You are on page 1of 2

จากปั จจัยทางสังคมข้างต้นส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้ภาษา

ของชายและหญิง โดยมี 4 ด้านหลักที่สะท้อนอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ ความ


ลังเลในการใช้ภาษา การใช้คำหยาบ ระดับการใช้เสียง ความสามารถการใช้
ภาษาในแต่ละด้าน
จากงานวิจัยของ วรวรรณ เฟื่ องขจรศักดิ์ (2560) พบว่าความลังเลใน
การใช้ภาษาพบว่าผู้หญิงมีความลังเลในการใช้ถ้อยคำมากกว่าผู้ชาย เช่นคำ
ว่า ผู้หญิงจะใช้คำว่า “เหมือน” มากกว่าผู้ชาย เพื่อลดระดับความเกี่ยวข้อง
กับเนื้อหา ไม่ให้มีความเที่ยงตรงหรือคุกคามมากเกินไป สะท้อนถึงการให้
ความร่วมมือกันในการสนทนา ในขณะที่ผู้ชายใช้คำนี้น้อยมากที่สุดแต่จะ
นิยมใช้คำว่า “รู้สึกว่า” หรือ “คิดว่า” มากกว่าผู้หญิงเพื่อลดระดับความ
คุกคามของภาษา แต่เพียงแค่ใช้ในคำที่แตกต่างจากผู้หญิง การที่ผู้หญิงใช้คำ
ลังเลมากกว่าผู้ชายสะท้อนถึงตระหนักรู้การใช้ภาษาและการให้ความร่วมมือ
กันในการสนทนา ในขณะที่ผู้ชายตระหนักถึงการใช้ภาษาของตนและ
ตระหนักถึงผู้ฟั งน้อยกว่าผู้หญิง

การใช้คำหยาบจากการศึกษาของ Bailey and Timm, (1976) และ


McEnery, (2005) นั้นสรุปได้ว่าผู้ชายใช้คำหยาบที่รุนแรงและมากกว่าผู้
หญิง ในขณะที่ผู้หญิงจะใช้คำหยาบก็ต่อเมื่อช่วงที่มีอารมณ์โกรธ ซึ่ง
สอดคล้องกับ (Tooby and Cosmides, 1988, Wrangham and
Peterson, 1996, Brown, 1991, Goldstein, 2003, McDonald et al.,
2012, Navarrete et al., 2010) ที่กล่าวว่าสมองของผู้ชายและด้านจิตใจมี
แนวโน้มที่จะสร้างพฤติกรรมกร้าวร้าวมากกว่าผู้หญิง รวมไปถึงแนวคิดชาย
เป็ นใหญ่ที่ทำให้ผู้ชายมีอำนาจและอิสรภาพในการใช้คำและการกระทำ
มากกว่าผู้หญิงจึงทำให้ผู้หญิงถูกจำกัดในการมีอิสรภาพทางการใช้ภาษาและ
การกระทำ

ระดับการใช้เสียง
อีกทั้งงานวิจัยยังกล่าวว่าผู้ชายมีแนวโน้มการใช้เสียงที่ดังกว่าเพื่อแสดงถึง
การมีอำนาจและอิสรภาพของการพูด

ความสามารถการใช้ภาษาในแต่ละด้าน
เพศชายมีความสามารถอธิบายสิ่งที่เป็ นรูปธรรมและนามธรรมมากกว่าเพศ
หญิงในด้านการใช้คำศัพท์ และการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังประเด็นอื่นในขณะ
ที่เพศหญิงมักมุ่งเน้นพรรณนาถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับ
งานของ Tannen (2001)ที่พบว่าผู้หญิงสามารถคุยเรื่องหนึ่งในระยะเวลายาว
ได้ (Rapport talk) ในขณะที่ผู้ชายจะไม่ค่อยชอบเป็ นผู้ฟั งนัก โดยไม่ให้ความ
ส าคัญกับผู้ที่พูด ผู้ชายจะพูดกระโดดข้ามไปคุยเรื่องนั้นเรื่องนี้เสมอ

You might also like