลลูโลสเยอะนะ เช่น สำาลี กระดาษทิชชู ฝ้าย เป็นต้น

การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
ใช้ “สารละลายเบเนดิกต์” ในการทดสอบนำ้าตาล ยกเว้น ซูโครสหรือนำ้าตาลทรายนั่นเอง
ถ้าสารที่เราทดสอบเปลีย
่ นสีสารละลายเบเนดิกต์จากสีฟ้าเป็นตะกอนสีแดงอิฐ แสดงว่าสารนั้นเป็นนำ้าตาล

โปรตีน (Protein)
เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีมวลโมเลกุลมาก ประกอบด้วยธาตุ C H O N เป็นหลัก โดยหน่วยที่เล็กที่สด ุ ของโปรตีนคือ
กรดอะมิโน (Amino acid)
- โปรตีนก็เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายเช่นกันกับคาร์โบไฮเดรต
- โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
- กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ทีม
่ ีหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) กับ อะมิโน (-NH2) เกาะอยู่ทค
ี่ าร์บอนเดียวกัน
1. กรดอะมิโนจำาเปนน (Essential Amino Acid: EAA)
คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ต้องรับจากภายนอก ได้แก่ เมไทโอนิน ทรีโอนิน ไลซีน
เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน ฟีนิลอะลานีน ทริปโตเฟน ฮิทด ิ ีน (สำาหรับในเด็กทารกมี อาร์จีนีน เพิม
่ ด้วย) และถ้าโปรตีนที่เรา
รับประทานเข้าไปมีกรดอะมิโนจำาเป็นครบ เราจะเรียกว่า “โปรตีนสมบูรณ์ (complete proteins)” เช่น เนื้อ ปลา เป็ด ไก่
ไข่ นม แต่ถ้าโปรตีนที่มี EAA ไม่ครบเราจะเรียกว่า “โปรตีนไม่สมบูรณ์ (incomplete proteins)” เช่น พืชตระกูลถัว่ ธัญพืช
เป็นต้น
2. พันธะเพปไทด์ (peptide bond)
คือ พันธะที่เชือ
่ มระหว่างกรดอะมิโนตัง้ แต่ 2 โมเลกุลขึ้นไป ต่อกันไปเรื่อยๆ จนเป็นพอลิเมอร์ของกรดอะมิโน
ซึ่งก็คอ
ื โปรตีน นั่นเอง

การทดสอบโปรตีน
เรียกว่า การทดสอบไบยูเร็ต จะใช้สารละลาย CuSO4 ในสารละลายเบส NaOH” ซึ่งมีสฟ ี ้าโดยเมือ
่ ทดสอบแล้วถ้ามี
โปรตีนจะได้สีม่วง - ชมพู มีขอ
้ จำากัดคือ ทดสอบได้แต่โปรตีนทีม
่ ีพันธะเพปไทด์ตั้งแต่ 2 พันธะขึ้นไป จึงไม่สามารถใช้ทด
สอบกรดอะมิโนได้

ถ้าเราอยากจะทดสอบกรดอะมิโนจะใช้สารนินไฮดริน ในการทดสอบโดยถ้ามีกรดอะมิโน จะได้สีม่วง

การเสียสภาพโปรตีน (Protein Denaturation)


คือการที่โปรตีนสูญเสียสภาพโครงสร้างจตุรภูมิ ตติยภูมิ ทุตย
ิ ภูมิ มาเป็น ปฐมภูมิ กล่าวคือ พันธะเพปไทด์ยังคง
อยู่แต่สภาพการทำางานของโปรตีนนั้นๆ อาจจะเสียสภาพไป
ปัจจัยที่ทำาให้โปรตีนเสียสภาพกัน มีดังนี้
1) ความร้อน
2) สารละลายกรด
3) สารละลายเบส
4) แอลกอฮอล์
5) โลหะหนัก

ประเภทและหน้าที่ของโปรตีน

ประเภท หน้าที่ ตัวอย่างของโปรตีน


เอนไซม์ - ย่อยสลายซูโครส - ซูเครส
- ย่อยสลายโปรตีน - ทริปซิน
โครงสร้าง - สร้างเอ็นและกระดูกอ่อน - คอลลาเจน
- สร้างผม ขน และผิวหนัง - เคราติน
ลำาเลียงสาร - ลำาเลียงออกซิเจน - ฮีโมโกลบิน
ฮอร์โมน - เพิม
่ ประสิทธิภาพการเผาผลาญ - อินซูลิน
กลูโคสในร่างกาย - ฮอร์โมนเจริญเติบโต
- ทำาให้รา่ งกายเจริญเติบโตได้ปกติ (Growth Hormone)
แอนติบอดี - ภูมิคุ้มกัน - อิมมูโนโกลบูลน

ไขมัน (Lipid)
คือ ไขมัน (Fat) หรือนำ้ามัน (Oil) ฟอสโฟลิพด
ิ (Phospholipid) ไข (Wax) และสารสเตียรอยด์

ไขมันและนำ้ามัน (Fat and Oil)

ไขมันและนำ้ามัน มีสว่ นประกอบทีเ่ หมือนกันก็คอ


ื เป็นสารประเภทเอสเทอร์ (Ester) ทีเ่ กิดปฏิกิริยาเอส
เทอริฟิเคชัน (Esterification) จากกลีเซอรอลและกรดไขมัน

ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน (Esterification) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจาก การนำาสารที่เป็นแอลกอฮอล์ (Alcohol) มาทำา


ปฏิกิริยากับ สารที่เป็นกรดอินทรีย์หรือเรียกว่า กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid) โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นกรดแก่ จะ
ทำาให้เกิดสารประเภทหนึ่งขึ้น เราเรียกว่าสารประเภทเอสเทอร์ (Ester)

กรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Saturated and Unsaturated Fatty Acid)


1) กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid)
กรดไขมันอิ่มตัว คือ กรดไขมันที่ไม่มีพันธะคูอ
่ ยู่ภายในโครงสร้างโมเลกุลเลย มีแต่พันธะเดีย่ ว (Single bond) ทีเ่ ราเรียกว่า
อิ่มตัว เพราะว่าโครงสร้างของมันอิม
่ ตัวไปด้วยไฮโดรเจน (H) ไม่สามารถเติมอะไรลงไปได้อก ี มีสตู รเคมีเป็น
CnH2n+1COOH เพราะฉะนั้นเวลามันเกิดปฏิกริ ิยากับกลีเซอรอล จะได้ “ไขมัน (Fat)” ซึ่งจะมีลักษณะเป็นของแข็งที่
อุณหภูมิห้อง เช่น พวกไขมันสัตว์ เป็นต้น
2) กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid)
กรดไขมันไม่อิ่มตัว คือ กรดไขมันที่มีพันธะคูอ่ ย่างน้อย 1 ตำาแหน่งในโครงสร้าง ทำาให้โครงสร้างไม่ได้อม ิ่ ตัวด้วย
ไฮโดรเจน (H) เวลาเกิดปฏิกิริยากับกลีเซอรอลก็จะได้ “นำ้ามัน” ซึ่งมีลกั ษณะเป็นของเหลวทีอ ่ ุณหภูมิห้อง เช่น นำ้ามันพืช
เป็นต้น

ดังนั้นหลักการจำาง่ายๆ ก็คอ
ื ถ้าโครงสร้างมันหนาแน่น (อิ่มตัว) เวลาเกิดปฏิกิริยา ผลิตภัณฑ์์ที่ได้จะเป็นของแข็ง (ไข
มัน) แต่ถ้าเป็นโครงสร้างที่ไม่หนาแน่น (ไม่อม
ิ่ ตัว) จะได้ผลิตภัณฑ์์ที่เป็นของเหลว (นำ้ามัน)
การทดสอบความอิ่มตัวของกรดไขมัน
หยดนำ้าคลอรีน (Cl2) นำ้าโบรมีน (Br2) หรืออาจจะเป็นสารละลายไอโอดีน (I2) ก็ได้ ใช้สารประกอบของธาตุหมู่ VIIA เพราะ
มีสมบัตริ ับอิเล็กตรอนได้ดี มีสมบัติทเี่ ห็นได้ชัดคือมันเป็นสารที่มีสี เช่น คลอรีนมีสีเขียวเหลือง โบรมีนมีสีนำ้าตาล ไอโอดีนมี
สีม่วง เมื่อหยดสารพวกนี้ลงไปในสารละลายกรดไขมันที่เตรียมไว้ มันจะถูกฟอกจางสี (สีของสารจะหายไป) เนื่องจากเกิด
ปฏิกิริยาการแทนที่หรือปฏิกิรย ิ าการเติมกับสารละลายกรดไขมัน ซึ่งเราจะดูความอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัวได้จากจำานวนหยด

หยดมาก>>>>>ไม่อิ่มตัว
หยดน้อย>>>>>อิม
่ ตัว

สมบัติตา ่ งๆ ของกรดไขมัน
1. กรดไขมันที่เสถียรมักจะมี C เป็นเลขคู่ ส่วนใหญ่พบ C 16 อะตอม และ C 18 อะตอม
2. ในกรณีที่มีจำานวนคาร์บอนเท่ากัน ไขมันจะมีจุดเดือดสูงกว่านำ้ามัน เพราะกรดไขมันอิ่มตัวจะมีมวลโมเลกุลสูงกว่า และมี
รูปร่างที่มีความหนาแน่นสูง จึงทำาให้มีจด
ุ เดือดสูงกว่า
3. ในกรณีที่มีจำานวนคาร์บอนเท่ากัน การเผาไหม้นำ้ามันจะเกิดเขม่ามากกว่าไขมัน
4. ไขมันและนำ้ามันจะละลายในตัวทำาละลายอินทรีย์ เพราะเป็นสารที่ไม่มีขั้ว
5. การเหม็นหืน นำ้ามันจะเหม็นหืนได้ง่ายกว่าไขมัน เพราะการเหม็นหืนเกิดจาก O2 ในอากาศเข้าทำาปฏิกิริยากับตำาแหน่ง
พันธะคู่ ได้แอลดีไฮด์ และกรดไขมันเล็กๆ ซึ่งเหม็นหืน
** ในปัจจุบัน นำ้ามันพืช มักเติมสาร BHA BHT หรือวิตามิน E ทำาให้ไม่เหม็นหืน
6. ในร่างกายของคนและสัตว์ มีกรดไขมันอิม ่ ตัวเป็นส่วนมาก
7. หากรับประทานไขมันอิ่มตัวมากๆ อาจจะส่งผลให้เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

การทดสอบไขมันและนำา้ มัน
ทดสอบด้วยกระดาษหากเป็นไขมันและนำ้ามันจะทำาให้กระดาษที่ทดสอบโปร่งแสง
กรดนิวคลิอิก (Nucleic Acid) มี 2 ชนิด ก็คอ

1) DNA (Deoxyribonucleic Acid)
2) RNA (Ribonucleic Acid)

DNA (Deoxyribonucleic acid)


เป็นสารพันธุกรรมของร่างกายสิ่งมีชีวิตก็จะมีลก
ั ษณะเป็นเกลียวบันไดเวียนขวา

โครงสร้างและองค์ประกอบของ DNA
DNA มีหน่วยย่อยๆ (มอนอเมอร์) เป็น “นิวคลีโอไทด์ (nucleotide)”
เพราะฉะนั้นเวลามันเป็นสายยาวๆ ก็คอื มันเป็นพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์
เรียกว่า “พอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide)”

โครงสร้างพืน
้ ฐานของนิวคลีโอไทด์มีเบส
(base),
น้ำาตาลดีออกซีไืรโบส (deoxyribose
sugar) และฟอสเฟต (phosphate)

เบสคูส
่ ม (complementary base) และโครงสร้างแบบเกลียวของ DNA
DNA มันเรียงตัวเป็นเกลียวคู่ เหมือนขั้นบันได โดยขั้นบันไดก็คือเบสคูส
่ มกัน (complementary base) เกิดพันธะ
ไฮโดรเจนกัน โดยเป็น A จับกับ T ด้วย 2 พันธะไฮโดรเจน และ C จับกับ G ด้วย 3 พันธะไฮโดรเจนและบริเวณราวบันได
(DNA Backbone) ก็คอ ื นำ้าตาลดีออกซีไรโบสและฟอสเฟต
RNA (Ribonucleic acid)
RNA ก็เป็นอีกหนึ่งชนิดของกรดนิวคลีอิก ทำาหน้าที่เกีย
่ วกับการสังเคราะห์โปรตีนทีใ่ ช้ในร่างกายและเซลล์ โครงสร้าง
คล้ายกับ DNA มาก แต่ตา่ งกันที่ “นำ้าตาล” เพราะ RNA เป็นนำ้าตาลไรโบส

โครงสร้างของ RNA จะเป็นเส้นเดียวธรรมดาๆ (single strand) มันจะไม่เป็นเกลียวคูเ่ หมือนกับ DNA


ธาตุและสารประกอบ

1. สมบัตติ ามหมู่ของตารางธาตุ
2. ตำาแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ
3. พันธะเคมีเบือ
้ งต้น (Chemical bond)
4. เลขออกซิเดชัน (oxidation number)
5. แนวโน้มตามตารางธาตุเบื้องต้น
6. ธาตุกัมมันตรังสี

สมบัตต
ิ ามหมู่ของตารางธาตุ

- ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีสมบัตค
ิ ล้ายกันหมายถึงเฉพาะธาตุในหมู่ A

ควรจำาสีของโมเลกุลของธาตุหมู่ VIIA

ธาตุดา้ นบนชิงอิเล็กตรอนได้เก่งกว่าตัวล่าง
พันธะเคมีเบื้องต้น

พันธะโลหะ (Metallic bond) พันธะที่ทำาให้อะตอมของธาตุทเี่ ป็นโลหะ ยึดติดกัน


สมบัตข ิ องพันธะโลหะ
- ตีเป็นแผ่นได้
- ดึงเป็นเส้นได้
- นำาความร้อนได้ดี
- นำาไฟฟ้าได้ดีและนำาได้ทุกทิศทาง
- มีความเงา

พันธะไอออนิก (Ionic bond)


พันธะไอออนิกจะเกิดกับธาตุสองธาตุ (บางครั้งอาจจะเป็นสองอนุมล
ู กลุม
่ ) โดยที่ธาตุหนึ่งเป็นโลหะ อีกธาตุหนึ่งเป็น
อโลหะ (โลหะมันจะเสียอิเล็กตรอน และอโลหะมันจะรับอิเล็กตรอน)

พันธะโคเวเลนท์ (Covalent bond)


จะเกิดกับธาตุสองธาตุขึ้นไป โดยที่ทั้งสองธาตุนั้นเป็นอโลหะ พันธะโคเวเลนท์คือการใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกัน
นั่นเอง

เลขออกซิเดชัน (oxidation number)


เลขออกซิเดชัน คือ เลขที่แสดงค่าประจุของธาตุในสารประกอบต่างๆ
แนวโน้มตามตารางธาตุเบื้องต้น

แนวโน้มของรัศมีอะตอมตามตารางธาตุ

แนวโน้มของความว่องไวของปฏิกิริยาตามตารางธาตุ
แนวโน้มของพลังงานไอออไนเซชัน (IE) และอิเล็กโตรเนกาติวิตี (EN) ตามตารางธาตุ

ธาตุกัมมันตรังสี (Radioactive element)

คือ ธาตุทม
ี่ ีความไม่เสถียรสูง ปลดปล่อยพลังงานในรูปรังสีออกมาได้เพือ ่ ให้มี
ความเสถียรมากขึ้น โดยการแผ่รังสีออกมานั้น อาจจะได้ธาตุใหม่หรือไม่ก็ได้
โดยเราจะเรียกรังสีที่ธาตุกม
ั มันตรังสีแผ่รังสีออกมาได้นั้นว่า “กัมมันตภาพรังสี”

สมการนิวเคลียร์
หลักการดุลสมการนิวเคลียร์
ผลรวมของเลขมวลและเลขอะตอมของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์์ตอ
้ งเท่ากัน

ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี (Half-life)
ครึ่งชีวิต (Half–life) ใช้สัญลักษณ์เป็น t1/2 คือ ระยะเวลาที่ทำาให้ธาตุกม
ั มันตรังสี
มีมวลเหลือครึ่งเดียวจากตอนเริ่มต้น

สูตรการคำานวณครึ่งชีวิต
เมื่อ n คือ จำานวนครั้งที่ผ่านครึ่งชีวิต
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (Nuclear reaction)
เป็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอมแล้วได้ธาตุใหม่เกิดขึ้น และให้พลังงานมหาศาล ปฏิกริ ิยา
นิวเคลียร์มี 2 ประเภท ได้แก่
1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกริ ิยานิวเคลียร์ที่เกิดจากการยิงนิวตรอนเข้าไปในนิวเคลียสธาตุหนัก
ทำาให้แตกออกได้ธาตุเล็กลง และได้นิวตรอนออกมาอีก 2-3 อนุภาค (ฟิช แปลว่า แตกออก) มนุษย์เราก็นำาความรู้เรือ ่ ง
ปฏิกิริยาฟิชชันมาใช้เช่น การผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (fusion reaction) คือ ปฏิกริ ิยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบามารวมกันเป็นธาตุที่หนักขึ้น

การนำากัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์
- I-131 ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
- Na-24 ใช้ตรวจสอบการไหลเวียนของโลหิต
- Co-60 รักษาโรคมะเร็ง ถนอมอาหาร
- Ra-226 รักษาโรคมะเร็ง
- U-238, Pu-239 ใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
- C-14 หาอายุของวัตถุโบราณ ซากดึกดำาบรรพ์

เชื้อเพลิงซากดึกดำาบรรพ์ (Fossil)
1. ถ่านหิน
2. หินนำ้ามัน
3. ปิโตรเลียม
4. ปิโตรเคมีภัณฑ์์

1. ถ่านหิน (Coal) กำาเนิดมาจากซากพืช ในภาวะที่มีออกซิเจนอย่างจำากัดหรือไม่มอ ี อกซิเจนเลย จากนั้นจึงเกิดการ


เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จนกลายมาเป็นถ่านหิน มี 5 ชนิด
1) พีต (Peat) ขั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน เป็นซากพืชบางส่วนที่ได้สลายตัวไปแล้วสามารถใช้เป็นเชือ ้
เพลิงได้แต่มีความชื้นมาก
2) ลิกไนต์ (Lignite) มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชือ ้ เพลิง แต่จะมีควัน
และเถ้าถ่านมาก นิยมใช้ในการผลิตไฟฟ้า
3) ซับบิทูมินัส (Subbituminous) เป็นถ่านหินทีม ่ ีปริมาณออกซิเจนและความชื้นตำ่า แต่มีปริมาณคาร์บอนสูงกว่า
ลิกไนต์ใช้เป็นแหล่งพลังงานสำาหรับผลิตไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม
4) บิทม
ู ินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินเนื้อแน่น แข็ง มีสดี ำามันวาว ใช้เป็นเชือ
้ เพลิงเพื่อการถลุงโลหะ
5) แอนทราไซต์ (Anthracite) มีอายุการเกิดนานที่สด ุ ลักษณะเป็นสีดำา เนื้อแน่น แข็งและเป็นมัน มีปริมาณออกซิเจนและ
ความชื้นตำา่ แต่มีปริมาณคาร์บอนสูงกว่าถ่านหินชนิดอื่น แม้จะจุดไฟติดยาก แต่เมื่อติดไฟจะมีควันน้อยให้ความร้อนสูง อีก
ทั้งไม่มีสารอินทรีย์ระเหยออกมาจากการเผาไหม้ จึงจัดว่าเป็นถ่านหินที่ให้ความร้อนได้ดีที่สด ุ

2. หินนำ้ามัน (Oil Shale) เป็นหินตะกอนทีม ่ ีสารประกอบสำาคัญ คือ เคอโรเจน แทรกอยู่ระหว่างชั้นหินตะกอน มีองค์


ประกอบที่สำาคัญ 2 ประเภท
สารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่ได้จากชั้นหิน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มแร่ที่สำาคัญ 3 กลุม
่ คือ กลุม่ แร่ซล
ิ ิ
เกต กลุม่ แร่คาร์บอเนต และกลุม
่ แร่ซัลไฟด์และฟอสเฟต
สารประกอบอินทรีย์ ประกอบด้วย บิทูเมนและเคอโรเจน นอกจากหินนำ้ามันจะใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงาน
ได้แล้ว ยังสามารถนำามาผลิตเป็นนำ้ามันกาาด พาราฟิน นำ้ามันหล่อลืน ่ ไข แนฟทาลีน และนำ้ามันเชื้อเพลิงได้อก ี ด้วย

3. ปิโตรเลียม (Petroleum) ประกอบไปด้วยสารไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก และอาจมีธาตุไนโตรเจน ออกซิเจน และ


กำามะถัน เป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งมีสถานะทั้งในรูปของแข็งและกึง่ ของแข็ง ของเหลว หรือแกาส
นำ้ามันดิบ(Crude Oil) ประกอบไปด้วยสารไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก

การกลั่นแยกนำ้ามันดิบ

รูปแสดงการกลัน
่ แยกนำ้ามันดิบในหอกลัน
่ ลำาดับส่วน

ตารางแสดงลำาดับผลิตภัณฑ์์ที่ได้จากการกลั่นลำาดับส่วน และประโยขน์ทใี่ ช้
การบอกคุณภาพของนำ้ามัน
เลขออกเทน – คุณภาพนำ้ามันเบนซิน
เลขซีเทน – คุณภาพนำ้ามันดีเซล

โครงสร้างของไฮโดรคาร์บอนที่เป็นกิ่งจะมีคุณค่าดีกว่าโครงสร้างแบบโซ่ตรง และสามารถกำาหนดเลขออกเทนได้ ดังนี้


- เลขออกเทน 100 คือ นำ้ามันเบนซินที่มีสมบัติในการเผาไหม้ได้ดีเหมือนกับไอโซออกเทน
- เลขออกเทน 0 คือ นำ้ามันเบนซินที่มีสมบัติในการเผาไหม้เหมือนกับเฮปเทน

พอลิเมอร์ (Polymer)
1. ความหมาย และชนิดของพอลิเมอร์
2. ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์
3. โครงสร้างและสมบัตข ิ องพอลิเมอร์
4. พลาสติก
5. เส้นใย
6. ยาง

1. ความหมายและชนิดของพอลิเมอร์
พอลิเมอร์ คือ สารทีม
่ ีนำ้าหนักมวลโมเลกุลสูง สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และนำามาใช้ประโยชน์ตอ
่ การดำารงชีวิต
ของมนุษย์ได้มาก อีกทัง้ ยังมีบทบาทสำาหรับกระบวนการในอุตสาหกรรมต่างๆ
ชนิดของพอลิเมอร์
พิจารณาตามการกำาเนิดแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
- พอลิเมอร์ธรรมชาติ (Natural Polymers) พอลิเมอร์ชนิดนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- พอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic Polymers) เป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์เป็นผู้สังเคราะห์ขึ้น

พิจารณาตามมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบแบ่งได้ 2 ชนิด คือ


- โฮโมพอลิเมอร์ (Homo polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมดมาต่อกัน (คำาว่า Homo-
หมายถึง ชนิดเดียว)
- โคพอลิเมอร์ (Co - polymer) เป็นพอลิเมอร์ประกอบด้วยมอนอเมอร์มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไปเช่นโปรตีน กรดนิวคลีอกิ พอ
ลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์เป็นต้น สามารถแสดงเป็นภาพการต่อกันของมอนอเมอร์ได้ (คำาว่า Co- หมายถึง มากกว่า 1 ชนิดมา
ร่วมกัน)

2. ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ คือ ปฏิกริ ิยาการรวมตัวกันของมอนอเมอร์และเกิดเป็นพอลิเมอร์ เรียกว่าปฏิกิริยาพอลิเม


อร์ไรเซชัน (PolymerizationReaction) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
- ปฏิกริ ิยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบเติม (Addition Polymerization) หรือแบบรวมตัว เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากมอนอเมอร์ที่ไม่
อิ่มตัว (แอลคีน) มารวมตัวกันเป็น พอลิเมอร์ โดยไม่มีการกำาจัดส่วนใดออกจากโมเลกุลของมอนอเมอร์
- ปฏิกริ ิยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation Polymerization)เกิดจากมอนอเมอร์ทท ี่ ีหมู่ฟังก์ชน
ั มากกว่า 1
หมู่ มาทำาปฏิกิริยากัน แล้วเกิดพอลิเมอร์ โดยมีโมเลกุลเล็กๆ เช่น H2O , NH3, HCl หรือ CH3OH เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้

3. โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์
1. พอลิเมอร์แบบเส้น (Linear Polymers) มีลักษณะเป็นโซ่ตรงยาว โครงสร้างจะชิดกันมาก ทำาให้มีลก ั ษณะ
แข็ง เหนียว ความหนาแน่นสูง จุดหลอมเหลวสูง เมือ ่ ได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและกลับมาแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิตาำ่ สามารถ
จำาแนกตามโครงสร้างได้เป็น 3 แบบ คือ
1.1) พอลิเมอร์ทส
ี่ ายโซ่เรียงชิดกันมาก เป็นพอลิเมอร์ที่แข็งแรงขุ่นและเหนียวเช่นพอลิเอทิลีน

1.2) พอลิเมอร์ทโี่ มเลกุลอยู่ห่างกัน เป็นพอลิเมอร์ที่ใสมากกว่าพอลิเมอร์ทส


ี่ ายโซ่เรียงชิดกัน เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์และ
พอลิสไตรีน
1.3) พอลิเมอร์ทม
ี่ ีอะโรมาติกเป็นองค์ประกอบในสายโซ่เป็นพอลิเมอร์ทม
ี่ ีความใสมากที่สด
ุ เช่น พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
(PET) หรือขวดพลาสติก

2. พอลิเมอร์แบบกิ่ง (Branched Polymers) มีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน ดังต่อไปนี้


2.1) ส่วนที่เป็นโซ่หลัก – ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวเท่านั้น
2.2) ส่วนที่เป็นโซ่กงิ่ -เป็นมอนอเมอร์อก
ี ชนิดหนึ่ง ที่ไม่ได้อยู่ในโซ่หลักด้วยโครงสร้างแบบกิ่ง ทำาให้พอลิเมอร์ชนิดนี้
ไม่สามารถจัดเรียงตัวชิดกันได้ จึงมีความยืดหยุ่นสูง มีความหนาแน่นตำ่า และมีจด ุ หลอดเหลวตำ่ากว่าพอลิเมอร์แบบเส้น
เช่น พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นตำา่ (Low Density Polyethylene; LDPE)

3. พอลิเมอร์แบบร่างแห (Cross–Linked Polymers) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างพอลิเมอร์ที่


มี
โครงสร้างแบบเส้น หรือแบบกิง่ ต่อเนือ ่ งกันเป็นร่างแห ซึ่งมีจด
ุ หลอมเหลวสูง เมื่อขึ้นรูปแล้วจะไม่สามารถหลอมหรือ
เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ถ้าพันธะที่เชื่อมโยงระหว่างโซ่หลักมีจำานวนน้อย พอลิเมอร์จะมีสมบัติยด ื หยุ่นและอ่อนตัวสูง แต่ถา้ มี
จำานวนพันธะมาก พอลิเมอร์จะแข็งและไม่ยืดหยุ่น เช่น เบกาไลต์ เมลามีน อีพอกซี

โครงสร้างของอี
พอกซี
4. พลาสติก
พลาสติก เป็นพอลิเมอร์อกี ชนิดหนึ่งทีเ่ กิดจากการอัดให้เป็นรูปร่างต่างๆ เพือ
่ เหมาะสมต่อการนำาไปใช้ประโยขน์
1. เทอร์มอพลาสติก (Thermoplastic) เป็นพลาสติกทีส ่ ามารถเปลีย ่ นรูปกลับไปกลับมาได้ ระหว่างพลาสติกแข็งและ
พลาสติกหลอม โดยจะอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน
2. พลาสติกเทอร์มอเซต (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกทีไ ่ ม่สามารถนำากลับมาขึ้นรูปใหม่ได้อีกเมือ
่ ขึ้นรูปโดยการ
ผ่านความร้อนหรือแรงดัน

5. เส้นใย
คือ พอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างของโมเลกุล เหมาะสมต่อการนำามาทำาเป็นเส้นด้าย สามารถเกิดขึ้นเองในธรรมชาติและได้จาก
การสังเคราะห์ จึงสามารถจำาแนกประเภทของเส้นใยตามลักษณะการเกิดได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
1. เส้นใยธรรมชาติ (Natural Fibers) เป็นเส้นใยที่สามารถเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ คุณสมบัติดด
ู ซับนำ้าได้ดแ
ี ละแห้งช้า
แต่ขึ้นราและยับง่าย มีแหล่งกำาเนิดจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
- เส้นใยจากพืช (เซลลูโลส)
- เส้นใยจากสัตว์ (โปรตีน)
- เส้นใยจากสินแร่ (ใยหิน)

2. เส้นใยกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic Fibers) เป็นเส้นใยที่นำาสารจากธรรมชาติ มาปรับปรุงให้เหมาะกับการใช้


งาน นิยมใช้ทำาผ้าเช็ดตัว และผ้าอ้อม

3. เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fibers) เป็นเส้นใยที่สังเคราะห์ขึ้น เพือ


่ ใช้ทดแทนเส้นใยจากธรรมชาติ โดยใช้สาร
อนินทรีย์หรือสารอินทรีย์มาสังเคราะห์มีคุณสมบัตดิ ก
ี ว่าเส้นใยธรรมชาติ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
- พอลิเอสเทอร์
- พอลิเอไมด์
- พอลิอะคริโลไนไตรล์

6. ยาง
เป็นพอลิเมอร์ที่มค
ี วามยืดหยุ่นสูง มีความต้านทานแรงดัน เป็นฉนวนได้ และอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งยางสามารถแบ่ง
ได้เป็น 2 ประเภทตามแหล่งกำาเนิด ทัง้ ที่กำาเนิดจากธรรมชาติหรือมาจากการสังเคราะห์ขึ้น ดังนี้

1. ยางธรรมชาติ (Natural Rubbers)เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากต้นยาง ประกอบด้วย มอนอเมอร์ “ไอโซพรีน” ทีเ่ ชื่อม


ต่อกัน 1,500 ถึง 15,000 หน่วย
- ยางพารา หรือ พอลิไอโซพรีน มีโครงสร้างเป็นแบบ cis – Isoprene (มีหมู่ที่เหมือนกันอยูด
่ ้านเดียวกันของ
พันธะคู่) คุณสมบัตทิ ี่ดี คือ ยืดหยุ่นได้สูง
- ยางกัตตา ยางบาราทา ยางชิคเคิล หรือ พอลิไอโซพรีนมีโครงสร้างเป็นแบบ trans– Isoprene (มีหมูท ่ ี่เหมือน
กันอยู่ด้านตรงข้ามกันของพันธะคู่) เป็นยางที่ได้จากต้นยางกัตตา, ต้นยางบาราทาและต้นยางซิคเคิล

2. ยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubbers) เป็นยางที่ได้จากการสังเคราะห์โดยเลียนแบบยางธรรมชาติ


- พอลิบิวทาไดอีนมีความยืดหยุ่นน้อย ประกอบด้วยมอนอเมอร์ คือ บิวตะไดอีน หรือ 1, 3 บิวตะไดอีน
- พอลิคลอโรพรีนมอนอเมอร์ คือ คลอโรพรีน
- ยาง SBR หรือ ยางสไตรีน-บิวทาไดอีนเป็นโคพอลิเมอร์ เนื่องจากประกอบด้วย 2 มอนอเมอร์ คือ สไตรีน และ
บิวทาไดอีน สามารถทนต่อการขัดถูได้ดี เกิดปฏิกิริยากับแกาสออกซิเจนได้ยากกว่ายางธรรมชาติ และยืดหยุ่นได้ตาำ่

กระบวนการวัลคาไนเซชัน (Vulcanization)
เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพของยาง ซึ่งใช้ได้ทงั้ ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ โดยการนำากำามะถันมาเผา
กับยางซึ่งจะเกิดพันธะโคเวเลนซ์ เชือ
่ มระหว่างโซ่พอลิเมอร์ด้วยอะตอมซัลเฟอร์เป็นโมเลกุลเดียวกัน ทำาให้คงสภาพที่
อุณหภูมิต่างๆ ทนต่อความร้อนและแสงแดด อีกทัง้ ยังละลายในตัวทำาละลายได้ยากขึ้น
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction)

1. หลักการของการเกิดปฏิกิริยา
2. ประเภทของปฏิกริ ิยาเคมี
3. อัตราการเกิดปฏิกริ ิยาเคมี
4. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกริ ิยาเคมี
5. กฎอัตราเร็ว
6. พลังงานกับการดำาเนินไปของปฏิกริ ิยา

1. หลักการของการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเกิดได้จากการชนกันของอนุภาค (อะตอม ไอออน หรือโมเลกุล) ของสารที่


จะเข้าทำาปฏิกิริยากัน โดยที่จะต้องชนในทิศทางที่เหมาะสม และพลังงานในการชนต้องมีค่าสูงกว่าพลังงานกระตุ้นหรือ
พลังงานก่อกัมมันต์ (Activation Energy, Ea) ตามทฤษฎีการชน (Collistion Theory)

2. ประเภทของปฏิกิริยาเคมี จำาแนกได้ถึง 3 ประเภท ดังนี้


1. ปฏิกิริยารวมตัว (Combination) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็กๆ รวมเป็นสารโมเลกุลใหญ่
หรือเกิดจากการรวมตัวของธาตุได้เป็นสารประกอบ
2. ปฏิกิริยาแยกสลาย (Decomposition) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการแยกสลายของสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุล
เล็กลง
3. ปฏิกิริยาแทนที่ (Replacement) เป็นปฏิกิริยาการแทนที่ของสารหนึ่งเข้าไปแทนที่อกี สารหนึ่ง

3. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถพิจารณาจากปริมาณสารตั้งต้นทีล
่ ดลง หรือปริมาณสารผลิตภัณฑ์์ที่เกิดขึ้น ณ
ช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยมีความสัมพันธ์กน
ั ดังนี้

การคำานวณอัตราปฏิกิริยาเคมี
• แบบอัตราเร็วคงที่ คือ ปฏิกริ ิยาที่มีอต
ั ราการลดลงของสารตัง้ ต้น และการเกิดผลิตภัณฑ์์คงทีต
่ ลอดจนสารตั้งต้น
• แบบอัตราเร็วไม่คงที่ คือ ปฏิกริ ิยาที่มีอต
ั ราการลดลงของสารตัง้ ต้นในช่วงแรกจะเกิดอย่างรวดเร็วและค่อยๆ ช้า
ลงเรื่อยๆ จนสารตั้งต้นหมดไป

4. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1. ธรรมชาติของสาร สารตั้งต้นทีม ่ ีพันธะที่ออ
่ นแอหรือแตกออกง่ายจะเกิดปฏิกิรย
ิ าได้ง่ายกว่า และสารตั้งต้นที่มค
ี วาม
ซับซ้อนของโครงสร้างน้อยจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารที่มีโครงสร้างซับซ้อน (โครงสร้างขนาดใหญ่)
2.อุณหภูมิ เมือ ่ อุณหภูมิเพิ่ม ปฏิกริ ิยาจะเกิดเร็วขึ้น เนื่องจากโมเลกุลของสารจะมีพลังงานจลน์สูงขึ้น ทำาให้เกิดการชนกัน
ของโมเลกุลมากขึ้น
3. พื้นที่ผิวสัมผัส หากสารมีพื้นที่ผิวสัมผัสต่อตัวทำาละลายมาก ปฏิกริ ิยาจะเกิดได้เร็วขึ้น เช่น ก้อนสังกะสี
> เศษสังกะสี > ผงสังกะสี
4. ตัวเร่งปฏิกิริยา/ตัวคะตะลิสต์ (Catalyst) เมื่อเติมตัวเร่งลงในสารตั้งต้นจะทำาให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยตัวเร่งจะไม่มีผล
ต่อผลิตภัณฑ์์เมือ ่ สิ้นสุดปฏิกิริยา
5. ตัวหน่วง เมือ ่ เติมตัวหน่วงจะทำาให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลง
6. ความเข้มข้น สารตัง้ ต้นที่มค ี วามเข้มข้นสูง จะมีจำานวนโมเลกุลในระบบมากทำาให้เกิดการชนกันได้ง่าย ดังนั้นปฏิกริ ิยาจะ
เกิดเร็วขึ้น
5. กฎอัตราเร็ว (Law of Mass Action)
อัตราการเกิดปฏิกริ ิยาเคมีเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของสารตั้นต้นทีเ่ ข้าทำาปฏิกิริยา

Rate = k[A]m[B]n

เมื่อ Rate แทนอัตราการเกิดปฏิกิริยา


k แทนค่าคงที่อต ั รา
[A] แทนความเข้มข้นของสารตั้งต้น A
[B] แทนความเข้มข้นของสารตัง้ ต้น B
m,n แทนค่าคงที่ใดๆ ซึ่งหาได้จากผลการทดลองเท่านั้น
โดยถ้าเป็นปฏิกริ ิยาขั้นตอนเดียว m และ n จะมีค่าเท่ากับตัวเลขข้างหน้าของสารตามสมการที่ดล ุ แล้ว แต่ หาก
เป็นปฏิกิริยาที่มีหลายขั้นตอน อัตราเร็วของปฏิกิริยารวมจะขึ้นกับขั้นที่เกิดช้าที่สด
ุ และเรียก m + n ว่าอันดับของปฏิกิรยิ า

6. พลังงานกับการดำาเนินไปของปฏิกิริยา
• ปฏิกริ ิยาดูดความร้อน (Endothermic Reaction) ส่วนใหญ่ใช้ในการสลายพันธะ ให้แตกออกจากกัน โดยดูด
ความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป มีผลทำาให้อุณหภูมิตาำ่ ลง
• ปฏิกริ ิยาคายความร้อน (Exothermic Reaction) ส่วนใหญ่ใช้ในการสร้างพันธะ โดยคายความร้อนให้สิ่ง
แวดล้อมมีผลทำาให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

“สร้างคาย สลายดูด”

You might also like