You are on page 1of 2

บความรู้ที่ 2 ปริมา ทา า นว จร าแบบ นุกรมและแบบ นาน

กระแสไฟฟ้าทีผ
่ า่ นอุปกรณ์ไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
แตกต่างกัน โดยว จร าแบบ นุกรม กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรแบบอนุกรมเป็นดังภาพที่ 1

Vรวม
V1 V2

I1
I2 I3

I1 = I2 = I3 V1 + V2 = Vรวม

ภาพที่ 1 กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรแบบอนุกรม

กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากันและเท่ากับกระแสไฟฟ้ารวมของวงจร

Iรวม = I1 = I2 = … = In

เมื่อ n คือจำานวนตัวต้านทานที่ต่อแบบอนุกรมในวงจรไฟฟ้า
แต่ความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความต้านทานไฟฟ้าของตัวต้านทานนั้น
ตั ว ต้ า นทานที่ มี ค วามต้ า นทานไฟฟ้ า มากกว่ า ก็ จ ะมี ค วามต่ า งศั ก ย์ ไ ฟฟ้ า ที่ ค ร่ อ มตั ว ต้ า นทานนั้ น มากกว่ า ตั ว ต้ า นทานที่ มี
ความต้านทานไฟฟ้าน้อยกว่า โดยความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมของวงจรเท่ากับผลบวกของความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อมตัวต้านทาน
แต่ละตัว

Vรวม = V1 + V2 + …+ Vn

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (สำาหรับนักเรียน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2


ส่วนว จร าแบบ นาน กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรแบบขนานเป็นดังภาพที่ 2

V1

I1
ศักย์ไฟฟ้าสูงร่วมกัน

I2

Iรวม Iรวม
V2

ศักย์ไฟฟ้าต่าำ ร่วมกัน

I1 + I2 = Iรวม
V3 V1 = V2 = V3

ภาพที่ 2 กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรแบบขนาน

กระแสไฟฟ้าทีผ
่ า่ นตัวต้านทานแต่ละตัวอาจไม่เท่ากัน โดยกระแสไฟฟ้าจะมีคา่ มากหรือน้อยขึน
้ อยูก
่ บ
ั ความต้านทานไฟฟ้า
ของตัวต้านทานนั้น ตัวต้านทานที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวต้านทานนั้นน้อยกว่าตัวต้านทานที่มี
ความต้านทานไฟฟ้าน้อย โดยกระแสไฟฟ้ารวมของวงจรจะเท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานแต่ละตัว

Iรวม = I1 + I2 + …+ In

เมื่อ n คือจำานวนตัวต้านทานที่ต่อแบบขนานในวงจรไฟฟ้า
ความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวจะเท่ากันและเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมของวงจร

Vรวม = V1 = V2 = …= Vn

50 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (สำาหรับนักเรียน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

You might also like