You are on page 1of 13

พันธะเคมี

สารที่ไม่อยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว มีพันธะเคมียึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม
หรือไอออน โดยที่อะตอมของธาตุอาจมีการให้อิเล็กตรอน รับอิเล็กตรอน
หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ทำให้เกิดพันธะเคมี 3 ประเภท ได้แก่ พันธะไอ
ออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ

สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตด
พัฒนาการของตารางธาตุ ตลอดจนแนวคิดของการจัดอิเล็กตรอน
ช่วยให้นักเคมีสามารถอธิบายการเกิดโมเลกุลหรือสารประกอบได้อย่างมี
เหตุผล กิลเบิร์ต นิวตัน ลิวอิส (Gilbert Newton Lewis) เสนอว่า อะตอม
รวมตัวกันเพื่อทำให้เกิดการจัดอิเล็กตรอนที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึน
้ โดย
เสถียรภาพมีค่ามากที่สุดเมื่ออะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวน
อิเล็กตรอนในธาตุเฉื่อย เมื่ออะตอมรวมกันเกิดเป็ นพันธะเคมี อิเล็กตรอน
ระดับนอกหรือที่เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่านัน
้ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิด
พันธะเคมี
นักเคมีใช้สญ
ั ลักษณ์แบบจุดของลิวอิส (Lewis dot symbol) ในการ
นับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างปฏิกิริยา และเพื่อให้แน่ใจว่าจำนวน
อิเล็กตรอนมีค่าคงที่ สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสใช้จุดแสดงจำนวนเวเลนซ์
อิเล็กตรอนรอบสัญลักษณ์ของธาตุ โดยเขียนจุดเดี่ยวทัง้ 4 ด้านรอบ
สัญลักษณ์ของธาตุก่อน แล้วจึงเติมจุดให้เป็ นคู่ (ยกเว้นธาตุฮีเลียมที่มี 2 เว
เลนซ์อิเล็กตรอน จะเขียนเป็ นจุดคู่อยู่ด้านเดียวกัน)

กฎออกเตต (Octet rule)

ธาตุต่างๆส่วนใหญ่ไม่เสถียรเมื่ออยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว ยกเว้นธาตุหมู่
VIIIA หรือที่เรียกว่าแก๊สมีสกุลหรือแก๊สเฉื่อย ทีพ
่ บอยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว ซึง่
มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ยกเว้นฮีเลียมที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2
ดังนัน
้ อะตอมของธาตุอ่ น
ื ๆที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่ครบ 8 จึงมีแนวโน้มจะ
รวมตัวกันเพื่อที่จะทำให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 หรือ
เสถียร จึงสรุปเป็ นหลักการที่เรียกว่า กฎออกเตด (Octet rule)

ข้อยกเว้นของกฎออกเตด
1. กรณีโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนเกินแปด ธาตุบางธาตุในคาบ
ที่ 3 เช่น ฟอสฟอรัส (P) หรือ กำมะถัน (S)
2. กรณีของโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนไม่ครบแปดใน
สารประกอบบางชนิด เช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF )
3

พันธะไอออนิก (Ionic bonding)

เกิดจากธาตุโลหะที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ จึงมีแนวโน้มที่จะเสีย
อิเล็กตรอน (เกิดเป็ นไอออนบวก) ให้กับอโลหะซึ่งมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน
สูง จึงมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน (เกิดเป็ นไอออนลบ) ซึง่ ไอออนบวกและ
ไอออนลบที่เกิดขึน
้ จะดึงดูดกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้ า เรียกการ
ยึดเหนี่ยวนีว้ ่า พันธะไอออนิก (Ionic bond) ทำให้เกิดเป็ นสารประกอบไอ
ออนิกขึน
้ (Ionic compound)
การอธิบายการเกิดพันธะไอออนิกของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์
(NaCl) เป็ นดังนี ้
2 2
ธาตุโซเดียม (Na) เป็ นธาตุโลหะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็ น 1s 2s
6 1
2p 3s ซึ่งจะเป็ นฝ่ ายให้อิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน แล้วกลายเป็ นไอออน
+
บวก (โซเดียมไอออน, Na ) ที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนนีออน (Ne)
2 2 6
คือ 1s 2s 2p ในขณะที่ธาตุคลอรีน (Cl) เป็ นอโลหะ มีการจัดเรียง
2 2 5
อิเล็กตรอนเป็ น 1s 2s 2p ซึง่ จะเป็ นฝ่ ายรับอิเล็กตรอน และกลายเป็ น
-
ไอออนลบ (ฟลูออไรด์ไอออน, F ) ที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนนีออน
2 2 6
(Ne) คือ 1s 2s 2p จากนัน
้ ทัง้ สองไอออนจะดึงดูดกันกลายเป็ น
สารประกอบโซเดียมคลอไรด์

การเกิดสารประกอบแมกนีเซียมฟลูออไรด์ (MgF ) และ แคลเซียม


2
ออกไซด์ (CaO)
สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งอยู่ในรูปของผลึกที่มีไอออน
บวกและไอออนลบยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องกันเป็ น
โครงผลึกขนาดใหญ่ และไม่อยู่ในรูปโมเลกุล ไอออนบวกจะล้อมรอบด้วย
ไอออนลบและไอออนลบจะล้อมรอบด้วยไอออนบวก โดยมีหลักการสำคัญ
คือ ต้องทำให้มีแรงผลักกันระหว่างไอออนชนิดเดียวกันน้อยที่สุด และมี
แรงดึงดูดระหว่างไอออนต่างชนิดกันให้มากที่สุด
แบบฝึ กหัด
2+
1.เขียนสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของไอออน Ca

2.สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุสมมุติต่อไปนี ้ เป็ นของธาตุหมู่


ใด

3.สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสในข้อ 1 และข้อ 2 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็ น


ไปตามกฎออกเตดหรือไม่

4.เขียนแสดงการให้และรับอิเล็กตรอนในการเกิดสารประกอบระหว่าง
ธาตุแต่ละคู่ต่อไปนี ้ โดยใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

4.1 ลิเทียมกับคลอรีน
4.2 แบเรียมกับไอโอดีน

สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก

สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบที่มี
ประจุต่าง ๆ กัน ซึง่ มีผลต่ออัตราส่วนการรวมของไอออนและสูตรของ
สารประกอบไอออนิก โดยประจุของไอออนธาตุหมู่หลักเป็ นบวกตามจำนวน
อิเล็กตรอนที่ให้หรือเป็ นลบตามจำนวนอิเล็กตรอนที่รับเพื่อทำให้มีการจัด
เรียงอิเล็กตรอนของไอออนเป็ นไปตามกฎออกเตด
การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก มีหลักเกณฑ์ดังนี ้

1. แสดงประจุบวกของโลหะหรือกลุ่มของประจุบวกที่มีอยูในสูตรก่อน
จากนัน
้ ตามด้วยประจุลบของอโลหะหรือกลุ่มของประจุลบ ยกเว้นในกรณีที่
สารประกอบไอออนิกนัน
้ เป็ นเกลือของกรดอินทรีย์ เช่น แอซิเตตไอออน
-
(CH COO ) จะนำด้วยประจุลบก่อนแล้วตามด้วยประจุบวก เช่น โซเดียม
3
แอซีเตต (CH COONa)
3
2. เมื่อรวมประจุบวกกับประจุลบเข้าด้วยกันต้องมีค่าเท่ากับศูนย์
ถ้ามีประจุบวกหรือประจุลบมากกว่า 1 กลุ่ม ให้ใส่วงเล็บและระบุ
3.
จำนวนกลุ่มไว้ททางมุมล่างด้านขวามือ เช่น CaF
2
ตาราง 3.2 ตัวอย่างสูตรสารประกอบไอออนิกบางชนิด (X แทนโลหะ Y
แทนอโลหะ)

ไอออนบางชนิดเกิดจากกลุ่มอะตอม การเขียนสูตรสารประกอบใช้
หลักการเดียวกับไออนบวกและไอออนลบที่เกิดจากธาตุ เช่น สูตร
+
สารประกอบไอออนิกที่เกิดจากแอมโมเนียมไอออน (NH4 ) กับ ซัลเฟต
2- + 2-
ไอออน (SO4 ) มีอัตราส่วนประจุของ NH4 ต่อ SO4 เป็ น 1 ต่อ 2 ซึง่ เมื่อ
+
ทำให้ผลรวมของประจุเป็ นศูนย์ จะได้อัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวน NH4
2-
ต่อ SO4 เป็ น 2 ต่อ 1 ดังนัน
้ สูตรสารประกอบเป็ น (NH4)2SO4

สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนบวกและไอออนลบ ดังนัน
้ การ
เรียกชื่อสารประกอบไอออนิกจึงจำเป็ นต้องทราบชื่อของไอออนบวกและ
ไอออนลบก่อน โดยชื่อของไอออนบวกเรียกตามชื่อธาตุแล้วลงท้ายด้วยคำว่า
ไอออน ส่วนไอออนลบเรียกชื่อธาตุโดยเปลี่ยนท้ายเสียงเป็ น ไ-ด์ (-ide) แล้ว
ลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน
ไอออนที่เป็ นกลุ่มอะตอมมีช่ อ
ื เรียกเฉพาะ โดยกลุ่มอะตอมที่เป็ น
ไอออนบวกลงท้ายด้วย เ-อียม (-ium) ส่วนกลุ่มอะตอมที่เป็ นไอออนลบจะ
ลงท้ายด้วย ไ-ด์ (-ide) ไ-ต์ (-ite) หรือ เ-ต(-ate)
ชื่อสารประกอบไอออนิกได้จากการเรียกชื่อไอออนบวกแล้วตามด้วย
ชื่อไอออนลบ โดยตัดคำว่าไอออนออก

นอกจากโลหะจากธาตุหมู่หลักแล้ว โลหะแทรนซิชันก็สามารถเกิด
พันธะไอออนิกได้เช่นเดียวกัน ธาตุโลหะแทรนซิชันบางตัวสามารถมีประจุ
บวกได้หลายค่า ทำให้เกิดสารประกอบไอออนิกที่มีค่าประจุได้ตามจำนวน
ของธาตุนน
ั้ ๆ

การเรียกชื่อ ให้เรียกชื่อไอออนบวกซึ่งเป็ นโลหะแล้วตามด้วยประจุของ


ไอออนโลหะนัน
้ เป็ นเลขโรมันอยู่ภายในวงเล็บก่อน แล้วตามด้วยไอออนลบ
ซึ่งเป็ นอโลหะ แล้วเปลี่ยนท้ายเสียงเป็ น ไ-ด์ (-ide)

เช่น Cu มีประจุบวก 2 ค่า คือ +1 และ +2 เมื่อเกิดเป็ นสารประกอบ


ไอออนิกกับ O จะได้เป็ น Cu2O และ CuO อ่านว่า คอปเปอร์(I)ออกไซด์
และ คอปเปอร์(II)ออกไซด์
แบบฝึ กหัดเรื่องชื่อของสารประกอบไอออนิก

จงจับคู่คำที่กำหนดให้กับข้อความด้านล่างให้ถูกต้อง
______________________ = แอมโมเนียมไซยาไนด์
______________________ = CuSO4

______________________ = โซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต
______________________ = NH4OH

______________________ = อะลูมิเนียมคาร์บอเนต
______________________ = Al(OH)3

______________________ = แมงกานีส(II)ออกไซด์
______________________ = Na2SO4

______________________ = แมงกานีส(IV)ออกไซด์
______________________ = Li2CO3

You might also like