You are on page 1of 19

1

การตีความเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส

การอภิปรายในงานเสวนาหนังสือ
“วิวัฒนาการรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ในกระแสเศรษฐกิจโลก จากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติ”
ของ รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
5 ตุลาคม 2561
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล

หากพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส สาหรับสังคมไทยแล้ว มักคิดถึงเหตุการณ์ทลายคุก Bastille บ้าง ภาพ


ของการประหารชีวิตด้วย “กีโยตีน” บ้าง นึกถึงการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์บ้าง หรือบางคนก็อาจเข้าใจผิดนา
เหตุการณ์ในปี ๑๘๓๐ หรือ ๑๘๔๘ มาปะปนกับ ๑๗๘๙ ในด้านตัวบุคคล เราอาจรับรู้ถึงความโดดเด่น ความ
กล้าหาญ ความโหดเหี้ยม หรือวีรกรรมของเหล่าบรรดานักปฏิวัติ เช่นกัน เราอาจรับทราบถึงความล้าหลังไม่
ปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับกาลสมัยของขั้วกษัตริย์นิยม
ความสนใจในเรื่องปฏิวัติฝรั่งเศสของสังคมไทยมักแสดงออกในสองมิติที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง มิติแรก
สนใจปฏิวัติฝ รั่ งเศสแบบลุ่ ม หลงและใฝ่ ฝั น ถึ ง มิติที่ส อง สนใจปฏิวัติฝ รั่งเศสแบบรัง เกียจเดี ยดฉั น ท์ แ ละ
หวาดกลัวในฐานะที่เหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างอันเลวร้าย
ความสนใจทั้งสองมิตินี้ยังไม่เพียงพอต่อการศึกษาปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างลึกซึ้ ง เพราะเป็นเพียงความ
สนใจแบบทาให้เป็นละคร ฝ่ายหนึ่งทาให้การปฏิวัติโรแมนติก ส่วนอีกฝ่ายก็ทาลายความชอบธรรมของการ
ปฏิวัติ โดยละเลยสาเหตุความเป็นมา ปรัชญาการเมืองเบื้องหลัง ตลอดจนการตีความของนักประวัติศาสตร์
ผู้เขียนจึงอยากทดลองบรรยายถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยไม่ มุ่งเน้นถึง “ทลายคุก Bastille” – “ล้ม
เจ้า” – “ตัดหัว” หรือไม่บรรยายเชิงลาดับเหตุการณ์ว่าใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แต่หันมาสนใจเรื่อง
ปรัชญาการเมืองและภูมิปัญญาของปฏิวัติฝรั่งเศส โดยในตอนนี้ จะเริ่มต้นจากประวัติศาสตร์นิพนธ์ของปฏิวัติ
ฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้ตีความเหตุการณ์ “ปฏิวัติฝรั่งเศส” แตกต่างกันไป
เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษแล้วที่นักประวัติศาสตร์ได้ตีความและอธิบายเหตุการณ์ “ปฏิวัติฝรั่งเศส”
ในช่วงปี ๑๗๘๙-๑๗๙๙ เราอาจหยิบยกชื่อของนักประวัติศาสตร์เหล่านั้นจากรุ่นสู่รุ่นได้ เช่น Edgar Quinet,
Jule Michelet, Alexis de Tocqueville, Hippolyte Adolphe Taine, Jean Jaurès, Alphonse Aulard,
Albert Mathiez, Georges Lefebvre, François Furet, Michel Vovelle เป็นต้น
แนวคิดที่แตกต่างกัน ของนักประวัติศาสตร์ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและความขัดแย้งในหมู่ปัญญาชน
อย่างน้อยๆก็สองครั้ง
ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อคราวที่ Jean Jaurès เขียนหนังสือเรื่อง Histoire socialiste de la Révolution
française หรือ “ประวัติศาสตร์แบบสังคมนิยมของปฏิวัติฝรั่งเศส” ในปี ๑๘๙๘ โดยเขาใช้วิธีการแบบมาร์ก
2

ซิสต์เข้าไปวิเคราะห์เหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมจนเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งงานของเขาถูกวิจารณ์
โดยปัญญาชนฝ่ายขวาเป็นจานวนมาก
ส่วนครั้งที่สอง คือ ช่วงครบรอบ ๒๐๐ ปีปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ๑๙๘๙ François Furet และสานุศิษย์ ได้
ผลิตงานเพื่อเสนอว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่ผลพวงของการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นกระฎุมพีเสรีนิยมกับ
ชนชั้นนาดั้งเดิมอนุรักษ์นิยม ปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่เหตุการณ์อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ใช่เหตุการณ์จาเป็น และ
ปฏิวัติฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงแล้ว เหตุการณ์ปฏิวัติใ นศตวรรษที่ ๒๐ ในหลายที่ เช่น ปฏิวัติรัสเซีย ปฏิวัติจีน ไม่ได้
สัมพันธ์เชื่อมโยงใดๆกับปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทาให้ปัญญาชนฝ่ายซ้ายวิจารณ์ความคิดของ Furet อย่างกว้างขวาง
ท่ามกลางการตีความเหตุการณ์ป ฏิวัติฝ รั่งเศสของนักประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันนี้ เราอาจสรุป
ประเด็นสาคัญที่ถกเถียงกันได้ ๓ ประเด็น ได้แก่
๑.) การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่มีลักษณะเด่นแยกเป็นเอกเทศออกจากการปฏิวัติอื่นๆหรือไม่?
๒.) การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติกระฎุมพีหรือการปฏิวัติประชาชน?
๓.) การปฏิวัติฝรั่งเศสคือความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์หรือการตัดตอนแตกหักทางประวัติศาสตร์?

๑. การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่มีลักษณะเด่นแยกเป็นเอกเทศออกจากการปฏิวัติอื่นๆหรือไม่?
ประเด็นนี้เป็นการถกเถียงกันระหว่าสองแนวคิด ฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ การปฏิวัติที่
เกิดจากบริบทเฉพาะของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส อันได้แก่ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศส และปรัชญา
ในยุ ค แสงสว่ า ง (Enlightenment) ส่ ว นอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง เห็ น ว่ า การปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของคลื่ น
ประวัติศาสตร์ในปลายศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีในยุโรปต้องการออกจากระบบฟิวดัล
ฝ่ายแรก การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นประวัติศาสตร์ในปลายศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งชนชั้น
กระฎุมพีในยุโรปต้องการออกจากระบบฟิวดัล
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและชาวอเมริกันได้เสนอสมมุติฐานว่า การ
ปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เหตุการณ์ที่สืบเนื่องจากความตึงเครียดและความขัดแย้งที่สะสมต่อเนื่องมาในสังคมยุโรป
จนในท้ายที่สุดกลายเป็นการปฏิวัติ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิวัติอังกฤษในศตวรรษที่ ๑๗ สองครั้ง ได้แก่ ปฏิวัติช่วง
๑๖๔๒-๑๖๔๙ และปฏิวัติช่วง ๑๖๘๘-๑๖๘๙ และโหมกระพือลุกลามต่อเนื่องในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๘ เกิด
เหตุการณ์ลุ กขึ้น สู้ในดินแดนอเมริกาซึ่งเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ นามาซึ่งการประกาศอิส รภาพและตั้ง
ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิวัติอเมริกา” จากนั้นก็เกิดปฏิวัติในสวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ไอร์แลนด์ ก่อนที่คลื่นปฏิวัติจะระเบิดขึ้นในฝรั่งเศสช่วงปี ๑๗๘๗-๑๗๘๙
ความคิ ด ของนั ก ประวั ติศ าสตร์ ก ลุ่ ม นี้ไ ม่ ไ ด้ จั ดวางให้ ป ฏิวั ติฝ รั่ง เศสเป็น เหตุ ก ารณ์ โ ดดเด่ นหรือมี
เอกลักษณ์พิเศษแยกจากเหตุการณ์ปฏิวัติในที่อื่นๆ ตรงกันข้าม มันต่างก็มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน
ข้อเสนอดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาถึงสภาพสังคมเศรษฐกิจของยุโรปในยุคสมัยนั้น
นับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ พัฒนาการของระบบทุนนิยมได้สร้างชนชั้นใหม่ในทางเศรษฐกิจขึ้น คือ บรรดาสามัญ
ชนที่ไม่ได้มีเชื้อสายกษัตริย์ ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง ไม่ได้เป็นนักบวชในศาสนจักร แต่เป็นคนทั่วไปที่
3

เป็นเจ้าของที่ดินจานวนไม่มาก เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เป็นปัจจัยในการผลิต และมีความสามารถในการสะสม


ทุนได้ ซึ่งเราเรียกกันว่า ชนชั้นกระฎุมพี
ชนชั้นกระฎุมพีเริ่มมีอานาจมากขึ้น ทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางความรู้วิทยาการต่างๆ จนวันหนึ่ง
ก็มีอานาจมากกว่าพวกชนชั้น นาดั้งเดิม เมื่อพวกเขามีทั้งทรัพย์สิ น มีทั้งความรู้ ยึดกุมหั ว ใจส าคัญในทาง
เศรษฐกิจไว้ได้ แล้วทาไมพวกเขาจึงต้องทนอยู่กับระบอบที่ดารงอยู่ในเวลานั้นซึ่ งตั้งอยู่บนพื้นฐานของอภิสิทธิ์
และลาดับชั้นตามฐานันดรศักดิ์ ?
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ในอเมริกา ในที่ต่างๆในยุโรป ก็คือ ผลลัพธ์ของสถานการณ์ที่ชนชั้น
กระฎุมพีไม่ต้องการระบอบที่เป็นอยู่ จึงปฏิวัติโค่นล้มมัน เพื่อสร้างระบอบใหม่ที่พวกเขาเข้าไปมีส่วนในการใช้
อานาจด้วย เหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสก็เป็นไปในทานองเดียวกัน หากจะมีความแตกต่าง ก็คงเป็นเพียงกรณีของ
ฝรั่งเศสนั้นเกิดความรุนแรงมากกว่า ซึ่งนักประวัติศาสตร์ที่เสนอความคิดตามแนวทางนี้เห็นว่าความแตกต่าง
เช่นว่า ไม่ใช่ประเด็นสาคัญนัก สงครามและการนองเลือดตลอด ๑๐ ปีในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส ยังไม่ใช่สาระสาคัญ
เพียงพอที่จะยกระดับให้การปฏิวัติฝรั่งเศสกลายเป็นศูนย์กลางของการล้มระบบฟิวดัลในยุโรป
หากสารวจงานของนักประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ จะพบว่าพวกเขาศึกษาความเชื่อมโยงกันระหว่างปฏิวัติ
อเมริกาและปฏิวัติฝรั่งเศส ไม่เพียงแต่ในด้านบุ คคผู้กระทาการในเหตุการณ์ปฏิวัติทั้งสองที่เป็นคนคนเดียวกัน
หรื อกลุ่ มก้อนเดีย วกัน เท่านั้ น แต่มิติทางปรัช ญาและความคิดของการปฏิวัติของสองฝั่ งแอตแลนติกนี้ยั ง
เหมือนกันด้วย
ผู้ก่อการปฏิวัติอเมริกาและผู้ก่อการปฏิวัติฝรั่งเศสรับอิทธิพลทางความคิดมาจากปรัชญาเมธีในยุ คแสง
สว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของมนุษย์และเสรีภาพ ดังจะเห็นได้จากคาประการอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา
๑๗๗๖ และคาประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ๑๗๘๙ ต่างก็รับรองสิทธิและเสรีภาพต่างๆซึ่งได้รับแรง
บันดาลใจมาจากความคิดยุคแสงสว่าง เช่น กรรมสิทธิ์ เสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการแสดงออกซึ่ง
ความคิด ความเสมอภาค เป็นต้น
ในด้านโครงทางการเมืองก็เช่นกัน ปฏิวัติอเมริกาและปฏิวัติฝรั่งเศสต่างก็ขับเคลื่อนโดยชนชั้นกระฎุมพี
เป็ น หลั ก และผลลั พธ์ที่ได้จ ากการปฏิวัติ คือ ชนชั้นกระฎุมพีเข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองและในทาง
เศรษฐกิจของรัฐ
นักประวัติศาสตร์ที่ยืนยั นลักษณะร่ว มกันของ “ปฏิวัติสองฝั่งแอตแลนติก ” ในสหรัฐอเมริกาและ
ฝรั่งเศส ก็เช่น Bailey Stone ในงานชื่อ The Genesis of the French Revolution. A Global-Historical
interpretation, Tim Blanning ในงานชื่อ The French Revolutionnary Wars และ Annie Jourdan ใน
งานชื่อ La Révolution française, une exception française?
ฝ่ายที่สอง การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเอกเทศ โดดเด่นแยกออกจากปฏิวัติในที่อื่นๆ
การปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน แต่ทั้งสองเหตุการณ์นี้ก็แตกต่างกันอย่าง
สิ้นเชิง ปฏิวัติอเมริกา คือ การลุกขึ้นสู้ของคนในดินแดนอเมริกันเพื่อทาสงครามปลดแอกจากอาณานิคมของ
อังกฤษ ผู้ก่อการต้องการให้รัฐบาลอังกฤษรับรองสิทธิและเสรีภาพแก่คนในดินแดนอเมริกาเหมือนกับที่คนใน
อังกฤษได้รับ ระบบรัฐสภาและกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเริ่มก่อรูปขึ้นหลังจากปฏิ วัติอังกฤษนั้น ก็ควรต้อง
4

นามาใช้กับดินแดนอเมริกาด้วย ดังนั้น “หลักไม่มีภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน” ที่เรียกร้องว่าการเก็บภาษีต้องให้ผู้แทน


ประชาชนเห็ นชอบก่อนนั้น ต้ องใช้ในดิน แดนอเมริกันเช่นเดียวกัน เมื่อไม่มีผู้ แทนของคนอเมริกันในสภา
รัฐบาลอังกฤษจึงไม่อาจเรียกเก็บภาษีจากคนในดินแดนอเมริกาได้
ในขณะที่การปฏิวัติฝรั่งเศส เกิดขึ้นในบริบทเฉพาะของตนเอง กล่าวคือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ของฝรั่งเศสไม่ปรับตัว กษัตริย์มีอานาจสูงสุดและแบ่งสันปันส่วนอานาจให้แก่พวกพระและขุนนางบ้าง กษัตริย์
ไม่ยินยอมให้สามัญชนหรือฐานันดรที่ ๓ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรากฎหมายหรือปกครองประเทศ กษัตริย์
ปฏิเสธไม่ยอมรับรองสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรรมสิทธิ์ ให้แก่ชนชั้นกระฎุมพี ความแข็งตัวของระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่ งเศสนี้ เองเป็นตัว กระตุ้นให้ เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มต้นจากก่อตั้งระบอบ
กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญในปี ๑๗๘๙-๑๗๙๑ และเร่งเร้าให้กลายเป็นสาธารณรัฐในปี ๑๗๙๒ ต่อด้วยการประหาร
ชีวิตหลุยส์ที่ ๑๖ ในปี ๑๗๙๓
อาจกล่าวได้ว่า ปฏิวัติอเมริกาไม่ได้เริ่มต้นจากการต่อต้านระบอบกษัตริย์ของอังกฤษ แต่เรียกร้องให้
รัฐบาลอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิ คมปฏิบัติต่อดินแดนอเมริกาในมาตรฐานเดียวกันตามกฎเกณฑ์ที่ ใช้ ใน
อังกฤษ ในเวลานั้น อังกฤษเริ่มก่อรูประบบรัฐสภาและกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญขึ้นแล้ว และสามัญชนเข้ามามี
บทบาททางการเมืองผ่านรัฐสภา เพียงแต่ว่าระบบเหล่านี้ไม่ถูกนามาใช้กับดินแดนอเมริกาอย่างเท่าเทียมกัน
ส่ ว นปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสนั้ น เป็ น ปฏิ กิ ริ ย าตอบโต้ กั บ ระบอบกษั ต ริ ย์ ข องฝรั่ ง เศสในเวลานั้ น โดยตรงที่ ไ ม่
แบ่งสันปันส่วนอานาจให้แก่สามัญชนหรือฐานันดรที่ ๓
นอกจากสาเหตุและจุดกาเนิดของปฏิวัติฝรั่งเศสแตกต่างจากปฏิวัติอเมริกาแล้ว การปฏิวัติทั้งสองยังมี
ความแตกต่างในทางปรัชญาและกฎหมายด้วย
ผู้ก่อการปฏิวัติอเมริกาที่นาโดย Georges Washington และพวกนั้น มีความคิดแบบเสรีนิยม โดยรับ
อิทธิพลมาจากปรัช ญาเมธีอย่ าง John Locke และ Montesquieu พวกเขาสนับสนุนการรับรองสิ ทธิ ข อง
ปัจเจกบุคคลและการจากัดอานาจรัฐ ส่วนผู้ก่อการปฏิวัติฝรั่งเศสรับอิทธิพลความคิดมาจาก Jean-Jacques
Rousseau และปรัชญาเมธีในยุคแสงสว่าง พวกเขาเชื่อมั่นในเสรีภาพและความเสมอภาคโดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของสัญญาประชาคม (Contrat social)
ด้วยความคิดแบบเสรีนิยมและจากัดอานาจรัฐนี้เอง ทาให้บรรดาบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้
กาหนดรูปแบบโครงสร้างของสหรัฐอเมริกาให้เป็นแบบสหพันธรัฐ โดยให้สหพันธ์มีอานาจน้อย และมลรัฐมี
อานาจมาก สหพันธ์ไม่อาจแทรกแซงมลรัฐได้อย่างเสรี แต่ต้องปล่อยให้มลรัฐดาเนินการตามอานาจที่มีอยู่
ตรงกันข้ามกับการปฏิวัติฝรั่งเศส นักปฏิวัติปีก Jacobin สนับสนุนรัฐเดี่ยวอันเป็นเอกภาพ รัฐฝรั่งเศส
ต้องมีอานาจรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง ไม่กระจายอานาจการปกครองออกไปให้ท้องถิ่น พวกเขาเล็งเห็นว่า ด้วยรัฐที่
เข้มแข็งและมีอานาจรวมศูนย์เช่นนี้ จะช่วยทาให้ความคิดปฏิวัติที่ยึดกุมรัฐอยู่นั้นสามารถแพร่กระจายและ
เกิดผลในทางปฏิบัติเหมือนกันทั่วทั้งอาณาเขต และแนวนโยบายของการปฏิวัติฝรั่งเศสถูกนาไปใช้บังคับอย่างมี
ประสิ ท ธิ ภ าพ ปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสไม่ เ คยท าลายโครงสร้ า งรั ฐ เดี่ ย วอั น เป็ น เอกภาพและมี อ านาจมาก รั ฐ ใน
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยระบอบเก่าเป็นอย่างไร รัฐในยุคปฏิวัติฝรั่งเศสก็ยังคงเป็นอย่างนั้น และสืบทอด
5

ต่อเนื่องไปจนถึงสมัยจักรวรรดิของนโปเลียนด้วย การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้ลดอานาจรัฐ เพียงแต่เปลี่ยนแปลง


เจ้าของหรือผู้ทรงอานาจรัฐเท่านั้น
การปฏิวัติอเมริกาเชื่อมั่นในเรื่องสิทธิและเสรีภาพเป็นสาคัญ ด้วยประสบการณ์อันเลวร้ายจากการถูก
ปกครองโดยอังกฤษ ทาให้พวกเขารังเกียจอานาจรัฐ ดังนั้น รัฐจึงไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล ปล่อยให้
ปัจเจกบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการดาเนินชีวิตของตนเอง ในขณะที่ปฏิวัติฝรั่งเศส ไม่เพียงแต่เสรีภาพ
เท่านัน้ แต่ต้องมีความเสมอภาคด้วย โดยเฉพาะหลังการขึ้นสู่อานาจของกลุ่ม Jacobin และเริ่มต้นสาธารณรัฐ
ที่ ๑ ในปี ๑๗๙๒ แนวทางของการปฏิวัติฝรั่งเศสมุ่งเน้นไปที่ความเสมอภาคมากขึ้น รัฐต้องสร้างให้เกิดความ
เสมอภาคระหว่างปัจเจกบุคคล ดังนั้น รัฐจึงเข้าแทรกแซงเสรีภาพของบุคคลได้ เพื่อทาให้เกิดความเสมอภาค
ดังจะเห็นได้จากบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรัฐมีอานาจออกมาตรการต่างๆที่จากัดเสรีภาพ
ของบุคคล เพื่อประกันให้เกิดความเสมอภาคขึ้น
รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ๑๗๘๗ ถูกยกร่างโดยมีความคิดชี้นาไปในทิศทางที่ไม่ไว้วางใจประชาชน
บิดาผู้ก่อตั้งและผู้ร่างรัฐธรรมนูญกังวลใจว่าหากประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตทางการเมืองมากจนเกินไป
ก็อาจสร้างความโกลาหลสับสนอลหม่านได้ ข้อพิสูจน์ประการหนึ่งที่ยังคงเห็นได้ในปัจจุบัน คือ ระบบการ
เลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช้ระบบการเลือกตั้งโดยตรง แต่กาหนดให้ ประชาชนต้องเลือกคณะผู้เลือกตั้ง
(electoral college) เพื่อให้คณะผู้เลือกตั้งไปเลือกประธานาธิบดีหรือสมาชิกสภาผู้แทนต่อ
ในขณะที่รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสทั้งฉบับ ๑๗๙๑ ๑๗๙๓ และ ๑๗๙๕ ต่างก็ให้ความสาคัญแก่ความคิด
เรื่ อง “ประชาชน” โดยเรี ย กรวมกัน ในชื่อของ “ชาติ ” หรือ “Nation” บ้าง หรือเรียกรวมกันในชื่อของ
“ประชาชน” บ้าง การปฏิวัติฝรั่งเศสได้สร้าง “ประชาชน” หรือ “ชาติ” เพื่อเข้าแทนที่ “กษัตริย์” โดยให้เป็น
ผู้ทรงอานาจสูงสุด และเป็นฐานที่มาอันชอบธรรมของอานาจทั้งหลายทั้งปวง “ประชาชน” หรือ “ชาติ” คือ
องคภาวะใหม่ทางการเมืองที่เป็นหัวใจสาคัญในการโค่นล้มระบอบเก่า และก่อตั้งระบอบใหม่ หลักการอานาจ
อธิป ไตยของชาติ (La souveraineté nationale) หรืออานาจอธิปไตยของประชาชน (La souveraineté
populaire) นี้ได้ยึดกุมการปฏิวัติฝรั่งเศสไว้ และยังแพร่หลายออกไปยังประเทศต่างๆในยุโรปในช่วงศตวรรษที่
๑๙ และ ๒๐ อีกด้วย
ผู้ก่อการปฏิวัติฝรั่งเศสรับ อิทธิพลความคิดมาจากปรัชญาเมธีในยุคแสงสว่าง จึงนิยม “ความเป็น
สากล” (Universalité) เชื่อมั่นว่าคุณค่าบางอย่างบางประการมีลักษณะสากล นาไปใช้ได้กับมนุษย์ทั้งปวง
ไม่ได้ขึ้นกับเพศ สีผิว เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือที่ตั้งอาณาเขต ดังปรากฏให้เห็นจากเอกสารรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน
ที่คณะผู้ก่อการปฏิวัติฝรั่งเศสจงใจให้ชื่อมันว่า “คาประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง” เพื่อให้ครอบคลุมไป
ถึงมนุ ษย์ และพลเมืองทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะคนฝรั่งเศสเท่านั้น เมื่อพิจารณาที่เนื้อหาของคาประกาศสิ ท ธิ
มนุษยชนและพลเมือง พบว่า สิทธิต่างๆถูกรับรองไล่เรียงไปทีละข้อ โดยเขียนไว้แบบค่อนไปทางนามธรรม
ทั้งนี้ก็เพื่อให้มันสามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นสากลที่ใช้ได้กับทุกคนและทุกที่ ความเชื่อในความเป็นสากล
ของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้เอง ส่งผลสืบเนื่องให้ผู้เชื่อมั่นศรัทธาความคิดแบบปฏิวัติฝรั่งเศสพยายาม “ส่งออก”
ความคิดเหล่านี้ออกไปยังประเทศอื่นๆ
6

ในขณะที่คาประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ๑๗๗๖ นั้น ผู้ก่อการปฏิวัติอเมริกาไม่ได้เขียนรับรอง


สิทธิขั้นพื้นฐานในลักษณะนามธรรมแบบของฝรั่งเศส แต่ได้กล่าวเฉพาะเจาะจงกรณีดินแดนอเมริกาที่เคยเป็น
อาณานิคมของอังกฤษ ความเลวร้ายของรัฐบาลและกษัตริย์อังกฤษ มูลเหตุของการประกาศอิสรภาพ เหตุ
เหล่านี้เองได้ทาให้อาณานิคมทั้ง ๑๓ ในอเมริกามีสิทธิในการปฏิวัติ ล้มล้างการปกครองของรัฐบาลอังกฤษ
และประกาศอิสรภาพแยกตัวจากอังกฤษได้ ผู้ก่อการปฏิวัติอเมริกาให้ความสาคัญกับระบบและกลไกที่ทาให้
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลบังเกิดผลได้จริง มากกว่าการรับรองสิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นอย่างเป็นนามธรรม
แม้รั ฐ ธรรมนู ญ ๑๗๘๗ ไม่ได้บั ญญัติก ลไกการตรวจสอบควบคุ มความชอบด้ว ยรั ฐ ธรรมนู ญ ของ
กฎหมายเอาไว้อย่างชัดแจ้ง แต่ในระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีความคิดที่จะสร้างกลไกดังกล่าวเช่นกัน
เช่น James Madison ได้เสนอให้ศาลมีอานาจในการยับยั้งกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญได้ แต่ข้อเสนอของเขาถูก
ปฏิเสธไป
ใน The Federalist Papers ก็ปรากฏความคิดการให้ศาลเป็นกลไกในการตรวจสอบการใช้อานาจ
ของรัฐสภา เช่น Alexander Hamilton เห็นว่ารัฐสภาอาจกระทาผิดได้ ดังปรากฏให้เห็นมาแล้ วจากกรณี
รัฐสภาของสหราชอาณาจักรที่ตรากฎหมายกดขี่ดินแดนอเมริกา และเสียงข้างมากในสภาก็อาจใช้อานาจไป
ในทางไม่ถูกต้องได้ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับรัฐสภาสหรัฐ อเมริกา จึงต้องกาหนดให้ฝ่ ายนิติ
บั ญญัติมีอานาจจ ากัด การตรากฎหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญย่อมไม่สมบูรณ์ และในบรรดาสามอานาจ
อานาจตุลาการเป็นอานาจที่จากัดที่สุด และอันตรายน้อยที่สุด (The least dangerous branch) จึงควรมอบ
อานาจในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายให้แก่ศาล
แนวคิดเรื่องการให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายซึ่ง
ปรากฏขึ้นผ่านงานเขียนของเหล่าบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา (Founding Fathers) มาปรากฏขึ้นจริงในปี 1803
ในคดี Marbury v. Madison ที่ ยื น ยั น ว่ า ศาลมี อ านาจในการตรวจสอบว่ า กฎหมายที่ รั ฐ สภาตราขึ้ นขัด
รัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาก็เข้ามามีบทบาททางการเมืองและรัฐธรรมนูญผ่าน
การตัดสินคดี
ตรงกั น ข้ า มอย่ า งสิ้ น เชิ ง กั บ ฝรั่ ง เศส การปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสให้ ค วามส าคั ญ กั บ “ประชาชน” และ
“กฎหมาย” เมื่อกฎหมายตราขึ้นโดยผู้แทนของประชาชน มันจึงเป็น “เจตจานงทั่วไป” (volonté générale)
ที่ไม่มีองค์กรใดมาลบล้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นอกเสียจากผู้แทนของประชาชนเท่านั้น ดังนั้น ความคิดที่ให้
องค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นใดมีอานาจในการวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ รัฐสภาตราขึ้นขัดกับรัฐธรรมนูญและต้อง
สิ้นผลไปนั้น จึงไม่เป็นที่ยอมรับในฝรั่งเศส

๒. การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติกระฎุมพีหรือการปฏิวัติประชาชน?
การถกเถียงในประเด็นดังกล่าวมุ่งวิเคราะห์ถึงกลุ่มคนที่มีบทบาทในการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นคนกลุ่มใด
ฝ่ายหนึ่ง ยืนยันว่าการปฏิวัติฝรั่งเศส ริเริ่มและนาพาโดยชนชั้นกระฎุมพี ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าปฏิวัติฝรั่งเศส
คือ ปฏิวัติประชาชน เพราะ ชนชั้นล่างมีบทบาทสาคัญ
ฝ่ายแรก การปฏิวัติฝรั่งเศส คือ สายธารแห่งการปฏิวัติประชาชน
7

การเขียนประวัติศาสตร์ปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงแรกได้ส ร้างให้ “ประชาชน” เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของการ


ปฏิวัติ โดยไม่ได้สนใจในรายละเอียดว่า ผู้คนจานวนมากที่เข้าร่วมการปฏิวัตินั้นมีสถานะทางเศรษฐกิจอย่างไร
สังกัดชนชั้นใด มีอุดมการณ์ความคิดเช่นไร นักประวัติศาสตร์ตามแนวทางนี้ เห็นว่าผู้คนทั้งหลายรวมตัวกันเป็น
“ประชาชนติดอาวุธ ” (peuple en arme) เพื่อปลดแอกจากโซ่ตรวนของระบอบเก่าที่พันธนาการพวกเขา
เอาไว้เป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษ
แนวทางการตีความปฏิวัติฝรั่งเศสเช่นนี้ นิยมแพร่หลายกันมากในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๙ นาโดย
Jules Michelet (1798-1874) ซึ่งเขียนงานขนาดใหญ่ในชื่อ Histoire de la Révolution française รวม 7
เล่ม (1847-1853) ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามแนวทางดังกล่าว ยังได้ให้ความสาคัญแก่วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของ
ประชาชนผู้เข้าร่วมการปฏิวัติ โดยบรรยายถึงเหตุการณ์สาคัญและกาหนดให้มันเป็นหมุดหมายของการปฏิวัติ
ฝรั่งเศส เช่น การทลายคุกบาสตีย์ใ นวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๑๗๘๙ งานเฉลิมฉลอง Fête de Fédération ในปี
๑๗๙๐ สมรภูมิที่ Valmy ในปี ๑๗๙๒ เป็นต้น
ประวัติศาสตร์นิพนธ์การปฏิวัติฝรั่งเศสตามแนวทางนี้ถูกนาไปเขียนในหนังสือแบบเรียนในโรงเรียน
สมัยสาธารณรัฐที่ ๓ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝัง “สาธารณรัฐนิยม” และ “ชาตินิยม” ให้แก่เยาวชน
ฝรั่งเศส
นักประวัติศาสตร์รุ่นถัดมาวิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามแนวทางดังกล่าวกันมาก พวกเขา
เห็นว่า การเขียนประวัติศาสตร์ปฏิวัติฝรั่งเศสเช่นนี้ช่วยสร้าง “มายาคติ” เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส จงใจทา
ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเรียบง่ายไปหมด เพียงเพื่อปลุกสานึกความรักชาติและความเป็นสาธารณรัฐ
ในช่วงสาธารณรัฐที่ ๓ ถือได้ว่าเป็น “ยุคทอง” ของการเขียนประวัติศาสตร์ปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในปี ๑๘๘๙ ซึ่งครบรอบ ๑๐๐ ปีปฏิวัติฝรั่งเศส กลายเป็นโอกาสสาคัญที่ทาให้ประวัติศาสตร์ปฏิวัติ
ฝรั่งเศสขึ้นมาเป็นที่สนใจในวงกว้าง
นักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายได้ร่วมกันก่อตั้งศูนย์ศึกษาวิจัย บรรยาย และผลิ ตวารสารวิชาการเกี่ยวกับ
การปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มจาก Alphonse Aulard ได้ก่อตั้งวารสาร Révolution française ในปี ๑๘๘๑ เขายัง
เริ่ มต้น เปิ ดบรรยายวิช าประวัติ ศาสตร์ การปฏิวัติฝ รั่ งเศสที่ มหาวิท ยาลั ย Sorbonne (ซึ่งต่อมากลายเป็ น
มหาวิทยาลัย Paris I) ในปี ๑๘๘๖
ต่อมา ในปี ๑๙๐๓ รัฐสภาได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์และเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับ
เศรษฐกิจและสังคมของการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยมี Jean Jaurès เป็นประธาน
ในปี ๑๙๐๗ Albert Mathiez ก่อตั้งศูนย์ศึกษา Robespierre โดยมีวารสารวิชาการสาคัญ คือ Les
Annales historiques de la Révolution française และในปี ๑๙๓๗ Georges Lefebvre ได้ก่อตั้ง สถาบัน
ประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส หรือ Institut d’Histoire de la Révolution française (IHRF)
สถาบันเหล่านี้กลายเป็น “อาวุธ” สาคัญของนักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายในการตีความและอธิบายการ
ปฏิวัติฝรั่งเศสตามแนวทางมาร์กซิสต์ และมหาวิทยาลัยปารีส ๑ กลายเป็น “ฐานที่มั่น” ของประวัติศาสตร์
นิพนธ์ปฏิวัติฝรั่งเศสสานัก jacobino-marxiste
8

งานประวัติศาสตร์นิพนธ์การปฏิวัติฝรั่งเศสตามแนวทาง jacobino-marxiste ได้พลิกโฉมการศึกษา


ปฏิวัติฝรั่งเศสครั้งใหญ่ โดยหันมาให้ความสาคัญกับบทบาทของชนชั้นล่าง
Jean Jaurès ศึกษาบทบาทของมวลชนในการขับเคลื่ อนการปฏิวัติอย่างเป็นระบบ โดยเสนอว่า
บทบาทของชนชั้นกระฎุมพีที่ตอบโต้กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสจนกลายเป็นกาลังสาคัญในการ
ก่อปฏิวัติฝรั่งเศสนั้น เอาเข้าจริงแล้ว เป็นเพียงการเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์ของขบวนการปฏิวัติประชาชนใน
ภาพใหญ่ทั้งหมด ดังจะเห็นได้จาก ปฏิกิริยาของชนชั้นกระฎุมพีในศตวรรษที่ ๑๘ ได้ขยายตัวออกไปด้วยการ
เกิดขึ้นของขบวนการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในช่วงศตวรรษที่ ๑๙
หลังจากนั้น นักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายก็ได้ศึกษาบทบาทของชนชั้นล่างมากยิ่งขึ้น พวกเขาแบ่งแยก
บทบาทมวลชนในเมืองกับมวลชนในชนบทออกจากกันอย่างชัดเจน และพบว่า ในเมืองใหญ่หลายเมืองนั้น ชน
ชั้นล่างมีบทบาทสาคัญในการต่อสู้กับขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติ
นอกจากนี้ ในช่วงปี ๑๗๙๑-๑๗๙๒ ชนชั้นล่างยังเป็นกาลังสาคัญในการกดดันบรรดาสมาชิกสภาที่
เป็นพวกกระฎุมพีให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น พวกเขาชุมนุมและเดินขบวนบนท้องถนนและเรียกร้องให้สมาชิกสภา
นาข้อเสนอของพวกเขาไปอภิปรายในสภา และไม่เพียงแต่สมาชิกสภาเท่านั้น ชนชั้นล่างยังกดดันหลุยส์ที่ ๑๖
ได้สาเร็จจนหลุยส์ที่ ๑๖ ต้องยินยอมลงนามยอมรับคาประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
หากพิจารณาในแง่ชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี ๑๗๗๕-๑๗๘๐ ได้
สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่คนในเมืองบางกลุ่มซึ่งประกอบอาชีพอิสระขนาดเล็ก เช่น พวกช่างฝีมือ
พวกเจ้าของกิจการขนาดเล็ก พวกเขาเหล่านี้จึงกลายเป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นกระฎุมพีที่สะสมความรู้และความ
มั่งคั่งจนกลายเป็นชนชั้นที่มีอานาจและบทบาททางเศรษฐกิจ บรรดาคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ
และคนเล็กคนน้อยในเมืองนี้เองได้รวมตัวกันกลายเป็นกลุ่มก้อนที่เรียกชื่อว่า “sans-culottes” และเป็นกาลัง
สาคัญในการเร่งเร้าการปฏิวัติให้รุดหน้ามากขึ้น
การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้ นในปี ๑๗๘๙ แต่แล้วก็เดินทางมาถึง “ทางแยก” ระหว่าง “การเดินหน้า
ต่ออย่างก้าวหน้า” กับ “การหยุดเพื่อประนีประนอม” ในปี ๑๗๙๒ ช่วงเวลานั้นเอง กลุ่ม “sans-culottes”
ได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการปะทะต่อต้านกับพวกกระฎุมพีประนีประนอม พวกเขาต้องการให้การ
ปฏิวัติฝรั่งเศสเดินหน้าต่อไป ในขณะที่พวกกระฎุมพีบางส่วนกลับลังเลใจ และต้องการหันไปประนีประนอมกับ
พวกระบอบเก่า ในท้ายที่สุด พลังของชนชั้นล่าง และ “sans-culottes” ประสานกับสมาชิกสภาปีก Jacobin
ก็ผลักดันให้ฝรั่งเศสกลายเป็นสาธารณรัฐได้สาเร็จในปี ๑๗๙๒
หากพิจารณาในแง่ภูมิศ าสตร์การเมือง นักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายที่ศึกษาบทบาทของชนชั้นล่างได้
แสดงให้ เห็ น ว่าขบวนการลุกขึ้นสู้ ในต่างจั งหวัดและในชนบท เป็นการเคลื่ อนไหวอันส าคัญยิ่งที่ส นับสนุน
ส่งเสริมให้การลุกขึ้นสู้ในเมืองยังดาเนินต่อไปได้
อย่ างไรก็ตาม แม้ขบวนการต่อสู้ ทั้ง สองนี้ จะเกื้ อกูล กัน แต่ขบวนการในชนบทนั้น ก็ มีเ อกลั ก ษณ์
เฉพาะที่แตกต่างจากการต่อสู้ ในเมือง พวกเขาเป็นปฏิปักษ์กับพวกพระ และต่อต้านแนวทางเสรีนิยม ซึ่ง
ตรงกันข้ามกับพวกกระฎุมพี ขบวนการปฏิวัติในชนบทไม่ได้สนใจการถกเถียงอภิปรายในประเด็นรัฐธรรมนูญ
และการเคลื่อนไหวของพวกกระฎุมพีในเมือง การก่อขบถตามต่างจังหวัด ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
9

โดยปราศจากการจัดตั้งเตรียมการ ขบวนการในชนบทนี้เองมีคุณูปการสาคัญในการทาลายการกดขี่ของพวก
พระ และการกระจายทรัพย์สิน
การศึกษาบทบาทของชนชั้น ล่ างในการปฏิวัติฝ รั่งเศสตามแนวทางนี้ นาไปสู่ ข้อสรุปที่ว่า ชนชั้น
กระฎุมพีมีพลังในการก่อการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พวกเขาไม่มีศักยภาพเพียงพอ
ในการรักษาและจัดการการปฏิวัติได้ ชนชั้นล่างและพวก “sans-culottes” ต่างหาก ที่เข้ามาเติมเต็มทาให้
การปฏิวัติฝรั่งเศสยังเดินหน้าไปต่อ ไม่ต้องย้อนกลับไปสู่ระบอบเก่าหรือการประนีประนอม ดังนั้น การปฏิวัติ
ฝรั่งเศสจึงไม่ใช่การปฏิวัติกระฎุมพี แต่มันคือ “ปฏิวัติประชาชน”
ประวัติศาสตร์นิพนธ์สานัก jacobino-marxiste ครอบงาวงวิชาการประวัติศาสตร์ในฝรั่งเศสอย่าง
ยาวนาน จนกระทั่งถูกตอบโต้โดยคลื่นลูกหลังอย่าง François Furet นักประวัติศาสตร์ผู้โด่งดัง งานของ Furet
และสานุศิษย์ ประกอบกับลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงในหลายประเทศ มีส่วนสาคัญที่ทาให้ประวัติศาสตร์
นิพนธ์สานัก jacobino-marxiste เริ่มเสื่อมถอยลงในปี ๑๙๖๐

ฝ่ายที่สอง ข้อถกเถียงที่นาโดย François Furet


นักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายจานวนมากพยายามอธิบายให้การปฏิวัติฝรั่งเศสเชื่อมโยงกับบทบาทของ
ประชาชนคนทั่วไป ชนชั้นล่าง เกษรตรกร ชาวนา และผู้ใช้แรงงาน เพื่อยืนยันว่าปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเปลี่ยนแปลงโดยประชาชน แรกเริ่ม มันคือการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างพวกกระฎุมพีกับพวกเจ้าและขุน
นาง ต่อมา ได้พัฒนากลายเป็นการต่อสู้ของชนชั้นล่าง คาอธิบายตามแนวทางนี้ได้ส่งต่อถ่ายทอดไปยังการ
ปฏิวัติสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และจีน เป็นต้น
เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์เริ่มตกต่าอยู่ในช่วงขาลง ประกอบกั บประเทศที่นาลัทธิคอมมิวนิสต์ไปปกครอง
กลับแปลงรูปกลายเป็นรัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ เช่นนี้แล้ว ยามใดที่เราต้องการประณามรัฐเผด็จการเหล่านี้
ก็ห นี ไม่พ้น ที่จ ะต้องตาหนิ การปฏิวัติฝ รั่ งเศสด้วย โดยเฉพาะในช่ว งที่ฝ่ าย Jacobin เรืองอานาจในยุค La
Terreur บริบทนี้เองที่ทาให้ นักประวัติศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วยกับคาอธิบายตามแนวทาง “ปฏิวัติประชาชน”
กลับมาเป็นที่สนใจมากขึ้น
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ปฏิวัติฝรั่งเศสสานัก Jacobino-Marxist ถูกตอบโต้ท้าทายจากประวัติศาสตร์
นิพนธ์สานักใหม่ ซึ่งเราเรียกกันว่า “สานักเสรีนิยม” บ้าง เรียกกันว่า “ลัทธิแก้” บ้าง หมุดหมายสาคัญของ
ประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ ส านั ก นี้ คื อ การตี พิ ม พ์ ห นั ง สื อ La Révolution française ในปี 1965 เขี ย นโดย
François Furet และ Denis Richet
นอกจากหนังสือ La Révolution française แล้ว ยังมีงานอีกสองชิ้นของ François Furet ที่สาคัญ
และถือเป็น “อนุสาวรีย์” ของเขา ชิ้นแรก คือ Penser la Révolution ตีพิมพ์ในปี 1978 งานชิ้นนี้แบ่งเป็น
สองภาค ได้ แ ก่ La Révolution française est terminée (การปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสสิ้ น สุ ด ลงแล้ ว ) และ Trois
histoires possibles de la Révolution française (สามประวัติศาสตร์อันเป็นไปได้ของการปฏิวัติฝรั่งเศส)
ส่วนชิ้นที่สอง คือ Dictionnaire critique de la Révolution française (พจนานุกรมเชิงวิพากษ์ของ
การปฏิวัติฝรั่งเศส) ตีพิมพ์ในปี 1988 งานชิ้นนี้ มีนักประวัติศาสตร์จานวนมากร่วมกันเขียนคาอธิบายความคิด
10

บุคคล เหตุการณ์ สถาบันการเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์นิพนธ์ของปฏิวัติฝรั่งเศส โดย François Furet เป็น


บรรณาธิการร่วมกับ Mona Ozouf

ประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ ส านั ก เสรี นิ ย มรั บ อิ ท ธิ พ ลทางความคิ ด มาจาก Fernand Braudel นั ก
ประวั ติ ศ าสตร์ ต้ น ต ารั บ วิ ธี วิ ท ยาแบบ “La longue durée” ที่ เ น้ น ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ใ นลั ก ษณะช่ ว ง
ระยะเวลายาวนานหลายศตวรรษ โดยไม่พิจารณาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อแสดงให้
เห็นถึงปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ Braudel มีบทบาทสาคัญในวง
วิชาการประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส และมีอิทธิพลต่อนักวิชาการรุ่นหลัง โดยมี École des hautes études en
sciences sociales (EHESS) และวารสาร Annales. Économies, Sociétés, Civilisations (Annales ESC)
เป็นฐานที่มั่นสาคัญ เราจึงเรียกกันว่าประวัติศาสตร์สานัก Annales
ประวัติศาสตร์นิพนธ์สานักเสรีนิยมที่นาโดย François Furet ขึ้นมาครอบงาวงวิชาการประวัติศาสตร์
อย่างสูงสุดเมื่อปี 1989 ซึ่งเป็นช่วงของการเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปีปฏิวัติฝรั่งเศส การถกเถียงเรื่องการ
ตีความปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงนั้น ไม่ใช่การถกเถียงระหว่างนักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาหรือฝ่ายขวาจัด
หรือฝ่ายต่อต้านปฏิวัติ แต่กลับกลายเป็นการถกเถียงระหว่างฝ่ายซ้ายด้วยกัน ฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายซ้ายดั้งเดิมแบบ
อีกฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายซ้ายใหม่ค่อนไปทางเสรีนิยมที่ผิดหวังกับลัทธิคอมมิวนิสต์
นอกจากการเฉลิมฉลอง 200 ปีปฏิวัติฝรั่งเศสแล้ว ในช่วงปี 1989 ยังเกิดเหตุการณ์ทางการเมื อง
สาคัญที่เกื้อหนุนคาอธิบายของประวัติศาสตร์นิพนธ์สานักเสรีนิยมและลดทอนความน่าเชื่อถือของคาอธิบาย
ตามแนวทางประวัติศาสตร์นิพนธ์สานัก Jacobino-Marxist ไม่ว่าจะเป็นการทลายกาแพงเบอร์ลิน ประเทศ
คอมมิวนิสต์เริ่มเปลี่ยนผ่าน เหตุการณ์เทียนอันเหมิ น และแนวนโยบายของพรรคสังคมนิยมที่ขยับออกไปใน
แนวทางเสรีนิยมมากขึ้นภายใต้รัฐบาลของ Michel Rocard กล่าวกันว่า ความตกต่าของลัทธิคอมมิวนิสต์และ
ความโหดร้ายทารุณของเผด็จการเบ็ดเสร็จในรัสเซียและนาซี ได้กลายเป็น “ชนวน” สาคัญของการปฏิเสธ
คาอธิบายแบบดั้งเดิม
จากชัยชนะดังกล่าวนี้เอง ทาให้ประวัติศาสตร์นิพนธ์สานักเสรีนิยม ซึ่งมี École des hautes études
en sciences sociales (EHESS) หรือวิทยาลัยการศึกษาชั้นสูงในทางสังคมศาสตร์เป็นฐานที่มั่น ได้กลายเป็น
ศูนย์กลางทางความคิดและวิชาการแหล่งใหม่ขึ้นเคียงคู่ (หรืออาจแทนที่) ไปกับ Institut d’Histoire de la
Révolution française (IHRF) หรือสถาบันประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส มหาวิทยาลัย Paris I Sorbonne
ของประวัติศาสตร์นิพนธ์สานัก Jacobino-Marxist
เราอาจสรุปความคิดของสานักเสรีนิยมของ François Furet ที่มีต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้ดังนี้
1. การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่ผลพวงของการต่อสู้ กันระหว่างชนชั้นกระฎุมพีเสรีนิยมกับพวกขุนนาง
อนุรักษ์นิยม การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือเป็นสิ่งจาเป็นที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนตาม
กงล้อประวัติศาสตร์ เพราะ เอาเข้าจริงแล้ว ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญที่ออกแบบในปี 1790-1791 ก็คือ
ผลแห่งการประนี ประนอมระหว่างกระฎุมพีกับพวกเจ้าและขุนนาง ข้อเท็จจริงนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า เรา
สามารถหลีกเลี่ยงการปฏิวัติได้
11

ความคิ ด นี้ คื อ การตอบโต้ กั บ ส านัก Jacobino-Marxist ที่ ยื น ยั น ว่ า การปฏิ วั ติ คื อ การต่ อ สู้ กัน
ระหว่างชนชั้น กรณีปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มต้นจากการต่อสู้ระหว่างกระฎุมพีกับขุนนาง จากนั้นชนชั้นล่าง ชาวนา
คนชนบท ได้ผลักดันให้การปฏิวัติรุดหน้ามากขึ้นและไปทางซ้ายมากขึ้น แต่สุดท้ายพวกขวาและเสรีนิยมก็เอา
กลับไป ดังนั้น การปฏิวัติจึงยังไม่ยุติ
2. การปฏิวัติฝรั่งเศสที่รุนแรงมากขึ้นในช่วงปี 1791-1793 จนไปสู่การประหารชีวิต Louis XVI เข้าสู่
สาธารณรัฐ และยุค La Terreur นั้น เป็น “การลื่นไถล” (dérapage) ที่ไม่ได้คาดคิด Furet อธิบายไว้ใน La
Révolution française (1965) เพื่อตอบโต้ความคิดดั้งเดิมที่อธิบายว่ า La Terreur นั้น เป็นความจาเป็นของ
สถานการณ์ในช่วงเวลานั้นที่การปฏิวัติฝรั่งเศสถูกคุกคามจากเหตุภายในและภายนอกประเทศ และการปฏิวัติ
ฝรั่งเศสตั้งแต่ 1789-1793 เป็น “mouvement ascendant” หรือกระบวนการที่ต้องเกิดขึ้นและก้าวหน้าขึ้น
ไปตามลาดับ
3. ในงานชิ้นหลัง คือ Penser la Révolution (1978) Furet ได้เปลี่ยนความคิดใหม่ เขายืนยันว่า La
Terreur เป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ปฏิวัติ เพราะ ขึ้นชื่อว่าการปฏิวัติแล้ว ย่อมไม่มีแนวทางประนีประนอม
หรือ moderate ได้ ดังนั้น มาตรการในยุค La Terreur คือ กระบวนการนาพาปฏิวัติไปให้สุดทางและ radical
ในนัยนี้เอง มันจึงไม่ใช่ “การลื่นไถล” ที่ไม่ได้คาดคิดและควบคุมไม่อยู่ และมันก็ไม่ใช่ “ความจาเป็น” ที่ต้อง
เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้กับภัยคุกคามสาธารณรัฐ
แม้ Furet ไม่ได้นายุค La Terreur การปฏิวัติฝรั่งเศสไปเปรียบเทียบกับเผด็จการเบ็ดเสร็จของฮิต
เลอร์และสตาลิน แต่ด้วยบริบททางการเมืองในเวลานั้น ทาให้คนจานวนมากที่ได้อ่านงานชิ้นนี้ ต่างพากัน
จินตนาการเปรียบเทียบความโหดร้ายทารุณของเผด็จการเบ็ดเสร็จเข้ากับมาตรการในยุค La Terreur คน
ฝรั่งเศสที่เคยภาคภูมิใจกับปฏิวัติฝรั่งเศส เปลี่ยนเป็นละอายใจ และสนับสนุนว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสสิ้นสุดลงแล้ว
ความรุนแรงใดๆที่เกิดขึ้นในปฏิวัติสังคมนิยมในที่อื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปฏิวัติฝรั่งเศส
4. Furet นางานของ Augustin Cochin (1876-1916) นักประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม
กลับมาตีความใหม่ เขาให้เครดิตว่า Cochin เป็นนักประวัติศาสตร์ปฏิวัติฝรั่งเศสที่คนรู้จักน้อยที่สุด เพราะ
เสียชีวิตไปเมื่ออายุได้ 40 ปีเท่านั้น ทั้งๆที่งานของเขาเป็นงานที่จัดระบบความคิดของการปฏิวัติฝรั่งเศสได้
อย่างดี
Furet อธิบ ายผ่ านงานของ Cochin ถึงบทบาทของพวก Franc maçonnerie ในฐานะเป็นกาลั ง
สาคัญในการทางานทางความคิดและบ่มเพาะจนเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส
5. ด้วยอิทธิพลของวิธีการแบบ “La longue durée” ทาให้ Furet อธิบายว่า การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้
เป็นเหตุการณ์ที่ “โดด” ออกมาจากเหตุการณ์อื่นๆ แต่มันเป็นเหตุการณ์หนึ่งตามสายธารประวัติศาสตร์อัน
ยาวนาน การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่ “หมุดหมาย” สาคัญมากถึงขนาดที่อะไรๆก็ต้องเริ่มต้นที่การปฏิวัติฝรั่งเศส
ซึ่งกลายเป็ น มายาคติที่ฝั งอยู่ ในสั งคมฝรั่ งเศส และเราควรพิจารณาเรื่องราวต่างๆอย่างรอบด้าน โดยไม่
จาเป็นต้องยึดติดกับการปฏิวัติฝรั่งเศสในทุกเรื่อง
Furet กาหนดช่วงเวลาการศึกษาปฏิวัติฝ รั่งเศสโดยย้อนกลั บไปตั้งแต่ส มัยระบอบเก่า (l’Ancien
Régime) ในปี 1770 ไปจนถึงปี 1880 ซึ่งเป็นสมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน
12

ของระบอบเก่าและปฏิวัติฝรั่ง เศส และยืนยันว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงเมื่อสาธารณรัฐที่ 3 ก่อตั้งขึ้นได้


อย่างมั่นคงตามรูปแบบประชาธิปไตยและเสรีนิยม นอกจากนี้ Furet ยังได้หยิบยืมความคิดของ Claude Lévi-
Strauss เพื่อชี้ว่า ในยุคปัจจุบันนี้ การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็น “objet froid” หรือ “ของเย็นชืด” ไปแล้ว

๓. การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์หรือการตัดตอนแตกหักทางประวัติศาสตร์?
ต่อประเด็นปัญหานี้ นักประวัติศาสตร์มีความเห็นแยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรก เห็นว่า การปฏิวัติ
ฝรั่งเศสไม่ใช่เหตุการณ์ที่ตัดขาดประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสออกเป็นสองท่อนอย่างเห็นได้ชัด ตรงกันข้าม มันเป็นผล
สืบเนื่องในสายธารประวัติศาสตร์อันยาวนาน เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้าปฏิวัติฝรั่งเศสได้พัฒนาและ
คลี่คลายไปตามจังหวะเวลาจนมาระเบิดเกิ ดขึ้นเอาเมื่อตอนปฏิวัติฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายที่สอง เห็นว่า การปฏิวัติ
ฝรั่งเศส คือ หมุดหมายสาคัญในทางประวัติศาสตร์ ตัดตอนประวัติศาสตร์ให้แตกหักจากกัน สิ่งที่เกิดขึ้นในการ
ปฏิวัติฝรั่งเศสได้เปลี่ ยนกระบวนทัศน์ และโครงสร้างอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากปราศจากการปฏิ วัติ
ฝรั่งเศสแล้ว ความเปลี่ยนแปลงต่างๆก็คงไม่อาจเกิดขึ้นได้
ฝ่ายแรก การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่เหตุการณ์ที่ตัดขาดประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
ความเห็นของฝ่ายแรก นาโดย Alexis de Tocqueville เขาอธิบายไว้ใน L’Ancien Régime et la
Révolution (1856) ว่า ข้อเท็จจริงเหตุการณ์มากมายและมีอยู่ทั่วไปในระบอบเก่าได้ตระเตรียมให้เกิดการ
ปฏิวัติฝรั่งเศส ในความเห็นของเขานั้น ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นผลลัพธ์ของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสองด้าน
ได้แก่ การเปลี่ยนรูปของโครงสร้างทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงความคิด
ในด้านการเปลี่ยนรูปของโครงสร้างทางการเมือง การปฏิวัติฝรั่งเศสรับมรดกตกทอดมาจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพยายามจัดโครงสร้างการปกครองประเทศแบบรวมศูนย์อานาจเข้าสู่ส่วนกลาง สร้าง
เอกภาพในอาณาเขต เพิ่มอานาจให้ราชการส่วนกลาง ลดอานาจของจังหวัดต่างๆ ลดทอนเอกสิทธิ์ตามระบบ
ศักดินา บั่นทอนอานาจของขุนนาง ตลอดจนยกระดับให้พวกชนชั้นกระฎุมพีขึ้นมาทัดเทียมเสมอกับชนชั้นขุน
นาง ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ผู้ก่อการปฏิวัติฝรั่งเศสได้รับมาทาต่อจนสาเร็จ
ในด้านการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความคิดทางการเมืองของชนชั้นกระฎุมพีที่กลายเป็นปัจจัย
สาคัญในการก่อปฏิวัติ เริ่มสะสมและพัฒนาต่อเนื่องมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ รากเหง้าของภูมิปัญญาเหล่านี้
ไม่ได้เกิด ขึ้ น ในชั่ว ข้ ามคื น เมื่ อเกิ ดปฏิวัติ แต่มันค่อยๆบ่ม เพาะก่ อรูป ขึ้ น มาตามล าดับ จนอาจกล่ าวได้ ว่ า
ความคิดในการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองตามแบบปฏิวัติฝรั่งเศสนั้น เป็น แรงปรารถนาที่ซ่อนอยู่ใน
ความคิดของคนฝรั่งเศสจานวนมากตั้งแต่สมัยระบอบเก่าแล้ว
ความต้องการการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านโครงสร้างการปกครองและในด้านความคิดซึ่งบ่มเพาะมา
ตั้งแต่สมับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจไม่ส่งผลลุกลามบานปลายจนเกิดปฏิวัติฝรั่งเศส ๑๗๘๙ ก็ได้ หาก
ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีความสามารถในการตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้อย่างดี เมื่อระบอบ
สมบู ร ณาญาสิ ทธิร าชย์ ป รั บ ตัว ได้ช้าจนไม่ทันกับการเปลี่ ยนแปลง การปฏิวัติ ๑๗๘๙ จึงเป็นเหตุการณ์ที่
หลีกเลี่ยงไม่พ้น
13

จากความสื บ เนื่ อ งในทางประวั ติ ศ าสตร์ จ ากระบอบเก่ า ไปสู่ ก ารป ฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสนี้ เ อง ท าให้
Tocqueville สรุปว่า เอาเข้าจริงแล้ว การปฏิวัติฝรั่งเศสได้นาพาฝรั่งเศสออกจากสิ่งที่การปฏิวัติฝรั่งเศสกาลัง
เดินตาม
นอกจากโครงสร้างทางการปกครองและความคิดของผู้คนแล้ว นักประวัติศาสตร์ยังได้วิเคราะห์เหตุ
ปัจจัยในทางเศรษฐกิจที่กระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย ดังที่เราทราบกันดีว่า ชนชั้นกระฎุมพีเป็นกาลัง
สาคัญใน “การเปิดฉาก” ปฏิวัติ ซึ่งหากพิจารณาสายธารทางประวัติศาสตร์แล้ว พบว่าชนชั้นกระฎุมพี คือ ชน
ชั้นที่เกิดขึ้นใหม่โดยเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายตัวของการแลกเปลี่ยนสินค้ าและ
พาณิชยกรรม เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น การค้าขายแลกเปลี่ยนก็เพิ่มขึ้นตาม ระบบการผลิตไม่ได้รับใช้ความต้องการ
พื้นฐานของมนุษย์ในชีวิตประจาวันเท่านั้น แต่ยังเป็นการผลิตที่มุ่งต่อการค้าขายด้วย
ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปเช่นนี้เอง ได้สร้างชนชั้นกระฎุมพีขึ้นมา พวกเขามีอานาจทางเศรษฐกิจ
สะสมความมั่งคั่งและทรัพย์สิน มีความรู้และศิลปะวิทยาการต่างๆ และขึ้นมามีบทบาทแข่งขันกับชนชั้นขุนนาง
พระ และพวก aristocrat ดั้งเดิมที่ครอบครองที่ดินและอานาจทางการเมืองบางส่วนเอาไว้
ความตึงเครียดระหว่างชนชั้นกระฎุมพีกับชนชั้นขุนนางนี้เอง เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ
ฝรั่งเศส ๑๗๘๙ ขึ้น จากคาอธิบายเช่นนี้เอง ทาให้ไปสู่ข้อสรุปที่ว่า พัฒนาการของระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ในสมัย
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีส่วนสร้างการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นมา
ในด้านวัฒนธรรมความคิดก็เช่นเดียวกัน เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่ า ความคิดหรือปรัชญาการเมืองที่มีผล
ต่อการเมืองในศตวรรษที่ ๑๘ สืบเนื่องมาจากความคิดหรือปรัชญาในยุคตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ ที่เริ่มต้นความคิด
รัฐสมัยใหม่ ต่อเนื่องมาจนถึงยุคปรัชญาแสงสว่าง
ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ความเสมอภาค ความมีเหตุมีผลของมนุษย์ การปลดปล่อย
ตนเองออกจากการครอบงากดขี่ ความคิดทั้งหลายเหล่านี้ที่มุ่งสร้าง “มนุษย์แบบใหม่” (l’homme nouveau)
ในการปฏิวัติฝรั่งเศส ต่างก็สืบทอดมาจากความคิดที่ฟูมฟักบ่มเพาะมาตั้งแต่สมัยระบอบเก่าแล้ว
หากพิจารณาประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองฝรั่งเศสแล้ว พบว่า ความเปลี่ยนแปลงหลายกรณีที่
ผู้ ก่อการปฏิวัติฝ รั่ งเศศได้น าพามานั้ น ไม่ใช่เรื่องใหม่เอี่ยมอย่างแท้จริง ในหลายเรื่อง กษัตริย์ในระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้พยายามริเริ่มมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสาเร็จ เพราะถูกขัดขวางจากพวกขุนนางบ้าง
พวกพระบ้าง เมื่อปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้น คณะปฏิวัติก็มีความคิดกุศโลบายไม่แตกต่างจากกษัตริย์สมัยระบอบ
เก่า จึงได้นาแนวทางเหล่านั้นกลับมาปัดฝุ่นทาใหม่ เช่น การสร้างรัฐฝรั่งเศสให้เป็นปึกแผ่นรวมศูนย์ การสร้าง
ระบบกฎหมายและระบบศาลแบบเดียวกันทั่วประเทศ การทาประเทศให้เป็นเอกภาพผ่านการใช้ภาษาเดียวกัน
เป็นต้น
ภายหลังใช้เวลานานเกือบ ๒๐๐ ปี รัฐฝรั่งเศสก็กลายเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์ในรัช
สมัยของกษัตริย์หลุยส์ XIV กษัตริย์สามารถบั่นทอนอานาจของศาสนจักรและระบบฟิวดัลได้ อย่างไรก็ตาม แม้
กษัตริย์รวมศูนย์อานาจทางการเมืองได้สาเร็จ แต่กลับไม่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพในเรื่องการศาลและ
ระบบกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์ไม่อาจกาจัดบทบาทของศาลปาร์เลอมองต์ได้
14

ศาลปาร์ เ ลอมองต์ มี อ านาจหน้ า ที่ วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดข้ อ พิ พ าทในฐานะเป็ น ศาลอุ ท ธรณ์ แ ละศาลสู ง
นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นศาลสุดท้าย ศาลปาร์เลอมองต์จึงมีบทบาทในการจั ดกลุ่มคาพิพากษาให้เป็นระบบ
และควบคุมความชอบด้วยกฎหมายและความสอดคล้องกันตามลาดับชั้นของกฎหมายระหว่างพระบรมราช
โองการ พระราชกาหนด พระราชบัญญัติ กฎหมายประเพณี และกฎเกณฑ์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ในฐานะองค์อธิปัตย์ ยังมีอานาจไม่เห็นด้วยกับศาลปาร์เลอมองต์ได้ ด้วยการดึง
เรื่องที่อยู่ในอานาจของศาลปาร์เลอมองต์มาพิจารณาเอง กรณีดังกล่าวศาลปาร์เลอมองต์ อาจใช้สิทธิคัดค้าน
(Droit de remontrance) ด้วยการตรวจสอบว่าพระบรมราชโองการหรือพระบรมราชวินิจฉัยของกษัตริย์มี
ความสอดคล้องกันกับคาพิพากษาบรรทัดฐาน กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไปหรือไม่
เมื่อศาลปาร์เลอมองต์ได้ดาเนินการอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ความเข้มแข็งและความเป็นอิสระของ
องค์กรก็เริ่มมีมากขึ้น มีกฎหมายรับรองความเป็นอิสระแก่ผู้พิพากษาศาลปาร์เลอมองต์ เช่น ห้ามโยกย้ายผู้
พิพากษา เป็นต้น ในบางรัชสมัยที่กษัตริย์ไม่เข้ มแข็ง ศาลปาร์เลอมองต์เริ่มแยกตัวเป็นเอกเทศออกจากราช
สานัก และขัดขวางการดาเนินนโยบายของราชสานัก ด้วยเหตุนี้ราชสานักจึงหาทางตอบโต้ด้วยการจัดตั้งศาล
พิเศษเฉพาะเรื่องเฉพาะราวขึ้นเป็นจานวนมากเพื่อดึงอานาจจากศาลปาร์เลอม็องต์
ในปลายรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๓ ต่อต้นรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กษัตริย์เริ่มมีพระราชอานาจ
และบารมีมาก จึงกล้าสั่งห้ามมิให้ศาลปาร์เลอมองต์ใช้สิทธิคัดค้าน (Droit de remontrance) พระบรมราช
โองการหรือพระบรมราชวินิจฉัยก่อนมีผลใช้บังคับ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๓ โดยคาแนะนาของ Richelieu ขุนนาง
ผู้มากอานาจและบารมี ได้ทรงประกาศพระบรมราชโองการ Saint-germain ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๑๖๔๑
ความว่า “ห้ามมิให้ศาลปาร์เลอมองต์มีเขตอานาจในคดีที่อาจเกี่ยวกับรัฐ การบริหารราชการแผ่นดิน หรือ
รัฐบาล ซึ่งเราสงวนไว้ให้กับคนของเราเท่านั้น เพราะศาลต่างๆจัดตั้งขึ้นเพื่ออานวยความยุ ติธรรมแก่พสกนิกร
ของเราเท่านั้น ไม่ใช่เรา”
ในรัชสมัยหลุยส์ที่ ๑๔ ก็ยังคงดาเนินการตามพระบรมราชโองการ Saint-germain การฟ้องโต้แย้ง
ส่วนราชการและบรรดาข้าราชการทั้งหลายจึงต้องกระทาภายในส่วนราชการด้วยกัน โดยสภาที่ปรึกษาราชการ
แผ่ น ดิน ของกษัตริ ย์ (Conseil du Roi) มีอานาจหน้าที่ในการพิจารณาข้อพิพาทเหล่ านั้น การดาเนินการ
ดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจพอสมควรเพราะมีการตรากฎเกณฑ์วิธีพิจารณาไว้โดยพระราชกาหนดลงวันที่ ๒๘
มิถุนายน ๑๗๓๘ ซึ่งยกร่างโดยมหาเสนาบดี Aguessau
ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ ศาลปาร์เลอมองต์เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่ปี
๑๗๕๐ ราชสานักมีนโยบายปฏิรูปในหลายๆเรื่องเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม แต่ศาลปาร์เลอมองต์ก็
ขัดขวางนโยบายดังกล่าวเสมอมา โดยเฉพาะนโยบายปฏิรูประบบภาษีให้มีความเสมอภาคและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ เล็งเห็นอุปสรรคเหล่านี้ พระองค์จึงพยายามจากัดอานาจของศาลปาร์เลอมองต์
ในปี ๑๗๗๑ มีความพยายามปฏิรูปศาลอีกครั้ง ภายใต้การนาของ Maupeou เขาต้องการยุบเลิกศาล
ที่มีจานวนมากและซ้าซ้อนกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการยุบเลิกศาลปาเลอมองต์ ที่กีดขวางการบริหาร
ราชการแผ่นดินของรัฐบาลและราชสานัก แต่ในท้ายที่สุดความพยายามนี้ก็ถูกต่อต้านจากกลุ่มขุนนางและผู้
15

พิพากษาสายอนุรักษ์นิยม ช่วงทศวรรษท้ายๆในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ พระองค์ทรงกลับไปเป็นมิตร


กับศาลปาร์เลอมองต์ และในท้ายที่สุด ศาลปาร์เลอมองต์ก็กลายเป็น “เหยื่อ” แรกๆของการปฏิวัติ ๑๗๘๙
หลังปฏิวัติ ๑๔ กรกฎาคม ๑๗๘๙ สาเร็จ สิ่งแรกๆที่คณะปฏิวัติต้องการทาโดยทันที คือ การลด
อานาจของศาลทั้งหลาย ไม่เพียงแต่ห้ามองค์กรตุลาการตัดสินคดีวางกฎเกณฑ์ราวกับเป็นองค์กรนิติบัญญัติ แต่
ยังต้องการห้ามองค์กรตุลาการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่น ดินด้วย ในการประชุมสภาแห่งชาติ
เมื่อเดือนมีนาคม ๑๗๙๐ มีการถกเถียงกันว่าสมควรให้องค์กรตุลาการมีอานาจหน้าที่วินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการ
บริหารราชการแผ่นดินหรือคดีปกครองต่อไปหรือไม่
ฝ่ายหนึ่ง นาโดย Chabroud เห็นว่าควรใช้ระบบศาลเดี่ยวเพื่อมิให้เกิดความยุ่งยากในการแบ่งแยก
เขตอานาจศาล อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ไม่ควรให้ศาลมีเขตอานาจพิจารณาคดีปกครอง Thouret กล่าวว่า “หนึ่งใน
การใช้อานาจตุลาการโดยมิชอบในฝรั่งเศส คือ การสับสนในการใช้อานาจของตนเข้าไปปะปนและไม่สอดคล้อง
กับอานาจอื่น อานาจตุลาการเป็นคู่ปรปักษ์กับอานาจบริหาร รบกวนการดาเนินการของฝ่ายปกครอง หยุดการ
ขับเคลื่อนและสร้างความกังวลใจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ส่วน Desmeuniers ยืนยันว่า “ข้าพเจ้ามองเห็น
ถึงความเลวร้าย หากว่าศาลเข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวในทุกคดี”
คณะผู้ก่อการปฏิวัติและสภาแห่งชาติ พยายามตีความหลักการแบ่งแยกอานาจเสีย ใหม่ เพื่อนามาอ้าง
ไม่ให้องค์กรตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศ โดยยึดถือว่า หลักการแบ่งแยกอานาจเรียกร้องให้มี
การแยกอานาจบริ ห ารออกจากอานาจตุล าการอย่างเด็ดขาด นอกจากองค์กรตุล าการไม่มีอานาจเข้ามา
แทรกแซงการบริหารในเชิงรุ กหรื อ “ทาแทน” ฝ่ายบริหารและฝ่ายปกครองแล้ว ในเชิงรับอย่างเช่น การ
ตรวจสอบหรือวินิจฉัยคดีปกครอง องค์กรตุลาการก็ไม่มีอานาจเช่นกัน เพราะ “การตัดสินฝ่ายปกครอง ถือเป็น
เรื่องในทางปกครอง” (Juger l’administration, c’est encore administrer) ไม่ใช่เรื่องในทางตุลาการ
การป้องกันไม่ให้ศาลปาร์เลอมองต์ เข้ามาข้องเกี่ยวกับการบริหารประเทศ เพราะคณะผู้ก่อการปฏิวัติ
เล็งเห็นว่าศาลปาร์เลอมองต์เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินนโยบายบริหารประเทศ และมีทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์
ต่ออุดมการณ์ปฏิวัติ ๑๗๘๙ จากผลงานในสมัยระบอบเก่า พิสูจน์ได้ว่าศาลปาร์เลอมองต์มักขัดขวางการปฏิรูป
ในเรื่องต่างๆอยู่บ่อยครั้ง หากปล่อยให้ศาลปาร์เลอมองต์มีอานาจหน้าที่วินิจฉัยคดีปกครอง ก็อาจส่งผลกระทบ
ต่อการดาเนิน การต่อเนื่ องจากการปฏิวัติได้ นอกจากนี้ การยุบศาลปาร์เลอมองต์ที่กระจัดกระจายไปทั่ว
ประเทศนี้ ยังช่วยทาให้ระบบศาลและระบบกฎหมายของฝรั่งเศสเป็นเอกภาพด้วย
คณะปฏิวัติ ตัดสิ น ใจให้ คดีป กครองทั้งหลายอยู่ในอานาจหน้าที่ของฝ่ ายปกครองด้ว ยกันเองที่ จ ะ
พิจารณาวินิจฉัย โดยออกรัฐบัญญัติ ลงวันที่ ๑๖-๒๔ สิงหาคม ๑๗๙๐ ซึ่งมีมาตราเดียวกาหนดว่า “หน้าที่
ในทางตุลาการแยกออกและจะยังคงแยกตลอดไปจากหน้าที่ในทางปกครอง ผู้พิพากษาไม่อาจรบกวนเรื่องใดที่
เป็นการดาเนินการขององค์กรฝ่ายปกครอง และไม่อาจเรียกเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมาศาลเพื่อประโยชน์ในการ
ทาหน้าที่ในทางตุลาการได้”
จากนั้ น มีรั ฐ กฤษฎีกาลงวัน ที่ ๕ เดือน fructidor ปีที่ ๓ ของสาธารณรัฐ ตามมาตอกย้าหลั กการ
ดังกล่าวอีกว่า “ยังคงป้องกันอยู่ต่อไป มิให้ศาลมีเขตอานาจเหนือการกระทาของฝ่ายปกครอง” เป็นอันว่าคณะ
ปฏิวัติได้ “ลบ” อานาจวินิจฉัยคดีปกครองของศาลปาร์เลอมองต์ และ “ดึง” อานาจนั้นมาให้ฝ่ายบริหาร
16

เมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ต ขึ้นสู่อานาจในปี ๑๗๙๙ เขาได้สร้างองค์กรขึ้นใหม่ในชื่อ “สภาแห่งรัฐ”


(Conseil d’Etat) โดยรับอิทธิพลจากสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของกษัตริย์ (Conseil du Roi) ในสมัย
ระบอบเก่า
รัฐธรรมนูญปีที่ VIII แห่งสาธารณรัฐ หรือปี ๑๗๙๙ มาตรา ๕๒ บัญญัติว่า “ภายใต้การอานวยการของ
กงสุล สภาแห่งรัฐมีหน้าที่ในการยกร่างรัฐบัญญัติและการยกร่างกฎ และแก้ไขปัญหาความยุ่งยากซึ่งอยู่ใน
ขอบเขตทางปกครอง” จากบทบัญญัติดังกล่าว มีการแปลความให้สภาแห่งรัฐมีอานาจหน้าที่ใน ๓ บทบาท
ได้แก่ ในทางนิติบัญญัติ (ยกร่างรัฐบัญญัติ) ในทางปกครอง (ยกร่างกฎในทางปกครอง และให้คาปรึก ษา
ราชการแผ่นดินแก่รัฐบาล) ในทางตุลาการ (วินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง)
การยุบศาลปาร์เลอมองต์ทิ้ง การสร้างระบบศาลและระบบกฎหมายให้เป็นเอกภาพ ตลอดจนการตั้ง
Conseil d’Etat ขึ้น ทั้งหลายเหล่านี้ คือ วิธีการในการสร้างรัฐให้เป็นหนึ่งเดียว อานาจการตัดสินใจรวมศูนย์
อยู่ที่รัฐส่วนกลาง ซึ่งกษัตริย์ในสมัยระบอบเก่าเพี ยรพยายามทามาอย่างช้านาน แต่ไม่สาเร็จ สุดท้าย เรื่อง
เหล่านี้กลับมาสาเร็จได้ด้วยการปฏิวัติฝรั่งเศสนี่เอง

ฝ่า ยที่สอง การปฏิวัติ ฝรั่ งเศสได้ ตัดตอนความต่อเนื่องทางประวัติศ าสตร์ และเป็น เหตุการณ์


แตกหักในทางประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ฝ่ายนี้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสกับการปฏิวัติ
ฝรั่งเศสมีเพียงแค่ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุปัจจัยและผลลัพธ์เท่านั้น หมายความว่า เหตุการณ์ก่อน 1789 คือ
สาเหตุที่น าไปสู่ การปฏิวัติ 1789 แต่การปฏิวัติ 1789 และเหตุการณ์ห ลั งจากนั้นไม่ใช่ความสื บเนื่ อ งทาง
ประวัติศาสตร์จากระบอบเก่า
การเกิดขึ้นของชนชั้นกระฎุมพีและวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นมูลเหตุที่ผลักดันให้เกิดการต่อต้านอภิสิทธิ์ที่
พวกอภิชนได้รับมาอย่างยาวนาน จนลุกลามกลายเป็นการปฏิวัติขึ้น อย่างไรก็ตามเหตุปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียง
เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่นาพาไปสู่ การปฏิวัติเท่านั้น ส่วนแนวทางต่างๆที่บรรดานักปฏิวัติได้ดาเนินการหลัง
จากนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แยกออกจากอดีตได้
Timothy Tackett นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ช าวอเมริ กั น ผู้ เ ชี่ย วชาญเรื่ อ งปฏิวัติ ฝ รั่ง เศสได้ อ ธิ บ ายไว้ใน
Becoming a Revolutionary : The Deputies of the French National Assembly and the Emergence
of a Revolutionary Culture (1789-1790) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1996 ว่า ความคิดทางการเมืองและอุดมการณ์วิธี
คิดของบรรดาสมาชิกสภาแห่งชาติในช่วงปีแรกๆของการปฏิวัติฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง ตาม
โอกาสและเดิมพันในแต่ละช่วงเวลา
สถานการณ์ที่ก้าวรุดหน้าขึ้นเรื่อยๆ และความสัมพันธ์ทางอานาจที่เปลี่ยนไปส่งผลให้ความคิดของ
สมาชิกสภาแห่งชาติเปลี่ยนตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราสังเกตพฤติกรรม คาอภิปราย และข้อเสนอ
ต่างๆของสมาชิกสภาแห่งชาติ จะพบว่ามันเปลี่ยนแปลงไปตามดุลกาลังอานาจของกลุ่มการเมืองต่างๆในสภา
ตั้งแต่ช่วงที่ยึดครองโดยฝ่ายสนับสนุนระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ การกาจัดสมาชิกสภากลุ่ม Girondins และ
การขึ้นมาของกลุ่ม Montagnards
17

ความน่ าสนใจในงานชิ้น นี้ ของ Timothy Tackett คือ ข้อเสนอที่ว่าสมาชิกสภาแห่ งชาติไม่ ไ ด้ รั บ


อิทธิพลความคิดปรัช ญาแสงสว่าง (Enlightenment) ในยุคศตวรรษ ๑๗-๑๘ แต่เพียงอย่างเดียว แต่การ
รุ ดหน้ าขึ้น ของสมาชิกสภาแห่ งชาติมาจากบริบทในแต่ล ะช่ว งเวลาที่ผ ลั กดันพวกเขา ในการประชุมสภา
ฐานันดรในปี ๑๗๘๙ ผู้แทนของฐานันดรที่ ๓ ไม่ได้ต้องการเคลื่อนไหวเพื่อล้มระเบียบแบบสถาบันกษัตริย์และ
ไม่ได้ส นั บ สนุ น หลักการประชาธิปไตยเท่าไรนัก จนกระทั่งเกิดสถานการณ์ความไม่แน่นอนชัดเจนในทาง
การเมือง พวกเขาถึงได้ปรับเปลี่ยนความคิดให้ก้าวหน้าขึ้น เมื่อพิจารณาการอภิปรายในระหว่างการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ จะพบว่ามีสมาชิกสภาจานวนมากที่อภิปรายไปในแนวทางที่หลากหลาย ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน
และไม่ได้สนับสนุนความคิดแบบปรัชญาแสงสว่างทั้งหมด ตรงกันข้าม พวกเขาได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับ
ปรัชญาแสงสว่างด้วย
การวิ เ คราะห์ เ หตุ ก ารณ์ ใ น ๑๐ ปี แ ห่ ง การปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสแสดงให้ เ ห็ น ว่ า การเกิ ด ขึ้ น ของแต่ ล ะ
เหตุการณ์มีลักษณะเฉพาะและสร้างผลลัพธ์โดยเฉพาะของมันเอง ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้มีมาก จนทาให้ไม่
อาจยอมรับได้ว่า การปฏิวัติฝรั่งเศส คือ ช่วงขยายต่อของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยระบอบเก่า
แล้ว
หลายเหตุ ก ารณ์ ในช่ว ง ๑๗๘๙-๑๗๙๙ ได้ เ กิ ด ขึ้ น มาในลั ก ษณะเป็น “ปฏิ กิ ริ ย า” ตอบโต้ กั บ อีก
เหตุการณ์หนึ่งอย่างทันทีทันใด ไม่ใช่บ่มเพาะสืบเนื่องมาจากระบอบเก่า การล่มสลายของระบอบกษัตริย์ไม่ได้
เป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องมาจากช่วงก่อน ๑๗๘๙ แล้วค่อยๆพัฒนาจนระเบิดขึ้น ตรงกัน
ข้าม สถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศสปลาสนาการไปในปี ๑๗๙๒ ก็เพราะเป็น “ปฏิกิริยา” ตอบโต้กับกรณีที่กษัตริย์
Louis XVI หลบหนีออกจากประเทศ แต่ถูกจับได้ที่ Varennes ในวันที่ ๒๐-๒๑ มิถุนายน ๑๗๙๑ และเป็นผล
สืบเนื่องมาจากหลายเหตุการณ์ ได้แก่ กลุ่มการเมืองปีก radical เช่น พวก Jacobin พวก Montagnard ขึ้นมา
ยึดครองสภาแห่งชาติได้ การกดดันของชาวปารีสในช่วงฤดูร้อน ๑๗๙๒ จนเรียกกันว่าเป็น “ปฏิวัติครั้งที่ ๒”
และการแทรกแซงของกษัตริย์ต่างประเทศจนก่อสงครามกับฝรั่งเศส
การยึดครองอานาจในสภาของกลุ่มการเมืองฝ่าย radical ในช่วงปี ๑๗๙๒ ถือเป็นห้วงเวลาสาคัญทาง
ประวัติศาสตร์ที่พลิกผันการปฏิวัติฝรั่งเศส ความคิดและข้อเสนอของพวกเขาแตกต่างจากความคิดและข้อเสนอ
ของสมาชิกสภาในช่วง ๑๗๘๙-๑๗๙๑ อย่างมาก
นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงยื นยันว่า การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้สืบเนื่องจากระบอบเก่า แต่เกิดขึ้น
ภายใต้บริบทของช่วงเวลาของการปฏิวัติ เราอาจพิจารณาได้จากตาราง ดังนี้

สภา ผลงาน เหตุการณ์บริบทสาคัญ


จากสภาฐานันดรถึงสภา ก า ร ป ร ะ ก า ศ ยื น ยั น อ า น า จ ๒ พ.ค.๑๗๘๙ การประชุมสภาฐานันดรที่
แห่ ง ชาติ (พฤษภาคม- อธิปไตยของชาติ Versailles
กรกฎาคม ๑๗๘๙) ๑๗ มิ.ย. ๑๗๘๙ ผู้แทนจากฐานันดรที่ ๓
ประกาศตั้งตนเองเป็นสภาแห่งชาติ
18

๒๐ มิ . ย. ๑๗๘๙ สภาแห่ ง ชาติ ส าบานที่


สนามเทนนิสว่าจะอยู่ ร่วมกันจนกว่าจะทา
รัฐธรรมนูญสาเร็จ
๖ ก.ค. ๑๗๘๙ สภาแห่ งชาติประกาศตน
เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ส ภ า ร่ า ง รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ - การจัดระเบี ยบโครงสร้า งทาง ๑๔ ก.ค.๑๗๘๙ ทลายคุกบาสตีย์
(กรกฎาคม ๑๗๘๙ – กฎหมาย ศาล การคลั ง การ ๔ ส.ค.๑๗๘๙ ยกเลิกอภิสิทธิ์
กันยายน ๑๗๙๑) บริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ ๒๖ ส.ค.๑๗๘๙ คาประกาศสิทธิมนุษยชน
- ก า ร เ ต รี ย ม ก า ร จั ด ท า และพลเมือง
รัฐธรรมนูญ ๒ พ.ย. ๑๗๘๙ การโอนทรัพย์สินของโบสถ์
- สภาถูกครอบงาโดยสมาชิกปีก มาเป็นของชาติ
Marais ( ฝ่ า ย ก ล า ง - ๑๒ ก.ค. ๑๗๘๙ ธรรมนูญพลเมืองของพระ
ประนีประนอม) ๒๐-๒๑ มิ. ย.๑๗๙๑ หลุ ยส์ XVI หลบหนี
แต่ถูกจับได้ที่ Varennes

สภานิ ติ บั ญ ญั ติ (ต.ค. - การประกาศระบอบกษัตริย์ใต้


๒๐ เม.ย.๑๗๙๒ ประกาศสงครามกั บ
๑๗๙๑-ก.ย.๑๗๙๒) รัฐธรรมนูญ ออสเตรีย
- ก ลุ่ ม Girondins แ ล ะ ฤดูร้อน ๑๗๙๒ การเคลื่ อนไหวใหญ่ ข อง
Feuillants ยึดครองสภา ชาวปารี ส การลุ ก ขึ้ น สู้ ใ นวั น ที่ ๑๐ ส.ค.
ปลดกษัตริย์ ล้มระบอบกษัตริย์
๒๐ ก.ย.๑๗๙๒ สมรภูมิที่ Valmy รบกับป
รัสเซีย
สภา Convention (ก.ย. - สถาปนาระบอบสาธารณรัฐโดย ๒๑ ก.ย. ๑๗๙๒ ประกาศเป็นสาธารณรัฐ
๑๗๙๒-ต.ค.๑๗๙๕) การครอบงาสภาโดยฝ่ายต่างๆ ๒๑ ม.ค.๑๗๙๓ ประหารชีวิตหลุยส์ XVI
แบ่งได้ ๓ ช่วง ก.ค.-ก.ย.๑๗๙๓ การลุ ก ขึ้ น สู้ ข องพวก
+ ช่วงแรก ยึดครองโดยกลุ่ม กษัตริย์นิยมที่ Vendée
Girondins (ก.ย.๑๗๙๒-มิ.ย.๑๗๙๓) มิ.ย. ๑๗๙๓ การจับกุม และประหารพวก
+ ช่วงสอง ยึดครองโดยกลุม่ Girondins ประกาศใช้รัฐธรรมนูญของพวก
Montagnarde (ก.ค.๑๗๙๓-ก.ค.
Montagnarde
๑๗๙๔)
+ ช่วงสาม ยึดครองโดยพวก ก.ค.๑๗๙๔ รัฐ ประหารล้ ม Robespierre
Thermidorienne เตรียมทา และพวก
รัฐธรรมนูญใหม่ (ก.ค.๑๗๙๔-ต.ค.
๑๗๙๕)
19

Directoire - ร ะ บ อ บ ส า ธ า ร ณ รั ฐ แ บ บ ต.ค.๑๗๙๕ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญระบอบ


(ต.ค.๑๗๙๕-พ.ย.๑๗๙๙) กระฎุ ม พี ป กคร องโ ด ย ค ณ ะ Directoire
Directoire ๙ พ.ย. ๑๗๙๙ รั ฐ ประหารล้ ม ระบอบ
- รั ฐ ประหารหลายครั้ ง แย่ ง ชิ ง Directoire โดย Napoléon Bonaparte
อานาจใน Directoireทั้งจากฝ่าย ธ.ค.๑๗๙๙ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญระบอบ
ซ้าย ฝ่ายกลาง ฝ่ายกษัตริย์นิยม กงสุล

You might also like