You are on page 1of 11

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน
การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัด
เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีประเด็นข้อตรวจพบและข้อสังเกต
ดังนี้
ข้อตรวจพบที่ 1 การใช้ประโยชน์ระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบที่ออกแบบไว้
1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวบรวมน้ำเสียเข้าระบบได้ต่ำกว่าศักยภาพของระบบ
ทีอ่ อกแบบไว้และต่ำกว่าร้อยละ 75 ของศักยภาพของระบบในการรองรับปริมาณน้ำเสีย จากการตรวจสอบ
พบว่า ปริมาณน้ำเสียที่รวบรวมเข้าระบบเฉลี่ย /วัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2565 ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 แห่ง ต่ำกว่าร้อยละ 75 โดยคิดเป็นร้อยละ 18-46 ของศักยภาพระบบ
ตามการออกแบบ ดังนี้
(1) เทศบาลนครเชียงใหม่ ปริมาณน้ำเสียที่รวบรวมเข้าระบบ เฉลี่ย/วัน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2561-2565 เท่ากับ 15,625.75-24,036.93 ลบ.ม./วัน คิดเป็นร้อยละ 28.41-43.70 ของศักยภาพ
ของระบบตามการออกแบบ
(2) เทศบาลนครเชียงราย ปริมาณน้ำเสียที่รวบรวมเข้าระบบ เฉลี่ย/วัน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2561-2565 เท่ากับ 8,208.02-12,667.74 ลบ.ม./วัน คิดเป็นร้อยละ 30.18-46.57 ของศักยภาพ
ของระบบตามการออกแบบ
(3) เทศบาลเมืองลำพูน ปริมาณน้ำเสียที่รวบรวมเข้าระบบ เฉลี่ย/วัน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2561-2565 เท่ากับ 1,816.08-2,116.82 ลบ.ม./วัน คิดเป็นร้อยละ 18.16-21.17 ของศักยภาพ
ของระบบตามการออกแบบ
1.2 การใช้งานเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียรวมขององค์กร
ปกครองส่ว นท้ องถิ่ น ไม่ ครบถ้ว นตามองค์ ประกอบของระบบ จากการตรวจสอบระบบรวบรวม
และระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 แห่ง พบว่า มีการใช้งานเครื่องจักร
อุปกรณ์ในระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียไม่ครบองค์ประกอบของระบบตามการออกแบบ
เนื่องจากชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
ไม่สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ในระบบได้
1.3 ปัญหาการตรวจคุณภาพน้ำและการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ในการตรวจคุณภาพน้ำ จากการตรวจสอบพบว่า เทศบาลนครเชียงใหม่ และเทศบาลนครเชียงราย

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ก
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ตรวจคุณภาพน้ำครบตามจำนวนพารามิเตอร์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งสิ้น 6 พารามิเตอร์ ส่วนเทศบาล


เมืองลำพูน ตรวจคุณภาพน้ำตามพารามิเตอร์ที่กฎหมายกำหนดได้เพียง 1 พารามิเตอร์
การใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจคุณภาพน้ำ พบว่า องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่ง มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจคุณภาพน้ำซึ่งได้รับมอบ
มาพร้ อ มระบบรวบรวมและระบบบำบัด น้ ำ เสี ย รวม แต่ ม ี เ พี ย งเทศบาลนครเชี ย งราย ที ่ ใ ช้ ง าน
ห้ อ งปฏิ บ ั ต ิก ารดัง กล่า วในการตรวจคุ ณ ภาพน้ำ ของระบบรวบรวมและระบบบำบั ด น้ ำ เสียรวม
ส่วนเทศบาลนครเชียงใหม่ และเทศบาลเมืองลำพูน ไม่ได้ใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจ
คุณภาพน้ำระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้ อ ตรวจพบที ่ 2 ปั ญ หาในการบริ ห ารจั ด การระบบรวบรวมและระบบบำบั ด น้ ำ เสีย
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.1 สำนักงานจัดการน้ำเสีย สาขาเชียงใหม่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีข้อจำกัด
ด้านงบประมาณ ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์และการจัดซื้อทดแทน จากการตรวจสอบ
พบว่า สำนักงานจัดการน้ำเสีย สาขาเชียงใหม่ และเทศบาลเมืองลำพูน มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
ในการซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์และการจัดซื้อทดแทน โดยเครื่องจักรอุปกรณ์จำนวนมาก
ชำรุดอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้งานได้ ส่วนเทศบาลนครเชียงราย มีการบริหารจัดการเครื่องจักร
อุ ป กรณ์ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี แ ผนการซ่ อ มแซมบำรุ ง รั ก ษาที ่ ช ั ด เจนและได้ ร ั บ งบประมาณ
ในการจัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ทดแทน
2.2 เทศบาลเมืองลำพูน ขาดความพร้อมด้านบุคลากรในการตรวจสอบและซ่อ มแซม
บำรุงรักษาอุปกรณ์ จากการตรวจสอบ พบว่า เทศบาลเมืองลำพูน ขาดบุคลากรด้านช่างในการตรวจสอบ
ดูแลเครื่องจักร รวมทั้งการซ่อมแซมบำรุงรักษาในเบื้องต้น ส่วนเทศบาลนครเชียงใหม่ และเทศบาล
นครเชียงราย มีความพร้อมด้านบุคลากรในการตรวจสอบเครื่องจักรอุปกรณ์ และมีการตรวจสอบ
เครื่องจักรอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ โดยเทศบาลนครเชียงราย มีการบันทึกผลการปฏิบัติงานประจำวัน
แต่เทศบาลนครเชียงใหม่ ไม่มีการจัดทำบันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร
2.3 บ่อดักน้ำเสียไม่ได้รับการขุดลอกทำความสะอาด จากการตรวจสอบ พบว่า เทศบาล
นครเชีย งใหม่ ไม่มีข้อมูล ตำแหน่งของบ่อดักน้ำเสียจำนวน 25 แห่ง ส่ว นเทศบาลนครเชียงราย
และเทศบาลเมืองลำพูน ไม่มีการดำเนินการตรวจสอบและขุดลอกบ่อดักน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ข
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข้อตรวจพบที่ 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
ให้เป็นไปตามหลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” ได้ และขาดการดำเนินการเพื่อเตรียมการสำหรับ
การจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียในอนาคต
จากการตรวจสอบ พบว่ า เทศบาลนครเชี ย งใหม่ เทศบาลนครเชี ย งราย และเทศบาล
เมืองลำพูน ที่มีการให้บริการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว ยังไม่ได้จัดเก็บค่าบริการบำบัด
น้ำ เสียในปัจจุบัน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 แห่ง ขาดการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียได้ โดยที่ผ่านมาเทศบาลนครเชียงใหม่ เคยมีการดำเนินการ
ในบางขั้นตอน เช่น การรวบรวมข้อมูล การคำนวณต้นทุนให้สอดคล้องกับพื้นที่ และการจัดทำ
(ร่าง) เทศบัญญัติ เป็นต้น แต่ยังไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่องให้ครบทุกขั้นตอน ส่วนเทศบาลนครเชียงราย
และเทศบาลเมืองลำพูน พบว่า ไม่มีการดำเนินการใด ๆ เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียได้
สำหรับเทศบาลตำบลแม่สาย ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสีย
(ตรวจสอบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566) ยังไม่ได้เตรียมการเพื่อกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
และจัดทำ (ร่าง) เทศบัญญัติจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมการ
เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพน้ำและคณะกรรมการพิจารณาอัตราค่าบริการ
บำบัดน้ำเสีย
ข้อสังเกตที่ 1 รายการเครื่องจักรอุปกรณ์ งานก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัด
น้ำเสียฯ งบประมาณ 498 ล้านบาท ไม่สอดคล้องกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน
จากการตรวจสอบ พบข้อสังเกตว่า รายการจัดซื้อครุภัณฑ์ในงานก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพ
ระบบบำบัดน้ำเสียฯ บางรายการ เป็นรายการที่ไม่มีการใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย ในปัจจุบัน
ได้แก่ เครื่องเติมอากาศ และระบบเติมคลอรีน เป็นต้น และพบว่า รายการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำเสีย
ของสถานีสูบน้ำเสียบางแห่งไม่สอดคล้องกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง
ข้อสังเกตที่ 2 ระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำ เสียของเทศบาลตำบลจันจว้า ไม่ได้ใช้
ประโยชน์
จากการตรวจสอบ พบสภาพปั ญ หาการใช้ ง านระบบรวบรวมและระบบบำบั ด น้ ำ เสี ย
ของเทศบาลตำบลจันจว้า ดังนี้ 1) ระบบรวบรวมน้ำเสียครอบคลุมเฉพาะพื้นที่บริเวณสำนัก งาน
เทศบาล ไม่มีการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียจากชุมชนเพื่อรวบรวมน้ำเสียมาบำบัด 2) ปริมาณน้ำเสีย
เข้าสู่ระบบน้อยทำให้ไม่สามารถเดินระบบได้อย่างต่อเนื่อง

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ค
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข้อสังเกตที่ 3 การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน


ของหน่วยงานหลักที่กำกับควบคุมและตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ
3.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานผลการรวบรวมรายงานสรุปผลการทำงานของระบบ
บำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส.2) ของผู้ครอบครองแหล่งกำเนิ ดมลพิษทางน้ำในพื้นที่ ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
และล่าช้า
จากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่
เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลเมืองลำพูน เทศบาลตำบลจันจว้า และเทศบาลตำบลแม่สาย พบว่า
เทศบาลนครเชี ย งใหม่ เทศบาลนครเชี ย งราย เทศบาลเมื อ งลำพู น และเทศบาล ตำบลแม่ ส าย
มี ก ารรายงานผลการรวบรวมรายงานสรุ ป ผลการทำงานของระบบบำบั ด น้ ำ เสี ย (แบบ ทส.2)
ของผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และล่าช้า เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีการรายงานข้อมูลต่อสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดล่าช้า องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นบางแห่งไม่ได้บันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 บางเดือน หรือมีการบันทึกข้อมูล ในระบบฐานข้อมูล ฯ ไม่ถูกต้อง
เป็นต้น ส่วนเทศบาลตำบลจันจว้า ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลฯ
3.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษ
ที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
จากการตรวจสอบ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่
เทศบาลนครเชียงราย และเทศบาลเมืองลำพูน ไม่ได้รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษ
ที่เข้าข่ายต้องดำเนิ นการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ มีการรวบรวมและจัดทำ
ฐานข้ อ มู ล แต่ ไ ม่ ไ ด้ ส ั ง เคราะห์ เ พื ่ อ นำมาจั ด ทำเป็ น ฐานข้ อ มู ล แหล่ ง กำเนิ ด มลพิ ษ ที ่ เ ข้ า ข่ า ย
ต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ เทศบาลนครเชียงราย และเทศบาลเมืองลำพูน มีข้อมูลทะเบียน
ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิด มลพิษแยกตามความจำเป็นในการใช้งานของกอง/สำนัก แต่ไม่ได้นำมา
รวบรวมและจัดทำเป็นฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ
ข้อเสนอแนะ
1. ให้ผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสีย สาขาเชียงใหม่ เร่งดำเนินการแจ้ง องค์การจัดการ
น้ำเสีย เพื่อให้มีการปรับแก้ไขรายการครุภัณฑ์ตามโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัด
น้ำเสียฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการใช้งาน ตามข้อสังเกตที่ 1 ซึ่งพบว่ามีรายการครุภัณฑ์
ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้งานปัจจุบัน

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ง
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. ให้นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พิจารณาดำเนินการ ดังนี้


2.1 ให้คณะกรรมการกำกับโครงการการบริห ารจั ดการระบบบำบั ดน้ำเสี ย เทศบาล
นครเชียงใหม่ กำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การดำเนินงานระบบรวบรวมน้ำเสียมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับศักยภาพของระบบตามการออกแบบ ดังนี้
2.1.1 ให้สำนักงานจัดการน้ำเสีย สาขาเชียงใหม่ ติดตามความคืบหน้า กรณีการสนับสนุน
งบประมาณงานก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อสามารถ
กำหนดแนวทางการบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภ าพ
และร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ในการเตรียมความพร้อมพื้นที่ดำเนินการตามโครงการ
2.1.2 การกำหนดแผน/แนวทาง ในการเพิ่มพื้นที่ให้บริการระบบรวบรวมน้ำ เสี ย
ให้ครอบคลุมเขตพื้นที่ให้บริการ รวมทั้งเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาล ให้สามารถรวบรวมน้ำเสีย
เข้าระบบได้เพิ่มขึ้นและป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากน้ำเสียชุมชนในพื้นที่
ที่น้ำเสียไม่ถูกรวบรวมเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาล
2.2 ให้คณะกรรมการกำกับโครงการฯ พิจารณากรณีการปรับรูปแบบการดำเนินงานระบบ
บำบัดน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ (Aerated Lagoon) เป็นระบบบำบัดน้ ำเสี ย
แบบบ่อปรับ เสถีย ร (Stabilization Pond) ว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภ าพและมีความสอดคล้ อ ง
กับสถานการณ์ดำเนินงานระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสีย ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เพียงใด
และให้มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการใช้ประโยชน์เครื่องจักรอุปกรณ์กรณีการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบระบบการดำเนินงาน (เช่น เครื่องเติมอากาศ จำนวนทั้งสิ้น 56 ตัว) ทั้งนี้ รูปแบบการดำเนินงาน
ควรพิจารณาถึงความสอดคล้องกับแผนการจัดการและงบประมาณที่ได้รับสนับสนุน และคำนึงถึง
แผน/แนวทางการบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียรวมในอนาคตด้วย
2.3 ให้พิจารณาการนำผลตรวจคุณภาพน้ำมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงาน
และประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการในการตรวจคุณภาพน้ำ
เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการควบคุมคุณภาพน้ำ
2.4 ให้พิจารณาจัดวางระบบการบริหารพัสดุของระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสีย
เพื่อให้การบริหารเครื่องจักรอุปกรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านการตรวจสอบ
บำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ ดังนี้
2.4.1 กำหนดแผนและแนวทางในการติดตามสภาพการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์
เพื่อป้องกันปัญหาการบริหารจัดการเครื่องจักรอุปกรณ์ชำรุดบกพร่องไม่ได้รับการซ่อมแซมหรือจัดซื้อ
ทดแทนอย่างเหมาะสม

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จ
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2.4.2 จัดวางระบบการบันทึกผลการปฏิบัติงานและการรายงานผลการปฏิบัติงาน
ให้มีความชัดเจนสามารถติดตามตรวจสอบได้
2.4.3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ ง ได้แก่ สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอข้อมูลตำแหน่งบ่อดักน้ำเสีย (CSO) พร้อมทั้งวางแผนการตรวจสอบสภาพ
บ่อดักน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นข้อมูลในการขุดลอกทำความสะอาด
2.5 มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับโครงการฯ ดำเนินการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัด
น้ ำ เสี ย โดยพิ จ ารณานำคู ่ ม ื อ การกำหนดอั ต ราค่ า บริ ก ารบำบั ด น้ ำ เสี ย ของกรมควบคุ ม มลพิ ษ
และประกาศกรมควบคุ ม มลพิ ษ เรื ่ อ ง แนวทางการกำหนดอัต ราค่ า บริก ารบำบัด น้ำ เสียชุมชน
มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดขั้นตอน วิธีการ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็น ไปตามหลัก
วิชาการ เพื่อให้ได้รับอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม และสามารถ
นำไปประกอบการตราเทศบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียต่อไป
2.6 ควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการรับ รายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) รวบรวมรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
ที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายงานข้อมูลการรายงาน
สรุป ผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) ในระบบฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเดือน
อย่างสม่ำเสมอ
2.7 กำหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติในการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิด
มลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และดำเนินการทบทวนและปรับปรุงฐานข้อมูล
ดังกล่าวให้มคี วามถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
3. ให้นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
3.1 กรณีเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบรวบรวมน้ำเสียชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ ไม่สามารถ
ซ่อมแซมได้ ให้กำหนดแผน/แนวทาง เพื่อดำเนินการจัดซื้อทดแทนส่วนที่ชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ
โดยพิจารณาตามลำดับความสำคัญ ความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 กำหนดแผน/แนวทาง ในการเพิ่มพื้นที่ให้บริการระบบรวบรวมน้ำเสียให้ครอบคลุมเขต
พื้นที่ให้บริการ รวมทั้งเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลให้สามารถรวบรวมน้ำเสียเข้าระบบได้เพิ่มขึ้น

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ฉ
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

และป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากน้ำเสียชุมชนในพื้นที่ที่น้ำเสียไม่ถูกรวบรวม
เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาล
3.3 กำหนดแผนการตรวจสอบสภาพบ่อดักน้ำเสีย (CSO) อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นข้อมูล
ในการขุดลอกทำความสะอาด
3.4 มอบหมายหรือแต่งตั้งคณะทำงาน (ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียอย่างครอบคลุมรอบด้าน) เพื่อดำเนินการ
กำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย โดยพิจารณานำคู่มือการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
ของกรมควบคุมมลพิษ และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัด
น้ำเสียชุมชน มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดขั้นตอน วิธีการ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้ อมูล
ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อให้ได้รับอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
และสามารถนำไปประกอบการตราเทศบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียต่อไป
3.5 ควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการรับ รายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) รวบรวมรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
ที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายงานข้อมูลการรายงาน
สรุป ผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสี ย (แบบ ทส. 2) ในระบบฐานข้อมูล เพื่อการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเดือน
อย่างสม่ำเสมอ
3.6 กำหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติในการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิด
มลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และดำเนินการทบทวนและปรับปรุงฐานข้อมูล
ดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
4. ให้นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
4.1 ให้จัดทำแผนการตรวจสอบการทำงานของระบบรวบรวมน้ำเสียเป็นประจำอย่ าง
สม่ำเสมอ โดยมอบหมายบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมและการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบตามแผนงานเพื่อให้การดำเนินงานระบบรวบรวมน้ำเสียเป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพ มีการดูแลบำรุงรักษาต่อเนื่อง และสามารถแก้ไขกรณีชำรุดเสียหายได้ทันกาล
กรณีขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ เกี่ยวกับระบบรวบรวมและระบบบำบัด
น้ำเสีย ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมเพื่อดูแลการเดินระบบ และบุลากรที่มีความรู้

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ช
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ความชำนาญในการตรวจคุณภาพน้ำ ให้เร่งพิจารณากำหนดแนวทางที่มีความเป็นไปได้ในการจัดหา
บุคลากรเพื่อให้การดำเนินการของสถานีปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้ติดตามความคืบหน้า การจัดทำข้อตกลงการให้บริการรับบริหารจัดการระบบบำบัด
น้ำเสีย ระหว่างเทศบาลเมืองลำพูน และองค์การจัดการน้ำเสีย โดยศึกษาข้อบังคับขององค์การจัดการ
น้ำเสีย เกี่ยวกับการให้บริการดังกล่าวประกอบการพิจารณาการจัดทำข้อตกลง
4.3 กรณีเครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบรวบรวมน้ำเสียชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ ไม่สามารถ
ซ่ อ มแซมได้ ให้ ก ำหนดแผน/แนวทาง ในการจั ด หางบประมาณเพื ่ อ ดำเนิ น การจั ด ซื ้ อ ทดแทน
ส่วนที่ชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพโดยพิจารณาตามลำดับความสำคัญ ความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้สามารถ
รวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักวิชาการ โดยอาจขอรับคำแนะนำ
ปรึกษาจากองค์การจัดการน้ำเสีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์
ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย
4.4 กำหนดแผน/แนวทาง ในการเพิ่มพื้นที่ให้บริการระบบรวบรวมน้ำเสียให้ครอบคลุม
เขตพื้นที่ให้บริการ รวมทั้งเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาล ให้สามารถรวบรวมน้ำเสียเข้าระบบ
ได้เพิ่มขึ้นและป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากน้ำเสียชุมชนในพื้นที่ที่น้ำเสีย
ไม่ถูกรวบรวมเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาล
4.5 ให้ตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ครบทั้ง 6 พารามิเตอร์ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยเก็บตัว อย่ า งน้ ำ และวิเ คราะห์ ตัว อย่ า งน้ำ ที่ เหมาะสม
อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี (ช่วงฤดูแล้ง และฤดูฝน) ตามที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1
(เชียงใหม่) แนะนำ และควรจัดส่งบุคลากรประจำสถานีปรับปรุงคุณภาพน้ำเข้าร่วมรับการฝึกอบรม
ในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย การเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อให้การดำเนินงานระบบ
รวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั ้ ง ให้ ม ี ก ารพิ จ ารณากำหนดแนวทางเพื ่ อ ให้ ม ี ก ารใช้ ป ระโยชน์ ห ้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก าร
และเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสีย
4.6 จัดวางระบบการบันทึกผลการปฏิบัติงานและการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ มี
ความชัดเจนสามารถติดตามตรวจสอบได้
4.7 กำหนดแผนการตรวจสอบสภาพบ่อดักน้ำเสีย (CSO) อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นข้อมูล
ในการขุดลอกทำความสะอาด
4.8 มอบหมายหรือแต่งตั้งคณะทำงาน (ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียอย่างครอบคลุมรอบด้าน) เพื่อดำเนินการ
กำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย โดยพิจารณานำคู่มือการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซ
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ของกรมควบคุมมลพิษ และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง แนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัด


น้ำเสียชุมชน มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดขั้นตอน วิธีการ รวมทั้งการวิ เคราะห์ข้ อมูล
ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อให้ได้รับอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
และสามารถนำไปประกอบการตราเทศบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียต่อไป
4.9 ควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการรับ รายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) รวบรวมรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
ที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายงานข้อมูลการรายงาน
สรุป ผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) ในระบบฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเดือน
อย่างสม่ำเสมอ
4.10 กำหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติในการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิด
มลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และดำเนินการทบทวนและปรับปรุงฐานข้อมูล
ดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
5. ให้นายกเทศมนตรีตำบลจันจว้า พิจารณาดำเนินการดังนี้
5.1 จากสภาพปัญหาที่ระบบบำบัดน้ำเสียไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
ให้เดินระบบได้ และยังไม่มีการศึกษาถึงความคุ้มค่าของการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียในเขตพื้น ที่
เทศบาลเพิ่มเติม ซึง่ หากต้องการเพิ่มปริมาณน้ำเข้าสู่ระบบ อาจต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการสูง
เนื่องจากระบบท่อระบายน้ำอยู่ต่ำกว่าระบบบำบัดน้ำเสีย
รวมทั้งการพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นจะต้อง
มีการรื้อถอนเครื่องจักรอุปกรณ์ และโครงสร้างอาคารบริเวณที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งแนวปฏิบัติ
ในการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณ
จากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั้น เทศบาลตำบลจันจว้า ยังไม่ทราบ
วิธีการดำเนินการที่ชัดเจน จึงมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการ ดังนี้
5.1.1 สรุปประเด็นปัญหาในการใช้ประโยชน์ระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมทั้งพิจารณา
กำหนดแนวทางการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในอนาคต โดยคำนึงถึงความจำเป็นเหมาะสม
และความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ
การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ฌ
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

5.1.2 จัดทำหนังสือหารือสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อทราบถึงแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ต้องการยกเลิกการใช้งานระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลตำบล
จันจว้า เพื่อนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อื่น
5.2 ควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการรับ รายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) รวบรวมรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
ที่มีอำนาจในเขตท้องถิน่ นั้น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
5.3 มอบหมายเจ้าหน้าที่เพื่อรับผิดชอบการดำเนินการบันทึกข้อมูลการรายงานข้ อมูล
การรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) ในระบบฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 โดยนำคู่มือการรายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียหรือการรายงานแบบ ทส. 2 ทางอิเล็กทรอนิกส์ (เจ้าพนักงาน
ท้องถิ่น) ของกรมควบคุมมลพิษมาปฏิบัติตาม พร้อมทั้งควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้เจ้าหน้าที่
ดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลฯ ดังกล่าว ให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ
5.4 กำหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติในการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิด
มลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และดำเนินการทบทวนและปรับปรุงฐานข้อมูล
ดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
6. ให้นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย พิจารณาดำเนินการดังนี้
6.1 มอบหมายหรือแต่งตั้งคณะทำงาน (ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียอย่างครอบคลุมรอบด้าน) เพื่อดำเนินการ
กำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย โดยพิจารณานำคู่มือการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสีย
ของกรมควบคุมมลพิษ และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการบำบัด
น้ำเสียชุมชน มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดขั้นตอน วิธีการ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล
ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อให้ได้รับอัตราค่าบริการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
และสามารถนำไปประกอบการตราเทศบัญญัติเพื่อจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียต่อไป
6.2 ควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการรับ รายงานสรุปผล
การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส. 2) รวบรวมรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ญ
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรายงานข้อมูลการรายงาน


สรุป ผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสี ย (แบบ ทส. 2) ในระบบฐานข้อมูล เพื่อการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเดือน
อย่างสม่ำเสมอ
6.3 กำหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติในการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิด
มลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และดำเนินการทบทวนและปรับปรุงฐานข้อมูล
ดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

การบริหารจัดการระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ฎ
เชียงราย และลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

You might also like