You are on page 1of 15

ชื่อบทความ ยาขี้ผึ้ง (Ointments)

จำนวนหน่วยกิจการศึกษาต่อเนือ่ ง ผู้เขียนบทความ
3 หน่วยกิต ชื่อ ดร.ภญ.ธิพาพรรณ พลายด้วง
สังกัด สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บทคัดย่อ
ยาขี้ผึ้ง เป็นยาเตรียมทางเภสัชกรรมรูปแบบกึ่งแข็ง (semi-solid dosage form) มีตัวยาสำคัญ
เท่ากับหรือมากกว่า 1 ชนิด ละลายหรือกระจายอยู่ในยาพื้นขี้ผึ้ง สำหรับใช้ทาภายนอกร่างกาย ยา
พื้นขี้ผึ้งมี 4 แบบ ได้แก่ ยาพื้นชนิดเป็นมัน (Oleaginous หรือ hydrocarbon ointment bases)
ยาพื้ น ชนิ ด ดู ด น้ ำ ได้ (Absorption หรื อ absorbent ointment bases) ยาพื้ น ชนิ ด อิ มั ล ชั น
(Emulsion ointment bases) และยาพื้นชนิดละลายน้ำได้ (Water soluble ointment bases)
ตำรับยาพื้นขี้ผึ้งแต่ละแบบมีส่วนประกอบแตกต่างกัน ส่งผลให้มี คุณสมบัติ รวมทั้งข้อดี-ข้อเสียที่
แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ยาพื้นขี้ผึ้งที่เหมาะสำหรับตัวยาสำคัญและบริเวณที่ต้องการใช้ย า
ขี้ผึ้ ง วิ ธี ก ารเตรีย มยาขี้ผึ้ ง มี 2 วิ ธี ได้ แ ก่ การหลอม (fusion) และการผสมตั ว ยาเข้า กับ ยาพื้ น
(incorporation) การเลือกวิธีเตรียมยาควรคำนึงถึงคุณสมบัติของตัวยาสำคัญและส่วนประกอบ
ต่างๆ ในตำรับ เพื่อให้ยาขี้ผึ้งที่เตรียมได้มีตัวยาสำคัญละลายหรือกระจายอย่างสม่ำเสมอ ขี้ผึ้งมีเนื้อ
เรียบเนียน มีความคงตัวทางเคมีและกายภาพ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติ และส่วนประกอบของยาพืน้ ขี้ผึ้งแบบต่างๆ
2. เพื่อให้ทราบข้อดี-ข้อเสียของยาพื้นขี้ผงึ้ แบบต่างๆ
3. เพื่อให้ทราบวิธีเตรียมตำรับยาขี้ผึ้ง
คำสำคัญ ยาขี้ผึ้ง คุณสมบัติ ส่วนประกอบ วิธีการเตรียม

บทนำ

ชื่อบทความ หน้า 1 จาก 15


ยาขี้ผึ้ง เป็นยาเตรียมทางเภสัชกรรมที่มีรูปแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว มีตัวยามากกว่าหรือ
เท่ากับ 1 ชนิด ละลายหรือกระจายอยู่ในยาพื้นขี้ผึ้ง ใช้ทาภายนอกร่างกาย ยาขี้ผึ้งที่ใช้บริเวณ
อื่นๆ จะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่น ยาขี้ผึ้งป้ายตา (ophthalmic ointment) เป็นต้น ยาขี้ผึ้งเป็นยา
เตรียมกึ่งแข็งชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นฟิล์มปกคลุมผิวหนัง จึง
ป้องกันการสูญเสียน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง มีความคงตัวทางกายภาพและทางเคมี
ท ำป ฏิ กิ ริ ย ากั บ ย าห รื อ ส ารอื่ น ๆ ใน ต ำรั บ น้ อ ย เต รี ย ม ได้ ง่ า ย แ ล ะ ราค าไม่ แ พ ง

ชื่อบทความ หน้า 2 จาก 15


ส่วนประกอบของยาขี้ผึ้ง
1. ตัวยาสำคัญ ตัวยาสำคัญมีได้หลายชนิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการรักษาต่างๆ เช่น
- ย า ต้ า น เ ชื้ อ แ บ ค ที เ รี ย เ ช่ น neomycin, polymyxin B sulfate,
chloramphenicol เป็นต้น
- ยาทำให้ผิวหนังร้อนแดง เช่น methyl salicylate เป็นต้น
- ยาต้านเชื้อรา เช่น ketoconazole, sulphur เป็นต้น
- ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น piroxicam, diclofenac เป็นต้น
- ยาชาเฉพาะที่ เช่น lidocain เป็นต้น
- ยาต้านเชื้อไวรัส เช่น acyclovir เป็นต้น
2. ยาพื้นขี้ผึ้ง
ยาพื้นขี้ผึ้งที่ดีควรมีลักษณะเป็นเนื้อเรียบเนียน ไม่ดูดความชื้น ไม่แห้งแข็ง เมื่อทาบน
ผิวหนังสามารถแผ่กระจายดี มีความคงตัว ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเคมีและกายภาพ เข้า
กับส่วนประกอบอื่นในตำรับได้ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง และไม่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือระคาย
เคืองผิวหนัง

ยาพื้นขี้ผึ้งสามารถแบ่งตามส่วนประกอบและคุณสมบัติได้ 4 ชนิด ได้แก่


1. ยาพื้นชนิดเป็นมัน (Oleaginous หรือ hydrocarbon bases)
มีลักษณะเป็นมัน เหนียวเหนอะหนะ ปราศจากน้ำ ไม่ละลายน้ำ สามารถผสมเข้ากับน้ำ
ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ล้างน้ำออกยาก เมื่อทาบนผิวหนังจะเกิดเป็นฟิล์มปกคลุมผิวหนัง ช่วย
ป้องกันน้ำระเหยออกจากผิวหนังจึงทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น
ข้อดีของยาพื้นชนิดเป็นมัน
- เนื่องจากเป็นฟิ ล์มปกคลุมผิวหนัง จึง ป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง
และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง
- เนื่องจากไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในตำรับและไม่ดูดน้ำ จึง ไม่มีการเจริญของ
เชื้อแบคทีเรีย และเหมาะสำหรับ ใช้เป็นยาพื้นสำหรับยาที่ไม่คงตัวต่อความชื้นหรือยาต้านเชื้อ
แบคทีเรีย เช่น penicillin tetracycline เป็นต้น
- มีความคงตัวทั้งทางเคมีและกายภาพ
- ติดทนนานบนผิวหนังโดยไม่แห้งแข็ง
- หาซื้อได้ง่าย และราคาถูก
ข้อเสียของยาพื้นชนิดเป็นมัน

ชื่อบทความ หน้า 3 จาก 15


- เป็นมัน เหนียวเหนอะหนะ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้บริเวณที่มีเส้นขนหรือ
หนังศีรษะ
- ไม่เหมาะสำหรับตำรับที่มีตัวยาหรือส่วนประกอบเป็นน้ำ เนื่องจากยาพื้นชนิด
นี้เข้ากับน้ำได้เพียงเล็กน้อย
- มีโอกาสเกิดการเหม็นหืนได้ง่าย หากมีส่วนประกอบของน้ำมันพืชหรือสัตว์

ตัวอย่างสารในตำรับยาพื้นขี้ผึ้งชนิดเป็นมัน
Petrolatum: yellow soft paraffin, soft paraffin, vaseline
สาร hydrocarbon ลักษณะเป็นมัน เหนียวเหนอะหนะ สามารถติดทนบนผิวหนังได้ดี
จึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง แต่ล้างน้ำออกยาก เป็นสารเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับสารหรือ
ตัวยาในตำรับ มีความคงตัวสูง มีจุดหลอมเหลว 38-60 C เมื่อผ่านการฟอกสีโดยใช้ oxidizing
agent และกรด จะเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีขาว

Hard paraffin: paraffin, paraffin wax, hard wax


ลักษณะเป็นไข ของแข็งสีขาวหรือไม่มีสี ช่วยเพิ่มความแข็งให้ตำรับ มีจุดหลอมเหลว
47-65 C

Beeswax: white beeswax, white wax, bleached wax


ไขผึ้ง ได้จากการหลอมและกรองเอารวงผึ้งออกแล้ว เมื่อนำมาฟอกสีจะเปลี่ยนจากสี
เหลืองเป็นสีขาว ช่วยเพิ่มความแข็งให้ตำรับ มีจุดหลอมเหลว 61-65 C

Mineral oil: liquid paraffin, liquid petrolatum


น้ำมันแร่ มีลักษณะเป็น ของเหลวใส หนืด มี 2 เกรด ได้แก่ heavy mineral oil และ
light mineral oil ในการเตรียมตำรับทางเภสัชกรรมสำหรับใช้ทาภายนอก นิยมใช้ชนิด light
mineral oil เนื่องจากมีความหนืดน้อยกว่า แผ่กระจายผิวหนังได้ดีกว่า

Vegetable oils
น้ ำ มั น พื ช ที่ นิ ย มใช้ มี ห ลายชนิ ด เช่ น olive oil, sesame oil, cottonseed oil,
almond oil, corn oil เป็นต้น มีคุณ สมบัติทำให้ตำรับอ่อนนุ่ม ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น อาจเกิด
ออกซิเดชันทำให้ เกิดการเหม็น หืนได้ ป้องกันได้โดยเติมสารต้านออกซิเดชัน เช่น vitamin E,
butylated hydroxyanisole (BHA) เป็นต้น

ชื่อบทความ หน้า 4 จาก 15


สารชนิดอื่นๆ
Wax ชนิ ด ต่ า งๆ เช่ น microcrystalline wax, cetyl esters wax, spermaceti (ไข
ปลาวาฬ) เป็นต้น มีคุณสมบัติเพิ่มความแข็งให้ตำรับ

ตัวอย่างสูตรตำรับยาขี้ผึ้งที่ใช้ยาพื้นชนิดเป็นมัน
Sulfur ointment
Sulfur 5 g
Soft paraffin q.s. to 100 g

Methyl salicylate ointment, compound (บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547)


Methyl salicylate 25.0 ml
Hard paraffin 15.2 g
White beeswax 7.0 g
White vaseline 33.0 g
Menthol 10.0 g
Camphor 5.0 g
Peppermint oil 0.45 g
Eucalyptus oil 2.75 g
Clove oil 0.1 g
Capsicum tincture 1.5 g

2. ยาพื้นชนิดดูดน้ำได้ (Absorption หรือ absorbent ointment bases)


มีลักษณะเป็นมัน เหนียวเหนอะหนะ ปราศจากน้ำ ไม่ละลายน้ำ สามารถผสมเข้ากับน้ำ
ได้เพียงเล็กน้อยจะเกิดเป็นอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน เมื่อทาบนผิวหนังจะเกิดเป็นฟิล์มปกคลุม
ผิวหนัง แต่การเกิดฟิล์มไม่ดีเท่ายาพื้นชนิดเป็นมัน
ข้อดีของยาพื้นชนิดดูดน้ำได้
- มีความคงตัวดีทั้งทางเคมีและกายภาพ
- ป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง จึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง
- สามารถผสมกับตัวยาที่เป็นของเหลวหรืออยู่ในรูปสารละลายที่ใช้น้ำเป็นตัวทำ
ละลายได้

ชื่อบทความ หน้า 5 จาก 15


ข้อเสียของยาพื้นชนิดดูดน้ำได้
- เป็นมัน เหนียวเหนอะหนะ
- ไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นยาพื้นในตำรับที่ตัวยาสำคัญเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
หรือไม่คงตัวต่อความชื้นและน้ำ
- มีโอกาสเกิดการเหม็นหืนได้ง่าย หากมีส่วนประกอบของน้ำมันพืชหรือสัตว์

ตัวอย่างสารในตำรับยาพื้นขี้ผึ้งชนิดดูดน้ำได้
Wool fat: anhydrous lanolin
ไขแกะ เป็ น สารประกอบเอสเทอร์ ข อง cholesterol มี สี เหลื อ งถึ ง น้ ำ ตาลอ่ อ น มี
ลักษณะเป็นมัน มีจุดหลอมเหลว 36-42 C ไม่ละลายน้ำ แต่เข้ากับน้ำได้โดยจะเกิดเป็นอิมัลชัน
ชนิดน้ำในน้ำมัน มีข้อเสียคือ เหม็นหืนได้ง่าย และอาจก่อให้เกิดการแพ้ มีการพัฒนาให้อยู่ในรูป
อนุพันธ์ของไขแกะ เช่น acetylated lanolin เป็นต้น

สารชนิดอื่นๆ
cetyl alcohol (C16), stearyl alcohol (C18) และ cetostearyl alcohol (n =15-
17) เป็นสารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน คือ เป็นของแข็ง สีขาว เพิ่มความแข็งให้กับตำรับ มีจุด
หลอมเหลว 56-60 C ไม่ละลายน้ำ แต่เข้ากับน้ำได้ โดยจะเกิดเป็นอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน

ตัวอย่างสูตรตำรับยาขี้ผึ้งที่ใช้ยาพื้นชนิดดูดน้ำได้
Zinc and castor oil ointment BP
Zinc oxide, finely sifted 75 g
Castor oil 500 g
Cetostearyl alcohol 20 g
White beeswax 100 g
Arachis oil 305 g

3. ยาพื้นชนิดอิมัลชัน (Emulsion ointment bases)


แบ่ ง ออกเป็ น 2 ชนิ ด ได้ แ ก่ ยาพื้ น อิ มั ล ชั น ชนิ ด น้ ำ ในน้ ำ มั น (W/O emulsion
ointment bases) และยาพื้นอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W emulsion ointment bases)

3.1 ยาพื้นอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O emulsion ointment bases)

ชื่อบทความ หน้า 6 จาก 15


มีลักษณะเป็นมัน เหนียวหนืด ไม่ละลายน้ำ ล้างน้ำออกยาก ไม่เหมาะกับการใช้บริเวณ
ผิวหนังที่มีเส้นขน จึงควรใช้บริเวณที่มีขนน้อยหรือไม่มีขน เช่น บริเวณง่ามมือ ง่ามเท้า เป็นต้น
สามารถผสมเข้ากับน้ำในตำรับได้เล็กน้อยโดยจะเกิดเป็นอิมัลชันชนิดน้ำในน้ ำมัน มีคุณสมบัติปก
คลุมผิวหนั งจึงให้ความชุ่มชื้น แก่ผิวหนั ง อาจเกิดการระคายเคืองจากสารทำอิมัลชัน ในตำรับ
เนื่องจากมีน้ำในตำรับอาจเกิดการเจริญของเชื้อ จึงควรเติมสารกันเสียในตำรับ และอาจเกิดการ
แห้งของตำรับจึงควรเติมสารที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการระเหยของน้ำในตำรับ (humectant) เช่น
propylene glycol, glycerin, sorbital solution เป็นต้น

ตัวอย่างสูตรตำรับยาขี้ผึ้งที่ใช้ยาพื้นอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน
Sulfur ointment
Precipitated sulfur 5.0 g
White wax 7.0 g
Sodium borate 0.5 g
Rose water 18.0 g
Liquid petrolatum q.s. to 60.0 g

3.2 ยาพื้นอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W Emulsion ointment bases)


มีลั กษณะไม่ มั น เหนี ย วน้ อย ล้ างน้ ำ ออกง่าย จึ งเหมาะกับ การใช้ บ ริเวณหนั งศีรษะ
สามารถผสมเข้ากับน้ำได้โดยเกิดเป็นอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ แต่หากเติมน้ำมากเกินไปจะทำให้
ความหนืดต่ำลงมีลักษณะเป็นโลชัน อาจเกิดการระคายเคืองจากสารทำอิมัลชันในตำรับ และอาจ
เกิดปัญหาความไม่เข้ากันในตำรับหากเลือกใช้สารทำอิมัลชันที่มีประจุตรงข้ามกับตัวยาสำคัญ
เนื่องจากมีน้ำในตำรับจึงอาจเกิดการเจริญของเชื้อได้ควรเติมสารกันเสียในตำรับ และอาจเกิดการ
แห้งของตำรับจึงควรเติมสารที่มีคุณสมบัติเป็น humectant

ตัวอย่างสูตรตำรับยาขี้ผึ้งที่ใช้ยาพื้นอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ
Sulfur Ointment
Sulfur 2.0 g
Phenol 0.5 g
Cetyl alcohol 8.0 g
White wax 0.5 g
Propylene glycol 5.0 g

ชื่อบทความ หน้า 7 จาก 15


Sodium lauryl sulfate 1.0 g
Distilled water q.s. 60.0 g

ข้อดีของยาพื้นชนิดอิมัลชัน
- เหมาะกับตัวยาที่เป็นของเหลว โดยยาพื้นอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำเข้ากับตัวยา
ที่เป็นของเหลวได้ดีกว่าชนิดน้ำในน้ำมัน
- ยาพื้นชนิดน้ำมันในน้ำ สามารถดูดน้ำเหลืองจากแผลได้ดี และล้างน้ำออกง่าย
ข้อเสียของยาพื้นชนิดอิมัลชัน
- เนื่ องจากในตำรับ มี น้ ำ เป็ น ส่ ว นประกอบ จึ ง อาจเกิ ด การเจริญ เติ บ โตของ
เชื้อจุลินทรีย์ได้ จำเป็นต้องมีการเติมสารกันเสียในตำรับ
- อาจเกิดปัญหาความไม่เข้ากันระหว่างตัวยาที่มีประจุตรงข้ามกับสารทำอิมัลชัน
ที่เลือกใช้

4. ยาพื้นชนิดละลายน้ำได้ (Water soluble ointment bases)


มีลักษณะไม่มัน ไม่เหนียว ปราศจากน้ำ ละลายน้ำได้ ล้างออกง่าย ผสมเข้ากับน้ำได้
น้อยมาก หากเติมน้ำเข้าไปจะทำให้ยาพื้นมีความหนืดต่ำลง และเหลว
ข้อดีของยาพื้นชนิดละลายน้ำได้
- ไม่เหนียวเหนอะหนะ
- ล้างน้ำออกง่าย
- มีความคงตัวดี ไม่เหม็นหืน ไม่จำเป็นต้องเติมสารกันเสีย
- มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี
- สามารถปรับความหนืดของยาพื้นได้ตามความต้องการ โดยปรับเปลี่ยนสัดส่วน
ของ polyethylene glycol เนื่องจากความหนืดเปลี่ยนแปลงตามมวลโมเลกุล เช่น
Polyethylene glycol 400 800 g
Polyethylene glycol 3350 200 g
หากต้ องการเพิ่ ม ความแข็งของตำรับ ทำได้ โดยการลดปริม าณของ polyethylene
glycol 400 และเพิ่ มปริมาณของ polyethylene glycol 3350 แต่หากต้องการลดความแข็ง
ของตำรับ สามารถทำได้โดยเพิ่มปริมาณของ polyethylene glycol 400 และลดปริมาณของ
polyethylene glycol 3350
ข้อเสียของยาพื้นชนิดละลายน้ำได้

ชื่อบทความ หน้า 8 จาก 15


- ผสมเข้ากับน้ำได้น้อยมาก ประมาณ 5% ของตำรับ หากมีตัวยาสำคัญอยู่ในรูป
สารละลายในน้ำอาจทำให้ตำรับเหลว อาจแก้ไขได้โดยการเพิ่มสารที่มีคุณสมบัติดูดน้ำได้ เช่น
cetyl alcohol (ประมาณ 5%) สารลดแรงตึงผิว สารเอสเทอร์ของ PEG เป็นต้น
- ทำปฏิกิริยากับสารกันเสียบางชนิด เช่น methylparaben, propylparaben
เป็นต้น ทำให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของสารกันเสียลดลง
- ดูดความชื้นได้ ไม่เหมาะกับตัวยาที่สลายตัวด้วยความชื้น

ตัวอย่างสารในตำรับยาพื้นขี้ผึ้งชนิดละลายน้ำได้
polyethylene glycol (PEG): polyglyol, macrogol, carbowax
จุดหลอมเหลว 37-63 C มวลโมเลกุล 200-20,000 โดยมวลโมเลกุลต่างกันส่งผลต่อ
คุณสมบัติและสถานะที่แตกต่างกัน PEG มวลโมเลกุล 200-700 มีสถานะเป็นของเหลว หรือแข็ง
กึ่งเหลว มวลโมเลกุลมากกว่า 1000 มีสถานะเป็นของแข็ง มวลโมเลกุลสูงขึ้นจะมีความสามารถ
ในการละลายน้ำต่ำลง มีการดูดความชื้นและความดันไอลดลง

ตัวอย่างสูตรตำรับยาขี้ผึ้งที่ใช้ยาพื้นชนิดละลายน้ำได้
Herpes Ointment
Acyclovir 3.0 g
Lidocaine 1.8 g
PEG 1450 20.0 g
PEG 300 38.1 g
2-Ethylhexyl salicylate 1.5 g

วิธีการเตรียมยาขี้ผึ้ง
ยาขี้ผึ้งที่ดีควรมีความคงตัวทางเคมีและกายภาพ มีเนื้อเรียบเนียน ไม่หยาบ ตัวยาสำคัญ
ควรละลายหรือกระจายอย่างสม่ำเสมอในยาพื้นขี้ผึ้ง ซึ่งยาขี้ผึ้งสามารถเตรียมได้ 2 วิธี คือ การ
หลอม (fusion) และการผสมตัวยาเข้ากับยาพื้น (incorporation)

1. การเตรียมยาขี้ผึ้งโดยการหลอม (fusion)
เทคนิคการเตรียมยาขี้ผึ้งโดยใช้การหลอม
1.1 เนื่องจากสารต่างๆ ในการเตรียมตำรับยาขี้ผึ้งมีจุดหลอมเหลวต่างกัน วิธีการหลอมจึงต้อง
คำนึงถึงจุดหลอมเหลว โดยแบ่งเป็น 3 วิธีได้แก่

ชื่อบทความ หน้า 9 จาก 15


- การหลอมสารจากสารที่มีจุดหลอมเหลวสูงไปต่ำตามลำดับ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม
มาก เนื่องจากสามารถป้องกันสารได้รับความร้อนมากเกินไป หรือการสลายตัวของสารที่มีจุด
หลอมเหลวต่ำได้
- การหลอมสารพร้อมกัน มีข้อดี คือ เกิดผลของตัวทำละลายจะช่วยทำให้สารที่มีจุด
หลวมเหลวสูงหลอมเข้ากันได้เร็วขึ้น
- การหลอมสารจากสารที่มีจุดหลอมเหลวต่ำไปหาสูง เป็นวิธีที่ไม่นิ ยมใช้ เพราะอาจทำ
ให้สารได้รับความร้อนสูงเกินไปจนอาจเกิดการสลายตัวของสารที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ
1.2 ตัวยาสำคัญที่ละลายได้ในยาพื้นขี้ผึ้งและทนความร้อนได้ สามารถเติมลงในยาพื้นขี้ผึ้งที่หลอม
แล้วและอุณหภูมิเริ่มลดลงก่อนยาพื้นจะแข็งตัว
1.3 ตัวยาสำคัญที่ละลายได้ในยาพื้นขี้ผึ้งแต่สลายตัวด้วยความร้อน ให้หลอมยาพื้นเข้าด้วยกัน
ก่ อ น รอให้ ย าพื้ น เย็ น ลง จึ ง ผสมกั บ ตั ว ยาสำคั ญ ด้ ว ยวิ ธี ก ารผสมตั ว ยาเข้ า กั บ ยาพื้ น
(incorporation)
1.4 ในกรณีมีฝุ่นผงปะปน ให้นำสารผสมที่หลอมแล้วมากรองบนผ้าขาวบางขณะร้อน
1.5 หากตัวยาสำคัญหรือสารที่นำมาผสมเป็นสารที่ระเหยได้ เช่น eucalyptus oil, menthol
camphor เป็นต้น ให้เติมลงในตำรับเมื่ออุณหภูมิของสารผสมลดลงเหลือ 40-50 C
1.6 ในการเตรียมสารปริมาณมาก หรือในระดับอุตสาหกรรม ควรนำยาขี้ผึ้งที่เตรียมได้ผ่านเครื่อง
ointment mill, roller mill หรือ colloid mill จะทำให้ ตั วยาผสมเข้ากับ ยาพื้ น ได้ส ม่ ำเสมอ
และสามารถลดขนาดอนุภาคให้เล็กลงได้
1.7 การเตรียมยาขี้ผึ้งชนิดอิมัลชันจะใช้วิธีเตรียมโดยใช้บีกเกอร์ (beaker method) โดยการแบ่ง
สารตามคุณสมบัติการละลายออกเป็น 2 วัฏภาค ได้แก่ วัฏภาคน้ำและวัฎภาคน้ำมัน
- ผสมสารในวัฎภาคน้ำมันเข้าด้วยกันในบีกเกอร์ หลอมโดยให้ความร้อนจาก water
bath ที่อุณหภูมิ 70-75 C
- ผสมสารในวัฎภาคน้ำเข้าด้วยกันในบีกเกอร์ หลอมโดยให้ความร้อนจาก water bath
ที่อุณหภูมิ 70-75 C
- ผสมสารเข้าด้วยกัน นิยมเทสารในวัฎภาคน้ำลงในวัฎภาคน้ำมัน โดยเทอย่างต่อเนื่อง
และคนตลอดเวลาจน congeal
- หากมี ส ารที่ ส ลายตั วด้ วยความร้อนหรือระเหยง่าย ให้ ผ สมกับ ยาพื้ น เมื่ อยาพื้ น ลด
อุณหภูมิลงแล้ว (40 C)

ตัวอย่างตำรับยาขี้ผึ้งที่เตรียมโดยใช้วิธีหลอม

ชื่อบทความ หน้า 10 จาก


15
Strong iodine ointment
Iodine 2 g
Wool fat 20 g
Yellow soft paraffin 75 g
Potassium iodide 2 g
Purified water 1 g
วิธีทำ
1. ละลาย potassium iodide ใน น้ ำ จากนั้ น เดิ ม iodine ลงไป คน จน
สารละลายหมด
2. หลอม wool fat และ yellow soft paraffin เข้าด้วยกัน คนให้สารเข้ากัน
3. คนต่อเนื่องและรอจนอุณหภูมิลดลงที่ 40 C
4. เติมสารละลายไอโอดีนลงผสมกับสารในข้อ 3
5. คนต่อเนื่องจนสารแข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง บรรจุใส่ภาชนะบรรจุแล้วปิดฉลาก
ข้อสังเกต คือ ยาพื้นเป็นชนิดดูดน้ำ เพราะในตำรับมีน้ำเป็นส่วนประกอบจึงผสมเข้ากันได้โดยไม่
แยกชั้น ตัวยาสำคัญคือ iodine ไม่ละลายน้ำ จึงทำให้อยู่ในรูปสารประกอบเชิงซ้อน โดยนำมาทำ
ปฏิกิริยากับสารละลาย potassium iodide ในน้ำ ได้ tri-iodide complex ก่อนนำไปผสมกับ
ยาพื้น ตัวยาสำคัญระเหิดเมื่อตั้งทิ้งไว้ และเมื่ออยู่ในรูปสารละลายจะระเหยง่ายโดยความร้อน จึง
เติมสารละลายของตัวยาลงในยาพื้นเมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 40 C แล้ว

2. การผสมตัวยาเข้ากับยาพื้น (Incorporation)
การผสมตัวยาสำคัญเข้ากับยาพื้นโดยวีนี้จะใช้เมื่อเตรียมยาพื้นแล้ว ตัวยาสำคัญอาจจะ
อยู่ในรูปของแข็งไม่ละลายน้ำ ของเหลว หรือในรูปสารละลายที่เหมาะสม
เทคนิ ค การเตรีย มยาขี้ ผึ้ ง โดยใช้ ก ารผสมตั ว ยาเข้ า กั บ ยาพื้ น (Incorporation) โดย
คำนึงถึงคุณสมบัติของตัวยาสำคัญ
2.1 ตัวยาสำคัญไม่ละลายน้ำหรือยาพื้นขี้ผึ้ง จะต้องทำให้ตัวยาเป็นผงละเอียด เพื่อให้ได้ขี้ผึ้งเนื้อ
เนียน มีตัวยากระจายอยู่อย่า งสม่ำเสมอ ไม่ระคายเคืองผิวหนัง โดยใช้ levigating agent บด
ผสมกับตัวยาสำคัญจนได้ smooth paste แล้วจึงผสมกับยาพื้นโดยวิธี geometric dilution
โดยเลือก levigating agent ตามชนิดของยาพื้นขี้ผึ้งในตำรับ
- ยาพื้ น ขี้ผึ้ งชนิ ด เป็ น มัน หรือ ยาพื้ น ขี้ผึ้งชนิ ดดู ดน้ ำได้ เลื อกใช้ mineral oil,
สารจำพวกน้ำมัน เช่น น้ำมันพืชชนิดต่างๆ หรือยาพื้นขี้ผึ้งที่หลอมแล้วเป็น levigating agent

ชื่อบทความ หน้า 11 จาก


15
- ยาพื้นขี้ผึ้งชนิดอิมัลชันน้ำในน้ำมัน เลือกใช้ mineral oil, สารจำพวกน้ำมัน
เช่น น้ำมันพืชชนิดต่างๆ เป็น levigating agent
- ยาพื้ นขี้ผึ้งชนิด ละลายน้ ำได้ เลือกใช้ glycerin, propylene glycol หรือยา
พื้นขี้ผึ้งที่หลอมแล้วเป็น levigating agent
- ยาพื้ น ขี้ ผึ้ ง ชนิ ด อิ มั ล ชั น น้ ำ มั น ในน้ ำ เลื อ กใช้ glycerin หรื อ propylene
glycol เป็น levigating agent
2.2 ตัวยาสำคัญไม่ละลายน้ำหรือตัวทำละลายอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ เป็นต้น เตรียมโดยผสมตัว
ยาสำคั ญ ในตั ว ทำละลายเล็ ก น้ อ ยจนได้ smooth paste จากนั้ น จึ ง ผสมกั บ ยาพื้ น โดยวิ ธี
geometric dilution โดยต้องเลือกใช้ยาพื้นที่สามารถผสมหรือเข้ากับน้ำได้
- หากในตำรับใช้ยาพื้นชนิดเป็นมัน อาจแทนที่ยาพื้นส่วนหนึ่งด้วยยาพื้นชนิดดูด
น้ ำ ได้ ห รื อ เติ ม ส าร ที่ ดู ด น้ ำ ได้ เช่ น wool fat, cetyl alcohol, wool alcohol ห รื อ
cholesterol ประมาณ 4-5%
- หากในตำรับใช้ยาพื้นชนิดละลายน้ำได้ การเติมน้ำอาจทำให้ตำรับที่ได้เหลว
เกินไป อาจแก้ไขได้โดยการเติมสารเพิ่มความแข็งที่สามารถดูดน้ำได้ เช่น cetyl alcohol, wool
alcohol หรือ cholesterol เป็นต้น หรือแทนที่ PEG ด้วยสารลดแรงตึงผิว หรือสารเอสเทอร์
ของ PEG
2.3 ตัวยาเป็นของเหลวหรืออยู่ในรูปของเหลว เตรียมได้โดยนำตัวยามาผสมกับยาพื้นขี้ผึ้งโดยวิธี
geometric dilution
- หากในตำรับใช้ยาพื้นชนิดเป็นมัน อาจแทนที่ยาพื้นส่วนหนึ่งด้วยยาพื้นชนิดดูด
น้ ำ ได้ หรือ เติ ม สารเพิ่ ม ความแข็ งที่ ดู ด น้ ำ ได้ เช่ น wool fat, cetyl alcohol, wool alcohol
หรือ cholesterol ประมาณ 4-5%

ตัวอย่างตำรับยาขี้ผึ้งที่เตรียมโดยใช้วิธี incorporation
Bifonazole 1% and urea 40% in white petrolatum
Bifonazole 1 g
Urea 40 g
Mineral oil 1 g
White petrolatum 58 g
วิธีทำ

ชื่อบทความ หน้า 12 จาก


15
1. ผสม Bifonazole กั บ mineral oil ซึ่ ง ใช้ เ ป็ น levigating agent จน ได้
smooth paste
2. บดลดขนาด urea ด้วยโกร่งและลูกโกร่ง แล้วผสมกับ smooth paste โดยใช้
slab และ spatula
3. นำส่วนผสมที่ได้ผสมกับ white petrolatum โดยวิธี geometric dilution

สรุป
ยาขี้ผึ้งเป็นยาเตรียมกึ่งแข็งที่มีตัวยามากกว่าหรือเท่ากับ 1 ชนิด ละลายหรือกระจายอยู่
ในยาพื้นขี้ผึ้งใช้ทาภายนอกร่างกาย ยาพื้นขี้ผึ้งทางเภสัชกรรมมี 4 แบบ ได้แก่ ยาพื้นชนิดเป็น
มั น ยาพื้ น ชนิ ด ดู ด น้ ำ ได้ ยาพื้ น ชนิ ด อิ มั ล ชั น และยาพื้ น ชนิ ด ละลายน้ ำ ได้ แต่ ล ะแบบมี
ส่วนประกอบของแตกต่างกัน ส่งผลให้มีลักษณะ คุณ สมบัติ และมีวิธีการเตรียมยาขี้ผึ้งที่
แตกต่างกัน จึงควรเลือกใช้ยาพื้นแบบที่เหมาะสมในการเตรียมยาขี้ผึ้ง

เอกสารอ้างอิง
Allen, L.V., Popovich, N.G. and Ansel, H.C. 2011. Ansel’s Pharmaceutical Dosage
Forms and Drug Delivery Systems. 9th ed: Lippincott Williams & Wilkins.
Baltimore.
Lieberman, H.A., Rieger, M.M. and Banker, G.S. 2008. Pharmaceutical Dosage
Forms: Disperse Systems. Marcel Dekker. New York.
Mahato, R.I. and Narang, A.S. 2012. Pharmaceutical Dosage Forms and Drug
Delivery. 2nd ed: Boca Raton, FL: CRC Press.
British Pharmacopoeia. Volume I & Volume II. 2016. The Stationery Office Ltd.,
London.
Rowe, R.C., Sheskey, P.J. and Quinn, M.E. 2009. Handbook of Pharmaceutical
Excipients. 6 th ed: Pharmaceutical Press. London.
The United States Pharmacopeia 40 & The National Formulary 35 (USP 40-NF 35).
2017. United States Pharmacopeial Convention, Inc., Rockville.

การเปิดเผยสถานภาพของผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับบทความ
ดร.ภญ. ธิพาพรรณ พลายด้วง อาจารย์ประจำสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ชื่อบทความ หน้า 13 จาก


15
การอนุญาตให้เผยแพร่บทความทางวิชาการที่ได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องฯ บน
website ของสถาบันหลัก
 อนุญาต  ไม่อนุญาต

ชื่อบทความ หน้า 14 จาก


15
ชื่อบทความ หน้า 15 จาก 15

You might also like