You are on page 1of 409

โครงการศึกษาความเป็นไปได้

ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รายงานฉบับสุดท้าย

มกราคม 2555

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญ
หน้ า
บทที่ 1 บทนํา 1-1
1.1 ความเป็ นมาและความสําคัญ 1-1
1.2 วัตถุประสงค์ 1-2
1.3 เป้ าหมาย 1-3
1.4 ขอบเขตการศึกษาและแนวทางการดําเนินงาน 1-3
1.5 ระยะเวลาการดําเนินงาน 1-4

บทที่ 2 แนวคิดและวิธีการดําเนินงาน 2-1


2.1 แนวความคิด 2-1
2.2 วิธีการดําเนินงาน 2-2

บทที่ 3 การศึกษาข้อมูลเกีย่ วก ับการผลิตเอทานอล 3-1


3.1 การผลิตเอทานอลจากอ้อยและกากนํ้าตาล 3-3
3.2 การผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง 3-17
3.3 การผลิตเอทานอลจากข้าวโพด 3-31
3.4 การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส 3-41

บทที่ 4 การคัดเลือกวัสดุที่ใช้เป็ นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส 4-1


4.1 ศึกษาวัสดุที่จะนํามาใช้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส 4-1
4.2 การคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมในการนํามาใช้เป็ นวัตถุดิบในการวิจยั 4-34

บทที่ 5 การศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในการเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา และขนส่งวัตถุดิบ 5-1


5.1 ฟางข้าว 5-1
5.2 ซังข้าวโพด 5-16
5.3 ชานอ้อย 5-26
5.4 ผลการศึกษากระบวนการที่เหมาะสมด้านปริ มาณ การเก็บเกีย่ ว 5-38
เก็บรักษา และการขนส่งวัตถุดิบ
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญ (ต่ อ)
หน้ า
บทที่ 6 การศึกษากระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส 6-1
6.1 กระบวนการผลิต เอทานอลจากลิกโนเซลลูโลส 6-1
6.2 การเปรี ยบเทียบกระบวนการผลิต เอทานอลจากลิกโนเซลลูโลส 6-51

บทที่ 7 การศึกษาวิจยั การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส 7-1


7.1 แผนการวิจยั 7-1
7.2 เครื่ องมือ วัสดุอุปกรณ์ เคมีภณั ฑ์ และสูตรอาหารสําหรับเชื้อจุลินทรี ยใ์ นการหมัก 7-4
7.3 ขั้นตอนการดําเนินการทดลอง 7-14
7.4 การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ 7-21
7.5 ผลการศึกษาวิจยั 7-22

บทที่ 8 การศึกษาการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสในเชิงพาณิ ชย์ 8-1


8.1 การวิเคราะห์ดา้ นการตลาด 8-1
8.2 การวิเคราะห์ดา้ นเทคนิค 8-10
8.3 การวิเคราะห์ดา้ นการบริ หาร 8-19
8.4 การวิเคราะห์ดา้ นเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการลงทุน 8-21
8.5 ข้อเสนอแนะมาตรการด้านนโยบายที่รัฐควรส่งเสริ มและสนับสนุน 8-36

อภิธานศัพท์
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก ก รายละเอียดการศึกษาวิจยั การผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส
ภาคผนวก ข ตารางวิเคราะห์ดา้ นเศรษฐศาสตร์และการเงิน
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้ า

ตารางที่ 3.2-1 สมบัติทางกายภาพ เคมี และความอุดมสมบู รณ์ของดินชุดดินสําคัญที่นิยมใช้ 3-21


ปลูกมันสําปะหลังในภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อ และภาคตะวันออกของ
ประเทศไทย
ตารางที่ 3.2-2 ตัวอย่างเทคโนโลยีต่างๆที่ใช้สาํ หรับการผลิต เอทานอล 3-27
ตารางที่ 3.2-3 กระบวนการผลิต เอทานอลจากวัตถุดิบมันเส้นและกากนํ้าตาล 3-28
ตารางที่ 3.2-4 สรุ ปสถานภาพการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลังในรู ปมันเส้นและ 3-29
กากนํ้าตาล
ตารางที่ 3.4-1 องค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลสในชีวมวลต่างๆ 3-41
ตารางที่ 4.1-1 ศักยภาพพลังงานเหลือทิ้งจากพืชชีวมวลของประเทศไทยปี 2551 4-2
ตารางที่ 4.1-2 องค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลสในชีวมวลต่างๆ 4-3
ตารางที่ 4.1-3 ปริ มาณผลผลิตอ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 4-5
ตารางที่ 4.1-4 ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 4-11
ตารางที่ 4.1-5 ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 4-17
ตารางที่ 4.1-6 ปริ มาณผลผลิตปาล์มนํ้า มัน และต้นปาล์มเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 4-24
ตารางที่ 4.1-7 ปริ มาณผลผลิต มันสําปะหลัง และเหง้า มันเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 4-28
2552
ตารางที่ 4.1-8 นํ้าหนักยอดใบ ลําต้น เหง้า และหัวมันสําปะหลัง จําแนกตามช่วงอายุ 4-31
ตารางที่ 4.2-1 เกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมของวัตถุดิบ 4-35
ตารางที่ 4.2-2 สรุ ปผลคะแนนการคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสม 4-37
ตารางที่ 4.2-3 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวัตถุดิบที่นาํ มาทดลอง 4-40
ตารางที่ 4.2-4 คะแนนการคัดเลือกตามเกณฑ์ปริ มาณเซลลูโลส 4-41
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญตาราง (ต่ อ)

ตารางที่ หน้ า

ตารางที่ 4.2-5 คะแนนการคัดเลือกตามเกณฑ์กระบวนการผลิต 4-41


ตารางที่ 4.2-6 คะแนนการคัดเลือกตามเกณฑ์กระบวนการผลิต 4-42
ตารางที่ 4.2-7 สรุ ปผลคะแนนการคัดเลือกวัตถุดิบที่นาํ มาใช้ในการทดลอง 4-42
ตารางที่ 5.1-1 ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 5-5
ตารางที่ 5.2-1 ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 5-19
ตารางที่ 5.3-1 ปริ มาณผลผลิตอ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552 5-30
ตารางที่ 5.4-1 สรุ ปปริ มาณผลผลิตชีวมวลทั้งประเทศปี 2552 5-38
ตารางที่ 6.1-1 ข้อดีและข้อเสี ยในการย่อยด้วยเอนไซม์ 6-14
ตารางที่ 6.1-2 ข้อดีและข้อเสี ยของการหมักแบบกะ 6-17
ตารางที่ 6.1-3 ข้อดีและข้อเสี ยของการหมักแบบต่อเนื่ อง 6-18
ตารางที่ 6.1-4 ข้อดีและข้อเสี ยของการหมักแบบกึง่ กะ 6-19
ตารางที่ 6.1-5 อิทธิพลของออกซิเจนที่มีต่ อการหมักของ Zymomonas mobilis 6-25
ตารางที่ 6.1-6 ปฏิกริ ิ ยาการเผาไหม้พ้ืนฐาน 6-29
ตารางที่ 6.1-7 แสดง Major Independent & Dependent Gasifier Characteristics 6-34
ตารางที่ 6.1-8 ภาวะการทํางานของเครื่ องแก๊สซิ ฟายเออร์ 6-35
ตารางที่ 6.1-9 แสดงลักษณะการดําเนิ นการของ Moving bed gasifiers โดยใช้ Bituminous 6-37
coals มีการป้ อนไอนํ้าและออกซิเจน หรื ออากาศ
ตารางที่ 6.1-10 แสดงชนิดขององค์ประกอบของผลิตภัณฑ์แ ก๊ส*เป็ นร้อยละโดยโมล+ จาก 6-38
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ของ Bituminous coals ใน Moving bed gasifier
ก ับไอนํ้าและออกซิเจนหรื ออากาศ
ตารางที่ 6.1-11 สัดส่วนองค์ประกอบของธาตุที่อยูใ่ นสารชีว มวลที่เหลือในประเทศไทย 6-45
ตารางที่ 6.1-12 ร้อยละโดยนํ้าหนักขององค์ประกอบทางเคมีของสารชีว มวลบางชนิด 6-46
ตารางที่ 6.1-13 การนําไปใช้ข องแก๊สผลิต ภัณฑ์ 6-49
ตารางที่ 6.2-1 ข้อดีและข้อเสี ยของ Gasification และ Cellulolysis 6-52
ตารางที่ 6.2-2 การเปรี ยบเทียบเทคโนโลยีการผลิตระหว่าง Cellulolysis และ Gasification 6-53
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญตาราง (ต่ อ)

ตารางที่ หน้ า

ตารางที่ 7.4-1 พารามิเตอร์และวิธีที่ทาํ การวิเคราะห์ 7-21


ตารางที่ 7.5-1 องค์ประกอบของชีวมวล 7-22
ตารางที่ 7.5-2 สภาวะการปรับสภาพที่ เหมาะสมสําหรับวัสดุชีวมวลแต่ละชนิด 7-33
ตารางที่ 7.5-3 สภาวะการย่อยสลายเซลลูโลสที่ เหมาะสมสําหรับชีวมวลแต่ละชนิด 7-39
ตารางที่ 7.5-4 ปริ มาณเอทานอลที่ ได้จากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์ข องชีวมวลแต่ละชนิด 7-44
ตารางที่ 7.5-5 เปรี ยบเที ยบผลการผลิตเอทานอลที่ได้จากการย่อยสลายและหมักเซลลูโลสที่ ใช้ใน 7-48
งานวิจยั นี้ก ับงานวิจยั อื่นๆ
ตารางที่ 7.5-6 เปรี ยบเที ยบผลการผลิตเอทานอลที่ได้จากการย่อยสลายและหมักเซลลูโลสอื่นๆ 7-50
ในงานวิจยั อื่น
ตารางที่ 8.1-1 ผูป้ ระกอบการที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็ นเชื้ อเพลิง 8-5
ตารางที่ 8.2-1 สรุ ปปริ มาณผลผลิตชีวมวลทั้งประเทศปี 2552 8-10
ตารางที่ 8.2-2 สภาวะการปรับสภาพที่ เหมาะสมสําหรับวัสดุชีวมวลแต่ละชนิด 8-11
ตารางที่ 8.2-3 สภาวะการย่อยสลายเซลลูโลสที่เหมาะสมสําหรับชีวมวลแต่ละชนิด 8-12
ตารางที่ 8.2-4 ปริ มาณเอทานอลที่ได้จากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์ของชีวมวลแต่ละชนิด 8-12
ตารางที่ 8.2-5 ประมาณการความต้องการวัตถุดิบต่อปี ของโครงการ 8-18
ตารางที่ 8.2-6 ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสในชีวมวลแต่ละชนิด 8-18
ตารางที่ 8.2-7 แสดงการผลิตก๊าซชีวภาพจากเอทานอล 8-19
ตารางที่ 8.3-1 แสดงจํานวนบุคลากรและเงินเดือน 8-20
ตารางที่ 8.4-1 ค่าลงทุนของโครงการ กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ 8-27
ตารางที่ 8.4-2 ค่าลงทุนของโครงการ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ 8-28
ตารางที่ 8.4-3 ค่าลงทุนของโครงการ กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ 8-29
ตารางที่ 8.4-4 มูลค่าผลประโยชน์ของโครงการที่การผลิตระดับต่างๆ 8-30
ตารางที่ 8.4-5 ผลการวิเคราะห์ความคุม้ ค่าในการลงทุ นโครงการ กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ 8-33
ตารางที่ 8.4-6 ผลการวิเคราะห์ความคุม้ ค่าในการลงทุ นโครงการ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ 8-34
ตารางที่ 8.4-7 ผลการวิเคราะห์ความคุม้ ค่าในการลงทุ นโครงการ กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ 8-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญรูปภาพ

รูปที่ หน้ า

รู ปที่ 2.1 ขั้นตอนการดําเนินโครงการ 2-4


รู ปที่ 2.2 แผนผังขั้นตอนการดําเนินการวิจยั 2-9
รู ปที่ 3.1-1 ภาพรวมของกระบวนการผลิตเอทานอล 3-11
รู ปที่ 3.1-2 กระบวนการเตรี ยมวัตถุดิบ (เทียบก ับ 1 ตันผลิต ภัณฑ์) 3-11
รู ปที่ 3.1-3 กระบวนการหมักเอทานอล (เทียบก ับ 1 ตันผลิต ภัณฑ์) 3-12
รู ปที่ 3.1-4 กระบวน Vaccum Distillation and Dehydration (เทียบก ับ 1 ตันผลิตภัณฑ์) 3-13
รู ปที่ 3.1-5 สรุ ปภาพรวมกระบวนการผลิต เอทานอล 3-15
รู ปที่ 3.1-6 สรุ ปภาพรวมของเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลเป็ นเชื้ อเพลิง 3-16
รู ปที่ 3.2-1 ลักษณะต้นและรากของมันสําปะหลัง 3-17
รู ปที่ 3.2-2 ลักษณะหัวของต้นมันสําปะหลัง 3-18
รู ปที่ 3.2-3 การทํามันเส้น 3-22
รู ปที่ 3.2-4 กระบวนการผลิต เอทานอลจากมันสําปะหลัง 3-25
รู ปที่ 3.2-5 กรรมวิธีผลิตเอทานอลจากมันเส้น 3-26
รู ปที่ 3.2-6 สมดุ ลมวลจากการผลิตเอทานอลจากมันเส้น 3-30
รู ปที่ 3.3-1 กระบวนการผลิต เอทานอลจากข้าวโพด 3-40
รู ปที่ 3.4-1 (ก) ส่ว นประกอบภายในชีวมวล 3-42
และ (ข) องค์ประกอบภายในผนังเซลล์พืชแยกตามส่วนต่างๆ
รู ปที่ 3.4-2 (ก) โครงสร้างโมเลกุลของเซลลูโลส 3-43
และ (ข) ลักษณะการจัดเรี ยงตัวของโมเลกุลกลูโคสในเซลลูโลส
รู ปที่ 3.4-3 (ก) กลุ่มไมโครไฟบริ ลที่ เรี ยงตัวขนานก ันด้วยพันธะไฮโดรเจน 3-44
และ (ข) ภาพตัดตามยาวของไมโครไฟบริ ล
รู ปที่ 3.4-4 โครงสร้างเซลลูโลสที่ พบในผนังเซลล์ข องพืชทัว่ ไป 3-44
รู ปที่ 3.4-5 ผนังเซลล์ของพืชเมื่อเซลล์เริ่ มแก่ 3-45
รู ปที่ 3.4-6 โครงสร้างโมเลกุลของเฮมิเซลลูโลส 3-46
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญรูปภาพ (ต่ อ)

รูปที่ หน้ า

รู ปที่ 3.4-7 โครงสร้างโมเลกุลของลิกนิ น 3-47


รู ปที่ 4.1-1 ชานอ้อย 4-5
รู ปที่ 4.1-2 กระบวนการผลิต นํ้าตาลจากอ้อย 4-9
รู ปที่ 4.1-3 (ก) ฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยเครื่ องจักร และ (ข) ฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยแรงคน 4-11
รู ปที่ 4.1-4 วัสดุองค์ประกอบและการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของข้าว 4-16
รู ปที่ 4.1-5 ซังข้าวโพด 4-17
รู ปที่ 4.1-6 กระบวนการผลิต อาหารสัตว์ 4-22
รู ปที่ 4.1-7 ต้นปาล์มนํ้ามัน 4-23
รู ปที่ 4.1-8 แนวทางการใช้ประโยชน์ตน้ ปาล์มนํ้ามัน 4-26
รู ปที่ 4.1-9 (ก) เหง้ามันจากแปลงปลูก และ (ข) เหง้ามันจากลานมัน 4-27
รู ปที่ 4.1-10 วัสดุองค์ประกอบและการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆจากมันสําปะหลัง 4-33
รู ปที่ 5.1-1 การเก็บรวบรวมฟางข้าวในนา 5-2
รู ปที่ 5.1-2 พื้นที่ เพาะปลูกข้าว 5-4
รู ปที่ 5.1-3 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วข้าวด้วยเครื่ องจักร 5-9
รู ปที่ 5.1-4 เครื่ องเกีย่ วนวดข้าว 5-9
รู ปที่ 5.1-5 เครื่ องเกีย่ ววางราย 5-11
รู ปที่ 5.1-6 เครื่ องเกีย่ วข้าวแบบมัดฟ่ อน 5-12
รู ปที่ 5.1-7 การเกีย่ วข้าวด้วยเคียว 5-12
รู ปที่ 5.1-8 การเกีย่ วข้าวด้วยแกะ 5-13
รู ปที่ 5.1-9 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วข้าว 5-13
รู ปที่ 5.1-10 เครื่ องอัด ฟางข้าว 5-14
รู ปที่ 5.2-1 ข้าวโพดและซังข้าวโพด 5-16
รู ปที่ 5.2-2 พื้นที่ เพาะปลูกข้าวโพด 5-18
รู ปที่ 5.2-3 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วข้าวโพด 5-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญรูปภาพ (ต่ อ)

รูปที่ หน้ า

รู ปที่ 5.2-4 เครื่ องเกีย่ วนวดข้าวโพด 5-22


รู ปที่ 5.2-5 เครื่ องปลิด ฝักข้าวโพด 5-23
รู ปที่ 5.2-6 การตากฝั กข้าวโพด 5-23
รู ปที่ 5.2-7 การเก็บข้าวโพดในยุง้ ฉาง 5-24
รู ปที่ 5.2-8 เครื่ องกะเทาะเมล็ดข้าวโพด 5-24
รู ปที่ 5.3-1 ชานอ้อย 5-27
รู ปที่ 5.3-2 พื้นที่ เพาะปลูกอ้อย 5-29
รู ปที่ 5.3-3 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วอ้อย 5-32
รู ปที่ 5.3-4 รถตัดอ้อย 5-33
รู ปที่ 5.3-5 การเก็บเกีย่ วด้วยแรงคน 5-34
รู ปที่ 5.3-6 กระบวนการผลิตที่ กอ่ ให้เกิดชานอ้อย 5-36
รู ปที่ 6.1-1 กระบวนการผลิต เอทานอลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 6-3
รู ปที่ 6.1-2 วิธีการปรับสภาพวัต ถุดิบ 6-5
รู ปที่ 6.1-3 การทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส 6-10
รู ปที่ 6.1-4 กลไกการทํางานและตําแหน่งที่เอนไซม์ชนิดต่างๆเข้าทําปฏิกริ ิ ยา 6-11
รู ปที่ 6.1-5 การย่อยและการยับยัง้ การทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส 6-12
รู ปที่ 6.1-6 (ก) Entner-Doudoroff pathway และ (ข) Emboden-Meyerhof-Parns 6-22
pathway
รู ปที่ 6.1-7 ลําดับขั้นการเปลี่ยนแปลงการเกิดปฏิกริ ิ ยาแก๊สซิฟิเคชัน่ 6-28
รู ปที่ 6.1-8 ปฏิกริ ิ ยาและการเกิดแก๊สผลิตภัณฑ์ในแต่ละลําดับขั้นการเปลี่ยนแปลง 6-30
รู ปที่ 6.1-9 Fluidised Bed Gasifier 6-40
รู ปที่ 6.1-10 Entraned-Flow Gasifier 6-41
รู ปที่ 6.1-11 กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ 6-42
รู ปที่ 6.1-12 สัดส่วนองค์ประกอบต่างๆของสารชีวมวล 6-44
รู ปที่ 6.1-13 กลไกการเกิดปฏิกริ ิ ยาไพโรไลซิส 6-47
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญรูปภาพ (ต่ อ)

รูปที่ หน้ า

รู ปที่ 6.1-14 ระบบปฏิกริ ิ ยาออกซิเดชัน่ 6-48


รู ปที่ 6.1-15 ระบบปฏิกริ ิ ยารี ดกั ชั่น 6-48
รู ปที่ 6.1-16 ผลิตภัณฑ์ข้ นั ต้นที่ได้จากการใช้แก๊สสังเคราะห์เป็ นวัตถุดิบ 6-50
รู ปที่ 7.1-1 ขั้นตอนการดําเนินการวิจยั 7-3
รู ปที่ 7.2-1 เครื่ องบดละเอียด (Milling machine) 7-5
รู ปที่ 7.2-2 เครื่ องคัดแยกขนาด (Seive) 7-5
รู ปที่ 7.2-3 เครื่ องเขย่าสาร (Shaker) 7-6
รู ปที่ 7.2-4 เตาอบความร้อนสูง (Hot air oven) 7-6
รู ปที่ 7.2-5 เครื่ องวัดความเป็ นกรดด่าง (pH meter) 7-7
รู ปที่ 7.2-6 เครื่ องชัง่ ไฟฟ้ า 4 ตําแหน่ง (Analytical balance) 7-7
รู ปที่ 7.2-7 เครื่ องกวนสาร (Magnetic stirrer) 7-8
รู ปที่ 7.2-8 อ่างนํ้าควบคุมอุณหภูมิ (Water bath) 7-8
รู ปที่ 7.2-9 สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer) 7-9
รู ปที่ 7.2-10 หม้อนึ่งความดันไอ (Autoclave) 7-9
รู ปที่ 7.2-11 ตูถ้ ่ายเชื้อ (Laminar flow) 7-10
รู ปที่ 7.2-12 เครื่ องเขย่าควบคุมอุณหภูมิ (Shaking incubator) 7-10
รู ปที่ 7.2-13 เครื่ องปั่ นเหวี่ยงควบคุมอุณหภูมิ (Refrigerated centrifuge) 7-11
รู ปที่ 7.2-14 เครื่ อง Gas chromatography รุ่ น GC-2010A 7-11
รู ปที่ 7.2-15 เครื่ องเขย่าสาร (Vortex) 7-12
รู ปที่ 7.2-16 กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) 7-12
รู ปที่ 7.2-17 ไมโครปิ เปต (Micropipette) 7-13
รู ปที่ 7.3-1 การทดลองการปรับสภาพชีว มวลด้วยสารละลายกรดอ่อนและด่างอ่อน 7-15
รู ปที่ 7.3-2 การทดลองการปรับสภาพชีว มวลด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 7-16
และกรดซัลฟุริกร่ ว มก ับการให้ความร้อน
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญรูปภาพ (ต่ อ)

รูปที่ หน้ า

รู ปที่ 7.3-3 การทดลองการย่อยสลายเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เซลลูเลส 7-17


รู ปที่ 7.3-4 การทดลองหมักเอทานอลด้วย Zymomonas mobillis 7-19
รู ปที่ 7.5-1 องค์ประกอบของฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี 7-24
รู ปที่ 7.5-2 องค์ประกอบของชานอ้อยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี 7-25
รู ปที่ 7.5-3 องค์ประกอบของซังข้าวโพดที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี 7-26
รู ปที่ 7.5-4 องค์ประกอบของฟางข้าวที่ถูกปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอก 7-28
ไซด์ความเข้มข้น 2 % ร่ วมก ับการให้ความร้อนที่ อุณหภูมิต่างๆ
รู ปที่ 7.5-5 องค์ประกอบของชานอ้อยที่ถูกปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอก 7-29
ไซด์ความเข้มข้น 2% ร่ ว มก ับการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ
รู ปที่ 7.5-6 องค์ประกอบของซังข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอก 7-30
ไซด์ความเข้มข้น 2% ร่ ว มก ับการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ
รู ปที่ 7.5-7 องค์ประกอบของซังข้าวโพดที่ปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีร่ว มก ับการให้ความ 7-32
ร้อนที่ อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส ที่ เวลาตั้งแต่ 5-20 นาที
รู ปที่ 7.5-8 ผลของความเป็ นกรดด่างต่อปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลาย 7-35
เซลลูโลสในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด
รู ปที่ 7.5-9 ผลของความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลสต่ อการย่อยสลายเซลลูโลส 7-36
ในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด
รู ปที่ 7.5-10 ผลของเวลาการทําปฏิกริ ิ ยาต่อการผลิตนํ้าตาลรี ดิวซ์ 7-38
จากฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด
รู ปที่ 7.5-11 การเจริ ญเติบโตของเชื้ อ Zymomonas mobilis 7-40
รู ปที่ 7.5-12 ปริ มาณเอทานอลจากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์จากฟางข้าว 7-41
รู ปที่ 7.5-13 ปริ มาณเอทานอลจากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์จากชานอ้อย 7-42
รู ปที่ 7.5-14 ปริ มาณเอทานอลจากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์จากซังข้าวโพด 7-43
รู ปที่ 8.1-1 สัดส่วนการใช้เอทานอลในด้านต่างๆ 8-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์
รายงานฉบับสุดท้าย

สารบัญรูปภาพ (ต่ อ)

รูปที่ หน้ า

รู ปที่ 8.1-2 ห่ วงโซ่อุปทานของเอทานอล 8-4


รู ปที่ 8.1-3 ปริ มาณการจําหน่ายผลิตภัณฑ์แ ก๊สโซฮอล์ 8-6
รู ปที่ 8.1-4 สัดส่วนการผลิต เอทานอลของประเทศต่างๆ 8-7
รู ปที่ 8.2-1 การผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสในฟางข้าว 8-13
รู ปที่ 8.2-2 การผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสในชานอ้อย 8-14
รู ปที่ 8.2-3 การผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสในซังข้าวโพด 8-15
รู ปที่ 8.2-4 เครื่ องผสม 8-16
รู ปที่ 8.2-5 ถังหมัก 8-16
รู ปที่ 8.2-6 หอกลัน่ 8-17
รู ปที่ 8.2-7 เครื่ องดูดความชื้น 8-17
รู ปที่ 8.3-1 แผนผังองค์กร 8-20
รู ปที่ 8.5-1 แผนพัฒนาการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส (ปี 2555-2565) 8-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 1
บทนํา

1.1 ความเป็ นมาและความสําคัญ

ปั จจุบนั พลังงานเป็ นปั จจัยหนึ่ งที่ สํา คัญต่ อการผลิต ในภาคธุ รกิจ และอุต สาหกรรมซึ่ งการ
จัดหาพลังงานให้มีปริ มาณเพียงพอและราคาที่เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกบั ความต้องการเป็ นสิ่ ง
ที่ ค วรจะกระทํา อย่า งยิ่งโดยเฉพาะจากแหล่งพลังงานภายในประเทศ แต่ ที่ผ่า นมายังมีการจัด หา
พลังงานจากแหล่งภายในประเทศได้ไม่เพียงพอกบั ความต้องการ ทํา ให้ต ้องพึ่งพาแหล่งพลังงาน
จากต่างประเทศกว่าร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานเชิงพาณิ ชย์ท้ งั หมด ดังนั้น เพื่อให้มน่ั ใจว่า
ในอนาคตประเทศไทยจะยังมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงต่อความต้องการ จึงได้มีแนวทางหนึ่ งเกิด ขึ้ น
คือ การพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศ ซึ่งแหล่งพลังงานนั้นควรที่ จ ะมีราคาถูกและมีปริ มาณ
มากเพียงพอตลอดไป โดยแหล่งพลังงานหมุนเวียนจากชี ว มวลเป็ นแหล่งพลังงานหนึ่ งที่ มีค วาม
เป็ นไปได้สูง เนื่องจากหาได้ง่าย ราคาถูก และยังมีสารอาหารบางอย่างเหลืออยู่ในปริ มาณที่ น่า จะนํา
กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ดังนั้นการศึกษาศักยภาพของพลังงานชนิ ด นี้ จึ งควรทํา อย่า งเร่ งด่ ว น เพื่อ
เป็ นการลดความเสี่ยงต่อการพึ่งพาพลังงานเชิงพาณิ ชย์ประเภทฟอสซิลจากต่างประเทศที่ นับวันจะมี
ราคาสูง และหายากยิง่ ขึ้น (ธเนศ และคณะ, 2550) ซึ่งหนึ่งในพลังงานที่ สามารถผลิต ได้จ ากชี ว มวล
ที่ทวั่ โลกก ําลังให้ความสนใจ คื อ เอทานอล เพราะสามารถผลิต ได้จ ากกระบวนการทางชี ว ภาพ ที่
เกิดจากการนําพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้ งเป็ นนํ้า ตาลและเปลี่ยนจากนํ้า ตาลเป็ นแอลกอฮอล์ โดยใช้
เอนไซม์หรื อสารเคมีบางชนิดช่วยในการย่อย แล้ว ทํา ให้แ อลกอฮอล์บริ สุทธิ์ ด้ว ยการกลัน่ และแยก
นํ้า เพื่อนําไปใช้เป็ นส่ ว นประกอบในอุต สาหกรรมประเภทต่ า งๆ รวมถึงการนํา ไปผสมกบั นํ้า มัน
เชื้อเพลิง ทําให้สามารถช่วยลดมูลค่าการนําเข้านํ้ามันได้ นอกจากนี้ พลังงานทดแทนอย่า งเอทานอล
ยังถือเป็ นพลังงานที่สะอาดกว่า นํ้า มัน เนื่ องจากสามารถเผาไหม้ได้อย่า งสมบู รณ์ กว่า เมื่อเที ยบกบั
นํ้ามันปิ โตรเลียม โดยการผลิตเอทานอลส่วนใหญ่ข องโลกใช้ว ตั ถุดิ บหลัก 2 ประเภท คื อ 1.นํ้า ตาล
เช่น อ้อย และกากนํ้าตาล 2.แป้ ง เช่น มันสําปะหลัง ข้า ว และข้า วโพด แต่ อย่า งไรก็ต าม เริ่ มมีค วาม
วิตกก ังวลว่า วัตถุดิบดังกล่า วอาจไม่เพียงพอต่ อการผลิต เอทานอลในระยะข้า งหน้า เนื่ องจากเป็ น
การนําเอาพืชอาหารมาใช้ในการผลิต เอทานอล ซึ่ งอาจส่ งผลให้ราคาสิ นค้า อาหารภายในประเทศ

รายงานฉบับสุดท้าย 1-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ปรับสูงขึ้น ดังนั้นปั จจุบนั การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เอทานอลในหลายประเทศจึ งมุ่งเน้นไปที่


วัตถุดิบประเภทอื่น เช่น เซลลูโลส ซึ่งเป็ นเศษเหลือใช้ที่ได้จากพืช
เซลลูโลส เป็ นแหล่งวัตถุดิบหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ ในการนํา มาผลิต
เอทา นอลเป็ นอย่ า งมา ก โด ยเอทานอลที่ ผลิ ต จากเซลลู โ ลสเป็ นเอทา นอลที่ ผลิ ต จา ก
วัต ถุดิ บหลักประเภทฟางข้า ว กากอ้อย ซังข้า วโพด และเปลือกไม้ รวมทั้งวัชพืช เช่ น ผักตบชวา
หญ้า และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เหง้ามันสํา ปะหลัง เป็ นต้น เนื่ องจากในวัต ถุดิ บดังกล่า ว
จะประกอบด้ว ยลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulosic Material) ซึ่ งเป็ นสารประกอบอินทรี ยป์ ระเภท
คาร์โบไฮเดรตที่เป็ นส่วนประกอบสํา คัญของเซลล์พืช ที่ เกิด ขึ้ นจากหน่ ว ยย่อยของนํ้า ตาลกลูโคส
เชื่ อมต่ อ กนั เป็ นสายยาว หรื อ ที่ เ รี ย กว่า โพลีเ มอร์ ข องนํ้าตาลกลู โคสทํา ให้ เอทานอลที่ ผลิ ต จาก
เซลลูโลสมีสมบัติและลักษณะทางเคมีเช่นเดียวก ับเอทานอลที่ ผลิต จากวัต ถุดิ บประเภทนํ้า ตาลและ
แป้ ง ดังนั้นถ้าสามารถนําเซลลูโลสดังกล่าวมาทํา การแปรรู ปเป็ นเอทานอล จะทํา ให้ช่ว ยเพิ่มมูลค่ า
ของเสีย ช่วยลดปั ญหามลพิษจากการเผาทิ้งวัสดุดงั กล่าว และยังเป็ นการนําวัสดุเหลือทิ้ งมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงขึ้นด้วย
การนําเซลลูโลสมาใช้เป็ นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ต้องประกอบด้ว ยขั้นตอนที่ สํา คัญ
ดัง นี้ คื อ 1) การปรั บ สภาพเซลลู โลส (Pretreatment) เพื่ อ ก าํ จัด องค์ ประกอบอื่ น ได้แ ก่ ลิ ก นิ น
(Lignin) และเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ทําให้เซลลูโลสมีโครงสร้า งที่ เหมาะสม และเพิ่มพื้นที่
ในการเข้าทําปฏิกริ ิ ยาของเอนไซม์ 2) การย่อยสลายเซลลูโลส (Hydrolysis) เพื่อให้ได้น้ าํ ตาลรี ดิ ว ซ์
3) การหมัก (Fermentation) เป็ นการนํา นํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์มาใช้ในการผลิต เอทานอล ดังนั้นโครงการ
ศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิ ชย์ เพื่อศึกษาเทคโนโลยีแ ละความ
เป็ นไปได้ในการผลิ ต เอทานอลจากเซลลูโ ลสที่ เ หมาะสมก บั ประเทศไทยในเชิ ง พาณิ ช ย์ จึ ง มี
ขอบเขตในการทํา การศึ กษา คื อ เพื่อเปรี ยบเที ยบการผลิต เอทานอลจากเซลลู โลสที่ มีศ ักยภาพที่
เหมาะสมทั้งด้า นราคาและปริ มาณในประเทศไทย โดยศึ กษาหาสภาวะ ที่ เ หมาะสมในการปรั บ
สภาพเซลลูโลส หาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายเซลลูโลส และศึกษาหาสภาวะที่ เหมาะสม
ในการหมัก

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 ศึกษาและพัฒนาการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส
1.2.2 ศึกษาความเป็ นไปได้ในการนําวัตถุดิบที่หลากหลายมาผลิตเอทานอล

รายงานฉบับสุดท้าย 1-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

1.3 เป้ าหมาย

เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสที่ เหมาะสมกบั


ประเทศไทยในระดับเชิงพาณิ ชย์

1.4 ขอบเขตการศึกษาและแนวทางการดําเนินงาน

1.4.1 ศึกษา รวบรวม ข้อมูล เกีย่ วก ับการผลิต เอทานอลจากอ้อย กากนํ้า ตาล มันสํา ปะหลัง
ข้าวโพด และเซลลูโลส และเทคโนโลยีการผลิต จากวัต ถุดิ บแต่ ละชนิ ด รวมทั้งคํา นวณต้นทุ นการ
ผลิตเอทานอลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.4.2 ศึกษาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรื อ วัชพืช หรื อการใช้พืชที่ มีอายุการเก็บเกีย่ วสั้น
อย่างน้อย 5 ชนิดแล้วคัดเลือกให้เหลือ 3 ชนิด เพื่อนํามาเป็ นวัตถุดิบการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส
โดยคํา นึ งถึ งพื ชที่ มิ ใช่ พืชอาหาร หรื อพืช ที่ มี การใช้ประโยชน์ น้อย หรื อเป็ นวัสดุ เหลือใช้ แต่ มี
ศักยภาพที่เหมาะสมทั้งด้านราคาและปริ มาณ
1.4.3 ศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในด้านการเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา และขนส่ งวัต ถุดิ บของ
วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดจากข้อ 1.4.2 เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส
1.4.4 ศึกษาและทบทวนกระบวนการผลิต เอทานอลจากเซลลูโ ลส 2 กระบวนการ โดย
เปรี ยบเทียบข้อดี และข้อเสี ยในด้า นต่ า งๆ และเปรี ยบเที ยบหากระบวนการที่ มีค วามเหมาะสมใน
การนํามาใช้งานในประเทศไทย
1.4.5 หลังจากการคัดเลือกวัตถุดิบและเทคโนโลยีกระบวนการผลิต ได้แ ล้ว ให้ศึกษา วิจ ัย
ทดลองในห้องปฏิบตั ิการให้ได้เอทานอลจากเซลลูโลส จากวัตถุดิบแต่ละชนิด รวม 3 ชนิด
1.4.6 ศึก ษาผลกระทบทางด้า นเศรษฐกิจ พลัง งาน และสิ่ งแวดล้อมที่ เ กิด จากการผลิ ต
เอทานอลจากเซลลูโลส และวิเคราะห์ ค วามเป็ นไปได้ข องโครงการ จัด ทํา รู ปแบบ Business การ
ผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสในเชิ งพาณิ ชย์ พร้อมเสนอแนะมาตรการด้า นนโยบายที่ ภาครัฐ ควร
ส่ งเสริ มและสนับสนุ น สํา หรับภาคเอกชนลงทุ นจัด ตั้งโรงงานเอทานอลจากวัต ถุดิ บทั้ง 3 ชนิ ด
ตลอดจนจัดอันดับการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสว่าวัตถุดิบใดมีค วามเหมาะสมมากที่ สุด เพื่อเป็ น
แนวทางในการศึกษารายละเอียดเพื่อจัดตั้งโรงงานต่อไป

รายงานฉบับสุดท้าย 1-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

1.5 ระยะเวลาการดําเนินงาน

ระยะเวลาในการดํา เนิ น งาน 12 เดื อ น นับ ตั้ง แต่ ว ัน ลงนามในสัญ ญา ตั้ง แต่ ว ัน ที่ 31
สิงหาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รายงานฉบับสุดท้าย 1-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 2
แนวคิดและวิธีการดําเนินงาน

ในการดําเนินโครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิ งพาณิ ชย์


เพื่อให้ผลการดําเนินงานบรรลุวตั ถุประสงค์การดําเนินงานของโครงการ และครบถ้ว นตามขอบเขต
การดําเนินงาน จึงประกอบด้วยแนวความคิด และวิธีการดําเนินโครงการดังนี้

2.1 แนวความคิด

การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพหรื อพลังงานชีวภาพ เป็ นหนึ่ งในเป้ าหมายหลักของยุทธศาสตร์


การพัฒนาพลังงานของประเทศในปั จจุบนั เพื่อลดการนําเข้านํ้ามันและพึ่งพาตนเองด้า นพลังงานให้
มากขึ้น กระทรวงพลังงาน ถือเป็ นหน่ ว ยงานภาครัฐ ที่ มีภารกิจ ในการดํา เนิ นการเพื่อแกไ้ ขปั ญหา
วิกฤตด้า นพลัง งานให้ แ ก่ป ระชาชน อัน จะนํา ไปสู่ การสร้ า งความเข้มแข็งให้แ ก่เศรษฐกิจ ของ
ประเทศในภาพรวม โดยมีนโยบายในการส่งเสริ ม พัฒนาและวิจ ัยพลังงานทดแทนทุ กรู ปแบบ เพื่อ
สนองต่อความต้องการพลังงานทดแทนที่ เพิ่มสู งขึ้ น และเป็ นทางเลือกแก่ประชาชนตามแนวทาง
เศรษฐกิจ พอเพีย งและการพัฒนาที่ ยงั่ ยืน ทั้งนี้ กระทรวงพลัง งานมีเป้ าประสงค์ที่จ ะส่ ง เสริ มการ
พัฒนาพลังงานทดแทน โดยจัด ทํา แผนพัฒนาพลังงานทดแทนแห่ งชาติ เป็ นแผนระยะยาว 15 ปี
เร่ งรัดส่งเสริ มเอทานอล ไบโอดีเซล และก๊าซ NGV โดยมีเป้ าหมายการส่ งเสริ มการใช้เอทานอล วัน
ละ 3 ล้า นลิต ร ในปี 2551 – 2554 เพิ่มเป็ นวันละ 6.2 ล้า นลิต ร ในปี 2555 – 2559 และเพิ่มเป็ น 9.0
ล้านลิตร ในปี 2560 – 2565 (แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี พ.ศ. 2551-2565, 2551)
การผลิตเอทานอลในเชิงพานิชย์ในปั จจุบนั ใช้วตั ถุดิบหลักอยู่ 2 ประเภท ได้แ ก่ นํ้า ตาล เช่ น
อ้อยและกากนํ้าตาล และแป้ ง เช่น มันสําปะหลัง ซึ่งปั จจุบนั ปี 2554ได้มีภาคเอกชนขออนุ ญาตก่อตั้ง
โรงงานผลิตเอทานอลแล้ว รวม 19 ราย ก ําลังการผลิต รวมวันละ 2,925,000 ลิต ร แบ่ งเป็ น โรงงาน
เอทานอลที่ ใ ช้กากนํ้า ตาล (โมลาส) เป็ นวัต ถุ ดิ บ 9 โรง กาํ ลังการผลิต รวมวันละ 1.3 ล้า นลิต ร
โรงงานเอทานอลที่ ใช้มนั สํา ปะหลังเป็ นวัต ถุดิ บ 4 โรง กาํ ลังการผลิต รวมวันละ 0.625 แสนลิต ร
และโรงงานเอทานอลที่ใช้ได้ท้ งั โมลาส และมันสําปะหลังเป็ นวัตถุดิบ 6 โรงกาํ ลังการผลิต 1.0 ล้า น
ลิตร (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2554) ซึ่ งปั ญหาที่ พบในการผลิต เอทานอล
ในเชิงพาณิ ชย์ในปั จจุบนั ก็คือ ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีค วามแตกต่ า งกนั ในแต่ ละฤดู การผลิต

รายงานฉบับสุดท้าย 2-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาจําหน่าย และการนํา วัต ถุดิ บที่ เป็ นพืชอาหารมาใช้ในการ


ผลิตเอทานอลอาจส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารภายในประเทศปรับสูงขึ้ นด้วย ดังนั้นในหลายประเทศ
จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เอทานอลโดยมุ่งเน้นไปที่ ว ตั ถุดิ บประเภทอื่นที่ ไม่ใช่ พืชอาหาร
ไม่ว่าจะเป็ นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วัชพืชที่ไม่ตอ้ งการผนวกก ับการที่ประเทศไทยเป็ นประเทศ
ผูผ้ ลิต อาหารรายใหญ่ข องโลกทํา ให้มี ว สั ดุ เหลือ ใช้ทางการเกษตร จึ งนับเป็ นโอกาสสํา คัญของ
ประเทศที่จะเร่ งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตพลังงานทดแทนจากวัต ถุดิ บที่ มีอยู่โดยวัสดุ เหลือใช้
ทางการเกษตรที่สาํ คัญ ได้แก่ ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้า วโพด ทั้งนี้ ว สั ดุ ด ังกล่า วมีส่ว นประกอบของ
เซลลูโลสซึ่งสามารถนํามาผลิตเป็ นเอทานอลได้
เซลลูโลส เป็ นแหล่งวัตถุดิ บหนึ่ งที่ ได้รับความสนใจในการนํา มาผลิต เอทานอลเป็ นอย่า ง
มาก เนื่องจากเซลลูโลส เป็ นส่วนประกอบที่ มีมากที่ สุด ในเซลล์พืช และเป็ นส่ ว นที่ สํา คัญของผนัง
เซลล์ มีหน้าที่ช่วยเสริ มโครงสร้า งความแข็งแรงให้แ ก่พืช เซลลูโลสเมื่อถูกย่อยจะแตกตัว ออกให้
นํ้าตาลกลูโคสจํานวนมากเพราะลักษณะโครงสร้า งโมเลกุลของเซลลูโลส ดังนั้นทํา ให้เอทานอลที่
ผลิต จากเซลลูโลสมีสมบัติแ ละลักษณะทางเคมีเ ช่ นเดี ยวกบั เอทานอลที่ ผลิต จากวัต ถุดิ บประเภท
นํ้าตาลและแป้ ง ซึ่งถ้าสามารถนําเซลลูโลสดังกล่าวมาเป็ นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจะทํา ให้ช่ว ย
เพิ่มมูลค่าของเสีย ช่วยลดปั ญหามลพิษจากการเผาวัสดุ ด ังกล่า วทิ้ ง และยังเป็ นการนํา วัสดุ เหลือทิ้ ง
มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงขึ้นด้วย

2.2 วิธีการดําเนินงาน

เพื่อให้การดําเนินงานโครงการประสบผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ข องโครงการ ได้กาํ หนด


ขั้นตอนการดําเนินงานทั้งหมดเป็ น 6 ขั้นตอน คือ

(1) การศึกษา รวบรวม ข้อมูลเกีย่ วก ับการผลิตเอทานอล


(2) ศึกษาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 5 ชนิ ด แล้ว คัด เลือกให้เหลือ 3 ชนิ ด เพื่อนํา มาเป็ น
วัตถุดิบการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส
(3) ศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในด้า นการเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา และขนส่ งวัต ถุดิ บของ
วัตถุดิบ 3 ชนิด เพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส
(4) ศึกษา ทบทวน กระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส 2 กระบวนการ เพื่อวิเคราะห์
เปรี ย บเที ยบข้อดี -ข้อเสี ย ในด้า นต่ า งๆ และเปรี ย บเที ย บหากระบวนการที่ มี ค วาม
เหมาะสมในการนํามาใช้งานในประเทศไทย
(5) ศึกษาวิจยั ทดลองในห้องปฏิบตั ิการให้ได้เอทานอลจากเซลลูโลสจากวัตถุดิบ 3 ชนิด

รายงานฉบับสุดท้าย 2-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(6) ศึกษาหาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน และสิ่ งแวดล้อมที่ เกิด จากการผลิต เอ


ทานอลจากเซลลูโลสและวิเคราะห์ความเป็ นได้โครงการ จัด ทํา รู ปแบบ Business การ
ผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสในเชิงพาณิ ชย์พร้อมข้อเสนอแนะมาตรการด้า นนโยบายที่
ภาครัฐควรส่งเสริ มและสนับสนุน

รายงานฉบับสุดท้าย 2-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รวบรวมข้อมูล
เกีย่ วกับการผลิตเอทานอล
ศึกษาและคัดเลือก
วัตถุดิบ จัดทํารายงาน
พพ. พิจารณา ความก้าวหน้า
ฉบับที่ 1

ทบทวนกระบวนการ ศึกษากระบวนการเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา


ผลิตเอทานอลจาก และขนส่งวัตถุดิบที่เหมาะสม
เซลลูโลส 2
จัดทํารายงาน
กระบวนการ
พพ. พิจารณา ความก้าวหน้า
ฉบับที่ 2

ศึกษา และวิจยั ผลิตเอทานอลจาก


เซลลูโลส จากวัตถุดิบ 3 ชนิด

วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค แนว


ทางแก้ไข

จัดทํารายงาน
พพ. พิจารณา ความก้าวหน้า
ฉบับที่ 3

ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจ พลังงาน
จัดทําแผนธุรกิจการ และสิ่งแวดล้อม
ผลิตเอทานอลจาก
เซลลูโลส นําเสนอข้อเสนอแนะและ
มาตรการสนับสนุน
จัดทําร่างรายงาน
พพ. พิจารณา ฉบับสุดท้าย

รายงานฉบับสุดท้าย

รูปที่ 2.1 ขั้นตอนการดําเนิ นโครงการ

รายงานฉบับสุดท้าย 2-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

2.2.1 การศึกษา รวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเอทานอล

ในการดําเนินงาน ที่ปรึ กษาดําเนินการศึกษา รวบรวม ข้อมูลเกีย่ วกบั การผลิต เอทานอลจาก


อ้อ ย กากนํ้าตาล มัน สํา ปะหลัง ข้า วโพด และเซลลูโ ลส และเทคโนโลยีการผลิต จากวัต ถุ ดิ บ
แต่ละชนิด รวมทั้งคํา นวณต้นทุ นการผลิต เอทานอลทั้งในประเทศและต่ า งประเทศ ทํา การศึกษา
วิเคราะห์ โดยที่ปรึ กษาได้รวบรวมผลการศึกษาเกีย่ วก ับเอกสารรายงาน การวิจ ัยต่ า งๆที่ เกีย่ วข้องทั้ง
ในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อนํามาใช้เป็ นข้อมูลในการดํา เนิ นโครงการ โดยการดํา เนิ นงานใน
ส่วนนี้เป็ นการเก็บรวบรวมข้อมูลและและศึกษาเกีย่ วกบั เทคนิ ค วิธีการ วิเคราะห์ เทคโนโลยี และ
กระบวนการผลิตเอทานอล เป็ นต้น รายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย

1. การผลิตเอทานอลจากอ้อย
2. การผลิตเอทานอลจากกากนํ้าตาล
3. การผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง
4. การผลิตเอทานอลจากข้าวโพด
5. การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

ที่ ป รึ กษาดํา เนิ น การศึ กษารวบรวมข้อมู ล จากแหล่ งข้อ มู ลต่ า งๆ ที่ สํา คัญ แหล่ งข้อ มู ล
เอกสารทุ ก ประเภท และข้อ มู ล จากหน่ ว ยงาน การวิจ ัย ต่ า งๆที่ เ กีย่ วข้อ งทั้ง ในประเทศ และ
ต่างประเทศ รวมไปถึง ภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ แหล่งข้อมูลที่ที่ปรึ กษาจะดําเนิ นการรวบรวมข้อมูล
ได้แก่
1. สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ งประเทศไทย (วว.)
2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่ งชาติ
3. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. กระทรวงพลังงาน
5. กรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม
6. รายงานการศึกษาและวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
7. รายงานการวิจ ัยเกีย่ วกบั กาผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสในประเทศอเมริ กา แคนาดา
บราซิล จีน อินเดีย เป็ นต้น

รายงานฉบับสุดท้าย 2-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

2.2.2 ศึกษาวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร 5 ชนิด แล้ วคัดเลือกให้ เหลือ 3 ชนิด เพื่อนํา มาเป็ นวัตถุ ดิบ
การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

ศึกษาวัสดุ เหลื อใช้ท างการเกษตร 5 ชนิ ด แล้ว คัด เลือ กให้ เหลือ 3 ชนิ ด ที่ มี ศกั ยภาพที่
เหมาะสมทั้งด้า นราคาและปริ มาณที่ เหมาะสมในการผลิต เอทานอลในเชิ งพาณิ ชย์เพื่อนํา มาเป็ น
วัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อดี - ข้อเสี ยด้า นต่ า งๆ ซึ่ ง
การดําเนินการประกอบด้วย

2.2.2.1 การศึกษา ทบทวน และกําหนดหลักเกณฑ์ การคัดเลือก


ดําเนินการศึกษาวัสดุต่างๆ ที่มีศกั ยภาพในการนํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการทดลองโดยการ
จัดทําหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งจะพิจารณาเป็ น 2 ลักษณะ คือ
(1) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวัตถุดิบเบื้องต้น โดยจะคัดสรรวัตถุดิ บที่ มีแ นวโน้ม จํา นวน
5 ชนิด
(2) หลัก เกณฑ์ ใ นการคัด เลื อ กวัต ถุ ดิ บ ที่ นํา มาทดลอง โดยคัด เลื อ กพื ช จาก 5 ชนิ ด
ให้เหลือ 3 ชนิดที่มีความเหมาะสมที่สุด

2.2.2.1.1 หลักเกณฑ์ การคัดเลือกวัตถุดบิ เบือ้ งต้น จํานวน 5 ชนิด


การคัดเลือกวัต ถุดิ บที่ มีค วามเหมาะสม ได้แ ก่ การศึกษาการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส
5 ชนิดเบื้องต้น โดยคํานึงถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
(1) เป็ นผลพลอยได้จ ากผลผลิ ต ทางการเกษตร ซึ่ งไม่ ใ ช่ พื ช อาหาร หรื อ พื ช ที่ มี
การใช้ประโยชน์นอ้ ย
(2) เป็ นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรื อวัชพืช หรื อการใช้พืชที่มีอายุการเก็บเกีย่ วสั้น
(3) มีความเหมาะสมในด้านการเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา และขนส่ง
(4) มีปริ มาณมาก หรื อมีพ้ืนที่ในการเพาะปลูกสูง
(5) มีราคาถูก หรื อเป็ นวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร
(6) มีปริ มาณเซลลูโ ลสสู งและมีศกั ยภาพที่ เหมาะสมในการผลิต เอทานอล รวมทั้ง มี
ปริ มาณเอทานอลที่ผลิตได้สูง
2.2.2.1.2 หลักเกณฑ์ การคัดเลือกวัตถุดบิ ที่นํามาทดลอง จํานวน 3 ชนิด
การคัดเลือกวัสดุที่จะนํามาใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการทดลองผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส เพื่อ
ศึกษาในเชิงพาณิ ชย์น้ ี จะคํานึงถึงหลักเกณฑ์สาํ คัญ คือ ต้องมีความเหมาะสมด้า นราคา และปริ มาณ
เป็ นสิ่งที่สาํ คัญที่สุด

รายงานฉบับสุดท้าย 2-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

2.2.3 ศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในด้ า นการเก็บเกี่ยว เก็บรักษา และขนส่ งวัตถุ ดิบของวัตถุ ดิบ


ทั้ง 3 ชนิดข้างต้น เพื่อใช้ ในกระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

เมื่อได้ศึกษาวัสดุ เหลือใช้ท างการเกษตรและคัด เลือกให้เหลือ 3 ชนิ ด หลังจากนั้นจะ


ดําเนินการศึกษากระบวนการที่ เหมาะสมในด้า นการเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา และขนส่ งวัต ถุดิ บของ
วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิด เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสต่อไป
(1) จัดเก็บข้อมูลการเก็บรักษา กิจกรรมการเก็บเกีย่ ว ดังนี้
(1.1) ปริ มาณการเก็บเกีย่ ว พื้นที่การเพาะปลูก และฤดูกาลเก็บเกีย่ วของวัตถุดิบ
(1.2) กิจกรรมทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการเก็บเกีย่ ว
(1.3) ปริ มาณและราคาของกิจกรรมการเก็บรักษาวัตถุดิบ
(2) จัดเก็บข้อมูล ปริ มาณผลผลิตและราคาของกิจกรรมการขนส่ ง ดังนี้
(2.1) ปริ มาณการผลิตพืช และราคาที่เกษตรกรขายได้แต่ละชนิด
(2.2) มูลค่าการบริ การกิจกรรมทางการเกษตร และอัตราค่าบริ การชนิดต่าง
(2.3) ข้อมูล ปริ มาณและราคาของกิจกรรมการขนส่ง

2.2.4 ศึกษา ทบทวน กระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลู โลส 2 กระบวนการ เพื่อวิเ คราะห์


เปรียบเทียบข้ อดี-ข้ อเสี ยในด้ า นต่ า งๆ และเปรียบเทียบหากระบวนการที่มีความเหมาะสมในการ
นํามาใช้ งานในประเทศไทย

กระบวนการผลิต เอทานอลสามารถแบ่ งออกได้เป็ น 2 ประเภทใหญ่ คื อ กระบวนการ


สังเคราะห์ทางเคมี (Chemical synthesis) และกระบวนการหมัก (Fermentation) ที่ ปรึ กษาได้ศึกษา
ทบทวน กระบวนการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส 2 กระบวนการ เพื่อวิเคราะห์ เปรี ยบเที ยบข้อดี
ข้อเสี ยในด้า นต่ า งๆ และเปรี ยบเที ยบหากระบวนการที่ มีค วามเหมาะสมในการนํา มาใช้ง านใน
ประเทศไทย และใช้เป็ นข้อมูลในการการคัด เลือกวัต ถุดิ บและเทคโนโลยีการผลิต เพื่อศึกษาวิจ ัย
ทดลองในห้องปฏิบตั ิการให้ได้เอทานอลจากเซลลูโลสจากวัตถุดิบดังกล่าวต่อไป

2.2.5 ศึกษาวิจัยทดลองในห้ องปฏิบตั กิ ารให้ ได้เอทานอลจากเซลลูโลสจากวัตถุดบิ 3 ชนิด

2.2.5.1 แผนการวิจัยทดลอง
งานวิจยั นี้เป็ นการศึกษาเปรี ยบเทียบการผลิต เอทานอลจากชี ว มวล 3 ชนิ ด ได้แ ก่ ชานอ้อย
ซังข้าวโพด และฟางข้า ว โดยการนํา มาปรับสภาพชี ว มวลด้ว ยกรดซัลฟุริก โซเดี ยมไฮดรอกไซด์

รายงานฉบับสุดท้าย 2-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สารละลายแอมโมเนีย และความร้อนก่อน แล้ว ย่อยสลายเซลลูโลสด้ว ยเอนไซม์เซลลูเลส จากนั้น


หมักด้วยเชื้อ Zymomonas mobilis โดยใช้น้ าํ ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลายชี ว มวลด้ว ยเอนไซม์
เป็ นแหล่งคาร์บอนเพื่อผลิตเอทานอลในระดับห้องปฏิบตั ิ การ ณ ห้องปฏิ บัติ การภาควิชาวิศวกรรม
สิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้ นั ตอนในการทดลอง ดังนี้
(1) ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของชีวมวล โดยพารามิเตอร์ ที่ทํา การศึกษา คื อ เซลลูโลส
เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน
(2) ศึกษาระยะเวลาและอุณ หภู มิที่เหมาะสมในการปรับสภาพชี ว มวลด้ว ยกรดซัลฟุริ ก
โซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลายแอมโมเนีย และความร้อน
(3) ศึ ก ษาความเข้ม ข้น ของเอนไซม์ เ ซลลู เ ลส ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ ม ต้ น และเวลา
ที่เหมาะสมในการย่อยสลายเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เซลลูเลส
(4) ศึ ก ษาผลของความเป็ นกรดด่ า งเริ่ ม ต้ น และความเข้ ม ข้ น ของนํ้ าตาลรี ดิ ว ซ์ ใ น
การหมักด้วยเชื้อ Zymomonas mobilis
(5) วิเคราะห์ขอ้ มูลและสรุ ปผล เพื่อหาสภาวะที่ เหมาะสมที่ สุด ในการผลิต เอทานอลจาก
ชีวมวล มาใช้ในการหมักแบบย่อยและหมักพร้อมกนั (Simultaneous Saccharification
and Fermentation)
โดยแผนผังขั้นตอนการดําเนินการวิจยั แสดงดังรูปที่ 2.2

รายงานฉบับสุดท้าย 2-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด

ตากแห้งและบดละเอียด

ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของชีวมวล

ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพชีวมวลด้วยกรด ด่าง และความร้อน

สารละลาย H2SO4 1 % สารละลาย NaOH 2% สารละลายกรด ด่าง ที่อุณหภูมิ 120 - 170 °C

ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของชีวมวลหลังการปรับสภาพ

ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายชีวมวลด้วยเอนไซม์เซลลูเลส

ความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 5 - 90 FPU/g ค่าความเป็ นกรดด่าง 4.5 - 6.5 เวลาในการย่อย 1 - 48 ชั่วโมง

ศึกษาผลของปัจจัยในกระบวนการหมักด้ วย Zymomonas mobillis

ค่าความเป็ นกรดด่าง 5 - 6.5

วิเคราะห์ขอ้ มูลและสรุปผล

รูปที่ 2.2 แผนผังขั้นตอนการดําเนิ นการวิจยั

รายงานฉบับสุดท้าย 2-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

2.2.5.2 เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ ที่ใช้ ในการทดลอง


2.2.5.2.1 เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
(1) เครื่ องบด (Grinder)
(2) เครื่ องคัดแยกขนาด (Sieve)
(3) เครื่ องชัง่ ไฟฟ้ า 4 ตําแหน่ง (Analytical balance)
(4) กระดาษกรอง Whatman เบอร์ 1
(5) เครื่ องกวน (Magnetic stirrer)
(6) เครื่ องปั่ นเหวี่ยง (Centrifuge)
(7) ตูถ้ ่ายเชื้อ (Laminar flow)
(8) หม้อนึ่งความดันไอ (Autoclave)
(9) อ่างนํ้าควบคุมอุณหภูมิ (Water bath)
(10) เครื่ องเขย่าสาร (Shaker)
(11) เครื่ องวัดความเป็ นกรดด่าง (pH meter)
(12) เตาอบความร้อนสูง (Hot air oven)
(13) เครื่ องต้มระเหยแบบสุญญากาศ (Rotary vacuum evaporator)
2.2.5.2.2 เคมีภัณฑ์
(1) โซเดียมไฮดรอกไซด์ [NaOH]
(2) โพแทสเซียมไดโครเมต [K2Cr2O7]
(3) เฟอรัสแอมโมเนียซัลเฟต [(NH4)2SO4·FeSO46H2O]
(4) กรดซัลฟุริก [H2SO4]
(5) 1, 10-ฟี นานโธรลีนโมโนไฮเดรต [C12H8N2·H2O]
(6) เฟอร์รัสซัลเฟต [FeSO4·7H2O]
(7) กรดซิตริ ก [COOHCH2C(OH)COOHCH2COOH·H2O]
(8) โซเดียมซิเตรต [NaC6H5O7·2H2O]
(9) กรดไดไนโตรซาลิไซลิก [C7H4N2O7]
(10) โซเดียมโพแตสเซียมทาร์เทรต [KNaC4H4O6·4H2O]
(11) กลูโคส [C6H12O6]
(12) กรดไฮโดรคลอริ ก [HCl]
(13) สารสก ัดยีสต์ (Yeast extract)
(14) โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนออโทฟอสเฟต [KH 2PO4]
(15) แอมโมเนียซัลเฟต [(NH4)2SO4]

รายงานฉบับสุดท้าย 2-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(16) แมกนีเซียมซัลเฟต [MgSO4·7H2O]


(17) เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase)
(18) เชื้อหมัก Zymomonas mobillis stain TISTIR 405
(19) อาหารเลี้ยงเชื้อ (Bacto-agar)

2.2.6 ศึกษาหาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน และสิ่ งแวดล้ อมที่เกิดจากการผลิตเอทา


นอลจากเซลลูโลสและวิเคราะห์ ความเป็ นได้โครงการ จัดทํา รู ป แบบ Business การผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสในเชิงพาณิชย์พร้ อมข้อเสนอแนะมาตรการด้ า นนโยบายที่ภาครัฐควรส่ งเสริมและ
สนับสนุน

การวิเคราะห์ผลการดําเนินโครงการ เพื่อเป็ นแนวทางในการดํา เนิ นงานต่ อเนื่ องไป ทั้งใน


ส่ ว นของภาครั ฐ และภาคเอกชนที่ เ กีย่ วข้อ ง ดํา เนิ น การศึ ก ษาองค์ ป ระกอบของปั จ จัย เหตุ ที่
เกีย่ วข้อ งก บั นโยบาย ผลกระทบทางด้า นเศรษฐก จิ พลัง งาน และสิ ่ ง แวดล้อ ม รวมทั้ ง การ
จัด การด้า นพลังงาน ตลอดจนสถานการณ์ พลังงาน และข้อมูลผลการดําเนินโครงการที่ ผ่า นมา ซึ่ ง
มีวตั ถุประสงค์ และวิธีการดําเนินงานดังต่อไปนี้

2.2.6.1 วัตถุประสงค์ ในการศึกษา


(1) เพื่ อ เป็ นกรอบ และแนวทางในการวิ เ คราะห์ ก ารผลิ ต เอทานอลจากเซลลู โ ลสที่
เหมาะสมก ับประเทศไทยในระดับพาณิ ชย์
(2) เพื่อ เป็ นกรอบ และแนวทางในการก าํ หนดแผนการดํา เนิ นงานผลิต เอทานอลจาก
เซลลูโลสที่เหมาะสมสําหรับภาคเอกชน
(3) เพื่อเป็ นกรอบ และแนวทางในการสนับสนุนงานด้านการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส
ในประเทศไทยของภาครัฐ
(4) เพื่อเป็ นข้อมูลสําหรับการจัดทํานโยบาย และมาตรการสนับสนุ นต่ า งๆ โดยเฉพาะงาน
ของส่วนการพัฒนาพลังงานทดแทนต่อไป

2.2.6.2 วิธีการดําเนินงาน
(1) ทบทวนข้อมูลจากเอกสารและรายงานการดําเนินงาน เช่ น รายงานความกา้ วหน้า ของ
โครงการ และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการดําเนินงานที่ผ่านมา

รายงานฉบับสุดท้าย 2-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2) ศึก ษาข้อ มูล ในรู ป แบบต่ า งๆ สื่ อ ประเภทต่ า ง ๆ เช่ น กฎหมายและนโยบายด้า น
พลังงาน สถานการณ์พลังงานภายในประเทศและต่ า งประเทศ ข่ า วสารด้า นพลังงาน
เป็ นต้น
(3) วิเคราะห์ขอ้ มูลเพื่อสรุ ปผลการดําเนินงาน
(4) จัดทําข้อมูลเป็ นแผนงานการศึกษา

รายงานฉบับสุดท้าย 2-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 3
การผลิตเอทานอล

เอทานอล (Ethanol) หรื อ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) เป็ นสารประกอบไฮโดรคาร์ บอนจํา พวก
แอลกอฮอล์ชนิ ด หนึ่ ง เอทานอลเป็ นสารประกอบอินทรี ยท์ ี่ ประกอบด้ว ย คาร์ บอน ไฮโดรเจน และ
ออกซิเจน สามารถละลายทั้งในนํ้าและสารละลายอินทรี ยอ์ ื่นๆ เป็ นแอลกอฮอล์ที่สามารถนํา มาบริ โภค
นอกจากนี้ยงั สามารถนํามาใช้เป็ นเชื้อเพลิงในรู ปเอทานอลไร้น้ ํา (Anhydrous ethanol) ที่ มีความบริ สุทธิ์
สูง (เข้มข้น 99.5% โดยปริ มาตร) หรื ออาจใช้เป็ นเอทานอลที่มีน้ าํ (Hydrous ethanol)

เอทานอลสามารถนํามาใช้ทาํ เป็ นเชื้อเพลิงได้ 3 แบบดังต่อไปนี้


(1) แอลกอฮอล์บริ สุทธิ์ 95% ใช้เป็ นเชื้ อเพลิงโดยตรงทดแทนนํ้า มันเบนซิ น หรื อ ดี เซลใช้กบั
เครื่ องยนต์ที่มีอตั ราส่วนการอัดสูง
(2) แอลกอฮอล์ 99.5% - 99.6% เมื่อผสมกบั นํ้า มันเบนซิ นจะเรี ยกกนั ว่า แก๊สโซฮอล์ เช่ น แก๊ส
โซฮอล์ E 10 หมายถึง การผสมนํ้า มันเบนซิ นพื้นฐานกบั เอทานอล ในสัด ส่ ว น 90 : 10 โดยปริ มาตร
นอกจากนี้สดั ส่วนการผสมเอทานอลก ับนํ้ามันที่ใช้ในประเทศต่ า งๆนั้นยังมีอยู่ห ลายสัด ส่ ว น อาทิ แก๊ส
โซฮอล์ E85 เป็ นชื่อที่เรี ยก เชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมนํ้ามันเบนซิ นพื้นฐานกบั เอทานอลในสัด ส่ ว น 15 :
85 โดยปริ มาตร โดยมีสดั ส่วนของเอทานอลสูงถึง 85% และมีค่ า ออกเทนสู งมีใช้กนั ในประเทศในแถบ
อเมริ กา และยุโรป อย่างไรก็ดี นํ้ามันชนิดนี้ไม่สามารถใช้ได้ก ับรถยนต์ส่ว นใหญ่ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย
เนื่องจากต้องเป็ นรถยนต์ที่มีเครื่ องยนต์ที่ทนต่อการก ัดกร่ อนสู งกว่าปกติ ดังนั้นในการใช้น้ ํามันชนิ ดนี้ จึ ง
จําเป็ นต้องใช้เวลาในการเตรี ยมความพร้อม ทั้งในด้า นของผูใ้ ช้รถยนต์ และผูจ้ ํา หน่ า ยนํ้า มัน รวมทั้งต้อง
คํานึงถึงกระบวนการผลิต และขั้นตอนการจัดจําหน่ายด้วย
(3) ใช้เป็ นสารเคมี ที่ช่ ว ยเพิ่ ม ค่ า ออกเทนในนํ้ามันโดยการเปลี่ย นรู ปเอทานอลเป็ น ETBE
(Ethyl Tertiary Butyl Ether) สามารถใช้ทดแทนสาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่ ง MTBE
เป็ นสารเติมแต่งในนํ้ามันเบนซินที่หลายประเทศประกาศห้ามใช้เนื่องจากก่อให้เกิด มลภาวะในอากาศที่
สูงกว่าสารเติมแต่งอื่นๆ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

การผลิตเอทานอลสามารถใช้พืชหลายชนิ ด มาผ่า นกระบวนการหมักแปรรู ปเป็ นแอลกอฮอล์


และผ่านกระบวนการอื่นๆ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นให้ก ับแอลกอฮอล์จนกลายเป็ นเอทานอล และหากนํา ไป
ผสมกบั นํ้ามัน เบนซิ นจะกลายเป็ นเชื้ อเพลิง ให้ก บั รถยนต์ ในการผลิ ต เอทานอลนั้นวัต ถุดิ บ ทางการ
เกษตรที่ มี น้ ํา ตาลโมเลกุล เดี่ ย วอยู่ใ นโครงสร้ า งโมเลกุลจึ ง สามารถใช้ในการผลิต เอทานอลได้ โดย
สามารถแบ่งออกได้เป็ น 3 ประเภท ดังนี้
(1) วัตถุดิบประเภทแป้ ง ได้แ ก่ ธัญพืช เช่ น ข้า วเจ้า ข้า วสาลี ข้า วโพด ข้า วบาร์ เลย์ ข้า วฟ่ าง
และพวกพืชหัว เช่น มันสําปะหลัง, มันฝรั่ง, มันเทศ
(2) วัตถุดิบประเภทนํ้าตาล ได้แก่ อ้อย, กากนํ้าตาล (โมลาส), บีทรู ท, ข้าวฟ่ างหวาน
(3) วัตถุดิบประเภทเส้นใย ส่วนใหญ่เป็ นผลพลอยได้จ ากผลิต ผลทางการเกษตร เช่ น ฟางข้า ว
ชานอ้อย ซังข้าวโพด รําข้าว เศษไม้ เศษกระดาษ ขี้เลื่อย วัชพืช รวมทั้งของเสี ยจากโรงงาน
อุตสาหกรรม เช่น โรงกระดาษ

วัต ถุ ดิ บ ที่ ส ามารถใช้ ใ นการผลิ ต เอทานอลในปั จจุ บั น มี ด ้ ว ยก นั หลายชนิ ด ได้ แ ก่ อ้อ ย


กากนํ้า ตาล มันสํา ปะหลัง มันเทศ มันฝรั่ง ข้า ว ข้า วโพด ข้า วสาลี และข้า วฟ่ างหวาน โดยมีปริ มาณ
เอทานอลที่สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบแต่ละประเภท (ลิตร/ตัน) ดังนี้

วัตถุดิบที่มีน้ าํ หนัก 1 ตัน ปริ มาตรของเอทานอลที่ผลิตได้ (ลิตร)


กากนํ้าตาล 260
อ้อย 70
หัวมันสําปะหลังสด 180
ข้าวฟ่ าง 70
ธัญพืช(เช่น ข้าว ข้าวโพด ) 375
นํ้ามะพร้าว 83
ที่มา: โครงการที่ได้รับทุนวิจยั สํานักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ
( http://www.riclib.nrct.go.th/nrctfund/00003.html)

รายงานฉบับสุดท้าย 3-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.1 การผลิตเอทานอลจากอ้อยและกากนํา้ ตาล

3.1.1 ข้อมูลวัตถุดิบ

3.1.1.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของอ้ อย


อ้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum esculentum Maench อยูใ่ นตระกูล Gramineae มีระบบราก
เป็ นระบบรากฝอย แผ่กระจายออกโดยรอบลําต้น ลําต้น เป็ นไม้ลม้ ลุก สู ง 2-5 เมตร มีลกั ษณะเป็ นปล้อง
สั้นๆ สีของลําต้นมีหลายสีข้ ึนอยูก่ ับพันธุ์แ ละสภาพแวดล้อม เช่ น สี เหลือง สี ม่ว งแดง หรื อสี เขี ยว เป็ น
ต้น ใบ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กาบใบ และแผ่นใบทั้งสองส่ วนต่ อเชื่ อมกนั โดยทั่วไปใบจะเกิดสลับกนั ที่
ข้อและหุ ้มตาเอาไว้ ตรงรอยต่อระหว่างกาบใบกบั แผ่นใบยังมีคอลลาร์ (Collar) ป้ องกนั ไม่ให้ใบฉี กขาดได้
ง่ าย มีเขี้ ยวใบ (Auricle) ที่ ขอบกาบใบตอนบนและลิ้นใบ (Ligule) อยู่ด ้านในของรอยต่ อ ดอก มีลกั ษณะ
เป็ นช่อแบบพานิ เคิ ล หรื อที่ เรี ยกกนั โดยทั่ว ไปว่า แอโรว์ หรื อ ทาสเวล (Arrow or tessel) ยาว 1-2 ฟุต
เวลาดอกบานจะเห็นเป็ นลักษณะคล้า ยเส้นไหมสี ข าวทั้งช่ อมีท้ ังดอกตัว ผูแ้ ละดอกตัว เมียอยู่ในช่ อดอก
เดียวก ัน ผลและเมล็ดของอ้อยเป็ นชนิดคารี ออปซิส (Caryopsis) (เกษม, 2538)

3.1.1.2 พันธุ์ของอ้ อยในประเทศไทย


พันธุ์ออ้ ยที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และเกษตรกรนิยมปลูก ได้แ ก่พนั ธุ์ อู่ทอง 1
อู่ทอง 2 อู่ทอง 3 และ อู่ทอง 4 ดังนี้
(1) อู่ทอง 1 ทนต่ อการหักล้ม แตกกอดี ไว้ต อดี ในเขตนํ้า ฝน ให้ผลผลิต 12-15 ตัน/ไร่ เขต
ชลประทานให้ผลผลิต 15-20 ตัน/ไร่ CCS มีค่า 11-12 ทนทานต่อโรคใบด่างและโรคแส้ดาํ
(2) อู่ทอง 2 สะสมนํ้าตาลเร็ว ต้านทานโรคแส้ดาํ ให้ผลผลิตสูงในดิ นร่ ว นเขตชลประทานภาค
กลางและภาคตะวันตก ให้ผลผลิต 14-18 ตัน/ไร่ CCS มีค่า 13-14
(3) อู่ทอง 3 เป็ นลูกผสมของอ้อยอู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 ให้ผลผลิต สู งในดิ นร่ ว นปนทรายที่
สามารถให้น้ ํา ได้ ให้ผลผลิต 15-16 ตัน/ไร่ CCS มีค่ า 13-14ไม่ค วรปลูกในแหล่งที่ มีโรคเหี่ ยวเน่ า แดง
ระบาดเพราะอ่อนแอต่อโรคนี้
(4) อู่ทอง 4 เป็ นลูกผสมของอ้อยพันธุ์ EROS และ H 48-3116 ให้ ผลผลิต และนํ้าตาลสู ง
ทนทานต่อการเข้าทําลายของหนอนกอ ต้านทานโรคแส้ดาํ และโรคเหี่ ยวเน่าแดง เหมาะสํา หรับปลูกใน
เขตชลประทาน

รายงานฉบับสุดท้าย 3-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.1.1.3 การผลิตอ้ อย
อ้อยเป็ นพืชเศรษฐกิจที่สาํ คัญ สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ มีอายุเก็บเกีย่ ว 10-12
เดือน เก็บผลผลิตได้ 2-3 ปี สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบํารุ งดูแลรักษาเป็ นปั จ จัยสํา คัญในการเพิ่มผลิต
และคุณภาพของอ้อยอ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ตั้งแต่ดินร่ วนถึงดินร่ ว นปนทราย พื้นที่
ปลูกควรเป็ นที่ราบ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง

3.1.1.4 การเตรียมพันธุ์
พันธุ์ออ้ ยควรมาจากแปลงอ้อยที่ เจริ ญเติ บโตดี ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรค และแมลง มีอายุ
ประมาณ 8-10 เดื อน ถ้า ต้อ งทิ้ ง พันธุ์ ออ้ ยที่ ต ัด ไว้แ ล้ว ในไร่ ค วรคลุม ท่ อนพันธุ์ ด ้ว ยใบอ้อยแห้ง เพื่ อ
ป้ องก ันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแ ปลงพันธุ์ออ้ ยไว้ใช้เองเพื่อลดค่ า ใช้จ่ า ยอ้อยจาก แปลงพันธุ์ 1 ไร่
(อายุ 7-8 เดื อน) ปลูกขยายได้ 10 ไร่ สํา หรับแปลงพันธุ์ ควรแช่ ท่อนพันธุ์ในนํ้า ร้อนนาน 2 ชั่วโมง เพื่อ
ป้ องก นั โรคใบขาว และกอตะไคร้ จากนั้ นแช่ ท่ อนพันธุ์ ในสารเคมี โพรนิ โคนาโซลอัต รา 66 ซี ซี / นํ้ า
20 ลิตร นาน 30 นาที เพื่อป้ องก ันโรคแส้ดาํ เหี่ ยวเน่าแดง และกลิน่ สัปปะรด

3.1.1.5 ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปั จจุบนั สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็ น 2 ประเภท คื อ
(1) การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็ น 2 เขต คือ
(1.1) ในเขตชลประทาน (20% ของพื้นที่ปลูกอ้อยทัว่ ประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง
เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
(1.2) ในเขตอาศัยนํ้าฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดื อนเมษายน - มิถุนายน
(2) การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทําได้เฉพาะในบางพื้นที่ ของ ภาค
ตะวันออกเฉี ยงเหนือและภาคตะวันออก ที่มีปริ มาณและการกระจายของฝนดี และดิ นเป็ นดิ นทรายเหนื อดิ น
ร่ วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม

3.1.1.6 การเตรียมดิน
การเตรี ยมดิ นเพื่อปลูกอ้อยจะไถเตรี ยมดิ นให้ลึกขณะมีค วามชื้ นพอเหมาะ และควรลงไถดิ น
ดานทุกครั้งที่มีการรื้ อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่โดยไถเป็ นรู ปตาหมากรุ ก ถ้า ปลูกต้นฤดู ฝนหรื อปลูกอ้อยใช้
นํ้าชลประทานไม่จาํ เป็ นต้องไถพรวนให้ดิ นแตก การปลูกอ้อยปลายฝนหรื อปลูกอ้อยข้า มแล้ง ต้องไถ
พรวนจนหน้าดินแตกละเอียด เพื่อช่วยลดความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ชา้ ลง

รายงานฉบับสุดท้าย 3-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.1.1.7 วิธีการปลูก
(1) วิธีการปลูกอ้อย แบ่งเป็ น 2 กรณี คือ
(1.1) กรณี ใช้คนปลูกจะยกร่ องกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์ออ้ ยเป็ นลํา
โดยใช้ลาํ เดี่ยวเกยก ันครึ่ งลําหรื อ 2 ลําคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์ออ้ ยที่ใช้
(1.2) กรณี ใช้เครื่ องปลู ก หลังจากเตรี ยมดิ นแล้วไม่ ต ้องยกร่ องจะใช้เครื่ องปลูกติ ดท้า ย
แทรกเตอร์ โดยจะมีตวั เปิ ดร่ อง และช่ องสําหรับใส่ พนั ธุ์ออ้ ยเป็ นลํา และมีต ัวตัดลําอ้อยเป็ นท่ อนลงในร่ อง
และมีตวั กลบดิ นตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูกได้เลย ปั จ จุ บันมีการ
ใช้เครื่ องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณี ใช้พนั ธุ์
อ้อยที่แตกกอมาก และจะปลูกแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่า งคู่ แ ถว 20-30 เซนติ เมตร ใน
กรณี ใช้พนั ธุ์ออ้ ยที่แตกกอน้อย
(2) การใส่ปุ๋ย
แบ่งใส่ปุ๋ยเป็ น 2 ครั้ง จํานวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ ปุ๋ยครั้งแรกให้ใช้ปุ๋ยสู ต ร 15-15-15, 25-
7-7 จํานวน 25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่สองให้ใช้ ปุ๋ ยสูตร 20-8-20 จํานวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
(3) การป้ องก ันก ําจัดวัชพืช
(3.1) ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน
(3.2) ใช้เครื่ องจักรไถพรวนระหว่างร่ องหลังปลูก เมื่อมีวชั พืชงอก
(3.3) ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า

3.1.1.8 การเผาใบอ้ อย
การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกีย่ ว เนื่ องจากการขาดแคลนแรงงานทํา ให้ต ัด อ้อยได้เร็ ว ไม่ต ้องลอก
กาบใบ อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทําให้เสียนํ้าตาลและคุณภาพความหวาน และต้องจ่ า ย
ค่าก ําจัดวัชพืช และให้น้ าํ เพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแกไ้ ข คื อ ถ้า ส่ งโรงงานไม่ทันต้องตัด อ้อยไฟไหม้
กองไว้ในไร่ ซึ่ งจะสู ญเสี ย ความหวานน้อยกว่า ทิ้ งไว้ในไร่ การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกีย่ วเนื่ องจาก
เกษตรกรต้องการป้ องก ันไฟไหม้ออ้ ย ตอ หลังจากที่มีหน่องอกแล้ว และทํา ให้ใส่ ปุ๋ยได้สะดวกการกลบ
ปุ๋ ยทําได้ง่าย แต่มีผลเสียตามมา คือ
(1) เป็ นการทํา ลายวัตถุอินทรี ยใ์ นดิน
(2) ทําให้สูญเสียความชื้นในดินได้ง่าย
(3) หน้าดินถูกชะล้างได้ง่าย
(4) มีวชั พืชในอ้อยตอขึ้นมาก
(5) มีหนอนเข้าทําลายมากขึ้น

รายงานฉบับสุดท้าย 3-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

แนวทางแก ้ไข คือ ใช้เครื่ องสับใบอ้อยคลุกเคล้า ลงดิ นระหว่า งแถวอ้อย และถ้า ต้องการเผาใบ
อ้อย ควรให้ น้ ํา ในอ้อ ยทัน ที จ ะช่ ว ยลดการตายของอ้อยตอลงได้ ส่ ว นการเผาใบก่อนการเตรี ย มดิ น
เกษตรกรทําเพื่อให้สะดวกในการเตรี ยมดิ นปลูก เพราะล้อรถแทรกเตอร์ จ ะลื่นเวลาไถ มีผลเสี ยตามมา
คือ เป็ นการทําลายอินทรี ยว์ ตั ถุ ดินอัดแน่นทึบ ไม่อมุ ้ นํ้า นํ้าซึมลงได้อยาก แนวทางแกไ้ ข คื อการใช้จ อบ
หมุนสับเศษอ้อย และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรี ยมดิน ทําให้ไม่ตอ้ งเผาใบอ้อยก่อนการเตรี ยมดิน

3.1.1.9 แหล่ งผลิต


อ้อยเป็ นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกนั มาก อ้อยที่ นํา มาคั้นนํ้า สํา หรับดื่ มเป็ นอ้อยที่ ปลูก
บริ เวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว ประชาชนเรี ยกว่า อ้อยเหลือง หรื อ อ้อยสิ งคโปร์ นิ ยมปลูกกนั มากใน
บริ เวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรี อยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็ นต้น

3.1.1.10 สถานการณ์ การผลิตในประเทศไทย


จากรายงานการเก็บเกีย่ วอ้อยและการผลิตนํ้าตาลทรายปี 2553 ของศูนย์บริ หารการผลิต สํานักงาน
คณะกรรมการอ้อย และนํ้าตาลทราย พบว่ามีการเก็บเกีย่ วอ้อย เข้าโรงงานนํ้าตาลไปแล้ว จํานวน 68.49 ล้านตัน
นําไปผลิตเป็ นนํ้าตาลได้ 6.85 ล้านตัน โดยแยกเป็ นนํ้าตาลทรายดิบ จํานวน 3.86 ล้านตัน และนํ้าตาลทรายขาว
จํานวน 2.99 ล้านตัน ความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.58 ซี .ซี .เอส. ผลผลิตนํ้าตาลทรายเฉลี่ยต่ อตันอ้อย 101.17
กก.ต่อตันอ้อย

3.1.1.11 การแปรรูปและการใช้ ประโยชน์ อ้อย


การแปรรู ปและการใช้ประโยชน์ข องอ้อยมีต้ งั แต่ ยอดจนถึงราก แต่ ส่ว นที่ นํา มาใช้ประโยชน์
มากที่สุดได้แก่ส่วนของลําต้น ซึ่งทําหน้าที่เก็บนํ้าตาลไว้นั่นเอง อย่างไรก็ดี ในการผลิตนํ้าตาลทรายจาก
อ้อยโดยตรงนั้นมี ผลผลอยได้ (By-products) เกิด ขึ้ น หลายอย่า ง ที่ สํา คัญได้แ ก่ ชานอ้อย กากตะกอน
(filter mud, filter cake) และกากนํ้าตาล (molasses) ทั้ง นํ้าตาลและผลพลอยได้ส ามารถนํา มาใช้
ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อความสะดวกจะได้แยก กล่าวเป็ น 2 พวก คือ
(1) การใช้ประโยชน์น้ าํ ตาล
การใช้ประโยชน์น้ าํ ตาลแบ่งออกเป็ น 2 อย่าง คือ
(1.1) ใช้เป็ นอาหารมนุษย์ นํ้าตาลมีความสําคัญและจํา เป็ นต่ อชี วิต ในฐานะที่ เป็ นอาหาร
ทั้งในรู ปของอาหารคาวและหวาน นอกจากจะใช้เป็ นอาหารโดยตรงแล้ว นํ้า ตาลยังใช้ในอุต สาหกรรม
อาหาร เช่น สับปะรดกระป๋ อง ผลิตภัณฑ์นม นํ้าผลไม้กระป๋ อง และเครื่ องดื่ มที่ ไม่มีแ อลกอฮอล์ซ่ ึ งได้แ ก่
นํ้าขวดหรื อนํ้าอัดลมชนิดต่างๆ เป็ นต้น

รายงานฉบับสุดท้าย 3-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(1.2) ใช้ประโยชน์อย่า งอื่น นํ้า ตาล (รวมทั้งแป้ ง) สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้า งขวาง


นับตั้งแต่ ใช้ผลิต แอลกอฮอล์โดยขบวนการหมักดองหรื อเฟอร์ เมนเตชัน (Fermentation) ซึ่ งอาศัยเชื้ อ
ยีสต์ (yeast) จนถึงการผลิตผงซักฟอก (detergents) โดยอาศัยปฏิกริ ิ ยาโดยตรงระหว่างนํ้าตาล และไขมัน
(fat) ผงซักฟอกประเภทนี้เป็ นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากเพราะสามารถสลายตัว ได้ โดยชี วินทรี ย ์
(biodegradable) นอกจากนี้ นํ้าตาลยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต สารเคลือบผิว (surfactant) สํา หรับใช้
ในการเกษตรสารดังกล่าวสลายตัวได้โดยชีวินทรี ย ์ เช่นเดียวก ันอย่างไรก็ดี การใช้ประโยชน์ข องนํ้า ตาล
ในรู ปที่มิใช่เป็ นอาหารก ําลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้ นโดยลํา ดับซึ่ งจะเห็ นได้จ ากผลิต ภัณ ฑ์ใหม่ๆ ที่ ใช้
นํ้าตาลเป็ นวัตถุดิบเกิดขึ้นเรื่ อยๆ
(2) การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้
การใช้ประโยชน์ผลพลอยได้แบ่งออกเป็ น 3 อย่าง คือ
(1.1) ชานอ้อ ย หมายถึ ง ส่ ว นของลํา ต้น อ้อ ยที่ หี บ เอานํ้าอ้อ ยหรื อ นํ้าตาลออกแล้ว มี
ส่วนประกอบอย่างหยาบๆ คิ ด เป็ นค่ า ร้อยละโดยนํ้า หนักของชานอ้อยเปี ยก (ความชื้ นร้อยละ 48) คื อ
ชานอ้อยหรื อไฟเบอร์ (fiber) 48.5% นํ้า 48.0% นํ้า ตาล 3.0% และสารประกอบอื่นๆ นอกจากที่ กล่า ว
แล้ว 0.5% ชานอ้อยใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังนี้
(2.1.1) ใช้เ ป็ นเชื้ อ เพลิ ง สํา หรับ ผลิต ไอนํ้าและกระแสไฟฟ้ าสํา หรั บใช้ภายใน
โรงงานนํ้าตาลนัน่ เองชานอ้อยสามารถใช้แ ทนนํ้า มันเชื้ อเพลิง (fuel oil) ได้ดี ชานอ้อยที่ มีค วามชื้ นร้อย
ละ 50 หนัก 3 ตันเมื่อเผาจะให้พลังงานไล่เลี่ยก ับนํ้ามันเชื้อเพลิงหนัก 1 ตัน
(2.1.2) ใช้ผลิตวัสดุกอ่ สร้างโดยอาศัยกาว เช่ นอัด เป็ นแผ่น (particle board) ไม้อดั
ผิวเส้นใย (fiber-overlaid plywood) และแผ่นก ันความร้อน (insulating board) เป็ นต้น
(2.1.3) ใช้ผลิ ต เยื่อกระดาษ (pulp) และกระดาษชนิ ด ต่ า งๆ ชานอ้อ ยส่ ว นใหญ่
ประกอบด้ว ย ลิกนิ น (lignin) และมีเซลลูโลสอยู่บ้า งเล็กน้อย ไฟเบอร์ ข องชานอ้อยค่ อนข้า งสั้น คื อ มี
ความยาวเฉลี่ยเพียง 1.4 มิลลิเมตร เท่านั้น ในขณะที่เยือ่ ใยของไม้ไผ่เฉลี่ย 2.5 - 4.0 มิลลิเมตร
(2.1.4) ใช้เป็ นอาหารสัตว์ ชานอ้อยถ้าให้สตั ว์กนิ โดยตรงมักจะเกิด ปั ญหาเกีย่ วกบั
รสชาติ การย่อยของสัตว์ ตลอดจนมีอตั ราส่วนตํ่าระหว่างอาหารที่สตั ว์กนิ ก ับนํ้าหนักตัวที่เพิ่ม วิธีที่ดี คื อ
นํา มาหมัก ก่อนที่ จ ะให้สัต ว์ก นิ วัสดุ ที่ห มัก ประกอบด้ว ยชานอ้อ ย 1 ตัน (ความชื้ น ร้อ ยละ 55.3)
โซเดียมไฮดรอกไซด์ ร้อยละ 5 ของนํ้า หนักแห้ง กากนํ้า ตาลร้อยละ 15 ยูเรี ยร้อยละ 0.8 และข้า วโพด
ร้อยละ 12 โดยนํ้าหนัก ผสมแล้วทําให้มีความชื้นประมาณร้อยละ 60 หมักไว้ 4-6 สัปดาห์ จึงให้สตั ว์กนิ
(2.1.5) ใช้เป็ นวัต ถุดิ บสํา หรับอุต สาหกรรมผลิ ต furfural, furfuryl alcohol และ
xylitol
(2.1.6) ใช้ทํา ปุ๋ ยหมักโดยหมักร่ ว มกบั ปุ๋ ยคอกกากตะกอน หรื อ ปุ๋ ยวิท ยาศาสตร์
นอกจากนี้ยงั ใช้ปูคอกสัตว์เพื่อรองรับมูลสัตว์ และทําปุ๋ ยหมักต่อไป

รายงานฉบับสุดท้าย 3-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2.1.7) ใช้เป็ นวัตถุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นของดินและป้ องก ันวัชพืช

(1.2) กากตะกอนหรื อขี้ ตะกอน หมายถึงสิ่ งเจื อปนที่ เป็ นของแข็งที่ ไ ม่ละลายนํ้า อยู่ใ น
นํ้าอ้อย สิ่ งเจื อปนเหล่า นี้ จ ะถูกขจัด ออกไปจากนํ้า อ้อยในขบวนการทํา ใส (clarification) กากตะกอน
โดยทัว่ ไปมีลกั ษณะป่ นเป็ นชิ้นเล็กๆ สีเทาเข้ม ส่วนประกอบของกากตะกอนไม่ค่ อยแน่ นอน ทั้งนี้ ข้ ึ นอยู่
ก ับคุณภาพและความสะอาดของอ้อย ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต ของโรงงานนั้นด้ว ย กากตะกอนส่ ว น
ใหญ่มีน้ าํ ประมาณร้อยละ 70 โดยนํ้าหนัก ในส่วนที่เป็ นของแข็งเป็ นพวกสารอินทรี ยท์ ี่ ได้จ ากอ้อยและ
ดินรวมทั้งมีไขปนอยูด่ ว้ ย นอกจากนี้กม็ ีน้ าํ ตาลละลายอยูบ่ า้ ง การใช้ประโยชน์ของกากตะกอนมีดงั นี้
(2.2.1) ใช้ เ ป็ นปุ๋ ยบํ า รุ ง ดิ น ได้ ดี จากการวิ เ คราะห์ ก ากตะกอนเพื่ อ ใช้ เ ป็ น
ปุ๋ ย ปรากฏว่า มีไนโตรเจน ร้อยละ 1.98 กรดฟอสฟอริ กร้อยละ 2.56 และโพแทชร้อยละ 0.28 โดย
นํ้าหนักแห้ง นอกจากนี้กม็ ีธาตุอาหารอื่นๆ ที่จาํ เป็ นสําหรับการเจริ ญเติบโตของพืชอยู่ด ้ว ย ข้อควรระวัง
ในการใช้กากตะกอนทําปุ๋ ยก็คือต้องไม่ใส่มากเกินไป เพราะจะทําให้เกิดความร้อนเนื่ องจากการสลายตัว
ยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ตอ้ งระวังเชื้อราที่ติดมาด้วย เพื่อแก ้ปั ญหาดังกล่าวอาจใช้วิธีห มักโดยกองไว้ใน
ร่ มให้ค วามชื้ นพอเหมาะ คลุมด้ว ยพลาสติ ก ผ้า ใบ หรื อกระสอบเก่า เพื่อให้สลายตัว โดยสมบู รณ์ กาก
ตะกอนที่สลายตัวดีแล้วจะเย็น การหมักอาจใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน
(2.2.2) ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต ไข ประมาณครึ่ งหนึ่ งของไขที่ มีอยู่บนต้นอ้อย จะ
ปะปนอยูใ่ นกากตะกอน ประมาณก ันว่า ทุ กๆ ตันของอ้อยที่ เข้า หี บจะให้ไขประมาณ 450 กรัม ตัว เลข
ดัง กล่ า วแตกต่ า งก นั ไปตามพัน ธุ์ อ ้อ ยและบริ เวณที่ ป ลู ก ไขที่ ไ ด้จ ากอ้อ ยสามารถนํา ไปใช้ ใ น
อุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น อุตสาหกรรมผลิตสารขัดเงา ผลิต หมึกสํา หรับกระดาษคาร์ บอน และผลิต
ลิปสติก เป็ นต้น
(2.3) กากนํ้าตาล คือของเหลวมีลกั ษณะเป็ นนํ้า เชื่ อมสี น้ ํา ตาลเข้ม ของเหลวนี้ จ ะถูกแยก
ออกจากเกล็ดนํ้าตาลโดยวิธีปั่น (Centrifuge) ส่ ว นประกอบของกากนํ้า ตาลแตกต่ า งกนั ไปตามโรงงาน
อย่างไรก็ดีส่วนประกอบโดยประมาณคิดเป็ นร้อยละตามนํ้าหนักของกากนํ้าตาลมีด ังนี้ คื อ (1) นํ้า 17-25
(2) นํ้า ตาลซู โ ครส 30-40 นํ้าตาลกลูโคส 4-9 นํ้า ตาลฟรัก โทส 5-12 นอกจากนั้นก็มี สารประกอบ
คาร์โบไฮเดรตอื่นๆ สารประกอบไนโตรเจน กรดต่ า งๆ วิต ามิน ไข และแร่ ธาตุ ต่า งๆ อีกเป็ นจํา นวน
มาก ดังนั้นกากนํ้าตาลจึงใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า ผลพลอยได้ชนิ ด อื่นๆ ทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้
จากกากนํ้าตาลมีมากมาย เช่น ใช้ทาํ ปุ๋ ย ใช้เลี้ยงสัต ว์ใช้ผลิต แอลกอฮอล์ ใช้ในอุต สาหกรรมยีสต์ ใช้ทํา
ผงชูรส และใช้ทาํ กรดนํ้าส้ม เป็ นต้น แม้ว่าจะใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง แต่กป็ รากฏว่ากากนํ้า ตาล ส่ ว น
ใหญ่ใช้ประโยชน์ 2 ประการ คือ ใช้เป็ นอาหารสัตว์ และใช้ผลิตแอลกอฮอล์
(2.3.1) ใช้เป็ นอาหารสัต ว์ กากนํ้าตาลมีคุ ณ สมบัติ เหมาะสมที่ จ ะใช้เป็ นอาหาร
สําหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง(ruminant) เช่ น โค กระบื อ แพะ ฯลฯ ทั้งนี้ เพราะว่า กากนํ้า ตาลนอกจากจะช่ ว ย

รายงานฉบับสุดท้าย 3-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เพิ่มรสชาติแก่อาหารแล้ว ยังช่วยกระตุน้ การทํา งานของบัค เตรี ในกระเพาะซึ่ งจะช่ ว ยย่อยอาหารหยาบ


เช่น ยอดอ้อย ฟางข้าว และแม้กระทัง่ ชานอ้อย ทําให้สตั ว์พวกนี้ใช้ ประโยชน์จากอาหารดังกล่า วได้มาก
ขึ้น ในกรณี ที่ใช้ชานอ้อยเป็ นอาหารหยาบอาจใช้สูต ร คิ ด เป็ นร้อยละดังนี้ คื อ กากนํ้า ตาล 74 ชานอ้อย
14 กากถัว่ ลิสง 8 ยูเรี ย 2 ไดแคลเซียมฟอสเฟต 15 และโซเดียมคลอไรด์ 0.5
(2.3.2) ใช้ผ ลิต แอลกอฮอล์ การผลิ ต แอลกอฮอล์จ ากกากนํ้า ตาลกระทํา ได้โดย
นําเอากากนํ้าตาลมาทําให้เจื อจางด้ว ยนํ้า แล้ว หมักด้ว ยเชื้ อยีสต์พวก Saccharomyces cerevisiae เปลี่ยน
นํ้า ตาลไปเป็ นแอลกอฮอล์ จากนั้นก็นํา มากลัน่ แยกแอลกอฮอล์อ อก ซึ่ ง จะได้แ อลกอฮอล์ที่มี ค วาม
บริ สุทธ์ประมาณ 95%ปริ มาณแอลกอฮอล์ที่ได้แ ตกต่ า งกนั ไปตามคุ ณ ภาพของกากนํ้า ตาล ตลอดจน
กรรมวิธี ก ารผลิ ต แอลกอฮอล์ข องโรงงานนั้น โดยทั่ว ไปกากนํ้าตาลหนัก 1 ตันจะให้แ อลกอฮอล์
ประมาณ 340 ลิตร กากนํ้าตาลที่ผลิตได้ในประเทศไทยส่ ว นใหญ่ส่งออกจํา หน่ า ยต่ า งประเทศ หากได้
นํา มาใช้ประโยชน์โ ดยเฉพาะใช้ผ ลิต แอลกอฮอล์ ก็จ ะได้ป ระโยชน์ มากกว่ า การส่ งเป็ นสิ นค้า ออก
อนาคตของอัลกอฮอล์กาํ ลังสดใสขึ้ นโดยลํา ดับ เพราะสามารถใช้ทดแทนพลังงานที่ ได้จ ากนํ้า มันซึ่ ง
นับวันจะหายาก และมีราคาแพงขึ้ นทุ กที แอลกอฮอล์เป็ นพลังงานที่ ทํา ให้มีข้ ึ นได้ในเวลาอันสั้น โดย
อาศัยวัตถุดิบคือนํ้าตาลซึ่งได้จากพืชโดยเฉพาะอ้อยนัน่ เอง

3.1.2 เทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากอ้ อยและกากนํา้ ตาล

ในการผลิตเอทานอลจากอ้อยนั้น ทําได้ 2 วิธีการคือ


(1) ใช้น้ าํ อ้อยจากอ้อยสด โดยนํานํ้าอ้อยไปหมักร่ วมก ับยีสต์ อ้อยสด 1 ตัน ได้เอทานล 70 ลิต ร
ในขณะเดียวก ัน หากนําอ้อยมาใช้เป็ นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลอาจเกิด ปั ญหาวัต ถุดิ บไม่เพียงพอได้
นอกจากนี้แล้วนําอ้อยมาผลิตเอทานอลยังมีขอ้ จําก ัดในด้านการปลูกและการตัด ส่ งโรงงานได้เพียงปี ละ
ไม่เกิน 5 เดือน ก็มีปัญหาในการผลิตเอทานอลโดยตรงจากอ้อย นอกจากนี้ การนํา อ้อยมาใช้เป็ นวัต ถุดิ บ
ยัง ต้อ งคํา นึ งถึ ง ปั ญ หาในเรื่ อ งการแบ่ งผลประโยชน์ร ะหว่ า งชาวไร่ อ ้อ ย และโรงงานนํ้าตาลตาม
พระราชบัญญัติ ออ้ ยและนํ้า ตาลทราย 2527 ด้ว ย จะเห็ นได้ว่า การใช้ออ้ ยเป็ นวัต ถุดิ บในการผลิต เอทา
นอลมีขอ้ จําก ัด อย่างไรก็ตาม การผลิต เอทานอลจากอ้อยอาจถูกนํา มาพิจ ารณาดํา เนิ นการในช่ ว งราคา
นํ้าตาลตกตํ่า ซึ่งถือว่าเป็ นทางเลือกอีกทางหนึ่งของโรงงานนํ้าตาล และถ้า หากไม่ต ้องการเพิ่มพื้นที่ การ
เพาะปลูก การเพิ่ม ผลผลิ ต ต่ อไร่ ใ ห้สู งขึ้ นจะเป็ นทางหนึ่ ง ช่ ว ยให้ป ริ ม าณอ้อ ยมาใช้เ ป็ นวัต ถุดิ บใน
โรงงานเอทานอล และให้ช่วยให้เกิดผลดีในแง่ตน้ ทุนที่ต่าํ ลงของอ้อยผลิตเอทานอล
(2) การใช้กากนํ้าตาล กากนํ้าตาล เป็ นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต นํ้า ตาลจากอ้อย ที่ ไม่
สามารถจะสกดั เอานํ้าตาลออกมาได้อี กโดยวิธี ปกติ มีล ักษณะเหนี ย วข้น สี น้ ําตาลแก่ ซึ่ งสามารถ
นําไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยปั จ จุ บันทั้งในและต่ า งประเทศ ได้มีการนํา กากนํ้า ตาลไปใช้เป็ น

รายงานฉบับสุดท้าย 3-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วัต ถุดิ บในภาคอุ ต สาหกรรมต่ อเนื่ องหลายๆ ประเภท ได้แ ก่ อุต สาหกรรมผลิต สุ ราและแอลกอฮอล์
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปุ๋ ยชีวภาพ ผลิตผงชูรส และนํ้าส้มสายชู เป็ นต้น นอกจากนี้ ผลจากราคานํ้า มัน
ที่ปรับตัวสูงขึ้ น ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยยังได้นํา กากนํ้า ตาลไปใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการ
ผลิตเอทานอลเพื่อเป็ นส่ ว นผสมในแก๊สโซฮอล์ ส่ งผลให้ปริ มาณความต้องการกากนํ้า ตาลในประเทศ
เพิ่มขึ้นเป็ นประมาณ 1.53 ล้านตันต่อปี
ปั จจุบนั ประเทศไทยถือเป็ นผูส้ ่งออกกากนํ้าตาลรายใหญ่ของโลก เนื่ องจากมีการเพาะปลูก
อ้อยและทํา การผลิต นํ้า ตาลส่ งออกสู งเป็ นอันดับ 3 ของโลก รองจากบราซิ ล และออสเตรเลีย ใน
ขณะเดียวก ันไทยยังถือเป็ นประเทศผูส้ ่งออกกากนํ้า ตาลรายใหญ่อนั ดับหนึ่ งของโลก โดยมีการส่ งออก
กากนํ้า ตาลไปยังตลาดต่ า งประเทศในช่ ว ง 3 ปี ที่ ผ่า นมา เฉลี่ยปี ละประมาณ 1.4-1.5 ล้า นตัน คิ ด เป็ น
มูลค่าเฉลี่ยต่อปี กว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การใช้กากนํ้า ตาลหมักร่ ว มกบั ยีสต์โดยใช้กากนํ้า ตาล 1 ตัน
สามารถผลิตเอทานอลได้ 260 ลิตร กากนํ้าตาล (Molasses) เป็ นผลพลอยได้ โดยทั่ว ไปอ้อย 1 ตัน จะได้
กากนํ้าตาลประมาณ 45-50 กิโลกรัม ปริ มาณผลิตแต่ ละปี ไม่แ น่ นอนขึ้ นอยู่กบั ปริ มาณและคุ ณ ภาพของ
อ้อย กากนํ้าตาลที่ผลิตได้จะใช้บริ โภคภายในประเทศและส่งออก การใช้ภายในประเทศส่ ว นใหญ่จ ะใช้
ในอุตสาหกรรมผลิตสุราและแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังใช้อุตสาหกรรมผลิตยีสต์ ซีอิว้ และผงชูรส

3.1.3 กระบวนการผลิตเอทานอล

กระบวนการผลิตเอทานอล 99.5% จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ


1. การเตรี ยมวัตถุดิบ
2. การหมักเอทานอลด้วย Yeast
3. การกลัน่ เอทานอล 93%
4. การกลัน่ แยกนํ้า (Dehydration)

โดยภาพรวมของกระบวนการผลิตเอทานอลแสดงดังรู ปที่ 3.1-1 และสรุ ปรายละเอียดได้ดงั นี้

รายงานฉบับสุดท้าย 3-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

นํ้าอ้อย/กากนํ้าตาล ยีสต์ ไอนํ้า ไอนํ้า

เตรี ยมวัตถุดิบ การหมัก กลัน่ 93% กลัน่ 99.8%


(Dehydration) จัดเก็บ
นํ้า/ธาตุอาหาร/กรด
Fusel Oil นํ้าส่า Vinasses Fusel Ethanol
CO2
ต้มระเหยนํ้า นํ้าร้อน

กากส่า เข้มข้น 35%


รูปที่ 3.1-1 ภาพรวมของกระบวนการผลิตเอทานอล
ที่มา: อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล

3.1.3.1 การเตรียมวัตถุดิบ
การเตรี ยมวัตถุดิบเข้าสู่ถงั หมัก ซึ่งในกระบวนการผลิตเอทานอลมีวตั ถุดิบที่สาํ คัญ 2 ชนิด คือ
(1) การเตรี ยมนํ้า อ้อยก่อนหมัก นํ้า อ้อ ยจะต้องมีก ารปรับอุณ หภูมิแ ละ pH ให้เ ป็ นกรดด้ว ย
H2SO4 และควบคุมอุณหภูมิให้เหลือประมาณ 32๐C จากนั้นจึงเติมธาตุอาหารแล้วส่งเข้าสู่ถงั หมัก
(2) การเตรี ยมกากนํ้าตาลก่อ นหมัก กากนํ้า ตาลซึ่ งมีค วามเข้มข้น สู งต้องนํา มาเจื อ จางด้ว ย
นํ้าอุ่นให้มีความเข้มข้นพอเหมาะ จากนั้นจึ งปรับ pH ด้ว ย H2SO4 ควบคุ มอุณ หภูมิให้มีอุณ หภูมิเหลือ
ประมาณ 32๐C จากนั้นจึงเติมธาตุอาหารแล้วส่งเข้าสู่ถงั หมัก
Clarified Juice 15.68 ตัน/ผลิตภัณฑ์
นํ้าใช้ในขบวนการ 0.61 ตัน/ผลิตภัณฑ์
ใช้ นํ้าอ้อยผลิต H2SO4 0.05 ตัน/ผลิตภัณฑ์
สารอาหาร 0.013 ตัน/ผลิตภัณฑ์

การเตรียมวัตถุดบิ Fermentation

Molasses 4.77 ตัน/ผลิตภัณฑ์


นํ้าใช้ในขบวนการ 12.17 ตัน/ผลิตภัณฑ์
ใช้ กากนํ้าตาลผลิต H2SO4 0.76 ตัน/ผลิตภัณฑ์
สารอาหาร 0.013 ตัน/ผลิตภัณฑ์

รูปที่ 3.1-2 กระบวนการเตรี ยมวัตถุดิบ (เทียบก ับ 1 ตันผลิต ภัณฑ์)


ที่มา: อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล

รายงานฉบับสุดท้าย 3-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.1.3.2 การหมักเอทานอลด้วย Yeast


หลัก การในกระบวนการหมักคื อ การเปลี่ย นนํ้าตาลให้เ ป็ นเอทานอลโดยผ่า นกระบวนการ
Glycolytic Pathway ภายในเซลล์ข อง Yeast ในสถาวะที่ ไ ม่มี อ อกซิ เ จน ดังนั้นในการหมักจึ งแบ่ ง
ออกเป็ น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก จะเป็ นการสร้าง Yeast ให้เติบโตมีปริ มาณมากพอ จะมีการเติ มอากาศ และ
ในช่วงที่สอง Yeast จะทํางานด้วยการเปลี่ยนนํ้า ตาลให้กลายเป็ นเอทานอลเป็ นหลัก ซึ่ งจะไม่มีการเติ ม
อากาศ และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมักแล้ว จะมีการแยก Yeast ออกจากการหมัก (mash) นํา Yeast ที่
ยังมีชีวิตกลับมาใช้ในกระบวนการหมักต่อไป
สําหรับการหมักเอทานอลที่นิยมจะเป็ นแบบต่ อเนื่ อง คื อจะมีการควบคุ มอุณ หภูมิระหว่า งการ
หมักให้อยูใ่ นช่วงประมาณ 32-35 ๐C ระยะเวลาในการหมักสํา หรับนํ้า อ้อยจะใช้เวลา 16 ชม.การหมัก
ด้วยโมลาสใช้เวลา 30 ชม. ในระหว่างการหมักจะมีกา๊ ชคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น และแยกออกจากถัง
หมักในรู ปของก๊าชในนํ้าหมักสุดท้ายจะมีเอทานอลประมาณ 8% โดยปริ มาตร

ใช้ นาํ้ อ้ อยผลิต


Ferment
CO2 0.98 เมกะตัน/ผลิต ภัณฑ์ Mash 15.39 ตัน/ผลิตภัณฑ์
Fermentation
CO2 0.98 เมกะตัน/ผลิต ภัณฑ์ Ferment 15.26 ตัน/ผลิตภัณฑ์
Mash
ใช้ กากนํา้ ตาลผลิต

รูปที่ 3.1-3 กระบวนการหมักเอทานอล (เทียบก ับ 1 ตันผลิตภัณฑ์)


ที่มา: อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล

3.1.3.3 การกลั่นเอทานอล 95%


การกลั่นในขั้นตอนนี้ จะเป็ นการแยกเอทานอลออกจากนํ้าหมักโดยนํา นํ้าหมักที่ มี เอทานอล
ประมาณ 8 % โดยปริ มาตร อุ่นให้ร้อนก่อนป้ อนเข้า สู่ ห อกลัน่ การทํา งานภายในหอกลัน่ อยู่ในสภาวะ
ของสุ ญ ญากาศ เอทานอลจะแยกออกจากนํ้า หมักมาอยู่ในรู ป ไอของเอทานอล จากนั้นจะถู กทํา ให้
ควบแน่นและนําไปกลัน่ ซํ้า (reflux) เพื่อเพิ่มความบริ สุทธิ์ของเอทานอลขึ้นเรื่ อยๆ จนสุ ด ท้า ยในขั้นตอน
นี้จะได้เอทานอล 95% ยังคงมีน้ าํ เจือปนอยูป่ ระมาณ 5%
สําหรับในขั้นตอนการกลัน่ นี้ นอกจากจะได้เอทานอล 95% แล้ว ยังมีผลพลอยได้เป็ น fusel oil
และนํ้าส่า ประมาณ 25 ลบ.ม./ชม. อาจจะเรี ยกว่า Spent wash คุณสมบัติ ห ลังออกจากระบบนี้ จ ะมีค วาม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เข้มข้นประมาณ 5-12% Solid ซึ่งจะนํามาต้มระเหยนํ้า ออกให้กลายเป็ น vinasses 35% Solid ด้ว ยระบบ
การต้ม 3 Effect สํา หรับ vinasses 35% Solid นี้ เป็ นผลพลอยได้อย่า งหนึ่ งของกระบวนการผลิต เอทา
นอลจะนําไปใช้เป็ นปุ๋ ยนํ้าต่อไป

ใช้ นํ้าอ้ อยผลิต


Vaccum Distillation and Spent Wash
Ferment Mash Dehydration System 13.17 ตัน/ผลิตภัณฑ์
15.39 ตัน/ผลิ ตภัณฑ์
Product 1.0 ตัน/ผลิตภัณฑ์ Vinasses Concentration
Spent Fient 1.22 ตัน/ผลิ ตภัณฑ์
Fusel Oil 0.002 ตัน/ผลิตภัณฑ์
Vinasses 1.55 ตัน/ผลิตภัณฑ์
Condensate 11.63 ตัน/ผลิ ตภัณฑ์
ใช้ กากนํ้าตาลผลิต

Ferment Mash Vaccum Distillation and Spent Wash


Dehydration System 12.96 ตัน/ผลิตภัณฑ์
15.26 ตัน/ผลิ ตภัณฑ์

Product 1.0 ตัน/ผลิตภัณฑ์ Vinasses Concentration


Spent Fient 1.29 ตัน/ผลิ ตภัณฑ์
Fusel Oil 0.002 ตัน/ผลิตภัณฑ์
Vinasses 5.83 ตัน/ผลิตภัณฑ์
Condensate 7.13 ตัน/ผลิ ตภัณฑ์

รูปที่ 3.1-4 กระบวน Vaccum Distillation and Dehydration (เทียบก ับ 1 ตันผลิตภัณฑ์)


ที่มา: อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล

3.1.3.4 Dehydration (Anhydrous Alcohol)


ขั้นตอนนี้เป็ นการแยกนํ้าออกจากเอทานอลโดยใช้ Molecular Sieves ทําให้เอทานอล 95% มีค วาม
บริ สุทธิ์มากขึ้นกลายเป็ นเอทานอลบริ สุทธิ์ 99.8% สําหรับใช้เป็ นเชื้อเพลิง
ในขั้นต้นจะมีการให้ค วามร้อนกบั เอทานอล 95% แล้ว ผ่า นเข้า สู่ Molecular Sieves ซึ่ งภายใน
บรรจุ Zeolithes และมีสภาวะเป็ นสุญญากาศ เอทานอลจะอยู่ในสถานะของไอเคลื่อนผ่า น รู พรุ นของ
Zeolithes ออกไป ส่วนนํ้าจะถูกก ักไว้ภายในโครงสร้า งของ Zeolithes โดยปกติ ในการกลัน่ Anhydrous
Alcohol นี้ จะมี Molecular Sieves 2 ตัว ซึ่ งจะสลับ ก นั ทํา งานโดยที่ ต ัว ใดตัว หนึ่ งอยู่ใ นสถาวะ
Absorption Mode โดยก ักเก็บนํ้าไว้แล้วปล่อยเอทานอลในสถานะไอออกไปเมื่อ Zeolithes อิ่มตัว ไปด้ว ย
นํ้าแล้วจะต้องทํา การ Desorption เพื่อเอานํ้า ออกก็จ ะสลับให้อีกตัว หนึ่ งทํา งาน ส่ ว นไอของเอทานอล

รายงานฉบับสุดท้าย 3-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เมื่อผ่านออกจาก Molecular Sieves แล้ว ก็จ ะถูกทํา ให้ค วบแน่ นและทํา ให้เย็นได้เป็ นเอทานอล 99.8%
ปั๊ มไปสู่ถงั เก็บ ดังแสดงในรู ปที่ 3.1-5

รายงานฉบับสุดท้าย 3-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

Clarified Juice 15.68 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ CO2 0.98 เมกะตัน/ผลิตภัณฑ์


นํ้าใช้ในขบวนการ 0.61ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Fermentation Ferment Mash
H2SO4 0.05 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ 15.39 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
สารอาหาร 0.013 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Vaccum Distillation and Dehydration System Spent Wash
13.17 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์

Product 1.0 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Vinasses Concentration


Spent Fient 1.22 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Fusel Oil 0.002 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Vinasses 1.55 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Condensate 11.63 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Clarified Juice 4.77 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ CO2 0.98 เมกะตัน/ผลิตภัณฑ์
นํ้าใช้ในขบวนการ 12.17ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Fermentation Ferment Mash
H2SO4 0.76 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ 15.26ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
สารอาหาร 0.013 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Vaccum Distillation and Dehydration System Spent Wash
12.96 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์

Product 1.0 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Vinasses Concentration


Spent Fient 1.29 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
รูปที่ 3.1-5 สรุ ปภาพรวมกระบวนการผลิตเอทานอล Fusel Oil 0.002 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Vinasses 5.83 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
ที่มา: อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล ข้อมูลจากโรงงานผลิตขนาด 200,000 ลิตร/วัน Condensate 7.13 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์

รายงานฉบับสุดท้าย 3-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

นํ้ามันหล่อลื่น 0.0012 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์/เดือน


นํ้าหล่อเย็น 6.08 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
CO2 0.98 เมกะตัน/ผลิตภัณฑ์

Fermentation Vaccum Distillation and Dehydration System Vinasses Concentration

นํ้าเสียจาก Spent Fient 1.22 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Vinasses 4-12% 13.17 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์


นํ้าเสียจากการล้างเครื่องจักร 0.61 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Vinasses 35% 1.55 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Condensate 11.62 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์

นํ้ามันหล่อลื่น 0.0012 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์/เดือน


นํ้าหล่อเย็น 6.08 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
CO2 0.98 เมกะตัน/ผลิตภัณฑ์

Fermentation Vaccum Distillation and Dehydration System Vinasses Concentration

นํ้าเสียจาก Spent Fient 1.29 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Vinasses 4-12% 12.97 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์


นํ้าเสียจากการล้างเครื่องจักร 0.61 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์ Vinasses 35% 5.83 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์
Condensate 7.13 ตัน/ตันผลิตภัณฑ์

รูปที่ 3.1-6 สรุ ปภาพรวมของเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลเป็ นเชื้อเพลิง


ที่มา: อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล
ข้อมูลจากโรงงานผลิตขนาด 200,000 ลิตร/วัน

รายงานฉบับสุดท้าย 3-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.2 การผลิตเอทานอลจากมันสํ าปะหลัง

3.2.1 ข้อมูลวัตถุดบิ

มัน สํ า ปะหลั ง เป็ นพื ช ในตระกู ล Euphorbiaceae มี ชื่ อทา งวิ ท ยา ศาสตร์ ว่ า Manihot
esculentacrantz และชื่อทางการค้าว่า cassava หรื อ tapioca ซึ่ งมีถิ่นกาํ เนิ ด ทางทวีปอเมริ กาใต้ ต่ อมาได้
ขยายไปสู่แหล่งอื่นๆของโลก สํา หรับประเทศไทยมีการนํา มันสํา ปะหลังเข้า มาปลูกที่ ภาคใต้เป็ นครั้ง
แรกเพื่อ ใช้ทํา แป้ งและสาคู ต่ อมาได้ข ยายพื้น ที่ ปลู กมายังภาคตะวันออก ได้แ ก่ ชลบุ รี ระยอง และ
จังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากมีสภาพดิน ฟ้ า อากาศ และสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมต่ อ การปลูกดังนั้นจึ ง
ได้ขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็วไปสู่ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ ซึ่งมันสําปะหลัง เป็ นพืชเศรษฐกิจ ที่ สํา คัญ
ของประเทศไทย มีพ้ืนที่ ปลูกมากกว่า 6 ล้า นไร่ มีผลผลิต ประมาณ 20 ล้า นตัน และประเทศไทยเป็ น
ประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์มนั สําปะหลัง (มันเส้นและแป้ งมันสําปะหลัง) เป็ นอันดับ 1 ของโลก

3.2.1.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของมันสําปะหลัง


มันสําปะหลัง เป็ นไม้พุ่มขนาดเล็กประกอบด้วยลํา ต้นที่ มีข นาดเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 2-6
เซนติเมตร สูงประมาณ 1-4 เมตร สีของลําต้นจะแตกต่างไปตามพันธุ์

รูปที่ 3.2-1 ลักษณะต้นและรากของมันสําปะหลัง

ส่ ว นที่ อ ยู่ ใ กล้ย อดมี สี เ ขี ย ว ส่ ว นแก่ที่ ต่ ํ า ลงมาอาจมี สี นํ้ าเงิ น สี เหลื อ ง ห รื อสี น้ ํ าตา ล
ใบของต้ น จ ะมี สี เขี ย ว เข้ ม มี ล ัก ษณะเป็ นแฉกๆ ตั้ งแต่ 5-9 แฉก รากของลํ า ต้ น จะเป็ นแบบ
รากฝอย รากเหล่านี้เป็ นคลังสะสมอาหารมีลกั ษณะโตเรี ยก “หัว ” หัว ของมันสํา ปะหลังนี้ จ ะมีประมาณ
5-15 หัว มีความยาว 15-100 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-15 เซนติเมตร โดยมีแป้ งเป็ นส่ ว นประกอบ
ที่สาํ คัญ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 3.2-2 ลักษณะหัวของต้นมันสําปะหลัง

มันสําปะหลัง (มณฑา และคณะ, 2546) เป็ นพืชใช้ประโยชน์จ ากหัว (รากสะสม) เมื่อมีอายุถึง


ก ําหนดเก็บเกีย่ ว เกษตรกรจะเก็บเกีย่ วเอาหัวมันสําปะหลังไปใช้ประโยชน์ ส่ ว นอื่นๆ ของมันสํา ปะหลัง
ได้แก่ ลําต้นและใบ หลังจากเก็บเกีย่ วแล้ว ลํา ต้นส่ ว นหนึ่ งเกษตรกรจะใช้เป็ นพันธุ์ปลูก บางส่ ว นขยาย
เป็ นต้นพันธุท์ ี่เหลือมักจะถูกละเลยเป็ นวัสดุ เหลือใช้ส่ว นใบมันสํา ปะหลัง สามารถใช้เลี้ยงสัต ว์ได้ แต่
เกษตรกรส่ ว นใหญ่ มกั ปล่อ ยทิ้ งไว้ใ นไร่ เป็ นวัสดุ เหลือ ใช้ ซึ่ ง สัด ส่ ว นระหว่า งหัว ลํา ต้น และใบจะ
แตกต่างตามชนิดพันธุ์ข องมันสํา ปะหลัง สภาพแวดล้อม และภูมิประเทศที่ ใช้ปลูกมันสํา ปะหลัง เช่ น
ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูก

3.2.1.2 พันธุ์ของมันสําปะหลังในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็ นประเทศหลักประเทศหนึ่งของโลก ในการผลิต มันสํา ปะหลัง อย่า งไรก็ดี ก่อน
ช่วงปี พศ 2552 นั้น พันธุ์มนั สํา ปะหลังที่ เพาะปลูกกนั ส่ ว นใหญ่ ยังคงเป็ นพันธุ์พ้ืนเมือง ต่ อมาได้มีการ
พัฒนาสายพันธุ์ มันสําปะหลัง โดยสายพันธุ์ แรก คือ ระยอง 1 และได้มีการพัฒนาต่ อมาอย่า งต่ อเนื่ อง การ
พัฒ นาสายพัน ธุ์ มนั สํา ปะหลัง ในประเทศไทยนั้น เพื่อ ตอบจุ ด ประสงค์ ห ลักในเรื่ องของการเพิ่ ม
เปอร์เซนต์ของแป้ งในหัวมันและการเพิ่มผลผลิต จนปั จ จุ บันนี้ ได้มีพนั ธุ์ที่นิยมปลูกอยู่ห ลายพันธุ์ และ
สายพันธุ์ที่พบว่ามีความสามารถผลิตเอทานอลได้มากที่สุด คือ ระยอง 9

3.2.1.3 การผลิตมันสําปะหลัง
การผลิ ต มันสํา ปะหลังเพื่ อใช้เ ป็ นวัต ถุ ดิ บ ป้ อนโรงงานเอทานอลมี ข้ ันตอนที่ ต ้อ งดู แ ล 13
ขั้นตอนดังนี้
(1) ดินสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง
(2) การไถ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(3) การปรับปรุ งบํารุ งดิน


(4) การอนุรักษ์ดินและนํ้า
(5) พันธุ์มนั สําปะหลัง
(6) การเลือกใช้พนั ธุ์
(7) ระยะเวลาเพาะปลูก
(8) วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม
(9) การใช้ปุ๋ย
(10) การก ําจัดวัชพืช
(11) โรคและแมลงศัตรู ที่สาํ คัญ
(12) อายุเก็บเกีย่ ว
(13) วิธีการเก็บเกีย่ วและการเก็บรักษา
สําหรับดินปลูกมันสํา ปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิต มันสํา ปะหลังในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อ
สามารถทําได้ดว้ ย 3 วิธีการร่ วมก ัน คือ
(1) วิธีการแรก คือ การเลือกใช้หรื อเลือกปลูกมันสําปะหลังพันธุ์ดี มันสํา ปะหลังพันธุ์ดี ในที่ น้ ี
หมายถึง พันธุ์ที่ ให้ผ ลผลิ ต และปริ มาณแป้ งสู ง(เปอร์ เ ซ็นต์ แ ป้ งในหัว ) เนื่ องจากการซื้ อ ขายหัว มัน
สํา ปะหลัง ราคาจะถูก ก าํ หนดโดยเปอร์ เ ซ็น ต์แ ป้ งและนํ้า หนัก ของหัว นอกจากนี้ พ นั ธุ ์ดี ย งั ต้อ งมี
ลักษณะอื่น ๆ ที่ตอ้ งการด้วย เช่น งอกดี ความอยู่รอดสู ง โตเร็ ว คลุมวัชพืชได้ดี ต้า นทานต่ อโรคแมลง
ขุดเก็บเกีย่ วง่าย และเป็ นพันธุ์ที่ผูซ้ ้ือ (โรงงาน) ต้องการ และมันสําปะหลังพันธุ์ดีเหล่านี้ จะมีข ้อ เด่ น และ
ข้อจํา กดั แตกต่ า งกนั ไป และมีค วามสามารถในการให้ผลผลิต แตกต่ า งกนั ไปตามสภาพพื้นที่ปลูกด้วย
(2) วิธีการที่สอง คือ การจัด การดิ นให้ดี เนื่ องจากธาตุ อาหารที่ มนั สํา ปะหลังต้องใช้เพื่อการ
สร้างต้น ใบ และหัวนั้นจะได้มาจากดินเป็ นส่วนใหญ่ การจัดการดินให้ดีเพื่อให้มนั สํา ปะหลังสร้า งหัว ดี
นั้นจึ งต้องมีการปรับปรุ งโครงสร้า งของดิ นให้เหมาะสม ต้อ งบํา รุ ง ดิ น เพื่อ ให้มีค วามอุด มสมบู ร ณ์
และต้องมีการอนุรักษ์ดินเพื่อให้มนั สําปะหลังสร้างหัวได้
(3) วิธีการที่ สาม คื อ การจัด การดู แ ลดี โดยเริ่ มตั้งแต่ การเตรี ยมดิ นดี เลือกใช้ท่อนพันธุ์ ที่
สมบูรณ์ปลูก คือ ใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุและส่ ว นของต้นที่ เหมาะสม ความยาวของท่ อนพันธุ์ที่เหมาะสม
รวมทั้งเป็ นท่อนพันธุ์ที่มีการเก็บรักษาถูกต้องใช้วิธีแ ละระยะปลูกที่ ถูกต้องเลือกฤดู ปลูกให้เหมาะสม มี
การก ําจัดวัชพืชไม่ว่าจะใช้คน เครื่ องจักร หรื อสารกาํ จัด วัชพืชให้ถูกต้องเหมาะสมและทันเวลา ใส่ ปุ๋ย
ปุ๋ ยอินทรี ยห์ รื อปุ๋ ยอนินทรี ยใ์ ห้เหมาะสม ดูแลเรื่ องโรคแมลง และขุดเก็บเกีย่ วให้ถูกต้องเหมาะสม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-19
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.2.1.4 สถานการณ์ ในการผลิตในประเทศไทย


จากข้อมูลของสํา นักงานเศรษฐกิจ การเกษตร ในปี 2553 พบว่า พื้นที่ ปลูกมันสํา ปะหลังของ
ประเทศไทยค่อนข้างคงที่ ข้อมูลจากสํา นักงานเศรษฐกิจ การเกษตรปี เพาะปลูก 2553 มีพ้ืนที่ ปลูก 7.56
ล้านไร่ ผลผลิตมี 22.01 ล้านตัน และมีผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 3,000 กิโลกรัม
ซึ่ งภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อมีดิ นที่ มีสมบัติ ทางกายภาพ เคมี และความอุด มสมบู รณ์ เหมาะ
สําหรับปลูกมันสําปะหลัง ชุดดินสําคัญที่นิยมใช้ปลูกมันสําปะหลัง แสดงดังตารางที่ 3.2-1

รายงานฉบับสุดท้าย 3-20
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 3.2-1 สมบัติทางกายภาพ เคมี และความอุดมสมบูรณ์ของดินชุดดินสําคัญที่นิยมใช้ปลูกมันสําปะหลังในภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ และภาค


ตะวันออกของประเทศไทย
ภาค ชุดดิน 1/ pH อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่ โพแทสเซียม การอิ่มตัว CEC 2 ประเภท การระบายนํ้า
(Region) (Soil Series) ในดิน เป็ นประโยชน์ ที่ละลายนํ้าได้ ด้วยด่าง (me/100กรัม) /
เนื้อดิน (Drainage)
(%) (ppm) (ppm) (%) (Soil texture)
ตะวันออกเฉียงเหนือ โคราช 5-6 0.5-1 2-6 20-60 35-75 3-5 ร่วนปนทราย ดีปานกลาง
ยโสธร 5-6 0.5-1 2-6 30-60 35-75 2-5 ร่วนปนทราย ดี
วาริน 4.5-6.5 0.5-1.5 3-10 20-60 35-75 3-5 ร่วนปนทรายหรือ ดี
ทรายปนดินร่วน
สตึก 4.5-6.5 0.5-1.5 2.5-6 30-90 35-75 2-6 ร่วนปนทราย ดีปานกลาง
ช่วงค่าเฉลี่ย 5.5-6.5 0.5-1.3 2.3-7 25-68 35-75 2.5-5 - -
ตะวันออก สัตหีบ 5.5-6.5 0.5-1 4-7 20-60 35-75 2-4 ทรายหรือร่วนเหนียว ดี
ปนทราย
มาบบอน 5.5-6.5 1-2 4-10 60-80 60-75 2-5 ร่วนปนทราย ดี
พัทยา 4.5-5.5 0.3-1 3-6 10-40 50-70 2-5 ทราย ดีมากเกินไป
ห้วยโป่ ง 4.5-6 1.5-3 10-20 60-80 25-30 3-10 เหนียวปนทรายหรือ ดี
ร่วนเหนียวปนทราย
ช่วงค่าเฉลี่ย 5-6.2 0.8-1.8 5.3-10.8 38-65 43-63 2-6 - -
หมายเหตุ 1/ ในการจําแนกประเภทชุดดินโดยกรมพัฒนาที่ดิน ชุดดินดังกล่าวนี้ในปัจจุบันอาจมีการจําแนกชื่อชุดดินที่แตกต่างไปจากชื่อเดิมขึ้นกับการ
เปลี่ยนแปลงของสมบัตขิ องดินที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาและโดยผลกระทบจากการเขตกรรมและหรือสิ่ งแวดล้อมธรรมชาติ
2/ Cation Exchange Capacity (ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก)
ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.2.1.5 การแปรรูปและการใช้ ประโยชน์ ของมันสําปะหลัง


การแปรรู ปมันสําปะหลังในประเทศไทย เพื่อการส่งออกและการบริ โภคนั้น มีอยู่ห ลายรู ปแบบ
กล่าวคือ
(1) มันเส้น ผลิตโดยการใช้เครื่ องตีหัวมันให้เป็ นเส็นเล็ก แล้วนําไปตากบนลานซี เมนต์ ประมาณ
2-3 วัน เพื่อให้ได้ค่าความชื้น ตามมาตรฐาน คื อที่ 14% โดยปกติ แ ล้ว การทํา มันเส้น 1 กิโลกรัม ต้องใช้
หัวมันสด ประมาณ 2-2.5 กิโลกรัม โดยหัวมันนั้นควรต้องมีปริ มาณแป้ งอยู่ 14%

รูปที่ 3.2-3 การทํามันเส้น

รายงานฉบับสุดท้าย 3-22
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2) มันอัดเม็ด กระบวนการการอัด เม็ด นี้ จ ะใช้ว ตั ถุดิ บคื อมันเส้น นํา มาร่ อนเพื่อกาํ จัด ผงและ
สิ่งเจือปนออกก่อน จากนั้นจะนํามันเส้นมาเข้าเครื่ องบด แล้ว ต่ อด้ว ยเครื่ องอัด โดยในกระบวนการอัด นี้
จําเป็ นที่จะต้องเพิ่มความชื้นให้แก่มนั บด และเมื่อผ่า นกระบวนการอัด เม็ด แล้ว ก็ต ้องมีกระบวนการไล่
ความชื้นและทําให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง
(3) แป้ งมัน วัตถุดิบ คือ หัวมันสด โดยสับหัวมันให้มีข นาดเล็กจนได้ข องเหลวข้น จากนั้นจึ ง
ผ่านกระบวนการแยกนํ้าทิ้งที่มีโปรตี นและไขมันออกไป และนํ้า แป้ งข้นเหลวที่ ได้จ ะเข้า สู่ เครื่ องสกดั
แป้ ง 2 ขั้นตอน คือสก ัดแป้ งแบบหยาบและละเอียด โดยใช้ผา้ กรองขนาดละเอียดต่ อด้ว ยการแยกนํ้า ออก
ด้วยเครื่ องเหวี่ยง สุดท้ายที่การอบแห้งด้วยลมร้อน 180-200 องศาเซลเซียส
รู ปแบบมันทั้ง 3 แบบที่ กล่า วมานี้ มีการศึกษาและพบว่า มันเส้นเหมาะสมที่ สุด ในการนํา มา
ผลิต เอทานอล ด้ว ยเหตุ ผลหลายประการ อาทิ มันเส้นมีปริ มาณเพียงพอในการใช้ผลิต โดยไม่ส่งผล
กระทบต่อโครงสร้างอุต สาหกรรมอย่า งอื่น ทั้งยังสะดวกในการขนส่ ง หรื อ การจัด เก็บสต็อกวัต ถุดิ บ
เนื่องจากมีสภาพเป็ นมันสําปะหลังตากแห้งที่มีความชื้นน้อยกว่า 14% จึ งสามารถเก็บรักษาได้นาน และ
สามารถป้ อนโรงงานได้ต ลอดทั้งปี ในด้า นประสิ ทธิ ภาพในการผลิ ต เอทานอล การใช้มนั เส้นไม่
ก่อให้เกิด การติ ด ลบของพลังงาน เป็ นการเพิ่มเสถีย รภาพให้กบั มัน สํา ปะหลังที่ นํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บ
นอกจากนี้ยงั ให้ของเหลือทิ้งเป็ นเศษกากมันที่มีตวั ยีสต์หรื อโปรตี นผสมอยู่สูงซึ่ งสามารถใช้เป็ นอาหาร
สัตว์ได้

3.2.2 เทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง

การผลิตเอทานอลมี 2 วิธีการหลักๆ คื อ การสังเคราะห์ โดยใช้ว ตั ถุดิ บเป็ นสารเคมี คื อ เอทิ ลีน


(Ethylene) จะเรี ยกว่า เอทานอลสังเคราะห์ (Synthetic ethanol) และการหมัก โดยใช้ว ตั ถุ ดิ บทาง
การเกษตรที่มีแป้ ง (เช่น ข้าวเจ้า มันสําปะหลัง) นํ้าตาล (เช่น อ้อย กากนํ้าตาล) หรื อเส้นใย (เช่ น ฟางข้า ว
ชานอ้อย) เป็ นองค์ประกอบ ก็จะได้ไบโอเอทานอล (Bio-ethanol) ในประเทศไทยโรงงานผลิต เอทานอล
จะใช้วิธีการหมักโดยใช้วตั ถุดิบหลักอยู่ 2 ชนิด คือ กากนํ้าตาล และมันสํา ปะหลัง โดยกรรมวิธีการผลิต
มีข้ นั ตอนหลักที่คล้ายคลึงก ัน คือ การจัดเตรี ยมวัตถุดิบ การแปลงวัตถุดิบให้เป็ นนํ้าตาล (หากเป็ นกากนํ้า
ตาลจะต้องผสมนํ้าก่อนหมัก/ละลายด้ว ยนํ้า) การหมัก การกลัน่ และการเพิ่มความบริ สุท ธิ์ โดยลด
ปริ มาณนํ้าในเอทานอล สรุ ปกระบวนการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลังดังรู ปที่ 3.2-4 และ รู ปที่ 3.2-5
รายละเอียดดังนี้
(1) ขั้นตอนที่ 1 การเตรี ยมวัตถุดิบ
มันสําปะหลังที่ผ่านการแยกเหง้าจะถูกล้างให้สะอาดแล้วบดให้ละเอียดเป็ นแป้ ง ได้ว ตั ถุดิ บแป้ ง
มันสําปะหลัง

รายงานฉบับสุดท้าย 3-23
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2) ขั้นตอนที่ 2 การย่อยแป้ ง


เป็ นขั้นตอนการเปลี่ยนแป้ งให้เป็ นนํ้า ตาลกลูโคส เพื่อให้มีสภาพเหมาะกบั การหมักเอทานอล
ด้ว ยยีสต์ ในขั้นต่ อ ไป โดยวิธีก ารย่อยแป้ งอาจใช้กรดย่อ ยแป้ ง (Acid Hydrolysis) หรื อใช้เอนไซม์
(Enzymatic Hydrolysis) ซึ่ งวิธีการที่ ใช้เอนไซน์เพื่อย่อยแป้ งนั้นจะได้รับความนิ ยมมากกว่า เนื่ องจาก
สะดวกและประหยัดต้นทุน ขั้นตอนนี้จะทําการย่อย 2 ครั้งด้วยก ัน
ครั้งที่ 1 ย่อยแป้ งเพื่อทําให้แป้ งมีโมเลกุลเล็กหรื อทําให้เหลว (Liquefaction) เป็ นการเตรี ยมแป้ ง
มันสํา ปะหลัง โดยใช้วิธีการต้มเคี่ ยวนํ้า แป้ งสํา ปะหลังด้ว ยเอนไซม์ต ัว ที่ 1 คื อ เอนไซน์ แอลฟา-อะ
ไมเลส (alfa-amylase) โดยใช้ เคี่ยวรักษาอุณหภูมิที่ประมาณ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 2ชัว่ โมง
ครั้งที่ 2 ย่อยแป้ งทําให้ได้กลูโคสหรื อย่อยแป้ งให้เป็ นนํ้า ตาล (Saccharification) โดยทํา ให้น้ าํ
แป้ งสุ กก่อนผสมเอนไซม์ต ัว ที่ 2 คื อ กลูโค-อะไมเลส (Glucoamylase หรื อ เบต้า -อะไมเลส (beta-
amylase) เพื่อย่อยแป้ งสุกให้เป็ นนํ้าตาลก่อนเข้าสู่กระบวนการการหมัก
(3) ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการเตรี ยมหัวเชื้อ และ การหมัก (fermentation)
การเตรี ย มหัว เชื้ อ (Inoculum) เพื่อให้ไ ด้เ ชื้ อจุ ลิน ทรี ยท์ ี่ แ ข็ง แรงและมี ปริ มาณมากเพีย งพอ
สํ า หรั บ ใช้ ใ นการหมัก เมื่ อ เตรี ยมหั ว เชื้ อพร้ อ มแล้ว ก็เ ข้ า สู่ ข้ ั นตอนการหมัก โดยใช้ เ ชื้ อยี ส ต์
Saccaromyces cerevisiae จากนั้นทําการปรับและควบคุ มสภาวะของการหมัก เช่ น อัต ราการให้อากาศ
อัตราการกวน ค่าพีเอช และอุณหภูมิ ใช้ระยะเวลาการหมัก ประมาณ 48 ชม. ที่ pH 4-5 โดยทํา การหมัก
ในถังหมักที่ได้เตรี ยมไว้ และใช้เครื่ องควบคุ มการหมัก (Biostat B) ยีสต์สายพันธุ์น้ ี สามารถผลิต เอทา
นอลได้สูงและสามารถทนสภาพแวดล้อมที่มีเอทานอลได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น
(4) ขั้นตอนที่ 4 การกลัน่ เอทานอล (Ethanol)
การกลัน่ เพื่อผลิตเอทานอลและทํา ให้บริ สุทธิ์ เป็ นการแยกเอทานอลที่ มีค วามเข้มข้นประมาณ
8-12% โดยปริ มาตร ออกจากนํ้า หมักและนํ้า ส่ า โดยการกลัน่ ลํา ดับส่ ว นซึ่ งสามารถแยกเอทานอลให้
บริ สุทธิ์ 95.6% โดยปริ มาตร แต่ การนํา ไปใช้เป็ นเชื้ อเพลิง (แก๊สโซฮอล์) นั้นจะต้องทํา ให้เอทานอลมี
ความบริ สุทธ์ไม่ต่าํ กว่า 99.5% โดยปริ มาตร ซึ่ งจํา เป็ นต้องใช้เทคนิ ค หรื อ เทคโนโลยีในการกลัน่ เพื่อ
แยกนํ้าให้ได้เอทานอลที่บริ สุทธิ์ ที่นิยมใช้ก ันอยูม่ ี 3 วิธี คือ
(4.1) การดูดซับด้วย (Molecular sieve)
(4.2) การกลัน่ อะซีโอโทรป (Azeotropic distillation)
(4.3) เทคโนโลยีแผ่นเยือ่ บาง (Membrane technology)

รายงานฉบับสุดท้าย 3-24
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

มันสําปะหลัง (Cassava ship)

ขั้นตอนที่ 1 บดและผสมนํ้า (Milling and Mixing) นํ้า

ขั้นตอนที่ 2 ย่อยแป้ งครั้งแรก (Liquefaction) เอนไซม์แอลฟาอะมิเลส


ยีสต์ (Yeast) (α- Amylase)
ย่อยแป้ งครั้งสุดท้าย (Saccharification) เอนไซม์กลูโคอะมิเลส
การเตรี ยมเชื้ อ
(Glucoamylase)
(Yeast proliferation)
กระบวนการหมัก (Fermentation)
ขั้นตอนที่ 3
กระบวนการกลัน่ (Distillation) ฟูเซลออยล์ (Fusel oil)
ขั้นตอนที่ 4
- นํ้ากากส่า (Slop)
กระบวนการแยกนํ้า (Dehydration) - ยีสต์
- กากมันสําปะหลัง
เอทานอล 99.5% (Ethanol) - นํ้าเสีย

รูปที่ 3.2-4 กระบวนการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง


ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-25
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 3.2-5 กรรมวิธีผลิตเอทานอลจากมันเส้น


ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-26
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เทคโนโลยีก ารผลิ ต เอทานอลที่ โ รงงานของไทยเลื อ กใช้ส่ ว นใหญ่ เ ป็ นเทคโนโลยีข อง


ต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศอินเดีย ได้แก่ PRAJ และ ALFA LAVAL และจี น ได้แ ก่ Shangdong
Machinery & Equipment Import&Export Group Corporation (SDMECO) และ China Light Industrial
Corporation for Foreign Economic and Technical Co-operation เป็ นต้น ดังตารางที่ 3.2- 2

เนื่องจากมีตน้ ทุนการก่อสร้างที่ถูกกว่า และมีประสบการณ์ในการสร้า งโรงงาน และการผลิต เอ


ทานอลมามาก โดยเฉพาะจี นมีประสบการณ์ การใช้ว ตั ถุดิ บประเภทแป้ งได้แ ก่เมล็ด ข้า วโพด และมัน
สําปะหลัง จึงได้รับการพิจารณาเลือกจากผูป้ ระกอบการของไทย ซึ่ งผูป้ ระกอบการที่ ได้รับใบอนุ ญาต
รายใหม่ส่วนใหญ่จะใช้มนั สําปะหลังเป็ นวัตถุดิบ

ตารางที่ 3.2-2 ตัวอย่างเทคโนโลยีต่างๆที่ใช้สาํ หรับการผลิตเอทานอล

เทคโนโลยี ประเทศ วัตถุดิบ จุดเด่น


PRAJ อินเดีย กากนํ้าตาล พืชนํ้าตาล พืชแป้ ง - ใช้เทคนิคการหมักแบบ
Simultanous Saccharification and
Fermentation (SSF)
- ไม่ตอ้ งผ่านกระบวนการทํา
กากนํ้าตาลให้ใส
KATZEN สหรัฐอเมริ กา กากนํ้าตาล พืชนํ้าตาล พืชแป้ ง - หมักแบบ Fedbatch โดยใช้เทคนิค
SSF
ALFA LAVAL อินเดีย กากนํ้าตาล พืชนํ้าตาล พืชแป้ ง - หมักแบบ Continous
SHANDONG จีน มันสําปะหลัง - หมักแบบ Continous
- ระบบหอกลัน่ 2 หอแบบ
multipressure
ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีแ ละขั้นตอนการผลิ ตเอทานอลขึ้ นกบั วัตถุดิ บที่ ใช้ เมื่ อคิ ดที่ กาํ ลังการผลิตเอทานอล
150,000 ลิตรต่อวัน สามารถสรุ ปปริ มาณวัตถุดิบ คุ ณ ภาพวัต ถุดิ บ ขั้นตอนการผลิต และตัว อย่า งสมดุ ล
มวลของการผลิตเอทานอลจากมันเส้น ทั้งนี้กระบวนการผลิต เอทานอลจากวัต ถุดิ บมันเส้นจํา เป็ นต้องมี
ขั้นตอนการย่อยแป้ งให้เป็ นนํ้าตาลก่อนได้ ดังตารางที่ 3.2- 3 และ 3.2- 4 และ รู ปที่ 3.2-6
ตารางที่ 3.2-3 กระบวนการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบมันเส้นและกากนํ้าตาล

รายงานฉบับสุดท้าย 3-27
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วัตถุดบิ และ กระบวนการผลิตและคุณภาพ


ขั้นตอนการ มันเส้ น กากนํา้ ตาล
ผลิต ปริมาณ (ตัน/วัน) คุณภาพ ปริมาณ (ตัน/วัน) คุณภาพ
1. วัตถุดิบ 350-370 - ความชื้น 13-16% 540-550 - Tota sugar
- เชื้อแป้ ง 65% 48-50%
(well basis) - 80°Brix
2.นํ้าใช้ 1,000-1,500 1,000-1,300
3.การเตรี ยม - โม่ ผสมนํ้าร้อนให้ได้ความเข้มข้น - การก ําจัดสิ่งปนเปื้ อน (Cadmium) ด้วย
วัตถุดิบและ ประมาณ 17-25% Total Solid H2SO4 และแยกตะกอนออก (อาจไม่มี
การผสมนํ้า การทําในบางเทคโนโลยี)
- เจือจางความเข้มข้นประมาณ 25%
Total Solid
4. การย่อย - ส่วนใหญ่ใช้ระบบการย่อยและหมักแบบ - ไม่มี
แป้ งเป็ น SSF (Simulaneous Saccharification
นํ้าตาล Fermentation) โดยย่อย Liquefaction ด้วย
เอนไซม์ Q-Amylase 100-105°C 1-2
ชัว่ โมง
5. การหมัก - ย่อยและหมักแบบ SSF โดยระบบการหมัก - แบบ Continuous Fermentation, Feed
จะเป็ นแบบ Batch Fermentation ที ละถัง Batch และ Batch
- ประสิทธิภาพการหมักประมาณ 90-91% - ประสิทธิภาพการหมักประมาณ 92%
(น้อยกว่ากากนํ้าตาลเนื่องจากสูญเสีย
ประสิทธิภาพในขั้นตอนการย่อยด้วย)
6. การกลัน่ - Distillation และ Melecular Sieve - Distillation และ Melecular Sieve
และทําให้ Dehydration Dahydration
บริ สุทธิ์ - ประสิทธิภาพการกลัน่ ประมาณ 96.5% - ประสิทธิภาพการกลัน่ ประมาณ 96.5%
ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

ตารางที่ 3.2-4 สรุ ปสถานภาพการผลิต เอทานอลจากมันสําปะหลังในรู ปมันเส้นและกากนํ้าตาล

รายงานฉบับสุดท้าย 3-28
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

กระบวนการผลิตและคุณภาพ
วัตถุดบิ และผลได้ มันเส้ น กากนํา้ ตาล
ปริมาณ (ตัน/วัน) คุณภาพ ปริมาณ (ตัน/วัน) คุณภาพ
1.วัตถุดิบ 350-370 - ความชื้น 13-16% 540-550 - Total sugar 48-50%
(ตันต่อวัน) - เชื้อแป้ ง 65% - 80°Brix
(well basis)
2.นํ้าใช้ 1,200-1,500 1,500-1,900
(ลูกบาศก์เมตรต่อ
วัน)
3.เอทานอล 150,000 -ตาม มอก.(640-2533) 150,000 - ตาม มอก. (640-2533)
(ลิตร/วัน)
4.นํ้ากากส่า 1,400-1,600 - TS 5-7% 1,000-1,300 - TS 15%
(ลูกบาศก์เมตรต่อ - COD 40,000-60,000 - COD 100,000-150,000
วัน) mg/l mg/l
- BOD 15,000-35,000 - BOD 40,000-70,000
mg/l mg/l
4.1 ตะกอนเปี ยก 150-190 30-33% TS - -
(Wet Cake)
(ตันต่อวัน)
4.2 นํ้าเสีย 1,250-1,410 - 4-5% 1,600 - 10-12% TS
(ลูกบาศก์เมตรต่อ - BOD 35,000 ppm - BOD 50,000 ppm
วัน) - COD 50,000 ppm - COD 150,000 ppm
ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-29
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

- Moisture 15%
Cassava Chip - Starch content 65% (wet basin)
362.17 T/D
85.00% TS

Milling

1,248.50 T/D Water


Mixing
1,794.43 T/D
17.16% TS
Stream
Liquefaction
120 T/D
1,914.43 T/D
16.08% TS
SSF Fermentation CO2 114.98 T/D
1,799.45 T/D
7.42% (w/w) Alcohol Fuse oil 0.50 T/D
Spent wash recycle
Distillation
177.53 T/D Thick Slop 1,496.84 T/D
124.58 T/D
95% Alcohol 6.5% TS
Spent wash recycle Molecular Sieve
6.23 T/D Dehydration

Fuel Ethanol
118.35 T/D or
150,000 L/D

หมายเหตุ : - T/D = Ton/Day, TS=Total Solid และ L/D=ลิตร/วัน


- ประสิทธิภาพการหมัก 90% ประสิทธิภาพการกลัน่ 98.5%

รูปที่ 3.2-6 สมดุลมวลจากการผลิตเอทานอลจากมันเส้น


ที่มา : คู่มือการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง ของกรมส่งเสริ มอุตสาหกรรม

รายงานฉบับสุดท้าย 3-30
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.3 การผลิตเอทานอลจากข้ าวโพด

3.3.1 ข้อมูลวัตถุดบิ

ข้าวโพด (สุรีพร, 2543) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีเมส์ (Zea mays) เป็ นพืชตระกูลเดี ยวกบั หญ้า มีลาํ
ต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่า นศูนย์กลางของลํา ต้น 0.5-2.0 นิ้ ว ถิ่นกาํ เนิ ด คื อ ได้มีการขุด พบ
ซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ าํ ในนิว เม็กซิ โก (แถบอเมริ กาใต้) และปั จ จุ บันนิ ยมปลูก
แพร่ หลายในแถบอเมริ กา แคนาดา ฯลฯ สามารถปลูกได้ในสภาพที่ ภูมิอากาศแตกต่ า งกนั มาก ๆ เป็ น
แหล่งอาหารที่สาํ คัญของสัตว์ เพราะสามารถนํามาเลี้ยงสัตว์ได้ท้ งั ต้น ใบ และเมล็ด

3.3.1.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของข้าวโพด


ราก ข้าวโพด มีระบบรากแบบรากฝอย (Fibrous root system) ซึ่ งเจริ ญมาจาก 2 ส่ ว น คื อ รากที่
เจริ ญมาจากศัพภะ เรี ยกว่า Primary root เป็ นรากที่ มีการพัฒนามาจากแรดิ เคิ ลและมีรากแขนงแตก
ออกมาเรี ยกว่า Secondary root หรื อ Lateral root นอกจากนี้ ยงั มีรากที่ เกิด ขึ้ นที่ Scutellar node เรี ยกว่า
Seminal root รากทั้งหมดนี้มีการเจริ ญเติบโตในระยะเวลาสั้นๆ ขณะข้าวโพดเป็ นต้นกล้า และจะตายไป
เมื่อต้นข้าวโพดโตขึ้น รากส่วนที่สอง คือ รากที่เจริ ญมาจากลําต้น เรี ยกว่า Adwentitious root มีจุ ด กาํ เนิ ด
รากที่ขอ้ ส่วนล่างของลําต้นข้อแรกที่ เกิด รากชนิ ด นี้ คื อ Coleoptilar node รากเหล่า นี้ จ ะเจริ ญเติ บโตอยู่
ตลอดชีวิตของข้าวโพด สามารถเจริ ญแผ่กระจายรอบลําต้นมีรัศมีประมาณ 1 เมตร และหยัง่ ลึกลงไปใน
ดินได้ 2.1-2.4 เมตร
ลําต้น (Culm หรื อ Stalk) ประกอบด้วยข้อและปล้อง บริ เวณข้อมีเนื้อเยือ่ เจริ ญจุ ด กาํ เนิ ด ราก ตา
และ รอยกาบใบ มีค วามสู งตั้งแต่ 30 เซนติ เมตร จนถึง 7.5 เมตร มีข นาดเส้นผ่า นศูนย์กลางของลํา ต้น
2.5-5.0 เซนติเมตร
ใบ ประกอบด้วย กาบใบ และแผ่นใบ กาบใบจะหุ ้มลําต้น ส่ วนแผ่นใบแผ่กางออก มีเส้นกลางใบ
เรี ยกว่า Mid rip ข้าวโพดที่ได้รับการปรับปรุ งพันธุ์ให้ทนมีอตั ราการปลูกสู ง มักจะมีลกั ษณะใบตั้ง แผ่น
ใบด้านบนมีขนเพื่อเพิม่ พื้นที่ในการรับแสง ส่วนแผ่นใบด้านล่างจะเรี ยบและมีปากใบจํานวนมาก
ผลและเมล็ ด ผลเป็ นแ บบ Caryopsis ที่ มี เ ยื่ อ หุ ้ ม ผล (Pericarp) ติ ด อยู่ ก บั ส่ ว นข อง
เยือ่ หุ ้มเมล็ด (Seed coat) มีลกั ษณะเป็ นเยื่อบางๆใสไม่มีสี เยื่อหุ ้มผลและเยื่อหุ ้มเมล็ด รวมเรี ยกว่า Hull
ข้าวโพดจะสะสมแป้ งไว้ในส่วนของเอนโดสเปิ ร์ม การสะสมแป้ งจะสิ้ นสุ ด เมื่อข้า วโพดเจริ ญเติ บโตถึง
ระยะสุ กแก่ทางสรี รวิทยา โดยจะปรากฎแผ่นเยื่อสี ด ํา หรื อนํ้า ตาลดํา (Black layar) ที่ บริ เวณโคนของ
เมล็ด

รายงานฉบับสุดท้าย 3-31
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.3.1.2 พันธุ์ของข้าวโพดในประเทศไทย
โดยทัว่ ไปข้าวโพดจัดออกเป็ น 5 กลุ่ม คือ
(1) ข้า วโพดเลี้ ย งสัต ว์ห รื อ ข้า วโพดไร่ (Field Corn) ที่ รู้จ ัก ในปั จ จุ บัน มีข ้า วโพดหั ว บุ๋ ม
(Dent Corn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็ นการเรี ยกตามลักษณะเมล็ด
(1.1) ข้าวโพดหัวบุ๋มหรื อหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัว บนสุ ด จะมี
รอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็ นส่ ว นของแป้ งสี ข าว ข้า วโพดชนิ ด นี้ นิยมปลูกกนั มากในประเทศสหรัฐ อเมริ กา สี
ของเมล็ดมีต้ งั แต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุ์มีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง
(1.2) ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์น้ ี ส่ว นขนของเมล็ด มักมีสีเหลืองจัด และเมื่อแห้งจะ
แข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทาํ ให้ขา้ วโพดมีสีเหลืองจัด
(2) ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็ นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรู ป เมล็ด
มักจะใสและเหี่ ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ าํ ตาลมาก ก่อนที่จะสุ กจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่นๆ จึงเรี ยก
ข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
(3) ข้าวโพดคัว่ (Pop Corn) เป็ นข้าวโพดที่คนใช้รับประทานไม่มีการแปรรู ป เมล็ดค่อนข้าง
แข็งและขนาดแตกต่างก ัน สําหรับต่างประเทศถ้าเมล็ดมีลกั ษณะแหลม เรี ยกว่าข้าวโพดข้าว (Rice Corn)
ถ้าเมล็ดกลม เรี ยกว่าข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
(4) ข้าวโพดแป้ ง (Flour Corn) เมล็ด มีสีห ลายชนิด เช่น ขาวขุ่น หรื อสี น้ าํ เงินคลํ้า หรื อมีท้ ังสี
ขาวและสีน้ าํ เงินคลํ้าในฝั กเดียวก ันเนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีค ลํ้าและพวกกลายพันธุ์ เรี ยกว่า
ข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn)
(5) ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็ นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้ งที่มีลกั ษณะเฉพาะ
คือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้ อแป้ งจะประกอบด้วยแป้ งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพด
อื่นๆ มีแป้ งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยูด่ ว้ ย จึงทําให้แป้ งค่อนข้างแข็ง

3.3.1.3 การผลิตข้าวโพด
ข้า วโพดเป็ นพืช ไร่ ที่ค่ อนข้า งทนทานปลูกง่ า ยในสภาพดิ น ฟ้ าอากาศของเมืองไทย ถ้า มีน้ ํา
เพียงพอจะสามารถปลูกข้าวโพดได้ต ลอดปี การปลูกส่ ว นใหญ่อาศัยนํ้า จากนํ้า ฝนธรรมชาติ เพียงอย่า ง
เดียว ดังนั้นฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมขึ้นอยูก่ ับจํานวนนํ้าฝนและการกระจายตัว ของฝนในแต่ ละเดื อน
ปกติเฉลี่ยโดยทัว่ ๆไป ฝนจะเริ่ มตกมากตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤศจิกายน และระหว่า งสิ งหาคม-กนั ยายน
เป็ นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด พันธุ์ขา้ วโพดที่นิยมปลูกในปั จจุบันมีอายุปานกลาง คื อ ประมาณ 110-120 วัน
ดังนั้น จึ ง อาจเลือกปลูก ข้า วโพดได้ต ามความเหมาะสม ถ้า ปี ใดมีฝนตกสมํ่า เสมอแต่ ต ้น ปี อาจปลู ก
ข้าวโพดได้ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกปลูกในระหว่างเดือนกรกฎาคม กลางเดือนสิงหาคม พวกที่ ปลูกต้นฤดู ฝน

รายงานฉบับสุดท้าย 3-32
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

โดยทัว่ ๆไปมักได้ผลิตผลสูงกว่าพวกที่ปลูกปลายฤดูฝน ทั้งนี้เนื่องจากปริ มาณนํ้าฝนกาํ ลังพอเหมาะและ


โรคแมลงรบกวนน้อย แต่มีขอ้ ยุง่ ยากในการเก็บเกีย่ ว ไม่สะดวกแก่การตากข้าวโพด เนื่องจากฝนตกชุก

3.3.1.4 การเลือกพืน้ ที่ปลูก


ข้าวโพดเป็ นพืชไร่ ที่เจริ ญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดโดยเฉพาะในดิ นร่ ว นปนทราย ที่ มีการ
ระบายนํ้า ดี และมีปริ มาณแร่ ธาตุ อาหารพืชอุด มสมบู รณ์ ดี มีค วามเป็ นกรดด่ า งระหว่า ง 5.5 – 7.0 มี
อินทรี ยวัตถุสูงกว่า 1% ฟอสฟอรัสไม่ต่ ํา กว่า 10 ส่ ว นในล้า นส่ ว น และโพแทสเซี ยมไม่ต่ าํ กว่า 60 ส่ ว น
ในล้านส่วน พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ควรจะเป็ นที่ดอน หรื อเป็ นที่ที่มีน้ าํ ไม่ท่วมขัง ถ้า มีน้ าํ ท่ ว มขังจะ
ทํา ให้ข ้า วโพดเจริ ญเติ บโตไม่ ดี เนื่ องจากการถ่า ยเทอากาศในดิ นไม่ดี ทํา ให้รากข้า วโพดหายใจไม่
สะดวก การดู ด ธาตุ อาหารไปใช้ในการเจริ ญเตมโตไม่ดี พื้นที่ ปลูกข้า วโพดควรจะมีค วามลาดชันตํ่า
เพราะถ้าพื้นที่มีความลาดชันสูง จะมีความสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินจากการชะล้า งพังทลายของ
หน้าดิน

3.3.1.5 วิธีปลูก
การปลูกข้าวโพดควรปลูกเป็ นแถวทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปฏิบตั ิรักษา เช่ น การไถพรวน ระยะ
ระหว่า งแถวประมาณ 75-100 เซนติ เ มตร ระยะระหว่า งหลุม ประมาณ 25 เซนติ เ มตร หยอดเมล็ด
ข้าวโพดลงไปในหลุมซึ่งลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จํา นวน 2-3 เมล็ด เพื่อกนั เมล็ด ไม่งอก เมื่องอกแล้ว
ควรถอนให้เหลือหลุมละต้น ถ้า ปลูกโดยวิธีน้ ี จ ะได้จ ํา นวนต้นข้า วโพดประมาณ 6,000-8,000 ต้น/ไร่
อย่างไรก็ตามระยะระหว่างหลุมอาจเปลี่ยนแปลงได้ อาจเป็ น 50 เซนติเมตรก็ได้โดยเพิ่มเป็ น 2 ต้น/หลุม
ซึ่งโดยทัว่ ๆไปแล้ว ชาวไร่ ไม่นิยมการถอนแยกเพราะสิ้นเปลืองแรงงานค่าใช้จ่ายมาก เวลาปลูกจึ งหยอด
2-3 เมล็ดลงไปในหลุม และไม่ถอนแยกเลยตลอดฤดูการปลูก
ระยะการปลู ก ข้า วโพดแบบถี่ ห รื อ ห่ า งขึ้ น อยู่ก บั สภาพของดิ น ถ้า เป็ นที่ ดิ น ป่ าเปิ ดใหม่ มี
อินทรี ยวัตถุสูงควรปลูกให้ถี่ข้ ึนอาจปลูกได้ถึงไร่ ละ12, 000 ต้น ดังนั้นอัต ราปลูกหรื อระยะปลูกจึ งต้อง
ปรับให้เหมาะสมก ับสภาพท้องที่เฉพาะแห่ ง
วิธีการหยอดเมล็ดอาจทําได้หลายวิธี เช่น ใช้ไม้สักให้เป็ นหลุมแล้ว หยอดเมล็ด ตามใช้จ อบขุด
แล้ว หยอดเมล็ด ตามรอยขุด หรื อใช้เครื่ องมือทุ่ นแรง ก่อนปลูกควรทดสอบความงอกของเมล็ด พันธุ์
เสียก่อน ถ้าอัตราความงอกตํ่าควรหยอดเมล็ดเผื่อไว้ให้เพียงพอ เช่ น ถ้า ความงอกมีเพียง 80% จะปลูก
หลุมละ 2 ต้น ก็ควรหยอดไว้หลุมละ 3-4 เมล็ด

รายงานฉบับสุดท้าย 3-33
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.3.1.6 การให้ นํา้


การให้น้ าํ แก่ขา้ วโพด มี 3 วิธีดงั นี้
(1) การให้น้ าํ แบบตักรด เป็ นแบบที่ใช้ในสวนผักทัว่ ไป วิธีน้ ีเปลืองแรงงาน แต่ประหยัด นํ้า ค่ า
ลงทุนและค่าใช้จ่ายตํ่า เหมาะก ับการปลูกในเนื้อที่ไม่มาก
(2) การให้น้ าํ แบบฝนเที ยม (Sprinkler Irrigation) เป็ นการลงทุ นและใช้ค่ า ใช้จ่ า ยสู งมาก แต่
เหมาะก ับการปลูกพืชที่มีราคาแพง เช่น ข้าวโพดหวาน
(3) การให้น้ ํา แบบร่ องลูกฟูก (Furrow Irrigation) ค่ า ใช้จ่ า ยตํ่า และสะดวกแก่การปฏิ บัติ ข้อ
สําคัญอยูท่ ี่การปรับพื้นดินในระยะแรก การเตรี ยมดิ นต้องทํา ด้ว ยความรู ้ค วามชํา นาญพอสมควร พื้นที่
ต้องราบเรี ยบและอยูใ่ นระดับที่ถูกต้อง คือ ลาดเอียงเล็กน้อย
โดยปกติ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เมล็ด จะไม่มีการให้น้ ํา ชลประทาน เพราะค่ า ใช้จ่ า ย
ไม่คุ ้มกบั การลงทุ น นอกจากจะปลูกข้า วโพดเลี้ย งสัต ว์เพื่ อทํา เมล็ด พันธุ์เท่ า นั้น อาจจะมีก ารให้น้ ํา
ชลประทาน

3.3.1.7 การป้ องกันกําจัดวัชพืช


ช่ ว งวิกฤตที่ ข ้า วโพดอ่อนแอกว่า วัชพืชที่ สุด คื อ ระยะเวลา 13-25 วันหลังข้า วโพดงอก ถ้า มี
วัชพืชรบกวนจะทําให้ผลผลิตข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิต สู งจะต้องให้
ปลอดวัชพืชตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก โดยเลือกก ําจัดวัชพืชที่เหมาะสมด้วยการไถพรวน และใช้
สารป้ องก ันก ําจัดวัชพืช วัชพืชแบ่งออกเป็ น
(1) วัชพืชฤดู เดี ยว เป็ นวัชพืชที่ ค รบวงจรชี วิต ภายในฤดู เดี ยว ส่ ว นมากขยายพันธุ์ด ้ว ยเมล็ด
แบ่งเป็ น 3 ประเภท ดังนี้
(1.1) ประเภทใบแคบ เช่ น หญ้า ตี นกา หญ้า นกสี ชมพู หญ้า ตี นนก หญ้า ปากควาย หญ้า
ขจรจบดอกใหญ่ หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าโขย่ง และหญ้าดอกขาว เป็ นต้น
(1.2) ประเภทใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักบุง้ ยาง ผักเบี้ยหิ น ผักเบี้ ยใหญ่ สะอึก เที ยนนา และ
กะเม็ง เป็ นต้น
(1.3) ประเภทกก เช่น กกทราย
(2) วัชพืชข้ามปี เป็ นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด ้ว ยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดี กว่า การ
ขยายพันธุ์ดว้ ยเมล็ด แบ่งเป็ น 3 ประเภท ดังนี้
(2.1) ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนดิน หญ้าแพรก และหญ้าชันกาด เป็ นต้น
(2.2) ประเภทใบกว้าง เช่น สาบเสือ และเถาตอเชือก เป็ นต้น
(2.3) ประเภทกก เช่น แห้วหมู

รายงานฉบับสุดท้าย 3-34
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

การป้ องก ันก ําจัดวัชพืช สามารถทําได้ดงั นี้


(1) ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของ
วัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
(2) ก ําจัดวัชพืชระหว่า งแถวปลูกด้ว ยแรงงานหรื อเครื่ องจักรกล เมื่อข้า วโพดอายุ 20-25 วัน
ก่อนให้ปุ๋ย
(3) ในกรณี ที่ก ําจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรื อเครื่ องจักรกลไม่มีประสิ ทธิ ภาพเพียงพอควรใช้สาร
ก ําจัดวัชพืช

3.3.1.8 การดูแลรักษา
การปลูกข้าวโพดไร่ ส่ว นใหญ่อาศัยนํ้า ฝน ควรวางแผนให้ได้รับนํ้า ฝนในช่ ว งผสมเกสร หรื อ
เมื่ออายุ 50-60 วันหลังปลูก

3.3.1.9 สถานการณ์ การผลิตภายในประเทศ


ข้อ มู ลจากสํา นักงานเศรษฐกิจ การเกษตรปี เพาะปลู ก 2553 พบว่ า พื้ น ที่ ปลู ก ข้า วโพดของ
ประเทศไทยค่ อนข้า งคงที่ มีพ้ืนที่ ปลูก 7.09 ล้า นไร่ มีผลผลิต 4.62 ล้า นตัน ราคาที่ เกษตรกรขายได้
ความชื้นไม่เกิน 14.5% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.26 บาท ราคาขายส่ งในตลาดกรุ งเทพที่ โรงงานอาหารสัต ว์
รับซื้อเฉลี่ยของข้าวโพดทั้งประเทศยังอยูใ่ นเกณฑ์ต่าํ เนื่องจากปั จ จัยหลายประการได้แ ก่ ประสิ ทธิ ภาพ
การผลิต ตํ่า เนื่ องจากปั ญหาภัยธรรมชาติ ความแปรปรวนและการกระจายของปริ มาณนํ้า ฝน ขาด
เทคโนโลยีการผลิต ที่ เหมาะสมกบั ข้า วโพดในแต่ ละท้องที่ ขาดเครื่ องจักรกลที่ ใช้ในการปลูกและเก็บ
เกีย่ ว และคุณภาพผลผลิตเมล็ดตํ่า เนื่องจากข้าวโพดมีความชื้นสูงในช่วงเก็บเกีย่ ว

3.3.1.10 การแปรรูปและการใช้ ประโยชน์ ข้าวโพด


ข้าวโพดเป็ นธัญพืชที่ สามารถนํา มาใช้ประโยชน์ได้ห ลายประเภท ไม่ว่า จะเป็ นอาหารมนุ ษย์
หรื ออาหารสัตว์ ได้แก่ สัตว์ปีก และปศุสัต ว์ เนื่ องจากเมล็ด ข้า วโพดมีองค์ประกอบที่ สํา คัญหลายชนิ ด
ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และวิตามิน นอกจากนี้ยงั ใช้ในอุต สาหกรรมอื่นด้ว ย ส่ ว นสํา คัญ
ของเมล็ดข้าวโพด คือ ต้นอ่อน (Germ) แป้ ง และเปลือก (hull) ซึ่ งในส่ ว นของต้นอ่อนนํา มาสกดั นํ้า มัน
แป้ งนํามาผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์แป้ ง เอทานอล นํ้า ตาลฟรุ กโตส หรื อใช้ในอุต สาหกรรมสิ่ งทอได้ด ้ว ย แม้
ในส่วนของลําต้นก็สามารถนํามาทํา เป็ นอาหารหยาบสํา หรับสัต ว์ได้ นับว่า ข้า วโพดเป็ นพืชที่ นํา มาใช้
ประโยชน์ได้หลายประการ ได้แก่
(1) เป็ นอาหารมนุษย์

รายงานฉบับสุดท้าย 3-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ข้า วโพดสามารถใช้เป็ นอาหารมนุ ษย์ เนื่ องจากเมล็ด ประกอบด้ว ยแป้ ง โปรตี น นํ้า มันเยื่อใย
และนํ้า ตาล สามารถนํา เอาเมล็ด ข้า วโพดมาบดละเอียดทํา เป็ นอาหารได้โดยตรง เช่ น ทํา เป็ นขนมปั ง
หรื อ ทรอริ ลล่า นอกจากนี้แป้ งข้าวโพดยังเป็ นส่วนประกอบในอาหารสํา เร็ จ รู ปหลายประเภท เช่ น เนย
ถัว่ ไส้กรอก และอาหารเด็กอ่อน
(2) เป็ นอาหารสัตว์
เมล็ดข้าวโพดสามารถนํามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัต ว์ได้อย่า งกว้า งขวาง โดยเฉพาะอย่า ง
ยิง่ อาหารสัต ว์ปีก เพราะมีสารคาโรตี นนอยด์มากกว่า อาหารสัต ว์ชนิ ด อื่นที่ ทํา ให้ผลิต ภัณ ฑ์ดี ข้ ึ น เช่ น
ช่วยให้ไข่แดงมีสีเข้มเป็ นที่ ต ้องการของตลาดในการนํา ไปทํา ขนม ทํา ให้ผิว หนังของไก่มีสีเหลืองน่ า
รับประทาน จึงใช้เป็ นวัตถุดิบในอาหารสัตว์ โดยมีสดั ส่วนตั้งแต่ ร้อยละ 20-60 ของสู ต รอาหารแตกต่ า ง
ก ันไปตามประเภทของสัตว์เลี้ยง
หญ้า หมัก ในส่ ว นของลํา ต้นก็ยงั สามารถนํา มาทํา เป็ นอาหารสัต ว์ประเภทหญ้า หมัก (Silage)
สําหรับวัวนมได้ หญ้าหมักที่ทาํ จากต้นข้าวโพดเป็ นแหล่งพลังงานสูงและเมื่อเที ยบกบั หญ้า ชนิ ด อื่นแล้ว
ยังให้น้ าํ หนักแห้งมากกว่า ด้ว ย อย่า งไรก็ต ามคุ ณ ค่ า ทางโภชนาการของหญ้า หมัก จากข้า วโพดอาจ
แตกต่างก ันได้เนื่องจากตามระยะการเจริ ญเติบโต แต่เดิ มการทํา หญ้า หมักนั้นใช้ข ้า วโพดพันธุ์ใดก็ได้ที่
เก็บเกีย่ วในระยะที่เหมาะสม ซึ่งมักจะให้สดั ส่วนของแป้ งสูง แต่อาจไม่เหมาะสมในส่ ว นของเยื่อใยและ
แป้ งที่ยอ่ ยได้ (Starch digestibility) ในระยะหลังจึงได้มีการใช้ขา้ วโพดพันธุ์ที่ปลูกสํา หรับทํา หญ้า หมัก
โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มในส่วนของเยือ่ ใยและแป้ งที่ยอ่ ยได้ ในต่ า งประเทศมีการปรับปรุ งพันธุ์ข ้า วโพดเพื่อ
ทําหญ้า หมัก นอกจากนี้ ยงั มีการศึกษาระยะเก็บเกีย่ วที่ เหมาะสมต่ อคุ ณ ภาพหญ้า หมักด้ว ย วิธีการทํา
หญ้าหมัก ทําได้โดยตัดต้นข้าวโพดที่ แ ก่พอเหมาะและความชื้ นเหมาะสม นํา มาตัด ให้ยาว ¼ - ½ นิ้ ว
ซึ่งเป็ นความยาวที่เหมาะในการอัดและหมัก ใส่เชื้อแบคทีเรี ยสํา หรับหมักเพื่อทํา ให้เกิด นํ้า ตาลและกรด
แลคติก
(3) ใช้ในอุตสาหกรรมแป้ ง
การแยกแป้ งออกจากเมล็ด ในอุต สาหกรรมทํา ได้ 2 วิธี ได้แ ก่ วิธีบดแห้ง (dry milling process)
และวิธีบดเปี ยก (wet milling process)
(3.1) วิธีบดแห้ง เป็ นวิธีที่บดข้า วโพดโดยไม่ต องนํา เมล็ด ไปแช่ น้ าํ ก่อน แบ่ งเป็ น 2 วิธี
ย่อย คือ การบดโดยไม่แยกเอา ส่วนจุดงอกหรื อคัพภะ(germ) ออก และการบดโดยแยกเอาส่ ว นจุ ด งอก
หรื อคัพภะ(germ) ออก ด้วยวิธีการหลังนี้ จ ะทํา ให้ได้แ ป้ งข้า วโพด3 ลักษณะคื อ ชนิ ด หยาบ (corn grit)
ค่อนข้างละเอียด (corn meal) และชนิดละเอียด (corn flour) รวมทั้งไขมันและกากที่ใช้เป็ นอาหารสัตว์
(3.2) วิธีบดเปี ยก เป็ นวิธี บดโดยนํา เมล็ด ไปแช่ น้ าํ (soaking) มัก เป็ นสารละลายกรด
กาํ มะถันเจื อจางให้เมล็ด อ่อ น แล้ว จึ ง นํา ไปแยก ส่ ว นจุ ด งอกหรื อคัพภะ(germ) ออก (degerming)
กรรมวิธีการผลิตแป้ งข้าวโพดโดยวิธีบดเปี ยก นอกจากจะได้แป้ งข้าวโพดแล้วยังได้ส่ว นเหลืออื่นอีก คื อ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-36
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

gluten meal มีโ ปรตี นรวมอยู่ด ้ว ย พบว่า ประโยชน์แ ละผลพลอยได้จ ากการบดเปี ยก จะทํา ให้ไ ด้
สารประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายรู ปแบบ ได้แ ก่ corn gluten feed และ gluten meal ใช้ประโยชน์
ในการทํา อาหารสัต ว์ แป้ งข้า วโพด นํ้า ตาลข้า วโพด Steep water ที่ ใช้ในอุต สาหกรรมอาหารและยา
นํ้ามันข้าวโพด soap starch เป็ นผลพลอยได้จากการกลัน่ ใสของนํ้า มันใช้ประโยชน์อุต สาหกรรมทํา สบู่
cake เป็ นกากที่เหลือจากการสกดั นํ้า มันใช้ทํา อาหารเลี้ยงสัต ว์ Corn meal flour และ grit ใช้ทํา กาว ดิ น
ระเบิ ด แป้ งลงผ้า และสบู่ Corn syrup ใช้ทํา ยาขัด รองเท้า เรยอง และส่ ว นผสมในยาสู บ ใช้ทํา
แอลกอฮอล์ เครื่ องดื่ม และส่วนผสมของอาหาร
(4) ใช้ผลิตเป็ นเชื้อเพลิง
แหล่ง เชื้ อเพลิ งที่ สํา คัญ ในอดี ต จนถึง ปั จ จุ บัน คื อ ปิ โตรเลีย ม ที่ นํา มาใช้เป็ นเชื้ อ เพลิง ใน
ยานพาหนะ แต่ ในระยะ 20 ปี ที่ ผ่า นมา มีแ หล่งเชื้ อเพลิงใหม่ที่มนุ ษย์เริ่ มนํา มาใช้ คื อ เอทานอลโดย
นํา มาใช้เป็ นส่ ว นผสมของนํ้า มันเชื้ อเพลิงในอัต ราตํ่า 5-10% หรื อในอัต ราสู ง 85% (อาจมีใช้ในบาง
ประเทศ) เอทานอลทําให้เครื่ องยนต์เผาไหม้ได้ดีมีคาร์บอนมอนนอกไซด์นอ้ ย มีค วันน้อย ประสิ ทธิ ภาพ
เครื่ องยนต์ดีข้ ึน ใช้แทนส่วนประกอบของนํ้ามันเชื้อเพลงที่อนั ตราย ข้าวโพดสามารถนํา มาทํา เอทานอล
ได้โดยบดเมล็ดให้ละเอียดเป็ นแป้ ง เติมเอนไซม์เพื่อเปลี่ยนแปลงแป้ งเป็ นนํ้า ตาล แล้ว หมักนํ้า ตาลที่ ได้
ด้วยยีสต์เพื่อเปลี่ยนนํ้าตาลเป็ นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากการนําไปผลิตเป็ นเอทานอลแล้ว ยังใช้น้ ํา มันข้า วโพดผสมโดยตรงกบั นํ้า มันเชื้ อเพลิง
เพื่อใช้ก ับเครื่ องยนต์ เนื่องจากคุ ณ สมบัติ ทางด้า นอุณ หภูมิแ ละความหนื ด ดี ลดการสึ กหรอและยืด อายุ
ของเครื่ องยนต์ ลดมลภาวะและสลายได้ในธรรมชาติ
(5) ใช้ในอุตสาหกรรมนํ้ามันข้าวโพด
ในอุต สาหกรรมทํา แป้ งซึ่ งมี การบดเปี ยกและบดแห้ง เมื่ อแยกเอาคัพภะ(germ) ออกจะได้
ส่วนประกอบของนํ้ามันในคัพภะ(germ) ประมาณ 85% วิธีการ คื อนํา คัพภะ(germ) ไปเข้า เครื่ องสกดั
นํ้ามันซึ่งอาจทําได้โดยใช้เครื่ องบีบ (screw press) หรื อใช้สารเคมีสกดั นํ้า มันที่ ได้จ ากการสกดั จะมีสาร
พวกฟอสฟอรัสหรื อที่เรี ยกว่า phosphatides และกรดอิสระอยู่ จึงต้องนํา ไปสกดั เอาสารเหล่า นี้ ออกก่อน
วิธีการเรี ยกว่า degumming นํ้ามันที่ได้จากกระบวนการ degumming จะเป็ นนํ้า มันดิ บที่ มีค วามเป็ นกรด
ซึ่งต้องทําให้เป็ นกลางด้ว ยโซเดี ยมไฮดรอกไซด์แ ล้ว เพิ่มอุณ หภูมิข องนํ้า มันดิ บให้สูงขึ้ น จะให้น้ ํา มัน
แยกตัวจากกรดไขมัน ซึ่งกรดไขมันนี้สามารถนํา ไปใช้ในอุต สาหกรรมทํา สบู่ ส่ ว นนํ้า มันที่ แ ยกออกมา
เมื่อนํา ไปล้า งด่ า งด้ว ยนํ้า ร้อนและกาํ จัด สี แ ละกลิ่นอันเกิด จากธาตุ ต่ า ง ๆ จะทํา ให้ได้น้ ํา มันข้า วโพด
บริ สุทธิ์
(6) ใช้ประโยชน์จากซังข้าวโพด
ซังข้า วโพด สามารถใช้ประโยชน์ทํา เป็ นกอ้ นเชื้ อ เพลิงสํา หรับหุ งต้มอาหารหรื อ ใช้บดเป็ น
ส่วนผสมของอาหารสัต ว์ห รื อใช้ในการเพาะเห็ ด สํา หรับในส่ ว นซังที่ เป็ น wood ring ซึ่ งเป็ นชั้นที่ มีสี

รายงานฉบับสุดท้าย 3-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ขาวละเอียดมีความยืดหยุน่ มากใช้ประโยชน์ในงานที่ค่อนข้างละเอียด ได้แก่ ทําฉนวนไฟฟ้ า ตลับลูกปื น


ในเครื่ องยนต์ ส่วนผสมของจาระบี สารฆ่า แมลงชนิ ด ผง ส่ ว นชั้นที่ อยู่ในสุ ด ของซังข้า วโพด หรื อ pith
ไม่มีความสําคัญในเชิงอุตสาหกรรมแต่อาจใช้เพื่อทําความสะอาดขนสัต ว์ เช่ น ขนมิงค์ ใช้ในการทํา สบู่
ผงเครื่ องสํา อาง หรื อส่ ว นผสมของไวตามิน เป็ นต้น มีการนํา ซังข้า วโพดมาผลิต เป็ นก๊า ซชี ว มวลโดย
ความร้อนที่เกิดขึ้นสามารถนํามาลดความชื้ นเมล็ด พืชโดยทั่ว ไปใช้น้ ํา มันเป็ นเชื้ อเพลิงเผาไหม้แ ละนํา
พลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ไปอบ แต่เนื่องจากปั จ จุ บันราคานํ้า มันสู งขึ้ นจึ งต้องหาพลังงาน
ทดแทน ซังข้าวโพดเป็ นชีวมวลราคาถูกและมักเป็ นปั ญหาในการกาํ จัด ทิ้ ง การนํา ซังข้า วโพดมาใช้เป็ น
เชื้อเพลิงช่วยลดการนําเข้านํ้ามันจากต่างประเทศอีกด้วย กระบวนการผลิต ก๊า ซชี ว มวลได้จ ากชี ว มวลถูก
สันดาปอย่า งสมบู รณ์ และบางส่ ว นถูกสันดาปไม่สมบู รณ์ ซึ่ งจะทํา ให้ได้กา๊ ซที่ ติ ด ไฟได้โดยมีการใช้
ก๊าซออกซิเจนอย่างจําก ัด ก๊าซที่เกิดขึ้นเป็ นคาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจน และมีเทนที่ ใช้ในการเผา
ไหม้ได้ และอาจมีไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ปนอยูบ่ า้ งเล็กน้อย สามารถนําเอาความร้อนชี ว มวลจากซังมาอบ
เมล็ดข้าวโพดให้แห้งได้
(7) ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมสิ่งทอในสหรัฐอเมริ กาสามารถนําเอาข้าวโพดมาผลิตเป็ นเส้นใยสังเคราะห์ เพื่อทอ
เป็ นผ้า ที่ มีค วามยืด หยุ่น คุ ณ สมบัติค ล้า ยโพลี เอสเตอร์ แ ต่ ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และติ ด ไฟยาก
เนื่องจากปั จจุบนั ราคานํ้ามันมักไม่คงที่ แต่ราคาข้า วโพดค่ อนข้า งคงที่ ดังนั้น การนํา เอาข้า วโพดมาทํา
ผลิต ภัณ ฑ์สิ่งทอ จึ งมีค วามเป็ นไปได้ นอกจากทอเป็ นผ้า แล้ว ยังสามารถทอเป็ นพรม หรื อ ทํา วัส ดุ
ประเภทพลาสติกได้ดว้ ย วิธีการทําเส้นใยสังเคราะห์จากข้าวโพด ทําได้โดยสก ัดนํ้าตาลจากข้า วโพดแล้ว
หมักให้เกิดกรดแลคติ ก ซึ่ งจะทํา ให้เป็ นเส้น นํา ไปผ่า นวิธีการเช่ นเดี ยวกบั การทํา เส้นใยโพลีเอสเตอร์
แล้วบิดให้เป็ นเส้นเหนียวหลังจากนั้น จึงนําไปถักหรื อทอตามความต้องการ
(8) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่ องดื่ม
ปั จ จุ บัน เครื่ อ งดื่ ม สํา เร็ จ รู ป เป็ นที่ นิย มในการบริ โภคในชี วิ ต ประจํา วันโดยเฉพาะอย่า งยิ่ง
เครื่ องดื่มผงที่สามารถเตรี ยมได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เหมาะสํา หรับผูท้ ี่ ไม่มีเวลาในการเตรี ยมอาหาร
ข้า วโพดสามารถนํา มาทํา เป็ นผลิต ภัณ ฑ์อ าหารสํา เร็ จ รู ป ที่ ส ามารถละลายนํ้า ได้ดี วัต ถุ ดิ บที่ ใช้คื อ
ข้าวโพดบดหยาบ (Corn grit) โปรตีนสก ัดจากถัว่ เหลืองและแป้ งถัว่ เหลือง นํา มาผ่า นขั้นตอนในการทํา
ให้ร้อนและสุกแล้วลดความชื้น ผลิต ภัณ ฑ์ที่ได้นํา มาปรุ งแต่ งกลิ่น รส และเสริ มคุ ณ ค่ า ทางอาหารด้ว ย
การผสมก ับวัตถุดิบอื่นใช้ชงก ับนํ้าร้อนแล้วบริ โภคทันที

รายงานฉบับสุดท้าย 3-38
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.3.2 เทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด

จากข้อ มูล ของสถาบันวิ จ ัยวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยีแ ห่ ง ประเทศไทย (วว.) และศู น ย์


เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่ งชาติ (ศว.) พบว่าในสหรัฐ อเมริ กาวัต ถุดิ บหลักที่ ใช้ในการผลิต เอทานอล
คือ แป้ งจากพืช โดย 90% เป็ นธัญพืช เช่น ข้า วโพด การเลือกวัต ถุดิ บจะขึ้ นอยู่กบั ผลผลิต หลักในแต่ ละ
พื้นที่ กระบวนการผลิตระหว่างเอทานอลที่ ใช้เป็ นเครื่ องดื่ มและเอทานอลที่ ใช้เป็ นเชื้ อเพลิงนั้นมีค วาม
คล้า ยคลึ ง ก นั มาก ในขณะที่ โ รงงานผลิ ต เชื้ อ เพลิง เอทานอลเริ่ ม ต้น พัฒ นามาจากเทคโนโลยีข อง
อุตสาหกรรมผลิต สุ ราในสหรัฐ อเมริ กาโรงงานเชื้ อเพลิงเอทานอลเลียนแบบกระบวนการผลิต มาจาก
โรงงานเอทานอลที่ใช้เป็ นเครื่ องดื่มแต่แตกต่างก ันที่มีกระบวนการแยกนํ้า (dehydration) เพิ่มเข้ามาด้วย
สํา หรั บ เทคโนโลยีที่ใ ช้ในกระบวนการผลิ ต เอทานอลจากข้า วโพดนั้น ยังคงเติ บโตต่ อ ไป
จนกระทัง่ ราคาเอทานอลมีแนวโน้มลดตํ่าลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่ า งกนั มากระหว่า งเอทานอล
เชื้อเพลิง และเอทานอลเครื่ องดื่มซึ่งผลิต มานานจนมีค วามคงที่ ด ้า นคุ ณ ภาพและกลิ่นรสของผลิต ภัณ ฑ์
ปั จจัยอื่น ๆ เช่น ผลผลิตแอลกอฮอล์ ประสิ ทธิ ภาพด้า นพลังงาน แรงงาน มิได้เป็ นตัว แปรที่ สํา คัญมาก
ไปกว่า ความมัน่ คงทางเศรษฐกิจ สํา หรับการกลัน่ เพื่อเป็ นเครื่ องดื่ มนั้นการลดค่ า ใช้จ่ า ยด้า นกลิ่น รส
และคุณภาพเป็ นวิธีที่สวนทางก ับการผลิตที่มีคุณภาพ และส่วนแบ่งทางการตลาด คุณภาพของผลิต ภัณ ฑ์
ที่ ได้มีค วามสํา คัญ มากทั้งนี้ ผลกาํ ไรที่ ได้มีค วามสอดคล้องกบั การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ซึ่ ง
จะต้องรับมือก ับความเสี่ยงในทางธุรกิจ ได้ด ้ว ย ซึ่ งอาจกลายเป็ นความหายนะถ้า ต้องใช้เวลาในการบ่ ม
แอลกอฮอล์เป็ นเวลานานหลายๆ ปี รวมทั้งความแตกต่ า งทางด้า นราคา เนื่ องจากการพัฒนาเทคโนโลยี
ใหม่เพื่อให้เชื้อเพลิงเอทานอลมีราคาตํ่า การออกแบบโรงงานเชื้ อเพลิงเอทานอลที่ จ ะประสบผลสํา เร็ จ
จํา เป็ นต้องมีค วามเข้า ใจกลไกทางเศรษฐกิจ อย่า งแจ่ มแจ้ง จากการประเมินราคาการดํา เนิ นการของ
โรงงานเชื้ อเพลิงเอทานอลแบบบดแห้ง (Dry milling) ชี้ ให้เห็ นว่า ราคาวัต ถุ ดิ บคิ ด เป็ น 60% ของ
ค่า ใช้จ่ า ยทั้งหมด ในการใช้พลังงานอย่า งคุ ้มค่ า จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้พลังงานเพียง
40,000 บีทียตู ่อแกลลอนเอทานอล ซึ่งเป็ นจุดที่คุม้ ค่าต่อการลงทุน สิ่งสําคัญขณะนี้คื อ ประสิ ทธิ ภาพการ
แปลงวัตถุดิ บ ค่ า แรง ต้นทุ น ระยะเวลาการผลิต และความเป็ นมิต รกบั ผูใ้ ช้ รู ปที่ 3.3-1 แสดงตัว อย่า ง
กระบวนการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด

รายงานฉบับสุดท้าย 3-39
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 3.3-1 กระบวนการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด

รายงานฉบับสุดท้าย 3-40
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

3.4 การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

3.4.1 ข้อมูลวัตถุดบิ

สําหรับเทคโนโลยีการผลิตเอทานอล ในอดีตจะจําก ัดอยูท่ ี่น้ าํ ตาล แป้ ง ข้า วโพดซึ่ งเป็ นวัต ถุดิ บ
ที่ สํา คัญ ในการผลิต เอทานอล การนํา มาผลิต เอทานอลจะทํา ให้ พืช เหล่ า นี้ มีมู ล ค่ า เพิ่ มสู ง ขึ้ น ส่ ว น
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ใช้ ได้แก่ การผลิตเอทานอลจาก Lignocellulosic biomass ซึ่ งได้แ ก่ ซากต้นไม้ เศษ
ไม้ กระดาษ ฟางข้า ว เศษหญ้า ซึ่ งใช้ก รรมวิธีเปลี่ยน Lignocellulosic biomass ให้ก ลายเป็ นนํ้าตาล
จากนั้นหมักนํ้าตาลที่ได้ให้กลายเป็ นเอทานอล
ส่ ว นประกอบหลักของ Lignocellulosic biomass ได้แ ก่ พวกเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิ น
โดยเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลสจะประกอบด้วยกลูโคสสายโมเลกุลยาว และยังมีส่ว นประกอบรองของ
พืชอื่นๆ อีก ได้แก่ ลิกนิน ซึ่งเป็ นส่วนที่สร้างความแข็งแรงให้แ ก่ต ้นไม้ ลิกนิ นมีค วามคล้า ยคลึงกบั ถ่า น
หิ น คือ ให้ค่าพลังงานสูงระดับเดี ยวกบั ถ่า นหิ น แต่ การเผาไหม้ลิกนิ นดี กว่า เพราะไม่มีซัลเฟอร์ ลิกนิ น
สามารถนําไปใช้เป็ นพลังงานในการผลิตเอทานอลได้
โดยปกติปริ มาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิ น จะมีความแตกต่ างกนั ไป ขึ้ นอยู่กบั สายพันธุ์
และภาวะที่เจริ ญเติบโตของพืชนั้นๆ ดังแสดงในตารางที่ 3.4-1

ตารางที่ 3.4-1 องค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลสในชีว มวลต่างๆ

ส่วนประกอบภายในเซลล์พืช (%)
ชีวมวล
เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน
ฟางข้าว 32.1 24 12.5
ฟางข้าวสาลี 30.5 28.4 18
ชานอ้อย 33.4 30 18.9
ซังข้าวโพด 45 35 15
ต้นปาล์ม 37.14 30.59 22.32
ต้นมันสําปะหลัง 32.2 13.85 26.96
ทีม่ า: พรรณวิไล, 2545

รายงานฉบับสุดท้าย 3-41
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วัส ดุ ลิ ก โนเซลลู โ ลสิ ก (Lignocellulosic material) มี ส่ ว นประกอบหลัก ได้แ ก่ เซลลู โ ลส


(Cellulose) เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และ ลิกนิน (lignin) ดังแสดงในรู ปที่ 3.4-1

(ก) (ข)
รูปที่ 3.4-1 (ก) ส่วนประกอบภายในชีวมวล
และ (ข) องค์ประกอบภายในผนังเซลล์พืชแยกตามส่วนต่างๆ
ทีม่ า: (ก) http://www.lbl.gov/Publications/YOS/Feb/ (ข) พรรณวิไล, 2545

3.4.1.1 เซลลูโลส
เซลลูโลส เป็ นส่ ว นประกอบที่ มีมากที่ สุด ในเซลล์พืช และเป็ นส่ ว นที่ สํา คัญของผนังเซลล์ มี
หน้า ที่ ช่ว ยเสริ มโครงสร้า งความแข็งแรงให้แ ก่พื ช โดยธรรมชาติ จ ะไม่พบเซลลูโลสในรู ปอิสระแต่
มัก จะพบรวมก บั ลิ กนิ น (Lignin) เฮมิ เซลลู โลส (Hemicellulose) เพนโตแซน (Pentosan) ก มั (Gum)
แทนนิน (Tannin) ไขมัน (Lipid) และสารเกิด สี (Colouring matter) เป็ นต้น เซลลูโลสมีสูต รเคมีท่วั ไป
คือ -(C6H10O5)n- เมื่อ n คือจํานวนหน่วยของดี-กลูโคสทั้งหมดที่ ประกอบกนั เป็ นโครงสร้า ง ซึ่ งเกิด จาก
กลูโคสประมาณ 50,000 โมเลกุล มาเชื่อมต่อก ันเป็ นสายยาวแต่ ละสายของสายเซลลูโลสเรี ยงขนานกนั
ไปโดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่า งสายทํา ให้มีลกั ษณะเป็ นเส้นใยสะสมไว้ในพืช เซลลูโลสเมื่อถูกย่อยจะ
แตกตัวออกให้น้ าํ ตาลกลูโคสจํานวนมากเพราะลักษณะโครงสร้า งโมเลกุลโดยทั่ว ไปของเซลลูโลสเป็ น
คาร์โบไฮเดรตชนิดโพลีแซคคาไรด์ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคส 1,000-10,000 โมเลกุล นํ้า หนัก
โมเลกุล 200,000-2,000,000 ดาลตัน (นํ้าหนักโมเลกุลของกลูโคสเท่าก ับ 180.16 ดาลตัน) ความยาวของ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-42
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

หน่วยย่อย ดี-กลูโคส คือ 0.515 มิลลิเมตร และความยาวของโมเลกุลของเซลลูโลสทั้งหมดมีค่ า มากกว่า


5 µmโดยมีห น่ ว ยย่อยพื้นฐาน คื อ เซลโลไบโอส ซึ่ งประกอบด้ว ยกลูโคส 2 โมเลกุลต่ อกนั ด้ว ยพันธะ
ไกลโคซิดิก β- (1-4) - (1,4-glycosidic bond) ที่ ค าร์ บอนอะตอมตํา แหน่ งที่ 1 ของกลูโคสกบั คาร์ บอน
อะตอมตําแหน่งที่ 4 ของกลูโคสโมเลกุลถัดไป โดยรู ปแบบการจัด เรี ยงตัว ของหน่ ว ยดี -กลูโคสจะอยู่ใน
ลักษณะเป็ นรู ปเก ้าอี้ (Chair form) ซึ่งแต่ละโมเลกุลในสายเซลลูโลสจะเชื่อมต่ อกนั ด้ว ยพันธะไฮโดรเจน
(Hydrogen bond) ระหว่างหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group, -OH) ที่คาร์บอนตําแหน่งที่ 3 ก ับออกซิ เจน
ที่อยูใ่ นวงแหวน (Ring) ของโมเลกุลถัด ไป และเชื่ อมต่ อระหว่า งสายเซลลูโลสที่ ข นานกนั ด้ว ยพันธะ
ไฮโดรเจนระหว่างคาร์บอนตําแหน่งที่ 6 ก ับออกซิเจนที่ เชื่ อมระหว่า งโมเลกุลดี -กลูโคสในอีกสายหนึ่ ง
โดยการจัดเรี ยงตัวของโมเลกุลเซลลูโลสมีลกั ษณะเป็ นเส้นตรงไม่มีแ ขนงย่อย (ดังแสดงในรู ปที่ 3.4-2)
เซลลูโลสใน Primary cell wall ประกอบด้วยกลูโคสยาวประมาณ 2,000 โมเลกุล และอย่า งน้อย 14,000
โมเลกุลใน Secondary cell wall โดยโมเลกุลของเซลลูโลสจะเกาะกนั เป็ นคู่ ต ามยาวและเรี ยงขนานกนั
เป็ นกลุ่ม 40 คู่ เรี ยกว่า Microfibril ทําหน้าที่ให้ความแข็งแรงก ับผนังเซลล์ของพืช ปริ มาณของเซลลูโลส
อาจพบน้อยมากในส่วนที่สะสมอาหาร

(ก) (ข)
รูปที่ 3.4-2 (ก) โครงสร้างโมเลกุลของเซลลูโลส
และ (ข) ลักษณะการจัดเรี ยงตัวของโมเลกุลกลูโคสในเซลลูโลส
ทีม่ า: (ก) https://chempolymerproject.wikispaces.com/Cellulose-D-TPNR
(ข) http://mypersonalsciencenerd.com/overallblog/bio1/foundations-understanding-organic- macromolecules/

จากลักษณะการจัดเรี ยงตัวของเซลลูโลสที่ เรี ยงตัว ขนานซึ่ งกนั และกนั อย่า งมีระเบี ยบดังกล่า ว
เรี ยกว่ า คลิส ตัลไลน์ไมเซล (Crystalline micelles) โดยแต่ ล ะไมเซลประกอบด้ว ยโมเลกุลเซลลูโลส
ประมาณ 100 โมเลกุ ล เรี ยงตัว เป็ นรู ปร่ า งแถบหนาและประมาณ 10-20 ไมเซลจะมีการเรี ยงตัว เป็ น
โครงสร้างที่ใหญ่ข้ ึนเรี ยกว่า ไมโครไฟบริ ล (Microfibril) ดังรู ปที่ 3.4-3

รายงานฉบับสุดท้าย 3-43
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(ก) (ข)
รูปที่ 3.4-3 (ก) กลุ่มไมโครไฟบริ ลที่เรี ยงตัวขนานกนั ด้วยพันธะไฮโดรเจน
และ (ข) ภาพตัดตามยาวของไมโครไฟบริ ล

สามารถแบ่งลักษณะโครงสร้างเซลลูโลสในผนังเซลล์พืชตามการจัดเรี ยงตัว ของไมโครไฟบริ ล


ได้ 3 ลักษณะ คือ
(1) ฟริ งจ์ไมเซลล์ (fringe micelles) คื อ ไมโครไฟบริ ลที่ เรี ยงตัว เป็ นริ้ ว ๆประกอบด้ว ยส่ ว นที่
เป็ นผลึก (crystalline) และอสัณฐาน (amorphous) ดังแสดงในรู ปที่ 3.4-4 (ก)
(2) โครงสร้างเซลลูโลสที่ มว้ นหรื อพับไปมาตามแกนของเส้นใยเซลลูโลส ดังแสดงในรู ปที่
3.4-4 (ข)
(3) โครงสร้างเซลลูโลสที่มีลกั ษณะเป็ นริ บบิ้นหนา เกิดจากการม้ว นไปมาโดยตั้งฉากกบั แกน
ของริ บบิ้น และริ บบิ้นจะม้วนเป็ นเกลียว (helix) ดังแสดงในรู ปที่ 3.4-4 (ค)

รูปที่ 3.4-4 โครงสร้างเซลลูโลสที่พบในผนังเซลล์ข องพืชทัว่ ไป

จากที่ กล่ า วมาข้า งต้นจะเห็ นว่ า ภายในผนังเซลล์ข องพืชจะมี เซลลูโลสจัด เรี ยงตัว เป็ นแถบๆ
ไม่ติดต่อก ันโดยตลอด เมื่อเซลล์แก่เต็มที่จะเกิดช่องว่างที่เต็มไปด้วยลิกนิน ดังรู ปที่ 3.4-5 นอกจากนี้ ยงั มี

รายงานฉบับสุดท้าย 3-44
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

โพลี แ ซคคาไรด์อื่ น ๆที่ ป ะปนอยู่กบั เซลลู โ ลสในผนัง เซลล์พื ช ได้แ ก่ ไซแลน (xylan) แมนแนน
(mannan) โพลียูโรไนด์ (polyuronide) อะราแบน (araban) และกาแลคแตน (galactan) โดยมักพบใน
ปริ มาณที่นอ้ ยกว่าเซลลูโลส

รูปที่ 3.4-5 ผนังเซลล์ของพืชเมื่อเซลล์เริ่ มแก่

เซลลูโลสมีคุณสมบัติไม่ละลายในนํ้า สารอินทรี ยใ์ ดๆ และสารละลายด่ า งอ่อน หรื อกรดอ่อน


แต่ สามารถละลายได้ดี ใ นกรดแก่ห รื อด่ า งแก่ ดัง นั้นจึ งสามารถแบ่ ง ชนิ ด เซลลู โลสตามลักษณะการ
ละลายได้ดีในกรดแก่หรื อด่างแก่ได้เป็ น 3 ชนิด คือ
(1) แอลฟา-เซลลู โ ลส (α-cellulose) เป็ นเซลลู โ ลสที่ แ ท้ จ ริ ง ไม่ ส ามารถละลายได้ ใ น
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 17.5 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิห้อง
(2) เ บ ต้ า -เ ซ ล ลู โ ล ส (β-cellulose) เ ป็ น เ ซ ล ลู โ ล ส ที่ ล ะ ล า ย ไ ด้ ใ น ส า ร ล ะ ล า ย
โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 17.5 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิห้อง แต่สามารถตกตะกอนได้ง่า ยในสารละลาย
ที่มีสภาพเป็ นกรด
(3) แ ก ม ม า -เ ซ ล ลู โ ล ส (γ-cellulose) เ ป็ น เ ซ ล ลู โ ล ส ที่ ล ะ ล า ย ไ ด้ ใ น ส า ร ล ะ ล า ย
โซเดี ยมไฮดรอกไซด์ เข้ม ข้น 17.5 เปอร์ เซ็น ต์ ที่ อุ ณ หภูมิ ห้อง และละลายได้ใ นสารละลายกรด แต่
สามารถตกตะกอนได้โดยใช้แอลกอฮอล์

3.4.1.2 เฮมิเซลลูโลส
เฮมิเซลลูโลส เป็ นอินทรี ยส์ ารในเนื้อเยื่อของพืช ที่ พบมากเป็ นอันดับสองรองมาจากเซลลูโลส
และมักรวมอยู่กบั ลิกนิ น มีลกั ษณะเป็ นโพลีเมอร์ ข องนํ้า ตาลเพนโตส (Pentose) ซึ่ งส่ ว นมากเป็ นดี ไซ
แลน (D-xylan) ที่ ประกอบด้ว ยนํ้า ตาลไซโลส (Xylose) หลายๆโมเลกุลต่ อกนั ด้ว ยพันธะไกลโคสิ ดิ ก
(β- (1-4) -) โดยสายโพลีเมอร์ ข องเฮมิเซลลูโ ลส มีลกั ษณะเป็ นเฮทเทอโรจี นัส (heterogeneous) ที่
ประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์หลายชนิดปนก ันคือ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-45
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(1) เพนโตแซน (pentosan) ส่วนใหญ่เป็ นไซแลน และอะราแบน (araban) ซึ่ งเมื่อนํา ไปย่อยจะ
ได้น้ าํ ตาลไซโลส และอะราบิโนส (arabinose) โดยไซแลนเป็ นสารที่ มีอยู่ในเฮมิเซลลูโลสมากกว่า สาร
อื่น
(2) เฮกโซแซน (hexosan) ส่ ว นใหญ่เป็ นแมนแนน (mannan) กาแลคแทน (galactan) และ
กลูแคน (glucan) ซึ่งเมื่อถูกย่อยจะได้น้ ํา ตาลแมนโนส (mannose) กาแลคโตส (galactose) และกลูโคส
(glucose) ตามลําดับ
(3) โพลียโู รไนด์ (polyuronides) ส่วนมากเป็ นสารประกอบของกรดโพลียูโรนิ ค (polyuronic
acid) และยังพบกรดยูโรนิค (uronic acid) ปนอยูด่ ว้ ย

รูปที่ 3.4-6 โครงสร้างโมเลกุลของเฮมิเซลลูโลส


ทีม่ า: http://www.life.ku.dk/forskning/online_artikler/artikler/marken_en_stor_solfanger.aspx

เฮมิเซลลูโลสก ับเซลลูโลสแตกต่ า งกนั ที่ เฮมิเซลลูโลสสามารถถูกย่อยด้ว ยสารละลายกรดเจื อ


จาง ที่อุณหภูมิสูง และสามารถละลายได้ในสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 17.5 % นอกจากนี้
สายโพลีเมอร์ของเฮมิเซลลูโลส ยังมีลกั ษณะเป็ นกิง่ กา้ นสาขามากกว่า แต่ มีค วามยาวของสายโพลีเมอร์
สั้นกว่า โดยมีความยาวประมาณ 40 หน่วยกลูโคส

3.4.1.3 ลิกนิน
ลิกนิน เป็ นสารประกอบที่ มีอยู่ในพืชรองลงมาจากเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส พบได้ในส่ ว น
ผนังเซลล์ช้ ันที่ สอง และ middle lamella ของพืชชั้นสู ง โดยโมเลกุลของลิกนิ นจะแทรกอยู่ในช่ องว่า ง
ระหว่าง cellulose fibrils และสายของเฮมิเซลลูโลส เพื่อทําหน้าที่เสริ มสร้า งความแข็งแรงโดยการเชื่ อม
จับเส้นใยผนังเซลล์เข้า ไว้ด ้ว ยกนั ช่ ว ยลดการผ่า นเข้า ออกของนํ้าที่ ผ่า นผนังเซลล์ข องเนื้ อเยื่อไซเลม
(xylem) ช่วยต้านทานการเข้า ทํา ลายของจุ ลินทรี ยโ์ ดยในพืชที่ อ่อนอยู่จ ะมีลิกนิ นเพียงเล็กน้อยและจะ

รายงานฉบับสุดท้าย 3-46
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เพิ่ ม มากขึ้ น เรื่ อยๆ เมื่ อ พืช แก่ข้ ึ น เมื่ อ พืช ตายลิ ก นิ น จะถู ก ย่อ ยด้ว ยเอนไซม์ลิ ก เนส (Lignase) หรื อ
ลิกนินเนส (Ligninase) ซึ่งเป็ นจุลินทรี ยท์ ี่สาํ คัญในรา ลักษณะโครงสร้า งโมเลกุลโดยทั่ว ไปของลิกนิ น
จะประกอบด้ว ยโพลิเมอร์ ข องสารประกอบอะโรมาติ ก (aromatic compound) ที่ มีโครงสร้า งซับซ้อน
ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิ เจน รวมตัว กนั เป็ นหน่ ว ยย่อย เรี ยกว่า ฟี โนลิกโพลีเมอร์
(phenolic polymer) โดยหน่ ว ยย่อ ยของโครงสร้ า งนี้ คื อ ฟี นิ ลโพรเพน (phenylpropane unit) ซึ่ งมี
ลักษณะเป็ นโมโนเมอร์ (monomer) ที่เชื่อมต่อก ันด้ว ยพันธะ C-O-C หรื อ C-C สานต่ อกนั เป็ นโพลีเมอร์
ขนาดใหญ่ ดังแสดงในรู ปที่ 3.4-7 โดยที่ตาํ แหน่งแอลฟาและเบต้า ของโมเลกุลลิกนิ น อาจเกิด การเชื่ อม
ก ันระหว่างโมเลกุล หรื อคาร์บอนในหน่วยฟี นอลอาจเกิดพันธะก ับคาร์บอนในอีกหน่ ว ยหนึ่ งภายในสาย
โพลีเมอร์ที่ประกอบกนั เป็ นโมเลกุลลิกนิ น จึ งทํา ให้ลิกนิ นมีโครงสร้า งที่ แ ข็งแรง ไม่มีสมบัติ ทางการ
ยืดหยุน่ และไม่ละลายนํ้า จึงเป็ นอุปสรรคต่อการย่อยสลายเซลลูโลสเพื่อการผลิต นํ้า ตาลและเอทานอล
แต่ ลิก นิ น สามารถละลายได้ใ นตัว ทํา ละลายอิน ทรี ย ์บางชนิ ด เช่ น เอทานอล เมทานอลที่ ร้ อน และ
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์

รูปที่ 3.4-7 โครงสร้างโมเลกุลของลิกนิ น


ทีม่ า: http://www.palaeos.com/Plants/Lists/Glossary/GlossaryL.html

3.4.2 เทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

วิธีการผลิตเอทานอลจากลิกโนเซลลูโลส มี 2 วิธีหลัก ได้แก่

3.4.2.1 Gasification
Gasification คื อ การเปลี่ ย นชี ว มวลซึ่ งมีอ งค์ป ระกอบหลัก คื อ คาร์ บอน ไฮโดรเจน และ
ออกซิเจน ให้กลายเป็ นก๊าซที่เผาไหม้ได้ หรื อการแตกสารประกอบประเภทคาร์ บอนของเซลลูโลสให้

รายงานฉบับสุดท้าย 3-47
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

กลายเป็ นก๊า ซคาร์ บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) คาร์ บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) และ
ไฮโดรเจน (Hydrogen) โดยกระบวนการดัง กล่ า วเป็ นการเผาไหม้อิ นทรี ย สารแบบจํา ก ดั ปริ ม าณ
ออกซิเจน ทําให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบู รณ์ จากนั้นหมักด้ว ยจุ ลินทรี ยจ์ นกลายเป็ นแอลกอฮอล์ ผ่า น
การกลัน่ และแยกนํ้า จนเป็ นเอทานอล แต่ วิ ธีน้ ี มีข ้อจํา ก ดั คื อ ชี ว มวลที่ นํา มาใช้ค วรมีคุ ณ สมบัติ ข อง
เชื้อเพลิงที่เหมาะสมในการป้ อนเตาแก๊สซิไฟเออร์ ดังนี้
(1) มีขนาดที่เหมาะสม และสมํ่าเสมอ
(2) มีความชื้นน้อย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี (ไม่ควรเกิน 20-30%)
(3) มีความหนาแน่นเชื้อเพลิง (Bulk density) เหมาะสมและสมํ่าเสมอ
ข้อดีของระบบแก๊สซิฟิเคชัน่ คือ เหมาะก ับระบบการผลิตไฟฟ้ าขนาดเล็กที่ มีขนาดกาํ ลังการผลิตตํ่า
กว่า 1 เมกะวัตต์จึ งเหมาะสมกบั บริ เวณที่ มีป ริ มาณเชื้ อ เพลิง จํา ก ดั และเหมาะสมกบั หมู่บ้า นชนบท
ที่กระแสไฟฟ้ าเข้าไม่ถึง
ข้อ เสี ย ของระบบแก๊ส ซิ ฟิ เคชั่น คื อ มี น้ ํามัน ดิ น หรื อ ทาร์ (Tar) ผสมในก๊า ซเชื้ อ เพลิ ง
ทําให้ตอ้ งหาทางก ําจัดหรื อทําให้นอ้ ยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาต่ อการทํา งานของเครื่ องยนต์ นอกจากนี้ ถา้
ออกแบบระบบการเผาไหม้ไม่ดี และมีคุณภาพเชื้อเพลิงที่ไม่สมํ่าเสมอ (ขนาด ความชื้ น ปริ มาณขี้ เถ้า ค่ า
ความร้อน) จะส่งผลให้กา๊ ซเชื้อเพลิงที่ ได้มีคุ ณ ภาพไม่แ น่ นอน และการผลิต ไฟฟ้ าจะไม่สมํ่า เสมอ โดย
ในกรณี ที่นาํ ก๊าซเชื้อเพลิงไปผลิตไฟฟ้ าโดยเครื่ องยนต์ จํา เป็ นต้องมีช่า งเครื่ องยนต์ประจํา เพื่อให้มีการ
บํารุ งดูแลรักษาที่ดี
(2) Cellulolysis
Cellulolysis คื อ การย่อยสลายเซลลูโลสให้กลายเป็ นนํ้า ตาลกลูโคส แล้ว หมักนํ้า ตาลกลูโคส
ด้ว ยจุ ลิ นทรี ย ์ กลายเป็ นแอลกอฮอล์ ผ่า นการกลัน่ และแยกนํ้าจนเป็ นเอทานอล ข้อ ดี ข องการผลิ ต
Cellulosic Ethanol มีดงั นี้
(1) วัต ถุ ดิ บ สา มารถหา ได้ ง่ า ย เนื่ อ งจากเซลลู โ ลสเป็ นส่ ว นประกอบห ลัก ของพื ช
หลายประเภท และสามารถนําส่วนของพืชที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อาทิ ฟางข้า ว ซังข้า วโพด และกากอ้อย
มาผลิต
(2) การผลิตและใช้เอทานอลจากเซลลูโลสช่ ว ยลดก๊า ซเรื อนกระจกได้ถึง 85% ของการผลิต
และใช้น้ าํ มันเบนซิน ขณะที่การผลิตและใช้เอทานอลที่ผลิตจากแป้ งช่วยลดก๊าซเรื อนกระจก 18-29%
(3) ช่วยลดปั ญหาการนําพืชอาหารที่ใช้บริ โภคไปผลิตเอทานอล เพราะเซลลูโลสเป็ นส่ ว นของ
พืชที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ วัตถุดิบที่นาํ มาผลิตจึงไม่ใช่อาหารที่มนุษย์บริ โภค

รายงานฉบับสุดท้าย 3-48
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(4) ทําให้มีปริ มาณวัตถุดิบใช้ผลิตเอทานอลได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถนํา ส่ ว นต่ า ง ๆ ของพืช


มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้ น อาทิ นํ้า อ้อยนํา มาผลิต เอทานอลด้ว ยวิธีการเดิ ม ขณะที่ กากอ้อยนํา มาผลิต
Cellulosic Ethanol

รายงานฉบับสุดท้าย 3-49
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 4
การคัดเลือกวัสดุที่ใช้ เป็ นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

ที่ปรึ กษาดําเนินการศึกษาวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตรจํา นวน 5 ชนิ ด แล้ว คัด เลือกให้เหลือ 3


ชนิด ที่มีศกั ยภาพที่เหมาะสมทั้งด้านราคาและปริ มาณในการผลิตเอทานอลในเชิ งพาณิ ชย์ เพื่อนํา มาเป็ น
วัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสโดยคํานึงถึงพืชที่มิใช่พืชอาหาร หรื อพืชที่ มีการใช้ประโยชน์
น้อย หรื อเป็ นวัสดุเหลือใช้ที่มีความเหมาะสมทั้งด้านราคา และปริ มาณ

4.1 ศึกษาวัสดุที่จะนํามาใช้ ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

ศึกษาวัสดุที่เหมาะสมในการนํามาเป็ นวัต ถุดิ บของการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสที่ เป็ นวัสดุ


เหลือใช้ทางการเกษตร หรื อวัชพืช หรื อ พืชที่ มีอายุการเก็บเกีย่ วสั้น โดยมุ่งเน้นประเด็นศึกษาไปยังพืช
ชีวมวลของประเทศไทย เนื่องจากพืชชีวมวล หมายถึง วัสดุหรื อสารอินทรี ยท์ ี่ เป็ นแหล่งกกั เก็บพลังงาน
จากธรรมชาติและสามารถนํามาใช้ผลิตพลังงานได้ เช่ น เศษวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตร หรื อกากจาก
กระบวนการผลิต ในอุต สาหกรรมการเกษตร ซึ่ งสามารถเปลี่ยนรู ปเป็ นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอน
ของการเจริ ญ เติ บ โตพืช ใช้ค าร์ บ อนไดออกไซด์ และนํ้าเปลี่ ย นพลัง งานจากแสงอาทิ ต ย์โ ดยผ่ า น
กระบวนการสังเคราะห์ แ สงได้ออกมาเป็ นแป้ งและนํ้า ตาล แล้ว กกั เก็บไว้ต ามส่ ว นต่ า งๆของพืช วัสดุ
เหลือใช้ทางการเกษตรหลักที่สามารถนํามาใช้เป็ นพลังงานทดแทน ได้แ ก่แ กลบ และฟางข้า ว ชานอ้อย
กากและกะลาปาล์ม กะลามะพร้าว ฯลฯ
จากการประเมินศักยภาพพลังงานจากสิ่งเหลือทิ้งในพืชชีวมวลของไทย โดยประเมินจากผลคู ณ
ของปริ มาณผลผลิตทางการเกษตรที่กอ่ ให้เกิด ชี ว มวลนั้นๆ กบั สัด ส่ ว นการเกิด ของสิ่ งเหลือทิ้ ง โดยใน
การที่จะเลือกชีวมวลประเภทไหนมาเป็ นวัตถุดิบในการผลิตเป็ นพลังงาน พิจ ารณาจากข้อมูลเบื้ องต้น 3
ส่วน คือ ส่วนที่เหลือทิ้งจากผลผลิตที่เก็บเกีย่ วแล้ว ทั้งในที่ เพาะปลูกหรื อกระบวนการผลิต เช่ น แกลบ
ซัง เหง้า เปลือก เป็ นต้น ส่วนต่อมา คือ สัดส่วนการเกิดของสิ่ งเหลือทิ้ งเหล่า นี้ เช่ น ชานอ้อย เป็ นส่ ว นที่
เกิดจากการบีบนํ้าตาลออกจากต้นอ้อยแล้ว และส่ ว นสุ ด ท้า ย คื อ สัด ส่ ว นการนํา ไปใช้งานของสิ่ งเหลือ
ทิ้งนั้นๆ เช่น ฟางข้าวมีสดั ส่วนการนําไปใช้ร้อยละ 50 หมายความว่า มีการนํา ไปใช้งานเพียง 50 ส่ ว น
เท่านั้น นัน่ คือ ยังคงมีชีวมวลเหลือจากการนํา ไปใช้แ ล้ว อีก 50 ส่ ว น จากข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงาน
ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่า ศักยภาพของวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตรจากพืชชี ว มวล 6 ชนิ ด ที่ มี
ศักยภาพสูง ดังแสดงในตารางที่ 4.1-1

รายงานฉบับสุดท้าย 4-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-1 ศักยภาพพลังงานเหลือทิ้งจากพืชชีว มวลของประเทศไทยปี 2551

ผลผลิต ส่ วน สัดส่ วน ปริมาณ สัดส่ วนการ สัดส่ วนที่ ค่ าความร้ อน ศักยภาพพลังงาน กําลังไฟฟ้า
ชนิด พลังงาน (GJ)
(ตัน/ปี ) เหลือทิง้ การเกิด ชีวมวลทีไ่ ด้ (ตัน) นําไปใช้ เหลือใช้ (MJ/kg) (ktoe/ปี ) (MW)
ชานอ้อย 0.30 22,050,300 100 0 16.21 357,435,363 8,461 97.2
อ้อย 73,501,000
ยอดและใบ 0.24 17,640,240 10-30 70-90 16.42 289,652,741 6,857 79
แกลบ 0.23 6,877,000 70-80 20-30 15.56 107,006,120 2,533 2.5
ข้าว 29,900,000
ฟางข้าว 1.19 35,581,000 50 50 15.51 551,861,310 13,064 152.3
ข้าวโพด 4,249,000 ซังข้าวโพด 0.19 807,310 70 30 16.63 13,425,565 318 3.7
ทะลาย
0.23 2,130,720 50-60 40-50 19.41 41,357,275 881 10.2
เปล่า
กากใย 0.15 1,389,600 100 0 19.94 27,708,624 656 7.5
นํ้ามันปาล์ม 9,264,000
กะลา 0.06 555,840 70-80 20-30 21.13 11,744,899 278 3.1
ทางใบ/
0.27 2,501,280 100 0 17.87 44,697,874 1,058 0.5
ก้าน
ลําต้น 0.12 3,018,600 60-80 20-40 13.38 40,388,868 96 1
มันสําปะหลัง 25,155,000
เหง้า 0.10 2,515,500 0 100 10.61 26,689,455 63 0.6
ขี้เลื่อย 0.03 94,980 100 0 16.65 1,581,417 37 0.3
ยางพารา 3,166,000
เศษไม้ 0.10 316,600 100 0 16.85 5,334,710 126 1.3
รวม 145,235,000 95,478,970 1,518,884,221 34,428 359.2
ทีม่ า: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน, 2551

รายงานฉบับสุดท้าย 4-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เมื่อวิเคราะห์ศกั ยภาพพลังงานจากสิ่งเหลือทิ้งในพืชชีวมวลทั้ง 6 ชนิ ด พบว่า มีพลังงานเหลือทิ้ ง


ที่ยงั ไม่มีการนํามาใช้อีก 34.4 เมกกะตันนํ้า มันดิ บต่ อปี ทั้งนี้ อ้อยและข้า วเป็ นพืชชี ว มวลที่ ยงั มีสิ่งเหลือ
ทิ้งทั้งในพื้นที่เพาะปลูก และในกระบวนการผลิต มากที่ สุด เที ยบเท่ า พลังงาน 15.3 และ 15.6 เมกกะตัน
นํ้ามันดิบต่อปี ตามลําดับ คิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 89.8 ของพลังงานเหลือทิ้ งในพืช ชี ว มวลทั้งหมด ส่ ว น
พืชชีวมวลชนิดอื่นๆ แม้ว่าจะมีสิ่งเหลือทิ้งเที ยบเท่ า พลังงานน้อยกว่า อ้อยและข้า วก็ต าม แต่ กย็ งั เป็ นสิ่ ง
เหลือทิ้งที่มีศกั ยภาพทางพลังงานพอสมควร เช่ น ซังข้า วโพด ทะลายเปล่า และกะลาปาล์ม ลํา ต้นและ
เหง้ามันสําปะหลัง

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงการนําพืชชีวมวลมาใช้เป็ นวัตถุดิบในการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส ย่อม


ต้องคํานึงถึงคุ ณ สมบัติข องวัต ถุดิ บที่ เหมาะสมในการเข้า สู่ กระบวนการผลิต และผลผลิต ที่ ค าดว่า จะ
ได้ รั บ นั่ น ก็คื อ ปริ มา ณเซลลู โ ลส ซึ่ งในพื ช ชี ว มวลจ ะประกอบด้ ว ยวัส ดุ ลิ ก โนเซลลู โ ลสิ ก
(Lignocellulosic material) ซึ่ งมี ส่ ว นประกอบหลัก ได้ แ ก่ เซลลู โ ลส (Cellulose) เฮมิ เ ซลลู โ ลส
(Hemicellulose) และลิกนิน (lignin) ในปริ มาณต่างๆ ก ัน แล้วแต่ชนิ ด ของพืช ปริ มาณของเซลลูโลสจะ
มีความแตกต่างก ันไป ขึ้นอยูก่ ับสายพันธุ์และภาวะที่เจริ ญเติบโตของพืชนั้นๆ ดังแสดงในตารางที่ 4.1-2

ตารางที่ 4.1-2 องค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลสในชีว มวลต่างๆ


ส่วนประกอบภายในเซลล์พืช (%)
ชีวมวล
เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน
ฟางข้าว 32.1 24 12.5
ฟางข้าวสาลี 30.5 28.4 18
ชานอ้อย 33.4 30 18.9
ซังข้าวโพด 45 35 15
ต้นปาล์ม 37.14 30.59 22.32
ต้นมันสําปะหลัง 32.2 13.85 26.96
ทีม่ า: พรรณวิไล, 2545

เพื่อดํา เนิ นการคัด เลือกวัสดุ ที่เหมาะสมในการนํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการผลิต เอทานอล
จากเซลลูโลส ที่ปรึ กษาได้ศึกษา และรวบรวมข้อมูลส่วนเหลือทิ้งของพืชชี ว มวลทั้ง 6 ชนิ ด โดยละเอียด
เพื่อเป็ นข้อมูลและแนวทางในการคัดเลือกวัสดุที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ดังนี้

รายงานฉบับสุดท้าย 4-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.1.1 อ้ อย

ชานอ้อย (หรรษา และ เนริ สา, 2544) หมายถึง ส่ ว นของลํา ต้นอ้อยที่ หี บเอานํ้า อ้อยหรื อนํ้า ตาล
ออกแล้ว มีส่วนประกอบอย่างหยาบ ๆ คิดเป็ นค่าร้อยละโดยนํ้าหนักของชานอ้อยเปี ยก (ความชื้ น 48 %)
คือ ชานอ้อยหรื อไฟเบอร์ (Fiber) 48.5 % นํ้า 48.0 % นํ้า ตาล 3.0 % และสารประกอบอื่น ๆ นอกจากที่
กล่าวแล้ว 0.5 % ส่วนปริ มาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิ น มีเท่ า กบั 34.08 20.31และ 8.93 กรัม
ต่อนํ้าหนักแห้ง ตามลําดับ
ชานอ้อยสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) ใช้เป็ นเชื้อเพลิง ส่ ว นใหญ่ใช้เป็ นเชื้ อเพลิงเพื่อผลิต นํ้า ตาลดิ บประมาณ 80% ส่ ว นที่ เหลือ
อีกร้อยละ 20 นําไปเป็ นวัตถุดิบสําหรับผลิตกระดาษ และ MDF Board
(2) สําหรับผลิตไอนํ้าและกระแสไฟฟ้ าสําหรับใช้ภายในโรงงานนํ้า ตาลเอง ชานอ้อยสามารถ
ใช้แ ทนนํ้า มันเชื้ อเพลิง (Fuel oil) ได้ดี ชานอ้อยที่ มีค วามชื้ น 50 % หนัก 3 ตัน เมื่อเผาจะให้พลังงาน
ไล่เลี่ยก ับนํ้ามันเชื้อเพลิงหนัก 1 ตัน
(3) ใช้ผ ลิต วัสดุ ก อ่ สร้ า งโดยอาศัย กาว เช่ น อัด เป็ นแผ่ น (Particle board) ไม้อดั ผิว เส้นใย
(Fiber-overlaid plywood) และแผ่นก ันความร้อน (Insulating board) เป็ นต้น
(4) ใช้ผลิ ต เยื่อ กระดาษ (Pulp) และกระดาษชนิ ด ต่ า งๆ ชานอ้อ ยส่ ว นใหญ่ป ระกอบด้ว ย
เซลลูโลส และมีลิกนินอยูบ่ า้ งเล็กน้อย ไฟเบอร์ ข องชานอ้อยค่ อนข้า งสั้น คื อ มีค วามยาวเฉลี่ยเพียง 1.4
มิลลิเมตรเท่านั้น ในขณะที่เยือ่ ใยของไม้ไผ่เฉลี่ย 2.5-4.0 มิลลิเมตร
(5) ใช้ เป็ นอาหารสั ต ว์ ชานอ้อ ยถ้า ให้ สั ต ว์ ก ินโดยตรงมักจะเกิด ปั ญ หาเกีย่ วก บั รสชาติ
การย่อยของสัตว์ ตลอดจนมีอตั ราส่ วนตํ่าระหว่างอาหารที่ สัตว์กนิ กบั นํ้าหนักตัวที่ เพิ่ม วิธีที่ดี กค็ ื อนํามา
หมักก่อนที่จะให้สตั ว์กนิ วัสดุที่หมักประกอบด้วยชานอ้อย 1 ตัน (ความชื้ น 55+3 %) โซเดี ยมไฮดรอกไซด์
5 % ของนํ้าหนักแห้ ง กากนํ้า ตาล 15% ยูเรี ย 0.8% และข้าวโพด 12% โดยนํ้า หนัก ผสมแล้ว ทําให้ มี
ความชื้นประมาณ 60% หมักไว้ 4-6 สัปดาห์ จึงให้สตั ว์กนิ
(6) ใช้เป็ นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมผลิต Furfural, Furfuryl alcohol และ Xylitol
(7) ใช้ทาํ ปุ๋ ยหมัก โดยหมักร่ วมก ับปุ๋ ยคอก กากตะกอน หรื อปุ๋ ยวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ยงั ใช้ปู
คอกสัตว์เพื่อรองรับมูลสัตว์ และทําปุ๋ ยหมักต่อไป
(8) ใช้เป็ นวัตถุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นของดินและป้ องก ันวัชพืช

รายงานฉบับสุดท้าย 4-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 4.1-1 ชานอ้อย

ตารางที่ 4.1-3 ปริ มาณผลผลิต อ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 6,022,787 66,816,446 20,245,383
1 เหนือ 1,779,353 20,838,394 6,314,033
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 2,115,769 22,881,552 6,933,110
3 กลาง 2,127,665 23,096,500 6,998,240
4 ใต้ 0 0 0
จังหวัด
1 ลําปาง 32,442 257,600 78,053
2 เชียงใหม 2,569 23,263 7,049
3 ตาก 8,424 82,836 25,099
4 ก ําแพงเพชร 394,924 4,826,281 1,462,363
5 สุโขทัย 152,361 1,617,486 490,098
6 แพร 1,848 19,733 5,979
7 อุตรดิตถ 87,288 937,598 284,092
8 พิษณุ โลก 123,622 1,379,793 418,077
9 พิจิตร 38,945 422,118 127,902
10 นครสวรรค 535,097 6,498,898 1,969,166

รายงานฉบับสุดท้าย 4-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-3 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตอ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
11 อุทยั ธานี 180,583 2,037,741 617,436
12 เพชรบูรณ 221250 2,735,047 828,719
13 เลย 57,027 548,238 166,116
14 หนองบัวลําภู 35182 339765 102,949
15 อุดรธานี 333,915 3,564,744 1,080,117
16 หนองคาย 6,542 66,914 20,275
17 สกลนคร 13,840 137,997 41,813
18 นครพนม 6,007 63,607 19,273
19 มุกดาหาร 94,884 1,047,699 317,453
20 ยโสธร 3,822 39,762 12,048
21 อํานาจเจริ ญ 2,894 29,831 9,039
22 ศรี สะเกษ 4,013 42,056 12,743
23 สุรินทร์ 100,368 1,081,686 327,751
24 บุรีรัมย์ 88,657 967,061 293,019
25 มหาสารคาม 26,948 284,340 86,155
26 ร้อยเอ็ด 13,922 149,293 45,236
27 กาฬสินธุ์ 243,676 2,701,481 818,549
28 ขอนแก่น 385,158 4,357,474 1,320,315
29 ชัยภูมิ 276,817 3,000,946 909,287
30 นครราชสีมา 422,097 4,458,658 1,350,973
31 สระบุรี 142,931 1,525,783 462,312
32 ลพบุรี 323,494 3,480,969 1,054,734
33 สิงห์บุรี 30,733 340,376 103,134
34 ชัยนาท 31,944 354,934 107,545
35 สุพรรณบุรี 368,439 4,420,522 1,339,418
36 อ่างทอง 11,941 134,653 40,800

รายงานฉบับสุดท้าย 4-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-3 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตอ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
37 ปราจีนบุรี 5,058 47,617 14,428
38 ฉะเชิงเทรา 39,842 359,099 108,807
39 สระแก ้ว 184,761 1,719,292 520,945
40 จันทบุรี 14,388 129,947 39,374
41 ระยอง 26,286 239,698 72,628
42 ชลบุรี 82,304 746,903 226,312
43 นครปฐม 56,278 662,139 200,628
44 กาญจนบุรี 606,165 6,772,151 2,051,962
45 ราชบุรี 155,556 1,703,579 516,184
46 เพชรบุรี 19,443 190,320 57,667
47 ประจวบคีรีขนั ธ์ 28102 268518 81,361
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

4.1.1.1 กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดชานอ้ อย


หลังจากที่ชาวไร่ ออ้ ยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คื อประมาณ 10 เดื อนขึ้ นไป หรื อแล้ว แต่ พนั ธุ์
อ้อยก็จะบรรทุกส่งเข้าโรงงาน ซึ่งปกติจะก ําหนดเปิ ดหี บอ้อยประมาณปลายเดือนพฤศจิ กายน หรื อเดื อน
ธันวาคมของทุกปี เมื่ออ้อยมาถึงโรงงานจะผ่านระบบจัดคิวแล้วจึงชัง่ นํ้าหนักรวมทั้งอ้อยและรถบรรทุ ก
เมื่อรถบรรทุกอ้อยถูกยกบนแท่นเทอ้อย อ้อยจะไหลลงสะพานลําเลียงซึ่ งมีชุดใบมีด และเครื่ องตี ออ้ ย เพื่อ
เตรี ยมอ้อยให้เป็ นเส้นใยหรื อฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ ชุดลูกหี บ ส่ ว นรถอ้อยที่ เทอ้อยออกแล้ว จะกลับไปชั่ง
นํ้าหนักรถเปล่าอีกครั้งเพื่อจะได้ทราบนํ้าหนักสุทธิของอ้อย เมื่ออ้อยถูกหี บที่ ลูกหี บชุ ด แรกในระยะเวลา
พอสมควร
ตัว อย่า งนํ้า อ้อยจากลูกหี บชุ ด แรกอย่า งน้อย 1 ลิต ร จะถูกส่ งไปในห้องปฎิบัติ การ เพื่อนํา ไป
วิเคราะห์หาความหวานของแต่ ละคันรถ หลังจากนั้นค่ า ความหวานจะถูกส่ งไปป้ อนคอมพิว เตอร์ เพื่อ
คํานวณราคาอ้อยของรถแต่ละคันตามนํ้าหนัก ในชุ ด ลูกหี บซึ่ งจะมีลูกหี บ 4-6 ชุ ด แตกต่ า งกนั ในแต่ ละ
โรงงาน จะหี บนํ้า อ้อยออกให้มากที่ สุด โดยใช้ระบบการพรมนํ้า ที่ เรี ยกว่า Compound Imbibitions เพื่อ
สก ัดเอานํ้าตาลในอ้อยออกให้ห มดโดยส่ ว นของกากอ้อยที่ ออกจากลูกหี บชุ ด สุ ด ท้า ยจะถูกลํา เลียงโดย

รายงานฉบับสุดท้าย 4-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สะพานลําเลียงเข้า สู่ ห ม้อนํ้า เพื่อใช้เป็ นเชื้ อเพลิงผลิต ไอนํ้า ขับเทอร์ ไบน์ต่ า ง ๆ และผลิต กระแสไฟฟ้ า
เพื่อใช้ในขบวนการผลิต และบริ เวณโรงงาน นอกจากนี้ ไอนํ้า ที่ ออกจากเทอร์ ไบน์ต่ า งๆ ยังสามารถ
นําไปใช้ในขบวนการผลิตได้อีกด้วย
สําหรับนํ้าอ้อยที่ได้จากชุดลูกหี บ จะถูกปั๊ มไปผ่า นตะแกรงกรองกากอ้อยแล้ว ส่ งเข้า สู่ กรรมวิธี
ทางวิ ศวกรรมเคมี เพื่อรั กษาคุ ณ ภาพนํ้าอ้อยอย่า งถูก ต้องและมี ประสิ ทธิ ภาพ โดยการควบคุ มของ
คอมพิว เตอร์ ในขั้นตอนต่ า งๆ จนกระทั่งได้น้ าํ อ้อยใส จึ งนํา ไปต้มเพื่อระเหยนํ้า ออกและได้น้ าํ เชื่ อ ม
เข้มข้น ส่วนกากตะกอนจากนํ้าอ้อยจะถูกกรองและถูกลําเลียงออกนอกขบวนการผลิต นํา เข้า สู่ ที่เก็บเพื่อ
ทําเป็ นปุ๋ ยให้แก่ชาวไร่ ออ้ ยต่ อไป นํ้า อ้อยใสเมื่อออกจากหม้อต้มลูกสุ ด ท้า ยจะได้น้ ํา เชื่ อมดิ บที่ มีค วาม
เข้มข้น 60 - 65 บริ กส์ และจะถูกนําไปเคี่ยวให้ตกผลึกเป็ นเม็ดนํ้าตาลที่ มีผลึกนํ้า ตาลและนํ้า เลี้ยงรวมกนั
อยู่ แล้วจึงปล่อยลงรางกวนเพื่อพักผลึกนํ้าตาล ก่อนจะนํา ไปปั่ นแยกผลึกออกจากนํ้า เลี้ยงที่ ห ม้อปั่ น ใน
การปั่ นแยกแต่ละขั้นตอน จะได้น้ าํ ตาลเอ นํ้าตาลบี นํ้าตาลซี และกากนํ้าตาล เป็ นลําดับสุดท้าย
สําหรับนํ้าตาล เมื่อนําผ่านกระบวนการลดค่าสีดว้ ยกรรมวิธีคาร์บอเนชัน่ และ ไอ.อี.อาร์ แล้ว จึ ง
ส่งไปสู่ข้ นั ตอนการเคี่ ยว และการอบแห้ง จะได้ผลิต ภัณ ฑ์น้ ํา ตาลทรายขาว นํ้า ตาลทรายขาวบริ สุทธิ์
สํา หรั บนํ้า ตาลบี หรื อนํ้าตาลทรายดิ บ จะถูก นํา เข้า รอการบรรจุ กระสอบหรื อเทกองในโกดัง เพื่ อ
จําหน่ายเป็ นนํ้าตาลไปยังต่างประเทศ ส่วนนํ้าตาลซี จะนําไปเป็ นเชื้อในการเคี่ยวนํ้า ตาลเอ และนํ้า ตาลบี
ต่อไป สําหรับกากนํ้าตาลจะถูกส่งไปทําให้เย็นก่อนจะนํา ไปเก็บที่ ถงั เก็บกากนํ้า ตาล เพื่อรอการขนย้า ย
ไปจํา หน่ า ย นํ้าตาลที่ ผ ลิ ต ได้จ ะนํา ไปใช้บ ริ โ ภคในครั ว เรื อ น และในอุ ต สาหกรรมต่ า งๆ เช่ น
อุตสาหกรรมเครื่ องดื่ม อุตสาหกรรมอาหาร หรื อของหวานอื่นๆ สํา หรับในประเทศไทยมีการบริ โภค
นํ้าตาลประมาณปี ละ 2.0 ล้า นตัน โดยใช้ในอุต สาหกรรมประมาณ 75% กระบวนการผลิต นํ้า ตาลจาก
อ้อยเป็ นดังแสดงในรู ปที่ 4.1-2
โดยเฉลี่ยในการหี บอ้อย 1 ตันจะได้ส่วนประกอบหลักต่างๆดังนี้
(1) นํ้าตาล 105-110 กิโลกรัม
(2) นํ้า 500-510 กิโลกรัม
(3) กากอ้อย (ความชื้นร้อยละ 50-52) 270-290 กิโลกรัม
(4) กากตะกอนหม้อกรอง (ความชื้นร้อยละ 70-72) 28-40 กิโลกรัม
(5) กากนํ้าตาล 50-60 กิโลกรัม

รายงานฉบับสุดท้าย 4-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

อ้อย

ลูกหีบ
ชานอ้ อย
นํ้าอ้อยรวม

กรอง
กากตะกอน
นํ้าอ้อยใส

ต้มระเหย

นํ้าเชื่อมดิบ
กากนํา้ ตาล
ตกผลึกและปั่นแยก

นํ้าตาลทรายดิบและ
นํ้าตาลทรายแดง

ระบบทําขาว

กรองละเอียด

นํ้าเชื่อมสะอาด

ตกผลึกและปั่นแยก

อบแห้ ง

บรรจุ

รูปที่ 4.1-2 กระบวนการผลิตนํ้าตาลจากอ้อย (กลุ่มมิตรผล, 2552)

รายงานฉบับสุดท้าย 4-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.1.2 ข้าว
ประเทศไทยเป็ นประเทศเกษตรกรรมที่ มีผ ลผลิต ทางการเกษตรเป็ นจํา นวนมาก ซึ่ ง ผลผลิ ต
ทางการเกษตรที่สาํ คัญ ได้แก่ ข้าว เนื่ องจากสามารถเพาะปลูกและได้ผลผลิต ต่ อปี เป็ นลํา ดับต้นๆ ของ
โลก อีกทั้งยังเป็ นสินค้าที่สาํ คัญทางการเกษตรที่ มียอดการส่ งออกไปต่ า งประเทศเป็ นจํา นวนมากต่ อปี
ทําให้มีวสั ดุชีวมวลเหลือทิ้งจํานวนมากในขบวนการของการเก็บเกีย่ วและแปรรู ปผลผลิต ทางการเกษตร
ดังนี้
1. แกลบ เป็ นวัสดุเหลือทิ้ งจากการสี ข ้า ว ซึ่ งประกอบด้ว ยเปลือกเมล็ด หาง กลีบเลี้ยง และขั้ว
เมล็ด โดยมีอยูป่ ระมาณ 20-24% ของข้า วเปลือก ลักษณะโดยทั่ว ไปมีสีเหลือง ขนาดเล็ก ยาวไม่เกิน 5
มิลลิเมตร และหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ความชื้ นไม่เกิน 15% โดยสามารถนํา ไปใช้งานได้ห ลายอย่า ง
อาทิเช่น ใช้ผสมลงไปในดินเพื่อปรับสภาพดินก่อนเพาะปลูก หรื อใช้โปรยใต้โรงเลี้ยงไก่เพื่อรองรับมูล
ไก่ เป็ นต้น นอกจากนี้ แกลบยังมี จุ ด เด่ น ตรงที่ มี ค วามชื้ นตํ่า และขนาดเล็กจึ งเหมาะสํา หรั บใช้เ ป็ น
เชื้ อเพลิ งได้เป็ นอย่า งดี อีก ทั้ง ขี้ เ ถ้า แกลบที่ เ กิด จากการเผาไหม้จ ะมีป ริ ม าณประมาณ 16-18% โดย
นํ้าหนัก สามารถนําไปขายได้มูลค่าสูงหากสามารถควบคุ มคุ ณ สมบัติ ให้ได้ต ามที่ ผูซ้ ้ื อกาํ หนด ส่ ว นจุ ด
ด้อยของแกลบ คื อ มี น้ ํา หนักเบา (1 ลู กบาศก์เมตร หนัก 123 กิโ ลกรั ม) ดังนั้นในการขนส่ งจึ ง ควร
วางแผนให้ดี
2. ตอซังข้าว เป็ นวัสดุเหลือทิ้งหลังจากการเก็บเกีย่ ว ซึ่งส่วนใหญ่จ ะไม่นํา ไปใช้ประโยชน์อย่า ง
อื่น นอกจากการเผาของเกษตรกร ซึ่งก่อให้เกิดปั ญหาด้านสิ่งแวดล้อมพอสมควร
3. ฟางข้า ว ลักษณะโดยทั่ว ไปมีข นาดเล็กยาวแต่ กลวง เป็ นวัสดุ เหลือทิ้ งที่ ได้มาหลังการเก็บ
เกีย่ วโดยถ้าเกีย่ วข้าวด้วยแรงคน ฟางข้าวจะกองอยูบ่ ริ เวณลานตากข้า วตามหมู่บ้า น แต่ ถา้ เกีย่ วข้า วด้ว ย
เครื่ องจักร ฟางข้าวจะถูกทิ้งไว้ในนาข้า วซึ่ งฟางข้า วนับว่า เป็ นแหล่งอินทรี ยวัต ถุที่ห าได้ง่า ยในท้องนา
กล่าวคือ นาข้าว 1 ไร่ จะมีฟางข้าวประมาณ 320–1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อ 1 ฤดูปลูก ทั้งนี้ ข้ ึ นอยู่กบั ความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน นํ้า ปุ๋ ย ฤดูปลูก อุณหภูมิอากาศ และพันธุ์ขา้ วซึ่งจากปริ มาณที่ มีจ ํานวนมากในแต่ ละ
ครั้งของการปลูกข้าว ทําให้ฟางข้าวเป็ นเศษวัสดุ เหลือทิ้ งจากท้องนา ที่ ไ ม่ไ ด้รับ การเหลีย วแลและถูก
มองข้า มเสมอมา ซึ่ งแม้ฟางข้า วจะสามารถนํา ไปใช้ประโยชนได้ห ลากหลาย เช่ น อาหารสัต ว์ คลุม
ดิน เพาะเห็ดฟาง ทําโครงพวงหรี ดดอกไม้ หรื อปุ๋ ยหมักชี วภาพก็ตามแต่ ด ้วยภาวะเร่ งรัดในการทํานาครั้ง
ต่ อไป จึ งทําให้การเผาฟางข้าวกลายเป็ นทางเลือกที่ สะดวกและรวดเร็ ว ที่ สุด (บัณ ฑิต วิทยาลัยร่ ว มด้า น
พลังงานและสิ่งแวดล้อม, 2552) โดยคาดว่าประมาณ 1 ใน 3 ของส่ ว นที่ เหลือถูกเผาทิ้ ง ซึ่ งผลกระทบที่
ตามมานั้น ไม่เพียงความร้อนที่เกิดจากการเผาจะทําลายธาตุอาหารในดินและได้ผลผลิตคุณ ภาพไม่ดี แ ล้ว
การเผาฟางข้าวยังเป็ นการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศอีกด้วย

รายงานฉบับสุดท้าย 4-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(ก) (ข)

รูปที่ 4.1-3 (ก) ฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยเครื่ องจักร และ (ข) ฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยแรงคน
ทีม่ า: http://locals.in.th/index.php?topic=5920.02552

สําหรับปริ มาณผลผลิต ฟางข้า ว พบว่า นาข้า วที่ ได้รับผลผลิต ข้า วเปลือก 1,000 กิโลกรัม จะมี
ปริ มาณฟางข้า ว นํ้า หนัก 1,300 กิโลกรัม ซึ่ งได้เก็บสถิติปริ มาณผลผลิต ข้า ว และฟางข้า วเป็ นรายภาค
และรายจังหวัดปี 2552 ดังแสดงในตารางที่ 4.1-4

ตารางที่ 4.1-4 ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 69,809,376 31,723,541 37,751,014
1 เหนือ 16,974,084 9,508,765 11,315,430
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 34,528,386 11,215,015 13,345,868
3 กลาง 15,997,492 9,997,080 11,896,525
4 ใต้ 2,309,414 1,002,681 1,193,190
จังหวัด
1 เชียงราย 1,352,325 777,765 925,540
2 พะเยา 593,203 309,422 368,212
3 ลําปาง 441,706 240,700 286,433
4 ลําพูน 157,086 91,778 109,216
5 เชียงใหม่ 570,539 341,821 406,767
6 แม่ฮ่องสอน 119,694 57,648 68,601
7 ตาก 257,934 120,432 143,314

รายงานฉบับสุดท้าย 4-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-4 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
8 ก ําแพงเพชร 1,738,283 997,831 1,187,419
9 สุโขทัย 1,138,259 643,237 765,452
10 แพร่ 256,273 148,128 176,272
11 น่าน 200,126 108,554 129,179
12 อุตรดิตถ์ 704,618 454,246 540,553
13 พิษณุ โลก 1,864,849 1,119,202 1,331,850
14 พิจิตร 2,157,333 1,312,637 1,562,038
15 นครสวรรค์ 2,940,044 1,740,675 2,071,403
16 อุทยั ธานี 738,142 404,957 481,899
17 เพชรบูรณ์ 1,173,143 626,637 745,698
18 เลย 388,932 148,488 176,701
19 หนองบัวลําภู 896,005 293,861 349,695
20 อุดรธานี 1,855,281 588,640 700,482
21 หนองคาย 1,111,455 374,208 445,308
22 สกลนคร 1,827,826 582,970 693,734
23 นครพนม 1,057,549 321,771 382,907
24 มุกดาหาร 358,289 118,581 141,111
25 ยโสธร 1,031,757 327,786 390,065
26 อํานาจเจริ ญ 885,466 277,364 330,063
27 อุบลราชธานี 3,199,358 1,022,214 1,216,435
28 ศรี สะเกษ 2,227,467 832,096 990,194
29 สุรินทร์ 2,590,500 957,576 1,139,515
30 บุรีรัมย์ 2,608,480 890,456 1,059,643
31 มหาสารคาม 1,851,569 677,098 805,747
32 ร้อยเอ็ด 2,529,075 907,895 1,080,395
33 กาฬสินธุ์ 1,502,265 636,715 757,691

รายงานฉบับสุดท้าย 4-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-4 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
34 ขอนแก่น 2,268,035 768,311 914,290
35 ชัยภูมิ 1,241,190 383,431 456,283
36 นครราชสีมา 3,108,858 1,026,304 1,221,302
37 สระบุรี 593,816 357,016 424,849
38 ลพบุรี 1,241,482 760,917 905,491
39 สิงห์บุรี 731,240 539,335 641,809
40 ชัยนาท 1,484,868 1,063,744 1,265,855
41 สุพรรณบุรี 2,289,619 1,686,829 2,007,327
42 อ่างทอง 693,973 498,461 593,169
43 อยุธยา 1,530,272 1,040,758 1,238,502
44 นนทบุรี 209,038 160,362 190,831
45 กรุ งเทพฯ 206,475 150,656 179,281
46 ปทุมธานี 570,959 424,421 505,061
47 นครนายก 525,636 266,242 316,828
48 ปราจีนบุรี 809,692 357,319 425,210
49 ฉะเชิงเทรา 1,168,611 719,672 856,410
50 สระแก ้ว 785,821 249,191 296,537
51 จันทบุรี 49,320 16,014 19,057
52 ตราด 39,129 15,422 18,352
53 ระยอง 35,933 16,152 19,221
54 ชลบุรี 140,397 60,234 71,678
55 สมุทรปราการ 55,707 44,140 52,527
56 สมุทรสาคร 22,261 14,885 17,713
57 นครปฐม 728,114 533,826 635,253
58 กาญจนบุรี 516,221 315,229 375,123
59 ราชบุรี 581,361 400,441 476,525

รายงานฉบับสุดท้าย 4-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-4 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
60 สมุทรสงคราม 2,853 2,050 2,440
61 เพชรบุรี 541,653 327,823 390,109
62 ประจวบคีรีขนั ธ์ 97,860 46,292 55,087
63 ชุมพร 31,145 12,581 14,971
64 ระนอง 3,797 1,208 1,438
65 สุราษฎร์ธานี 23,288 10,522 12,521
66 พังงา 8,862 2,994 3,563
67 ภูเก็ต 902 308 367
68 กระบี่ 20,147 7,476 8,896
69 ตรัง 42,014 14,953 17,794
70 นครศรี ธรรมราช 694,111 297,171 353,633
71 พัทลุง 433,792 207,880 247,377
72 สงขลา 452,540 225,100 267,869
73 สตูล 77,530 30,519 36,318
74 ปั ตตานี 231,016 81,889 97,448
75 ยะลา 59,399 21,311 25,360
76 นราธิวาส 98,415 37,854 45,046
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

4.1.2.1 กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดฟางข้าว


โดยทัว่ ไปปริ มาณผลผลิตฟางข้าว พบว่า นาข้าวที่ได้รับผลผลิต ข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม จะมี
ปริ มาณฟางข้าวนํ้าหนัก 1,200 กิโลกรัม หรื อคิดเป็ น 120% ของนํ้า หนัก ซึ่ งได้จ ากสถิติ ปริ มาณฟางข้า ว
รวมทั้งประเทศ ดังแสดงในตารางที่ 4.1-4 ซึ่งจากปริ มาณที่ มีจ ํา นวนมากในแต่ ละครั้งของการปลูกข้า ว
ทําให้ฟางข้าวเป็ นเศษวัสดุเหลือทิ้ งจากท้องนาที่ ไม่ได้รับการเหลียวแลและถูกมองข้า มเสมอมา ซึ่ งแม้
ฟางข้าวจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ห ลากหลาย เช่ น อาหารสัต ว์ คลุมดิ น เพาะเห็ ด ฟาง ทํา โครง
พวงหรี ดดอกไม้ หรื อปุ๋ ยหมักชีวภาพ ก็ตาม แต่ดว้ ยภาวะเร่ งรัด ในการทํา นาครั้งต่ อไป จึ งทํา ให้การเผา

รายงานฉบับสุดท้าย 4-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ฟางข้าวกลายเป็ นทางเลือกที่สะดวกและรวดเร็ ว ที่ สุด โดยคาดว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของส่ ว นที่ เหลือถูก


เผาทิ้งซึ่งผลกระทบที่ตามมานั้นไม่เพียงความร้อนที่เกิดจากการเผาจะทําลายธาตุ อาหารในดิ นและได้ผล
ผลิตคุณภาพไม่ดีแล้ว การเผาฟางข้า วยังเป็ นการปล่อยมลพิษทางอากาศอีกด้ว ย (บัณ ฑิต วิทยาลัยร่ ว ม
ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 2552)
ซึ่งจากการวิเคราะห์สดั ส่วนวัสดุส่วนประกอบของต้นข้าว 1 ต้น พบว่า ประกอบด้วย
- ข้าวสาร 29.40 เปอร์เซ็นต์
- ปลายข้าว 1.90 เปอร์เซ็นต์
- รําข้าว 8.80 เปอร์เซ็นต์
- แกลบ 7.70 เปอร์เซ็นต์
- ตอซังข้าว 30.30 เปอร์เซ็นต์
- ฟางข้าว 21.90 เปอร์เซ็นต์

จากข้อมูลข้างต้นและรู ปที่ 4.1-4 จะเห็นว่า วัสดุเหลือทิ้ งจากข้า วมีปริ มาณเป็ นจํา นวนมากที่ ยงั
ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ เนื่องจากมีขอ้ จําก ัดทางด้านคุณสมบัติ โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง
ตอซังข้าวและฟางข้าว ที่มีปริ มาณวัสดุเหลือทิ้งเป็ นจํา นวนมาก ซึ่ งส่ ว นใหญ่จ ะถูกปล่อยทิ้ งหรื อเผาทิ้ ง
ในแหล่งผลิตหรื อแหล่งแปรรู ป ยกเว้นเพียงแกลบเท่านั้นที่ยงั สามารถนํา มาใช้ประโยชน์ได้บ้า ง แต่ เมื่อ
เปรี ยบเทียบก ับผลผลิตที่ได้ก ับปริ มาณที่ถูกนําไปใช้งานจริ งก็นบั ว่ายังน้อยอยู่ เพราะฉะนั้นจึ งก่อให้เกิด
ปั ญหาในการก ําจัดวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ตามมา ดังนั้นหากมีการจัด การที่ เหมาะสมสํา หรับวัสดุ ชีว มวลที่
เหลื อทิ้ งจากข้า ว โดยนํา กลับ มาเป็ นเชื้ อเพลิ งหรื อแปรรู ป ให้เ ป็ นพลังงานในรู ปแบบต่ า งๆได้ ก็จ ะ
สามารถลดการนําเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็ นพลังงานเชื้ อเพลิงที่ สะอาดไม่
ก่อให้เกิดผลกระทบต่ อสิ่ งแวดล้อมและสภาวะเรื อนกระจก ซึ่ งเป็ นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่า งมี
คุณค่าและเหมาะสมที่สุด

รายงานฉบับสุดท้าย 4-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ต้นข้าว ข้าวเปลือก ข้าวสาร ขาย/บริ โภค


100 % 47.80 % 29.40 % 29.40 %

ปลายข้าว ขาย
1.90 % 1.90 %

รําข้าว ขาย
8.80 % 0.90 %
อาหารสัตว์
7.90 %
แกลบ เชื้ อเพลิง
7.70 % 4.05 %

คลุมดิน/ถมที่ ขาย ให้ชาวบ้าน ปุ๋ ย เหลือ


0.32 % 0.17 % 2.26 % 0.48 % 0.42 %

ปล่อยทิ้ ง เผาทิ้ ง
0.25 % 0.17 %
ตอซังข้าว
30.30 %
ปุ๋ ย เหลือ
0.70 % 29.60 %

ปล่อยทิ้ ง เผาทิ้ ง
11.60 % 18.00 %
ฟางข้าว อาหารสัตว์
21.90 % 3.20 %

ปุ๋ ย ขาย ให้ชาวบ้าน เชื้ อเพลิง เหลือ


1.18 % 0.31 % 0.06 % 0.04 % 17.02 %

ปล่อยทิ้ ง เผาทิ้ ง
6.55 % 10.47 %

รูปที่ 4.1-4 วัสดุองค์ประกอบและการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของข้าว


ทีม่ า: มณฑา และคณะ, 2546

รายงานฉบับสุดท้าย 4-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.1.3 ข้าวโพด
ซังข้าวโพด (Ground corn cob) หมายถึง ฝักข้าวโพดที่กะเทาะเปลือกและเมล็ดออกแล้ว

รูปที่ 4.1-5 ซังข้าวโพด

ตารางที่ 4.1-5 ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพด ซังข้าวโพด


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 6,517,662 4,249,354 691,990
1 เหนือ 4,081,909 2,777,243 436,406
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 1,505,593 877,698 125,868
3 กลาง 930,160 594,413 129,716
4 ใต้ 0 0 0
จังหวัด
1 เชียงราย 423,018 297,374 56,204
2 พะเยา 216,784 149,617 28,278
3 ลําปาง 63,067 45,131 8,530
4 ลําพูน 75,632 52,189 9,864
5 เชียงใหม่ 105,022 69,374 13,112
6 แม่ฮ่องสอน 6,075 3,203 605
7 ตาก 444,957 286,596 54,167
8 ก ําแพงเพชร 173,125 120,481 22,771
9 สุโขทัย 69,162 44,640 8,437

รายงานฉบับสุดท้าย 4-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-5 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพด ซังข้าวโพด


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
10 แพร่ 140,006 86,000 16,254
11 น่าน 458,027 310,727 58,727
12 อุตรดิตถ์ 105,684 68,360 12,920
13 พิษณุ โลก 245,789 169,842 32,100
14 พิจิตร 44,104 31,280 5,912
15 นครสวรรค์ 376,771 259,597 49,064
16 อุทยั ธานี 180,124 125,689 23,755
17 เพชรบูรณ์ 954,562 657,143 124,200
18 เลย 532,299 296,471 56,033
19 หนองบัวลําภู 55,556 32,815 6,202
20 อุดรธานี 16,616 9,085 1,717
21 หนองคาย 3,962 2,155 407
22 อุบลราชธานี 4,574 3,189 603
23 ศรี สะเกษ 74,614 46,575 8,803
24 บุรีรัมย์ 435 266 50
25 ขอนแก่น 6,716 3,970 750
26 ชัยภูมิ 111,717 66,644 12,596
27 นครราชสีมา 699,104 416,528 78,724
28 สระบุรี 149,247 98,106 18,542
29 ลพบุรี 379,703 238,334 45,045
30 ชัยนาท 13,299 7,899 1,493
31 สุพรรณบุรี 60,059 37,644 7,115
32 ปราจีนบุรี 8,406 5,555 1,050
33 ฉะเชิงเทรา 16,520 10,828 2,046
34 สระแก ้ว 181,118 121,642 22,990
35 จันทบุรี 30,119 18,814 3,556

รายงานฉบับสุดท้าย 4-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-5 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพด ซังข้าวโพด


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
36 ชลบุรี 1,165 724 137
37 กาญจนบุรี 78,586 47,827 9,039
38 ราชบุรี 7,223 4,359 824
39 เพชรบุรี 2,556 1,432 271
40 ประจวบคีรีขนั ธ์ 2,159 1,249 236
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

4.1.3.1 กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดซังข้าวโพด


ขั้นตอนการผลิต เริ่ มต้นจากรับซื้ อ ข้า วโพดเลี้ยงสัต ว์จ ากเกษตรกรที่ ปลูกและนํา มาจํา หน่ า ย
ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ฝักข้าวโพดจะแก่จ ัด และเก็บเกีย่ วได้เมื่อเปลือกหุ ้มฝั ก
เริ่ มมีสีฟางทางที่ดีควรปล่อยข้าวโพดทิ้งไว้ในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน โดยเฉลี่ยแล้วข้าวโพดไร่ พนั ธุ์ที่ใช้
ปลูกอยูใ่ นประเทศไทย มีอายุต้ งั แต่ ปลูกถึงเก็บเกีย่ วประมาณ 90 ถึง 120 วัน ในการเก็บเกีย่ วข้า วโพด
ชาวไร่ ทวั่ ไปยังใช้แรงคนเก็บ โดยหักฝักที่แห้งแล้วออกจากต้น แกะเปลือกหุ ้มฝั กออกหรื อจะเอาไว้แ กะ
เปลือกที ห ลังก็ได้ การใช้เครื่ องทุ่ นแรงเก็บเกีย่ วข้า วโพดยังมีน้อยมากในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่ องจาก
เครื่ องมือมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพในการทํางานตํ่า เพราะพันธุ์ที่ชาวไร่ ปลูกมีค วามสู งของลํา ต้น
และฝักไม่เท่าก ัน
นอกจากนั้นต้นยังหัก ล้มมากอีก ด้ว ย หลังจากเก็บฝั ก ข้า วโพดและปอกเปลือกออก เมื่อฝั ก
ข้าวโพดแห้งดีแล้ว จากนั้นนําข้าวโพดที่เป็ นฝักเข้าเครื่ องจักรเพื่อทํา การคัด แยกเมล็ด ข้า วโพดออกจาก
แกนหรื อซัง เมล็ดที่ ได้จ ะส่ งต่ อเข้า เครื่ องอบแห้งให้ค วามชื้ นลดลงเหลือประมาณ 14 % จากนั้นเมล็ด
ของข้า วโพดที่ อบแห้งแล้ว จะถูกส่ งไปยังโรงงานผลิต อาหารสัต ว์ เพื่อใช้เป็ นส่ ว นผสมของการผลิต
อาหารสัตว์ต่อไป การดําเนินการทํา อาหารสัต ว์ข้ ันแรก คื อ การรับ และตรวจวัสดุ อาหารที่ จะซื้ อมาใช้
เป็ นส่ ว นผสมของอาหารอาจบรรจุ ในถุ งเรี ยบร้อยแล้ว หรื อขนส่ งถึงผู ้ที่จ ะทํา อาหารโดยใส่ ในภาชนะ
ลําเลียงขนาดต่างๆ ก ัน ปริ มาณของวัสดุอาหารที่จดั จําหน่ายส่งถึงผูท้ ี่จะทําอาหารก็แตกต่างกนั ไปแล้วแต่
ขนาดของธุรกิจการดําเนินการ ที่ สําคัญในขั้นนี้ คื อ การตรวจปริ มาณ และคุ ณภาพของวัสดุ อาหารที่ ได้รับ
กระบวนการทําอาหารสัตว์ประกอบด้วยกระบวนการย่อย 6 กระบวนการ ได้แก่
(1) การบด (Grinding) การบดวัต ถุดิ บอาหารสัต ว์มีค วามจํา เป็ นกรณี ที่ว ตั ถุดิ บอาหารสัต ว์มี
ขนาดใหญ่และไม่ละเอียด โดยวัต ถุดิ บเหล่า นี้ จ ะต้องนํา มาบดให้ละเอียดด้ว ยเครื่ องบดอาหาร จะบด

รายงานฉบับสุดท้าย 4-19
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วัตถุดิบอาหารสัตว์ทุกประเภทให้มีขนาดละเอียดเท่าก ันหมด โดยอาจบด 1 ครั้งหรื อ 2 ครั้ง แล้ว แต่ กรณี


ว่ามีขนาดเล็กใหญ่ประการใด โดยหลักการแล้ว การบดวัต ถุดิ บอาหารสัต ว์ให้ละเอียดนั้นจะช่ ว ยเพิ่ม
พื้นที่ผิวของวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้มากขึ้น ซึ่งจะมีผลทํา ให้สามารถผสมวัต ถุดิ บอาหารสัต ว์ให้เป็ นเนื้ อ
เดียวก ันได้ง่ายขึ้น และช่วยให้อาหารเม็ดที่อดั ออกมามีความหนาแน่นและยึด ตัว ดี ข้ ึ น นอกจากนี้ การบด
วัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ละเอียดยังมีส่วนช่วยให้สตั ว์สามารถย่อย และดู ด ซึ มธาตุ อาหารไปใช้ประโยชน์
ได้ดีข้ ึน หรื อสัมประสิทธิ์การย่อยอาหารสูงขึ้น
(2) การชัง่ นํ้าหนัก (Weighing) เมื่อผูผ้ ลิตทราบถึงปริ มาณอาหารเม็ดที่ จะผลิตจากสู ตรอาหารแล้วต้อง
คํานวณว่าถ้าต้องการผลิตอาหารเม็ดให้ได้ปริ มาณตามที่ก ําหนดไว้จะต้องใช้ว ตั ถุดิ บแต่ ละชนิ ดเป็ นส่ วนผสมใน
ปริ มาณเท่าใด จากนั้นจึงทําการแยกชัง่ นํ้าหนักวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด
(3) การผสมวัสดุอาหาร (Mixing) จุดมุ่งหมายของการผสมวัสดุ อาหารก็เพื่อให้ว สั ดุ อาหารที่
ก ําหนดเป็ นส่ ว นประกอบของอาหารผสมคลุกเคล้า เป็ นเนื้ อเดี ยวกนั วัสดุ อาหารทุ กชนิ ด กระจายตาม
เนื้อของส่วนผสมอย่างทัว่ ถึง กล่าวคือหลังจากการผสมแล้ว หากแบ่งส่วนผสมมาตรวจหาส่ ว นประกอบ
ของวัสดุอาหาร ส่วนผสมที่เกิด จากการผสมที่ ดี จ ะต้องมีว สั ดุ อาหารครบถ้ว นทั้งชนิ ด และปริ มาณตรง
ตามที่ระบุในสูตรอาหารก่อนการผสม การผสมวัสดุอาหารอาจแบ่ งเป็ น 2 ขั้นตอน คื อ การผสมวิต ามิน
และแร่ ธาตุ และการผสมวัสดุอาหารอื่น
(4) การอัดเม็ด (Pelleting) การอัดเม็ดมีว ตั ถุประสงค์เพื่อต้องการให้ว ตั ถุดิ บอาหารสัตว์ที่รับการ
ผสมให้เป็ นเนื้อเดียวก ันได้เปลี่ยนรู ปมาเป็ นอาหารเม็ด ซึ่งจะมีคุ ณสมบัติ ที่เหมาะสมแก่การนํามาให้สัตว์กนิ
เนื่ องจากอาหารเม็ดมี ความจุ แน่ นทําให้กนิ อาหารได้มากขึ้ นหรื อได้รับธาตุ อาหารมากขึ้ น อี กทั้งยังช่ ว ย
ป้ องก ันสัตว์เลือกกินวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ชอบเท่ านั้น เพราะว่าการที่ สัตว์กนิ อาหารเม็ด เข้าไปก็จะได้รับ
วัตถุดิบอาหารสัตว์ท้ ังหมดด้วยพร้อมกนั นอกจากนี้ การอัดเม็ดยังช่ วยให้อาหารสุ ก เนื่ องจากมีความร้อน
เกิดขึ้นทําให้สตั ว์ใช้ประโยชน์จากอาหารเม็ดได้ดีข้ ึน
(5) การลดความชื้ น (Cooling and drying) อาหารที่ ผ่า นการอัด เม็ด จะมีค วามร้อนและชื้ นสู ง
ดังนั้นจําเป็ นต้องนํามาลดความชื้นให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสมเพื่อนํา ไปให้สัต ว์กนิ และเพื่อให้สามารถ
เก็บรักษาอาหารเม็ด ได้ระยะเวลาหนึ่ งโดยไม่เกิด เชื้ อรา การลดความชื้ นในอาหารเม็ด ดังกล่า วทํา ได้
หลายวิธีโดย การผลิต ของโรงงานอาหารสัต ว์จ ะมีการใช้เครื่ องอบแห้งอย่า งดี ซึ่ งจะใช้เวลาอบแห้ง
ประมาณ 20-30 นาที ก็จะทําให้ความชื้นเหลือประมาณ 10 % แล้ว จึ งนํา มาร่ อนผ่า นตะแกรงเพื่อนํา เอา
เศษฝุ่ นที่ติดก ับอาหารเม็ดออกไป จึงทําการเก็บบรรจุต่อไป
(6) การบรรจุ (Packing) หลังจากอาหารแห้งแล้วและมีอุณหภูมิใกล้เคี ยงกบั อุณ หภูมิห้อง จึ ง
พร้อมที่จะได้รับการบรรจุเข้าหี บห่ อ เพื่อเก็บหรื อจํา หน่ า ยต่ อไป ในการบรรจุ นอกจากจะมีการบันทึ ก
รายละเอียดที่ จ ํา เป็ นบนหี บห่ อ เช่ น รหัส วันบรรจุ นํ้า หนักอาหาร และคุ ณ ค่ า ทางอาหารแล้ว ควร

รายงานฉบับสุดท้าย 4-20
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

พิจารณาถึงวัสดุที่จะใช้ทาํ การหี บห่ อด้วย วัสดุที่ใช้ค วรมีคุ ณ สมบัติ พิเศษในการป้ องกนั ความชื้ นไม่ให้
ซึมผ่านเข้าสัมผัสก ับอาหารได้ท้ งั นี้เพื่อป้ องก ันไม่ให้อาหารเสื่อมคุณภาพเร็ว
ผลพลอยได้คื อ ซังข้า วโพดซึ่ งจะถูกคัด แยกออกมาต่ า งหาก ซึ่ งโดยเฉลี่ยในการคัด แยกเมล็ด
แล้ว 1 ตัน จะได้ส่ว นประกอบหลักเป็ นเมล็ด ข้า วโพดประมาณ 800-810 กิโลกรัม และได้ซังข้า วโพด
ประมาณ 200 กิโลกรัม กระบวนการผลิตอาหารสัตว์มีดงั รู ปที่ 4.1-6

รายงานฉบับสุดท้าย 4-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ข้าวโพดทั้งฝัก

ปอกเปลือก
เปลือกข้าวโพด
กระเทาะเมล็ดออกจากฝัก
ซังข้าวโพด
เมล็ดข้าวโพด

อบแห้ ง

วัดคุณภาพ

การบด

ชั่งนํ้าหนัก

ผสมวัสดุอาหาร

อัดเม็ด

ลดความชื้น

บรรจุ

รูปที่ 4.1-6 กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2548)

รายงานฉบับสุดท้าย 4-22
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.1.4 ปาล์ ม

ปาล์มส่วนใหญ่มีลกั ษณะเฉพาะที่ เด่ นชัด กล่า วคื อ ลํา ต้นเป็ นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่ เดี ยว ไม่
แตกกิง่ ก ้าน มีก ้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างก ัน แต่กไ็ ปรวมกลุ่มก ันที่ปลายก ้านที่เดียว
จากภาวะวิกฤติในเรื่ องของพลังงานที่เกิดขึ้น ทํา ให้ปัจ จุ บันแต่ ละประเทศได้ให้ค วามสนใจใน
เรื่ องการประหยัด พลังงาน และการทดแทนพลังงานไบโอดี เซลเป็ นอีกทางเลือกหนึ่ งในการทดแทน
พลังงานจากนํ้ามัน ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความสนใจเกีย่ วกบั การทํา ไบโอดี เซล โดยเฉพาะรัฐ บาลที่ ได้
สนับสนุนส่งเสริ มให้เกษตรกรไทยในภาคใต้ และภาคตะวันออกปลูกปาล์มนํ้า มัน ซึ่ งเป็ นไม้ยืนต้นที่ ให้
นํ้ามันเพื่อนํานํ้ามันปาล์มไปผลิตไบโอดีเซล ดังนั้นพื้นที่ ปลูกปาล์มนํ้า มันจึ งขยายขึ้ นเรื่ อยๆ ดังแสดง
ในตารางที่ 4.1-6

4.1.4.1 กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดต้นปาล์ ม


ปกติตน้ ปาล์มนํ้ามันใช้ระยะเวลาการเติบโตประมาณ 3 ปี จึ งให้ผลปาล์มนํ้า มันที่ จ ะนํา ไปสกดั
เอานํ้ามันปาล์มออกจากผลและทลายปาล์ม เมื่อต้นปาล์มนํ้า มันมีอายุ 25 ปี ดังรู ปที่ 4.1-7 จะต้องทํา การ
ตัดฟันทิ้ง ต้นปาล์มเป็ นแหล่งสะสมของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิ นอยู่ในปริ มาณมาก จึ งนับว่า
ต้นปาล์มนํ้ามันเป็ นแหล่งชี ว มวลแหล่งใหญ่แ หล่งหนึ่ งของประเทศไทย การนํา ต้นปาล์มนํ้า มันไปใช้
ประโยชน์ในการผลิตสารเคมีมูลค่าเพิ่มต่างๆ รวมถึงแอลกอฮอล์จึ งสามารถสร้า งรายได้ให้แ ก่เกษตรกร
ผูป้ ลูกปาล์ม และทํา ให้เกิด อุต สาหกรรมในภาคใต้สร้า งรายได้แ ก่ประชาชนตลอดจนถึงเป็ นการเพิ่ม
ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย

รูปที่ 4.1-7 ต้นปาล์มนํ้า มัน

รายงานฉบับสุดท้าย 4-23
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-6 ปริ มาณผลผลิตปาล์มนํ้ามัน และต้นปาล์มเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตปาล์ มนํา้ มัน ต้นปาล์ ม


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 3,888,403 8,162,379 2,220,167
1 เหนือ 6,404 849 231
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 42,381 16907 4,599
3 กลาง 409,240 678,596 184,578
4 ใต้ 3,421,321 7,464,883 2,030,448
จังหวัด
1 เชียงราย 4,554 486 132
2 อุทยั ธานี 1,850 363 99
3 เลย 1,628 846 230
4 อุดรธานี 1,410 312 85
5 หนองคาย 21,897 9,762 2,655
6 อํานาจเจริ ญ 2,403 83 23
7 อุบลราชธานี 13,210 3,019 821
8 ศรี สะเกษ 1,833 2,885 785
9 ปทุมธานี 3,282 878 239
10 ฉะเชิงเทรา 14,766 11,613 3,159
11 สระแก ้ว 12,012 9,779 2,660
12 จันทบุรี 5,593 8,065 2,194
13 ตราด 67,370 136,481 37,123
14 ระยอง 21,488 36,975 10,057
15 ชลบุรี 81,962 205,754 55,965
16 กาญจนบุรี 8,635 3,597 978
17 เพชรบุรี 2,970 2,926 796
18 ประจวบคีรีขนั ธ์ 191,162 262,528 71,408
19 ชุมพร 762,262 1,804,443 490,808
20 ระนอง 73,907 146,484 39,844

รายงานฉบับสุดท้าย 4-24
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-6 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตปาล์มนํ้ามัน และต้นปาล์มเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตปาล์ มนํา้ มัน ต้นปาล์ ม


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
21 สุราษฎร์ธานี 976,424 2,146,384 583,816
22 พังงา 109,454 183,186 49,827
23 ภูเก็ต 1,145 2,126 578
24 กระบี่ 977,815 2,308,259 627,846
25 ตรัง 114,632 248,238 67,521
26 นครศรี ธรรมราช 182,865 284,794 77,464
27 พัทลุง 12,170 18,218 4,955
28 สงขลา 28,340 44,788 12,182
29 สตูล 112,156 201,875 54,910
30 ปั ตตานี 16,721 9,526 2,591
31 ยะลา 11,778 6,824 1,856
32 นราธิวาส 41,652 59,738 16,249
ทีม่ า : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน, 2552

การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสสามารถทํา ได้โดยการแยกเซลลูโลสออกจากลิกนิ น และเฮมิ


เซลลูโลสโดยใช้เทคนิคการระเบิดด้วยไอนํ้า ซึ่ งเป็ นกระบวนการที่ ใช้ไอนํ้า ที่ อุณ หภูมิแ ละความดันสู ง
โดยปกติจะใช้อุณหภูมิในช่วงระหว่าง 180–230 oซ ระยะเวลาในการระเบิดนานไม่เกิน 5 นาที แล้ว จึ งนํา
เซลลูโลสไปทําการไฮโดรไลซิ สด้ว ยกรดหรื อเอนไซม์เพื่อให้ได้น้ ํา ตาลกลูโคส และหมักกลูโคสด้ว ย
ยีสต์เพื่อเปลี่ยนให้เป็ นเอทานอล ดังรู ปที่ 4.1-8

รายงานฉบับสุดท้าย 4-25
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ต้นปาล์มนํ้ามัน ระเบิดด้วยไอนํ้าที่ 200-230 oซ เยื่อหลังการระเบิด

ไซโลส+โอลิ โกเมอร์ของไซโลส ล้างด้วยนํ้าร้อน

แอลกอฮอล์ กลูโคส เซลลูโลส

รูปที่ 4.1-8 แนวทางการใช้ประโยชน์ต ้นปาล์มนํ้ามัน

เมื่ อนํา ต้นปาล์ มนํ้ามันแห้ งไปวิ เคราะห์ อ งค์ ประกอบทางเคมี พบว่ า องค์ ป ระกอบที่ สํา คั ญ
ประกอบด้วยเซลลูโลส 37.14% เฮมิเซลลูโลสในรู ปของเพนโตแซน 30.59% ลิกนิ น 22.32% และสารแทรก
8.07% จากนั้นแยกส่ วนของเซลลูโลสจากต้นปาล์มนํ้ามันโดยการระเบิ ดด้วยไอนํ้า ดังรู ปที่ 4.1-8 พบว่า
สภาวะที่เหมาะสมในการระเบิดชิ้นต้นปาล์มนํ้า มันด้ว ยไอนํ้า คื อการนํา ชิ้ นต้นปาล์มนํ้า มันไปแช่ ในนํ้า
เป็ นเวลาข้ามคืน และนําไประเบิดด้วยไอนํ้าที่อุณหภูมิ 214 °ซ ความดัน 21 กก./ซม.2 เป็ นเวลา 2 นาที จะ
ได้สารละลายเฮมิเซลลูโลสที่มีน้ าํ ตาลไซโลสโมเลกุลเดี่ ยว เป็ นส่ ว นประกอบ 1.68% และเยื่อเซลลูโลส
ที่มีน้ าํ ตาลกลูโคสเป็ นส่วนประกอบ 56.00% สภาวะที่เหมาะสมในการไฮโดรไลซ์เยื่อเซลลูโลสภายหลัง
การระเบิ ด ด้ว ยไอนํ้า โดยการใช้เอนไซม์ Celluclast 1.5 L เพื่อให้เป็ นกลูโคสโมเลกุลเดี่ ยวคื อที่ สภาวะ
ความเข้มข้นของเยื่อ/นํ้า 2% (w/w) ความเข้มข้นของเอนไซม์ ต่ อเยื่อ 1 % (w/w) อุณหภูมิ 50 °ซ พีเอช
4.8 โดยสามารถเปลี่ยนเซลลูโลสในเยือ่ ปาล์มนํ้ามันให้เป็ นนํ้า ตาลกลูโคสโมเลกุลเดี่ ยวได้ 30% จากนั้นจึ ง
นํา สารละลายนํ้า ตาลกลูโคสที่ ได้ไปปรับให้มีค วามเข้มข้นของนํ้า ตาลกลูโคสเป็ น 50 กรัม/ลิต ร และ
นําไปหมักด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ในระดับ 2 ลิต ร ที่ สภาวะเขย่า 200 rpm อุณ หภูมิ 30 °ซ
พีเอช 5.5 วิเคราะห์ ห าปริ มาณเอทานอลด้วยเครื่ อง Gas Chromatography (GC) พบว่ายีสต์สามารถเปลี่ยน
นํ้าตาลกลูโคสจาก เยื่อปาล์มนํ้ามันไปเป็ นเอทานอลได้มากที่ สุดประมาณ 50% ของค่ าที่ ค ํา นวณได้จาก
ทฤษฎีที่ระยะเวลา 48 ชม. (ที่ มา: สถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลิต ผลทางการเกษตรและอุต สาหกรรม
เกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

รายงานฉบับสุดท้าย 4-26
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.1.5 มันสําปะหลัง

มันสํา ปะหลัง เป็ นพืชเศรษฐกิจ ที่ สํา คัญของประเทศไทย มีพ้ืน ที่ ปลูกมากกว่า 8 ล้า นไร่ มี
ผลผลิตประมาณ 30 ล้านตัน และมีเหง้ามันประมาณ 2.7 ล้านตัน ดังแสดงในตารางที่ 4.1-7 โดยที่ ประเทศ
ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มนั สําปะหลังเป็ นอันดับ 1 ของโลก จากผลิตภัณฑ์มนั เส้นและแป้ งมันสําปะหลัง

(ก) (ข)
รูปที่ 4.1-9 (ก) เหง้ามันจากแปลงปลูก และ (ข) เหง้ามันจากลานมัน
ทีม่ า: http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/animal/11_4_animal/11_4animal.html

เหง้ามันสําปะหลังเป็ นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการเพาะปลูกและแปรรู ปมันสํา ปะหลัง ซึ่ งไม่


มีราคา มนุษย์ และสัตว์ไม่สามารถบริ โภคหรื อนําไปใช้ประโยชน์อื่น เกษตรกร จึ งมักจะเผาทิ้ งอย่า งไม่
เกิดมูลค่า การนําเหง้ามันสําปะหลังสดมาย่อยให้มีขนาดเล็กประมาณ 3-5 มิลลิเมตร แล้ว นํา ไปตากแห้ง
มีความสามารถในการลุกติ ด ไฟได้ มีค่ า พลังงานความร้อนเที ยบเท่ า กบั ไม้ฟืน สามารถนํา มาป้ อนเป็ น
เชื้ อเพลิ งในระบบเผาไหม้ใ ห้พ ลัง งานความร้ อนเป็ นต้นก าํ ลัง ในการผลิต กระแสไฟฟ้ าจะมี ค วาม
เหมาะสมก บั การจัด ตั้ง โรงไฟฟ้ าขนาดเล็กในพื้น ที่ ใ กล้เ คี ยงก บั แหล่ง เพาะปลู ก อี ก ทั้ง ในเหง้า มัน
สําปะหลังยังมีเซลลูโลสเป็ นส่ว นประกอบที่ สํา คัญที่ ใช้เป็ นสารตั้งต้นในการผลิต เอทานอล ซึ่ งจะเกิด
ผลดี ใ นแง่ ก ารเพิ่ ม มู ล ค่ า แก่ว ัส ดุ เ หลื อ ทิ้ ง จากกระบวนการเพาะปลู ก และการแปรรู ป ผลผลิ ต ทาง
การเกษตรได้อย่างคุม้ ค่า รวมถึงเป็ นการช่ ว ยลดการใช้พลังงานฟอสซิ ลที่ มีการนํา เข้า จากต่ า งประเทศ
สูญเสียเงินตราของประเทศในการ จัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอกบั ความต้องการทั้งที่ ประเทศไทยมี
วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจํานวนมากเกินพอต่อการ ใช้งาน และมีราคาไม่แ พง ซึ่ งในอนาคตจะมีการ
พัฒนา ด้านเทคโนโลยีการใช้เชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตรจนไปถึงขั้นที่ สามารถลดต้นทุ น
ให้มีความคุม้ ค่าทางเศรษฐศาสตร์และเป็ นพลังงานที่ยงั่ ยืนของชาติได้ต่อไป

เซลลูโลสเป็ นส่ ว นประกอบที่ สํา คัญในเหง้า มันสํา ปะหลังที่ สามารถใช้เป็ นสารตั้งต้นในการ


ผลิตเอทานอล โดยปกติเซลลูโลสจะอยูร่ วมก ับส่วนประกอบอื่น ได้แ ก่ เฮมิเซลลูโลสและลิกนิ น ซึ่ งเป็ น

รายงานฉบับสุดท้าย 4-27
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตัวขัดขวางการเข้าทําปฏิกริ ิ ยาของเซลลูโลสก ับเอนไซม์ในปฏิกริ ิ ยาการย่อยดังนั้นในการผลิต จะต้องทํา


การแยกส่วนประกอบดังกล่า วออกจากโครงสร้า งของเหง้า มันสํา ปะหลังในขั้นการปรับสภาพ ซึ่ งใน
งานวิจยั ใช้วิธีการปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์โดยพบว่าวิธีการปรับสภาพวิธีที่ดี ที่สุด
คือ การแช่เหง้ามันสําปะหลังในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2.0 โมลาร์ เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง
แล้ว นํา ไปต้มที่ อุณ หภูมิ 50 องศาเซลเซี ย ส เป็ นเวลา 90 นาที จะได้ต ะกอนเหง้า มันสํา ปะหลังที่ มี
เซลลูโลสประกอบอยู่ 96.46% เฮมิเซลลูโลส 1.85% และลิกนิ น 1.69% ตะกอนเหง้า มันสํา ปะหลังที่ ได้
นําไปย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูบริ กซ์ โดยใช้ความเข้มข้นของเอนไซม์ต่ อกรัมเซลลูโลสเท่ ากบั 4.079 FPU
ต่ อกรัมเหง้า มันสําปะหลัง ในสารละลายซิ เตรตบัฟเฟอร์ เข้มข้น0.05 โมลาร์ ที่ มี ค่ า ความเป็ นกรดด่ า ง
เท่าก ับ 4.8 ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสโดยใช้เวลาในการย่อย 24 ชั่ว โมง ที่ สภาวะดังกล่าวเป็ นสภาวะที่
เหมาะสมต่อการย่อยโดยสามารถผลิตนํ้าตาลรี ดิ วซ์ได้ 8.30 กรัมต่ อลิตร และเปอร์ เซ็นต์การเปลี่ยนเหง้ามัน
สําปะหลังเป็ นนํ้าตาลรี ดิวซ์เท่าก ับ 21.62% เมื่อนํานํ้าตาลรี ดิ วซ์ ที่ ได้จ ากการย่อยสลายเหง้า มันสํา ปะหลัง
มาเลี้ยงเชื้ อ Zymomonas mobilis พบว่า สภาวะที่ เ หมาะสมต่ อการผลิต เอทานอลโดยการเลี้ย งเชื้ อใน
สารอาหารที่มีน้ าํ ตาลรี ดิวซ์ 25 กรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และปรับค่ า ความเป็ นกรด-ด่ า ง
ให้เหมาะสมก ับการเจริ ญของเชื้อ คือที่ 5.0 เมื่อทํา การหมักในสภาวะแบบไม่ใช้ออกซิ เจน เป็ นเวลา 60
ชัว่ โมง จะได้เอทานอล 10.60 กรัมต่อลิตร (ที่มา: พรรณวิไล กิง่ สุวรรณรัตน์, 2545)

ตารางที่ 4.1-7 ปริ มาณผลผลิต มันสําปะหลัง และเหง้ามันเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสําปะหลัง เหง้ามัน


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 8,292,146 30,088,024 2,738,010
1 เหนือ 1,407,607 5,286,978 481,115
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 4,360,695 15,570,654 1,416,930
3 กลาง 2,523,844 9,230,392 839,966
4 ใต้ 0 0 0
จังหวัด
1 เชียงราย 12,096 38,937 3,543
2 พะเยา 6,747 21,071 1,917
3 ลําปาง 1,251 3,638 331
4 ตาก 19,133 68,554 6,238

รายงานฉบับสุดท้าย 4-28
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-7 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตมันสําปะหลัง และเหง้ามันเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสําปะหลัง เหง้ามัน


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
5 ก ําแพงเพชร 543,150 2,177,489 198,152
6 สุโขทัย 11,452 38,513 3,505
7 แพร่ 1,370 4,347 396
8 อุตรดิตถ์ 17,417 58,364 5,311
9 พิษณุ โลก 179,154 648,000 58,968
10 พิจิตร 4,486 14,719 1,339
11 นครสวรรค์ 292,727 1,077,821 98,082
12 อุทยั ธานี 234994 851,853 77,519
13 เพชรบูรณ์ 83630 283673 25,814
14 เลย 160894 566668.7 51,567
15 หนองบัวลําภู 44496 161787.5 14,723
16 อุดรธานี 183623 667286 60,723
17 หนองคาย 38829 128,912 11,731
18 สกลนคร 65,168 212,578 19,345
19 นครพนม 13,765 44,805 4,077
20 มุกดาหาร 100,481 346,961 31,573
21 ยโสธร 52,159 190,224 17,310
22 อํานาจเจริ ญ 39,367 144,595 13,158
23 อุบลราชธานี 140,069 499,766 45,479
24 ศรี สะเกษ 77,599 284,944 25,930
25 สุรินทร์ 51,500 184,628 16,801
26 บุรีรัมย์ 229,786 842,395 76,658
27 มหาสารคาม 121,712 408,466 37,170
28 ร้อยเอ็ด 103,230 350,156 31,864
29 กาฬสินธุ์ 302,165 1,164,846 106,001
30 ขอนแก่น 242,069 790,113 71,900

รายงานฉบับสุดท้าย 4-29
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-7 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตมันสําปะหลัง และเหง้ามันเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสําปะหลัง เหง้ามัน


ลําดับ พืน้ ที่
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
31 ชัยภูมิ 410,058 1,452,015 132,133
32 นครราชสีมา 1,983,725 7,129,508 648,785
33 สระบุรี 34,611 120,792 10,992
34 ลพบุรี 208,035 760,576 69,212
35 ชัยนาท 77,682 268,547 24,438
36 สุพรรณบุรี 41,696 144,227 13,125
37 ปราจีนบุรี 161,505 605,968 55,143
38 ฉะเชิงเทรา 314,293 1,170,741 106,537
39 สระแก ้ว 407,012 1,482,746 134,930
40 จันทบุรี 281,467 1,050,998 95,641
41 ระยอง 253,357 918,419 83,576
42 ชลบุรี 311,304 1,119,762 101,898
43 กาญจนบุรี 331,553 1,231,056 112,026
44 ราชบุรี 96,969 341,234 31,052
45 เพชรบุรี 4,360 15,325 1,395
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

จากการวิเคราะห์สดั ส่วนวัสดุส่วนประกอบของมันสําปะหลัง 1 ต้น (ปริ มาณวัสดุส่ว นประกอบ


ของมันสําปะหลังนํ้าหนัก 3,280 กิโลกรัม) พบว่า ประกอบด้วย
- ยอดใบมันสําปะหลัง 5.50 เปอร์เซ็นต์
- ลําต้นมันสําปะหลัง 11.10 เปอร์เซ็นต์
- เหง้ามันสําปะหลัง 7.60 เปอร์เซ็นต์
- หัวมันสําปะหลัง 75.80 เปอร์เซ็นต์
แสดงเป็ นสัดส่วนนํ้าหนักของยอดใบ ลําต้น เหง้า และหัวมันสําปะหลัง โดยจําแนกตามช่วงอายุได้ดงั นี้

รายงานฉบับสุดท้าย 4-30
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.1-8 นํ้าหนักยอดใบ ลําต้น เหง้า และหัวมันสําปะหลัง จําแนกตามช่วงอายุ


หน่วย : กิโลกรัมต่ อต้น
ช่วงอายุ (เดือน) ยอดใบ ลําต้น เหง้า หัว รวม ต้น/ไร่
8 0.201 0.460 0.337 2.453 3.451 7.016
9 0.169 0.482 0.313 2.585 3.549 7.215
10 0.184 0.378 0.242 2.392 3.196 6.497
11 0.168 0.392 0.300 2.522 3.382 6.876
12 0.147 0.305 0.245 2.425 3.122 6.347
13* 0.259 0.472 0.269 3.106 4.106 8.352
14* 0.372 0.639 0.293 3.788 5.092 10.352
15* 0.485 0.806 0.317 4.468 6.076 12.354
16* 0.598 0.973 0.341 5.150 7.062 14.357
17* 0.711 1.140 0.365 5.831 8.047 16.360
18* 0.824 1.308 0.389 6.513 9.034 18.362
19* 0.936 1.474 0.413 7.194 10.017 20.367
20* 1.049 1.642 0.437 7.875 11.003 22.369
21* 1.162 1.809 0.461 8.556 11.988 24.369
22* 1.274 1.976 0.485 9.238 12.973 26.374
23* 1.387 2.143 0.509 9.919 13.958 28.377
24 1.500 2.310 0.533 10.600 14.943 30.379
รวม 11.426 18.709 6.249 94.615 130.999 266.323
ร้อยละ 8.7 14.3 4.8 72.2 100
* ข้อมูลได้จากการคํานวณ
ทีม่ า: มณฑา และคณะ, 2546

โดยเฉลี่ยแล้ว จะมีต ้นมันสํา ปะหลังประมาณ 2,033 ต้นต่ อไร่ และด้ว ยสาเหตุ ที่จ ํา นวนต้นมัน
สําปะหลังและอัตราการเจริ ญเติบโตของต้นในแต่ ละพันธุ์แ ตกต่ า งกนั จึ งทํา ให้ว สั ดุ เหลือใช้ต่ า งๆ จาก
มันสําปะหลังแตกต่างก ันไปด้วย ซึ่งสามารถประมาณเป็ นจํานวนคร่ าวๆ ได้ดงั นี้
(1) ยอดมันสําปะหลัง มีปริ มาณ 0.437 ตันต่อไร่ หรื อ 686,414 ตันต่ อปี เกษตรกรจะปล่อยทิ้ ง
ไว้ในไร่ แ ละยํ่า ไถกลบเป็ นปุ๋ ยทั้งหมดหรื อ 100% ซึ่ งจะทิ้ งไว้ 1-30 วัน ประมาณ 97% ของครัว เรื อ น
เกษตรกรผูป้ ลูกมันสําปะหลัง และทิ้งไว้เกิน 30 วัน ประมาณ 3%

รายงานฉบับสุดท้าย 4-31
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2) ลําต้นมันสําปะหลัง มีปริ มาณ 1.086 ตันต่อไร่ หรื อ 1,705,826 ตันต่อปี เกษตรกรจะเก็บไว้
เป็ นต้นพันธุ์ 29.1% ขาย 0.7% แจกจ่ายให้ชาวบ้าน 1% เหลือทิ้ งไว้ในไร่ กอ่ นการไถ่กลบเป็ นปุ๋ ย 70.1%
โดยเกษตรกรจะทิ้งไว้ไม่เกิน 30 วัน ประมาณ 95.4% อีก 4.6% จะทิ้งไว้เกิน 30 วัน
(3) เหง้า มัน สํา ปะหลัง มีป ริ มาณ 0.714 ตัน ต่ อไร่ หรื อ 1,121,510 ตันต่ อปี เกษตรกรจะนํา
บางส่วนไปทําท่อนพันธุ์ 0.3% และเผาทิ้ ง 0.3% ที่ เหลืออีก 99.4% ถูกทิ้ งไว้ในไร่ รอการยํ่า ไถกลบเป็ น
ปุ๋ ย โดยทิ้งไว้ไม่เกิน 30 วัน ประมาณ 95.4% และอีก 4.6% ของครัวเรื อนเกษตรกร ทิ้งไว้เกิน 30 วัน

รายงานฉบับสุดท้าย 4-32
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ต้นมันสําปะหลัง 100 %

วัสดุเหลือใช้ 24 % ยอดใบ 5% ไร้มนั สําปะหลัง 5% ยอดสลายเป็ นปุ๋ ย 5%

ลําต้น 11% ไร่มนั สําปะหลัง 11% พันธุ์ 3.20%

ขาย 0.08%

ให้ชาวบ้าน 0.01%

ไถกลบเป็ นปุ๋ ย 7.71%

เหง้า 8% ไร่มนั สําปะหลัง 8% พันธุ์ 0.02%

เผาทิ้ง 0.02%

ไถกลบเป็ นปุ๋ ย 7.96%

โรงงานอุตสาหกรรม
หัว (ราก) 76% มันเส้น 76 % มันเม็ด แป้ งมัน
76%
ทอผ้า สี กาว

ไม้อดั กระดาษ

ผงชูรส วุน้ เส้น

รูปที่ 4.1-10 วัสดุองค์ประกอบและการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆจากมันสําปะหลัง


ทีม่ า: มณฑา และคณะ, 2546

รายงานฉบับสุดท้าย 4-33
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.1.5.1 กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดเหง้ามัน


วัสดุเหลือใช้จากมันสําปะหลังจะถูกทิ้ งไว้ในไร่ มนั สําปะหลังประมาณ 1-2 เดื อนหลังจากการเก็บ
เกีย่ วซึ่ งจะมี ต ลอดปี โดยช่ ว งที่ มี ว ัสดุ เหลื อใช้ด ังกล่ า วมาก คื อ เดื อนพฤศจิ กายน ธันวาคม มกราคม
กุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม เพราะเป็ นช่วงที่ พ้ืนดิ นแห้ง ความชื้ นน้อย ทําให้สะดวกต่ อการเก็บเกีย่ ว ส่ วน
ช่ วงที่ มีว สั ดุ เหลือใช้น้อย คื อ เดื อนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิ งหาคม กนั ยายน และเดื อน
ตุลาคม เนื่องจากเป็ นช่วงที่พ้นื ดินมีความชื้นสูงมากจึงไม่สะดวกต่อการเก็บเกีย่ ว
ส่วนของวัสดุเหลือใช้จากมันสําปะหลังที่ แ ห้งแล้ว เกษตรกรจะใช้แ ทรกเตอร์ ย่าํ ให้แ ตกพร้อม
ไถกลบเป็ นปุ๋ ยแล้วเริ่ มทําการปลูกมันสําปะหลังในฤดูใหม่ ซึ่งจะเป็ นเช่นนี้ทุกปี ดังนั้นถ้า สามารถนํา เอา
วัสดุเหลือใช้จากมันสําปะหลังในส่ ว นนี้ เช่ น เหง้า มันสํา ปะหลัง ซึ่ งเป็ นวัสดุ เหลือทิ้ งจากการแปรรู ป
ผลผลิตทางการเกษตรที่ มีปริ มาณมากในแต่ ละปี ที่ ไม่สามารถนํา ไปใช้ประโยชน์ในด้า นอื่นได้ มาใช้
ประโยชน์ทางด้านเชื้อเพลิงพลังงานจากวัสดุธรรมชาติหรื อพลังงานแปรรู ปลักษณะอื่นๆ เช่ น แทนการ
ใช้พลังงานประเภทสิ้นเปลือง จําพวกนํ้ามันปิ โตรเลียม ถ่านหิ น ก๊าซธรรมชาติ ฟื น ถ่า นไม้ เป็ นต้น ก็จ ะ
ทําให้สามารถใช้วสั ดุหรื อทรัพยากรจากธรรมชาติ ที่ได้มาจากกิจ กรรมทางการเกษตรได้เกิด ประโยชน์
สูงสุด ประหยัดที่สุด และคุ ม้ ค่ า ที่ สุด ทางด้า นพลังงานซึ่ งเป็ นการรักษาสภาพสิ่ งแวดล้อมความสมดุ ล
ทางธรรมชาติที่เป็ นบ่อเกิดของพลังงานให้คงอยูแ่ ละมีใช้ต่อไปในอนาคต

4.2 การคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมในการนํามาใช้ เป็ นวัตถุดบิ ในการวิจัย

4.2.1 การคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสม 5 ชนิด

จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของพืชชี ว มวลที่ มีศกั ยภาพใน


การนํามาผลิตเป็ นพลังงานทดแทน โดยทําการคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมโดยคํานึงถึงคุณสมบัติ ต่า งๆ อาทิ
วัตถุดิบมีปริ มาณเพียงพอสําหรับป้ อนสู่โรงงานได้ตลอดปี หาได้ง่าย ราคาถูก สามารถผลิต เอทานอลต่ อ
หน่วยของวัตถุดิบ และต่อหน่วยของพื้นที่เพาะปลูกได้ในปริ มาณสูง พลังงานสมดุ ลของระบบเป็ นบวก
และวัตถุดิบนั้นจะต้องไม่แย่งอาหารมนุษย์ โดยก ําหนดเป็ นประเด็นในการพิจารณา ดังนี้

รายงานฉบับสุดท้าย 4-34
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.2-1 เกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมของวัตถุดิบ


ลําดับ ประเด็นพิจารณา ค่ าถ่ วงนํา้ หนัก
1 ปริ มาณเซลลูโลสที่เป็ นองค์ประกอบ 30 %
2 ปริ มาณวัตถุดิบ 20 %
3 สัดส่วนการนําไปใช้ประโยชน์ 20 %
4 ค่าความร้อนของวัต ถุดิบ 10 %
5 ราคาวัตถุดิบ 10 %
6 แหล่งที่มาของวัตถุดิบ 10 %

โดยเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกดังกล่าว ที่ปรึ กษาได้ก ําหนดหัวข้อสําคัญเพื่อให้ในการพิจ ารณา


ดังนี้
(1) ปริมาณเซลลูโลสที่เป็ นองค์ ประกอบ
วัตถุดิบที่เหมาะสมจะนํามาผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส องค์ประกอบหลักสํา คัญได้แ ก่ มี
ปริ มาณเซลลูโลสสู งและมีศกั ยภาพที่ เหมาะสมในการผลิ ตเอทานอล มี ปริ มาณเอทานอลที่ ผลิต ได้สู ง
เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
- มีปริ มาณเซลลูโลสมากที่สุด 5 คะแนน
- มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 2 4 คะแนน
- มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 3 3 คะแนน
- มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 4 2 คะแนน
- มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 5 เป็ นต้นไป 1 คะแนน

(2) ปริมาณวัตถุดบิ
ที่ปรึ กษาได้คาํ นึงถึงความเพียงพอของวัตถุดิบในการใช้ผลิตในระดับอุต สาหกรรม ซึ่ ง ปริ มาณ
วัต ถุดิ บย่อมมีค วามสํา คัญอย่า งยิ่ง วัต ถุ ดิ บที่ ใช้ต ้อ งมีปริ มาณมาก หรื อมี พ้ืนที่ ใ นการเพาะปลูก สู ง มี
สัดส่วนการเกิดสูงด้วย ดังนั้นที่ปรึ กษาจึงมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
- มีปริ มาณวัตถุดิบมากที่สุด 5 คะแนน
- มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 2 4 คะแนน
- มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 3 3 คะแนน
- มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 4 2 คะแนน
- มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 5 เป็ นต้นไป 1 คะแนน

รายงานฉบับสุดท้าย 4-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(3) สัดส่ วนที่มกี ารนําไปใช้ ประโยชน์ แล้ ว


วัต ถุดิ บที่ เหมาะสมในการนํา ไปใช้ ย่อมต้องเป็ นพืชที่ ไม่ใช่ พืชอาหาร เป็ นวัสดุ เหลือใช้ทาง
การเกษตร หรื อวัชพืช ที่มีสดั ส่วนการนําไปใช้ประโยชน์วของวัตถุดิบไปแล้วในกิจ กรรมอื่นๆ เป็ นส่ ว น
ที่นอ้ ยเมื่อเทียบก ับปริ มาณที่เหลือทิ้ง หรื อยังไม่ได้นํา ไปใช้ประโยชน์ กาํ หนดเกณฑ์การให้ค ะแนนไว้
ดังนี้
- มีสดั ส่วนการนํา ไปใช้ประโยชน์ในกิจ กรรมอื่นแล้ว น้อยกว่า 5 คะแนน
50 %
- มีสดั ส่วนการนําไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นแล้ว 51-60 % 4 คะแนน
- มีสดั ส่วนการนําไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นแล้ว 61-70 % 3 คะแนน
- มีสดั ส่วนการนําไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นแล้ว 71-80 % 2 คะแนน
- มีสดั ส่วนการนําไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นแล้ว มากกว่า 81 1 คะแนน
% เป็ นต้นไป

(4) ค่ าความร้ อนของวัตถุดบิ


- มีค่าความร้อนน้อยที่สุด 5 คะแนน
- มีค่าความร้อนน้อยเป็ นอันดับ 2 4 คะแนน
- มีค่าความร้อนน้อยเป็ นอันดับ 3 3 คะแนน
- มีค่าความร้อนน้อยเป็ นอันดับ 4 2 คะแนน
- มีค่าความร้อนน้อยเป็ นอันดับ 5 เป็ นต้นไป 1 คะแนน

(5) ราคาวัตถุดบิ
ในการผลิ ต เอทานอลจากเซลลู โ ลส ต้น ทุ นการผลิต ย่อมเป็ นสิ่ งสํา คัญ ที่ ต ้อ งคํา นึ งถึ ง โดย
วัตถุดิบที่นาํ มาใช้ผลิตถ้ามีราคาสูงย่อมไม่คุม้ ที่จ ะลงทุ น ซึ่ งที่ ปรึ กษาได้เล็งเห็ นถึงความสํา คัญดังกล่า ว
จึ งกาํ หนดเป็ นเกณฑ์ในการพิจ ารณา โดยเที ยบเคี ยงราคาวัต ถุดิ บจากราคาในท้องตลาดในกรณี ที่ใ ช้
วัตถุดิบไปในกิจกรรมอื่นๆ ดังนี้
- ไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จ่ายราคาวัตถุดิบ 5 คะแนน
- ราคา ตั้งแต่ 1 - 500 บาท 4 คะแนน
- ราคา ตั้งแต่ 501 - 1,000 บาท 3 คะแนน
- ราคา ตั้งแต่ 1,001 - 1,500 บาท 2 คะแนน
- ราคา ตั้งแต่ 1,500 บาท เป็ นต้นไป 1 คะแนน

รายงานฉบับสุดท้าย 4-36
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(6) แหล่ งที่มาของวัตถุดบิ


ที่ปรึ กษาพิจารณาความเหมาะสมของวัตถุดิบ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมในด้า นการเก็บเกีย่ ว
เก็บรักษา การรวบรวม และการขนส่งวัตถุดิบเพื่อป้ อนสู่โรงงานต่อไป โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
- มีการรวบรวม ขนส่งง่าย และมีการผลิตในรู ปอุตสาหกรรม 5 คะแนน
- มีการรวบรวม และขนส่งง่าย 3 คะแนน
- ไม่มกี ารรวบรวม 1 คะแนน

ตารางที่ 4.2-2 สรุ ปผลคะแนนการคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสม


หลักเกณฑ์
ปริมาณ ปริมาณ สัดส่วนการ ค่าความร้อน แหล่งที่มา ราคา รวม
ลําดับ พืช อันดับ
เซลลูโลส วัตถุดิบ นําไปใช้งาน
40% 20% 20% 5% 5% 10% 100%
1 ชานอ้อย 3 4 1 1 3 2 54 3
2 ยอดและใบอ้อย 0 3 5 1 1 5 45 7
3 แกลบ 0 2 2 2 2 2 25 9
4 ฟางข้าว 1 5 5 3 1 5 63 2
5 ซังข้าวโพด 5 1 3 1 1 4 67 1
6 ทะลายเปล่า 1 1 4 1 2 3 38 8
7 กากใยปาล์ม 0 1 1 1 1 0 11 13
8 กะลาปาล์ม 0 1 2 1 1 0 15 12
9 ต้นปาล์ม 4 1 1 1 1 5 53 4
10 ลําต้น/ใบมัน
2 1 3 4 1 5 48 6
สําปะหลัง
11 เหง้ามันสําปะหลัง 1 1 5 5 2 5 50 5
12 ขี้เลื่อย 0 1 1 1 3 1 16 11
13 เศษไม้ยางพารา 0 1 1 1 3 3 20 10

ผลการคัดเลือกพืชชีวมวลที่ เหมาะสมในการนํามาใช้เป็ นวัตถุดิบในการวิจยั 5 ชนิด ได้แก่ ซัง


ข้าวโพด ฟางข้าว ชานอ้อย ต้นปาล์ม และเหง้ามันสําปะหลัง

รายงานฉบับสุดท้าย 4-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.2.2 วัสดุที่คัดเลือกมาใช้ ในงานวิจัยผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

วัสดุ ชี ว มวลที่ ผ่า นเกณฑ์การคัด สรรวัสดุ เ หลือ ใช้ทางการเกษตรที่ จ ะนํา มาใช้ในการดํา เนิ น
โครงการ 5 ชนิดในงานวิจ ัยนี้ ได้แ ก่ ซังข้า วโพด ฟางข้า ว ชานอ้อย ต้นปาล์ม และเหง้า มันสํา ปะหลัง
โดยมีรายละเอียดของชีวมวลดังกล่าวดังนี้ คือ

4.2.2.1 ซังข้าวโพด
ลักษณะทัว่ ไป: ซัง ข้า วโพดได้จ ากการสี ข ้า วโพดเพื่ อ นํา เมล็ด มาใช้ง าน ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในส่วนของลําต้นจะถูกตัดหลังจากการเก็บเกีย่ ว
แหล่ง: ปั จจุบนั การสีขา้ วโพดจะใช้เครื่ องจักรที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามไร่ ข ้า วโพด
ดังนั้นจะสามารถหาซังข้าวโพดและต้นข้าวโพดได้ตามไร่ ขา้ วโพดทัว่ ไป
การนําไปใช้งาน: ซังข้าวโพดมีประโยชน์หลายอย่า ง เช่ น นํา ไปเป็ นวัต ถุดิ บผลิต แอลกอฮอล์
เป็ นเชื้ อเพลิง ผสมก บั โมลาสเพื่ อเลี้ยงสัต ว์ เป็ นต้น ส่ ว นลํา ต้น นํา ไปเลี้ย ง
สัตว์ได้เช่นก ัน
จุดเด่น: ซังข้าวโพดมีค่าความร้อนสูงเมื่อเทียบก ับชีวมวลอื่นๆ ส่ ว นลํา ต้นข้า วโพดมี
ส่วนหนึ่งที่ไม่ได้นาํ ไปใช้งาน ชาวไร่ ขา้ วโพดจะไถฝังกลบในไร่
จุดด้อย: ซังข้าวโพดมีการนําไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้นต้องพิจ ารณาถึงแหล่ง
ที่ มีการนํา ไปใช้งานน้อยที่ สุด เพื่อไม่ให้มี การแก่งแย่งกนั ซื้ อ ส่ ว นลํา ต้น
ข้าวโพดจะเก็บรวบรวมลําบาก ต้องใช้แรงคนมาก

4.2.2.2 ฟางข้าว
ลักษณะทัว่ ไป: ขนาดเล็กยาวแต่กลวงได้มาหลังการเกีย่ วข้าว
แหล่ง: ถ้าเกีย่ วข้าวด้วยแรงคน ฟางข้าวจะกองอยูบ่ ริ เวณลานตากข้าวตามหมู่บา้ น ถ้า
เกีย่ วข้าวด้วยเครื่ องจักร ฟางข้าวจะถูกทิ้งไว้ในนาข้าว
การนําไปใช้งาน: ฟางข้าวมีประโยชน์หลายอย่าง เช่ น เป็ นอาหารสัตว์ คลุมดิ น เพาะเห็ ดฟางทํา
โครงพวงหรี ด ดอกไม้ และใช้ในอุต สาหกรรมทํา กระดาษ เป็ นต้น แต่ ยงั มี
ฟางข้าวอีกมากที่ไม่ได้นาํ ไปใช้คาดว่าประมาณ 1 ใน 3 ของส่ ว นที่ เหลือถูก
เผาทิ้ง
จุดเด่น: ยังมีฟางข้าวอีกมากที่ไม่ได้นาํ ไปใช้ให้เป็ นประโยชน์

รายงานฉบับสุดท้าย 4-38
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

จุดด้อย: รวบรวมได้ยากถ้า ใช้แ รงคนเพราะอยู่กระจัด กระจายต้องใช้เครื่ องทุ่ นแรง


(Straw baler) มาช่วยในการรวบรวม

4.2.2.3 ชานอ้ อย
ลักษณะทัว่ ไป: มีลกั ษณะเป็ นขุยได้จากการผลิตนํ้า ตาลดิ บ โดยนํา อ้อยมาคั้นนํ้า ออกส่ ว นที่
เป็ นนํ้านําไปผลิตเป็ นนํ้าตาลดิบ ส่วนที่เหลือ คือชานอ้อย
แหล่ง: โรงงานนํ้าตาล ซึ่งมีอยูป่ ระมาณ 46 โรง
การนําไปใช้งาน: ส่ ว นใหญ่ ใ ช้ เ ป็ นเชื้ อเพลิ ง เพื่ อ ผลิ ต นํ้ าตาลดิ บ ประมา ณ 80% ส่ ว น
ที่เหลืออีก 20% นําไปเป็ นวัตถุดิบสําหรับผลิตกระดาษ และ MDF Board
จุดเด่น: ยังมีชานอ้อยเหลืออีกส่วนหนึ่งที่ยงั ไม่ได้นาํ ไปใช้งาน
จุดด้อย: นํ้าหนักเบา และความชื้นสูง

4.2.2.4 ต้นปาล์ ม
ลักษณะทัว่ ไป: ลําต้นจะถูกโค่นเมื่อมีอายุ 20-25 ปี หรื อเมื่อไม่สามารถให้ผลผลิตได้
แหล่ง: จากสวนปาล์ม
การนําไปใช้งาน: ลําต้นยังไม่ได้มีการตัดหรื อโค่นเพราะอายุยงั ไม่ครบก ําหนด
จุดเด่น: ยังไม่มีการศึกษานําไปใช้ประโยชน์เป็ นอย่างอื่น
จุดด้อย: มีขนาดใหญ่

4.2.2.5 เหง้ามันสําปะหลัง
ลักษณะทัว่ ไป: เหง้า มัน เป็ นส่ ว นที่ ถู ก ตัด ออกจากหั ว มัน ด้า นบนมี ล ัก ษณะเป็ นลํา ต้น
ค่อนข้างกลมขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางไม่เกิน 15 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 30
เซนติเมตร ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรูปร่ างไม่แน่นอน
แหล่ง: ตามไร่ มนั สําปะหลัง
การนําไปใช้งาน: ปั จจุบนั ยังไม่ค่อยนําไปใช้งาน จึงมักถูกเผาทิ้งตามไร่
จุดเด่น: เนื่องจากส่วนมากยังไม่ได้นาํ ไปใช้ให้เป็ นประโยชน์จึงไม่มีคู่แข่งใน การจัดหา
จุดด้อย: ความชื้นโดยเฉลี่ย 40% และมีขนาดรู ปทรงไม่แ น่ นอน จึ งต้องมีข บวนการ
ทําให้เล็กลงก่อนนําไปเป็ นเชื้อเพลิง

รายงานฉบับสุดท้าย 4-39
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4.2.3 การคัดเลือกวัตถุดบิ ที่นํามาทดลอง จํานวน 3 ชนิด

4.2.3.1 การกําหนดหลักเกณฑ์ การคัดเลือกวัตถุดบิ ในการนํามาทดลอง


ในการคัด เลือกวัสดุ ที่จ ะนํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการทดลองผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส เพื่อ
ศึกษาในเชิงพาณิ ชย์น้ ี ได้ค ํา นึ งถึงหลักเกณฑ์สํา คัญ คื อ ต้องมีค วามเหมาะสมด้า นปริ มาณเซลลูโลสที่
เป็ นองค์ประกอบของวัตถุดิบ ปริ มาณวัต ถุดิ บที่ จ ะมีเพียงพอสํา หรับการผลิต ในระดับอุต สาหกรรมได้
ตลอดทั้งปี หาได้ง่าย ราคาถูก และกระบวนการผลิตจากวัตถุดิบสามารถผลิตเอทานอลต่ อหน่ ว ยวัต ถุดิ บ
ได้ในปริ มาณมาก ดังนั้นที่ ปรึ กษาจึ งได้กาํ หนดเกณฑ์ในการคัด เลือกวัต ถุดิ บที่ เหมาะสม โดยกาํ หนด
ระดับค่าถ่วงนํ้าหนักในแต่ละหลักเกณฑ์ ดังนี้

ตารางที่ 4.2-3 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวัตถุดิบที่นาํ มาทดลอง


ค่านํ้าหนัก
ลําดับ หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประเด็นพิจารณา การให้
คะแนน
1 องค์ประกอบของวัตถุดิบ ปริ มาณเซลลูโลสที่เป็ นองค์ประกอบ 35 %
2 กระบวนการผลิต ให้ปริ มาณการผลิตเอทานอลสูงที่ สุด 35 %
3 แหล่งผลิต เป็ นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีปริ มาณมาก 30 %

(1) เกณฑ์ องค์ ประกอบของวัตถุดบิ


เซลลูโลส เป็ นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดในเซลล์พืช พบตามผนังเซลล์ข องพืชทุ กชนิ ด มีห น้า ที่
ช่ ว ยทํา ให้พืชมี โครงสร้า งแข็ งแรง ในธรรมชาติ จ ะไม่พ บเซลลู โลสในรู ปอิส ระแต่ ม ักจะพบรวมก บั
ลิก นิ ก เฮมิ เซลลู โลส กมั เพนโตแซน แทนนิ น ไขมัน และสารเกิด สี เป็ นต้น ซึ่ งในการคัด เลื อกจะ
พิจ ารณาปริ ม าณเซลลู โลส โดยคัด เลื อ กวัส ดุ ที่มี ป ริ มาณเซลลู โลสมากที่ สุ ด 3 อัน ดับ ซึ่ งปริ ม าณ
เซลลูโลสในส่วนต่างๆของพืชนั้น จะมีมากน้อยแตกต่างก ันไปขึ้นอยูก่ ับจะเป็ นพืชชนิ ด ใดและส่ ว นไหน
ของพืช โดยได้ก ําหนดเป็ นค่าคะแนนตามปริ มาณเซลลูโลส ดังนี้

รายงานฉบับสุดท้าย 4-40
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 4.2-4 คะแนนการคัดเลือกตามเกณฑ์ปริ มาณเซลลูโลส


ค่าถ่วงนํ้าหนัก 35 %
ลําดับที่ ปริ มาณเซลลูโลส ระดับคะแนน
1 มีปริ มาณเซลลูโลสมากที่ สุด 5
2 มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 2 4
3 มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 3 3
4 มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 4 2
5 มีปริ มาณเซลลูโลสมากเป็ นอันดับ 5 เป็ นต้นไป 1

(2) เกณฑ์ กระบวนการผลิต


ที่ปรึ กษาได้คาํ นึงถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอล ซึ่งเทคโนโลยีที่นํา มาใช้ผลิต
เอทานอลจะมีค วามแตกต่ า งกนั ไปตามประเภทของวัต ถุดิ บ และให้ผ ลผลิต เอทานอลที่ แ ตกต่ า งก นั
ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมก ับวัตถุดิบแต่ละชนิดแล้ว นําปริ มาณเอทานอลที่ ผลิต
ได้จากวัตถุดิบแต่ละชนิดมาเปรี ยบเทียบก ันโดยก ําหนดเกณฑ์การคัดเลือกตามระดับคะแนนต่างๆ ดังนี้

ตารางที่ 4.2-5 คะแนนการคัดเลือกตามเกณฑ์กระบวนการผลิต


ค่าถ่วงนํ้าหนัก 35 %
ลําดับที่ กระบวนการผลิต ระดับคะแนน
1 ให้ผลผลิตเอทานอลมากที่ สุด 5
2 ให้ผลผลิตเอทานอลมากเป็ นอันดับ 2 4
3 ให้ผลผลิตเอทานอลมากเป็ นอันดับ 3 3
4 ให้ผลผลิตเอทานอลมากเป็ นอันดับ 4 2
5 ให้ผลผลิตเอทานอลมากเป็ นอันดับ 5 เป็ นต้นไป 1

(3) เกณฑ์ แหล่ งผลิต


เมื่อพิจารณาถึงการผลิต เอทานอลในระดับอุต สาหกรรม ความต่ อเนื่ องของปริ มาณวัต ถุดิ บที่
สามารถป้ อนเข้าสู่กระบวนการผลิตย่อมมีความสําคัญ ทั้งนี้แหล่งที่ มาของวัต ถุดิ บต้องเป็ นวัสดุ เหลือใช้
จากการเกษตร ไม่ เ ป็ นพื ช อาหาร มี ป ริ ม าณมากพอที่ จ ะใช้ใ นการผลิ ต ระดับ อุ ต สาหกรรม อาทิ
ข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม จะมีฟางข้าว 1,300 กิโลกรัม มันสําปะหลัง 1 ไร่ จะมีเหง้า มันประมาณ 500-
1,000 กิโลกรั ม ในประเทศไทยมีเหง้า มันที่ เ หลือทิ้ ง ต่ อปี ไม่น้อยกว่า 100,000 ตัน การผลิ ต แป้ งมัน

รายงานฉบับสุดท้าย 4-41
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สําปะหลัง 1 ตัน จะมีเปลือกมันเหลือทิ้ ง 30 กิโลกรัม ซึ่ งปริ มาณวัต ถุดิ บที่ ได้ จะมีผลต่ อต้นทุ นในการ
ดําเนินการผลิตด้วย ดังนั้นที่ปรึ กษาได้ก ําหนดคะแนนตามเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

ตารางที่ 4.2-6 คะแนนการคัดเลือกตามเกณฑ์กระบวนการผลิต


ค่าถ่วงนํ้าหนัก 30 %
ลําดับที่ แหล่งผลิต ระดับคะแนน
1 มีปริ มาณวัตถุดิบมากที่สุด 5
2 มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 2 4
3 มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 3 3
4 มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 4 2
5 มีปริ มาณวัตถุดิบมากเป็ นอันดับ 5 เป็ นต้นไป 1

4.2.3.2 ผลการคัดเลือกวัตถุดบิ
ในการคัด เลือกวัส ดุ ที่จ ะนํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บ ในการทดลองผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสนั้ น
วัสดุที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกที่จะนํามาใช้ ได้แก่ ชานอ้อย ซังข้าวโพด และฟางข้าว ซึ่งวัตถุดิ บทั้ง 3 ผ่า น
หลักเกณฑ์และมีคะแนนสูงสุด ดังตารางที่ 4.2-7

ตารางที่ 4.2-7 สรุ ปผลคะแนนการคัดเลือกวัตถุดิบที่นาํ มาใช้ในการทดลอง


คะแนน
ปริ มาณ กระบวนการ ปริ มาณ คะแนน อันดับที่
ลําดับ ชนิดวัตถุดิบ
เซลลูโลส ผลิต วัตถุดิบ รวม คัดเลือก
35% 35% 30%
1 เหง้ามันสําปะหลัง 3 1 3 2.45 5
2 ชานอ้ อย 2 4 4 3.50 2
3 ซังข้าวโพด 5 3 1 3.15 3
4 ฟางข้าว 1 5 5 3.85 1
5 ต้นปาล์ม 4 2 2 2.80 4

รายงานฉบับสุดท้าย 4-42
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 5
การศึกษากระบวนการทีเ่ หมาะสมในการเก็บเกีย่ ว เก็บรั กษา และขนส่ งวัตถุดิบ

ปั ญหาของระบบการขนส่ง (Logistic) และค่าใช้จ่ายการขนส่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ชี ว มวล


มีการเก็บรักษาและการขนส่ งที่ ยาก และมีค วามเสี่ ยงสู งในการจัด หาหรื อรวบรวมปริ มาณชี ว มวลที่
ต้องการใช้ ให้คงที่ตลอดปี เพราะชีวมวลบางประเภทมีจาํ ก ัด และต้องการพื้นที่ ในการเก็บรักษาขนาด
ใหญ่ ดังนั้น การพัฒนาระบบ วิธีการจัด เก็บและขนส่ งจึ งสํา คัญ และจํา เป็ นมาก รวมถึงปั ญหาที่ มี
ผลกระทบต่อสุขภาพ
การคัดเลือกวัสดุที่จะนํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการทดลองผลิต เอทานอลจากเซลลูโลสในเชิ ง
พาณิ ชย์น้ ี จะคํานึงถึงหลักเกณฑ์สาํ คัญ คือ ต้องมีความเหมาะสมด้านราคา และปริ มาณเป็ นสิ่ งที่ สํา คัญ
ที่ สุด ทั้งนี้ ใ นขั้นตอนการคัด เลื อกวัสดุ ที่จ ะนํา มาใช้เป็ นวัต ถุดิ บ ในการทดลองผลิต เอทานอลจาก
เซลลูโลส วัสดุ ที่ค ัด เลือกที่ จ ะนํา มาใช้ว ตั ถุดิ บ ทั้งหมด 5 ชนิ ด ได้แ ก่ ฟางข้า ว ชานอ้อย ซังข้า วโพด
เหง้ามัน และ ทะลายปาล์ม สามารถสรุ ปชนิ ด ชี ว มวลที่ ผ่า นหลักเกณฑ์โดยมีค ะแนนสู ง 3 ลํา ดับแรก
คือ ฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด การศึกษากระบวนการที่ เหมาะสมในด้า นการเก็บเกีย่ ว เก็บ
รักษา และขนส่งวัตถุดิบของวัตถุดิบทั้งสามชนิด เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส
ดังนี้

5.1 ฟางข้าว

ประเทศไทยเป็ นประเทศเกษตรกรรมที่ มีผ ลผลิต ทางการเกษตรเป็ นจํา นวนมาก ซึ่ ง ผลผลิ ต


ทางการเกษตรที่สาํ คัญ ได้แก่ ข้าว เนื่ องจากสามารถเพาะปลูกและได้ผลผลิตต่ อปี เป็ นลําดับต้นๆ ของโลก
อีกทั้งยังเป็ นสินค้าที่สาํ คัญทางการเกษตรที่มียอดการส่งออกไปต่างประเทศเป็ นจํา นวนมากต่ อปี ทําให้มี
วัสดุชีวมวลเหลือทิ้งจํานวนมากในขบวนการของการเก็บเกีย่ วและแปรรู ปผลผลิตทางการเกษตร
ลักษณะโดยทั่ว ไปของฟางข้า วมีข นาดเล็กยาวแต่ กลวงเป็ นวัสดุ เหลือทิ้ งที่ ได้มาหลังการเก็บ
เกีย่ ว โดยถ้าเกีย่ วข้าวด้วยแรงคน ฟางข้าวจะกองอยูบ่ ริ เวณลานตากข้า วตามหมู่บ้า น แต่ ถา้ เกีย่ วข้า วด้ว ย
เครื่ องจักร ฟางข้าวจะถูกทิ้งไว้ในนาข้าว ดังรู ปที่ 5.1-1 ซึ่ งฟางข้า วนับว่า เป็ นแหล่งอินทรี ยว์ ตั ถุที่ห าได้
ง่ายในท้องนา

รายงานฉบับสุดท้าย 5-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(ก) ฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยเครื่ องจักร (ข) ฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยแรงคน


รูปที่ 5.1-1 การเก็บรวบรวมฟางข้าวในนา
ทีม่ า: http://locals.in.th/index.php?topic=5920.02552

5.1.1 พืน้ ที่เพาะปลูกข้าว

พื้นที่ เพาะปลูก ข้า วทั้งประเทศในปี 2552 มีจ ํา นวน 69.81 ล้า นไร่ สามารถเก็บเกีย่ วผลผลิ ต
ข้า วเปลื อ กได้ป ริ ม าณ 31.72 ล้า นตัน และมี ป ริ มาณฟางข้า ว 37.75 ล้า นตัน ดัง ตารางที่ 5.1-1ภาค
ตะวันออกเฉี ยงเหนือ ให้ผลผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็ นภาคเหนือ และภาคกลาง ขณะที่ ภาคใต้มีผลผลิต
ข้า วน้ อ ย ดั ง รู ปที่ 5.1-2 จั ง หวัด ที่ มี ผ ลผลิ ต ข้ า ว และปริ ม าณฟางข้ า วมากที่ สุ ด 5 จั ง หวัด ได้ แ ก่
อุบลราชธานี รองลงมา เป็ นนครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ตามลําดับ

5.1.2 ปริมาณฟางข้าว

โดยทัว่ ไปปริ มาณผลผลิตฟางข้าว พบว่า นาข้าวที่ได้รับผลผลิต ข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม จะมี


ปริ มาณฟางข้าวนํ้าหนัก 1,200 กิโลกรัม หรื อคิดเป็ น 120% ของนํ้า หนัก ซึ่ งได้จ ากสถิติ ปริ มาณฟางข้า ว
รวมทั้งประเทศ ดังแสดงในตารางที่ 5.1-1 ซึ่งจากปริ มาณที่ มีจ ํา นวนมากในแต่ ละครั้งของการปลูกข้า ว
ทําให้ฟางข้าวเป็ นเศษวัสดุเหลือทิ้ งจากท้องนาที่ ไม่ได้รับการเหลียวแลและถูกมองข้า มเสมอมา ซึ่ งแม้
ฟางข้าวจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ห ลากหลาย เช่ น อาหารสัต ว์ คลุมดิ น เพาะเห็ ด ฟาง ทํา โครง
พวงหรี ดดอกไม้ หรื อปุ๋ ยหมักชีวภาพ ก็ตาม แต่ดว้ ยภาวะเร่ งรัดในการทํานาครั้งจึ งทํา ให้การเผาฟางข้า ว
กลายเป็ นทางเลือกที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด (บัณฑิตวิทยาลัยร่ ว มด้า นพลังงานและสิ่ งแวดล้อม, 2552)
โดยคาดว่าประมาณ 1 ใน 3 ของส่วนที่เหลือถูกเผาทิ้ง ซึ่งผลกระทบที่ตามมานั้นไม่เพียงความร้อนที่ เกิด
จากการเผาจะทําลายธาตุอาหารในดินและได้ผลผลิตคุณภาพไม่ดี แ ล้ว การเผาฟางข้า วยังเป็ นการปล่อย

รายงานฉบับสุดท้าย 5-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

มลพิษทางอากาศอีกด้วย จากข้อมูลกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุ รักษ์พลังงาน ปี 2552 มีปริ มาณ


ฟางข้าวเกิดขื้นทั้งหมดประมาณ 37.75 ล้า นตัน ปริ มาณฟางข้า วที่ นํา ไปใช้ประโยชน์ประมาณ 11.78
ล้านตัน และปริ มาณฟางข้าวคงเหลือที่ยงั ไม่ได้นาํ มาใช้งานประมาณ 25.97 ล้านตัน

รายงานฉบับสุดท้าย 5-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.1-2 พื้นที่เพาะปลูกข้าว


(ที่มา: ข้อมูลพื้นฐานเศรฐกิจ การเกษตร สํานักงานเศรฐกิจ การเกษตร, 2552)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.1-1 ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวเปลือก ฟางข้าว


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 69,809,376 31,723,541 37,751,014
1 เหนือ 16,974,084 9,508,765 11,315,430
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 34,528,386 11,215,015 13,345,868
3 กลาง 15,997,492 9,997,080 11,896,525
4 ใต้ 2,309,414 1,002,681 1,193,190
จังหวัด
1 เชียงราย 1,352,325 777,765 925,540
2 พะเยา 593,203 309,422 368,212
3 ลําปาง 441,706 240,700 286,433
4 ลําพูน 157,086 91,778 109,216
5 เชียงใหม่ 570,539 341,821 406,767
6 แม่ฮ่องสอน 119,694 57,648 68,601
7 ตาก 257,934 120,432 143,314
8 ก ําแพงเพชร 1,738,283 997,831 1,187,419
9 สุโขทัย 1,138,259 643,237 765,452
10 แพร่ 256,273 148,128 176,272
11 น่าน 200,126 108,554 129,179
12 อุตรดิตถ์ 704,618 454,246 540,553
13 พิษณุ โลก 1,864,849 1,119,202 1,331,850
14 พิจิตร 2,157,333 1,312,637 1,562,038
15 นครสวรรค์ 2,940,044 1,740,675 2,071,403
16 อุทยั ธานี 738,142 404,957 481,899
17 เพชรบูรณ์ 1,173,143 626,637 745,698
18 เลย 388,932 148,488 176,701
19 หนองบัวลําภู 896,005 293,861 349,695

รายงานฉบับสุดท้าย 5-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.1-1 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวเปลือก ฟางข้าว


จังหวัด
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
20 อุดรธานี 1,855,281 588,640 700,482
21 หนองคาย 1,111,455 374,208 445,308
22 สกลนคร 1,827,826 582,970 693,734
23 นครพนม 1,057,549 321,771 382,907
24 มุกดาหาร 358,289 118,581 141,111
25 ยโสธร 1,031,757 327,786 390,065
26 อํานาจเจริ ญ 885,466 277,364 330,063
27 อุบลราชธานี 3,199,358 1,022,214 1,216,435
28 ศรี สะเกษ 2,227,467 832,096 990,194
29 สุรินทร์ 2,590,500 957,576 1,139,515
30 บุรีรัมย์ 2,608,480 890,456 1,059,643
31 มหาสารคาม 1,851,569 677,098 805,747
32 ร้อยเอ็ด 2,529,075 907,895 1,080,395
33 กาฬสินธุ์ 1,502,265 636,715 757,691
34 ขอนแก่น 2,268,035 768,311 914,290
35 ชัยภูมิ 1,241,190 383,431 456,283
36 นครราชสีมา 3,108,858 1,026,304 1,221,302
37 สระบุรี 593,816 357,016 424,849
38 ลพบุรี 1,241,482 760,917 905,491
39 สิงห์บุรี 731,240 539,335 641,809
40 ชัยนาท 1,484,868 1,063,744 1,265,855
41 สุพรรณบุรี 2,289,619 1,686,829 2,007,327
42 อ่างทอง 693,973 498,461 593,169
43 อยุธยา 1,530,272 1,040,758 1,238,502
44 นนทบุรี 209,038 160,362 190,831
45 กรุ งเทพฯ 206,475 150,656 179,281
46 ปทุมธานี 570,959 424,421 505,061

รายงานฉบับสุดท้าย 5-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.1-1 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวเปลือก ฟางข้าว


จังหวัด
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
47 นครนายก 525,636 266,242 316,828
48 ปราจีนบุรี 809,692 357,319 425,210
49 ฉะเชิงเทรา 1,168,611 719,672 856,410
50 สระแก ้ว 785,821 249,191 296,537
51 จันทบุรี 49,320 16,014 19,057
52 ตราด 39,129 15,422 18,352
53 ระยอง 35,933 16,152 19,221
54 ชลบุรี 140,397 60,234 71,678
55 สมุทรปราการ 55,707 44,140 52,527
56 สมุทรสาคร 22,261 14,885 17,713
57 นครปฐม 728,114 533,826 635,253
58 กาญจนบุรี 516,221 315,229 375,123
59 ราชบุรี 581,361 400,441 476,525
60 สมุทรสงคราม 2,853 2,050 2,440
61 เพชรบุรี 541,653 327,823 390,109
62 ประจวบคีรีขนั ธ์ 97,860 46,292 55,087
63 ชุมพร 31,145 12,581 14,971
64 ระนอง 3,797 1,208 1,438
65 สุราษฎร์ธานี 23,288 10,522 12,521
66 พังงา 8,862 2,994 3,563
67 ภูเก็ต 902 308 367
68 กระบี่ 20,147 7,476 8,896
69 ตรัง 42,014 14,953 17,794
70 นครศรี ธรรมราช 694,111 297,171 353,633
71 พัทลุง 433,792 207,880 247,377
72 สงขลา 452,540 225,100 267,869
73 สตูล 77,530 30,519 36,318

รายงานฉบับสุดท้าย 5-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.1-1 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าว และฟางข้าวเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวเปลือก ฟางข้าว


จังหวัด
(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
74 ปั ตตานี 231,016 81,889 97,448
75 ยะลา 59,399 21,311 25,360
76 นราธิวาส 98,415 37,854 45,046
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

5.1.3 การเก็บเกี่ยว

ปั จจุบนั การเก็บเกีย่ วข้าวของชาวนาไทยมี 2 วิธี คื อการเกีย่ วด้ว ยเครื่ องจักร และการเก็บเกีย่ ว


ด้วยแรงคน ซึ่งการเก็บเกีย่ วด้วยวิธีที่ใช้แรงคน มี 2 วิธี คือ การเก็บเกีย่ วด้ว ยเคี ยว และการเก็บเกีย่ วด้ว ย
แกะ

5.1.3.1 การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร
เครื่ องมือเก็บเกีย่ วที่ได้นาํ เข้ามาแนะนําและส่ งเสริ มในประเทศไทย พอจะแบ่ งได้ต ามลักษณะ
การทํางานคือ
(1) เครื่ องเกีย่ วนวด (Combine Harvester)
(2) เครื่ องเก็บเกีย่ วแบบวางราย (Reaper)
(3) เครื่ องเก็บเกีย่ วแบบมัดฟ่ อน (Binder)
โดยมีข้ นั ตอนการเก็บเกีย่ วดังรู ปที่ 5.1-3

รายงานฉบับสุดท้าย 5-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วิธีด้ งั เดิม ใช้เครื่องจักรกลเกษตร


ใช้แรงงานทั้งหมด แยกเป็ นขั้นตอนต่างๆ ดําเนินการทุกขั้นตอน เก็บเกีย่ วโดยไม่ตดั ต้น
พร้อมกัน
1. ตัดต้น 1. ตัดต้น โดยใช้เครื่องเกีย่ ววาง 1. ใช้เครื่องเกีย่ วนวด 1. ใช้เครื่องตีแยกเฉพาะ
ราย หรือแรงงานคน เมล็ดจากต้น
2. มัดเป็ นฟ่ อนตากแห้ง ถ้าหากใช้เครื่องเกีย่ วมัด ตัด
ฟ่ อนก็ขา้ มขั้นตอนที่ 2
3. ขนย้ายฟ่ อนออกจากไร่ 2. มัดเป็ นฟ่ อนโดยใช้ ลําเลียง ทําความสะอาด
นามาบริเวณลานนวด แรงงานคนแล้วตากแห้ง
4. นวดโดยใช้แรงงานสัตว์ 3. ขนย้ายฟ่ อนออกจากไร่นามา นวด บรรจุกระสอบ
หรือคน ไว้บริเวณลานนวด
5. แยก-ฝัดทําความสะอาด 4. นวดโดยใช้เครื่องนวดข้าว บรรจุกระสอบหรือถังเก็บ 2. ขนย้ายเมล็ดธัญพืชซึ่ง
รวบรวม บรรจุอยูใ่ นที่เก็บเรียบร้อย
6. ขนย้ายเมล็ดธัญพืชเพื่อ 5. ขนย้ายเมล็ดธัญพืชเพื่อเก็บ 2. ขนย้ายเมล็ดธัญพืชซึ่ง
เก็บหรือขาย หรือขาย บรรจุอยูใ่ นที่เก็บเรียบร้อย

รูปที่ 5.1-3 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วข้าวด้วยเครื่ องจักร


(ที่มา: http://203.158.253.5/wbi/Engineer/.htm#head0)

(1) เครื่องเกี่ยวนวด (Combine Harvester) เป็ นการเก็บเกีย่ วด้ว ยเครื่ องจักรขนาดใหญ่ที่ผลิต


ในประเทศไทย ในลักษณะเกีย่ วนวด (Combine) โดยเครื่ องจะเกีย่ วต้นข้า วส่ งให้ใบมีด ตัด แล้ว ลํา เลียง
ขึ้ นไปสู่ ส่ว นที่ เป็ นเครื่ องนวด เมล็ด จะร่ ว งลงผ่า นตะแกรงแล้ว ออกจากเครื่ องโดยมีกระสอบรองรั บ
ส่วนฟางข้าวจะถูกพ่นออกทางด้านท้ายของเครื่ อง ฟางที่ผ่านเครื่ องเกีย่ วนวดจะถูกตี ให้ละเอียดก่อนพ่น
ออกจากเครื่ อง

รูปที่ 5.1-4 เครื่ องเกีย่ วนวดข้าว


(ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=376618)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2) เครื่ องเก็ บเกี่ ยวแบบวางราย (Reaper) ใช้สํา หรั บ พื้ นที่ ข นาดเล็ก ที่ ไม่ ส ะดวกและไม่
เหมาะสมในการใช้เครื่ องเกีย่ วนวดข้าว ซึ่งมีขนาดใหญ่เกษตรกรจึงเลือกใช้เครื่ องเกีย่ วข้า ววางราย ซึ่ งมี
ขนาดเล็กใช้เครื่ องยนต์เบนซินเป็ นต้นก ําลัง และทํางานได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพสู งสุ ด เมื่อใช้เกีย่ วข้า วตั้ง
ตรงและใช้ไม่ได้เลยเมื่อต้นข้าวล้มติดดิน ข้อมูลจากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ การทํางานของเครื่ องเกีย่ ววางราย จะทํา หน้า ที่ ต ัด เพียงอย่า งเดี ยว หลังจากตัด เสร็ จ แล้ว
ต้นพืชจะถูกลําเลียงออกทางด้านขวาของเครื่ อง โดยจะวางเป็ นแถวอย่า งต่ อเนื่ องกนั ในการตัด สามารถ
ปรับระดับความสูง - ตํ่า ได้ ซึ่ งเครื่ องเกีย่ วแบบวางรายนี้ มีท้ งั แบบที่ มีเครื่ องต้นกาํ ลังในตัว และแบบ
ติดตั้งร่ วมก ับรถไถเดินตาม
ส่วนประกอบที่สาํ คัญ
- ส่ ว นหน้า หรื อส่ ว นหัว แบ่ ง ( Header Divider ) เป็ นส่ ว นแรกที่ สัมผัสกบั ต้นข้า ว ทํา
หน้าที่แยกต้นข้าวให้เข้าตามช่อง และช่ว ยยกต้นข้า วให้ต้ ังขึ้ น นอกจากนี้ ส่ว นบนของ
หัวแบ่งยังมีลอ้ ดาว ( Star wheel guide ) ช่วยพยุงส่วนบนของต้นพืชเข้า ด้า นใน เพื่อให้
เหมาะสมต่อการตัด
- ส่วนที่ทาํ หน้าที่ตดั เป็ นแบบใบมีดเลื่อนไปมา ( Cutter bar )
- ส่วนที่ทาํ หน้าที่ลาํ เลียง เป็ นแบบโซ่ลาํ เลียง ( Chain conveyer ) โดยจะลํา เลียงต้นพืชที่
ถูกตัดแล้วออกทางด้านขวาของเครื่ อง
ข้อมูลจําเพาะบางประการของเครื่ องเกีย่ ววางราย
- นํ้าหนัก (รวมเครื่ องยนต์ ) 121 กิโลกรัม
- ความสูงของต้นพืชที่เกีย่ วได้ 30 - 120 เซนติเมตร
- ความสามารถในการทํา งาน 1.5 - 2.1 ไร่ /ชัว่ โมง (ขึ้ นอยู่ก บั สภาพพื้นที่ และความ
ชํานาญของผูใ้ ช้)
- การสิ้นเปลืองนํ้ามันเชื้อเพลิง 0.75 ลิตร/ชัว่ โมง ( ทํางานปกติ )
- สามารถใช้ก ับพืชล้มได้ พืชล้มไม่เกิน 60 องศา จากแนวตั้ง
- ระยะความสูงของการเกีย่ ว 5 - 35 เซนติเมตร
- ความกว้างของการเกีย่ ว 120 เซนติเมตร

รายงานฉบับสุดท้าย 5-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.1-5 เครื่ องเกีย่ ววางราย


(ที่มา: http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-93/index93-2.html)

(3) เครื่องเก็บเกี่ยวแบบมัดฟ่ อน (Binder) เป็ นชนิดขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ต้นข้า วที่ เกีย่ วแล้ว จะ


ถูกมัดฟ่ อนขนาด 1-2 กิโลกรัม/ฟ่ อน และถูกทิ้งออกไปข้าง ๆ มีลกั ษณะโครงสร้างของเครื่ อง ดังนี้
- หัวแบ่ง (Divider) จะอยูห่ น้าสุดทําหน้าที่แบ่งต้นข้าวเพื่อเตรี ยมที่จะตัด
- ใบมีด (Cutter Bar) จะเป็ นใบมีดแบบฟันสลับ
- ตัวดึง (Protector) ทําหน้าที่ดึงต้นข้าวที่ถูกตัดแล้วเพื่อจะนําไปมัดฟ่ อนต่อไป
- อุปกรณ์ สํา หรั บมัด ฟ่ อน (Binding จะใช้เชื อกมัด ฟ่ อนข้า ว ซึ่ งทํา ด้ว ยใยสังเคราะห์
หลังจากมัดฟ่ อนแล้วใบมีดจะตัดเชือก และทิ้งฟ่ อนข้าวลงบนพื้นดิน
เครื่ องเกีย่ วมัดฟ่ อนไม่เป็ นที่นิยมในประเทศไทยเพราะมีสาเหตุ เกีย่ วกบั การใช้อยู่ห ลายประการ
ซึ่งยังไม่เหมาะสมก ับสภาพ ของบ้านเรา ปั ญหาเหล่านี้พอสรุ ปได้ดงั นี้
- ราคาสูงเมื่อเทียบก ับประสิทธิภาพในการทํางาน เครื่ องมือชนิดนี้มีความสามารถในการ
ทํางานได้วนั ละประมาณ 2 ไร่
- เครื่ องมือชนิดนี้ทาํ งานได้ดีในสภาพพื้นดินค่อนข้างแห้งหรื อแห้ง
- ส่วนใหญ่ใช้ก ับนาดํา ซึ่งมีการปลูกแบบเป็ นแถวเป็ นแนว
- ความสูงของการตัดเมื่อวัดจากโคนต้นมีระยะตํ่า เกินไป เครื่ องมือชนิ ด นี้ สามารถปรับ
ให้ตดั ต้นข้าวได้เพียง 8-15 ซ.ม. จากโคนต้น เมื่อนํา มาตัด ข้า วของเกษตรกรบ้า นเราจะ
ทําให้ได้ฟ่อนข้าวยาวเกินไป ซึ่งมีปัญหาในการนวด โดยเฉพาะใช้กบั เครื่ องนวด แบบ
ไหลตามแกน (Axial Flow) แล้ว จะทํา ให้เครื่ องนวดมีประสิ ทธิ ภาพในการทํา งานตํ่า
การสูญเสียสูง
- อุปกรณ์เกีย่ วก ับการมัดฟ่ อนมีราคาสูงซึ่งจะต้องนําเข้าจากต่างประเทศ
- เกษตรกรขาดการเรี ยนรู ้เกีย่ วก ับการใช้การบํารุ งรักษาที่ดีพอ

รายงานฉบับสุดท้าย 5-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.1-6 เครื่ องเกีย่ วข้าวแบบมัดฟ่ อน


(ที่มา: http://203.158.253.5/wbi/Engineer/data/pict201.htm)

5.1.3.2 การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคน
การเก็บเกีย่ วด้ว ยแรงคน โดยใช้แ รงงานในครอบครัว ถ้า เป็ นที่ นาขนาดใหญ่ก จ็ ะมีก ารจ้า ง
แรงงานเพิม่ เติม ในสมัยก่อนชาวนาในพื้นที่ เดี ยวกนั จะหมุนเวียนการเก็บเกีย่ วโดยช่ ว ยแรงงานซึ่ งกนั
และก ัน เรี ยกว่าการ “ลงแขก” สามารถแบ่งได้เป็ น 2 วิธี ได้แก่
(1) การเก็บเกี่ยวด้วยเคียว ในการเก็บเกีย่ วใช้เคี ยวตัด คอรวบสู งจากพื้นดิ นประมาณ 40 - 50
ซม. แล้ว วางเรี ยงรายตากไว้ในนา เรี ย กว่า เกีย่ ววางราย หรื อเกีย่ วแล้ว มัด เป็ นฟ่ อน ขนาดเส้นผ่า น
ศูนย์กลางประมาณ 6 - 8 นิ้ว วางตากไว้ในนา เรี ยกว่า เกีย่ วมัด ฟ่ อน ข้า วที่ เกีย่ วด้ว ยเคี ยวจะตากไว้ 2 - 3
วัน ก่อนขนไปนวด ในสมัยก่อนใช้แรงคนจับฟ่ อนข้าวตี บนไม้กระดานหรื อในภาชนะที่ สานด้ว ยไม้ไผ่
ขนาดใหญ่หรื อกองฟ่ อนข้าวเป็ นวงกลมแล้วนวดด้วยแรงสัตว์หรื อรถแทรคเตอร์ แต่ ในปั จ จุ บันนี้ เครื่ อง
นวดรับจ้างโดยเครื่ องนวดจะแยกเมล็ดออกจากฟ่ อนข้าวแล้วพ่นฟางออกทิ้งไปกองไว้ ด้า นหลังเป็ นฟาง
ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้

รูปที่ 5.1-7 การเกีย่ วข้าวด้วยเคียว


(ที่มา: http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/1/1_2_1_1.htm)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2) การเก็ บเกี่ย วด้ วยแกะ เป็ นการเก็บเกีย่ วด้ว ยแรงคนมี การใช้เ ฉพาะในภาคใต้ต อนล่า ง
ลักษณะของแกะเป็ นใบมีดโค้ง มีดา้ มโผล่ออกด้า นข้า งทั้ง 2 ด้า นชาวนาจะจับแกะด้ว ยมือข้า งถนัด ข้า ง
เดียวตัดเอาเฉพาะรวงข้าวแล้วมัดรวมก ัน เรี ยกว่า เลียง ขนาด 1.5 - 2 กก. ตากเลียงข้า วไว้ในนา 2 - 3 วัน
ก่อนนําเข้าไปเก็บในยุง่ ฉางโดยไม่มีการนวด เมื่อชาวนาต้องการใช้ฟางก็จะไปเกีย่ วเอาภายหลังและเป็ น
ฟางที่มีความยาวมากกว่าฟางข้าวที่เกีย่ วด้วยเคียว

รูปที่ 5.1-8 การเกีย่ วข้าวด้วยแกะ


(ที่มา: http://www.oknation.net/blog/pajondotcom/2010/03/01/entry-1)

ต้นข้าว

การเก็บเกีย่ วด้วยเครือ่ งจักร การเก็บเกีย่ วด้วยแรงคน

เครื่องเกีย่ วนวด เครื่องเกีย่ ววางราย/ การเกีย่ วด้วยเคียว การเกีย่ วด้วยแกะ


เครื่องเกีย่ วมัดฟ่อน
ข้าวเปลือก ตาก 2-3 วัน รวงข้าว เกีย่ ว
ฟางข้าว นวด
นวด ตาก 2-3 วัน ฟางข้าว

ข้าวเปลือก ฟางข้าว
ข้าวเปลือก ฟางข้าว

รูปที่ 5.1-9 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วข้าว

รายงานฉบับสุดท้าย 5-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

การนําฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิ ชย์จาํ เป็ นต้องพิจารณาถึงวิธีการเก็บเกีย่ วที่ เหมาะสม


และด้านปริ มาณและความสะดวกในการเก็บรวบรวมฟางข้าว เมื่อพิจ ารณาความเหมาะสมด้า นการเก็บ
เกีย่ ว พบว่า การเก็บเกีย่ วข้าวเครื่ องจักรจะมีความเหมาะสมกว่า วิธีอื่น เนื่ องจากสามารถให้ปริ มาณฟาง
ข้าวสูงและสะดวกต่อการจัดเก็บและการขนส่ง

5.1.4 การเก็บรักษา

ปั จจุบนั การเก็บรักษาฟางข้าวของเกษตรกรรมมักขึ้นอยูก่ ับการนําไปใช้ประโยชน์ เช่ น ในธุ รกิจ


จําหน่ายฟางข้า วจะนํา มาอัด เป็ นกอ้ นด้ว ยเครื่ องอัด ฟางข้า วเพื่อสะดวกต่ อการจัด เก็บและขนส่ ง หาก
นํา ไปเลี้ ย งสัต ว์เ กษตรกรมัก นํา มากองเก็บ ในที่ โ ล่ ง แจ้ง หรื อ บริ เ วณพื้ น ที่ เ ลี้ ย งสัต ว์โ ดยส่ ว นใหญ่
เกษตรกรนิยมทิ้งฟางข้าวในนาหลังจากเก็บเกีย่ วโดยจะไถ่กลบเพื่อเป็ นปุ๋ ยต่อไป

รูปที่ 5.1-10 เครื่ องอัดฟางข้าว


(ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=7955)

เครื่ องอัดฟางข้าว ที่คิดและประดิ ษฐ์โดยนายสันต์ อารยางค์กูร ชาวบ้า นบ้า นเลขที่ 613 หมู่ 3
อําเภอศรี ประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยดัด แปลงจากเครื่ องอัด หญ้า สํา หรับเลี้ยงวัว
มาเป็ นเครื่ องจักรกลที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ สะดวกและเหมาะสมกบั การใช้แ ละเคลื่อนย้า ยเครื่ องอัด ฟาง
ข้าวเป็ นเครื่ องจักรกลที่ทาํ ด้วยเหล็กอาศัยพลังงานจากเครื่ องยนต์ขนาด 5 แรงม้า ทํางานโดยอาศัยการฉุ ด
ลากของสายพานจากเครื่ องยนต์มายังเครื่ องจักร ส่ ว นล้อ ข้อเหวี่ยง และสายพานลูกโซ่ ลักษณะของ
เครื่ องอัดฟาง เป็ นรถล้อเลื่อน 4 ล้อ โดยใช้ยางรถยนต์ขนาดกลาง เคลื่อนที่ ได้ด ้ว ยการลากจู งจากแรงคน
หรื อรถยนต์ มีขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.30 เมตร โดยแบ่งเป็ น 3 ส่วน ส่ ว นที่ 1 เป็ นแท่ น
วางเครื่ องยนต์ ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ส่ ว นที่ 2 เป็ นตัว เครื่ องอัด ฟางยาวประมาณ 2.70 เมตร มี 2
ตอน ตอนแรกคือส่วนที่เป็ นเครื่ องจักรกล ได้แก่ สายพานลูกโซ่ ข้อเหวี่ยง วงล้อ ที่ จ ะส่ งกาํ ลังไปยังแผ่น

รายงานฉบับสุดท้าย 5-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

อัด และแขนสํา หรั บกดฟางข้า ว ตอนที่ 2 คื อส่ ว นที่ เ ป็ นรางอัด ฟางข้า ว กว้า ง 40 เซนติ เมตร ลึก 40
เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.20 เมตร มีแ ขนสํา หรับอัด ฟางข้า วลงสู่ ราง และแผ่นอัด ซึ่ งอยู่ในราง จะอัด
ฟางข้าวให้แน่น ส่วนที่ 3 คือส่วนที่ รางรองรับฟางข้า วที่ อดั เป็ นท่ อนแล้ว และไหลออกมาจากรางยาว
ประมาณ 2 เมตร ฟ่ อนฟางข้าวจะมีลกั ษณะเป็ นลูกบาศก์
การใช้ประโยชน์จากฟางข้าวในเชิงพาณิ ชย์ยงั มีอยู่น้อย เกษตรกรมักใช้ประโยชน์จ ากฟางข้า ว
เป็ นอาหารสัตว์ วัสดุคลุมดิน และทําปุ๋ ยหมัก ทํา ให้การเก็บรักษาฟางข้า วยังไม่เป็ นระบบเนื่ องจากการ
เก็บรักษาต้องมีตน้ ทุน เช่น การขนส่ง การอัด กอ้ น และต้องใช้พ้ืนที่ ในการจัด เก็บจํา นวนมาก อีกทั้งยัง
ขาดการจัดการด้านการเก็บรักษาให้ฟางข้าว
ดังนั้นการเก็บรักษาฟางข้าวเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิ งพาณิ ชย์จ ํา เป็ นต้องมีการจัด การที่ เหมาะสม
โดยจัดเก็บในบริ เวณที่มีหลังคา มีร้ วั กน้ ั บริ เวณพื้นที่จดั เก็บ อากาศถ่ายเทได้สะดวก บริ เวณพื้นที่ ว างฟาง
ข้าวต้องไม่เปี ยกชื้น ไม่มีน้ าํ ขัง โดยปรับระดับพื้นให้สามารถระบายนํ้า ได้ดี มีถนนทางเข้า -ออก สะดวก
ต่อการขนส่ง

5.1.5 การขนส่ ง

การขนส่งฟางข้าวจากพื้นที่เพาะปลูกไปใช้ประโยชน์ในภาคอุต สาหกรรมต้องพิจ ารณาต้นทุ น


ของการขนส่ง โดยการขนส่ งแต่ ละครั้งต้องมีค วามคุ ้มค่ า ทางด้า นเศษฐศาสตร์ ซ่ ึ งแปรผันด้ว ยปริ มาณ
และระยะทางที่ใช้ในการขนส่ง การจัดการฟางข้าวต้องพิจารณาพร้อมไปกบั การจัด เก็บ ทํา เลที่ ต้ งั พื้นที่
เก็บฟางข้าว ตําแหน่งที่ต้ งั ตําแหน่งโรงงานอุตสาหกรรม เป็ นต้น
ปั จจุบนั การขนส่งฟางข้าวเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ยงั มีอยู่น้อย การขนส่ งฟางข้า วของเกษตรกร
เป็ นการเคลื่อนย้ายจากนาไปยังพื้นที่เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็ นอาหาร พื้นที่การเกษตรเพื่อใช้ปกคลุมดิ นหรื อเป็ น
ปุ๋ ยหมัก การขนส่งยังคงเป็ นยานพาหนะขนาดเล็ก เช่น รถลาก รถยนต์ รถบรรทุ ก เป็ นต้น โดยราคาขาย
ฟางอัดก ้อนจากมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ราคาชีวมวล กรกฎาคมถึงธันวาคม 2550 ประมาณตันละ
1,500-2,000 บาท (ที่มา: http://efe.or.th/home.php)
เมื่อพิจาณาถึงความเหมาะสมในการขนส่ งฟางข้า ว พบว่า การขนส่ งทางบกมีค วามเหมาะสม
ที่สุด เนื่องจากปั จจุบนั ภาครัฐ ได้พฒั นาโครงข่ า ยถนนเพื่อรองรับการขนส่ งผลผลิต ทาง การเกษตรได้
อย่างทัว่ ถึง ทําให้การขนส่งทางถนนมีค วามสะดวกทั้งในด้า นการเข้า ถึงพื้นที่ การเพาะปลูกข้า ว และมี
ความคุม้ ค่าทางด้านเศรษฐกิจ

รายงานฉบับสุดท้าย 5-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5.1.6 ข้อดี และปัญหาอุปสรรค

ข้อดี ปัญหาอุปสรรค
- มีฟางข้าวเหลืออีกส่วนหนึ่ งที่ ยงั ไม่ได้นํา ไปใช้ - รวบรวมได้ย ากถ้า ใช้แ รงคนเพราะอยู่กระจัด
งานประมาณร้อยละ 69 ของปริ มาณฟางข้า วที่ กระจายต้องใช้เครื่ องทุ่ นแรง (Straw baler) มา
เกิด ขึ้ นทั้ง หมด (ที่ ม า: กรมพัฒ นาพลัง งาน ช่วยในการรวบรวม
ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552) - นาที่ลุ่มไม่สามารถใช้ประโยชน์จ ากฟางข้า วได้
- ลดมลภาวะจากการเผาฟางข้าว เนื่องจากหลังการเก็บเกีย่ วฟางที่ ถูกพ่นออกมา
- เพิ่มรายได้ให้ก ับเกษตรกรจากการขายฟางข้าว จะเปี ยกนํ้า
- การจั ด เก็บ และการขนส่ ง ต้ อ งมี ร ะบบการ
จัดการที่ดี

5.2 ซังข้าวโพด

ซังข้าวโพด (Corn cob) หมายถึง ฝักข้าวโพดที่กะเทาะเปลือกและเมล็ด ออกแล้ว ดังรู ปที่ 5.2-1


ส่วนใหญ่เป็ นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลําต้นจะถูกตัดหลังจากการเก็บเกีย่ ว ซังข้าวโพดมีประโยชน์ห ลายอย่า ง
เช่น นําไปเป็ นวัตถุดิบผลิต แอลกอฮอล์ เป็ นเชื้ อเพลิง ผสมกบั โมลาส เพื่อเลี้ยงสัต ว์เป็ นต้น ส่ ว นลํา ต้น
นําไปเลี้ยงสัตว์ได้เช่นก ัน

รูปที่ 5.2-1 ข้าวโพดและซังข้าวโพด


(ที่มา:http://www.efe.or.th/home.php?ds=preview&back=content&mid=hGtTu8zx7jWvD4by&doc=B
gqtvz94LrZj7Hf2)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5.2.1 พืน้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพด

พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในปี 2552 มีจาํ นวน 6.52 ล้านไร่ ให้ผลผลิต ข้า วโพด 4.25 ล้า นตัน และ
เกิด ซัง ข้า วโพด 0.69 ล้า นตันดัง ตารางที่ 5.2-1 ภาคเหนื อ ให้ ผลผลิ ต มากที่ สุ ด รองลงมาเป็ นภาค
ตะวันออกเฉี ยงเหนือ และภาคกลาง ขณะที่ภาคใต้มีผลผลิต ข้า วโพดน้อยมากดังรู ปที่ 5.2-2 จังหวัด ที่ มี
ผลผลิ ต ข้า วโพด และปริ ม าณซัง ข้ า วโพดมากที่ สุ ด 5 จัง หวัด ได้แ ก่ เพชรบู ร ณ์ รองลงมา เป็ น
นครราชสีมา เลย น่าน และตาก ตามลําดับ

รายงานฉบับสุดท้าย 5-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.2-2 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด


(ที่มา: ข้อมูลพื้นฐานเศรฐกิจ การเกษตร สํานักงานเศรฐกิจ การเกษตร, 2552)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5.2.2 ปริมาณซังข้าวโพด

ซังข้าวโพดได้จากการสี ข ้าวโพดเพื่อนําเมล็ดมาใช้งาน ส่ วนใหญ่เป็ นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในส่ วน


ของลําต้นจะถูกตัดหลังจากการเก็บเกีย่ ว สําหรับปริ มาณผลผลิตข้าวโพดพบว่า แปลงข้าวโพดที่ ได้รับผลผลิต
เมล็ดข้าวโพด 1,000 กิโลกรัม จะมีปริ มาณซังข้าวโพดนํ้าหนัก 190 กิโลกรัม หรื อคิ ดเป็ นร้อยละ 19 ของ
นํ้าหนัก (ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552)
จากข้อมูลกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุ รักษ์พลังงาน ปี 2552 มีปริ มาณซังข้า วโพดที่
เกิดขื้นทั้งหมดประมาณ 0.80 ล้านตัน ปริ มาณซังข้า วโพดที่ นํา ไปใช้ประโยชน์ประมาณ 0.34 ล้า นตัน
และปริ มาณซังข้าวโพดคงเหลือที่ยงั ไม่ได้นาํ มาใช้งานประมาณ 0.47 ล้านตัน

ตารางที่ 5.2-1 ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพด ซังข้าวโพด


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 6,517,662 4,249,354 691,990
1 เหนือ 4,081,909 2,777,243 436,406
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 1,505,593 877,698 125,868
3 กลาง 930,160 594,413 129,716
4 ใต้ - - -
จังหวัด
1 เชียงราย 423,018 297,374 56,204
2 พะเยา 216,784 149,617 28,278
3 ลําปาง 63,067 45,131 8,530
4 ลําพูน 75,632 52,189 9,864
5 เชียงใหม่ 105,022 69,374 13,112
6 แม่ฮ่องสอน 6,075 3,203 605
7 ตาก 444,957 286,596 54,167
8 ก ําแพงเพชร 173,125 120,481 22,771
9 สุโขทัย 69,162 44,640 8,437
10 แพร่ 140,006 86,000 16,254

รายงานฉบับสุดท้าย 5-19
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.2-1 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพด ซังข้าวโพด


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
11 น่าน 458,027 310,727 58,727
12 อุตรดิตถ์ 105,684 68,360 12,920
13 พิษณุ โลก 245,789 169,842 32,100
14 พิจิตร 44,104 31,280 5,912
15 นครสวรรค์ 376,771 259,597 49,064
16 อุทยั ธานี 180,124 125,689 23,755
17 เพชรบูรณ์ 954,562 657,143 124,200
18 เลย 532,299 296,471 56,033
19 หนองบัวลําภู 55,556 32,815 6,202
20 อุดรธานี 16,616 9,085 1,717
21 หนองคาย 3,962 2,155 407
22 อุบลราชธานี 4,574 3,189 603
23 ศรี สะเกษ 74,614 46,575 8,803
24 บุรีรัมย์ 435 266 50
25 ขอนแก่น 6,716 3,970 750
26 ชัยภูมิ 111,717 66,644 12,596
27 นครราชสีมา 699,104 416,528 78,724
28 สระบุรี 149,247 98,106 18,542
29 ลพบุรี 379,703 238,334 45,045
30 ชัยนาท 13,299 7,899 1,493
31 สุพรรณบุรี 60,059 37,644 7,115
32 ปราจีนบุรี 8,406 5,555 1,050
33 ฉะเชิงเทรา 16,520 10,828 2,046
34 สระแก ้ว 181,118 121,642 22,990
35 จันทบุรี 30,119 18,814 3,556
36 ชลบุรี 1,165 724 137

รายงานฉบับสุดท้าย 5-20
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.2-1 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตข้าวโพด และซังข้าวโพดเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพด ซังข้าวโพด


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
37 กาญจนบุรี 78,586 47,827 9,039
38 ราชบุรี 7,223 4,359 824
39 เพชรบุรี 2,556 1,432 271
40 ประจวบคีรีขนั ธ์ 2,159 1,249 236
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

5.2.3 การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกีย่ วข้าวโพดในประเทศไทยมี 2 วิธี คื อการเกีย่ วด้ว ยเครื่ องจักร และด้ว ยวิธีใช้แ รงคน
โดยมีข้ นั ตอนการเก็บเกีย่ ว ดังรู ปที่ 5.2-3

ข้าวโพด

เครื่องเกีย่ วนวด การเก็บเกีย่ วด้วยแรงคน

เกีย่ วนวด หักฝกั ออกจากต้น

แกะเปลือกหุ้มฝกั
เมล็ด ซังข้าวโพด
ตากในโรงเรือน

กะเทาะเมล็ด

เมล็ด ซังข้าวโพด

รูปที่ 5.2-3 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วข้าวโพด

รายงานฉบับสุดท้าย 5-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5.2.3.1 การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร
การเก็บเกีย่ วด้วยเครื่ องจักร นิยมจ้างรถเก็บเกีย่ วแบบเครื่ องเกีย่ วนวดชนิ ด ขับเคลื่อนด้ว ยตนเอง
(Combine Harvester) มาเก็บเกีย่ วข้าวโพด เครื่ องชนิดนี้มีหัวเกีย่ วที่ สามารถเก็บเกีย่ วข้า วโพดได้ค รั้งละ
4 แถว ฝักข้าวโพดที่ถูกปลิด จะถูกลํา เลียงด้ว ยชุ ด ลํา เลียงไปสู่ ระบบนวด เพื่อนวดเมล็ด ให้ออกจากฝั ก
จากนั้นเมล็ดจะถูกลําเลียงไปเก็บไว้ในถังเก็บ เมื่อเต็มถังจะถูกถ่ายไปยังรถบรรทุ กที่ รออยู่ข ้า งแปลง จาก
การทดสอบ พบว่า ชุดเก็บเกีย่ วข้าวโพดสามารถทํางานได้ดี มาก แต่ เนื่ องจากตัวถังมีขนาดใหญ่ (นํ้าหนัก
ประมาณ 10 ตัน) จึงไม่เหมาะก ับแปลงที่มีขนาดเล็ก และในฤดูเก็บเกีย่ วดินยังมีค วามชื้ นอยู่ ทํา ให้ติ ด หล่ม
ทํางานไม่สะดวก อีกทั้งการขนย้ายเครื่ องไปทํางานในท้องที่ต่า งๆ ไม่ค ล่องตัว นอกจากนี้ การที่ เมล็ด ยัง
มีความชื้นสูงถ้าหากไม่สามารถลดความชื้นให้อยูใ่ นระดับที่ปลอดภัยได้ทนั ก็จะทําให้เมล็ดเน่าเสียง่าย
ระยะที่เหมาะสมสําหรับการเก็บเกีย่ วข้าวโพดด้ว ยเครื่ องเกีย่ วนวด คื อ เมื่อข้า วโพดมีค วามชื้ น
ประมาณ 21-28% การเก็บเกีย่ วข้าวโพดที่มีความชื้นสูงกว่าจะสิ้นเปลืองพลังงานในการลดความชื้ นมาก
แต่ถา้ เก็บเกีย่ วช้าเกินไปจะมีความเสียหายในแปลงเนื่องจากต้นล้ม

(ก)แบบใช้ราวใบมีดตัดทั้งต้น (ข) แบบใช้หัวปลิดเฉพาะฝัก

รูปที่ 5.2-4 เครื่ องเกีย่ วนวดข้าวโพด


(ที่มา : http://kasetinfo.arda.or.th/north/machine/machine_6.PDF)

นอกจากนี้ยงั มีเครื่ องเก็บเกีย่ วแบบปลิด ฝั กข้า วโพด (Corn Snapper) แบบปลิด แลรู ด เปลือกหุ ้ม
ฝักข้าวโพด (Corn Picker-Husker) ซึ่งมีขนาดเล็กสามารถเก็บเกีย่ วได้ครั้งละ 1-2 แถว

รายงานฉบับสุดท้าย 5-22
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.2-5 เครื่ องปลิดฝั กข้าวโพด


(ที่มา : http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=37)
5.2.3.2 การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคน โดยจะใช้ไม้ปลายแหลมกรี ดปลอกเปลือก แล้ว หักฝั กข้า วโพด
โยนกองรวมก ันไว้บนพื้นดินหรื อในเข่ง จากนั้นจึงเทรวมใส่กระสอบแล้ว ขนเข้า ไปกองรวมกนั ไว้ในยุง้
หรื อบริ เวณใกล้เคียงโดยไม่มีการจัดการใดๆ ทั้งสิ้น
(1) การปฏิบตั หิ ลังการเก็บเกี่ยว
(1.1) ระดับเกษตรกร ตากฝักข้าวโพดบนลานซีเมนต์ที่แห้งและสะอาด มีแ สงแดดจัด 2 - 3
วัน เพื่อให้ฝักข้าวโพดมีค วามชื้ นในเมล็ด ตํ่า กว่า 23% และควรเก็บฝั กข้า วโพดไว้ในยุง้ ฉางที่ มีห ลังคา
และถ่ายเทอากาศได้ดี

รูปที่ 5.2-6 การตากฝักข้าวโพด


(ที่มา : http://www.ข้าวโพด.co.cc/2011_03_01_archive.html)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-23
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.2-7การเก็บข้าวโพดในยุง้ ฉาง


(ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/pandin/226467)

(1.2) ระดับพ่อค้าท้องถิ่น กะเทาะฝักข้าวโพดที่ มีค วามชื้ นในเมล็ด ตํ่า กว่า 26% ด้ว ยเครื่ อง
กะเทาะที่มคี วามเร็ ว รอบ 8 – 12 รอบต่ อวินาที ห ลังการกะเทาะแล้ว ต้องลดความชื้ นเมล็ด ข้า วโพดให้
เหลือประมาณ 15% โดยการตากเมล็ดบนลานซีเมนต์ที่แห้งและสะอาด มีแ สงแดดจัด 1 - 2 วัน และควร
ทําการกลับเมล็ดทุกครึ่ งชัว่ โมง

รูปที่ 5.2-8 เครื่ องกะเทาะเมล็ดข้าวโพด


(ที่มา : http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=37)

(2) การแยกเมล็ดจากฝัก
ปั จจุบนั การสีขา้ วโพดจะใช้เครื่ องจักรที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามไร่ ขา้ วโพด ดังนั้นจะสามารถ
หาซังข้าวโพดและต้นข้าวโพดได้ตามไร่ ขา้ วโพดทัว่ ไป
(3) กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดซังข้าวโพด
ขั้นตอนการผลิต เริ่ มต้นจากรับซื้ อ ข้า วโพดเลี้ยงสัต ว์จ ากเกษตรกรที่ ปลูกและนํา มาจํา หน่ า ย
ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ฝักข้าวโพดจะแก่จ ัด และเก็บเกีย่ วได้เมื่อเปลือกหุ ้มฝั ก
เริ่ มมีสีฟาง ทางที่ดีควรปล่อยข้าวโพดทิ้งไว้ในแปลงให้แ ห้งดี เสี ยก่อน โดยเฉลี่ยแล้ว ข้า วโพดไร่ พนั ธุ์ที่

รายงานฉบับสุดท้าย 5-24
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ใช้ปลูกอยู่ในประเทศไทย มีอายุต้ งั แต่ ปลูกถึงเก็บเกีย่ วประมาณ 90-120 วัน ในการเก็บเกีย่ วข้า วโพด
ชาวไร่ ทวั่ ไปยังใช้แรงคนเก็บโดยหักฝักที่แห้งแล้วออกจากต้น แกะเปลือกหุ ้มฝั กออกหรื อจะเอาไว้แ กะ
เปลือกที ห ลังก็ได้ การใช้เครื่ องทุ่ นแรงเก็บเกีย่ วข้า วโพดยังมีน้อยมากในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่ องจาก
เครื่ องมือมีราคาแพงและมีประสิทธิภาพในการทํางานตํ่า เพราะพันธุ์ที่ชาวไร่ ปลูกมีค วามสู งของลํา ต้น
และฝักไม่เท่าก ันนอกจากนั้นต้นยังหักล้มมากอีกด้วย หลังจากเก็บฝั กข้า วโพดและปอกเปลือกออก เมื่อ
ฝักข้าวโพดแห้งดีแล้ว จากนั้นนําข้า วโพดที่ เป็ นฝั กเข้า เครื่ องจักรเพื่อทํา การคัด แยกเมล็ด ข้า วโพดออก
จากแกนหรื อซัง เมล็ดที่ได้จะส่งต่อเข้าเครื่ องอบแห้งให้ความชื้นลดลงเหลือประมาณ 14% จากนั้นเมล็ด
ของข้า วโพดที่ อบแห้งแล้ว จะถูกส่ งไปยังโรงงานผลิต อาหารสัต ว์ เพื่อใช้เป็ นส่ ว นผสมของการผลิต
อาหารสัตว์ต่อไป
การดํา เนิ น การทํา อาหารสัต ว์ข้ ันแรก คื อ การรับ และตรวจวัส ดุ อ าหารที่ จ ะซื้ อมาใช้เ ป็ น
ส่วนผสมของอาหารอาจบรรจุในถุงเรี ยบร้อยแล้ว หรื อขนส่งถึงผูท้ ี่จะทําอาหารโดยใส่ในภาชนะลํา เลียง
ขนาดต่างๆก ัน ปริ มาณของวัสดุอาหารที่จดั จําหน่ายส่งถึงผูท้ ี่จะทําอาหารก็ แตกต่างก ันไปแล้ว แต่ ข นาด
ของธุรกิจการดําเนินการ

5.2.4 การเก็บรักษา

การเก็บรักษาซังข้าวโพดของเกษตรกรปั จจุบนั มักกองไว้ในที่ โล่งแจ้งขาดการจัด การที่ ดี ทํา ให้


ซังข้าวโพดเสียหาย และหากฝนตกหรื อพื้นที่กองมีน้ ํา ขังอาจทํา ให้เน่ า เสี ยไปโดยไม่กอ่ ประโยชน์ และ
ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท้ งั ในด้านก่อให้เกิดนํ้าเสียและส่งกลิ่นเหม็น
ดังนั้น หากต้องการใช้ประโยชน์เชิงพาณิ ชย์จากซังข้าวโพด จําเป็ นต้องมีการจัดการ ที่ เหมาะสม
โดยต้องจัดเก็บในบริ เวณที่ มีห ลังคา มีร้ ัว กน้ ั บริ เวณพื้นที่ จ ัด เก็บ อากาศถ่า ยเทได้สะดวก บริ เวณพื้นที่
จัด เก็บต้องไม่เปี ยกชื้ น ไม่มี น้ าํ ขัง โดยปรับระดับพื้ นให้ส ามารถระบายนํ้า ได้ดี มีถนนทางเข้า -ออก
สะดวกต่อการขนส่ง

5.2.5 การขนส่ ง

ปั จจุบนั การใช้ประโยชน์จากซังข้าวโพดยังมีอยูน่ อ้ ย การขนส่งซังข้าวโพดของเกษตรกรมักเป็ น


การเคลื่อนย้ายจากแปลงหรื อโรงสีไปยังพื้นที่ เลี้ยงสัต ว์เพื่อเป็ นอาหารสัต ว์ พื้นที่ การเกษตรเพื่อใช้เป็ น
ปุ๋ ยหมัก การขนส่งยังคงเป็ นยานพาหนะขนาดเล็ก เช่น รถลาก รถยนต์รถบรรทุ ก เป็ นต้น ปั จ จุ บันราคา
ซังข้าวโพดจากมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ราคาชีวมวล ก.ค.-พ.ย. 2552 ประมาณตันละ 1,200 บาท
(ที่มา: http://efe.or.th/home.php)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-25
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วิธีการขนส่ง
- บรรจุเมล็ดข้าวโพดในกระสอบป่ านที่ สะอาด เย็บปากถุงด้วยเชือกฟาง
- รถบรรทุ กต้องสะอาดและเหมาะสมก ับปริ มาณข้าวโพด
- กรณี ข นส่ งในฤดู ฝน ต้องมีผา้ ใบคลุม เพื่ อป้ องกนั ไม่ใหฝั กข้า วโพดดู ด ความชื้ นจาก
ภายนอก
เมื่อพิจาณาถึงความเหมาะสมในการขนส่งซังข้าวโพด การขนส่ งทางบกมีค วามเหมาะสมที่ สุด
เนื่องจากปั จจุบนั การขนส่งทางบกมีค วามสะดวกทั้งในด้า นการเข้า ถึงพื้นที่ การเพาะปลูก และมีค วาม
คุม้ ค่าทางด้านเศรษฐกิจ

5.2.6 ข้อดี และปัญหาอุปสรรค

ข้อดี ปัญหาอุปสรรค
- มี ซั ง ข้ า วโพดเหลื อ อี ก ส่ ว นหนึ่ งที่ ย ัง ไม่ ไ ด้ - ซัง ข้า วโพดมี ค่ า ความร้ อนสู ง เมื่ อ เที ยบกบั ชี ว
นํา ไปใช้งานประมาณร้อยละ 58 ของปริ มาณ มวลอื่นๆ มีการนํา ไปใช้ประโยชน์ห ลายอย่า ง
ซังข้าวโพดที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ที่ มา: กรมพัฒนา ดัง นั้นต้อ งพิจ ารณาถึ งแหล่ งที่ มี การนํา ไปใช้
พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552) งานน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งก ันซื้อ
- เพิ่มมูลค่า และเพิ่มรายได้ให้ก ับเกษตรกร - นํ้าหนักเบาต้องใช้พ้ืนที่ในการเก็บรักษามาก

5.3 ชานอ้ อย

ชานอ้อย หมายถึง ส่วนของลํา ต้นอ้อยที่ หี บเอานํ้า อ้อยหรื อนํ้า ตาลออกแล้ว ดังรู ปที่ 5.3-1ส่ ว น
ใหญ่ใช้เป็ นเชื้อเพลิงเพื่อผลิต นํ้า ตาลดิ บประมาณ 80% ส่ ว นที่ เหลืออีก 20% นํา ไปเป็ นวัต ถุดิ บสํา หรับ
ผลิตกระดาษ และ MDF Board ประโยชน์และการนํา ไปใช้งานได้ห ลายอย่า ง ได้แ ก่ (ที่ มา: สารานุ กรม
ไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)
(1) ใช้เป็ นเชื้อเพลิง ส่ ว นใหญ่ใช้เป็ นเชื้ อเพลิงเพื่อผลิต นํ้า ตาลดิ บประมาณ 80% ส่ ว นที่ เหลือ
อีก 20% นําไปเป็ นวัตถุดิบสําหรับผลิตกระดาษ และ MDF Board
(2) สําหรับผลิตไอนํ้าและกระแสไฟฟ้ าสําหรับใช้ภายในโรงงานนํ้า ตาลเอง ชานอ้อยสามารถ
ใช้แ ทนนํ้า มันเชื้ อเพลิง (Fuel oil) ได้ดี ชานอ้อยที่ มีค วามชื้ น 50% หนัก 3 ตัน เมื่อเผาจะให้พลังงาน
ไล่เลี่ยก ับนํ้ามันเชื้อเพลิงหนัก 1 ตัน
(3) ใช้ผ ลิต วัสดุ ก อ่ สร้ า งโดยอาศัย กาว เช่ น อัด เป็ นแผ่ น (Particle board) ไม้อดั ผิว เส้นใย
(Fiber-overlaid plywood) และแผ่นก ันความร้อน (Insulating board) เป็ นต้น

รายงานฉบับสุดท้าย 5-26
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(4) ใช้ผลิตเยือ่ กระดาษ (Pulp) และกระดาษชนิดต่างๆ ชานอ้อยส่ ว นใหญ่ประกอบด้ว ยลิกนิ น


(Lignin) และมีเซลลูโลสอยูบ่ า้ งเล็กน้อย ไฟเบอร์ของชานอ้อยค่อนข้างสั้น คื อ มีค วามยาวเฉลี่ยเพียง 1.4
มิลลิเมตรเท่านั้น ในขณะที่เยือ่ ใยของไม้ไผ่มีความยาวเฉลี่ย 2.5-4.0 มิลลิเมตร

รูปที่ 5.3-1 ชานอ้อย


(ที่มา: สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)

5.3.1 พืน้ ที่เพาะปลูกอ้ อย

พื้น ที่ เ พาะปลู กอ้อ ยในปี 2552 มี จ ํา นวน 6.02 ล้า นไร่ ให้ผ ลผลิ ต อ้อย 66.82 ล้า นตัน และมี
ปริ มาณชานอ้อย 20.25 ล้านตันดังตารางที่ 5.3-1 ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือให้ผลผลิตมากที่ สุด รองลงมา
เป็ น ภาคกลาง และภาคเหนือ ขณะที่ภาคใต้มีผลผลิตอ้อยน้อยมากดังรู ปที่ 5.3-2
จังหวัดที่มีผลผลิตอ้อย และมีปริ มาณชานอ้อยมากที่ สุด 5 จังหวัด ได้แ ก่ กาญจนบุ รี รองลงมา
เป็ น นครสวรรค์ นครราชสีมา ก ําแพงเพชร และสุพรรณบุรี ตามลําดับ

5.3.2 ปริมาณชานอ้ อย

ชานอ้อยมีลกั ษณะเป็ นขุยได้จากการผลิตนํ้าตาลดิ บ โดยนําอ้อยมาคั้นนํ้าออกส่ วนที่ เป็ นนํ้านําไป


ผลิตเป็ นนํ้าตาลดิบ มีส่วนประกอบอย่างหยาบ ๆ โดยเฉลี่ยในการหี บอ้อย 1,000 กิโลกรัม ได้ปริ มาณชานอ้อย
ประมาณ 300 กิโลกรัม หรื อคิ ด เป็ น 30% ของนํ้า หนัก (ชานอ้อยมีค วามชื้ น 48%) โดยเฉลี่ยในการหี บ
อ้อย 1 ตันจะได้ส่วนประกอบหลักต่างๆดังนี้ (สํา นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคม
แห่ งชาติ, 2549)
(1) นํ้าตาล 105-110 กิโลกรัม
(2) นํ้า 500-510 กิโลกรัม

รายงานฉบับสุดท้าย 5-27
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(3) ชานอ้อย (ความชื้น 50-52%) 280-300 กิโลกรัม


(4) กากตะกอนหม้อกรอง (ความชื้น 70-72%) 28-40 กิโลกรัม
(5) กากนํ้าตาล 50-60 กิโลกรัม
จากข้อมูลกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุ รักษ์พลังงาน ปี 2552 มีปริ มาณชานอ้อยเกิด ขื้ น
ทั้งหมดประมาณ 20.25 ล้า นตัน ปริ มาณชานอ้อยที่ นํา ไปใช้ประโยชน์ประมาณ 16.40 ล้า นตัน และ
ปริ มาณชานอ้อยคงเหลือที่ยงั ไม่ได้นาํ มาใช้งานประมาณ 3.85 ล้านตัน

รายงานฉบับสุดท้าย 5-28
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.3-2 พื้นที่เพาะปลูกอ้อย


(ที่มา: ข้อมูลพื้นฐานเศรฐกิจ การเกษตร สํานักงานเศรฐกิจ การเกษตร, 2552)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-29
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.3-1 ปริ มาณผลผลิต อ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
รวมทั้งประเทศ 6,022,787 66,816,446 20,245,383
1 เหนือ 1,779,353 20,838,394 6,314,033
2 ตะวันออกเฉี ยงเหนือ 2,115,769 22,881,552 6,933,110
3 กลาง 2,127,665 23,096,500 6,998,240
4 ใต้ - - -
จังหวัด
1 ลําปาง 32,442 257,600 78,053
2 เชียงใหม่ 2,569 23,263 7,049
3 ตาก 8,424 82,836 25,099
4 ก ําแพงเพชร 394,924 4,826,281 1,462,363
5 สุโขทัย 152,361 1,617,486 490,098
6 แพร่ 1,848 19,733 5,979
7 อุตรดิตถ์ 87,288 937,598 284,092
8 พิษณุ โลก 123,622 1,379,793 418,077
9 พิจิตร 38,945 422,118 127,902
10 นครสวรรค์ 535,097 6,498,898 1,969,166
11 อุทยั ธานี 180,583 2,037,741 617,436
12 เพชรบูรณ 221250 2,735,047 828,719
13 เลย 57,027 548,238 166,116
14 หนองบัวลําภู 35182 339765 102,949
15 อุดรธานี 333,915 3,564,744 1,080,117
16 หนองคาย 6,542 66,914 20,275
17 สกลนคร 13,840 137,997 41,813
18 นครพนม 6,007 63,607 19,273
19 มุกดาหาร 94,884 1,047,699 317,453
20 ยโสธร 3,822 39,762 12,048

รายงานฉบับสุดท้าย 5-30
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.3-1 (ต่อ) ปริ มาณผลผลิตอ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
21 อํานาจเจริ ญ 2,894 29,831 9,039
22 ศรี สะเกษ 4,013 42,056 12,743
23 สุรินทร์ 100,368 1,081,686 327,751
24 บุรีรัมย์ 88,657 967,061 293,019
25 มหาสารคาม 26,948 284,340 86,155
26 ร้อยเอ็ด 13,922 149,293 45,236
27 กาฬสินธุ์ 243,676 2,701,481 818,549
28 ขอนแก่น 385,158 4,357,474 1,320,315
29 ชัยภูมิ 276,817 3,000,946 909,287
30 นครราชสีมา 422,097 4,458,658 1,350,973
31 สระบุรี 142,931 1,525,783 462,312
32 ลพบุรี 323,494 3,480,969 1,054,734
33 สิงห์บุรี 30,733 340,376 103,134
34 ชัยนาท 31,944 354,934 107,545
35 สุพรรณบุรี 368,439 4,420,522 1,339,418
36 อ่างทอง 11,941 134,653 40,800
37 ปราจีนบุรี 5,058 47,617 14,428
38 ฉะเชิงเทรา 39,842 359,099 108,807
39 สระแก ้ว 184,761 1,719,292 520,945
40 จันทบุรี 14,388 129,947 39,374
41 ระยอง 26,286 239,698 72,628
42 ชลบุรี 82,304 746,903 226,312
43 นครปฐม 56,278 662,139 200,628
44 กาญจนบุรี 606,165 6,772,151 2,051,962
45 ราชบุรี 155,556 1,703,579 516,184
46 เพชรบุรี 19,443 190,320 57,667

รายงานฉบับสุดท้าย 5-31
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 5.3-1 ปริ มาณผลผลิต อ้อย และชานอ้อยเป็ นรายภาค และรายจังหวัดปี 2552

เนือ้ ที่เพาะปลูก ผลผลิตอ้ อย กากอ้ อย


(ไร่ ) (ตัน) (ตัน)
47 ประจวบคีรีขนั ธ์ 28102 268518 81,361
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

5.3.3 การเก็บเกี่ยวอ้ อย

การเก็บเกีย่ วอ้อยในประเทศไทยมี 2 วิธี คือการเก็บเกีย่ วด้วยเครื่ องจักร และด้วยวิธีใช้แรงคน ซึ่ งการ


ใช้แ รงคนแบ่ งออกเป็ นการตัด แบบเผาใบ (Burnt Cane Harvesting) และการตัด แบบไม่เผาใบ (Green
Cane Harvesting) โดยมีข้ นั ตอนการเก็บเกีย่ ว ดังรู ปที่ 5.3-3

ต้นอ้อย

การเก็บเกีย่ วด้วยเครือ่ งจักร การเก็บเกีย่ วด้วยแรงคน

รถตัดอ้อย เผา ไม่เผา

อ้อย ยอดและใบอ้อย ตัดโคนต้น มีดริดใบออก

ตัดยอดอ้อยทิง้ ตัดลําต้นชิดดิน

อ้อย
อ้อย ยอดและใบอ้อย

รูปที่ 5.3-3 ขั้นตอนการเก็บเกีย่ วอ้อย

5.3.3.1 การเก็บเกี่ยวด้ วยเครื่องจักร โดยการใช้รถตัดอ้อย ซึ่ งเป็ นเครื่ องมือเก็บเกีย่ วอ้อย ซึ่ งใช้
ในช่วงฤดูกาลเก็บเกีย่ วอ้อยเข้าสู่โรงงานนํ้าตาลแล้วใช้รถเข้าไปตัดยอดและลําต้นให้ติ ด พื้นดิ น เนื่ องจาก
สามารถตัด อ้อยเป็ นแบบท่ อนท่ อ นละประมาณ 30 เซนติ เ มตร พร้ อมทั้งมี ต ัด ตัว ยอดและมี สายพาน
ลําเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตระกร้าหรื อรถบรรทุกทันที ลดความยุง่ ยากในการจัดการบรรทุ กขนส่ งช่ ว ยทดแทน

รายงานฉบับสุดท้าย 5-32
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

แรงงานคนและลดความยุง่ ย่างในการจัดการก ับแรงงานคน รวมทั้งช่วยให้สามารถก ําหนดเป้ าหมายและ


วางแผนการตัด อ้อยได้อย่า งมีประสิ ทธิ ภาพ สามารถตัด อ้อยได้ประมาณ 30 ไร่ ต่อวันทั้งนี้ ข้ ึ นอยู่กบั
สภาพของอ้อยและสภาพไร่ (ที่มา: สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)

รูปที่ 5.3-4รถตัดอ้อย
(ที่มา: สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)

5.3.3.2 การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคน โดยแบ่งออกเป็ น 2 วิธี


(1) การตัดแบบเผาใบ เป็ นวิธีการเก็บเกีย่ วอ้อยที่ มีการปฏิ บัติ กนั กรณี มีโรคหรื อแมลงระบาด
หรื อต้องการให้ทาํ งานได้เร็วขึ้น เพราะการตัด อ้อยเผาใบอ้อยที่ ได้จ ะเสื่ อมคุ ณ ภาพเร็ ว กว่า อ้อยที่ ไม่เผา
ใบ และก่อให้ เกิด มลพิ ษทางอากาศอย่า งมาก เมื่อ ได้เ วลาตัด อ้อยคนงานจะเผาใบอ้อ ยทิ้ ง เพื่อ ความ
สะดวกในการตัดอ้อยแต่การเผาใบอ้อยนออกจากมีผลเสี ยทางด้า นมลพิษ แล้ว ยังถูกโรงงานนํ้า ตาลตัด
ราคาอ้อ ยเมื่อเที ย บกบั อ้อ ยที่ ไ ม่มีก ารเผาใบเพราะอ้อยเผาเสื่ อมคุ ณ ภาพเร็ ว กว่า อ้อยที่ ไ ม่เผา เมื่อ เผา
ใบเสร็ จ แล้ว คนงานจะตัด อ้อยที่ โคนต้นแล้ว ตัด ยอดอ้อยทิ้ ง ก่อนมัด และขนขึ้ นรถบรรทุ กส่ งโรงงาน
ส่วนที่เหลืออยูใ่ นแปลงก็คือยอดอ้อยที่อาจมีใบเหลือจากการถูกไฟไหม้อยูบ่ า้ ง
(2) การตัดแบบไม่เผาใบ มีการปฏิบตั ิก ันเป็ นส่วนใหญ่ เป็ นการเห็นความสํา คัญของสิ่ งแวดล้อม
และราคาอ้อยที่จะได้สูงกว่าอ้อยที่มีการเผาใบ คนงานจะการตัดเริ่ มด้วยการใช้มีดริ ดใบออก ตัด ลํา ต้นชิ ด
ดินแล้วตัดยอดอ่อนทิ้งไป นําอ้อยที่ได้มดั รวมก ันมัดละ 8-15 ลํา ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ ับขนาดและนํ้าหนักของอ้อย
ที่จะบรรทุกได้สะดวก วางมัดอ้อยเป็ นแถว ๆ เพื่อสะดวกในการบรรทุก หลังจากจากนั้นใช้รถบรรทุ กสิ บล้อ
เข้าไปบรรทุกในไร่ เพื่อส่งเข้าโรงงานต่อไปโดยเฉลี่ยคนงานคนหนึ่ งตัด อ้อยได้ว นั ละ (8 ชั่ว โมง) 1 ตัน
สิ่งที่เหลืออยูใ่ นแปลงจะมีท้ งั ใบอ้อยและยอดอ้อย เกษตรกรส่ ว นใหญ่ใช้ค ลุมดิ นระหว่า งแถวอ้อยที่ เก็บ
ตอไว้ (ที่มา: สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-33
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.3-5 การเก็บเกีย่ วด้วยแรงคน


(ที่มา: สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)

กระบวนการผลิตที่ก่อให้ เกิดชานอ้ อย
ก ําหนดเวลาเก็บเกีย่ วอ้อยขึ้ นอยู่กบั เวลาเปิ ดหี บของโรงงาน ซึ่ งทางราชการเป็ นผูก้ าํ หนดเป็ น
รายปี เท่าที่ผ่านมาก ําหนดให้เปิ ดหี บได้ต้ งั แต่ ว นั ที่ 1 พฤศจิ กายน เป็ นต้นไป แต่ โรงงานส่ วนมากมักจะ
เปิ ดหี บในราวปลายเดื อนพฤศจิ กายน ถึงกลางเดื อนธันวาคม ดังนั้นเวลาเก็บเกีย่ วอ้อยจึ งผันแปรไปตาม
เวลาเปิ ดหี บของโรงงานด้วย ก่อนก ําหนดเปิ ดหี บโรงงานบางโรง โดยเฉพาะที่ซ้ืออ้อยตามคุ ณ ภาพจะส่ ง
เจ้าหน้าที่ไปตรวจคุณภาพอ้อยเป็ นระยะๆ ตรวจด้ว ยเครื่ องมือที่ เรี ยกว่า แฮนด์รีแ ฟรกโตมิเตอร์ (Hand
refractometer) วัดความหวานของอ้อยโดยตรงในไร่ หรื อบางทีกเ็ ก็บตัวอย่างเข้ามาวิเคราะห์ ค วามหวาน
ที่โรงงานนํ้าตาล เมื่อเห็นว่าอ้อยนั้นมีความหวานพอก็จะสั่งให้ต ัด ตามกาํ หนด การตรวจวัด ความหวาน
และการตัดจะเริ่ มต้นจากอ้อยตอก่อนอายุเก็บเกีย่ วของอ้อยตอประมาณ 9-12 เดื อน ส่ ว นของอ้อยปลูก
ประมาณ 12-14 เดือน (ที่มา: สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5)
เมื่ออ้อยมาถึงโรงงานจะผ่านระบบจัดคิวแล้วจึงชัง่ นํ้าหนักรวมทั้งอ้อยและรถบรรทุ กอ้อยถูกยก
บนแท่นเทอ้อย อ้อยจะไหลลงสะพานลําเลียงซึ่งมีชุด ใบมีด และเครื่ องตี ออ้ ย เพื่อเตรี ยมอ้อยให้เป็ นเส้น
ใยหรื อฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุด ลูกหี บ ส่ ว นรถอ้อยที่ เทอ้อยออกแล้ว จะกลับไปชั่งนํ้า หนัก รถเปล่า อีก
ครั้ งเพื่อ จะได้ท ราบนํ้าหนักสุ ทธิ ข องอ้อ ย เมื่อ อ้อ ยถูก หี บ ที่ ลู ก หี บ ชุ ด แรกในระยะเวลาพอสมควร
ตัวอย่างนํ้าอ้อยจากลูกหี บชุดแรกอย่างน้อย 1 ลิตร จะถูกส่ งไปในห้องปฎิบัติ การ เพื่อนําไปวิเคราะห์ หา
ความหวานของแต่ละคันรถ หลังจากนั้นค่าความหวานจะถูกส่ งไปป้ อนคอมพิวเตอร์ เพื่อคํา นวณราคาอ้อย
ของรถแต่ ละคันตามนํ้า หนัก ในชุ ด ลูกหี บซึ่ งจะมีลูกหี บ 4-6 ชุ ด แตกต่ า งกนั ในแต่ ละโรงงาน จะหี บ
นํ้าอ้อยออกให้มากที่ สุด โดยใช้ระบบการพรมนํ้า ที่ เรี ยกว่า Compound Imbibitions เพื่อสกดั เอานํ้า ตาล
ในอ้อยออกให้หมดโดยส่วนของกากอ้อยที่ ออกจาก ลูกหี บชุ ด สุ ด ท้า ยจะถูกลํา เลียงโดยสะพานลํา เลียง
เข้า สู่ ห ม้อ นํ้าเพื่ อ ใช้เ ป็ นเชื้ อเพลิ ง ผลิ ต ไอนํ้าขับ เทอร์ ไ บน์ ต่ า งๆ และผลิ ต กระแสไฟฟ้ า เพื่ อ ใช้ใ น
ขบวนการผลิตและบริ เวณโรงงาน

รายงานฉบับสุดท้าย 5-34
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ ไอนํ้า ที่ ออกจากเทอร์ ไบน์ต่ า ง ๆ ยังสามารถนํา ไปใช้ในขบวนการผลิต ได้อีกด้ว ย


สํา หรับนํ้า อ้อยที่ ได้จ ากชุ ด ลูกหี บ จะถูกปั๊ มไปผ่า นตะแกรงกรองกากอ้อย แล้ว ส่ ง เข้า สู่ กรรมวิธีทาง
วิ ศ วกรรมเคมี เพื่ อ รั ก ษาคุ ณ ภาพนํ้าอ้อ ยอย่า งถู ก ต้อ งและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยการควบคุ ม ของ
คอมพิว เตอร์ ในขั้น ตอนต่ า งๆ จนกระทัง่ ได้น้ าํ อ้อ ยใสจึ ง นํา ไปต้มเพื่ อระเหยนํ้า ออกและได้น้ ําเชื่ อ ม
เข้มข้น ส่วนกากตะกอนจากนํ้าอ้อยจะถูกกรองและถูกลําเลียงออกนอกขบวนการผลิต นํา เข้า สู่ ที่เก็บเพื่อ
ทําเป็ นปุ๋ ยให้แ ก่ชาวไร่ ออ้ ยต่ อไปนํ้า อ้อยใสเมื่อออกจากหม้อต้มลูกสุ ด ท้า ยจะได้น้ ํา เชื่ อมดิ บที่ มีค วาม
เข้มข้น 60-65 และจะถูกนําไปเคี่ยวให้ตกผลึกเป็ นเม็ดนํ้าตาลที่มีผลึกนํ้า ตาลและนํ้า เลี้ยงรวมกนั อยู่ แล้ว
จึงปล่อยลงรางกวนเพื่อพักผลึกนํ้าตาล ก่อนจะนํา ไปปั่ นแยกผลึกออกจากนํ้า เลี้ยงที่ ห ม้อปั่ น ในการปั่ น
แยกแต่ละขั้นตอน จะได้น้ าํ ตาลเอ นํ้าตาลบี นํ้าตาลซี และกากนํ้าตาล เป็ นลําดับสุดท้าย สําหรับนํ้า ตาลเอ
เมื่อนําผ่านกระบวนการลดค่าสีดว้ ยกรรมวิธีคาร์บอเนชัน่ และไอ.อี.อาร์ แ ล้ว จึ งส่ งไปสู่ ข้ ันตอนการเคี่ ยว
และการอบแห้งจะได้ผลิตภัณฑ์น้ าํ ตาลทรายขาว นํ้าตาลทรายขาวบริ สุทธิ์ สํา หรับนํ้า ตาลบี หรื อนํ้า ตาล
ทรายดิ บ จะถู ก นํา เข้า รอการบรรจุ ก ระสอบหรื อ เทกองในโกดัง เพื่ อ จํา หน่ า ยเป็ นนํ้าตาลไปยัง
ต่างประเทศ ส่วนนํ้าตาลซี จะนําไปเป็ นเชื้อในการเคี่ยวนํ้าตาลเอ และนํ้าตาลบีต่อไป
สําหรับกากนํ้าตาลจะถูกส่งไปทําให้เย็นก่อนจะนําไปเก็บที่ถงั เก็บกากนํ้าตาล เพื่อรอการขนย้า ย
ไปจํา หน่ า ย นํ้าตาลที่ ผ ลิ ต ได้จ ะนํา ไปใช้ บ ริ โ ภคในครั ว เรื อนและในอุ ต สาหกรรมต่ า งๆ เช่ น
อุตสาหกรรมเครื่ องดื่ม อุตสาหกรรมอาหาร หรื อของหวานอื่นๆ สํา หรับในประเทศไทยมีการบริ โภค
นํ้าตาลประมาณปี ละ 2.0 ล้านตัน โดยใช้ในอุตสาหกรรมประมาณ 75%

รายงานฉบับสุดท้าย 5-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 5.3-6 กระบวนการผลิตที่ กอ่ ให้เกิดชานอ้อย


(ที่มา: http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html)

รายงานฉบับสุดท้าย 5-36
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5.3.4 การเก็บรักษา

ชานอ้อยเป็ นวัสดุเหลือใช้ที่เก็บรักษาค่อนข้างยากเนื่องจากมีค วามชื้ นสู งมีโอกาสเน่ า สลายหรื อ


ผุพงั ได้ง่าย ชานอ้อยเป็ นวัสดุเหลือใช้ที่เหลือจากกระบวนการผลิต นํ้า ตาล ซึ่ งจะอยู่ในภาคอุต สาหกรรม
ทําให้การเก็บรักษาชานอ้อยมีการจัดระบบดีกว่าวัสดุเหลือใช้ประเภทอื่นๆ เนื่ องจากโรงงานอุต สากรรม
จะใช้ชานอ้อยเป็ นเชื้ อเพลิงให้ค วามร้อนในกระบวนการผลิต ต่ อไป การเก็บรักษาที่ ดี ต ้องโดยเก็บใน
บริ เวณที่มีหลังคา มีร้ ัวกน้ ั บริ เวณพื้นที่จดั เก็บ อากาศถ่า ยเทได้สะดวก บริ เวณพื้นที่ จ ัด เก็บต้องไม่เปี ยก
ชื้น ไม่มีน้ าํ ขัง โดยปรับระดับพื้นให้สามารถระบายนํ้า ได้ดี มีถนนทางเข้า -ออก สะดวกต่ อการขนส่ ง
และการใช้งาน

5.3.5 การขนส่ ง

ปั จจุบนั การจัดการด้านการขนส่งชานอ้อยส่ วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม เนื่ องจากชานอ้อยเป็ น


วัสดุเหลือใช้จากโรงงานผลิตนํ้าตาล การขนส่ งชานอ้อยยังมีน้อยเนื่ องจากโรงงานอุตสาหกรรมนิ ยมใช้เป็ น
เชื้อเพลิงในโรงงานของตนเอง แต่อาจมีการจําหน่ายแก่โรงงานประเภทอื่นอยูบ่ า้ ง
การขนส่งมีดว้ ยก ันหลายรู ปแบบ มีท้ งั ที่มาติดต่อซื้อ และขนส่งจากโรงงานหี บอ้อยโดยตรงด้ว ย
ตนเองซึ่งมีราคาถูกกว่าการที่โรงงานหี บอ้อยเป็ นผูจ้ ดั ส่ง เนื่องจากมีค่ า ใช้จ่ า ยในการขนส่ ง ส่ วนราคาจะ
ขึ้นก ับปริ มาณการสัง่ ซื้อ ชนิด และขนาดของรถรวมถึงระยะทาง สําหรับราคาชานอ้อยที่ ยงั ไม่ได้บดประมาณ
350 บาท ส่วนราคาชานอ้อยที่บดแล้วประมาณ 1,100 บาท โดยที่ราคานี้เป็ นราคารับซื้อหน้าโรงงาน
(ที่มา:http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=12393)
เมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการขนส่งชานอ้อยเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิ งพาณิ ชย์ การขนส่ ง
ทางถนนมีค วามเหมาะสมที่ สุด เนื่ องจากมีค วามคุ ้มค่ า ทางด้า นเศรษฐกิจ และส่ ว นใหญ่ โรงงานผลิ ต
นํ้าตาลมักอยูใ่ นพื้นที่เพาะปลูกอ้อย

รายงานฉบับสุดท้าย 5-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5.3.6 ข้อดี และปัญหาอุปสรรค

ข้อดี ปัญหาอุปสรรค
- มีชานอ้อยเหลืออีกส่วนหนึ่งที่ยงั ไม่ได้นํา ไปใช้ - นํ้า หนักเบา และความชื้ นสู ง ต้องระวังในการ
งานประมาณร้อยละ 19 ของปริ มาณชานอ้อยที่ เก็บรักษามาก
เกิด ขึ้ นทั้ง หมด (ที่ ม า: กรมพัฒ นาพลัง งาน - มีแนวคิดเพียงใช้ทาํ เป็ นเชื้อเพลิง ทํา ให้ข าดการ
ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552) พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนําไปใช้ประโยชน์อื่น
- ลดมลภาวะจากชานอ้อยที่ เหลือ ที่ อยู่ห น้า โรง
หี บอ้อย
- เพิม่ มูลค่า และเพิม่ รายได้ให้ก ับโรงหี บอ้อย

5.4 ผลการศึกษากระบวนการที่เหมาะสมด้านปริมาณ การเก็บเกี่ยว เก็บรักษา และการขนส่ งวัตถุดบิ

กระบวนการที่เหมาะสมในด้านปริ มาณ การเก็บเกีย่ ว เก็บรักษา และการขนส่ งของวัต ถุดิ บทั้ง 3


ชนิด สรุ ปได้ดงั นี้

ตารางที่ 5.4-1 สรุ ปปริ มาณผลผลิตชีวมวลทั้งประเทศปี 2552

พื้นที่ ปริ มาณ ชีว ปริ มาณ ชีว ปริ มาณ ชีว
ผลผลิต
พืช เพาะปลูก ชีวมวล มวลที่ได้ มวลที่ มวล ที่
(ตัน)
(ไร่ ) (ตัน) นําไปใช้ (ตัน) เหลือ (ตัน)
ข้าว 69,809,376 31,723,541 ฟางข้าว 37,751,014 11,778,316 25,972,698
ข้าวโพด 6,517,662 4,249,354 ซังข้าวโพด 803,128 337,314 465,814
อ้อย 6,022,787 66,816,446 ชานอ้อย 20,245,383 16,398,760 3,846,623
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2552

รายงานฉบับสุดท้าย 5-38
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้สามารถสรุ ปรายละเอียดวิธีการเก็บเกีย่ ว การเก็บรักษา และการขนส่ งของวัต ถุดิ บ 3 ชนิ ด


คือ ฟางข้าว ซังข้าวโพด และชานอ้อยได้ดงั นี้

ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย


การเก็บเกีย่ ว - เก็บเกีย่ วด้วยเครื่ องจักร - เก็บเกีย่ วด้วยเครื่ องจักร - เก็บเกีย่ วด้วยเครื่ องจักร
- เก็บเกีย่ วด้วยแรงคน - เก็บเกีย่ วด้วยแรงคน - เก็บเกีย่ วด้วยแรงคน
การเก็บรักษา - กองไว้ที่โล่งแจ้ง - เก็บในกระสอบ - กองไว้ที่โล่งแจ้งหน้า
- อัดเป็ นก ้อน - เก็บในยุง้ ฉาง โรงงาน
- ไว้ในที่ มีหลังคา อากาศ - อัดเป็ นก ้อน
ถ่ายเทสะดวก และนํ้าไม่ - มีพลาสติ กคลุมกรณี
ท่วมขัง ฝนตก
การขนส่ง - รถลากจากในนา - รถลากจากในไร่ - รถยนต์
- รถยนต์ - รถยนต์ - รถบรรทุ ก
- รถบรรทุ ก - รถบรรทุ ก

รายงานฉบับสุดท้าย 5-39
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 6
การศึกษากระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

เทคโนโลยีการผลิต เอทานอลในอดี ต จะจํา กดั อยู่ที่น้ ํา ตาล แป้ ง ข้า วโพดซึ่ งเป็ นวัต ถุดิ บที่
สําคัญในการผลิตเอทานอล การนํามาผลิตเอทานอลจะทํา ให้พืชเหล่า นี้ มีมูลค่ า เพิ่มสู งขึ้ น ปั จ จุ บันมี
การพัฒ นาเทคโนโลยีใ หม่ ๆ ในการผลิ ต เอทานอล โดยมุ่ ง เน้น ไปที่ ว ัต ถุ ดิ บ ประเภทอื่ น คื อ
เซลลูโลส ซึ่งเป็ นวัสดุเหลือใช้ที่ได้จ ากพืชเป็ นการผลิต เอทานอลจาก Lignocellulosic Biomass ซึ่ ง
ได้แก่ ฟางข้า ว กากอ้อย ซังข้า วโพด และเปลือกไม้ รวมทั้งวัชพืช เช่ น ผักตบชวา หญ้า และวัสดุ
เหลือใช้ทางการเกษตร เช่ น เหง้า มันสํา ปะหลัง ซึ่ งใช้กรรมวิธีเปลี่ยน Lignocellulosic Biomass ให้
กลายเป็ นนํ้าตาล จากนั้นหมักนํ้าตาลที่ได้ให้กลายเป็ นเอทานอล
ข้อดีของการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส คือ วัตถุดิบสามารถหาได้ง่า ย นอกจากนี้ การผลิต
และใช้เอทานอลจากเซลลูโ ลสช่ ว ยลดแก๊สเรื อนกระจกได้ถึง 85% ของการผลิ ต และใช้น้ ํามัน
เบนซิน ยังช่วยลดปั ญหาการนําพืชอาหารที่ใช้บริ โภคไปผลิต เอทานอลและทํา ให้มีปริ มาณวัต ถุดิ บ
ใช้ผ ลิต เอทานอลได้เ พิ่ม ขึ้ น (ธนาคารเพื่อ การส่ ง ออกและนํา เข้า แห่ ง ประเทศไทย, 2550) ทั้ง นี้
อุปสรรคสําคัญของการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส คื อ ต้นทุ นการผลิต ที่ ค่ อนข้า งสู งเมื่อเที ยบกบั
การผลิ ต เอทานอลจากวัต ถุ ดิ บ ประเภทแป้ งและนํ้าตาล ปั จ จุ บัน สหรัฐ อเมริ ก า และแคนาดามี
โรงงานผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสในเชิ งพาณิ ชย์แ ล้ว โดยใช้ว ตั ถุดิ บจากซังข้า วโพด กากอ้อย ไม้
เนื้ออ่อน รวมทั้งเศษขยะอินทรี ย ์ ดังนั้นการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส
ในเชิ งพาณิ ช ย์ที่เหมาะสมกบั ประเทศไทย จึ งมีก ารศึกษาเพื่ อเปรี ยบเที ย บการผลิต เอทานอลจาก
เซลลูโลสที่มีศกั ยภาพที่เหมาะสมทั้งด้านราคาและปริ มาณในไทย โดยศึกษาหาสภาวะที่ เหมาะสม
ในการปรับสภาพเซลลูโลส หาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายเซลลูโลส และศึกษาหาสภาวะที่
เหมาะสมในการหมัก

6.1 กระบวนการผลิตเอทานอลจากลิกโนเซลลูโลส (ธนาคารเพื่อการส่ งออกและนํา เข้า แห่ งประเทศ


ไทย, 2550)

Cellulosic Ethanol หรื อ เอทานอลที่ ผลิต จากเซลลูโลส เป็ นเอทานอลที่ ผลิต จากวัต ถุดิ บ
หลัก ประเภท กากอ้อย ซังข้า วโพด ฟางข้า ว และเปลื อกไม้ ซึ่ ง ประกอบด้ว ยลิ กโนเซลลู โลส
(Lignocellulosic Material) ซึ่งเป็ นสารประกอบอินทรี ยป์ ระเภทคาร์ โบไฮเดรตที่ เป็ นส่ ว นประกอบ

รายงานฉบับสุดท้าย 6-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สําคัญของเซลล์พืชที่เกิดขึ้นจากหน่วยย่อยของนํ้าตาลกลูโคสเชื่อมต่อกนั เป็ นสายยาวหรื อโพลีเมอร์


ของนํ้าตาลกลูโคส เอทานอลที่ ผลิต จากเซลลูโลสจึ งมีคุ ณ สมบัติ แ ละลักษณะทางเคมีเช่ นเดี ยวกบั
เอทานอลที่ผลิตจากวัตถุดิบประเภทนํ้าตาลและแป้ ง โดยมีวิธีการผลิตเอทานอลจากลิกโนเซลลูโลส
2 วิธีหลัก ได้แก่

Cellulolysis คื อ การย่อยสลายเซลลู โลสให้ กลายเป็ นนํ้าตาลกลูโ คส แล้ว หมัก นํ้า ตาล


กลูโคสด้วยจุลินทรี ยก์ ลายเป็ นแอลกอฮอล์ ผ่านการกลัน่ และแยกนํ้าจนเป็ นเอทานอล
Gasification คื อ การเปลี่ยนชี ว มวลซึ่ งมีองค์ประกอบหลักคื อ คาร์ บอน ไฮโดรเจน และ
ออกซิเจน ให้กลายเป็ นแก๊สที่เผาไหม้ได้หรื อการแตกสารประกอบประเภทคาร์ บอนของเซลลูโลส
ให้กลายเป็ นแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide)
และไฮโดรเจน (Hydrogen) โดยกระบวนการดังกล่าวเป็ นการเผาไหม้อินทรี ยสารแบบจํา กดั ปริ มาณ
ออกซิ เจนทํา ให้เกิด การเผาไหม้ที่ไม่สมบู รณ์ จากนั้นหมักด้ว ยจุ ลินทรี ยจ์ นกลายเป็ นแอลกอฮอล์
ผ่านการกลัน่ และแยกนํ้าจนเป็ นเอทานอล

6.1.1 กระบวนการผลิตเอทานอลแบบ Cellulolysis

Cellulolysis คื อ การย่อ ยสลายเซลลูโ ลสให้ก ลายเป็ นนํ้า ตาลกลู โคสแล้ว หมักนํ้าตาล


กลูโคสด้วยจุลินทรี ยก์ ลายเป็ นแอลกอฮอล์ ผ่านการกลัน่ และแยกนํ้าจนเป็ นเอทานอล
ข้อดีของการผลิต Cellulosic Ethanol สรุ ปได้ดงั นี้
(2.1) วัต ถุ ดิ บสามารถหาได้ง่า ยเนื่ อ งจากเซลลู โลสเป็ นส่ ว นประกอบหลัก ของพืชหลาย
ประเภท และสามารถนําส่วนของพืชที่ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อาทิ ฟางข้า ว ซังข้า วโพด และกากอ้อย
มาผลิต
(2.2) การผลิต และใช้เอทานอลจากเซลลูโลสช่ ว ยลดแก๊สเรื อนกระจกได้ถึง 85% ของ
การผลิต และใช้น้ ํา มันเบนซิ นขณะที่ การผลิ ต และใช้เอทานอลที่ ผลิ ต จากแป้ งช่ ว ยลดแก๊สเรื อ น
กระจกเพียง 18% - 29%
(2.3) ช่วยลดปั ญหาการนําพืชอาหารที่ใช้บริ โภคไปผลิต เอทานอล เพราะเซลลูโลสเป็ น
ส่วนของพืชที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ วัตถุดิบที่นาํ มาผลิตจึงไม่ใช่อาหารที่มนุษย์บริ โภค
(2.4) ทําให้มีปริ มาณวัตถุดิบใช้ผลิตเอทานอลได้เพิ่มขึ้นเนื่ องจากสามารถนํา ส่ ว นต่ า ง ๆ
ของพืชมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้ น อาทิ นํ้า อ้อยนํา มาผลิต เอทานอลด้ว ยวิธีการเดิ มขณะที่ กากอ้อย
นํามาผลิต Cellulosic Ethanol

รายงานฉบับสุดท้าย 6-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

กระบวนการผลิต เอทานอลแบบ Cellulolysis แบ่งเป็ น 4 ขั้นตอนที่สาํ คัญคือ


(1) การปรับสภาพวัตถุดิบ (Pretreatment)
(2) การย่อยหรื อไฮโดรไลซิ ส (Hydrolysis)
(3) กระบวนการหมัก (Fermentation)
(4) การแยกผลิตภัณฑ์เอทานอลและการทําให้บริ สุทธิ์ (Ethanol production)
กระบวนการการผลิตเอทานอลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แสดงดังรู ปที่ 6.1-1

วัสดุเหลื อใช้ทางการเกษตร

การย่อยด้ว ยกรดหรื อ
การปรับสภาพวัตถุ ดิบ เซลลูโลส
การย่อยด้ว ยเอนไซม์

กระบวนการหมักกลูโคส

กระบวนการกลัน่

เอทานอล

เฮมิ เซลลูโลส การย่อย กระบวนการหมักไซโลส

ลิ กนิ น กระบวนการใช้ลิกนิ น

รูปที่ 6.1-1 กระบวนการผลิตเอทานอลจากวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตร


ทีม่ า: ฉัตรชัย และคณะ, 2548

รายงานฉบับสุดท้าย 6-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.1.1.1 การปรับสภาพวัตถุดิบ (Pretreatment)


เนื่องจากเซลลูโลสที่นาํ มาใช้เป็ นสารตั้งต้นในการผลิต เอทานอล อยู่ในรู ปที่ เป็ นผลึกของ
สารประกอบเชิงซ้อน (Complex) ก ับลิกนิน และเฮมิเซลลูโลส ซึ่ งส่ ว นที่ นํา มาใช้จ ริ ง คื อ ส่ ว นของ
เซลลูโลสเท่ า นั้น ดังนั้นขั้นตอนแรกจึ งต้องแยกเฮมิเซลลูโลส และลิกนิ นออกจากโครงสร้า งของ
วัตถุดิบก่อน เนื่องจากส่วนประกอบทั้งสองทํา ให้พ้ืนที่ ผิว ในการเกิด ปฏิ กริ ิ ยากบั เอนไซม์ลดลง อีก
ทั้งการมีลิกนินในปริ มาณมากจะทําให้เกิดการยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ ทํา ให้ประสิ ทธิ ภาพใน
การย่อยสลายด้วยเอนไซม์ไม่ดีเท่ า ที่ ค วรและยังเป็ นอุปสรรคต่ อการหมักด้ว ย ดังนั้นวัต ถุประสงค์
ของการปรับสภาพวัตถุดิบก่อนการผลิต เอทานอล คื อ เพื่อแยกลิกนิ น และเฮมิเซลลูโลสออก และ
เป็ นการปรับ โครงสร้า งของเซลลูโลสให้อยู่ในสภาพเหมาะสมต่ อการเกิด ปฏิ กริ ิ ยาการย่อยด้ว ย
เอนไซม์ โดยวิธีการปรับสภาพแบ่งได้เป็ น 4 วิธี (ดังรู ปที่ 6.1-2) คือ
(1) การปรับสภาพด้ว ยวิธี ทางกายภาพ (Physical Pretreatment) เป็ นการลดขนาดของ
วัตถุดิบ และทําให้เส้นใยเซลลูโลสแตกออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว ในการเกิด ปฏิ กริ ิ ยาให้มากขึ้ น เช่ น การ
บด หรื อการใช้ความร้อน
(2) การปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี (Chemical Pretreatment) เป็ นการใช้สารละลายกรดเพื่อ
เพิ่มความสามารถในการย่อยเฮมิเซลลูโลส เพราะเฮมิเซลลูโลสสามารถย่อยสลายในสารละลายกรด
ได้ดีกว่าเซลลูโลส หรื อใช้สารละลายด่ า งเพื่อเพิ่มปริ มาณการละลายของเฮมิเซลลูโลสและลิกนิ น
หรื ออาจใช้สารละลายแอมโมเนียเพื่อก ําจัดลิกนิน
(3) การปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีฟิสิ กส์ (Physico-chemical Pretreatment) เป็ นวิธีที่ใช้วิธี
ทางกายภาพร่ วมก ับการใช้สารเคมี เช่น ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ร่วมก ับความร้อน
(4) การปรับสภาพด้ว ยวิธีทางชี ว ภาพ (Biological Pretreatment) เป็ นการใช้เอนไซม์จ าก
จุลินทรี ยเ์ พื่อเปลี่ยนโครงสร้างที่ซบั ซ้อนของเซลลูโลสให้อยูใ่ นรู ปโซ่ตรงและช่วยลดความเป็ นผลึก

รายงานฉบับสุดท้าย 6-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

วัสดุเหลือทิง้ ทาง
การเกษตร

การปรับสภาพเบือ้ งต้น

วิธีการทาง วิธีการทางเคมี วิธีการทางเคมี วิธีการทาง


กายภาพ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ฟิ สิกส์ ชีวภาพ
การบด แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ขนาดอนุภาค/ การเติมเอนไซม์
การทําให้เป็ นเม็ด โปแตสเซี ยมไฮดรอกไซด์ สารเคมี ชนิดต่างๆ
การต้ม แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมไฮดรอก
การใช้ไอนํ้า ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไซด์/การทําเป็ นเม็ด
ความดัน ยูเรี ย / แอมโมเนีย ยูเรี ย/การทําเป็ นเม็ด
โซเดียมคาร์บอเนต ปูนขาว/การทําเป็ น
โซเดียมคลอไรด์
แก๊สคลอรี น

รูปที่ 6.1-2 วิธีการปรับสภาพวัตถุดิบ


ทีม่ า: พรรณวิไล, 2545

รายงานฉบับสุดท้าย 6-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

การเตรี ยมเซลลูโลส (Pretreatment) มีว ตั ถุประสงค์เพื่อแยกลิกนิ นและเฮมิเซลลูโลส ลด


การเป็ นผลึกของเซลลูโลส และเพิ่มการเป็ นรู พ รุ นของวัต ถุดิ บ การผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส
จําเป็ นต้องมีการ Pretreatment เนื่องจากสารพวกลิกโนเซลลูโลสเป็ นสารที่ มีค วามแข็งแรง ยากต่ อ
การย่อยสลายจึงต้องมีการเตรี ยมการให้อ่อนนุ่มลง ทําให้เอมไซม์เข้าถึงและทําปฏิกริ ยาได้ดี

6.1.1.1.1 วิธีการเตรียมทางกายภาพ (Physical pretreatment)


(1) Machanical Comminution เป็ นการลดขนาดวัต ถุดิ บโดยวิธีการตัด การ
บด เพื่อลดความเป็ นผลึกของเซลลูโลสและเพิ่ม การย่อยสลายได้ ขนาดที่ เ กิด จากการตัด 10-30
มิลลิเมตร ขนาดที่เกิดจากการบด 0.2-2 มิลลิเมตร
(2) Pyrolysis เป็ นกระบวนการย่อยสลายวัตถุดิ บที่ อุณ หภูมิสูงประมาณ 200-
600 องศาเซลเซี ยส เป็ นกระบวนการทางเคมีที่ผนั กลับไม่ได้ ผลิต ภัณ ฑ์ที่ได้จ ากกระบวนการไพ
โรไลซิสขึ้นก ับธรรมชาติของวัตถุดิบ เวลา อุณหภูมิ ขนาดอนุภาค โดยทัว่ ไปผลิตภัณ ฑ์ที่ได้คื อ ถ่า น
30-50% แก๊ส 20% ของเหลวที่เป็ นสารอินทรี ย ์ 18-20% เช่น กรดอะซิติก การเตรี ยมลิกโนเซลลูโลส
โดยกระบวนการไพโรไลซิ สที่ อุณ หภูมิสูง มากกว่า 300 องศาเซลเซี ย ส ทํา ให้เซลลูโลสสลายตัว
อย่างรวดเร็วได้แก๊สและถ่าน เมื่อนําถ่านไปไฮโดรไลซิสจะทําให้ลิกโนเซลลูโลสเปลี่ยนเป็ นนํ้า ตาล
รี ดิวซ์ 80-85% มีกลูโคสมากกว่า 50%

6.1.1.1.2 วิธีการเตรียมทางเคมีกายภาพ (Physico-Chemical pretreatment)


(1) Steam explosion (astohydrolysis) การระเบิ ด วัต ถุ ดิ บด้ว ยไอนํ้า เป็ น
เทคนิคการใช้ไอนํ้าที่มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงในการใช้ช่ว งระยะเวลาสั้นมากสํา หรับแยกวัสดุ
เป็ นเทคนิคที่ใช้เตรี ยมลิกโนเซลลูโลส เริ่ มต้นที่อุณหภูมิสูงประมาณ 160-260 องศาเซลเซี ยส ความ
ดัน 0.69-4.83 MPa เป็ นเวลาหลายวินาทีถึงสามนาที
(2) Ammonia fiber explosion (AFEX) เป็ นการนํา วัต ถุดิ บใส่ ในสารละลาย
แอมโมเนียที่อุณหภูมิสูงและความดันสูงแล้วลดความดันอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะคล้ายกบั การระเบิ ด ด้ว ย
ไอนํ้า ใช้แอมโมเนีย 1-2 กิโลกรัมต่ อวัต ถุดิ บ 1 กิโลกรัม อุณ หภูมิประมาณ 90 องศาเซลเซี ยส เป็ น
เวลา 30นาที สามารถใช้ก ับฟางข้าว ซังข้าวโพด หญ้า พืชตระกูลถัว่
(3) CO2 explosion กระทํา ในลักษณะเช่ นเดี ยวกบั การระเบิ ด ด้ว ยไอนํ้า และ
การระเบิ ด ด้ว ยแอมโมเนี ย โดย CO2 จะเหมื อนก บั กรดคาร์ บ อนิ ก สํา หรั บ พืช ตระกู ล ถั่ว ใช้ 1
กิโลกรัม CO2 ต่อไฟเบอร์ 1 กิโลกรัม ความดัน 5.62 MPa และไฮโดรไลซิ สด้ว ยเอนไซม์ได้กลูโคส
75% ที่เวลา 24 ชัว่ โมง

รายงานฉบับสุดท้าย 6-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.1.1.1.3 วิธีการเตรียมทางเคมี (Chemical pretreatment)


(1) Ozonolysis โอโซนสามารถสลายลิกนิ นและเฮมิเซลลูโลสในวัต ถุดิ บได้
หลายชนิด แต่ไม่สลายเซลลูโลส ไม่ผลิตสารที่เป็ นพิษ ปฏิ กริ ิ ยาเกิด ได้ที่อุณ หภูมิแ ละความดันปกติ
มีขอ้ ด้อยคือมีราคาแพง
(2) Acid pretreatment การใช้กรด เช่ น Sulfuric acid และ Hydrochloric
acid ในการเตรี ยมลิกโนเซลลูโลส แต่กรดมีขอ้ ด้อยที่มีความเป็ นพิษและกดั กร่ อน เป็ นอันตราย ต้อง
ใช้ถงั ปฏิ กรณ์ ที่ทนการกดั กร่ อน ปั จ จุ บันมีการใช้กรดเจื อ จางในการสลายลิ กโนเซลลูโลส แต่ มี
ข้อด้อยที่ตน้ ทุนสูงและอาจมีผลในขั้นตอนการหมัก
(3) Alkaline pretreatment การใช้เบส เช่น การใช้แ อมโมเนียไฮดรอกไซด์
เจือจางเตรี ยมลิกโนเซลลูโลส จะทําให้เส้นใยพองตัว เพิ่มพื้นที่ผิว ลดความเป็ นผลึก สลายการเป็ น
โพลีเมอร์ สลายโครงสร้างลิกนิน สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถลดลิกนิ นของไม้เนื้อแข็ง
จาก 24-55% ได้เหลือเพียง 20% แต่การใช้กรดเจื อจางสามารถลดลิกนิ นของไม้เนื้อได้มากกว่าคือ
26%
(4) Oxidative delignification การสลายลิกโนเซลลูโลสด้วยไฮโดรเจนเปอร์
ออกไซด์ การเตรี ยมชานอ้อยโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ ออกไซด์ 2% สามารถย่อยสลายลิกนิ นได้ 50%
อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ที่ เวลา 8 ชัว่ โมง เมื่อนํามาย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลส ทําให้เซลลูโลส
เปลี่ยนเป็ นนํ้าตาลกลูโคส 95% ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ที่เวลา 24 ชัว่ โมง

6.1.1.1.4 วิธีการเตรียมทางชีวภาพ (Biodegradation pretreatment)


ในการเตรี ยมลิกโนเซลลูโลสด้วยวิธีการเตรี ยมทางชี ว ภาพโดยใช้จุ ลินทรี ย ์ เช่ น
Brown-white and soft-rot fungi ในการสลายลิกนิ นและเซลลูโลส โดย White-rot fungi สามารถ
สลายลิกนินแล้วปล่อยเซลลูโลสออกมา Brown-rot fungi สามารถสลายเซลลูโลสเปลี่ยนเป็ นนํ้า ตาล
กลูโคส และยีสต์จะหมักนํ้าตาลให้เป็ นเอทานอลต่อไป

6.1.1.2 การย่อยหรือไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) (Parisi, 1989)


กระบวนการย่อยพื้นฐานของเทคโนโลยีการผลิต เอทานอลจากวัต ถุดิ บประเภทเซลลูโลส
แบ่งออกเป็ น 3 วิธี ได้แก่

6.1.1.2.1 การไฮโดรไลซีสด้วยกรด
การไฮโดรไลซีสด้วยกรด สามารถแบ่งเป็ น 2 ประเภท ได้แ ก่ การไฮโดรไลซี ส
ด้วยกรดเจือจาง และการไฮโดรไลซีสด้วยกรดเข้มข้น

รายงานฉบับสุดท้าย 6-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(1) การใช้กรดเจือจาง จะใช้อุณหภูมิและความดันสู ง ระยะเวลาของปฏิ กริ ิ ยา


จะเป็ นวินาทีหรื อนาที เหมาะต่อกระบวนการแบบต่อเนื่อง การใช้กรดร่ วมก ับอุณ หภูมิแ ละความดัน
สูงจําเป็ นต้องใช้วสั ดุพิเศษสําหรับสร้างถังปฏิกรณ์ ทําให้มีค่าใช้จ่ายสูง
(2) การใช้กรดเข้มข้น กระบวนการนี้ จ ะใช้อุณ หภูมิต่ ํา และจะมีการใช้ค วาม
ดันเฉพาะเมื่อต้องการปั๊ มส่งถ่ายของจากถังหนึ่งไปยังอีกถังหนึ่ง

6.1.1.2.2 กระบวนการใช้ เคมีที่อุณหภูมสิ ู ง


กระบวนการผลิตเอทานอลซึ่งใช้ปฏิกริ ิ ยาเคมีที่อุณหภูมิสูง มี 2 แบบ คือ
(1) ระบบที่ ใช้เคมีที่อุณ หภูมิสูงร่ ว มกบั การใช้จุ ลินทรี ย ์ เป็ นการทํา วัสดุ ชี ว
มวลให้ เป็ นแก๊สก่อ นด้ว ยการใช้เ คมี ที่อุณ หภู มิสูง แก๊ส สัง เคราะห์ (SynGas) ซึ่ งเป็ นของผสม
ระหว่างไฮโดรเจนก ับคาร์บอนไดออกไซด์จะลอยเป็ นฟองในถังหมักที่ ออกแบบเฉพาะ จากนั้นใส่
จุ ลิ น ทรี ย ์ซ่ ึ งมี ค วามสามารถในการเปลี่ ย นแก๊ส สัง เคราะห์ เ ข้า ไปในถัง หมัก ภายใต้ส ภาวะ
กระบวนการเฉพาะเพื่อให้เกิดการหมักเป็ นเอทานอล
(2) ระบบที่ใช้เคมีที่อุณหภูมิสูงโดยไม่มีการใช้จุลินทรี ย ์ วัสดุ ชีว มวลจะถูกทํา
ให้เป็ นแก๊สด้วยการใช้เคมีที่อุณหภูมิสูงก่อน และแก๊สสังเคราะห์ ที่เกิด ขึ้ นจะไหลผ่า นถังปฏิ กรณ์ ที่
ใส่ตวั เร่ งปฏิกริ ิ ยาไว้ จากนั้นแก๊สจะถูกเปลี่ยนไปเป็ นเอทานอล

6.1.1.2.3 การไฮโดรไลซีสด้วยเอนไซม์
วัส ดุ เ ซลลู โ ลสตามธรรมชาติ ส่ ว นใหญ่ เ กิด การสลายตัว จากการย่อ ยของ
เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase) ซึ่งพบทัว่ ไปในจุลินทรี ย ์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พบมากในเชื้ อรา เอนไซม์
เป็ นโปรตีนชนิด หนึ่ งที่ ส่ิ งมีชีวิต สร้า งขึ้ น เพื่อทํา หน้า ที่ เร่ งปฏิ กริ ิ ยาภายในเซลล์ โดยเอนไซม์เป็ น
ตัวเร่ งปฏิกริ ิ ยาที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่ออยู่ในสภาวะการทํา งานที่ เหมาะสมจะสามารถเร่ งปฏิ กริ ิ ยา
ได้เ ร็ ว ถึง 108-1011 เท่ า เมื่ อเที ย บกบั ปฏิ กริ ิ ยาที่ ไ ม่มีเ อนไซม์เ ป็ นตัว เร่ ง นอกจากนี้ เอนไซม์ยงั มี
ความจําเพาะ (Specificity) ต่อปฏิกริ ิ ยาหนึ่ งๆ เท่ า นั้น ทํา ให้ผลิต ภัณ ฑ์ที่ได้มีค วามบริ สุทธิ์ สู ง และ
แม้ว่าเอนไซม์จะถูกสร้างอยู่ภายในเซลล์ แต่ กส็ ามารถสกดั ออกมาใช้งานได้เช่ นเดี ยวกบั เมื่ออยู่ใน
เซลล์ (สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ งประเทศไทย, 2551)
เอนไซม์ที่ ใ ช้ใ นปฏิ ก ริ ิ ย าการย่อ ยสลายเซลลู โ ลส คื อ เอนไซม์เ ซลลู เ ลส
(Cellulase) ซึ่งเป็ นเอนไซม์ที่พบในจุลินทรี ยห์ ลายชนิด แต่ที่นิยมนํามาใช้ผลิต เอนไซม์เซลลูเลส คื อ
แบคที เรี ย Trichoderma reessi โดยเอนไซม์เซลลูเลสมีสมบัติ เป็ น Multicomponent enzyme ซึ่ งมี
องค์ประกอบของเอนไซม์ 3 ชนิดทํางานร่ วมก ันแบบ Synergisticaction ดังนี้ (ลลิดา, 2541)

รายงานฉบับสุดท้าย 6-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(1) เอ็น โดกลู ค าเนส (Endoglucanase, CX) ทํา หน้า ที่ ต ัด พันธะเบต้า 1, 4
ภายในสายเซลลูโลสตรงบริ เวณโครงสร้า งอะมอร์ ฟัสอย่า งสุ่ ม (Randomly acting) ทํา ให้เกิด ปลาย
อิสระขึ้น ซึ่งจะได้เซลโลไบโอส, โอลิโกเซลลูโลส และกลูโคสในปริ มาณที่นอ้ ยมาก
(2) เอ็กโซกลูค าเนส (Exoglucanase, C1) ทํา หน้า ที่ ย่อยสลายโอลิโกแซคคา
ไรด์ และยังย่อยสลายเซลลูโลสให้เปลี่ยนเป็ นเซลโลไบโอส โดยจะย่อยสลายจากทางด้า นปลาย
รี ดิวซ์ (Reducing End) ของสายโซ่เซลลูโลส
(3) เบต้า -กลูโคสิ เดส (β-glucosidase, Cb) ทํา หน้า ที่ ย่อยสลายเซลโลไบโอส
ให้เปลี่ยนเป็ นกลูโคส ซึ่งเบต้า-กลูโคสิ เดส จะเป็ นตัว ช่ ว ยส่ งเสริ มการทํา งานของเอ็นโดกลูค าเนส
และเอ็ก โซกลู ค าเนส ทํา ให้ ย่อ ยสลายได้กลู โคสมากขึ้ น การย่อยสลายเซลลู โลสจะได้ป ริ ม าณ
กลูโคสมากหรื อน้อยนั้นขึ้ นอยู่กบั สัด ส่ ว นของเบต้า -กลูโคสิ เดสในเซลลูเลสว่า จะมีมากหรื อน้อย
ดังนั้นเอนไซม์ตวั นี้จึงเป็ นกุญแจสําคัญในการย่อยสลายเซลลูโลสเป็ นนํ้าตาลกลูโคส
องค์ประกอบของเอนไซม์เซลลูเลส (Fan et al., 1987) ประกอบด้ว ยกลุ่มของ
เอนไซม์ (Complex enzyme) ที่ทาํ งานร่ วมก ัน คือ
(1) เอนไซม์ C1 หรื อ Hydrogen bondase ทํา หน้า ที่ กระตุ ้นหรื อแตกสลาย
เซลลูโลสให้มีสภาพที่เหมาะสม คือ ทําให้พนั ธะไฮโดรเจนอ่อนลง เพื่อเป็ นสารตั้งต้นของเซลลูเลส
(2) เอนไซม์ Cx หรื อ β-1,4 Glucanase เป็ นเซลลูเลสที่ ย่อยสลายพันธะใน
เซลลู โ ลส หรื อ อนุ พนั ธ์ ข องเซลลู โลสที่ ล ะลายนํ้า ได้ แต่ ไ ม่ ส ามารถย่อ ยสลายสารตั้ง ต้น ที่ มี
โครงสร้างซับซ้อนได้ กลุ่มนี้มี 3 ชนิด คือ
(2.1) Endo-β-glucanase (β-D-glucan glucanohydrolase, EC.3.2.1.4) จะทํา
หน้าที่ยอ่ ย β-1,4-glycosidic linkage แบบสุ่ม ผลจากการย่อยทําให้สายโมเลกุลของเซลลูโลสสั้นลง
อย่างรวดเร็ว ขณะที่หมู่รีดิวซ์จะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ได้ผลผลิต คื อ กลูโคส และ Cellotriose เอนไซม์น้ ี
ไม่ย่อย Cellobiose แต่ ย่อย Cellodextrin เซลลูโลสที่ เกิด การพองตัว Carboxy methyl cellulose
(CMC) และ Hydroxyl-ethyl cellulose (HEC)ได้ และปฏิ กริ ิ ยาจะลดลงเมื่อสายโมเลกุลเซลลูโลส
สั้นลง ในการตรวจสอบเอนไซม์น้ ีจะใช้ CMC และ HEC เป็ นสารตั้งต้น
(2.2) Exo-β-glucanase (1,4-β-D-glucan cellobiohydrolase, EC.3.2.3.91) หรื อ
cellobiohydrolase ทําหน้าที่ยอ่ ยเซลลูโลสด้า น non-reducing end เอนไซม์น้ ี สามารถย่อยเซลลูโลส
ในรู ปผลึก (Crystalline cellulose) หรื อเซลลูโลสที่ ไม่ละลายนํ้า (Insoluble cellulose) ได้ผลิต ภัณ ฑ์
เป็ น Cellodextrin และ Cellobiose สามารถตรวจสอบเอนไซม์น้ ี โดยการใช้ฝ้าย อวิเซล (Avicel)
และ Amorphous cellulose เป็ นสารตั้งต้น อย่างไรก็ต ามการทํา งานของเอนไซม์จ ะลดลงเมื่อขนาด
ของสารตั้งต้นสั้นลง นอกจากนี้ ยงั พบว่า เอนไซม์น้ ี ไม่สามารถย่อย Crystalline cellobiose ได้ และ
จะเกิดปฏิกริ ิ ยาต้านการทํางานเมื่อมี endoglucanase ผสมอยู่

รายงานฉบับสุดท้าย 6-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(2.3) β-glucosidase (β-D-glucohydrolase EC.3.2.1.21) ทํ า หน้ า ที่ ย่ อ ย


Cellobiose และ Cello-oligosaccharide ได้ผลิต ภัณ ฑ์เป็ นกลูโคส ไม่สามารถย่อยเซลลูโลสหรื อ
cellodextrin ได้ทดสอบเอนไซม์น้ ี โดยใช้ Cellobiose, p-nitrophynyl-β-d-glucoside หรื อ Salicin
เป็ นสารตั้งต้นการย่อยสลายสารตั้งต้นโดยเซลลูเลส
การทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส (Fan et al., 1987) ประกอบด้ว ย 2 ขั้นตอน คื อ
ขั้นตอนแรกเป็ น Prohydrolytic step คื อสายโซ่ Anhydroglucose จะถูกทํา ให้บวมขึ้ น ขั้นที่ สองเกิด
Hydrolytic cleavage ของสายโพลีเมอร์ กลไกการทํางานเริ่ มจากเซลลูโลสจะเกิด บวมตัว (Swelling)
พร้อมกบั มี การสลายพันธะไฮโดรเจน ซึ่ ง เกิด จากการทํา งานร่ ว มก นั ของ Endoglucanase และ
Exoglucanase จะย่อยสลายเซลลู โ ลสได้ป ลายอิ ส ระ ส่ ว น exoglucanase จะดึ ง โมเลกุ ล ของ
cellobiose ออกจากปลายซึ่ งถูกย่อยสลายต่ อไปโดย β-glucosidase จนได้น้ ํา ตาลกลูโคสอิสระ ดัง
รู ปที่ 6.1-3

รูปที่ 6.1-3 การทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส (Anonymous 2, 2007)

การย่อยสลายเซลลูโลสโดยเอนไซม์เซลลูเลสของจุ ลินทรี ยน์ ้ ัน จะเกิด ขึ้ นเมื่อมี


เซลลูโลส เซลโลไบโอส หรื อโพลีแซคคาไรด์อื่นที่มีโมเลกุลของกลูโคสประกอบอยู่เป็ นตัว กระตุ ้น
(Inducer) โดยจุลินทรี ยจ์ ะสร้า งเอนไซม์ CX และ C1 ซึ่ งเป็ น Extracellular enzymes ขับออกมานอก
เซลล์ และย่อ ยสลายสารอิ น ทรี ย ์เ หล่ า นี้ ใ ห้ มี ข นาดเล็กลง จนสามารถผ่ า นเข้า ไปในเซลล์ข อง

รายงานฉบับสุดท้าย 6-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

จุ ลินทรี ยไ์ ด้ หลังจากนั้นเอนไซม์ Cb ซึ่ งเป็ น Intracellular enzyme จึ งเข้า ทํา การย่อยสลายเซลโล
ไบโอสให้เป็ นกลูโคส โดยกลไกการทํางานของเอนไซม์เซลลูเลสและตํา แหน่ งที่ เข้า ทํา ปฏิ กริ ิ ยา ดัง
รู ปที่ 6.1-4

Microorganism

รูปที่ 6.1-4 กลไกการทํางานและตําแหน่งที่เอนไซม์ชนิดต่างๆเข้าทําปฏิกริ ิ ยา


ทีม่ า: ฉัตรชัย และคณะ, 2548

การทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส จะถูกยับยั้งด้ว ยปริ มาณของสารผลิต ภัณ ฑ์ที่


เกิดขึ้นดังนี้ β-glucosidase จะถูกยับยัง้ ด้วยปริ มาณกลูโคสที่เพิม่ ขึ้ น ซึ่ งจะมีผลยับยั้งต่ อเนื่ องคื อ ทํา
ให้มีการสะสมของเซลโลไบโอสเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็ นตัวยับยั้งการทํา งานของเอนไซม์ Endoglucanase
และExoglucannase ทําให้ปฏิกริ ิ ยาช้าลงและยุติในที่สุด ดังรู ปที่ 6.1-5

รายงานฉบับสุดท้าย 6-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เซลลูโลสในธรรมชาติ

การปรับสภาพเบื้ องต้น
สายเซลลูโลส

Cx

C1

เซลโลไบโอส

เอนไซม์ β-glucosidase
กลูโคส

รูปที่ 6.1-5 การย่อยและการยับยั้งการทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส


ทีม่ า: พรรณวิไล, 2545

ปั จจัยที่มีผลต่อการทํางานของเอนไซม์ ประกอบด้วย
(1) อุณหภูมิ (Temperature) อัตราการเกิดปฏิกริ ิ ยาของเอนไซม์จ ะมีค่ า เพิ่มขึ้ น
เป็ นสองเท่ า ในทุ กๆอุณ หภูมิที่เพิ่มขึ้ น 10 องศาเซลเซี ยส โดยอัต ราการเกิด ปฏิ กริ ิ ยามีค่ า สู งสุ ด ที่
อุณหภูมิหนึ่ง เรี ยกว่า ค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทํางาน (Optimum temperature) ซึ่งหากอุณ หภูมิ
สูงหรื อตํ่ากว่าจุดนี้ อัตราการเกิดปฏิกริ ิ ยาของเอนไซม์จ ะช้า ลง เนื่ องจากเอนไซม์เกิด การเสี ยสภาพ
(Denaturation) หรื ออยูใ่ นสภาวะที่ไม่เหมาะสมในการเกิดปฏิกริ ิ ยา โดยเอนไซม์เซลลูเลสจะเกิด การ
เสียสภาพที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส
(2) ค่ า ความเป็ นกรด-ด่ า ง (pH) เอนไซม์ทํา งานได้ดี ที่ สุด ที่ พี เอชค่ า หนึ่ ง
เรี ยกว่า ค่าพีเอชที่ เหมาะสมในการทํา งาน (optimum pH) ซึ่ ง ณ จุ ด ที่ พีเอชมีค่ า สู งหรื อตํ่า กว่า ค่ า นี้
กิจ กรรม (Activity) ของเอนไซม์จ ะลดลง โดยเอนไซม์เซลลูเลสจะทํา งานได้ดี ที่สุด ที่ ค่ า พีเอชระ
หว่าง 5.0-9.0

รายงานฉบับสุดท้าย 6-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(3) ความเข้มข้นของซับสเตรท (Substrate) เมื่อความเข้มข้นของซับสเตรท


เพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิ กริ ิ ยาของเอนไซม์จ ะมีค่ า สู งขึ้ นอย่า งรวดเร็ ว ในช่ ว งแรก และลดช้า ลงเมื่อ
ความเข้มข้นของซับสเตรทสูงขึ้น จนในที่สุดอัตราเร็วของปฏิกริ ิ ยาจะไม่เพิ่มขึ้นอีก
(4) ปริ มาณเอนไซม์ เมื่ออัตราเร็วของปฏิกริ ิ ยาดําเนินไปจนถึงจุ ด สู งสุ ด พบว่า
อัตราเร็วของปฏิกริ ิ ยาจะมีค่าเป็ นสัดส่วนโดยตรงก ับความเข้มข้นของเอนไซม์
(5) ผลของสารยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibitor) เป็ นตัว แปร
หนึ่งที่ใช้ในการอธิ บายกระบวนการทํา งานของเอนไซม์ ความจํา เพาะของเอนไซม์ต่ อซับสเตรท
และลัก ษณะของ Function group ที่ บ ริ เ วณ Active side ทํา ให้เ ข้า ใจและสามารถควบคุ ม
กระบวนการที่เกิดขึ้นได้
เนื่ องจากเอนไซม์เ ป็ นโปรตี น ชนิ ด หนึ่ ง ปั จ จัย ที่ มี ผลต่ อการเสี ยสภาพของ
โปรตีนจึงมีผลต่อการเสี ยสภาพของเอนไซม์ด ้ว ย เช่ น ความร้อน สภาพความเป็ นกรด-ด่ า ง ตัว ทํา
ละลายอินทรี ย ์ ยูเรี ย ความร้อนหรื อรังสีอลั ตราไวโอเลต เป็ นต้น นอกจากนี้ สมบัติ ข องซับสเตรทที่ มี
ผลต่อการทํางานของเอนไซม์ ประกอบด้วย
(1) ความเป็ นผลึก เมื่อเป็ นมากทําให้การย่อยเกิดได้ยากขึ้น
(2) พื้นที่ ผิว สัม ผัส ถ้า พื้ นที่ ผิว สัมผัสระหว่ า งเอนไซม์ก บั ซับสเตรทมี มาก
โอกาสที่เกิดปฏิกริ ิ ยาจะมากขึ้นตามด้วยเช่นก ัน
(3) ปริ มาณลิกนินและเฮมิเซลลูโลสในวัตถุดิบส่งผลให้เกิดการย่อยได้ยากขึ้ น
(4) องศาการเกิด โพลิเมอร์ ไรเซชัน่ (Degree of polymerization) โมเลกุลของ
เซลลูโลสมีลกั ษณะเป็ นเส้นใยที่แข็งแรง เนื่ องจากมีพนั ธะไฮโดรเจนยึด อยู่จึ งถูกย่อยได้ยาก ดังนั้น
การเพิ่มองศาการเกิดโพลิเมอร์ไรเซชัน่ จะทําให้เส้นใยมีค วามแข็งแรงมากขึ้ นกว่า เดิ ม จึ งถูกย่อยได้
ยากขึ้ นเนื่ อ งจากการนํา เอนไซม์มาใช้มีข ้อ ดี ข้อเสี ย และข้อจํา กดั หลายอย่า ง (ดัง ตารางที่ 6.1-1)
ดังนั้นในระบบที่มีการใช้เอนไซม์จะต้องออกแบบให้เหมาะสม เพื่อให้เกิด การย่อยอย่า งสมบู รณ์ ซึ่ ง
จะทําให้ได้กลูโคสเป็ นผลิตภัณฑ์หลักที่จะนําไปหมักต่อไป

รายงานฉบับสุดท้าย 6-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-1 ข้อดีและข้อเสียในการย่อยด้วยเอนไซม์

ข้อดี ข้อเสีย
1. สภาวะที่ใช้ท้ งั อุณหภูมิแ ละความเป็ นกรดด่าง 1. วัตถุดิบต้องได้รับการปรับสภาพก่อน
ไม่รุนแรง 2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้ สามารถเป็ นตัวยับยั้งการ
2. ปฏิกริ ิ ยามีความเฉพาะทําให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มี เกิดปฏิกริ ิ ยาต่อไปได้ (product inhibition)
ความบริ สุทธิ์สูง 3. เกิด การสูญเสี ยเอนไซม์ไป เนื่ องจากถูกดูด
3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่เปลี่ยนเป็ นสารอื่น ซับ (adsorbed) บนวัสดุที่ไม่ย่อย
4. สามารถทําการหมักนํ้าตาลที่เกิดขึ้นไปพร้อม 4. เสี่ ยงต่อการปนเปื้ อน (contamination) ของ
ก ับการย่อยได้ เชื้อจุลินทรี ย ์
5. ไม่จาํ เป็ นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทนต่อการก ัด 5. ถ้าระบบมีสารที่เป็ นตัวขัดขวางปฏิกริ ิ ยา
กร่ อน เช่น เฮมิเซลลูโลส หรื อลิกนิน อัตรา
ปฏิกริ ิ ยาจะช้า
ทีม่ า: ฉัตรชัย และคณะ, 2548

เอนไซม์เซลลูเลสจากจุ ลินทรี ยแ์ ต่ ละชนิ ด อาจมีคุ ณ สมบัติ เหมือนหรื อต่ า งกนั


ขึ้นอยูก่ ับองค์ประกอบ โครงสร้า งของเอนไซม์ ชนิ ด และแหล่งที่ มาของจุ ลินทรี ย ์ ปั จ จัยที่ มีผลต่ อ
คุณสมบัติของเอนไซม์ประกอบด้วย
(1) นํ้า หนัก โมเลกุ ล เอนไซม์เ ซลลูเลสจะมีน้ ําหนักโมเลกุล แตกต่ า งกนั ไป
ตามชนิดและแหล่ง ของจุลินทรี ยท์ ี่ผลิต
(2) อุณหภูมิ และ pH ที่เหมาะสมต่อการทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส
(2.1) อุ ณ หภู มิ ที่ เ หมาะสม และความเสถี ย ร เอนไซม์มี ค วามไวต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อุณ หภูมิที่สูงหรื อตํ่า มีผลต่ อการทํา งานของเอนไซม์ อัต ราการ
เกิด ปฏิ กริ ิ ยามีค่ า สู งสุ ด ที่ อุณ หภูมิห นึ่ ง เรี ยกว่า ค่ า อุณ หภูมิที่เหมาะสมในการทํา งาน (Optimum
temperature) เมื่ออุณหภูมิสูงหรื อตํ่ากว่าจุดนี้ ปฏิกริ ิ ยาของเอนไซม์จ ะช้า ลง เพราะเอนไซม์เกิด การ
เสียสภาพ (Denaturation) หรื ออยูใ่ นสภาวะที่ไม่เหมาะสมในการเกิด ปฏิ กริ ิ ยา เอนไซม์เซลลูเลสจะ
เกิด การเสี ยสภาพที่ อุณ หภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซี ยส ดังเช่ นรายงานของ Okoshi et al. (1990)
พบว่า CMCase จาก Bacillus sp. KSM-522 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทํางานต่ า งกนั คื อ อุณ หภูมิ
ที่ เหมาะสมกบั การทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลส EI คื อ 60 องศาเซลเซี ยส ส่ ว นเอนไซม์ EII และ
EIII มีอุณ หภูมิที่เหมาะสม คื อ 50 องศาเซลเซี ยส ส่ ว นการทดลองของ Salah et al. (2007) ได้แ ยก
เชื้อจาก Egyptian hot spring เพื่อศึกษาความสามารถในการทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส พบว่า การ

รายงานฉบับสุดท้าย 6-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลสจาก Anoxybacillus flavithermus EHP1 ซึ่ งเป็ น thermophilic bacteria


มีอุณ หภูมิที่เหมาะสมคื อ 75 องศาเซลเซี ยส และ นฤมล (2544) พบว่า อุณ หภูมิที่เหมาะสมในการ
ทํางานของเอนไซม์ CMCase จาก Bacillus subtilis CMU4-44 และ Bacillus coagulans TI-5 เท่ า กบั
60 องศาเซลเซี ยส ส่ ว น Lee et al. (2008) พบว่า ที่ อุณ หภูมิ 50 องศาเซลเซี ยส เหมาะสมต่ อการ
ทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลสจาก Bacillus amyloliquefaciens DL-3 นอกจากนี้ Berthelot and
Delmotte (1999) ได้ศึก ษา β-glucosidase จาก Rhizobium sp. USDA 4280 พบว่า อุณ หภูมิ ที่
เหมาะสมต่อการทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส คือ 35 องศาเซลเซียส สําหรับความเสถียรต่ ออุณ หภูมิ
ของเอนไซม์เซลลูเลสนั้น นฤมล (2544) รายงานว่า CMCase จาก Bacilus subtilis CMU4-44 และ
Bacillus coagulans TI-5 เมื่อบ่ มที่ อุณ หภูมิแ ตกต่ า งกนั เป็ นเวลา 10 นาที พบว่า เอนไซม์มีค วาม
เสถียรต่ ออุณ หภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซี ยส ส่ ว น Lee et al.(2008) พบว่า เอนไซม์เซลลูเลสจาก
Bacillus amyloliquefaciens DL-3 มีค วามเสถียรสู งที่ สุด เมื่อบ่ มที่ อุณ หภูมิ 50-70 องศาเซลเซี ยส
เป็ นเวลา 20 ชั่ว โมง นอกจากนี้ Okoshi et al. (1990) พบว่า CMCase จาก Bacillus sp. KSM-522
เมื่อบ่ มที่ อุณ หภูมิแ ตกต่ า งกนั เป็ นเวลา 30 นาที พบว่า เซลลูเลส EII และ EIII มีค วามเสถียรต่ อ
อุณ หภูมิในช่ ว งไม่เกิน 50องศาเซลเซี ยส แต่ EI มีค วามเสถียรต่ ออุณ หภูมิในช่ ว งไม่เกิน 40องศา
เซลเซี ยส แต่ การทดลองของ Robson and Chambless (1984) พบว่า เอนไซม์จ ากBacillus sp. มี
ความเสถียรต่ ออุณ หภูมิในช่ ว ง 45-50องศาเซลเซี ยส ในขณะเดี ยวกนั Ahsan et al. (1997) พบว่า
Endoglucanase จาก Clostridium thermocellum มีค วามเสถียรอยู่ในช่ ว งไม่เกิน 80องศาเซลเซี ยส
และThomas and Zeikus (1981) พบว่า เอนไซม์เซลลูเลสจาก Clostridium thermocellum LQRI และ
Trichoderma reesei QM9414 มีค วามเสถียรที่ อุณ หภูมิ 25-50 องศาเซลเซี ยส ซึ่ งเอนไซม์จ ะเสี ย
สภาพเมื่อบ่มที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
(2.2) pH ที่ เหมาะสม และความเสถียร การเปลี่ยนแปลงของ pH มีผลต่ อการ
ทํางานของเอนไซม์ เมื่อ pH เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย อาจทําให้อตั ราการเร่ งปฏิ กริ ิ ยาของเอนไซม์
เพิม่ ขึ้นหรื อลดลงได้ เนื่องจากโมเลกุลของเอนไซม์มีการแตกตัวตรงหมู่อะมิโน และหมู่ค าร์ บอกซิ ล
หรื อ Side chain ได้ต่ า งกนั ในสภาวะที่ pH แตกต่ า งกนั จะมีผลให้โครงสร้า งสามมิติ ข องเอนไซม์
เปลี่ยนไป เอนไซม์ทาํ งานได้ดีที่สุดที่ pH ค่าหนึ่ ง เรี ยกว่า ค่ า pH ที่ เหมาะสมในการทํา งาน ณ จุ ด ที่
pH มีค่าสูงหรื อตํ่ากว่าค่านี้ กิจกรรมการทํางานของเอนไซม์จะลดลง เอนไซม์เซลลูเลสจะทํา งานได้
ดีที่สุดใน pH ช่วง 5.0 ถึง 9.0 เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น อัตราการเกิดปฏิ กริ ิ ยาของเอนไซม์
จะมีค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกและลดช้าลงเมื่อความเข้มข้นของสารตั้งต้นสู งขึ้ นจนในที่ สุด
อัต ราเร็ ว ของปฏิ กริ ิ ยาจะไม่เพิ่มขึ้ นอีก นฤมล (2544) พบว่า pH ที่ เหมาะสมของ CMCase ของ
Bacillus subtillis CMU4-44 และ Bacillus coagulans TI-5 คื อ pH 5.0 ส่ ว น Lee et al. (2008) พบว่า
Bacillus amyloliquefaciens DL-3 มี pH ที่ เหมาะสมต่ อการทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลส คื อ 7.0

รายงานฉบับสุดท้าย 6-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

และ จากรายงานของ Salah et al. (2007) พบว่ า Anoxybacillus flavithermus EHP1 ซึ่ งเป็ น
Thermophilic bacteria มี pH ที่เหมาะสมคือ 7.5 ส่วนความเสถียรต่ อ pH ของเซลลูเลส จากรายงาน
ของ นฤมล (2544) พบว่า เซลลูเลสจาก Bacillus subtilis CMU4-44 มีความเสถียรที่ pH 4.0-8.0 และ
Bacilluscoagulans TI-5 มีค วามเสถียรต่ อ pH 4.8-6.0 ส่ ว นรายงานของ Lee et al. (2008) พบว่า
เอนไซม์เซลลูเลสจาก Bacillus amyloliquefaciens DL-3 เมื่อเก็บไว้ที่อุณ หภูมิ 50 องศาเซลเซี ยส
เป็ นเวลา 20 ชั่ว โมง พบว่า เอนไซม์มีค วามเสถียรที่ pH ในช่ ว ง 4.0-9.0 นอกจากนี้ Okada (1985)
พบว่า เอนไซม์เซลลูเลสจาก A. niger เมื่อเก็บไว้ที่อุณ หภูมิ 4 องศาเซลเซี ยส ใน pH ที่ แ ตกต่ า งกนั
เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมงพบว่ามีความเสถียรที่ pH 5.5-6.5 และเมื่อ Yan and Lin (1997) ทํา การศึกษาโดย
นํา β-glucosidase จาก A. niger CCRC-31494 เก็บใน pH ที่แตกต่า งกนั ที่ อุณ หภูมิห้อง เป็ นเวลา 24
ชัว่ โมง พบว่าเอนไซม์มีความเสถียรที่ pH 5.0-7.0
(3) ผลของอิออนโลหะและสารยับยั้งการทํา งานของเอนไซม์ สารยับยั้งการ
ทํางานของเอนไซม์ (Enzyme inhibitor) เป็ นตัว แปรหนึ่ งที่ ใช้ในการอธิ บายกลไกการทํา งานของ
เอนไซม์ ความจํา เพาะของเอนไซม์ต่อสารตั้งต้น และลักษณะของ Functional group ที่ บริ เวณ
Active site ทํา ให้เข้า ใจและสามารถควบคุ มกระบวนการที่ เกิด ขึ้ นได้ Hudson et al. (1991) จาก
การศึกษาพบว่ า เอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้ อที่ แ ยกจาก New Zealand hot spring ถูก ยับยั้งเมื่อเติ ม
CaCl2.2H20 และ Iwashita et al. (1998) พบว่า β-glucosidase จาก Aspergillus kawachii ถูกยับยั้ง
โดย AgNO3 และ HgCl2 ส่ ว น FeCl3 มีผลกระตุ ้นการทํา งานของเอนไซม์ Lee et al. (2008) พบว่า
Hg2+ EDTA Mn2+ Ni2+ Pb2+ Sr2+ Co2+ และ K+ มีผลยับยั้งการทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลสจาก
Bacillus amyloliquefaciens DL-3 ซึ่ งสอดคล้องกบั รายงานของ Singh and Kumar (1998) ที่ พบว่า
Hg2+ และ Ag2+ มีผลยับยั้งการทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลสจาก Bacillus brevis VS-1 เช่ นเดี ยวกบั
Thomas and Zeikus (1981) ที่ แ สดงให้เห็ นว่า Ag2+ และHg2+ มีผลยับยั้งการทํา งานของเอนไซม์
เซลลูเลสจาก Clostridium thermocellum LQRI แต่ Ca2+ Mg2+ และ Mn2+ มีผลยับยั้งการทํา งานของ
เอนไซม์เซลลูเลสจาก Trichoderma reesei QM9414 นอกจากนี้ Cu2+ Zn2+ และ ethylene glycol-bis
(β-aminoethyl ether) -N, N-tetraacetic acid มี ผลยับ ยั้ง การทํา งานของเอนไซม์เ ซลลู เลสจาก
Trichoderma reesei QM9414 และ Clostridium thermocellum LQRI นอกจากนี้ Forsberg and
Groleau (1982) ศึกษาความเสถียรของ Endo-β-1,4 glucanase และ β-1,4 glucosidase (Cellobiase)
ที่ผลิตจาก Bacteroides succinogenes ซึ่งเป็ นแบคทีเรี ยที่อยูใ่ นลําไส้โดยเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารที่ มี
Cellobiose เป็ นแหล่งคาร์ บอน พบว่า การเติ ม Merthiolate ปริ มาณ 40 μg/ml ทํา ให้ CMCase
สูญเสียการทํางาน 20% ระหว่าง 24 ชัว่ โมงแรกของการเพาะเลี้ยง

รายงานฉบับสุดท้าย 6-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.1.1.3 กระบวนการหมัก (Fermentation)


การหมัก คือ กระบวนการเปลี่ยนนํ้าตาลที่ ได้จ ากการย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็ นเอทานอล
โดยใช้จุ ลินทรี ย ์ เช่ น ยีสต์ (Yeast) หรื อแบคที เรี ย (Bacteria) ซึ่ งปกติ จ ะเป็ นกระบวนการที่ ไม่ใช้
ออกซิเจน (Anaerobic process) ที่เรี ยกว่า กระบวนการหมัก (Fermentation process) โดยในปั จ จุ บัน
สามารถแบ่งการหมักออกได้เป็ น 3 กระบวนการใหญ่ๆ (อภิชาติ และคณะ, 2549) คือ

6.1.1.3.1 การหมักแบบกะ (Batch fermentation)


การหมักแบบนี้ สารอาหารทั้งหมดจะถูกเตรี ยมไว้กอ่ นที่ จ ะมีการเติ มจุ ลินทรี ย ์
ลงไป และจะไม่มีการเติมสารอาหารอื่นๆลงไปอีกในระหว่า งที่ การหมักดํา เนิ นอยู่ โดยเอทานอลที่
ถูกผลิตขึ้นจะสะสมอยูภ่ ายในนํ้า หมัก ซึ่ งจากการศึกษาถึงผลของระดับเอทานอลที่ เพิ่มขึ้ นกบั การ
เปลี่ยนแปลงของจลนศาสตร์การหมัก พบว่า อัตราการผลิตเอทานอลจะลดลงเมื่อมีค วามเข้มข้นของ
เอทานอลเพิ่ มขึ้ น ที่ เ ป็ นเช่ น นี้ เพราะเอทานอลจะทํา ลายผนัง เซลล์ข องจุ ลิ นทรี ย ์ ทํา ให้ สูญ เสี ย
ความสามารถในการคัดเลือกผ่านของสารเข้า-ออกเซลล์ และเป็ นผลให้จุ ลินทรี ยต์ ายไปในที่ สุด ซึ่ ง
โดยทัว่ ๆไปพบว่า การหมักแบบกะนี้ปริ มาณเอทานอลที่สะสมมักจะอยู่ในระดับที่ ต่ าํ กว่า 12% โดย
นํ้าหนัก และจะมีอตั ราการผลิต เอทานอลอยู่ที่ประมาณ 1.73 กรัมต่ อลิต รต่ อชัว่ โมง ที่ อุณ หภูมิ 37
องศาเซลเซี ยส (Neelam and Amarjit, 1991) แต่ อย่า งไรก็ต ามการหมักแบบกะนี้ มกั จะได้ผลผลิต
ของเอทานอลที่ ต่ าํ กว่ า ระบบการหมักแบบอื่น ๆ ทํา ให้ไ ม่ เป็ นที่ นิย มมากนักในการหมัก ระดับ
อุตสาหกรรม ซึ่งสามารถแสดงถึงข้อดีและข้อเสียของการหมักแบบกะได้ดงั ตารางที่ 6.1-2

ตารางที่ 6.1-2 ข้อดีและข้อเสียของการหมักแบบกะ

ข้อดี ข้อเสีย
1.เหมาะก ับการผลิตที่ มีปริ มาตรไม่มากนัก 1.ต้องเตรี ยมจุลินทรี ยเ์ ริ่ มต้นและวัตถุดิบทุก
2.ในการหมักแต่ละครั้ง จุลินทรี ยท์ ี่ ใช้มีความ ครั้งของการหมักแต่ละชุด ทําให้เสียเวลา
แข็งแรงและว่องไวดี ทั้งนี้เพราะต้องเตรี ยม และค่าใช้จ่ายมาก
ขึ้นใหม่เสมอ ทําให้การผ่าเหล่า (Mutation) 2.ต้องเสี ยเวลาเพื่อให้จุลินทรี ยเ์ จริ ญเติบโตใน
เกิดขึ้นยาก ช่วงแรกทุกครั้ง
3.การควบคุมให้ระบบอยู่ในสภาวะปลอดเชื้อ
ตลอดช่วงการหมักทําได้ง่าย
4.การควบคุมระบบทําได้ง่ายไม่ซบั ซ้อน
ทีม่ า: กนกวรรณ, 2547

รายงานฉบับสุดท้าย 6-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.1.1.3.2 การหมักแบบต่อเนื่อง (Continuous fermentation)


ในอดีตการหมักเอทานอลแบบกะเป็ นวิธีการเดี ยวในการผลิต เอทานอล แต่ ใน
เวลาต่ อมา 30% ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็ นกระบวนการหมักแบบต่ อเนื่ อง (Wheals et al., 1999) เพราะ
กระบวนการหมัก แบบต่ อ เนื่ องนี้ จะมีก ารเติ ม อาหารลงไปในระบบ และมี ก ารนํา เอานํ้าหมัก
บางส่วนออกโดยใช้อตั ราการปั๊ มอาหารเข้าถังหมักต่อปริ มาตรของนํ้าหมักในถังหมัก เรี ยกว่า อัต รา
การเจื อจาง (Dilution rate, D) มี ห น่ ว ยเป็ นชม.-1 ซึ่ งมีข ้อดี ต รงที่ สามารถผลิต เอทานอลได้อย่า ง
ต่อเนื่องเป็ นเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามการหมักเอทานอลแบบต่ อเนื่ องนี้ อาจก่อให้เกิด การสู ญเสี ย
เชื้อจุลินทรี ยไ์ ปในระหว่างที่มีการถ่ายนํ้า หมักออกจากระบบได้ โดยเฉพาะอย่า งยิง่ เมื่อมีอตั ราการ
เจริ ญจํา เพาะ (µ) ตํ่า และมีอตั ราการเจื อจางที่ สูง นอกจากนี้ การควบคุ มปั จ จัยต่ า งๆที่ ทํา ให้เกิด
สถานะคงตัว (Steady state) ของทั้งแบบ Chemostat และแบบ Turbidostat ในระหว่า งกระบวนการ
หมัก พบว่า มีค วามยุ่ง ยากมาก เนื่ องจาก Chemostat เป็ นการควบคุ มระบบให้ เกิด สภาวะคงตัว
(Steady state) ของปริ มาตรนํ้าหมักโดยการควบคุมอัตราการป้ อนของสารอาหารและอัต ราการถ่า ย
นํ้าหมักออกจากระบบให้เท่าก ัน ส่วน Turbidostat เป็ นการควบคุมปริ มาตรของนํ้า หมักให้ค งที่ โดย
การควบคุ มอัต ราการป้ อนสารอาหารและอัต ราการถ่า ยนํ้า หมักออก ซึ่ ง ต้องใช้ค วามเข้มข้นของ
เซลล์ในระบบเป็ นตัวก ําหนด ทํา ให้ระบบมีการควบคุ มที่ ซับซ้อนและไม่เป็ นที่ นิยมในการหมักเอ
ทานอลในระดับ อุต สาหกรรม (Doran, 1995) ซึ่ ง สามารถแสดงถึ งข้อดี แ ละข้อเสี ยของการหมัก
แบบต่อเนื่องได้ดงั ตารางที่ 6.1-3

ตารางที่ 6.1-3 ข้อดีและข้อเสียของการหมักแบบต่อเนื่อง

ข้อดี ข้อเสีย
1.สามารถควบคุมและรักษาอัตราการเจริ ญของ 1.ไม่เหมาะก ับการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มี
จุลินทรี ยไ์ ด้ ความสัมพันธ์ก ับการเจริ ญ
2.สามารถศึกษาถึงผลของการเปลี่ยน 2.การเจริ ญแบบต่อเนื่ องในช่วงเวลานานอาจ
พารามิเตอร์ทางเคมีแ ละกายภาพต่อการเจริ ญ ทําให้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากการ
และการก่อเกิดผลิตภัณฑ์ที่อตั ราการเจริ ญคงที่ แทนที่ของสายพันธุ์อื่นที่เจริ ญได้เร็วกว่า
3.สามารถรักษาระดับความเข้มข้นของมวล 3.การเจริ ญในช่วงเวลานานอาจเกิดปั ญหาการ
ชีวภาพให้คงที่ โดยการแปรค่าอัตราเจือจาง ปนเปื้ อน
ทีม่ า: กนกวรรณ, 2547

รายงานฉบับสุดท้าย 6-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.1.1.3.3 การหมักแบบกึ่งกะ (Fed-batch fermentation)


ในกระบวนการหมักเอทานอลแบบกึง่ กะนั้น สารอาหารจะถูกป้ อนเข้า สู่ ระบบ
เป็ นครั้งคราวหรื อต่อเนื่องก็ได้ แต่จะไม่มีการถ่ายเอานํ้าหมักออกจากระบบในระหว่า งการหมัก ซึ่ ง
เป็ นการผสมผสานระหว่างการหมักแบบกะและแบบต่ อเนื่ อง แต่ จ ะแตกต่ า งจากการหมักแบบกะ
ตรงที่ปริ มาตรอาหารในการหมักแบบกึง่ กะจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลาไม่คงที่ ส่ ว นการหมักแบบต่ อเนื่ อง
นั้นจะแตกต่ า งตรงที่ การหมักแบบต่ อเนื่ องปริ มาตรอาหารคงที่ แ ม้ว่า จะเติ มอาหารด้ว ยปริ มาตร
เท่า ใดอาหารเก่า พร้อมกบั เซลล์จุ ลินทรี ยจ์ ะถูกดึ งออกมาด้ว ยปริ มาตรเท่ า กนั ภายในเวลาเดี ยวกนั
ปั จจุบนั การหมักแบบกึง่ กะได้ถูกนํา ไปใช้ในอุต สาหกรรมการหมักต่ า งๆ เช่ น การผลิต เพนนิ ซิลิน
การผลิ ต ยีสต์ ทํา ขนมปั ง และการผลิต เอทานอล เป็ นต้น (Caylak and Sukan, 1998) เนื่ องจาก
สามารถประยุกต์ใช้ร่ว มกบั การหมักที่ มีค วามเข้มข้นของเซลล์สูง (High cell density) ที่ ใช้เพื่อเพิ่ม
ความต้า นทานความเป็ นพิษ ของเอทานอล และลดต้น ทุ น ที่ เกีย่ วก บั การเตรี ยมเชื้ อเริ่ ม ต้นลงได้
นอกจากนี้ ส่ว นที่ สํา คัญที่ สุด คื อสามารถเพิ่มอัต ราในการผลิต เอทานอลได้โดยอาจมีค่ า สู งถึง 3.8
กรัมต่ อลิต รต่ อชัว่ โมง และได้ค วามเข้ม ข้นของเอทานอลสุ ด ท้า ยที่ ประมาณ 70 กรัมต่ อลิต ร แต่
อย่างไรก็ตามปั ญหาสําคัญที่เกิดขึ้นก ับกระบวนการหมักแบบนี้กค็ ือการการสะสมของเอทานอลซึ่ ง
มีค วามเป็ นพิ ษต่ อเซลล์สู งสะสมอยู่ใ นระบบทํา ให้ในท้า ยที่ สุด แล้ว การหมักจะยุติ ลงจากการที่
จุลินทรี ยไ์ ม่สามารถทนความเป็ นพิษของเอทานอลได้ (Converti et al., 2003) ซึ่ งสามารถแสดงถึง
ข้อดีและข้อเสียของการหมักแบบกึง่ กะได้ดงั ตารางที่ 6.1-4

ตารางที่ 6.1-4 ข้อดีและข้อเสียของการหมักแบบกึง่ กะ

ข้อดี ข้อเสีย
1.ให้ผลผลิต สูง ทั้งนี้เพราะไม่มีการดึงเซลล์ออก 1.เสียเวลาก ับการเติ มอาหาร การให้ความร้อน
ในระหว่างการหมัก การก ําจัดเชื้อ การใช้ระบบหล่อเย็นและการ
2.มีความยืดหยุน่ สูง ทําความสะอาดถังหมัก
3.มีความเสี่ ยงต่อการเกิด การปนเปื้ อนจาก 2.ต้องการก ําลังคนมาก หรื อต้องการเครื่ องมือ
จุลินทรี ยอ์ ื่นตํ่า ที่มรี าคาแพง เช่น การใช้ระบบคอมพิว เตอร์
4.เงื่อนไขของสภาวะต่าง ๆ มีความเหมาะสม ในการควบคุม
(optimization) ต่อจุลินทรี ย ์ เช่น การเจริ ญ
และอายุของเชื้ อ
ทีม่ า: ชุติมา, 2548

รายงานฉบับสุดท้าย 6-19
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

กระบวนการหมักเอทานอลในแบบกึ่งกะนั้น สามารถคํา นวณอัต ราการป้ อน


สารอาหารในขณะที่ปริ มาตรของนํ้าหมัก (V) เพิ่มขึ้นเมื่อเวลา (t) ผ่านไปได้ดงั สมการ

dV
F= = F0eK1 (1)
dt

โดยที่ F0 คืออัตราการป้ อนของสารอาหารเริ่ มต้น และ K เป็ นค่ า คงที่ ซึ่ งขึ้ นอยู่
ก ับรู ปแบบของการป้ อนอาหาร ยกตัว อย่า งเช่ น ค่ า K = 0 แสดงว่า อัต ราการป้ อนสารอาหารคงที่
ตลอดช่วงเวลาการหมัก ส่วนค่า K > 0 แสดงว่าอัตราการป้ อนสารอาหารจะเพิ่มขึ้ นเมื่อเวลาผ่า นไป
และค่า K < 0 แสดงว่าอัตราการป้ อนสารอาหารจะลดลงเมื่อเวลาผ่า นไป ซึ่ งการทํา แบบจํา ลองทาง
คณิ ตศาสตร์ของระบบการหมักแบบกึง่ กะนี้ ควรที่จะมีการพิจารณาถึงปั จ จัยผันแปรต่ า งๆที่ มีผลต่ อ
ประสิทธิภาพของระบบด้วยเช่นก ัน เช่น การเปลี่ยนแปลงปริ มาตร การถ่า ยเทมวล สมดุ ลมวลของ
เซลล์ เอทานอล และสารอาหาร เป็ นต้น (Di Serio et al., 2001) โดยส่ ว นของการคํา นวณค่ า ผลผลิต
ของเซลล์จุลินทรี ย ์ (rX) และผลผลิต ของเอทานอล (rE) นั้น พบว่า เป็ นไปตามรู ปแบบของ Monod
ดังสมการ
Xf Vf – X 0 V0 rXmax F0S0
rX = = (2)
Vftf kX + F0S0

Ef rEmax F0S0
rE = = (3)
tf kE + F0S0

โดย X0 และ S0 คื อ ความเข้มข้นของเซลล์จุ ลินทรี ยแ์ ละสารตั้งต้นเริ่ มต้น Xf


และ Ef เป็ นความเข้มข้นของเซลล์จุ ลินทรี ยแ์ ละเอทานอลในตอนสิ้ นสุ ด การหมัก F0 คื อ อัต ราการ
ป้ อนสารอาหารเริ่ มต้น rXmax และ rEmax คือ ค่าผลผลิตของเซลล์จุลินทรี ยแ์ ละเอทานอลสู งสุ ด kX และ
kE คือ ค่าคงที่อิ่มตัวของเซลล์จุลินทรี ยแ์ ละเอทานอล ตามลํา ดับ นอกจากนี้ แ ล้ว อัต ราการใช้กลูโคส
(rS) สามารถก ําหนดได้ดงั นี้
S0(Vf – V0)
rS = (4)
Vftf

รายงานฉบับสุดท้าย 6-20
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ดัง นั้น ค่ า ผลิต ผลของเซลล์ต่ อ กลู โ คส (YX/S) ค่ า ผลิ ต ผลของเอทานอลต่ อ


กลูโคส (YE/S) และ ค่าผลิตผลของเซลล์ต่อเอทานอล (YX/E) สามารถคํานวณได้ดงั นี้

rX Xf Vf – X 0 V0
YX/S = = (5)
rS S0(Vf – V0)
rE E f Vf
YE/S = = (6)
rS S0(Vf – V0)
rX Xf Vf – X 0 V0
YX/E = = (7)
rE E f Vf

นอกจากนี้ เรื่ องปั จ จัยต่ า งๆในกระบวนการหมัก ก็มีผลต่ อการผลิต เอทานอลด้ว ยเช่ นกนั
ซึ่งหากต้องการให้กระบวนการหมักเอทานอลมีประสิ ทธิ ภาพที่ ดี กค็ วรทํา การปรับปั จ จัยเหล่า นี้ ให้
อยูใ่ นสภาวะที่เหมาะสม โดยปั จจัยที่สาํ คัญในกระบวนการหมักมี 5 ปั จจัยดังนี้
(1) จุลินทรีย์ การคัดเลือกจุลินทรี ยท์ ี่ ใช้ห มักเอทานอล (ธันวดี , 2552) ควรมีลกั ษณะดังนี้
คือ มีความสามารถในการใช้น้ ํา ตาลหลายชนิ ด ได้ เช่ น ใช้ได้ท้ ังนํ้า ตาลเฮกโซส (C6) และเพนโตส
(C5) สามารถผลิตเอทานอลโดยมีค่าผลผลิตต่อหน่วยวัตถุดิบและอัต ราการผลิต ที่ สูง ผลิต ผลิต ภัณ ฑ์
พลอยได้อื่นๆน้อยมาก เช่น กลีเซอรอลและซัคซิเนท มีค วามทนทานต่ อความเข้มข้นของเอทานอล
สูงในระหว่างการหมักได้ มีความทนทานต่อสารยับยั้งอื่นๆที่ อาจเกิด ขึ้ นระหว่า งกระบวนการผลิต
ได้ มีค วามทนทานต่ อสภาวะที่ ผนั แปรในถังหมัก เช่ น ค่ า pH และความเข้มข้นของเกลือได้ มี
ความสามารถในการตกตะกอนเพื่อการเก็บเกีย่ วเซลล์ได้ง่า ย และมีพนั ธุ กรรมที่ เสถียร เป็ นต้น โดย
จุลินทรี ยท์ ี่ สามารถผลิต เอทานอลได้โดยทั่ว ไป ได้แ ก่ Saccharomyces cerevisiae, Saccharomyces
uvarum, Kluyveromyces fragilis และ Zymomonas mobilis เป็ นต้น แต่ เชื้ อจุ ลินทรี ยท์ ี่ ได้รับการ
ยอมรับและถูกนํามาใช้ผลิตเอทานอลในระดับอุต สาหกรรมอย่า งแพร่ ห ลายมาตั้งแต่ อดี ต คื อ ยีสต์
Saccharomyces cerevisiae เนื่ องจากสามารถเจริ ญเติ บโตได้เร็ ว และหมักนํ้า ตาลโดยใช้น้ ํา ตาลได้
หลากหลายชนิ ด เพื่ อผลิ ต เป็ นเอทานอลได้ดี แต่ ใ นปั จ จุ บัน นัก วิ ทยาศาสตร์ พบว่ า แบคที เ รี ย
Zymomonas mobilis มีค วามโดดเด่ นในการผลิต เอทานอลได้ดี กว่า ยีสต์ เนื่ องจากใช้ระยะเวลาใน
การหมักสั้นกว่า ทั้งยังให้ผลเอทานอลใกล้เคี ยงกบั ทฤษฎี ที่ เป็ นเช่ นนี้ เพราะ Zymomonas mobilis
เปลี่ยนนํ้าตาลให้เป็ นเอทานอลโดย Entner-Doudoroff ซึ่ ง pathway ในสภาวะที่ ไร้อากาศการหมัก
นํ้า ตาลเฮกโซส 1โมล จะเกิด เอทานอล 2โมล ต่ า งจาก ยี สต์ Saccharomyces cerevisiae ที่ ใ ช้
Emboden-Meyerhof-Parns pathway ในการผลิตเอทานอลทําให้การหมักนํ้า ตาลเฮกโซส 1 โมล จะ
เกิดเอทานอลเพียงแค่ 1โมล เท่านั้น pathway ทั้งสองมีข้ นั ตอนการผลิตเอทานอลดังรู ปที่ 6.1-6

รายงานฉบับสุดท้าย 6-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(ก) (ข)
รูปที่ 6.1-6 (ก) Entner-Doudoroff pathway และ (ข) Emboden-Meyerhof-Parns pathway
ทีม่ า: (ก) พรรณวิไล, 2545 (ข) ปนิดา, 2546

นอกจากนี้ Zymomonas mobilis ยังมีคุ ณ สมบัติ ที่เหมาะสมอีกหลายประการในการที่ จ ะ


เลือกนําไปใช้ในการผลิตเอทานอล เช่น สามารถทนต่ อแอลกอฮอล์ได้ถึง 13 %(w/v) ทนต่ อสภาวะ
อุณหภูมิและความเข้มข้นของนํ้า ตาลที่ สูงได้ ทั้งยังตกตะกอนเซลล์โดยการจับตัว กนั ในลักษณะที่
เรี ย กว่ า Flocculation ทํา ให้ สะดวกในการแยกเซลล์ห ลังจากการหมัก ที่ สํา คัญ เชื้ อนี้ สามารถ
เจริ ญเติบโตได้ในสภาพที่ปราศจากออกซิ เจน จึ งไม่ต ้องมีการควบคุ มออกซิ เจน ซึ่ งต่ า งจากยีสต์ที่
ต้องการออกซิเจนเพื่อรักษาปริ มาณของเซลล์ให้มากพอสําหรับการผลิต เอทานอล ทํา ให้ในปั จ จุ บัน
Zymomonas mobilis จึงเป็ นที่สนใจในการนํามาใช้ผลิตเอทานอลทางอุตสาหกรรมเป็ นจํานวนมาก
เชื้อจุลินทรี ย ์ Zymomonas mobilis (สรวง และคณะ, 2525) ลักษณะโดยทั่ว ไปมีรูปร่ า งเป็ น
รู ปแท่งยาว 2-6 ไมโครเมตร กว้าง 1-1.4 ไมโครเมตร การจัดเรี ยงตัวอาจอยู่เป็ นเซลล์เดี่ ยวหรื อเป็ นคู่
ติ ด สี ยอ้ มสี แ ดง (Gram negative) มีแ ฟลกเจลลา 1-4 อันในตํา แหน่ งขั้ว เซลล์ ไม่มีการสร้า งสปอร์
เจริ ญในอาหารแข็ง โคโลนีมีสีขาวครี ม เจริ ญได้ดี ในสภาวะไร้ออกซิ เจน แต่ สามารถทนออกซิ เจน

รายงานฉบับสุดท้าย 6-22
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ได้บา้ ง ใช้น้ าํ ตาลกลูโคส ซู โครส และฟรุ ค โตสได้ เจริ ญได้ดี ที่อุณ หภูมิ 30-37 องศาเซลเซี ยสและ
ความเป็ นกรดด่าง 5.0-7.0 มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนํามาใช้ในการผลิตเอทานอล ดังนี้
(1.1) สร้างเอทานอลได้ในปริ มาณมากถึง 1.5-1.9 โมลต่ อนํ้า ตาลกลูโคส 1 โมล โดย
ใช้น้ าํ ตาล 98% ในการสร้า งเอทานอล และ 2% ใช้ในการเจริ ญ ในขณะที่ ยีสต์ Saccharomyces ใช้
เพียง 90% ของนํ้าตาลที่มีในการสร้างเอทานอล
(1.2) เอทานอลที่ ได้มี Higher alcohol เจื อปนอยู่ 0.6 มิลลิกรัมต่ อนํ้า ตาลกลูโคส 1
กรัม ซึ่งน้อยกว่ายีสต์ Saccharomyces ที่หมักในสภาพเดียวก ันถึง 40 เท่า
(1.3) สามารถเจริ ญและหมักได้ในนํ้า ตาลที่ มีค วามเข้มข้นสู งถึง 25% และบางสาย
พันธุ์ถึง 30%
(1.4) สามารถเจริ ญได้ในภาวะที่มีแอลกอฮอล์สูง ทุ กสายพันธุ์สามารถเจริ ญได้ในเอ
ทานอล 5.5% และบางสายพัน ธุ์ท นได้ถึ ง 7.7-10%ซึ่ ง สอดคล้องกบั ความเจริ ญและหมักให้ไ ด้
แอลกอฮอล์ในสภาพที่มีความเข้มข้นของนํ้าตาลสูง
(1.5) สามารถเจริ ญในสภาพที่มีกรดสูง โดยสามารถเจริ ญในสภาพ pH 3.5-4.0 ซึ่ งจัด
ว่าเป็ นความเป็ นกรดด่างที่ต่าํ มากสําหรับแบคทีเรี ยทัว่ ไป ซึ่งเป็ นลักษณะที่ดี สํา หรับการป้ องกนั การ
ปะปนของเชื้ออื่น
(1.6) สามารถทนต่อซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ได้ถึง 500 ส่ ว นในล้า นส่ ว น (ppm) ซึ่ งเป็ น
ปริ ม าณที่ แ บคที เรี ยและจุ ลิน ทรี ยห์ ลายชนิ ด ถูก ยับ ยั้ง ลัก ษณะเช่ นนี้ เป็ นประโยชน์เ มื่อมี การนํา
สารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์มาใช้เป็ นตัวทําละลาย
(1.7) การตกตะกอนจะเป็ นการตกตะกอนจับตัวก ันในลักษณะที่ เรี ยกว่า Flocculation
ซึ่งเหมาะและสะดวกในการแยกเซลล์ออกภายหลังจากการหมัก
(2) อาหาร หมายถึง สารที่ จ ํา เป็ นต่ อการเจริ ญของแบคที เรี ย ซึ่ งใช้ในการดํา รงชี วิต และ
ขยายพันธุ์ สารอาหารที่จาํ เป็ นได้แก่
(2.1) คาร์บอน เป็ นสารอาหารหลักที่ แ บคที เรี ยต้องได้รับเพียงพอเพื่อการดํา รงชี วิต
และการขยายพันธุ์ Zymomonas mobilis สามารถหมักนํ้า ตาลกลูโคส ฟลุค โตส และซู โครส โดยใช้
กระบวนการแบบเอทเนอร์-ดูโดรอฟฟ์ (Entner-Doudoroff pathway) ในการย่อยสลายได้เอทานอล
และคาร์ บอนไดออกไซด์ เป็ นผลิต ภัณ ฑ์ห ลัก นอกจากนั้น ยัง มีก รดแลคติ ค (Lactic acid) และ
อะซีตาลดี ไฮด์ (Acetaldehyde) เกิด ขึ้ นเล็กน้อย โดยในนํ้า หมักที่ มี Yeast extract จะมีกรดซัค ซิ นิก
(Succinic acid) เกิด ขึ้ นด้ว ย เนื่ องจากกรดอะมิโน (Amino acid) ใน Yeast extract เกิด ปฏิ กริ ิ ย า
รี ด ักชั่น (Reduction) และถ้า หมักในนํ้า หมักที่ มีกลูโคสเป็ นแหล่งคาร์ บ อนเชื้ อ จะเจริ ญ และผลิ ต
แอลกอฮอล์ได้ดีในระยะ 10 ชัว่ โมง ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซี ยส และจะใช้น้ ํา ตาลกลูโคสได้เกือบ
หมดเมื่อหมักเป็ นระยะเวลา 2 วัน ซึ่งการใช้น้ าํ ตาลกลูโคสแสดงได้ดงั สมการ

รายงานฉบับสุดท้าย 6-23
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

1 C6H12O6 1.8 C2H5OH + 1.9 CO2 + 0.15 lactic acid (8)

(2.2) ไนโตรเจน ในนํ้าหมักที่ มี Peptone หรื อ Yeast extract เชื้ อ Zymomonas mobilis
จะมี Generation time ตํ่าสุด และสามารถผลิตเอทานอลได้มากที่ สุด เมื่อเที ยบกบั การเจริ ญและการ
ผลิตเอทานอลของเชื้อพันธุ์น้ ีในนํ้า หมักที่ ใช้แ หล่งไนโตรเจนแหล่งอื่น เช่ น แอมโมเนี ยมคลอไรด์
หรื อแอมโมเนี ยมซัลเฟต สํา หรับเชื้ อ สายพันธุ์น้ ี Yeast extract ไม่ใช่ แ หล่งพลังงาน แต่ เกีย่ วข้อ ง
โดยตรงก ับกระบวนการสังเคราะห์ทางชีววิทยา (Biosynthesis)
(2.3) เกลือแร่ และวิตามินชนิดต่างๆ ชนิดของแร่ ธาตุ ที่แ บคที เรี ยต้องการจะแตกต่ า ง
ก ันไปในแบคทีเรี ยแต่ละชนิด สําหรับ Zymomonas mobilis เจริ ญและผลิต เอทานอลได้ในนํ้า หมักที่
มีองค์ประกอบของ KH2PO4 (NH4)2SO4 และ MgSO4.7H2O โดย KH2PO4 ทํา หน้า ที่ เ ป็ นแหล่ ง
ฟอสเฟต ส่วน (NH4)2SO4 จะมีผลต่อการย่อยสลายกลูโคส คื อ ถ้า มีอยู่ในปริ มาณที่ เหมาะสมจะทํา
ให้การย่อยสลายกลูโคสเป็ นไปด้ว ยดี และ MgSO4.7H2O จะทํา หน้า ที่ เกีย่ วข้องกบั การทํา งานของ
Glucose-6-phosphate dehydrogenase
(3) ค่ าความเป็ นกรด-ด่ า ง การเปลี่ยนแปลงค่ า ความเป็ นกรด-ด่ า งของกระบวนการหมัก
มีผ ลต่ อ เมตาบอลิ ซึ ม ของเซลล์ ซึ่ งอาจมี ผลทํา ให้ ก ารเจริ ญ ของแบคที เ รี ย หยุด ชะงัก ลง ดัง นั้น
การเลือกใช้สารละลายบัฟเฟอร์ ที่เหมาะสมในการหมัก จะช่ ว ยควบคุ มค่ า ความเป็ นกรด-ด่ า งของ
ระบบไว้ได้อย่างดี นอกจากนี้ยงั สามารถลดปั ญหาการปนเปื้ อนจากจุลินทรี ยช์ นิดอื่นๆได้อีกด้ว ย ซึ่ ง
ค่าความเป็ นกรด-ด่างที่เหมาะสมในการเจริ ญของ Zymomonas mobilis จะอยูใ่ นช่วง 5.0 ถึง 7.0
(4) อุณหภูมิ มีผลโดยตรงก ับการเจริ ญของแบคที เรี ยรวมทั้งจลนพลศาสตร์ ข องการหมัก
ซึ่งอัต ราการเจริ ญของแบคที เรี ยจะสู งขึ้ นตามอุณ หภูมิจ นถึงจุ ด หนึ่ ง หากอุณ หภูมิสูงเกินจุ ด นี้ ไป
แบคทีเรี ยจะเจริ ญได้ชา้ ลงและตายไปในที่สุด และเนื่องจากกระบวนการหมักเป็ นปฏิกริ ิ ยาคายความ
ร้อน (Exothermic process) จึงมีการคายความร้อนออกมา ซึ่งถ้าปล่อยให้มีการคายความร้อนออกมา
มากเกินอาจทําให้แบคทีเรี ยตายได้ ดังนั้นจึงต้องปรับอุณหภูมิให้ได้ตามความสามารถของแบคที เรี ย
ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมก ับการเจริ ญของ Zymomonas mobilis จะอยูใ่ นช่วง 30 ถึง 38 องศาเซลเซียส
(5) การให้ อากาศ (Aeration) มีความจําเป็ นและสําคัญสําหรับการหมักแบบใต้พ้ืนผิว ของ
จุ ลิ น ทรี ย ์ที่ ต ้อ งใช้อ อกซิ เ จน เพราะออกซิ เ จนจากอากาศที่ ละลายในนํ้า หมักมี น้อ ยมาก และมี
เฉพาะที่บริ เวณใกล้ๆพื้นผิวสัมผัสของอากาศก ับนํ้าหมักเท่านั้น ส่วนใต้ผิวของนํ้า หมักที่ ลึกลงไปจะ
ไม่มีออกซิเจนอยูเ่ ลย ซึ่งยีสต์ส่วนใหญ่ที่ผลิต เอทานอลในขั้นอุต สาหกรรมจํา เป็ นต้องใช้ออกซิ เจน
ในการหายใจและสร้างเซลล์ เพื่อเป็ นการเพิ่มปริ มาณเชื้ อในกระบวนการหมัก ดังนั้นการให้อากาศ
จึ งจํา เป็ นต้องกระทํา อย่า งเพียงพอ แต่ Zymomonas mobilis เป็ นแบคที เรี ยที่ เจริ ญได้ในสภาพไร้

รายงานฉบับสุดท้าย 6-24
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ออกซิ เจน โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง ปริ มาณการผลิ ต แอลกอฮอล์จ ะมี ค่ า สู งเมื่ อทํา สภาวะการหมักให้
ปราศจากออกซิเจนอย่างแท้จริ ง ดังแสดงในตารางที่ 3.5 และถึงแม้จ ะอยู่ในสภาวะที่ มีออกซิ เจนก็
ตาม Zymomonas mobilis ก็สามารถเจริ ญและผลิต เอทานอลได้ แต่ จ ะได้ผลิต ภัณ ฑ์สารประกอบ
ชนิดอื่นๆออกมาด้ว ย ซึ่ งไม่เป็ นที่ ต ้องการ ดังนั้นการใช้เชื้ อ Zymomonas mobilis ในการผลิต เอทา
นอล จึงได้เปรี ยบยีสต์ตรงที่สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานจากการที่ ไม่ต ้องเติ มอากาศลงไป
ได้

ตารางที่ 6.1-5 อิทธิพลของออกซิ เจนที่ มีต่อการหมักของ Zymomonas mobilis

สารประกอบ ปริมาณผลิตภัณฑ์ เมือ่ เติมออกซิเจนในปริมาณ (โมล)


ที่เชื้อผลิตขึน้ 0 0.6 1.5
CO2 1.94 1.96 1.91
ethanol 1.99 1.91 1.7
acetaldehyde - 0.021 0.17
acetoin - 0.01 0.04
acetic acid 0.01 0.06 0.03
lactic acid 0.002 0.002 0.004
glycerol 0.004-0.03 0.009 0.019
ทีม่ า: พรรณวิไล, 2545

6.1.1.4 การแยกผลิตภัณฑ์ เอทานอลและการทําให้ บริสุทธิ์ (Ethanol production)


เมื่ อ เสร็ จ สิ้ น กระบวนการหมัก นํ้ าตาลด้ ว ยเชื้ อจุ ลิ น ทรี ย ์แ ล้ว นํ้าหมัก ที่ ไ ด้จ ะผ่ า นสู่
กระบวนการกลัน่ (Distillation) เพื่อทําให้เอทานอลมีค วามบริ สุทธิ์ เพิ่มขึ้ น (95% โดยปริ มาตร) ใน
ระหว่างการกลัน่ นี้ผลิตภัณฑ์อื่นที่เกิดขึ้นในระหว่างการหมักจะถูกแยกออกไป เอทานอลที่ เข้มข้นนี้
จะถู ก ส่ ง ต่ อ ไปยัง กระบวนการก าํ จัด นํ้า (Dehydration) เพื่ อ ให้ ไ ด้ เ อทานอลบริ สุ ท ธิ์ ที่ ไ ร้ น้ ํ า
(Anhydrous ethanol) ที่เข้มข้นมากกว่า 99.5% โดยปริ มาตร ปั จจุบนั การผลิต เอทานอลส่ ว นใหญ่จ ะ
ใช้กระบวนการหมัก ขั้นตอนในการแยกผลิต ภัณ ฑ์เอทานอลที่ มีค วามเข้มข้นประมาณ 8-12% โดย
ปริ มาตรออกจากนํ้าหมักหรื อนํ้าส่าโดยใช้กระบวนการทางเคมี ได้แ ก่ กระบวนการกลัน่ ลํา ดับส่ ว น
ซึ่งสามารถแยกเอทานอลให้ได้ความบริ สุทธิ์ 95.6% โดยปริ มาตร (ในทางปฏิ บัติ เรี ยกว่า เอทานอล
95%) อย่างไรก็ตามการกลัน่ ที่ความดันบรรยากาศจะไม่สามารถผลิต เอทานอลให้มีค วามเข้มข้นสู ง
กว่านี้ได้ เนื่องจากเกิดองค์ประกอบที่เป็ นของผสมอะซีโอโทรป (Azeotropic mixure) หรื อของผสม

รายงานฉบับสุดท้าย 6-25
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ของสารที่มีจุดเดือดคงที่ แต่สาํ หรับการนําไปใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อเป็ นเชื้อเพลิง จะต้องทํา ให้เอทา


นอลมีค วามบริ สุ ทธิ์ สู งขึ้ นที่ ระดับ ไม่ต่ าํ กว่า 99.5% โดยปริ มาตร มีชื่อเรี ยกว่า เอทานอลไร้น้ ํา
(Anhydrous หรื อ Absolute ethanol) ดังนั้นจํา เป็ นต้อ งใช้เทคนิ ค อื่นๆ มาช่ ว ยแยกนํ้า ออกจาก
แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 95.6% โดยปริ มาตร กรรมวิธีในการแยกนํ้า เพื่อผลิต เอทานอลไร้น้ ํา ที่
นิยมใช้มีอยู่ 3 แบบ ประกอบด้วย
(1) กระบวนการแยกด้ว ยวิธีกลัน่ สกดั แยกกบั สารตัว ที่ สาม (Extractive distillation with
the third component) วิธีน้ ีเป็ นวิธีด้ งั เดิมที่ใช้ก ันมาเป็ นเวลานาน ปั จจุบนั ก็ยงั ใช้ก ันในเชิ งพาณิ ชย์อยู่
แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนสารตัว ที่ สามจากเดิ มที่ ใช้สารเบนซี น (Benzene) มาใช้สารไซโคลเฮกเซน
(Cyclohexane) ซึ่งมีอนั ตรายน้อยกว่าแทน
(2) กระบวนการแยกด้วยวิธีเมมเบรน (Membrane pervaporation) ซึ่งจะใช้เยือ่ หุ ้มบางๆมา
เป็ นตัวซึมผ่านและระเหยกลายเป็ นไอเพื่อแยกนํ้าออกจากเอทานอล
(3) กระบวนการแยกด้ว ยวิ ธีโ มเลคู ล าซี ฟ (Molecular sieve separation) โดยการให้
เอทานอลมีน้ าํ (Hydrous ethanol) ผ่านวัสดุที่มีรูพรุ นสูง เช่น Zeolite เพื่อให้รูพรุ นนั้นดักเอานํ้าออก
โดยทั้ง 3 กระบวนการดังกล่า วมีข ้อดี แ ละข้อเสี ยที่ แ ตกต่ า งกนั ไป การพิจ ารณาเลือกใช้จึ ง
ขึ้นอยูก่ ับผลิตภัณฑ์ของเอทานอลที่ได้รับว่าจะนําไปใช้ในอุตสาหกรรมประเภทใด ความสะดวกใน
การปฏิบตั ิงานและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินการด้วย อย่า งไรก็ต ามกระบวนที่ ได้รับความนิ ยม
มากที่สุดและใช้ในอุตสาหกรรมเอทานอลของไทยคือ กระบวนการแยกด้วยวิธีโมเลคูลาซีฟ

6.1.2 กระบวนการผลิตเอทานอลแบบ Gasification

Gasification คื อ การเปลี่ยนชี ว มวลซึ่ งมีองค์ประกอบหลักคื อ คาร์ บอน ไฮโดรเจน และ


ออกซิเจน ให้กลายเป็ นแก๊สที่เผาไหม้ได้ หรื อ การแตกสารประกอบประเภทคาร์ บอนของเซลลูโลส
ให้กลายเป็ นแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide)
และไฮโดรเจน (Hydrogen) โดยกระบวนการดังกล่าวเป็ นการเผาไหม้อินทรี สารแบบจํา กดั ปริ มาณ
ออกซิ เจนทํา ให้เกิด การเผาไหม้ที่ไม่สมบู รณ์ จากนั้นหมักด้ว ยจุ ลินทรี ยจ์ นกลายเป็ นแอลกอฮอล์
ผ่านการกลัน่ และแยกนํ้าจนเป็ นเอทานอล แต่ วิธีน้ ี มีข ้อจํา กดั คื อชี ว มวลที่ นํา มาใช้ค วรมีคุ ณ สมบัติ
ของเชื้อเพลิงที่เหมาะสมในการป้ อนเตาแก๊สซิไฟเออร์ ดังนี้ คือมีข นาดที่ เหมาะสม และสมํ่า เสมอ มี
ความชื้ น น้อย เพื่ อให้ได้ประสิ ทธิ ภาพที่ ดี (ไม่ค วรเกิน 20-30%) และมีค วามหนาแน่ นเชื้ อเพลิ ง
(Bulk density) เหมาะสมและสมํ่า เสมอ ข้อดี ข องระบบแก๊สซิ ฟิเคชั่น คื อ เป็ นระบบที่ เหมาะกบั
ระบบการผลิต ไฟฟ้ าขนาดเล็ก (ตํ่า กว่า 1 เมกะวัต ต์) จึ งเหมาะสมกบั บริ เวณที่ มีปริ มาณเชื้ อเพลิง
จําก ัด และเหมาะสมก ับหมู่บา้ นชนบทที่กระแสไฟฟ้ าเข้าไม่ถึง ส่ ว นข้อเสี ยของระบบแก๊สซิ ฟิเคชั่น

รายงานฉบับสุดท้าย 6-26
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

คือ เป็ นระบบที่มีน้ าํ มันดินหรื อ ทาร์ (Tar) ผสมในแก๊สเชื้ อเพลิง ทํา ให้ต ้องหาทางกาํ จัด หรื อทํา ให้
น้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาต่อการทํางานของเครื่ องยนต์ นอกจากนี้ถา้ ออกแบบระบบการเผาไหม้ไม่
ดี และมีคุณภาพเชื้อเพลิงที่ ไม่สมํ่า เสมอ (ขนาด ความชื้ น ปริ มาณขี้ เถ้า ค่ า ความร้อน) จะส่ งผลให้
แก๊สเชื้ อเพลิงที่ ได้มีคุ ณ ภาพไม่แ น่ นอน และการผลิต ไฟฟ้ าจะไม่สมํ่า เสมอ โดยในกรณี ที่นํา แก๊ส
เชื้ อเพลิงไปผลิต ไฟฟ้ าโดยเครื่ องยนต์ จํา เป็ นต้องมีช่า งเครื่ องยนต์ประจํา เพื่อให้มีการบํา รุ งดู แ ล
รักษาที่ดี

6.1.2.1 กระบวนการแก๊ สซิฟิเคชั่น


กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ เป็ นกระบวนการในการแปรรู ปเชื้ อเพลิงแข็งเป็ นแก๊สเชื้ อเพลิง
อาศัย หลัก การการเผาไหม้ใ นภาวะที่ มี อ ากาศจํา ก ดั โดยทั่ว ไปกระบวนการแก๊ส ซิ ฟิ เคชั่ น
ประกอบด้วยปฏิกริ ิ ยาระหว่างคาร์บอนกบั อากาศ ออกซิ เจน ไอนํ้า หรื อของผสมของสารดังกล่า ว
ข้า งต้น ที่ อุณ หภูมิสูง กว่า 700 องศาเซลเซี ยส แก๊สผลิต ภัณ ฑ์ห รื อแก๊สสังเคราะห์ ที่ได้ส ามารถ
นําไปใช้เป็ นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้ า ความร้อน หรื อเป็ นสารตั้งต้นในการผลิต เคมีภณ ั ฑ์
ต่างๆ เชื้อเพลิงเหลว รวมทั้งแก๊สเชื้ อเพลิง กระบวนการนี้ สามารถประยุกต์ใช้กบั เชื้ อเพลิงแข็งได้
หลากหลายชนิ ด กระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นเป็ นรู ปแบบหนึ่ งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทาง
เทอร์โมเคมีคอล (Thermochemical Conversion Process) ที่อาศัยความร้อนและปฏิ กริ ิ ยาเคมีในการ
แปรรู ป พลัง งานเคมี ให้ อ ยู่ใ นรู ป ที่ เ หมาะต่ อ การนํา ไปใช้ง านได้อ ย่า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ งมี
องค์ป ระกอบของก๊า ซที่ สามารถใช้เป็ นเชื้ อเพลิง ได้แ ก่ ก๊า ซคาร์ บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊า ซ
ไฮโดรเจน (H2) และก๊า ซมีเทน (CH4) เรี ยกว่า Producer gas ซึ่ งกระบวนการเกิด ปฏิ กริ ยาสามารถ
แบ่งออกได้เป็ น 4 ขั้นตอน ได้แก่
(1) ขั้นตอนการอบแห้ง (Drying Zone) บริ เวณนี้ไอนํ้าที่แทรกตัวอยูใ่ นเชื้อเพลิงจะโดนไล่
ออกด้วยความร้อนที่มาจากโซนการเผาไหม้ของเตาปฏิกรณ์
(2) ขั้นตอนการกลัน่ สลาย (Pyrolysis Zone) เป็ นขั้นตอนการเผาไหม้เชื้ อเพลิงชี ว มวลโดย
อาศัยความร้อนจากโซนการเผาไหม้ทํา ให้สารประกอบอินทรี ยใ์ นเชื้ อเพลิงชี ว มวลแตกตัว ออกอยู่
ในรู ปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
(3) ขั้นตอนการเผาไหม้ (Combustion Zone) เป็ นขั้นตอนการเผาไหม้เชื้ อเพลิงชี ว มวลที่ มี
การเผาโดยจ่ายอากาศเข้าไปในเตาปฏิ กรณ์ ซึ่ งจะไปทํา ปฏิ กริ ิ ยากบั เชื้ อเพลิงแข็งที่ มาจากขั้นตอน
การกลัน่ สลาย เพื่อให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และโมเลกุลของนํ้า(H2O)
(4) ขั้นตอนรี ด ักชั่น (Reduction Zone) เป็ นขั้นตอนปฏิ กริ ิ ยาก่อเกิด ก๊า ซเชื้ อเพลิงชี ว มวล
ขั้นตอนนี้เป็ นขั้นตอนที่ สองของการเผาไหม้แ บบจํา กดั อากาศ ซึ่ งจะก่อให้เกิด ก๊า ซคาร์ บอนมอน
นอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรเจน (H2)

รายงานฉบับสุดท้าย 6-27
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ลําดับการเปลี่ยนแปลงในการเกิดปฏิกริ ิ ยาแก๊สซิ ฟิเคชั่น ดังแสดงในรู ปที่ 6.1-7 วัต ถุดิ บจะ


เคลื่อนที่ลงมาและถูกทําให้แห้ง (Drying) ด้วยแก๊สร้อนที่สวนทางขึ้ นมาเมื่อเคลื่อนที่ ลงมาอุณ หภูมิ
จะสู ง ขึ้ นทํา ให้ ว ตั ถุ ดิ บ ร้ อนขึ้ น จนเกิด การระเหยของสารที่ ระเหยง่ า ยและเกิด การไพโรไลซิ ส
(Pyrolysis) หรื อการสลายตัวภายใต้สภาวะที่ไร้ออกซิเจน ในขั้นถัดไปอุณ หภูมิจ ะสู งขึ้ นจนเกิด แก๊ส
เชื้อเพลิงซึ่งเป็ นการแก๊สซิฟิเคชัน่ พวกถ่านชาร์ที่ได้จ ากการไพโรไลซิ สประกอบด้ว ยคาร์ บอนเป็ น
ส่วนใหญ่และจะผ่านเข้าสู่ส่วนที่มีปริ มาณออกซิ เจนอยู่มากเพียงพอเกิด การเผาไหม้ (Combustion)
ให้ความร้อนป้ อนแก่ระบบทั้งหมด

Raw
Material Gas
Drying
Pyrolysis
Gasification
Combustion
Ash and Stream and O2
Unreacted carbon Or Stream and Air

รูปที่ 6.1-7 ลําดับขั้นการเปลี่ยนแปลงการเกิดปฏิกริ ิ ยาแก๊สซิฟิเคชัน่


ทีม่ า: เบญจมาศ, 2547

ปฏิกริ ิ ยาการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชัน่ เป็ นปฏิ กริ ิ ยาระหว่า งคาร์ บอน


ก ับอากาศ หรื อคาร์บอนก ับไอนํ้า ดังแสดงในตารางที่ 6.1-6ปฏิ กริ ิ ยาต่ า งๆเหล่า นี้ ได้มีการศึกษามา
นานแล้ว ซึ่งนับว่าเป็ นปฏิกริ ิ ยาพื้นฐานที่สามารถนํามาอธิบายกระบวนการเผาไหม้โดยทัว่ ไปได้

รายงานฉบับสุดท้าย 6-28
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-6 ปฏิกริ ิ ยาการเผาไหม้พ้ืนฐาน

ปฏิกิริยา ลักษณะ ค่ าความร้ อนของการ สมการที่


ของ เกิดปฏิกิริยา (∆H)
ปฏิกิริยา (กิโลจูล/โมล)
C + O2 → CO2 - 408.6 (9)
C + 1/2O2 → CO - 123.1 (10)
C + CO2 → 2CO + 162.5 (11)
CO + 1/2O2 → CO2 - 285.5 (12)
C + H2O → CO + H2 + 119.0 (13)
C + 2H2O ↔ CO2 + 2H2 + 75.4 (14)
CO + H2O ↔ CO2 + H2 - 43.5 (15)
ทีม่ า: เบญจมาศ, 2547
หมายเหตุ
(1) ปฏิกริ ิยาทดลองที่สภาวะ 927 OC ความดัน 1 บรรยากาศ ใช้คาร์บอนมาตรฐานในรูปของกรา
ไฟต์
(2) เครื่องหมายลบ หมายถึง ปฏิกริ ิยาคายความร้อน (Exothermic Reaction)
เครื่องหมายบวก หมายถึง ปฏิกริ ิยาดูดความร้อน (Endothermic Reaction)

ปฏิ กริ ิ ยาที่ (9) เป็ นการเผาไหม้ค าร์ บ อนในบริ เวณที่ มี แ ก๊ส O2 มากเกินพอเกิด เป็ น CO2
ปฏิกริ ิ ยาที่ (10) เป็ นการเผาไหม้คาร์บอนที่ก ําลังติดไฟภายใต้สภาวะที่ มีแ ก๊ส O2 ไม่เพียงพอเกิด เป็ น
CO ปฏิ กริ ิ ย าที่ (11) เรี ยกว่า ปฏิ กริ ิ ย าบู ดู อาร์ ด (Boudouard) เป็ นปฏิ กริ ิ ยาพื้น ฐานของการผลิ ต
โปรดิ ว เซอร์ แ ก๊ส CO2 จะทํา ปฏิ ก ริ ิ ยากบั คาร์ บอนที่ มากเกินพอในอนุ ภาคของแข็ งเกิด เป็ น CO
ปฏิกริ ิ ยาที่ (12) จะเกิดขึ้นเมื่อมีแ ก๊ส O2 เหลืออยู่ CO จะรวมตัว กบั แก๊ส O2 ได้เป็ น CO2 ปฏิ กริ ิ ยาที่
(13) และ (14) มีการป้ อนไอนํ้าเข้าไปกบั อากาศ ทํา ให้เกิด การแตกตัว ของไอนํ้า เข้า ทํา ปฏิ กริ ิ ยากบั
คาร์บอน ปฏิกริ ิ ยาที่ (14) เรี ยกว่า วอเตอร์ แ ก๊สซิ ฟิเคชั่น (Water Gasification) และ ปฏิ กริ ิ ยาที่ (15)
เป็ นปฏิ กริ ิ ยาระหว่า ง CO ก บั ไอนํ้า ได้เป็ น CO2 ก บั H2 ซึ่ งเรี ยกว่ า ปฏิ กริ ิ ยาวอเตอร์ -แก๊สชิ พ ต์
(Water-Gas Shift)
ขั้นตอนสําคัญของกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ได้แก่ การไพโรไลซิ สคาร์ บอนตามด้ว ยการ
แก๊สซิ ฟิเคชั่นถ่า นชาร์ และยังอาจเกิด การแก๊สซิ ฟิ เคชั่นนํ้า มันดิ นด้ว ยอุณ หภูมิ ข องกระบวนการ
แก๊สซิฟิเคชัน่ อยูใ่ นช่วง 800-1,100 องศาเซลเซียส ภายใต้ค วามดันตั้งแต่ ค วามดันบรรยากาศขึ้ นไป

รายงานฉบับสุดท้าย 6-29
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ระหว่างการแก๊สซิ ฟิเคชั่นจะเกิด ปฏิ กริ ิ ยาหลายอย่า งไปพร้อมๆกนั และต่ อเนื่ องกนั ทํา ให้เกิด การ
เปลี่ยนรู ปจากเชื้อเพลิงแข็งไปเป็ นเชื้อเพลิงแก๊สโดยมีปฏิกริ ิ ยารวมถึงแก๊สผลิต ภัณ ฑ์ที่สํา คัญเกิด ขึ้ น
ในแต่ละลําดับขั้นการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่น (Watanabe และ Otaka, 2006) ดัง
รู ปที่ 6.1-8

Drying
Wet biomass Dry biomass + H2O H2O

Pyrolysis
Tar
Biomass Pyrolysis gas + Charcoal
CH4

Combustion
Heat C + O2 CO2 CO2
4H + O2 2H2O H2O
CnHm + (n/2 + m/4)O2 nCO2 + m/2H2O

Reduction
C + CO2 2CO CO
C + H2O CO + H2 H2
CnHm + nH2O nCO + (m/2 + n)H2
CnHm + nCO2 2nCO + m/2H2

รูปที่ 6.1-8 ปฏิกริ ิ ยาและการเกิดแก๊สผลิตภัณฑ์ในแต่ละลําดับขั้นการเปลี่ยนแปลง


ของกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชัน่
ที่มา: Knoef, 2004

รายงานฉบับสุดท้าย 6-30
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

CmHnOo aC(s) + bH2O + cCH4 + dCO + Light


Hydrocarbons Tar + Char + H2O (16)
CmHn + (m/2 + n/4)O2 mCO2 + n/2H2O (17)
CmHn + m/2O2 mCO + n/2H2 (18)
Volatile matter + O2 CO2 +H2O (19)
CH4 + 1/2O2 CO + 2H2 (20)
H2 + 1/2O2 H2 O (21)
C + 2H2 CH4 (22)
CO2 + 4H2 CH4 + 2H2O (23)
CmHn + mH2O mCO + (n/2 + m)H2 (24)
C + H2O 1/2CO2 + 1/2CH4 (25)
CH4 + H2O CO + 3H2 (26)

ปฏิกริ ิ ยาที่เกิดขึ้นตามลําดับขั้น ดังนี้


(1) ไล่ความชื้น (Drying) เมื่อชีวมวลได้รับความร้อนจากระบบจนมีอุณ หภูมิสูงขึ้ น นํ้า ซึ่ ง
เป็ นองค์ประกอบสํา คัญที่ พบทั่ว ไปในชี ว มวลจะเกิด การระเหยกลายเป็ นไอนํ้า เมื่ออุณ หภูมิข อง
ระบบสูงเกินจุดเดือดของนํ้าจึงนับว่าเป็ นขั้นตอนแรกของปฏิกริ ิ ยาแก๊สซิฟิเคชัน่
(2) ไพโรไลซิส (Pyrolysis) หลังจากผ่า นขั้นตอนการระเหยของนํ้า ที่ มีอยู่ในชี ว มวลแล้ว
ปฏิกริ ิ ยาไพโรไลซิสเป็ นขั้นตอนแรกที่ทาํ ให้เกิดแก๊สเชื้อเพลิงขึ้น ปฏิ กริ ิ ยาไพโลไรซิ สเป็ นปฏิ กริ ิ ยา
ดูดความร้อนซึ่งนํา ไปใช้ในการสลายองค์ประกอบต่ า งๆในชี ว มวลภายใต้สภาวะที่ มีอากาศ หรื อ
ออกซิเจนอยูน่ อ้ ยมากซึ่งจะใช้เวลาน้อยมากในการเกิด ปฏิ กริ ิ ยา ทํา ให้องค์ประกอบต่ า งๆที่ มีอยู่ใน
ชีวมวล เช่น ลิกนิก เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส รวมถึงองค์ประกอบที่ ระเหยได้อื่นๆเกิด การสลายตัว
และระเหยกลายเป็ นแก๊ส เช่ น CH4 CO2 ไอนํ้า นํ้า มัน ดิ น ชาร์ และโพลี ไ ซคลิ ก อะโรมาติ ก
ไฮโดรคาร์ บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons, PAH) ส่ ว นของแข็ง ที่ เ หลือ อยู่ห ลัง การ
สลายตัวจะเป็ นพวกคาร์บอน (Coke) และเถ้า ในช่ ว งแรกของปฏิ กริ ยาไพโรไลซิ ส แก๊สและไอนํ้า
จะถูกปล่อยออกมาก่อนที่ อุณ หภูมิประมาณ 230 OC แต่ การสลายตัว จริ งๆนั้นจะเกิด ขึ้ นอยู่ในช่ ว ง
อุณหภูมิ 400-800 OC ซึ่ งสารที่ ระเหยได้จ ะถูกปล่อยออกมามากขึ้ นเมื่ออุณ หภูมิสูงขึ้ น และจะเริ่ ม
คงที่ ที่อุณ หภูมิประมาณ 800 OC ขึ้ นไป ในปฏิ กริ ิ ย าไพโรไลซิ สอุณ หภูมิ จ ะมีผลต่ อลักษณะของ
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นกล่าวคือ ปฏิกริ ิ ยาไพโรไลซิ สที่ เกิด ขึ้ นที่ อุณ หภูมิต่ าํ ผลิต ภัณ ฑ์ส่ว นใหญ่จ ะเป็ น
ของเหลว แต่ ปฏิ กริ ิ ยาไพโรไลซิ สที่ เกิด ขึ้ นที่ อุณ หภูมิสูงผลิต ภัณ ฑ์จ ะประกอบด้ว ยแก๊สเป็ นส่ ว น
ใหญ่ ปฏิกริ ิ ยาทั้งหมดในขั้นการไพโรไลซิสเกิดขึ้นอย่างสลับซับซ้อน บางปฏิกริ ิ ยาเกิด ที่ พ้ืนผิว โดย

รายงานฉบับสุดท้าย 6-31
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

แก๊สบางตัวเข้าทําปฏิกริ ิ ยาก ับคาร์บอนที่ผิวของถ่านหิ น หรื อแก๊สบางตัวอาจถูกดู ด (Adsorption) อยู่


บนผิวชาร์ และทําปฏิกริ ิ ยาก ันเมื่อได้ผลผลิต ก็ค ายตัว ออกจากผิว ของผงถ่า น หรื อบางปฏิ กริ ิ ยาเกิด
ในสภาพแก๊สโดยตรงมีปฏิกริ ิ ยาและผลิตภัณฑ์ดงั สมการที่ (16)
(3) การเผาไหม้ (Combustion หรื อ Oxidation) ปฏิกริ ิ ยาการเผาไหม้เป็ นขั้นตอนหนึ่ งของ
ปฏิกริ ิ ยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่น ซึ่ งชี ว มวล ชาร์ และแก๊สผลิต ภัณ ฑ์ต่ า งๆที่ เกิด ขึ้ น
จากขั้น ของการไพโรไลซิ สจะเกิด ปฏิ ก ริ ิ ยากบั ออกซิ เจนในสภาวะที่ ร ะบบมี ปริ มาณออกซิ เจน
เพียงพอ หรื อเป็ นการทํา ปฏิ กริ ิ ยากบั ไอนํ้า ในกรณี ที่มีการเติ มไอนํ้า เข้า ไปในช่ ว งการเผาไหม้เพื่อ
เพิ่มสัดส่วนของ H และ C ในระบบ ช่วงการเผาไหม้เป็ นปฏิ กริ ิ ยาที่ ให้ค วามร้อนแก่ปฏิ กริ ิ ยาอื่นๆที่
เกิดขึ้นในระบบ เนื่องจากเป็ นปฏิกริ ิ ยาที่คายความร้อน ซึ่ งปฏิ กริ ิ ยาการเผาไหม้ในขั้นนี้ จ ะใกล้เคี ยง
ก ับปฏิกริ ิ ยาการเผาไหม้พ้ืนฐานที่เกิดขึ้นระหว่างคาร์บอนก ับอากาศ หรื อไอนํ้า ดังสมการต่อไปนี้
(3.1) Oxy-Gasification สมการที่ (9) (11) (12) (17) (18) (19) (20) และ(21)
(3.2) Steam Gasification สมการที่ (13)
(4) แก๊ส ซิ ฟิเคชั่น (Gasification หรื อ Reduction) ประกอบด้ว ยปฏิ กริ ิ ยาที่ แ ตกต่ า งก นั
หลายชนิ ด ขึ้ นอยู่กบั สารหรื อแก๊สที่ ใส่ เข้า ไปในขั้นการแก๊สซิ ฟิ เคชั่น (Gasification Agent) เช่ น
ออกซิเจน อากาศ ไอนํ้า CO2 หรื อ H2 โดยทั่ว ไปจะมีอุณ หภูมิในการเกิด ปฏิ กริ ิ ยาตั้งแต่ 700 OC ขึ้ น
ไป ซึ่งเป็ นการเกิด ปฏิ กริ ิ ยาระหว่า งชาร์ ห รื อโค้ก กบั Gasification Agent โดยใช้ค วามร้อนในการ
เกิดปฏิกริ ิ ยาเพื่อให้เกิดการสลายตัวไปเป็ นแก๊สเชื้ อเพลิงหลักๆ เช่ น H2 CO และ CO2 ประกอบด้ว ย
ปฏิกริ ิ ยาเคมีที่สาํ คัญคือ
(4.1) Oxygenolysis คื อ การทํา ปฏิ ก ริ ิ ย าก บั แก๊ส O2 เพื่ อเกิด CO และ CO2 ใน
บรรยากาศที่มีแก๊ส O2 จําก ัด เพราะอากาศที่ ป้อนเข้า จากด้า นล่า งถูกใช้ในช่ ว ง
การเผาไหม้ สมการที่ (10) และ (11)
(4.2) Hydrogenelysis คื อ ปฏิ กริ ิ ยากบั H2 เพื่อให้เกิด CH4 หรื อปฏิ กริ ิ ยาการเติ ม H2
สมการที่ (8), (22) และ (23)
(4.3) Hydrolysis สมการที่ (24)
(4.4) Water Gas สมการที่ (13), (14) และ (25)
(4.5) Water-Gas Shift สมการที่ (15)
(4.6) Steam Reforming สมการที่ (26)

รายงานฉบับสุดท้าย 6-32
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.1.2.2 ระบบการทํางานของกระบวนการแก๊ สซิฟิเคชั่น


แบ่งออกได้เป็ น 3 ระบบคือ
(1) ไฮโดรแก๊ สซิ ฟิเคชั่ น (Hydro Gasification) ใช้แ ก๊ส H2 ทํา ปฏิ กริ ิ ยากบั เชื้ อเพลิงแข็ง
ใช้ความร้อนและความดันสู งมาก ความดันในเตาสู งถึง 200 บรรยากาศ แก๊สสังเคราะห์ ที่เกิด ขึ้ น
ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น CH4 ค่ า ความร้ อนของแก๊ส ที่ ไ ด้เที ย บเท่ า ก บั แก๊ส สัง เคราะห์ (Syngas) โดยผ่ า น
กระบวนการเมทาเนชั่น (Methanation) ที่ อุณ หภูมิต่ าํ ทํา ให้เกิด ปฏิ กริ ิ ยาระหว่า ง CO และ H2 เป็ น
แก๊ส CH4 และนํ้า ดังปฏิกริ ิ ยาสมการที่ (27)

CO + 3H2 CH4 + H2 O (27)

(2) สตีมแก๊ สซิ ฟิเคชั่ น (Steam Gasification) เป็ นการใช้ไอนํ้า ทํา ปฏิ กริ ิ ยากบั เชื้ อเพลิ ง
แข็ง อุณหภูมิและความดันในเตาจะสูงมาก และต้องใช้ค วามร้อนจากภายนอกระบบเข้า มาช่ ว ยให้
อุณหภูมิของเตาสูงเพียงพอต่อการเกิดปฏิกริ ิ ยาแก๊สซิฟิเคชั่น แก๊สสังเคราะห์ ที่เกิด ขึ้ นประกอบด้ว ย
แก๊ส CO H2 CH4 CO2 และไอนํ้า แก๊สสังเคราะห์ ที่ได้มีค่ า ความร้อนประมาณ 3.3-3.5 เมกกะจู ลต่ อ
ลูกบาศก์เมตร (MJ/m3) หรื อ เรี ยกว่าการผลิตแก๊สสังเคราะห์ที่มีค่าความร้อนตํ่า
(3) ออกซิ เ ดที ฟแก๊ สซิ ฟิเคชั่ น (Oxidative Gasification) ใช้แ ก๊ส ออกซิ เจนเป็ นตัว ทํา
ปฏิกริ ิ ยา ได้มาจากการผ่านอากาศเข้าสู่เตาหรื ออาจใช้แ ก๊สออกซิ เจนบริ สุทธิ์ ก็ได้ แก๊สสังเคราะห์ ที่
เกิดจากการใช้แก๊สออกซิเจนบริ สุทธิ์จะมีค่าความร้อนสูงกว่า แก๊สที่ เกิด จากการใช้อากาศ เนื่ องจาก
ไม่มีแ ก๊สไนโตรเจนจะทํา ให้ค่ า ความร้อนสู งขึ้ น องค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์ ได้แ ก่ CO H2
CH4 CO2 และไอนํ้า การผลิตแก๊สสังเคราะห์วิธีน้ ีจะให้ค่าความร้อนประมาณ 9.3-20.5 เมกกะจู ลต่ อ
ลูกบาศก์เมตร (MJ/m3) หรื อ เรี ยกว่าการผลิตแก๊สสังเคราะห์ที่มีค่าความร้อนปานกลาง

กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ อาจแยกออกไปเป็ นแต่ละประเภทตามลักษณะการให้ค วามร้อน


หรื อ ชนิ ด ของ Gasifying Medium เช่ น ไอนํ้า คาร์ บ อนไดออกไซด์ ซึ่ งถื อ เป็ น Independent
Characteristic หรื อแยกออกไปตามปฏิกริ ิ ยา อุณหภูมิ คุณสมบัติแก๊ส หรื อกากของแข็งที่ เหลือซึ่ งถือ
เป็ น Dependent Characteristic แสดงได้ดงั ตารางที่ 6.1-7

รายงานฉบับสุดท้าย 6-33
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-7 แสดง Major Independent & Dependent Gasifier Characteristics

Independent Dependent
1. Method of Supplying heat 1. Reaction temperature
(2.5) direct - high
(2.6) indirect - medium
- low
2. Gasifying medium & amount 2. Raw gas properties
- steam with air or O2 - composition
- Air - H2/CO ratio
- H2 with or without steam - Tar & oil content
- Steam with catalyst - CV
3. Reactor type 3. Solid residue
- moving packed bed - ash
- fluidized bed - slag
- entrained flow - unconverted carbon
- molten media
ทีม่ า: อนวรรตน์, 2547

6.1.2.3 เครื่องแก๊ สซิฟายเออร์


เครื่ องแก๊สซิ ฟายเออร์ ที่พบในปั จ จุ บันสามารถแบ่ งออกได้ต ามลักษณะของการไหลของ
สารป้ อนและสารร่ ว มทํา ปฏิ กริ ิ ยาหรื อแก๊สในเครื่ องปฏิ กรณ์ โดยทั่ว ไปแบ่ งออกเป็ น 3 ประเภท
ได้แก่
(1) Moving bed เครื่ องปฏิกรณ์แบบเบดเคลื่อนที่
(2) Fluidized bed เครื่ องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์เบด
(3) Entrained flow เครื่ องปฏิ กรณ์ แ บบไหลผ่า น ส่ ว นแบบ Molten media อาจจัด อยู่ใน
พวก Entrained flow
Moving Bed Gasifiers ใช้กบั อุณ หภูมิ Outlet Gas ตํ่า ประมาณ 425-650 oC ขณะที่ แ บบ
Fluidized Bed Gasifiers ใช้กบั อุณ หภูมิระดับปานกลางที่ 920-1050 oC และแบบ Entrained Flow
Gasifiers ใช้กบั อุณ หภูมิ 1250-1600 oC และใช้กบั สภาวะ Slagging Range คื อขี้ เถ้า เป็ นของเหลว
ความหนื ด ตํ่า กากที่ เหลือจากการทํา งานของเครื่ องแก๊สซิ ฟายเออร์ ทั้ง 3 แบบต่ า งก นั ด้ว ยช่ ว ง

รายงานฉบับสุดท้าย 6-34
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

อุณหภูมิที่ดาํ เนินการ คื อประมาณ 815-1,925 องศาเซลเซี ยส และ Gasifier แต่ ละแบบจะทํา งานที่
ช่วงอุณหภูมิหนึ่งๆ สําหรับ Gasifier ที่เถ้าไม่ห ลอมละลายเรี ยกว่า Dry Bottom Gasifier และแบบที่
เถ้า หลอมละลาย เรี ยกว่า Slagging Gasifier (ช่ ว งอุณ หภูมิ 1,200-1,800 องศาเซลเซี ยส ขึ้ นอยู่กบั
องค์ประกอบของเถ้า ) ภาวะการทํา งานเบื้ องต้นของเครื่ องแก๊สซิ ฟายเออร์ ทั้ง 3 แบบ ดังตารางที่
6.1-8

ตารางที่ 6.1-8 ภาวะการทํางานของเครื่ องแก๊สซิฟายเออร์

Moving bed Fluidized bed Entrained flow


Exit gas 420-650 920-1050 1200
temperature, oC
Coal feed size < 50 mm < 6 mm < 100 MESH
Ash conditions Dry/Slagging Dry/Agglomerating Slagging
(ที่มา: http://mail.vcharkarn.com/varticle/37774)

(1) Moving Bed Gasifiers


หลักการทั่ว ๆไปเป็ นลักษณะ Gasifier ที่ ป้อนถ่า นหิ นจะเคลื่อนลงด้า นล่า งด้ว ยแรงดึ งดู ด
ของโลก ซึ่งจะถูกแก๊สซิฟายและเผาไหม้ห มดไปกลายเป็ นเถ้า ในช่ ว งล่า งสุ ด แต่ เนื่ องจากระยะบน
และล่างของเบดอยูก่ ับที่ จึ งอาจเรี ยกว่า Fixed Bed Gasifier ก็ได้ ขณะที่ ว ตั ถุเคลื่อนตัว ลงมา สิ่ งจะ
เกิดขึ้น คือ
(1.1) การ Drying เมื่อสัมผัสก ับแก๊สร้อนที่ลอยตัวขึ้น
(1.2) การ Devolatilization สารระเหยในวัต ถุดิ บจะระเหยออกมาแตกตัว ให้กบั แก๊ส
ไฮโดรเจน มีเทน และไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลหนักอื่นๆ ลอยปะปนไปก ับผลิตภัณฑ์แก๊ส
(1.3) เกิดปฏิกริ ิ ยากบั ออกซิ เจนทั้งออกซิ เดชันและรี ด ักชัน ส่ ว นที่ ไม่เกิด ปฏิ กริ ิ ยาที่
เหลือก็จะถูกปล่อยออกมาทางส่วนล่างของเบด
การดํา เนิ นการใช้ถ่ า นหิ น ขนาด 3-50 มิล ลิเ มตร ถ้า ขนาดเล็กเกิน ไปอาจแตกออกและ
ออกไปก ับแก๊สขาออก หรื อเมื่อเคลื่อนที่ ลงมาจะทํา ให้เบดอุด ตัน และทํา ให้ไหลขึ้ นมาไม่สะดวก
การเคลื่อ นที่ ข องเบดค่ อนข้า งช้า เพีย ง 0.5 เมตรต่ อ ชั่ว โมง ในไอนํ้า/Air Gasifier ที่ ค วามดัน
บรรยากาศ และ 5 m/hr. ในไอนํ้า /Oxygen Gasifier ที่ ค วามดันบรรยากาศ อุณ หภูมิภายใน Gasifier
ขึ้ นอยู่กบั ระดับของ Oxidant ใน Atmospheric Gasifier อุณ หภูมิจ ะไม่สูงกว่า Ash Fusion Point

รายงานฉบับสุดท้าย 6-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สํา หรับ Steam/O2 Gasifier อาจเป็ นแบบ Dry Bottom หรื อ Slagging ขึ้ นอยู่กบั ปริ มาณไอนํ้า เที ยบ
กบั ออกซิ เจน ถ้า พ่นไอนํ้ามากทํา ให้เกิด ปฏิ กริ ิ ยา (28) ซึ่ งปฏิ กริ ิ ยาดู ด ความร้ อนมีผลให้อุณ หภู มิ
ของเบดลดลง

C + H2 O CO + H2 (28)

เพื่อลดปริ มาณการใช้ไอนํ้า อาจยอมให้อุณ หภูมิ สูง ทํา ให้เกิด ปฏิ กริ ิ ยา (28) มากขึ้ นด้ว ย
(โดยไม่ตอ้ งใช้ไอนํ้า มากเกินพอ) ข้อดี ข อง Moving bed คื อ การมีการสัมผัสโดยตรงกบั แก๊สร้อน
ทําให้ได้ประสิ ทธิ ภาพการเปลี่ยนสู งสุ ด และมีการสู ญเสี ยความร้อนน้อย ปั ญหาที่ พบคื อ การเยิ้ม
และการเกาะติ ด กนั เป็ นกอ้ นของถ่ า นหิ น ทํา ให้เกิด การอุ ด ตันในเบด จํา เป็ นต้อ งมี Preoxidative
Treatment และภายใน Gasifier อาจต้อ งมี ใ บพัด กวน เพื่ อ ให้ ถ่ า นหิ น แตกเป็ นก อ้ นไม่ ติ ด ก นั
นอกจากนี้เป็ นปั ญหาที่ไม่สามารถใช้ถ่านหิ นละเอียดได้

ลักษณะการดํา เนิ น การของ Moving bed gasifiers และชนิ ด ขององค์ประกอบของแก๊ส


ผลิต ภัณ ฑ์ โดยใช้ Bituminous coals โดยมีการป้ อนไอนํ้า และออกซิ เจนหรื ออากาศ ดังแสดงใน
ตารางที่ 6.1-9 และ 6.1-10

รายงานฉบับสุดท้าย 6-36
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-9 แสดงลักษณะการดํา เนิ นการของ Moving bed gasifiers โดยใช้ Bituminous coals มี
การป้ อนไอนํ้าและออกซิเจน หรื ออากาศ

Characteristic Steam/oxygen Steam/air


Lurgi Lurgi Woodhall Wellman-
Slagging Dry Ash Duckham/ Galusha
Gas Integrale
Pressure, MPa 2.1 2.5 0.1 0.1
Temperature, *OC
Combustion zone (max.) ∼ 2,000 980-1,370 N/A ∼ 1,300
Gasifier zone ∼ 1,475 650-815 1,200 N/A
Gas exit 350-450 370-540 650 590-650
Steam/Oxidant, kg/kg 1 4 0.11 0.12
Oxidant, kg/GJ gas 20 17 110 130
Raw coal throughput, t/(m2.h) 5.9 2.9 0.37 0.44
Bed velocity, #m/h 8.2 4.0 0.51 0.61
Coal residence time, +h 0.4 1 23 3
Coal gas efficiency, % 90 80 77 75
ทีม่ า: อนวรรตน์, 2547
*
Dependent on coal
#
Assuming coal bed density of 720 kg/m3
+
Based on estimated coal bed heights N/A Not available

รายงานฉบับสุดท้าย 6-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-10 แสดงชนิ ด ขององค์ ป ระกอบของผลิต ภัณ ฑ์แ ก๊ส *เป็ นร้ อ ยละโดยโมล + จาก
กระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นของ Bituminous coals ใน Moving bed gasifier กบั ไอนํ้า และออกซิ เจน
หรื ออากาศ

Constituent Steam/oxygen Steam/air


Lurgi Lurgi Woodhall Wellman-
Slagging Dry Ash Duckham/ Galusha
Gas Integrale
CO 60 18 28 29
CO2 3 30 5 3
H2 28 40 17 15
CH4 7 9 3 3
N2 1 1 47 50
Other - 2 - -
Total 100 100 100 100
GCV, MJ/m3 13.8 11.3 6.5 6.3
ทีม่ า: อนวรรตน์, 2547
*
Dry basis after scrubbing and cooling
+
Identical with volume percent

ตารางที่ 6.1-9 แสดงสภาวะการทํา แก๊สซิ ฟิเคชั่นที่ เครื่ องปฏิ กรณ์ แ ละ Gasifying medium
ต่างๆ และตารางที่ 6.1-10 เป็ นองค์ประกอบของผลิต ภัณ ฑ์แ ก๊สที่ ได้จ ากสภาวะของตารางที่ 6.1-9
จะเห็นว่าที่เครื่ องปฏิกรณ์และ Gasifying Medium ต่างๆ สามารถให้ปริ มาณแก๊สแตกต่ า งกนั ฉะนั้น
ถ้าต้องการปริ มาณแก๊สอะไรมากกว่าก ันก็สามารถใช้สภาวะตามตารางที่ 6.1-9 ได้
ตัว อย่า งการทํา งานของ Moving bed gasifier คื อ Lurgi Dry Ash Gasifier ซึ่ งเป็ น Gasifier
ที่ความดันสูงตัวแรกและยังคงใช้อยู่ Gasifier นี้ใช้ได้กบั ลิกไนต์ที่มีค วามชื้ นได้ถึง 35% และเถ้า สู ง
ถึง 35% มีความดันภายในเบด 3.2 เมกะปาสคาล และมี Coal residence time ประมาณหนึ่ งชั่ว โมง
อุณหภูมิที่เริ่ มแก๊สซิ ฟิเคชั่นประมาณ 650-815 องศาเซลเซี ยส และอุณ หภูมิข องเถ้า อาจอยู่ในช่ ว ง
980-1,370 องศาเซลเซี ยส โดยไม่ห ลอมละลาย ซึ่ งจะถูกทํา ให้เย็นลงถึง 400-500 องศาเซลเซี ย ส
โดยพ่นไอนํ้าและอากาศเข้ามา ส่วนแก๊สขาออกทําให้เย็นลงมีอุณหภูมิ 200-540 องศาเซลเซี ยส โดย
Waste heat boiler ใน Gasifier แบบนี้ ให้ไอนํ้า สู งถึง 50% มากเกินพอ ซึ่ งมีประโยชน์ในแง่ ทํา ให้

รายงานฉบับสุดท้าย 6-38
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

อุณหภูมิใน Combustion zone ลดลง และทํา ให้สมดุ ลของคาร์ บอน-ไอนํ้า และ Gas-Shift Reaction
เลื่อนออกไป เกิด ไฮโดรเจนมากขึ้ น Gasification zone temperature ในช่ ว งกลางๆทํา ให้เกิด มีเทน
น้อย แต่มีเทนส่ ว นใหญ่ได้จ ากการ Devolatilization นอกจากแก๊สแล้ว ยังได้ทาร์ และนํ้า มันซึ่ งถูก
แยกออกโดยการล้า งใน Scrubber หรื อ Cooler ด้ว ยนํ้า ใน Dry Ash Gasifier ต้องป้ องกนั ไม่ให้
อุณหภูมิใน Combustion zone สูงเกินไปจึงทําให้ตอ้ งใช้ไอนํ้าปริ มาณมาก ส่งผลให้ประสิ ทธิ ภาพตํ่า
จึงต้องพัฒนา Slagging Gasifier ขึ้น เพื่อลดการใช้ไอนํ้า และต้องใช้อุณหภูมิสูงเพื่อลดการเกิด มีเทน
และเพื่อให้เกิด ปฏิ กริ ิ ยา (28) มากขึ้ นด้ว ย Lurgi Slagging Gasifier หรื อ Slagger ที่ ใช้ในการผลิต
แก๊สสังเคราะห์ น้ นั ทางด้า นบนเหมือนกบั แบบ Dry Bottom (รู ป ที่ 6.1-7) ปรับเปลี่ยนแต่ ด ้า นล่า ง
เพื่อให้ทนอุณหภูมิในการดําเนินการที่ประมาณ 2,000 องศาเซลเซี ยส Slag ไหลลงสู่ Quench Vessel
ซึ่ งมีน้ ํา หล่อเย็น ทํา ให้ Slag กลายเป็ นของแข็งทันที โดยมี coal residence time ประมาณ 20 นาที
ซึ่ งมีค่ า เพียงหนึ่ งในสามเท่ า ของ Dry Ash Gasifier ส่ ว นการ Decompose ของไอนํ้า สู งมากเกือบ
100% การดําเนินการที่อุณหภูมิ ทําให้ปฏิกริ ิ ยา Boudouard เกิดเพิ่มขึ้นคือ

C + CO2 2CO (29)

แก๊สผลิตภัณฑ์ยงั คงมีมีเทนอยู่แ ต่ เกิด จากการ Devolatilization ของถ่า นหิ นในช่ ว งการไพ


โรไลซ์มากกว่า

(2) Fluidization Bed Gasifier


เตาผลิตแก๊สนี้ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้ าและเดิ นเครื่ องยนต์ Gas Engines ที่ ใช้ในโรงงาน
สังเคราะห์แอมโมเนีย เตาผลิตแก๊สแบบฟลูอิดไดซ์เบดได้รับการออกแบบขึ้ นมาให้อากาศไหลผ่า น
ชั้นของเชื้ อเพลิงแข็งเมื่อเพิ่มความเร็ ว อากาศถึงขั้น หนึ่ ง ชั้นเชื้ อเพลิงที่ ว างอยู่จ ะเริ่ มลอยตัว ขึ้ น มี
ลักษณะคล้ายของไหลในตอนเริ่ มติ ด เตา ฐาน หรื อ เบด (Bed) จะได้รับความร้อนจากภายนอกจน
อุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดติดไฟของเชื้อเพลิง หลังจากนั้นเชื้อเพลิงจะถูกป้ อนเข้า อย่า งต่ อเนื่ องสมํ่า เสมอ
การเผาไหม้กจ็ ะเกิดขึ้นทัว่ บริ เวณเตา เตาผลิต แก๊สนี้ ผงถ่า นเล็กๆจะถูกฟลูอิไดซ์ โดยความเร็ ว ของ
แก๊สแบบมีทิศทาง โดยเมื่อเปรี ยบเทียบก ับ Entrained Flow Gasifier พบว่า มีความร้อนและฝุ่ นเล็กๆ
วิ่งสู ญเสี ยไปกบั แก๊ส เชื้ อเพลิงที่ ออกจากตัว เตา ผลเสี ยอันนี้ ถู กชดเชยด้ว ยความสามารถในการ
เดินเครื่ องได้อย่างต่อเนื่องที่ปริ มาณการป้ อนสูง การใช้ถ่านต่อเวลาและปริ มาณการป้ อนของเตาสู ง
กว่า อีกทั้งการถ่ายโอนมวลสารและความร้อนดี ทําให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ง่าย

รายงานฉบับสุดท้าย 6-39
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 6.1-9 Fluidised Bed Gasifier


ที่มา: http://www.netl.doe.gov/technologies/coalpower/gasification/gasifipedia/4-gasifiers/.html

เตาแบบฟลูอิไดซ์เบดได้รับการพัฒนาขึ้ น เพื่อแกป้ ั ญหาเรื่ องการอุด ตันของขี้ เถ้า หลอมใน


เตาผลิตก๊าซชีวมวลเตาผลิตก๊าซชีวมวลแบบนี้มีความเหมาะสมสําหรับการใช้เชื้ อเพลิงที่ มีข นาดเล็ก
และความหนาแน่นตํ่าในระบบเตาผลิตก๊าซชีวมวล อากาศจะไหลผ่านชั้นของเชื้อเพลิง เมื่อความเร็ ว
ของอากาศเพิ่มสู งขึ้ น เชื้ อเพลิงจะถูกเป่ ายกลอยตัว ขึ้ นคล้า ยกบั ของไหล และพื้นที่ การสัมผัสของ
อากาศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสูงต่อการเผาไหม้อย่า งทั่ว บริ เวณภายในเตา ข้อดี
ของเตาผลิตก๊าซชีวมวลแบบฟลูอิไดซ์เบด ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิภายในเตาผลิต ก๊า ซชี ว มวลให้
ตํ่ากว่าจุดหลอมเหลวของขี้เถ้าสามารถทําได้ง่าย ระบบนี้ สามารถทํา งานได้ท้ งั ในภาวะที่ แ ห้ง หรื อ
เถ้าเหลวได้ การฟลูอิไดซ์แบบแห้งสามารถทํางานได้ดี ที่อุณ หภูมิต่ าํ กว่า จุ ด อ่อนตัว ของเถ้า อนุ ภาค
ของเศษถ่านและเถ้าจะถูกดึงออกทางด้า นล่า งโดยกรรมวิธีทางกล ในขณะที่ บางส่ ว นถูกพัด ติ ด มา
ก ับแก๊สเชื้อเพลิงทางด้านบน ทํา ให้ต ้องมีการติ ด ตั้งไซโคลน (Cyclone) เพื่อดักเก็บเถ้า ไว้ การผลิต
แก๊สที่มีเถ้าอยูแ่ ละอุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัวของเถ้า ทําให้เถ้ารวมตัวกนั มีข นาดใหญ่ข้ ึ นตกลงมายัง
ส่วนล่างของเบดและดึงออก

(3) Entrained Flow Gasifier


เป็ นการใช้ส่วนผสมของวัตถุดิบก ับแก๊ส (อากาศ/ไอนํ้า หรื อ ออกซิ เจน/ไอนํ้า ) เพื่อนํา เอา
ผงละเอียดเล็กๆของวัตถุดิบเข้าสู่เตาผลิตแก๊ส โดยที่ข นาดของวัต ถุดิ บ และความเร็ ว ของแก๊สที่ เข้า
จะต้องพอดี ก นั เพื่อ รักษาสภาพของการแขวนลอยไว้ การทดลองเรื่ องนี้ ได้รั บการพัฒนามาจาก
กระบวนการเผาไหม้ข อง Pulverized-Coal เถ้า และถ่า น (Char) จะออกจากเตาพร้อ มกบั แก๊ส
ผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีการแยกออกอีกครั้งหนึ่ง อัตราการเกิดปฏิกริ ิ ยาของถ่า นและอุณ หภูมิสูงมากเมื่อ

รายงานฉบับสุดท้าย 6-40
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เทียบก ับเบดนิ่ง และเมื่ออุณหภูมิสูงเกินสภาวะเกิด Slag แก๊สซิฟิเคชัน่ จะสําเร็จ ด้ว ยการผ่า นเข้า เพียง
ครั้งเดียว ซึ่งในระบบแห้งมักจะมีการนําถ่านกลับ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปริ มาณสูง

รูปที่ 6.1-10 Entraned-Flow Gasifier


ที่มา: http://www.netl.doe.gov/technologies/coalpower/gasification/gasifipedia/4-gasifiers/4-
1_types.html

(4) Molten Salt Gasifier


สารหลอมเหลวสามารถใช้ในการผลิต แก๊สเชื้ อเพลิง เพื่อที่ จ ะถ่า ยโอนความร้อนและเป็ น
ตัวเร่ งปฏิกริ ิ ยาของกระบวนการ สารที่ เป็ นสารหลอมเหลวนอกจากเกลือแล้ว อาจเป็ นเหล็ก หรื อ
โลหะอื่นๆรวมทั้งเถ้าถ่านเอง การผลิตแก๊สที่ใช้ต ัว กลางที่ ห ลอมเหลวทํา ให้กรรมวิธีที่ใช้ในการทํา
ความสะอาดแก๊สน้อยลง ผลเสี ยที่ สํา คัญคื อ เกิด การกดั กร่ อน เนื่ องจากการใช้สารหลอมเหลวที่
อุณหภูมิสูง การผสมกระเบื้ องอะลูมินา (Alumina) ที่ มีค วามบริ สุทธิ์ ลงในเกลือที่ ใช้ เป็ นเพียงการ
แก ้ปั ญหาอย่างชัว่ คราว

6.1.2.4 กระบวนการแก๊ สซิฟิเคชั่นของสารชีวมวล


กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ของสารชี ว มวล คื อ กระบวนการที่ สารชี ว มวลเกิด การเผาไหม้
แบบไม่ สมบู ร ณ์ ก บั ตัว ออกซิ ไ ดซ์ เช่ น ออกซิ เ จนในอากาศ หรื อ ไอนํ้า และเกิด ขึ้ นที่ อุ ณ หภู มิ
ประมาณ 727 องศาเซลเซี ย ส ผลิต ภัณ ฑ์ที่ ไ ด้จ ากกระบวนการเผาไหม้แ บบไม่ส มบู รณ์ ห รื อ
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ นั้น แก๊สผลิตภัณฑ์หลักๆ จะประกอบไปด้ว ยแก๊สคาร์ บอนมอนอกไซด์
และแก๊สไฮโดรเจน หรื อรวมเรี ยกว่า แก๊สสังเคราะห์ นอกจากนี้ ยงั มีแ ก๊สคาร์ บอนไดออกไซด์ แก๊ส
มีเทน และไอนํ้า เป็ นองค์ ประกอบรองลงมา ซึ่ งแก๊สผสมเหล่า นี้ สามารถนํา ไปใช้ประโยชน์ไ ด้
มากมาย เนื่องจากมีค่าการเผาไหม้ของแก๊สที่มีค่าสูง ต่ า งจากกระบวนการเผาไหม้สมบู รณ์ ซึ่ งแก๊ส

รายงานฉบับสุดท้าย 6-41
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แ ละไอนํ้า ซึ่ งแก๊สเหล่า นี้ มีค่ า การ


เผาไหม้ไม่สูงเมื่อเทียบก ับแก๊สที่ได้จากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ของสารชี ว มวล แต่ อย่า งไรก็ต าม
การเผาไหม้องค์ประกอบของแข็งนั้น จะได้สารจําพวกฝุ่ น ทาร์ และส่ ว นของสารชี ว มวลที่ เผาไหม้
ไม่ ไ ด้ ซึ่ งสารประกอบแล้ว นี้ เป็ นสิ่ ง ที่ ไ ม่ ต ้อ งการต้ อ งมี ก ารก าํ จัด ทิ้ ง ต่ อ ไป ปั จ จัย ที่ มี ผ ลต่ อ
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ของสารชีวมวล คือ ความชื้นภายในสารชีวมวล องค์ประกอบของสารชี ว
มวล อุณหภูมิของเครื่ องปฏิกรณ์ อุณ หภูมิข องตัว ออกซิ ไดซ์ที่เข้า สู่ ระบบ ปริ มาณของสารชี ว มวล
และตัวออกซิไดซ์ที่เข้า สู่ ระบบ ทั้งนี้ เพราะปั จ จัยเหล่า นี้ ส่งผลต่ อสมดุ ลเคมี ซึ่ งทํา ให้สัด ส่ ว นของ
แก๊สผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไป

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
สารชีวมวล
แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์

แก๊สไฮโดรเจน
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั�น ไอนํ�า
ตัวออกซิไดซ์ เช่น
แก๊สมีเทน
อากาศ หรือ ไอนํ�า
ทาร์ และสารชีวมวลที�เหลือ

รูปที่ 6.1-11 กระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่น


ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

ชี ว มวลมีค วามสํา คัญมากในแง่ ที่ เป็ นแหล่งพลังงานที่ ใช้ไม่รู้ห มด และสามารถสร้า งขึ้ น


ใหม่ได้ (Renewable Energy Resources) สารชีวมวลมีความหมายรวมทั้ง Energy Crops, ฟาร์ ม, กาก
ทางการเกษตร และของเสี ย ชุ มชน รวมทั้งของเสี ย จากสัต ว์ ในแง่ ที่ใ ช้อ าหารเป็ นพื ช การใช้
ประโยชน์ของสารชีวมวลซึ่งอาจใช้เป็ นทั้งแหล่งอาหาร และแหล่งพลังงาน สารชี ว มวลเป็ นแหล่ง
พลังงานเนื่องจากเป็ นสารประกอบของ H, C และ O โดยสร้า งจาก CO2 และนํ้า ด้ว ยกระบวนการ
สังเคราะห์ แ สง (Photosynthesis) เมื่อ มีแ สงแดด และคลอโรฟิ ลล์ สารชี ว มวลมีส่ว นประกอบที่
สําคัญ คือ คาร์โบไฮเดรต และลิกนิน

รายงานฉบับสุดท้าย 6-42
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(1) คาร์โบไฮเดรต คือสารพวก Saccharides เซลลูโลส แป้ ง และ Hemicellulose


(1.1) เซลลูโลส เป็ นเส้นใย Polysaccharide ซึ่งเป็ นองค์ประกอบสํา คัญของผนังเซลล์
ของพืช และมีอยูม่ าก เซลลูโลสเป็ นตัวที่ไม่ละลาย และไม่ค่อยทําปฏิกริ ิ ยาโดยเฉพาะไฮโดรไลซิส
(1.2) แป้ ง เป็ นเม็ด Polysaccharide ถูกเก็บไว้ในส่ ว นต่ า งๆของพืช ได้แ ก่ พวกเมล็ด
ราก หัว และลําต้น ประกอบด้วย 10-20% α-amylose ซึ่งละลายนํ้า และ 80-90% amylopectin ซึ่ งไม่
ละลายนํ้า
(1.3) Hemicellulose เป็ น Polysaccharide ที่ อยู่ร่ว มกบั เซลลูโลส แตกต่ า งกนั ที่ เป็ น
Amorphous และมีมวลโมเลกุลตํ่ากว่า จึงละลายได้ดีกว่าเซลลูโลส
(2) ลิกนิน เป็ นกลุ่มสําคัญที่มีในชีวมวล ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต เป็ นองค์ประกอบพิเศษของ
ผนังของ Woody cell ทําหน้าที่เป็ นการเชื่อมเกาะให้เกิด ความแข็งแรงเชิ งกลเป็ น Amorphous และ
ละลายได้ดี ก ว่ า เซลลู โ ลส สามารถแยกจากเนื้ อ ไม้ไ ด้โ ดยใช้ไ อนํ้า ลิ ก นิ น ต้า นทานปฏิ ก ริ ิ ย า
ไฮโดรไลซิส และไม่สามารถถูกย่อยโดยแบคทีเรี ยได้

6.1.2.4.1 คุณสมบัตสิ ารชีวมวลที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการแก๊ สซิฟิเคชั่น


(1) ข้อมูลการวิเคราะห์โดยประมาณ (Proximate Analysis) องค์ประกอบของ
ชีวมวลหรื อสสารทัว่ ไปจะแบ่งออกเป็ น 3 ส่วนหลัก คือ
(1.1) ความชื้ น (Moisture) หมายถึง ปริ มาณนํ้าที่ มีอยู่ ชี ว มวลส่ ว นมากจะมี
ความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็ นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนําชีวมวลเป็ นพลังงานโดยการเผา
ไหม้ ความชื้นไม่ควรเกินร้อยละ 20 โดยนํ้าหนักของสารชีวมวล
(1.2) ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance) จะแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน คือ
(1.2.1) ส่วนที่ระเหยได้ง่าย คือ ส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชี ว มวลใด
ที่มีค่านี้สูง แสดงว่า ติดไฟได้ง่าย
(1.2.2) ส่ ว นที่ ส ลายตั ว คื อ ส่ ว นที่ เ ป็ นโพลิ เ มอร์ ข องสารชี ว มวลที่
สลายตัวเมื่อโดนความร้อน
(1.2.3) คาร์ บ อนคงตัว คื อ องค์ ป ระกอบของคาร์ บ อนที่ เ หลื อ อยู่ใ น
สารชีวภาพ หลังจากผ่านการเผาไหม้แ บบไม่ใช้ออกซิ เจน หรื อ
ที่ เรี ยกว่า ไพโรไลซิ ส โดยให้ค วามร้อน 60 องศาเซลเซี ยสต่ อ
นาที จนอุณหภูมิถึง 877 องศาเซลเซียส
(1.3) ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ หรื อเรี ยกว่า ขี้เถ้า (Ash) ชี ว มวลส่ ว นใหญ่จ ะมีข้ ี เถ้า
ประมาณ 1-3% ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสดั ส่วนขี้เถ้า ประมาณ 10-20% ซึ่ งจะมีปัญหาในการ
เผาไหม้และก ําจัดพอสมควร

รายงานฉบับสุดท้าย 6-43
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สารชีวมวล

Dry substance Moisture

Combustible substance Ash

ส่วนที�ระเหยได้ง่าย ส่วนที�สลายตัว คาร์บอนคงตัว

รูปที่ 6.1-12 สัดส่วนองค์ประกอบต่างๆของสารชีวมวล


ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

(2) ข้อมูลการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบ (Ultimate Analysis) เป็ นวิธีวิเคราะห์


สารชีวมวลโดยแสดงเป็ นค่าสัดส่วนอะตอมของธาตุ C H O N และ S ที่อยูใ่ นสารชี ว มวล โดยทั่ว ไป
แล้ว จะแสดงผลเป็ นเปอร์ เซ็ นต์ โดยนํ้าหนัก แห้ ง เนื่ อ งจากไม่ ต ้อ งการให้ สับ สนในการคิ ด ธาตุ
ไฮโดรเจน และออกซิเจนที่เป็ นองค์ประกอบในโมเลกุลของนํ้า หรื อไม่กจ็ ะแยกเป็ นความชื้ นออก
ต่างหาก ดังแสดงในตารางที่ 6.1-11

รายงานฉบับสุดท้าย 6-44
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-11 สัดส่วนองค์ประกอบของธาตุที่อยูใ่ นสารชีว มวลที่เหลือในประเทศไทย


(เปอร์เซ็นต์โดยนํ้าหนัก)

ธาตุองค์ ประกอบ ฟางข้าว ชานอ้ อย ซังข้าวโพด


คาร์บอน, C 39.1 21.33 43.7
ไฮโดรเจน, H 4.59 3.06 5.21
ออกซิ เจน, O 34.7 23.29 42.5
ไนโตรเจน, N 0.18 0.12 0.19
ซัลเฟอร์, S 0.04 0.03 0.04
คลอรี น, Cl 0.09 - 0.08
ขี้เถ้า 13.2 1.43 1.4
ความชื้น 8.2 50.73 7
ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

(3) ข้อมู ลการวิเ คราะห์ สารประกอบเคมี (Chemical Compound Analysis)


เนื่ อ งจากสารชี ว มวลเป็ นสารประกอบอิน ทรี ย ์ซ่ ึ ง ได้ม าจากผลผลิต ทางการเกษตร ซึ่ งไม่มี สูต ร
โมเลกุลตายตัว ข้อมูลการวิเคราะห์สารประกอบทางเคมีจึงมีความสําคัญที่บ่งบอกถึงโครงสร้า งหลัก
ในสารประกอบชีวมวล ข้อมูลนี้ได้แบ่งสารชี ว มวลออกเป็ นส่ ว นๆโดยแบ่ งตามความแตกต่ า งของ
ความไวในการเกิดปฏิกริ ิ ยาด้ว ยวิธีการสกดั ด้ว ยตัว ทํา ละลาย โดยสารประกอบทางเคมีในสารชี ว
มวลแบ่งได้เป็ น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่สก ัดได้ ผนังเซลล์ ประกอบด้ว ย ลิกนิ น และคาร์ โบไฮเดรต
(ประกอบด้วย เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส) และขี้เถ้า เป็ นส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้

ถ้า พิ จ ารณาเฉพา ะในส่ ว นที่ เ ผาไห ม้ไ ด้ คื อ ส่ ว นที่ เ กิด ปฏิ ก ิริ ยาได้ ใ น
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ของสารชีวมวล จะแบ่งชีวมวลตามข้อมูลการวิเคราะห์ สารประกอบทาง
เคมีได้เป็ น 4 ส่ ว นหลัก คื อ ส่ ว นที่ สกดั ได้ ลิกนิ น เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส ซึ่ งทั้ง 4 ส่ ว นนี้ มี
โครงสร้างและหมู่ฟังก์ชั่นต่ า งกนั โดยชี ว มวลแต่ ละชนิ ด นั้นจะมีสัด ส่ ว นของทั้ง 4 ส่ ว นนี้ ต่ า งกนั
โดยตารางที่ 6.1-12 แสดงตัวอย่างร้อยละโดยนํ้าหนักขององค์ประกอบทางเคมีข องสารชี ว มวลบาง
ชนิด

รายงานฉบับสุดท้าย 6-45
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.1-12 ร้อยละโดยนํ้าหนักขององค์ประกอบทางเคมีของสารชีว มวลบางชนิด

สารชีวมวล ลิกนิน เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ส่ วนที่สกัดได้


ฟางข้าว 14.1 35.7 29 21.2
ซังข้าวโพด 6 44 36 14
ชานอ้อย 9 47 36 8
ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

6.1.2.4.2 กระบวนการเปลี่ยนสารชีวมวลเป็ นแก๊ สผลิตภัณฑ์


ในการเปลี่ยนสารชีวมวล เป็ นแก๊สผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ
(1) การเตรี ย มสารชี ว มวลก่อ นเข้า สู่ เ ครื่ อ งปฏิ ก รณ์ แ ก๊ส ซิ ไ ฟเออร์ ในการ
เตรี ยมสารชีวมวลก่อนเข้าสู่เตาปฏิ กรณ์ ในขั้นแรกนั้นต้องลดขนาดสารชี ว มวล กระบวนการนี้ จ ะ
เป็ นการควบคุ มขนาดของอนุ ภาค เพื่ อให้พอเหมาะสํา หรับเครื่ องปฏิ กรณ์ อีกทั้งยังเพิ่มพื้นที่ ผิ ว
สําหรับการเกิดปฏิกริ ิ ยาก ับตัวออกซิไดซ์อีกด้วย ในขั้นต่อไป คือ การอบแห้งสารชี ว มวล เพื่อรักษา
สภาพของสารชี ว มวล เนื่ อ งจากสารชี ว มวลเป็ นสารอิ น ทรี ย ์ซ่ ึ งสามารถถู ก ย่อ ยสลายได้โ ดย
จุลินทรี ยซ์ ่ ึงเจริ ญเติบโตได้ดี ที่มีค วามชื้ นสู ง และการอบแห้งนั้นยังลดต้นทุ นในการขนส่ งสารชี ว
มวลอีกด้ว ย ในกระบวนการอบแห้งนั้นเป็ นกระบวนการที่ เกีย่ วข้องกบั การถ่า ยเทความร้อนและ
ถ่ายเทมวลสาร โดยใช้ค วามร้อนที่ เหลืออยู่ในกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่น และอากาศแห้งที่ ใช้รับ
ความชื้นนั้น สามารถนํามาใช้เป็ นตัวออกซิไดซ์ในกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นได้ด ้ว ย โดยปกติ แ ล้ว
ในกระบวนการอบแห้งสารชี ว มวลนั้น ความชื้ นจะคงเหลืออยู่ในประมาณไม่เกินร้อยละ 20 โดย
นํ้าหนักของสารชีว มวล แต่ อย่า งไรก็ต ามถ้า จะผลิต แก๊สผลิต ภัณ ฑ์โดยใช้ไอนํ้า เป็ นตัว ออกซิ ไดซ์
อาจจะไม่ตอ้ งนําความชื้นออกไปทั้งหมด เนื่ องจากไอนํ้า ที่ ได้จ ากการระเหยความชื้ นนั้นสามารถ
เป็ นตัวออกซิไดซ์ได้ในกระบวนการกีสซิฟิเคชัน่ โดยใช้ไอนํ้าเป็ นตัวออกซิไดซ์
(2) กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ ของสารชีวมวลภายในเครื่ องปฏิ กรณ์ หลังจาก
ที่ เอาความชื้ น ออกจากสารชี ว มวลแล้ว สารชี ว มวลจะถูก ส่ งเข้า สู่ เครื่ อ งปฏิ กรณ์ แ ก๊สซิ ไฟเออร์
ปฏิ ก ริ ิ ย าต่ า งๆที่ เ กิด ขึ้ นในเครื่ อ งปฏิ กรณ์ แ ก๊ส ซิ ไฟเออร์ ข องสารชี ว มวล สามารถจํา แนกได้ 3
ขั้นตอนตามชนิดของปฏิกริ ิ ยา คือ ไพโรไลซิส ออกซิเดชัน่ และรี ดกั ชัน่
(2.1) ไพโรไลซิ ส เป็ นการเผาไหม้ข องสารชี ว มวล โดยใช้ค วามร้อนเป็ นตัว
หลักในการทํา ให้ข องแข็ง ชี ว มวลเปลี่ย นสถานะเป็ นแก๊ส ภายใต้สภาวะไร้ ต ัว ออกซิ ไ ดซ์ โดย
สัดส่วนคาร์บอนต่อออกซิเจนต่อไฮโดรเจนของสารชีวมวลจะลดลงเมื่อเวลาผ่า นไป โดยสัด ส่ ว นที่
ลดลงนี้จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็ นแก๊สผลิตภัณฑ์ แก๊สผลิตภัณฑ์บางส่ว นที่ มีมวลโมเลกุลสู งสามารถ

รายงานฉบับสุดท้าย 6-46
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ควบแน่ นกลับเป็ นของเหลวได้ เรี ยกว่า ทาร์ โดยส่ ว นที่ เหลืออยู่ในสภาวะของแข็ง เรี ยกว่า ถ่า น
ส่วนความชื้นส่วนที่เหลือในสารชีวมวลจะกลายเป็ นไอนํ้า ในช่ ว งนี้ เช่ นกนั ปฏิ กริ ิ ยานี้ ต ้องใช้ค วาม
ร้อนเพื่อให้เกิดปฏิกริ ยา เนื่องจากต้องสลายโพลิเมอร์ ข องสารชี ว มวลก่อนแล้ว จากนั้นผลิต ภัณ ฑ์ที่
ได้ส่วนหนึ่งก็จะเกิดปฏิกริ ิ ยาต่อได้เป็ นแก๊สและถ่าน โดยปฏิกริ ิ ยาส่วนนี้เป็ นปฏิ กริ ิ ยาคายความร้อน
ส่วนผลิตภัณฑ์อีกส่วนหนึ่งจะสลายไปเป็ นทาร์ ดังรู ปที่ 6.1-13 ซึ่งโดยรวมแล้วปฏิ กริ ิ ยาไพโรไลซิ ส
เป็ นปฏิกริ ิ ยาดูดความร้อน

“Dehydrocellulose”→ Char + H2O + CO + CO2 etc.


(exothermic)
OC Probably several
0 c
0 0 -28
h ermi Sequential and
2 t
endo Competitive
htl y
reactions
Sl i g
cellulose
280
-34
end 0O
oth C
erm
ic

Tar (primarily Levoglucosan)

รูปที่ 6.1-13 กลไกการเกิดปฏิกริ ิ ยาไพโรไลซิ ส

(2.2) ออกซิ เดชั่น เป็ นปฏิ กริ ิ ยาที่ ใ ช้ออกซิ เจนเป็ นตัว ออกซิ ไดซ์ หรื อเป็ น
ปฏิกริ ิ ยาที่สารตั้งต้นมีเลขออกซิเดชันของเพิ่มขึ้ น ซึ่ งถ่า นที่ เกิด ขึ้ นในปฏิ กริ ิ ยาแยกสลายด้ว ยความ
ร้อนนั้น จะเข้า ทํา ปฏิ กริ ิ ยาต่ อ กบั ตัว ออกซิ ไดซ์ ซึ่ งแต่ ล ะปฏิ ก ริ ิ ย ามี ชื่อ เรี ยกต่ า งก นั ตามตัว ที่ ม า
ออกซิไดซ์ สารชีวมวล โดยมีปฏิกริ ิ ยาที่เกิดขึ้นดังนี้
(2.2.1) ออกซิเดชัน่ เพียงบางส่ ว น ในระบบปฏิ กริ ิ ยาแก๊สซิ ฟิเคชั่นของ
สารชี ว มวล ปริ ม าณตัว ออกซิ ไดซ์ ที่เข้า ทํา ปฏิ กริ ิ ยานั้นจะส่ ง ผลต่ อแก๊สผลิต ภัณ ฑ์ที่ได้ โดยที่ ใ น
กระบวนการเผาไหม้ข องสารชี ว มวลเพื่อให้ได้แ ก๊สผลิต ภัณ ฑ์ต ามที่ ต ้องการนั้น ต้องเป็ นการเผา
ไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะใช้ออกซิเจนน้อยกว่ากระบวนการเผาไหม้สมบูรณ์ ดังรู ปที่ 6.1-14 ก และ ข
เพราะฉะนั้นจึงได้ก ําหนด ปริ มาณออกซิเจนที่เหมาะสมสําหรับกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นเที ยบจาก
ปริ มาณโดยมวลของสารชี ว มวลที่ เข้า สู่ ระบบแสดงเป็ นค่ า สัด ส่ ว นสมมูล (Equivalence ratio) คื อ

รายงานฉบับสุดท้าย 6-47
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สัดส่วนของมวลของตัวออกซิไดซ์ต่อมวลสารชีวมวลที่ใส่เข้าไปสู่ระบบคูณก ับสัด ส่ ว นนั้นตามมวล


สารสัม พัน ธ์ โดยที่ มีผู ้วิจ ัยแล้ว พบว่า ค่ า ER ที่ เหมาะสมสํา หรั บกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นอยู่
ในช่วงระหว่าง 0.26-0.28 ซึ่งปฏิกริ ิ ยาการเผาไหม้จะไม่สมบูรณ์
(2.2.2) ออกซิ เ ดชั่นระหว่า งแก๊ส ผลิ ต ภัณ ฑ์ ถ้า ปริ มาณออกซิ เ จนเกิน
ปริ มาณที่พอเหมาะสําหรับกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นของสารโดยใช้ออกซิ เจนเป็ นตัว ออกซิ ไดซ์
ออกซิเจนที่เกินมานั้นจะไปออกซิไดซ์แก๊สผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการเปลี่ยนเป็ นผลิต ภัณ ฑ์อื่น ดังรู ป ที่
6.1-14 ค
(2.2.3) Boudouard equation เป็ นปฏิ กริ ิ ยาที่ แ ก๊สผลิต ภัณ ฑ์ที่เกิด ขึ้ นทํา
หน้าที่เป็ นตัวออกซิไดซ์ถ่านที่เหลืออยูใ่ นกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ โดยปฏิ กริ ิ ยานี้ เป็ นปฏิ กริ ิ ยาดู ด
ความร้อน และมีสมดุลเข้ามาเกีย่ วข้องดังรู ปที่ 6.1-14 ง

C + 0.5O2 → CO C + O2 → CO2
(ก) Partial oxidation (ข) Total oxidation
CO + 0.5O2 → CO2
H2 + 0.5O2 → H2O C + CO2 ↔ 2CO
(ค) Product oxidation (ง) Boudouard reaction

รูปที่ 6.1-14 ระบบปฏิกริ ิ ยาออกซิ เดชัน่


ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

(2.3) รี ด ักชั่น ผลิ ต ภัณ ฑ์ที่ เ กิด ขึ้ นทั้ง หมดจากปฏิ ก ริ ิ ย าข้า งต้น นั้นสามารถ
เกิดปฏิกริ ิ ยาก ันเองได้ โดยมีผลให้สารตั้งต้นหลักมีเลขออกซิเดชัน่ นั้นลดลง ดังปฏิกริ ิ ยารู ปที่ 6.1-15

C + H2O ↔ CO + H2 C + H2 ↔ CH4
Steam gasification Hydro gasification
CO + H2O ↔ CO2 + H2 CO + 3H2 ↔ CH4 + H2O
Water gas shift reaction Methanation

รูปที่ 6.1-15 ระบบปฏิกริ ิ ยารี ดกั ชัน่


ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

รายงานฉบับสุดท้าย 6-48
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าดู จ ากผลิต ภัณ ฑ์ที่ได้จ ากปฏิ กริ ิ ยาไฮโดรแก๊สซิ ฟิเคชั่น จะ


เห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ท้ งั สองเป็ นผลิตภัณฑ์หลักของกระบวนการนี้ จึ งได้มีบางกระบวนการใช้ไอนํ้า
เป็ นตัวออกซิไดซ์แทนอากาศ ซึ่งเรี ยกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นโดยใช้ไอนํ้า เป็ น
ตัวออกซิไดซ์นนั่ เอง แต่ปริ มาณไอนํ้าต้องใช้ให้พอเหมาะ เนื่องจากไอนํ้าที่เติมเข้า ไปนั้นอาจจะไปมี
ผลต่อปฏิกริ ิ ยาอื่น เนื่องด้วยปฏิกริ ิ ยาอื่นนั้นมีสมดุลเคมีเกีย่ วข้อง
(3) การกาํ จัด กากของแข็งที่ ปนอยู่ในแก๊สผลิต ภัณ ฑ์ กาก ของแข็ง ฝุ่ น และ
ขี้เถ้าที่เหลืออยู่ รวมทั้งทาร์ที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน่ จะถูกก ําจัด โดยกากของแข็ง
ฝุ่ น และขี้เถ้านั้นจะถูกก ําจัดโดยใช้ไซโคลน ส่ ว นทาร์ น้ ันในกระบวนการแก๊สซิ ฟิเคชั่นนั้นจะมีอยู่
น้อย และชนิดของทาร์ที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยูก่ ับชนิดของสารชีวมวล ซึ่งการกาํ จัด ก็ข้ ึ นกบั ชนิ ด ของทาร์
นั้นๆ

6.1.2.4.3 การใช้ ประโยชน์ ของแก๊ สสังเคราะห์ ที่ได้จากกระบวนการแก๊ สซิฟิเคชั่น


แก๊สสัง เคราะห์ สามารถนํา ไปใช้เป็ นเชื้ อเพลิงได้ท้ งั สํา หรับกงั หันแก๊ส และ
เครื่ องยนต์ สําหรับกระแสไฟฟ้ า ปั จจุบนั หลายประเทศให้ความสนใจผลิตไฟฟ้ าจากแก๊สสังเคราะห์
โดยใช้ก งั หั น แก๊ส ก นั มากขึ้ น เห็ น ได้จ ากการเพิ่ ม จํา นวนการก่อ สร้ า งโรงไฟฟ้ าก งั หั น แก๊ส
นอกจากนี้ในต่างประเทศยังได้มีการนําแก๊สสังเคราะห์ไปใช้ในวงจรไฟฟ้ าเพื่อใช้ผลิต กระแสไฟฟ้ า
อย่า งกว้า งขวางอี ก ด้ว ย การนํา แก๊สสัง เคราะห์ ไ ปใช้น้ ัน จะต่ า งก นั ขึ้ นอยู่กบั สัด ส่ ว นของแก๊ส
สังเคราะห์ที่ออกจากเตาปฏิกรณ์ ซึ่งความแตกต่างของสัดส่วนนี้เกิดขึ้นจากการใช้ต ัว ออกซิ ไดซ์ต่ า ง
ชนิดก ัน ดังแสดงในตารางที่ 6.1-13

ตารางที่ 6.1-13 การนําไปใช้ข องแก๊สผลิต ภัณฑ์

ตัวออกซิไดซ์ ที่ใช้ การนําไปใช้ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ได้


อากาศ ใช้ผลิตความร้อน ไฟฟ้ า และผลิต เมทานอล
ออกซิ เจน ผลิตเมทานอล แอมโมเนีย และมีเทน
ไอนํ้า ผลิตเมทานอลและมีเทน
ไฮโดรเจน ผลิตเมทานอล
ทีม่ า: ศุภศักดิ์, 2549

จากตารางผลิตภัณฑ์ข้ นั ต้น (Primary product) ที่ได้จากการเกิด ปฏิ กริ ิ ยาโดยใช้


แก๊สสังเคราะห์เป็ นวัตถุดิบสามารถนํามาผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แ ก่ เมทานอล เอทานอลซึ่ งได้

รายงานฉบับสุดท้าย 6-49
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

จากการทําปฏิกริ ิ ยาร่ วมก ับเมทานอล แอมโมเนียจากไฮโดรเจนทํา ปฏิ กริ ิ ยากบั ไนโตรเจน เชื้ อเพลิง
เหลวจากปฏิ กริ ิ ย าฟิ ตเชอร์ ข ทรอปส์ ช มีเทนจากกระบวนการมีเ ทนเนชั่น เอทิ ลีน ไกลคอลจาก
กระบวนการสังเคราะห์ไกลคอล ไฮโดรควิโนน หรื อนํามาใช้เป็ นเชื้อเพลิงแก๊สในกระบวนการผลิต
ไฟฟ้ าและความร้อนร่ วม ฯลฯ แสดงดังรู ปที่ 6.1-16

รูปที่ 6.1-16 ผลิตภัณฑ์ข้ นั ต้นที่ได้จากการใช้แ ก๊สสังเคราะห์เป็ นวัตถุดิบ


ทีม่ า: เบญจมาศ, 2547

แก๊สสังเคราะห์ เป็ นวัต ถุดิ บที่ สํา คัญในการผลิต สารเคมีอินทรี ยอ์ ื่ นๆได้อย่า ง
มากมาย ซึ่ งส่ ว นใหญ่จ ะเป็ นสารพวกปิ โตรเคมี ในตอนต้นของทศวรรษที่ 1920 นักวิทยาศาสตร์
ชาวเยอรมันได้คน้ พบว่า แก๊สสังเคราะห์สามารถเปลี่ยนไปเป็ นเมทานอลได้เป็ นอย่า งดี โดยใช้ ซิ งค์
โครเมียมออกไซด์เป็ นตัวเร่ งปฏิกริ ิ ยา และเปลี่ยนไปเป็ นสารประกอบอัลเคน โดยใช้ต ัว เร่ งปฏิ กริ ิ ยา
เป็ นโคบอลต์ที่มีเหล็กเป็ นโปรโมเตอร์และตัวรองรับปฏิกริ ิ ยาที่เปลี่ยนแก๊สสังเคราะห์ ให้เป็ นอัลเคน
และแอลกอฮอล์ เป็ นที่ รู้จ ัก กนั ทั่ว โลกคื อ ปฏิ กริ ิ ยาฟิ ตเชอร์ -ทรอปส์ ช (Fisher-Tropsch reaction)
โดยจุดประสงค์ของปฏิ กริ ิ ยานี้ เพื่อที่ จ ะผลิต เชื้ อเพลิงเหลว (Liquid Fuel) ซึ่ งเป็ นสารอัลเคนที่ มีโม
เลกลุลสูง สําหรับการผลิตเมทานอลนั้น นอกจากจะนําไปใช้ประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังนํา ไปใช้เป็ น
สารตั้งต้นในการผลิต สารปิ โตรเคมีอื่ นๆอี กมากมาย เช่ น เอทานอล ฟอร์ มลั ดี ไฮด์ กรดแอซิ ติ ก

รายงานฉบับสุดท้าย 6-50
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เมทิลคลอไรด์ เป็ นต้น นอกเหนือจากนี้ยงั ใช้เป็ นตัวเติม (Additive) ในแก๊สโซลีนในรู ปของ Methyl
tertiary butyl ether (MTBE)

6.2 การเปรียบเทียบกระบวนการผลิตเอทานอลจากลิกโนเซลลูโลส

จากวิ ธี ก ารผลิ ต เอทานอลจากลิ ก โนเซลลู โ ลส 2 วิ ธี ห ลัก ได้แ ก่ Gasification และ


Cellulolysis โดยในการศึ กษาความเป็ นไปได้ใ นการผลิ ต เอทานอลจากเซลลู โ ลสเชิ งพาณิ ช ย์
เนื่องจากวิธี Gasification เป็ นวิธีที่ใช้อุปกรณ์ ในการเผาไหม้ค่ อนข้า งซับซ้อนอีกทั้งการเดิ นระบบ
ยุ่ง ยากและจะต้อ งมี ผู ้ค วบคุ ม ดู แ ลที่ มี ค วามชํา นาญ ดัง นั้ นการใช้วิ ธี น้ ี จึ ง มี ก ารลงทุ น สู ง เมื่ อ
เปรี ยบเที ยบกบั วิ ธี Cellulolysis ซึ่ งเป็ นวิธี ที่ใ ช้ต ้น ทุ นตํ่า โดยจะใช้ว ตั ถุดิ บ จากสิ่ ง เหลื อใช้จ าก
การเกษตรที่ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อีก หาได้ง่า ยตามท้องถิ่นที่ ทํา เกษตรกรรม ดังนั้นวิธี
Cellulolysis จึงเป็ นวิธีที่มีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งด้า นการปฎิบัติ แ ละทางด้า นเศรษฐศาสตร์ ดัง
แสดงในตารางที่ 6.2-1 และตารางที่ 6.2-2

รายงานฉบับสุดท้าย 6-51
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.2-1 ข้อดีและข้อเสียของ Gasification และ Cellulolysis

วิธีการผลิต ข้อดี ข้อเสีย


- เหมาะสมก ับบริ เวณที่มีปริ มาณ - ใช้อุปกรณ์ในการเผาไหม้ค่ อนข้าง
เชื้อเพลิงจําก ัด และหมู่บา้ นชนบทที่ ซับซ้อน
กระแสไฟฟ้ าเข้าไม่ถึง - การเดินระบบยุง่ ยาก
- สามารถเปลี่ยนชีวมวลทุกชนิดเป็ น - ใช้พลังงานสูง เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิ
Cellulosic ethanol ยกเว้นแร่ ธาตุต่างๆ และความดันสูง
- ใช้ระยะเวลาตํ่ากว่าหนึ่งชัว่ โมงใน - มีน้ าํ มันดินหรื อทาร์ผสมในก๊าซเชื้ อเพลิง
กระบวนการเปลี่ยนเซลลูโลสเป็ นเอทา - ต้องมีผคู ้ วบคุมดูแลที่ มีความชํานาญสูง
นอล - ต้องใช้เงิ นลงทุ นสูง
Gasification
- ต้องมีการปรับขนาด และความชื้นของ
วัตถุดิบให้เหมาะสม และสมํ่าเสมอ
- ต้องมีความหนาแน่นเชื้อเพลิง (Bulk
density) ที่เหมาะสมและสมํ่าเสมอ
- ปั จจุบนั ยังไม่มีการใช้งานจริ งสําหรับ
การผลิต ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่ง
รายงานส่วนใหญ่เป็ นผลในระดับ
ห้องปฏิบตั ิการ
- ปั จจุบนั มีการใช้งานจริ งสําหรับการ - ผลิตภัณฑ์ที่ได้ สามารถเป็ นตัวยับยั้งการ
ผลิตในระดับอุต สาหกรรม เกิดปฏิกริ ิ ยาต่อไปได้
- ใช้ก ับวัตถุดิบได้กว้างขึ้นและสามารถ - ใช้ระยะเวลาหลายวันในกระบวนการ
หาได้ง่าย ทําให้มีปริ มาณวัตถุดิบใช้ เปลี่ยนเซลลูโลสเป็ นเอทานอล
ผลิตเอทานอลได้เพิ่มขึ้น
Cellulolysis - ช่วยลดก๊าซเรื อนกระจกได้ถึงร้อยละ
85 ของการผลิตและใช้น้ าํ มันเบนซิน
- ใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพจาก
สิ่งเหลือใช้จากการเกษตรที่ไม่สามารถ
นําไปใช้ประโยชน์ได้อีก
- ใช้เงินลงทุนตํ่า

รายงานฉบับสุดท้าย 6-52
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 6.2-2 การเปรี ยบเทียบเทคโนโลยีการผลิตระหว่าง Cellulolysis และ Gasification

ข้อมูล Cellulolysis Gasification


วัตถุดิบ - วัตถุดิบสามารถหาได้ง่าย - วัตถุดิบต้องมีขนาดที่เหมาะสม
- ช่วยลดปั ญหาการนําพืชอาหาร และสมํ่า เสมอ
ที่ใช้บริ โภคไปผลิต เอทานอล - วัตถุดิบต้องมีความชื้นน้อย
- ช่วยลดแก๊สเรื อนกระจก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี
- ทําให้มีปริ มาณวัตถุดิบใช้ผลิต (ไม่ควรเกิน 20-30%)
เอทานอลได้เพิ่มขึ้น - ต้องมีการปรับสภาพวัตถุดิบ
- ใช้วตั ถุดิบจากสิ่งเหลือใช้จาก ก่อน
การเกษตรที่ไม่สามารถนําไปใช้
ประโยชน์ได้อีก
ด้านค่าใช้จ่ายใน - กระบวนการผลิต มีข้ นั ตอน - ใช้พลังงานสูง เนื่ องจากมีการใช้
การเดินระบบ Pretreatment และการใช้เอนไซม์ อุณหภูมิสูงและควมดันในการ
ในการเปลี่ยนเซลลูโลสเป็ นนํ้าตาล เปลี่ยนชีวมวลเป็ น Cellulosic
ก่อนกระบวนการหมัก ซึ่งเอนไซม์ ethanol
มีราคาแพง - สามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้
- ปั จจุบนั ก ําลังวิจยั เอนไซม์ที่มีราคา โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
ถูกลง พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน
ประสิทธิภาพการ - ในกระบวนการผลิต มีการพัฒนา - สามารถเปลี่ยนชีวมวลทุกชนิดเป็ น
เปลี่ยนชีวมวลเป็ น การใช้วตั ถุดิบที่ มีประสิทธิภาพ Cellulosic ethanol ยกเว้นแร่ ธาตุ
เอทานอล ขึ้น ซึ่งในขั้นตอนการผลิตจะเกิด ต่างๆ
สารลิกนินซึ่งสามารถนําไปใช้ใน
กระบวนการ Gasification ต่อได้

รายงานฉบับสุดท้าย 6-53
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ความยืดหยุน่ - สามารถปรับเปลี่ยนแต่ละขั้นตอน - สามารถใช้ก ับชีวมวลได้


(Flexibility) การ การผลิตตามประเภทและคุณภาพ หลากหลายชนิด สามารถรองรับ
ใช้วตั ถุดิบชีวมวล ของชีวมวลได้อย่างเหมาะสม ชีวมวลที่มีคุณสมบัติแตกต่างก ัน
- เอนไซม์ในการเปลี่ยนเซลลูโลส ทั้ง ชนิด ความชื้น และขนาดที่
เป็ นนํ้าตาลค่อนข้างเจาะจงก ับชนิด แตกต่างก ัน ทําให้มีการใช้งานได้
ของชีวมวล ปั จจุบนั ก ําลังวิจยั กว้างสําหรับการผลิตเป็ นการค้า
เอนไซม์ให้ใช้งานได้กว้างขึ้น
ตารางที่ 6.2-2 (ต่อ) การเปรี ยบเที ยบเทคโนโลยีการผลิตระหว่าง Cellulolysis และ Gasification

ข้อมูล Cellulolysis Gasification


การใช้น้ าํ ใน
- มีการใช้น้ าํ ในแต่ละกระบวนการ - มีการใช้น้ าํ ในการผลิต น้อยกว่า
การผลิต ผลิตและมีน้ าํ เสียจากกระบวนการ Cellulolysis 25-50%
ผลิต โดยทัว่ ไปจะมีน้ าํ เสียเกิดขึ้น
4-5 ลิตรต่อการผลิตเอทานอล 1
ลิตร
ผลผลิตพลอยได้ - ในขั้นตอนการผลิตจะเกิดสาร - ในขั้นตอนการผลิต เกิดผลผลิต
ลิกนินเป็ นผลผลิตพลอยได้ พลอยได้ต่าํ มาก แร่ ธาตุที่เป็ น
องค์ประกอบในชีว มวล และ
คาร์บอนที่ไม่ทาํ ปฏิ กริ ิ ยาจะเหลือ
จากการผลิต
- ก ําลังวิจยั นําของเสียเหล่านี้ไปใช้
ประโยชน์ในพื้นที่เกษตร
ระยะเวลาการผลิต - ใช้ระยะเวลาหลายวันในกระบวน - ใช้ระยะเวลาตํ่ากว่าหนึ่งชัว่ โมงใน
การเปลี่ยนเซลลูโลสเป็ นเอทา กระบวนการเปลี่ยนเซลลูโลสเป็ น
นอล โดยส่วนใหญ่ใช้เวลามากใน เอทานอล
ขั้นตอนการหมัก

รายงานฉบับสุดท้าย 6-54
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ข้อด้อย และ - มีการใช้จุลชี พในการหมักนํ้าตาล - ปั จจุบนั ยังไม่มีการใช้งานจริ ง


แนวทางการพัฒนา ให้เป็ นเอทานอล ลักษณะ ดังนี้ สําหรับการผลิตในระดับ
1.ใช้ก ับวัตถุดิบได้กว้างขึ้น อุตสาหกรรม ซึ่งรายงานส่วนใหญ่
2.ประสิทธิภาพการผลิตสูง เป็ นผลในระดับห้องปฏิบตั ิการ
3.เกิดผลผลิตพลอยได้ต่าํ
4.ทนทานต่อเอทานอลและสาร
ยับยั้ง รวมทั้ง สภาพแวดล้อมอื่นๆ
- จึงมีการพัฒนาเชื้ อที่ใช้ในการหมัก
ให้สามารถใช้ได้ดีประสิทธิภาพการ
ผลิตสูงและมีราคาถูกลง

รายงานฉบับสุดท้าย 6-55
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

บทที่ 7
การศึกษาวิจัยการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

เซลลูโลส เป็ นแหล่งวัตถุดิบหนึ่ งที่ ได้รับความสนใจในการนํา มาผลิต เอทานอลเป็ นอย่า งมาก


กระบวนการผลิ ต เอทานอลจากเซลลู โ ลสโดยใช้ป ฏิ ก ริ ิ ย าทางชี ว เคมี เรี ย กว่ า Cellulolysis ซึ่ งมี
กระบวนการเกิดปฏิกริ ิ ยา ประกอบด้ว ย การย่อยสลายเซลลูโลสให้กลายเป็ นนํ้า ตาลกลูโคส แล้ว หมัก
นํ้าตาลกลูโคสด้วยจุลินทรี ยจ์ นกลายเป็ นแอลกอฮอล์ จากนั้นนํา มาผ่า นการกลัน่ และแยกนํ้า ออกจนได้
เป็ นเอทานอล

การนําเซลลูโลสมาใช้เป็ นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ประกอบด้วยขั้นตอนที่สาํ คัญดังนี้ คือ


(1) การปรับ สภาพเซลลูโ ลส (Pretreatment) เพื่ อ ก าํ จัด องค์ป ระกอบอื่ น ได้แ ก่ ลิ ก นิ น
(Lignin) และเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ทํา ให้เซลลูโลสมีโครงสร้า งที่ เหมาะสม
และเพิ่มพื้นที่ในการเข้าทําปฏิกริ ิ ยาของเอนไซม์
(2) การย่อยสลายเซลลูโลส (Hydrolysis) เพื่อให้ได้น้ าํ ตาลรี ดิวซ์
(3) การหมัก (Fermentation) เป็ นการนํานํ้าตาลรี ดิวซ์มาใช้ในการผลิตเอทานอล
(4) การแยกผลิตภัณฑ์เอทานอลและการทําให้บริ สุทธิ์ (Ethanol production)

โดยทัว่ ไปการปรับสภาพวัต ถุดิ บจะมีค วามสํา คัญและมีค่ า เฉลี่ยประมาณ 18% ของค่ า ใช้จ่ า ย
ทั้งหมด (Miller, 2010) การปรับสภาพวัตถุดิบก่อนการผลิต เอทานอลจากเซลลูโลส มีว ตั ถุประสงค์เพื่อ
แยกลิกนินและเฮมิเซลลูโลสออก ลดการเป็ นผลึกของเซลลูโลส เพิ่มการเป็ นรู พรุ นของวัต ถุดิ บ และเป็ น
การปรับโครงสร้า งของเซลลูโลสให้อยู่ในสภาพที่ เหมาะสมต่ อการเกิด ปฏิ กริ ิ ยาการย่อยด้ว ยเอนไซม์
แบ่ งได้เป็ น 3 วิธีห ลัก คื อ วิธีทางเคมีฟิสิ กส์ วิธีทางเคมี และวิธีทางชี ว ภาพ ซึ่ งวิธีการปรับสภาพที่ มี
รายงานการวิจยั ทัว่ ไป คือ การใช้น้ าํ ร้อน การใช้กรดอ่อน การใช้ด่ า งอ่อน การระเบิ ด วัต ถุดิ บด้ว ยไอนํ้า
การใช้โอโซน การใช้สารละลายแอมโมเนี ย (Ammonia fiber explosion) และวิธีทางชี ว ภาพโดยใช้
จุลินทรี ย ์ สําหรับการศึกษาวิจยั นี้จะใช้วิธีทางเคมีฟิสิกส์ คือ การใช้สารละลายกรดอ่อน สารละลายด่ า ง
อ่อน และการใช้สารละลายกรด ด่าง ร่ วมก ับการให้ความร้อน

รายงานฉบับสุดท้าย 7-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.1 แผนการวิจัย

งานวิจยั นี้เป็ นการศึกษาเปรี ยบเที ยบการผลิต เอทานอลจากชี ว มวลที่ เป็ นวัสดุ เหลือทิ้ ง 3 ชนิ ด
ได้แก่ ฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด โดยการนํา วัสดุ เหลือทิ้ ง 3 ชนิ ด มาปรับสภาพชี ว มวลเบื้ องต้น
ด้ว ยสารละลายกรดอ่ อ น (กรดซัล ฟุ ริ ก ) สารละลายด่ า งอ่ อน (โซเดี ย มไฮดรอกไซด์ ) และการใช้
สารละลายกรดด่างร่ วมก ับการให้ความร้อน จากนั้นย่อยสลายเซลลูโลสที่ ได้ด ้ว ยเอนไซม์เซลลูเลส แล้ว
หมักด้วยเชื้อ Zymomonas mobilis โดยใช้น้ าํ ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลายชี ว มวลด้ว ยเอนไซม์เป็ น
แหล่ ง คาร์ บ อนเพื่ อ ผลิ ต เอทานอลในระดับ ห้ อ งปฏิ บัติ ก าร การศึ ก ษาวิ จ ัยดัง กล่ า ว ดํา เนิ น การ ณ
ห้องปฏิ บัติการภาควิชาวิศวกรรมสิ่ งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุ ฬาลงกรณ์ ม หาวิทยาลัย ซึ่ ง มี
ขั้นตอนในการทดลอง ดังนี้

(1) ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของชี ว มวล โดยพารามิเตอร์ ที่ทํา การศึกษา ได้แ ก่ เซลลูโลส


เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน
(2) ศึก ษาระยะเวลา และอุ ณ หภูมิ ที่ เหมาะสมในการปรับ สภาพชี ว มวลทั้ง 3 ชนิ ด ด้ว ย
สารละลายกรดซัลฟุริก สารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ และการใช้สารละลายกรดด่ า ง
ร่ วมก ับการให้ความร้อน
(3) ศึก ษาความเข้ม ข้น ของเอนไซม์เ ซลลู เ ลส ค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ ม ต้น และเวลาที่
เหมาะสมในการย่อยสลายชีวมวลปรับสภาพ
(4) ศึกษาผลของค่าความเป็ นกรดด่างเริ่ มต้นในการหมักด้วย Zymomonas mobilis

โดยแผนผังขั้นตอนการดําเนินการวิจยั แสดงดังรู ปที่ 7.1-1

รายงานฉบับสุดท้าย 7-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด

ตากแห้งและบดละเอียด

ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของชีวมวล

ศึกษาสภาวะทีเ่ หมาะสมในการปรับสภาพชีวมวลด้วยกรด ด่าง และความร้ อน

สารละลาย H2SO4 1 % สารละลาย NaOH 2% สารละลายกรด ด่าง ที่อุณหภูมิ 120 - 170 °C

ศึกษาลักษณะองค์ประกอบของชีวมวลหลังการปรับสภาพ

ศึกษาสภาวะทีเ่ หมาะสมในการย่อยสลายชีวมวลด้วยเอนไซม์เซลลูเลส

ความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 5-90 FPU/g ค่าความเป็ นกรดด่าง 4.5 - 6.5 เวลาในการย่อย 1 - 48 ชั่วโมง

ศึกษาผลของปัจจัยในกระบวนการหมักด้วย Zymomonas mobillis

ค่าความเป็ นกรดด่าง 5 - 6.5

วิเคราะห์ขอ้ มูลและสรุปผล

รูปที่ 7.1-1 ขั้นตอนการดําเนินการวิจยั

รายงานฉบับสุดท้าย 7-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.2 เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ และสู ตรอาหารสําหรับเชื้อจุลินทรีย์ในการหมัก

7.2.1 เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

(1) เครื่ องบดละเอียด (Milling machine)


(2) เครื่ องคัดแยกขนาด (Seive)
(3) เครื่ องเขย่าสาร (Shaker)
(4) เตาอบความร้อนสูง (Hot air oven)
(5) เครื่ องวัดความเป็ นกรดด่าง (pH meter)
(6) เครื่ องชัง่ ไฟฟ้ า 4 ตําแหน่ง (Analytical balance)
(7) เครื่ องกวนสาร (Magnetic stirrer)
(8) อ่างนํ้าควบคุมอุณหภูมิ (Water bath)
(9) สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer)
(10) หม้อนึ่งความดันไอ (Autoclave)
(11) ตูถ้ ่ายเชื้อ (Laminar flow)
(12) เครื่ องเขย่าควบคุมอุณหภูมิ (Shaking incubator)
(13) เครื่ องปั่ นเหวี่ยงควบคุมอุณหภูมิ (Refrigerated centrifuge)
(14) เครื่ อง Gas chromatography รุ่ น GC-2010A
(15) เครื่ องเขย่าสาร (Vortex)
(16) กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
(17) ไมโครปิ เปต (Micropipette)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-1 เครื่ องบดละเอียด (Milling machine)

รูปที่ 7.2-2 เครื่ องคัดแยกขนาด (Seive)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-3 เครื่ องเขย่าสาร (Shaker)

รูปที่ 7.2-4 เตาอบความร้อนสูง (Hot air oven)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-5 เครื่ องวัดความเป็ นกรดด่าง (pH meter)

รูปที่ 7.2-6 เครื่ องชัง่ ไฟฟ้ า 4 ตําแหน่ง (Analytical balance)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-7 เครื่ องกวนสาร (Magnetic stirrer)

รูปที่ 7.2-8 อ่างนํ้าควบคุมอุณหภูมิ (Water bath)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-9 สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer)

รูปที่ 7.2-10 หม้อนึ่งความดันไอ (Autoclave)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-11 ตูถ้ ่ายเชื้ อ (Laminar flow)

รูปที่ 7.2-12 เครื่ องเขย่าควบคุมอุณหภูมิ (Shaking incubator)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-13 เครื่ องปั่ นเหวี่ยงควบคุมอุณหภูมิ (Refrigerated centrifuge)

รูปที่ 7.2-14 เครื่ อง Gas chromatography รุ่ น GC-2010A

รายงานฉบับสุดท้าย 7-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-15 เครื่ องเขย่าสาร (Vortex)

รูปที่ 7.2-16 กล้องจุ ลทรรศน์ (Microscope)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.2-17 ไมโครปิ เปต (Micropipette)

7.2.2 เคมีภัณฑ์

(1) โซเดียมไฮดรอกไซด์ [NaOH]


(2) โพแทสเซียมไดโครเมต [K2Cr2O7]
(3) เฟอรัสแอมโมเนียซัลเฟต [(NH4)2SO4·FeSO46H2O]
(4) กรดซัลฟุริก [H2SO4]
(5) 1, 10-ฟี นานโธรลีนโมโนไฮเดรต [C12H8N2·H2O]
(6) เฟอร์รัสซัลเฟต [FeSO4·7H2O]
(7) กรดซิตริ ก [COOHCH2C(OH)COOHCH2COOH·H2O]
(8) โซเดียมซิ เตรต [NaC6H5O7·2H2O]
(9) กรดไดไนโตรซาลิไซลิก [C7H4N2O7]
(10) โซเดียมโพแตสเซียมทาร์เทรต [KNaC4H4O6·4H2O]
(11) กลูโคส [C6H12O6]
(12) กรดไฮโดรคลอริ ก [HCl]
(13) สารสก ัดยีสต์ (Yeast extract)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(14) โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนออโทฟอสเฟต [KH 2PO4]


(15) แอมโมเนียซัลเฟต [(NH4)2SO4]
(16) แมกนี เซี ยมซัลเฟต [MgSO4·7H2O]
(17) เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase)
(18) เชื้อหมัก Zymomonas mobillis stain TISTIR 405
(19) อาหารเลี้ยงเชื้อ (Bacto-agar)

7.3 ขั้นตอนการดําเนินการทดลอง

7.3.1 การเตรียมชีวมวล

ชานอ้อย ซังข้า วโพด และฟางข้า ว นํา มาตากให้แ ห้ง นํา มาอบในเตาอบที่ 60 องศาเซลเซี ยส
เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง เพื่อให้ความชื้นน้อยกว่า 10% ดังวิธีข อง TAPPI (2001) จากนั้นบดให้ละเอียดด้ว ย
เครื่ องบด คัด ขนาดโดยการร่ อนผ่า นตะแกรงคัด ขนาดให้มีข นาดเล็กกว่า 0.25 มิลลิเมตร แล้ว นํา ไป
วิเคราะห์หาปริ มาณส่วนประกอบต่างๆในชีวมวล ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิ น ด้ว ยวิธีใน
TAPPI 203 om-88 (ภาคผนวก)

7.3.2 ศึกษาหาสภาวะที่เ หมาะสมในการปรับสภาพชี วมวลด้ วยสารละลายกรดซั ลฟุ ริก สารละลาย


โซเดียมไฮดรอกไซด์ และการให้ ความร้ อน

การทดลองปรับสภาพชีวมวลโดยการแช่ชีวมวลทั้ง 3 ประเภทในสารละลายกรดซัลฟุริกความ
เข้มข้นร้อยละ 1 สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ค วามเข้มข้นร้อยละ 2 และสารละลายกรด ด่ า ง ที่ ให้
ความร้ อนที่ อุณ หภู มิ 120, 150 และ 170 องศาเซลเซี ยส ที่ ระยะเวลา 5, 10, 15 และ 20 นาที มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสม หรื อสภาวะที่ ทํา ให้ได้ปริ มาณเซลลูโลสมาก
ที่สุด และมีปริ มาณเฮมิเซลลูโลสและลิกนินน้อยที่สุด โดยใช้ชีว มวลที่ เตรี ยมในข้อ 7.3.1 มาทํา การปรับ
สภาพ ซึ่งค่าของปั จจัยต่างๆที่ทาํ การแปรผันมาจากงานวิจ ัยที่ มีการศึกษาการปรับสภาพชี ว มวลมาแล้ว
ของ Pattra และคณะ (2008) Salas และคณะ (2009) และ Kahar, Taku และ Tanaka (2010) มา
ประยุกต์ใช้

รายงานฉบับสุดท้าย 7-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.3.2.1 วิธีการปรับสภาพชีวมวลด้วยสารละลายกรดซัลฟุริกและโซเดียมไฮดรอกไซด์
(1) นําชีวมวลที่ผ่านการบดและคัดแยกขนาดแล้ว จากขั้นตอนการเตรี ยมสารชี ว มวลข้อ 7.3.1
แช่ ล งในสารละลายโซเดี ย มไฮดรอกไซด์ เ ข้ม ข้น 2% หรื อ สารละลายกรดซัล ฟุ ริ ก เข้ม ข้น 1% ที่
อุณหภูมิห้องเป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง ดังรู ปที่ 7.3-1
(2) นํา มากรองสารละลายโซเดี ย มไฮดรอกไซด์ หรื อ สารละลายกรดซัลฟุ ริก ออก ล้า งด้ว ย
นํ้าประปาและนํ้ากลัน่ จนมีสภาพเป็ นกลาง (pH 7)
(3) นํา มาอบแห้ ง ที่ อุ ณ หภู มิ 60 องศาเซลเซี ย ส จากนั้น นํา มาชั่ง เพื่อ วิ เ คราะห์ ห านํ้าหนัก
ชีวมวลที่หายไปในระหว่างการปรับสภาพ และวิเคราะห์หาปริ มาณเซลลูโลส ลิกนิ น และเฮมิเซลลูโลส
โดยวิธี TAPPI 203 om-88

ชีวมวลที่ผา่ นการบดและคัดขนาดแล้ว

แช่ด้วยสารละลาย 2 % NaOH, 24 ชัว่ โมง แช่ด้วยสารละลาย 1 % H2SO4, 24 ชัว่ โมง

กรองสารละลายออกและล้างด้วยนํ้ากลัน่ จนค่าความเป็ นกรดด่างประมาณ 7

วิเคราะห์ปริมาณเซลลูโลส ลิกนิน และเฮมิเซลลูโลส

รูปที่ 7.3-1 การทดลองการปรับสภาพชีวมวลด้วยสารละลายกรดอ่อนและด่างอ่อน

7.3.2.2 วิธีการปรับสภาพชีวมวลด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และกรดซั ลฟุ ริกร่ วมกับ


การให้ ความร้ อน
(1) นําชีวมวลที่ผ่านการบดและคัดแยกขนาดแล้ว จากขั้นตอนการเตรี ยมสารชี ว มวลข้อ 7.3.1
แช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2% ที่อุณหภูมิห้องเป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง
(2) หลังแช่ชีวมวลครบ 24 ชัว่ โมงแล้ว นํา มากรองสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ออก ล้า ง
ด้วยนํ้าประปาและนํ้ากลัน่ จนมีสภาพเป็ นกลาง (pH 7)
(3) เติมสารละลายกรดซัลฟุริก แล้วให้ความร้อนในเตาอบที่ อุณ หภูมิ 150 องศาเซลเซี ยส เป็ น
เวลา 20 นาที

รายงานฉบับสุดท้าย 7-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

(4) หลังจากผ่านการปรับสภาพแล้ว กรองสารละลายออกล้า งด้ว ยนํ้า ประปาและนํ้า กลัน่ จน


นํ้า ล้า งมี สภาพเป็ นกลาง (pH 7) วิ เคราะห์ น้ าํ หนักชี ว มวลที่ ห ายไปในระหว่ า งการปรับ สภาพ และ
วิเคราะห์หาปริ มาณเซลลูโลส ลิกนิน และเฮมิเซลลูโลสโดยวิธี TAPPI 203 om-88
(5) ทําการทดลองตามขั้นตอนข้างต้นโดยเปลี่ยนเวลาในการให้ค วามร้อนเป็ น 5 นาที 10นาที
และ 15 นาที

ชีวมวลที่ผา่ นการบดและคัดขนาดแล้ว

แช่ด้วยสารละลาย 2 % NaOH , 24 ชัว่ โมง

กรองสารละลายออกและล้างด้วยนํ้ากลัน่ จนค่าความเป็ นกรดด่างประมาณ 7

ต้มในสารละลายกรดอ่อนโดยปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในการให้ความร้อน

120 องศาเซลเซียส 150 องศาเซลเซียส 170 องศาเซลเซียส

ปรับเปลี่ยนเวลาในการให้ความร้อน

5 นาที 10 นาที 15 นาที 20 นาที

วิเคราะห์ปริมาณเซลลูโลส ลิกนิน และเฮมิเซลลูโลส

รูปที่ 7.3-2 การทดลองการปรับสภาพชีวมวลด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์


และกรดซัลฟุริกร่ ว มก ับการให้ความร้อน

รายงานฉบับสุดท้าย 7-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.3.3 ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เซลลูเลส

การทดลองเพื่ อ หาความเข้ม ข้น ของเอนไซม์เ ซลลู เ ลส ค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ ม ต้น และ
ระยะเวลาที่เหมาะสม หรื อสภาวะที่ ทํา ให้ได้ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์มากที่ สุด ในการย่อยสลายชี ว มวลที่
ผ่านการปรับสภาพเบื้องต้นที่สภาวะที่เหมาะสมแล้วจากขั้นตอนการเตรี ยมสารชี ว มวลข้อ 7.3.1 โดยใช้
ค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ ม ต้นในการทดลองจากสภาวะที่ เหมาะสมของการทํา งานของเซลลูเลสจาก
งานวิจยั ของพรรณวิไล กิง่ สุวรรณรัตน์ (2545) ซึ่งแปรผันความเข้มข้นของเอนไซม์เซลลูเลส 5 10 15 30
60 และ 90 FPU/g ค่าความเป็ นกรดด่างเริ่ มต้นที่ 4.5 5 5.5 และ 6.5 และระยะเวลา 1 4 8 12 16 20 24 32
และ 48 ชัว่ โมง ดังรู ปที่ 7.3-3

ชีวมวลที่ผา่ นการปรับสภาพแล้ว

กําหนดใช้ความเข้มข้นของเอนไซม์เซลลูเลส 15 FPU/g

กําหนดใช้ค่าความเป็ นกรดด่างเริ่มต้น 4.5

แปรผันระยะเวลาในการย่อยสลาย 1 4 8 12 16 20 24 32 และ 48 ชั่วโมง

ใช้ระยะเวลาในการย่อยที่เหมาะสมข้างต้น

แปรผันความเข้มข้นของเอนไซม์เซลลูเลส 5 10 15 30 60 และ 90 FPU/g

ใช้ความเข้มข้นของเอนไซม์เซลลูเลสที่เหมาะสมข้างต้น

แปรผันความเป็ นกรดด่างเริ่มต้น 5 5.5 6.5

วิเคราะห์ปริมาณนํ้าตาลรีดิวซ์

รูปที่ 7.3-3 การทดลองการย่อยสลายเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เซลลูเลส

รายงานฉบับสุดท้าย 7-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.3.3.1 การทดลองศึกษาค่ า ความเป็ นกรดด่ า งที่เ หมาะสมต่ อประสิ ทธิภาพการผลิตนํ้า ตาล


รีดวิ ซ์
(1) ชัง่ ตะกอนชีวมวลที่ผ่านการปรับสภาพด้ว ยสภาวะที่ เหมาะสมแล้ว นํ้า หนัก 50 มิลลิกรัม
ใส่ลงในหลอดทดลอง เติมสารละลายซิ เตรตบัฟเฟอร์ เข้มข้น 0.05 โมลาร์ จํา นวน 2 มิลลิลิต รโดยแปร
ผันค่าความเป็ นกรดด่างเท่าก ับ 4.5 5 5.5 และ 6.5
(2) เติมเอนไซม์เซลลูเลสความเข้มข้น 15 FPU/g
(3) ทําปฏิกริ ิ ยาในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง
(4) เก็บตัวอย่างสารละลายแต่ ละหลอดไปวิเคราะห์ ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ผลิต ได้ด ้ว ย DNS
method

7.3.3.2 การทดลองศึกษาความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลสที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการผลิต
นํา้ ตาลรีดวิ ซ์
(1) ชัง่ ตะกอนชีวมวลที่ผ่านการปรับสภาพด้วยสภาวะที่เหมาะสมนํ้า หนัก 50 มิลลิกรัม ใส่ ลง
ในหลอดทดลองเติมสารละลายซิ เตรตบัฟเฟอร์ เข้มข้น 0.05 โมลาร์ จํา นวน 2 มิลลิลิต ร ที่ ค่ า ความเป็ น
กรดด่างเหมาะสมจากการทดลองหาค่าความเป็ นกรดด่างที่เหมาะสมข้างต้น
(2) เติมเอนไซม์เซลลูเลสโดยแปรผันความเข้มข้น 5 10 15 30 60 และ 90 FPU/g
(3) ทําปฏิกริ ิ ยาในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง
(4) เก็บตัวอย่างสารละลายแต่ ละหลอดไปวิเคราะห์ ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ผลิต ได้ด ้ว ย DNS
method

7.3.3.3 การทดลองศึกษาเวลาการทํา ปฏิกิริยาที่เ หมาะสมต่ อประสิ ทธิภาพการผลิตนํ้า ตาล


รีดวิ ซ์
(1) ชัง่ ตะกอนชีวมวลที่ผ่านการปรับสภาพด้ว ยสภาวะที่ เหมาะสมนํ้า หนัก 50 มิลลิกรัมใส่ ลง
ในหลอดทดลอง เติมสารละลายซิเตรตบัฟเฟอร์ เข้มข้น 0.05 โมลาร์ จํา นวน 2 มิลลิลิต ร ที่ ค่ า ความเป็ น
กรดด่างเหมาะสมจากการทดลองหาค่าความเป็ นกรดด่างที่เหมาะสมข้างต้น
(2) เติมเอนไซม์เซลลูเลสความเข้มข้นที่เหมาะสมจากข้างต้น
(3) ทําปฏิกริ ิ ยาในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
(4) เก็บตัวอย่างสารละลายแต่ละหลอดไปวิเคราะห์ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ผลิต ได้ในชั่ว โมงที่
1 4 8 12 16 20 24 32 และ 48 ชัว่ โมงของการย่อย ด้วย DNS method

รายงานฉบับสุดท้าย 7-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.3.4 ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการหมักเอทานอลด้วย Zymomonas mobillis

ศึก ษาหาค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ มต้นที่ เหมาะสม หรื อสภาวะที่ ทํา ให้ ได้ปริ มาณเอทานอล
ผลผลิตมากที่สุดในการหมักชี ว มวลที่ ผ่า นปรับสภาพเบื้ องต้น และผ่า นการย่อยด้ว ยเอนไซม์แ ล้ว โดย
แผนผังการทดลองเป็ นไป ดังรู ปที่ 7.3-4

สารละลายที่ได้จากชีวมวลที่ผา่ นการปรับสภาพและการย่อย

หมักด้วยเชื้อ Zymomonas mobillis

กําหนดความเข้มข้นของนํ้าตาลรีดิวซ์ 5 กรัมต่อลิตร

กําหนดเวลาในการหมัก 48 ชั่วโมง

แปรผันค่าความเป็ นกรดด่าง 4 ค่า คือ 5 5.5 6 และ 6.5

เลือกใช้ค่าความเป็ นกรดด่างที่เหมาะสมข้างต้น

วิเคราะห์ปริมาณนํ้าตาลรีดิวซ์และเอทานอล

รูปที่ 7.3-4 การทดลองหมักเอทานอลด้วย Zymomonas mobillis

7.3.4.1 การเตรียมเชื้อเริ่มต้น
เตรี ยมอาหารแข็งสําหรับเลี้ยงเชื้อ ทําการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 15 นาที
เทอาหารเลี้ยงเชื้อลงในจานเพาะเชื้อ เมื่อทิ้ งไว้ให้เย็นเขี่ ยเชื้ อ 1 ลูป จาก agar slant ลงบนอาหารแข็งบ่ ม
เชื้อที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 48 ชัว่ โมง ในสภาวะไร้อากาศ นําไปใช้เป็ นเชื้อเริ่ มต้น

รายงานฉบับสุดท้าย 7-19
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.3.4.2 ศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อ Zymomonas mobilis


(1) เตรี ยมอาหารเหลวสํา หรับเลี้ยงเชื้ อถ่า ยใส่ ห ลอดทดลองฝาเกลียวหลอดละ 15 มิลลิลิต ร
และใส่ ในขวดรู ปชมพู่ข วดละ 50 มิลลิลิต ร ทํา การฆ่า เชื้ อที่ อุณ หภูมิ 121 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 15
นาที
(2) เมื่อทิ้งไว้ให้เย็นเขี่ ยเชื้ อ 1 ลูปจาก agar slant ใส่ ลงในหลอดทดลอง บ่ มเชื้ อที่ อุณ หภูมิ 30
องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 48 ชัว่ โมง วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ ค วามยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ให้ได้เท่ า กบั
0.4
(3) ถ่ายเชื้อ 5 มิลลิลิตรจากหลอดทดลองลงในขวดรู ปชมพู่ที่มีอาหารเลี้ยงเชื้ อที่ ฆ่า เชื้ อแล้ว ทํา
การวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตรทุก 3 ชัว่ โมง เพื่อสร้า งกราฟการเจริ ญของเชื้ อ
(Growth curve)

7.3.4.3 การเตรียมเชื้อหมักเริ่มต้น
(1) เตรี ยมอาหารเหลวสํา หรับเลี้ยงเชื้ อถ่า ยใส่ ห ลอดทดลองฝาเกลียวหลอดละ 15 มิลลิลิต ร
และใส่ ในขวดรู ปชมพู่ข วดละ 50 มิลลิลิต ร ทํา การฆ่า เชื้ อที่ อุณ หภูมิ 121 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 15
นาที
(2) เมื่อทิ้งไว้ให้เย็นเขี่ ยเชื้ อ 1 ลูปจาก agar slant ใส่ ลงในหลอดทดลอง บ่ มเชื้ อที่ อุณ หภูมิ 30
องศาเซลเซียส ตามเวลาที่เหมาะสม
(3) นําไปใช้เป็ นเชื้อเริ่ มต้นสํา หรับการหมักนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลายชี ว มวลปรับ
สภาพ

7.3.4.4 การทดลองศึกษาผลของความเป็ นกรดด่ า งเริ่มต้ นที่เ หมาะสมในการหมักชี วมวลด้ วย


Zymomonas mobilis
(1) เตรี ยมสารละลายนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยชีวมวที่ความเข้มข้นนํ้าตาล 5 กรัมต่อลิตร
(2) นําสารละลายนํ้าตาลที่ได้มาเติมสารอาหารตามสูตรอาหารเหลวสําหรับเตรี ยมเชื้ อหมัก แต่
ไม่เติมกลูโคส แล้วปรับค่าความเป็ นกรดด่างเท่ า กบั 5 5.5 6 และ 6.5 ด้ว ยสารละลายกรดไฮโดรคลอริ ก
และโซเดียมไฮดรอกไซด์
(3) ถ่ายสารละลายที่ได้ใส่ขวดรู ปชมพู่ข วดละ 50 มิลลิลิต ร จากนั้นนํา สารละลายดังกล่า วไป
ฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 15 นาที ทิ้งให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง
(4) ทําการถ่ายเชื้อเริ่ มต้น 5 มิลลิลิต ร ลงในอาหารเหลวสารละลายนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ฆ่า เชื้ อแล้ว
บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เขย่าด้วยเครื่ องเขย่าอัตราเร็ว 150 รอบต่ อนาที เป็ นเวลา 48 ชั่ว โมง เก็บ
ตัวอย่างนําไปวิเคราะห์ปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ลดลง และปริ มาณเอทานอลที่เกิดขึ้น

รายงานฉบับสุดท้าย 7-20
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.4 การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์

การเก็บตัว อย่า งที่ ได้จ ากการทดลองแต่ ละขั้นตอน นํา มาวิเคราะห์ ค่ า พารามิเตอร์ ต่ า งๆ ด้ว ย
วิธีการดังตารางที่ 7.4-1

ตารางที่ 7.4-1 พารามิเตอร์และวิธีที่ทาํ การวิเคราะห์

พารามิเตอร์ วิธีวิเคราะห์ ช่ วงการเก็บตัวอย่าง/การวัด


1. ความเป็ นกรดด่าง เครื่ องวัดความเป็ นกรดด่าง ก่อนและหลัง การปรับสภาพ ส่วนการ
ย่อยและการหมักวัดระหว่างการทดลอง

2. อุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์ ขณะทําการปรับสภาพ และระหว่างการ


หมัก

3. องค์ประกอบต่ า งๆใน วิธี TAPPI 203 cm-88 ก่อนและหลังการปรับสภาพ


ชีวมวล (TAPPI, 2000) (ภาคผนวก)

4. ปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์ วิธีของ Mandel และ Sternbery หลังจากการย่อย และระหว่างการหมัก


(Mandel and Sernbery, 1976) ทุก 3 ชัว่ โมง
(ภาคผนวก)

5. ความสามารถในการ วิธีของ Mandel และ Sternbery ก่อนการย่อย และก่อนการหมัก


ทํางานของเอนไซม์ (Mandel and Sernbery, 1976)
(ภาคผนวก)

6. ปริ มาณเอทานอล Gaschromatogragphy ระหว่างการหมักทุก 3 ชัว่ โมง


(ภาคผนวก)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.5 ผลการศึกษาวิจัย

7.5.1 การวิเคราะห์ องค์ ประกอบชีวมวลเบือ้ งต้น

เซลลูโลสิกไบโอแมส (cellulosic biomass) หมายถึง สารชี ว มวลที่ มีองค์ประกอบหลัก 3 ชนิ ด


คือ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินโดยในชีวมวลแต่ละประเภทจะมีสดั ส่วนของสารเหล่า นี้ แ ตกต่ า ง
กนั ขึ้ นอยู่กบั ชนิ ด ของพืช ส่ ว นใหญ่ในสารชี ว มวลจะมีสัด ส่ ว นของเซลลูโลสประมาณ 40-60% เฮมิ
เซลลูโลสประมาณ 20-40% เซลลูโลสเป็ นสารโพลีเมอร์ ข องนํ้า ตาลกลูโคสที่ มีพนั ธะของโมโนเมอร์
เชื่อมต่อก ันแบบ β(1-4) กลูโคไซดิก (β(1-4) glycosidic bonds) โครงสร้างที่เป็ นผลึกทํา ให้เซลลูโลสมี
ความเสถียรสูง แต่เฮมิเซลลูโลสจะมีโครงสร้า งที่ มีกงิ่ มากกว่า และไม่เป็ นผลึกทํา ให้สามารถไฮโดรไล
ซีสได้ง่ายกว่า โดยในเฮมิเซลลูโลสจะประกอบด้ว ยนํ้า ตาลเพนโทสเป็ นองค์ประกอบหลัก ส่ ว นลิกนิ น
เป็ นสารโพลีฟีนอลที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตเป็ นโครงสร้า งที่ แ ข็งแรงให้กบั ผนังเซลล์ ไม่ทํา ปฏิ กริ ิ ยาใดๆ
ในกระบวนการเคมี
จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของชี ว มวลทั้ง 3 ชนิ ด ที่ ถูกคัด เลือกได้แ ก่ ฟางข้า ว ชานอ้อย
และซังข้าวโพด ที่ผ่านการบดละเอียด พบว่า ชีวมวลทั้งสามชนิ ด มีปริ มาณขององค์ประกอบ เซลลูโลส
เฮมิเซลลูโลส และลิกนินแตกต่างก ัน โดยฟางข้าวมีปริ มาณเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสสู งที่ สุด 97.28%
ส่วนชานอ้อยและซังข้า วโพดมีปริ มาณเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสใกล้เคี ยงกนั 83.21% และ 85.73%
ตามลําดับ ดังตารางที่ 7.5-1

ตารางที่ 7.5-1 องค์ประกอบของชีวมวล

ชีวมวล ปริมาณองค์ ประกอบ (% โดยนํา้ หนัก)


เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส เซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ลิกนิน
ฟางข้าว 70.55 26.73 97.28 2.72
ชานอ้อย 63.00 20.21 83.21 16.79
ซังข้าวโพด 66.52 19.21 85.73 14.27

จากตารางที่ 7.5-1 จะเห็นว่า ชีวมวลทั้งสามชนิ ด มีปริ มาณเซลลูโลสสู ง จึ งเหมาะที่ จ ะนํา มาใช้


เป็ นวัต ถุ ดิ บในการผลิต เป็ นเอทานอล แต่ เนื่ องจากยังมีส่ว นประกอบอื่นอยู่ในโครงสร้า ง ซึ่ งเป็ นตัว
ขัดขวางการเข้าทําปฏิกริ ิ ยาของเอนไซม์ในการย่อยสลายเซลลูโลสเพื่อผลิต เอทานอล ดังนั้นจึ งต้องทํา

รายงานฉบับสุดท้าย 7-22
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

การปรับสภาพ เพื่อแยกลิกนิ นออกจากโครงสร้า ง และปรับโครงสร้า งของเซลลูโลสให้อยู่ในสภาพที่


เหมาะสมก่อน

7.5.2 การศึกษาผลของการปรับสภาพชีวมวล

7.5.2.1 การปรับสภาพด้วยสารละลายกรดซัลฟุริกและโซเดียมไฮดรอกไซด์
จากการปรับสภาพฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพดที่ผ่านการบดและคัดแยกขนาดด้ว ยวิธีทาง
เคมี โดยการนํามาแช่ในสารละลายกรดซัลฟุริกความเข้มข้น 1% หรื อสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์
ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง นํามาวิเคราะห์หาปริ มาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิ น โดย
เปรี ย บเที ย บผลที่ ไ ด้ก บั ชี ว มวลก่อ นปรั บ สภาพ ได้ผ ลการทดลองดัง รู ป ที่ 7.5-1 7.5-2 และ7.5-3
ตามลําดับ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-23
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ร้อยละขององค์ประกอบ ฟางข้าว
100
90 เซลลูโลส
80 เฮมิเซลลูโลส
70 ลิกนิน
60
50
40
30
20
10
0
no pretreat H2SO4 24ชม
H2SO4 24 hr.. NaOH 24 ชม.

การปร ับสภาพ

รูปที่ 7.5-1 องค์ประกอบของฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี

รายงานฉบับสุดท้าย 7-24
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ร้อยละขององค์ประกอบ ชานอ้อย
100
90 เซลลูโลส
80 เฮมิเซลลูโลส
70 ลิกนิน
60
50
40
30
20
10
0
no pretreat H2SO4 24 ชม. NaOH 24 ชม.
การปร ับสภาพ

รูปที่ 7.5-2 องค์ประกอบของชานอ้อยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี

รายงานฉบับสุดท้าย 7-25
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ร้อยละขององค์ประกอบ ซงั ข้าวโพด


100
90 เซลลูโลส
80 เฮมิเซลลูโลส
70 ลิกนิน
60
50
40
30
20
10
0
no pretreat H2SO4 24 ชม. NaOH 24 ชม.
การปร ับสภาพ

รูปที่ 7.5-3 องค์ประกอบของซังข้าวโพดที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี

รายงานฉบับสุดท้าย 7-26
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

จากผลการทดลองในรู ปที่ 7.5-1 7.5-2 และ 7.5-3 พบว่า การปรับสภาพชี ว มวลด้ว ยการแช่ ใน
สารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ค วามเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง จะทํา ให้ปริ มาณองค์ประกอบ
ภายในชี ว มวลเกิด การเปลี่ ย นแปลงไปมาก โดยปริ ม าณเซลลู โ ลสในชี ว มวลทั้ง สามจะเพิ่ม สู ง ขึ้ น
ประมาณ 18-24% (โดยฟางข้า วเพิ่ มขึ้ น 18.41% ชานอ้อ ยเพิ่ม ขึ้ น 23.90% และซัง ข้า วโพดเพิ่มขึ้ น
21.88% เมื่อเปรี ยบเที ยบกบั ชี ว มวลก่อนปรับสภาพ) ส่ ว นปริ มาณเฮมิเซลลูโลสและลิกนิ นจะลดตํ่า ลง
ประมาณ 14-17% และ 2-10% ตามลําดับ (โดยเฮมิเซลลูโลสในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ลดลง
16.69% 13.99% และ 13.66% ตามลําดับ ส่วนลิกนินในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ลดลง 1.71%
9.91% และ 8.22% ตามลําดับ เมื่อเปรี ยบเที ยบกบั ชี ว มวลก่อนปรับสภาพ) ในขณะที่ การแช่ ชีว มวลใน
สารละลายกรดซัลฟุริกความเข้มข้น 1% เป็ นระยะเวลา 24 ชัว่ โมง จะทํา ให้ปริ มาณองค์ประกอบภายใน
ชานอ้อยและซังข้าวโพดเปลี่ยนแปลงได้เพียงเล็กน้อยเท่ า นั้น ส่ ว นปริ มาณองค์ประกอบภายในฟางข้า ว
แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งจากผลการทดลองข้า งต้นทํา ให้ทราบว่า การปรับสภาพชี ว มวลใน
สารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ค วามเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง เป็ นสภาวะที่ สามารถทํา ให้
ปริ มาณเซลลูโลสเพิ่มสู งขึ้ นได้ แต่ เนื่ องจากยังมีปริ มาณเฮมิเซลลูโลสและลิกนิ นหลงเหลืออยู่ภายใน
องค์ประกอบ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทํา งานของเอนไซม์ในการย่อยสลายเซลลูโลสต่ อไปได้ ดังนั้นจึ งทํา
การทดลองปรับสภาพโดยการนําชีวมวลไปปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีร่วมก ับการให้ความร้อนต่อไป

7.5.2.2 การปรับสภาพชีวมวลด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และกรดซั ลฟุ ริกร่ วมกับการ


ให้ ความร้ อน
ทําการปรับสภาพฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพดที่ผ่านการบดและคัดแยกขนาดแล้ว ด้ว ยวิธี
ทางเคมีร่ว มก บั การให้ค วามร้อน โดยการนํา ชี ว มวลมาแช่ ในสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ค วาม
เข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง จากนั้นล้างนํ้าจนเป็ นกลาง เติมสารละลายกรดซัลฟุริกความเข้มข้น 1%
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการก ําจัดลิกนินและส่ ว นประกอบอื่นที่ มีผลต่ อการยับยั้งการทํา งานของเอนไซม์
ออก แล้วนําไปให้ความร้อนที่อุณ หภูมิ 120 150 และ 170 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 20 นาที ซึ่ งจากการ
ทบทวนเอกสารพบว่า การให้ความร้อนที่เวลา 20 นาทีจะทําให้ได้ปริ มาณเซลลูโลสสู งที่ สุด และเมื่อนํา
ผลที่ ได้มาเปรี ยบเที ยบก บั ชี ว มวลที่ ถูก ปรั บสภาพด้ว ยวิ ธีทางเคมี โดยการแช่ ในสารละลายโซเดี ย ม
ไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง ผลการทดลองแสดงดังรู ปที่ 7.5-4 7.5-.5 และ 7.5-6
ตามลําดับ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-27
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ร ้อยละขององค์ป ระกอบ ฟางข้าว


100
90
80 เซลลูโลส

70 เฮมิเซลลูโลส
60
ลิกนิน
50
40
30
20
10
0
NaOH 120°C 150°C 170°C
ชม.
24 hr. 20 นาที
min 20 นาที
min 20 นาที
min
การปรับสภาพ

รูปที่ 7.5-4 องค์ประกอบของฟางข้าวที่ถูกปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์


ความเข้มข้น 2 % ร่ วมก ับการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-28
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ร ้อยละขององค์ป ระกอบ ชานอ้อย


100
90
80
เซลลูโลส
70
60 เฮมิเซลลูโลส

50 ลิกนิน
40
30
20
10
0
NaOH 120°C 150°C 170°C
24 ชม.
hr. 20 นาที
min 20 นาที
min 20 นาที
min
การปรับสภาพ

รูปที่ 7.5-5 องค์ประกอบของชานอ้อยที่ถูกปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์


ความเข้มข้น 2% ร่ วมก ับการให้ความร้อนที่ อุณหภูมิต่างๆ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-29
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ร้อยละขององค์ประกอบ ซงั ข้าวโพด


100
90
เซลลูโลส
80
70 เฮมิเซลลูโลส

60 ลิกนิน
50
40
30
20
10
0
NaOH 120°C 150°C 170°C
24 ชม. 20 นาที 20 นาที 20 นาที
การปร ับสภาพ

รูปที่ 7.5-6 องค์ประกอบของซังข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์


ความเข้มข้น 2% ร่ วมก ับการให้ความร้อนที่ อุณหภูมิต่างๆ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-30
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

จากรู ปที่ 7.5-4 7.5-5 และ 7.5-6 พบว่า การปรับสภาพชี ว มวลด้ว ยวิธีทางเคมีร่ว มกบั การให้
ความร้อนที่อุณหภูมิ 120 150 และ 170 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 20 นาที ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ
ปริ มาณองค์ประกอบภายในชีวมวลที่แช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ค วามเข้มข้น 2% เพียงอย่า ง
เดียว โดยพิจารณาแยกแต่ละชนิดชีวมวลได้ดงั นี้
จากรู ปที่ 7.5-4 พบว่า ผลการเปรี ยบเทียบการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีแ ละวิธีทางเคมีร่ว มกบั
การให้ความร้อนของฟางข้าว บ่งชี้ว่า การปรับสภาพฟางข้า วด้ว ยวิธีทางเคมี โดยการแช่ ในสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง เป็ นวิธีที่เหมาะสมที่ สุด เพราะสามารถทํา ให้
ปริ มาณเซลลูโลสเพิ่มได้สูงถึ ง 88.96% โดยเพิ่ม ขึ้ น 18.41% (ฟางข้า วมีเซลลูโลสเริ่ มต้น 70.55%)
นอกจากนี้ ยัง ทํา ให้ มี ป ริ มาณเฮมิเ ซลลู โ ลสและลิก นิ น หลงเหลื อ อยู่ใ นโครงสร้ า งปริ ม าณน้อ ย คื อ
ประมาณร้อยละ 10.04 และ ร้อยละ 1.01 ตามลําดับ หรื อลดลงร้อยละ 16.31 และ 1.71 ตามลํา ดับ ดังนั้น
ในการทดลองขั้นต่อไป จึงเลือกวิธีทางเคมีโดยการแช่ ในสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ค วามเข้มข้น
2 เปอร์เซ็นต์ เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง มาใช้ในการปรับสภาพฟางข้า วเพื่อใช้เป็ นวัต ถุดิ บในการย่อยสลาย
ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสต่อไป
ชานอ้อย พบว่า ผลการเปรี ยบเทียบการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีแ ละวิธีทางเคมีร่ว มกบั การให้
ความร้อนดังรู ปที่ 7.5-5 แสดงให้เห็ นว่า การให้ค วามร้อนที่ สูงขึ้ นจากการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมี
ร่ วมก ับความร้อนจะทําให้ปริ มาณเซลลูโลสที่ได้ลดตํ่าลง ทั้งยังไม่สามารถลดปริ มาณเฮมิเซลลูโลสและ
ลิกนินให้ต่าํ กว่าการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีได้ ดังนั้นในการปรับสภาพชานอ้อย จึงเลือกใช้วิธีทางเคมี
โดยการแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ค วามเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง มาใช้ในการปรับ
สภาพเช่นเดียวก ับฟางข้าว
ซังข้าวโพด จากการเปรี ยบเที ยบการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีแ ละวิธีทางเคมีร่ว มกบั การให้
ความร้อนดังรู ปที่ 7.5-6 ทําให้ทราบว่า ทั้งสองวิธีน้ ีทาํ ให้ปริ มาณองค์ประกอบภายในซังข้า วโพดมีการ
เปลี่ยนแปลงใกล้เคียงก ัน โดยจะเห็นว่า ที่สภาวะการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีโดยการแช่ ในสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง ก ับการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีร่ว มกบั การ
ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 20 นาที สามารถทํา ให้ปริ มาณเซลลูโลสที่ ได้เพิ่ม
สู งขึ้ นไม่ต่ า งกนั (โดยซังข้า วโพดที่ ผ่า นการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีแ ละวิธีทางเคมีร่ว มกบั การให้
ความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 20 นาที จะมีปริ มาณเซลลูโลสอยู่ภายในองค์ประกอบ
88.40% และ 87.91% ตามลําดับ) แต่ที่สภาวะการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีร่ว มกบั การให้ค วามร้อนที่
อุณ หภูมิ 170 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 20 นาที สามารถกาํ จัด ลิกนิ นซึ่ งเป็ นตัว ขัด ขวางการย่อยสลาย
เซลลูโลสของเอนไซม์ออกจากโครงสร้ า งภายในได้มากกว่ า การปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีประมาณ
0.19% (ปริ มาณลิกนิ นลดลงจาก 6.05% ไปเป็ น 5.86%) ดังนั้น จึ งลองทํา การทดลองอีกครั้ง เพื่อหา
วิธีการปรับสภาพที่เหมาะสมที่สุดสําหรับซังข้าวโพด โดยได้ทาํ การนําซังข้า วโพดมาปรับสภาพด้ว ยวิธี

รายงานฉบับสุดท้าย 7-31
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ทางเคมีร่วมก ับการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส แล้ว ปรับเปลี่ยนเวลาเรื่ อยไปตั้งแต่ 5-20


นาที มาเปรี ย บเที ยบก บั ซัง ข้า วโพดที่ ถูก ปรั บ สภาพด้ว ยวิ ธี ก ารทางเคมี โ ดยการแช่ ใ นสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง ซึ่งผลการทดลองแสดงดังรู ปที่ 7.5-7

ร้อยละขององค์ประกอบ
ั าวโพด
ซงข้
100
90
เซลลูโลส
80
เฮมิเซลลูโลส
70
ลิกนิน
60
50
40
30
20
10
0
NaOH 170°C 170°C 170°C 170°C
24 ชม. 5 นาที 10 นาที 15 นาที 20 นาที
การปร ับสภาพ

รูปที่ 7.5-7 องค์ประกอบของซังข้าวโพดที่ปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีร่ว มก ับการให้ความร้อน


ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส ที่เวลาตั้งแต่ 5-20 นาที

จากรู ป ที่ 7.5-7 เมื่ อนํา ซัง ข้า วโพดมาปรับ สภาพด้ว ยวิธีท างเคมีร่ ว มก บั การให้ค วามร้ อนที่
อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส แล้วแปรผันระยะเวลาในการให้ค วามร้อนตั้งแต่ 5 นาที ถึง 20 นาที พบว่า
ที่เวลา 5-10 นาที สามารถทําให้ปริ มาณเซลลูโลสเพิ่มขึ้ นได้สูงที่ สุด โดยมีปริ มาณ 92.25% และ 92.36%
ตามลํา ดับ ซึ่ งมี ปริ ม าณสู งกว่ า ที่ ส ภาวะการปรั บ สภาพด้ว ยวิ ธีท างเคมีโ ดยการแช่ ใ นสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง เท่าก ับ 4% (ปริ มาณเซลลูโลสในซังข้า วโพด
ที่ผ่านการปรับสภาพทางเคมีเท่าก ับ 88.40%) นอกจากนี้ที่สภาวะการปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีร่ว มกบั
การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียสดังกล่า ว ยังสามารถลดปริ มาณเฮมิเซลลูโลสและลิกนิ น
ให้เหลืออยูใ่ นโครงสร้างในปริ มาณที่นอ้ ยลงได้ กล่า วคื อ คงเหลือประมาณ 4.15% และ 3.60% สํา หรับ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-32
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เฮมิเซลลูโลสและลิกนิน ตามลําดับ (ปริ มาณเฮมิเซลลูโลสและลิกนิ นลดลงจากเมื่อผ่า นการปรับสภาพ


ด้วยวิธีทางเคมีอย่างเดียวประมาณ 1.40% และ 2.45% ตามลํา ดับ) ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมสุ ด สํา หรับการ
ปรับสภาพในซังข้า วโพด คื อ การปรับสภาพด้ว ยวิธีทางเคมีร่ว มกบั การให้ค วามร้อนที่ อุณ หภูมิ 170
องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 5 นาที เนื่องจากผลที่ได้จากการปรับสภาพที่ 5 และ 10 นาที ไม่แตกต่างก ันมาก
การปรับสภาพด้วยสารเคมีร่วมก ับการเพิ่มอุณหภูมิน้ นั จะทําให้สามารถแยกเซลลูโลสออกจาก
เฮมิเซลลูโลสและลิกนินได้ดี เนื่องจากสารเคมีจะเข้าทําปฏิกริ ิ ยาการสลายพันธะของโครงสร้า งระหว่า ง
ลิกนิ นและเซลลูโลส โดยมีค วามร้อนช่ ว ยเร่ งการเกิด ปฏิ กริ ิ ยา จึ งทํา ให้ลิกนิ นและเฮมิเซลลูโลสหลุ ด
ออกมาจากตะกอนชีวมวลได้มากขึ้น และเพิ่มรู พรุ นและพื้นที่ ผิว ให้กบั วัต ถุดิ บ ทํา ให้ย่อยสลายได้ดี ข้ ึ น
(Silverstein, 2004) ดัง นั้น การปรั บ สภาพดัง กล่ า วจึ งเป็ นการเพิ่ ม ประสิ ทธิ ภ าพของการย่อ ยสลาย
เซลลูโ ลสด้ว ยเอนไซม์เ ซลลูเ ลสในขั้นต่ อไปได้ แต่ ยงั มีปัจ จัยที่ ส่งผลต่ อการปรั บสภาพคื อ อุณ หภู มิ
ระยะเวลาที่ใช้ ขนาดของวัตถุดิบ และปริ มาณความชื้น (Sanchez และ Cardona, 2008)
จากผลการทดลองที่ผ่านมา ทําให้สามารถคัดเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการปรับสภาพชี ว
มวลแต่ ละชนิ ด ซึ่ ง เป็ นสภาวะที่ ทํา ให้มีอ ัต ราส่ ว นเซลลู โลสมากที่ สุด ในขณะที่ เ ฮมิเ ซลลูโลส และ
ลิกนิ นหลงเหลืออยู่น้อยที่ สุด เพื่อใช้ในการศึ กษาประสิ ทธิ ภาพการย่อยสลายเซลลูโลสด้ว ยเอนไซม์
ต่อไป โดยสามารถแสดงเป็ นตารางสรุ ปสภาวะที่เหมาะสมสุดของแต่ละชีวมวลได้ดงั ตารางที่ 7.5-2

ตารางที่ 7.5-2 สภาวะการปรับสภาพที่ เหมาะสมสําหรับวัสดุชีวมวลแต่ละชนิด

ชีวมวล การ ปริมาณองค์ ประกอบ (%) การเปลี่ยนแปลงองค์ ประกอบ (%)


ปรับสภาพ เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน
เซลลูโลส เซลลูโลส
ฟางข้าว ชุดควบคุม 70.55 26.73 2.72 - - -
NaOH 88.96 10.04 1.01 18.41 -16.69 -1.71
24 hr.
ชานอ้อย ชุดควบคุม 63.00 20.21 16.79 - - -
NaOH 86.90 6.22 6.88 23.90 -13.99 -9.91
24 hr.
ซัง ชุดควบคุม 66.52 19.21 14.27 - - -
ข้าวโพด 170OC 92.25 4.15 3.60 25.73 -15.06 -10.67
5 min.

รายงานฉบับสุดท้าย 7-33
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.5.3 การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสในชีวมวลด้วยเอนไซม์

ในกระบวนการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส จะคล้า ยคลึงกบั การผลิต จากแป้ งและนํ้า ตาล แต่


จุ ลินทรี ยห์ รื อเอนไซม์ที่ใช้แ ตกต่ า งก นั เอนไซม์ห ลักที่ ใช้ในการย่อยสลายเซลลูโลส ได้แ ก่ เอนไซม์
เซลลู เลส ซึ่ งปั จ จุ บันยัง มีราคาสู ง เซลลู เลสเป็ นเอนไซม์ที่สํา คัญในการย่อยสลายเซลลู โลสให้เป็ น
กลูโคสโดยทําหน้าที่เร่ งปฏิกริ ิ ยาไฮโดรไลซิสด้วยการเติมโมเลกุลของนํ้า เข้า ไปเพื่อสลายพันธะเคมี พบ
มากในจุลินทรี ยห์ ลายชนิด โดยเฉพาะเชื้ อรา โดยทั่ว ไปการผลิต เอทานอล 1 แกลลอน ต้องใช้เอนไซม์
100 กรัม ปั จ จัยสํา คัญที่ มีผลต่ อการทํา งานของเอนไซม์เซลลูเลส ได้แ ก่ ค่ า ความเป็ นกรดด่ า ง ความ
เข้มข้นของซับสเตรท และความเข้มข้นเอนไซม์ ดังนั้นการทดลองนี้ จึ งมุ่งเน้นที่ จ ะศึกษาหาสภาวะที่
เหมาะสมในการย่อยสลายเซลลูโลสในฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ที่ ผ่า นการปรับสภาพด้ว ย
เอนไซม์เซลลูเลส โดยปรับเปลี่ยนค่ า ความเป็ นกรดด่ า ง ความเข้มข้นเอนไซม์ และระยะเวลาการทํา
ปฏิกริ ิ ยาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิต นํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์มากที่ สุด ในขณะที่ ใช้เอนไซม์เซลลูเลสน้อยที่ สุด
เป็ นการลดค่าใช้จ่ายในการย่อยสลายจากเอนไซม์

7.5.3.1 การศึกษาความเป็ นกรดด่างที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการผลิตนํา้ ตาลรีดวิ ซ์


ทํา การย่อยสลายเซลลูโ ลสในฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ที่ ผ่ า นการปรั บสภาพจาก
สภาวะที่เหมาะสมตามตารางที่ 7.5-2 ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสความเข้มข้น 15 FPU/g ในสารละลายซิ เตรต
บัฟเฟอร์ที่แปรผันค่าความเป็ นกรดด่างตั้งแต่ 4.5 5 5.5 และ 6.5 ทําปฏิกริ ิ ยาในอ่า งควบคุ มอุณ หภูมิที่ 50
องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง เก็บตัวอย่างสารละลายแต่ละหลอดไปวิเคราะห์ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่
ผลิตได้ ซึ่งผลการทดลองที่ได้แสดงดังรู ปที่ 7.5-8

รายงานฉบับสุดท้าย 7-34
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.5-8 ผลของความเป็ นกรดด่างต่อปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายเซลลูโลส


ในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด

จากรู ปที่ 7.5-8 พบว่า เอนไซม์เซลลูเลสสามารถผลิต นํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์จ ากการย่อยสลายเซลลูโลส


ในวัสดุ ชีว มวลที่ ผ่า นการปรับ สภาพแล้ว แต่ ล ะชนิ ด แตกต่ า งก นั โดยเซลลูโลสในฟางข้า วสามารถ
เปลี่ยนเป็ นนํ้าตาลรี ดิวซ์ได้สูงสุด รองลงมาคือซังข้า วโพด และชานอ้อย ตามลํา ดับ นอกจากนี้ ยงั พบว่า
ความเป็ นกรดด่างมีผลต่อประสิทธิภาพการเกิดนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายเซลลูโลสในฟางข้า ว
ชานอ้อย และซังข้าวโพดด้วย โดยพบว่าประสิทธิภาพการผลิตนํ้าตาลรี ดิวซ์จากการย่อยสลายเซลลูโลส
ในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด ด้วยเอนไซม์เซลลูเลส เกิดสูงสุดที่ค่าความเป็ นกรดด่ า งที่ เหมาะสม
แตกต่างก ัน คือ ค่าความเป็ นกรดด่างที่เหมาะสมสําหรับฟางข้าวคือที่ 5.5 ส่วนชานอ้อยและซังข้า วโพดมี
ค่ า ความเป็ นกรดด่ า งที่ เหมาะสมคื อ 5 ซึ่ งที่ สภาวะดังกล่า วจะสามารถผลิต นํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์จ ากฟางข้า ว
ชานอ้อย และซังช้าวโพดได้ปริ มาณ 9.78 7.55 และ 8.32 กรัมต่อลิตร ตามลําดับ

รายงานฉบับสุดท้าย 7-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.5.3.2 ผลของความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลสที่เหมาะสมต่อการผลิตนํา้ ตาลรีดวิ ซ์


ทํา การย่อยสลายเซลลูโ ลสในฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ที่ ผ่ า นการปรั บสภาพจาก
สภาวะที่เหมาะสมตามตารางที่ 7.5-2 ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่ แ ปรผันความเข้มข้นตั้งแต่ 5 10 15 30 60
และ 90 FPU/g ในสารละลายซิเตรตบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็ นกรดด่างเท่ากบั 5.5 สํา หรับฟางข้า ว และค่ า
ความเป็ นกรดด่ า งเท่ า กบั 5 สํา หรับชานอ้อยและซังข้า วโพด ทํา ปฏิ กริ ิ ยาในอ่า งควบคุ มอุณ หภูมิที่ 50
องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง เก็บตัวอย่างสารละลายแต่ละหลอดไปวิเคราะห์ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่
ผลิตได้ ซึ่งผลการทดลองที่ได้แสดงดังรู ปที่ 7.5-9

รูปที่ 7.5-9 ผลของความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลสต่ อการย่อยสลายเซลลูโลส


ในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด

รายงานฉบับสุดท้าย 7-36
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

จากรู ปที่ 7.5-9 พบว่ า ความเข้มข้น เอนไซม์มีผลต่ อการย่อยสลายเซลลูโ ลสในชี ว มวลเพื่ อ


เปลี่ ย นเป็ นนํ้ าตาลรี ดิ ว ซ์ โดยปริ ม าณความเข้ ม ข้น เอนไซม์ที่ ส ามารถย่อ ยสลายเซลลู โ ลสใน
ฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ที่ ผ่า นการปรับสภาพแล้ว ให้มีปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์สูงสุ ด อยู่ที่ 15
FPU/g สําหรับฟางข้าว และ 30 FPU/g สําหรับชานอ้อยและซังข้าวโพด โดยจะเห็ นว่า ที่ สภาวะดังกล่า ว
สามารถทําให้เซลลูโลสในฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้า วโพด เปลี่ยนเป็ นนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ได้ปริ มาณ 9.85
7.78 และ 8.52 กรัมต่อลิตร ตามลําดับ แต่เมื่อพิจารณาที่ความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 10 FPU/g ในการ
ย่อยสลายเซลลูโลสในชานอ้อยและซังข้าวโพด พบว่า ได้ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ใกล้เคี ยงกบั ที่ 30 FPU/g
คื อ 7.43 และ 8.21 กรัมต่ อลิต ร ตามลํา ดับ แต่ สามารถลดปริ มาณการใช้เอนไซม์ลงได้ถึง 3 เท่ า (ลด
ปริ มาณการใช้เอนไซม์จ าก 30 FPU/g เป็ น 10 FPU/g) ดังนั้นจึ ง พิจ ารณาเลือ กใช้ค วามเข้ม ข้นของ
เอนไซม์ 10 FPU/g ในการย่อยสลายเซลลูโลสในชานอ้อยและซังข้า วโพด และเลือกใช้ค วามเข้มข้น
เอนไซม์ 15 FPU/g ในการย่อยสลายเซลลูโลสในฟางข้าว สําหรับการศึกษาต่อไป

7.5.3.3 ผลของเวลาการทําปฏิกิริยาที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการผลิตนํา้ ตาลรีดวิ ซ์


ทํา การย่อ ยสลายเซลลู โลสในฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ที่ ผ่า นการปรับ สภาพจาก
สภาวะที่ เหมาะสมตามตารางที่ 7.5-2 ด้ว ยเอนไซม์เซลลูเลสความเข้มข้น 15 FPU/g ในสารละลายซิ
เตรตบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็ นกรดด่าง 5.5 สําหรับฟางข้าว และความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 10 FPU/g
ในสารละลายซิเตรตบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็ นกรดด่าง 5 สําหรับชานอ้อยและซังข้า วโพด โดยติ ด ตามผล
การย่อยสลายเซลลูโลสของฟางข้า ว ชานอ้อย และซังข้า วโพด ที่ เวลาต่ า งๆ ตั้งแต่ 1-48 ชัว่ โมง ได้ผล
การทดลองดังรู ปที่ 7.5-10

รายงานฉบับสุดท้าย 7-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.5-10 ผลของเวลาการทําปฏิกริ ิ ยาต่อการผลิตนํ้าตาลรี ดิวซ์


จากฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด

จากรู ปที่ 7.5-10 เมื่อทําการย่อยสลายเซลลูโลสในฟางข้า วด้ว ยความเข้มข้นเอนไซม์ 15 FPU/g


ที่ ค วามเป็ นกรดด่ า ง 5.5 พบว่า เวลาที่ ทํา ให้เกิด ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์สูงที่ สุด คื อ 16 ชั่ว โมง แต่ เมื่ อ
พิจ ารณาเปรี ยบเที ยบกบั ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลายเซลลูโลสจากฟางข้า วในเวลา 1
ชัว่ โมง พบว่า แตกต่างกนั เพียง 0.18 กรัมต่ อลิต รเท่ า นั้น (ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลาย
เซลลูโลสในฟางข้าวที่เวลา 1 ชัว่ โมง และ 16 ชั่ว โมง เท่ า กบั 9.78 และ 9.96 ตามลํา ดับ) ดังนั้นจึ งเลือก
เวลา 1 ชัว่ โมงมาใช้ในการย่อยสลายเซลลูโลสในฟางข้า ว และเมื่อทํา การย่อยสลายเซลลูโลสในชาน
อ้อยและซังข้าวโพดด้วยความเข้มข้นเอนไซม์ 10 FPU/g ที่ ค วามเป็ นกรดด่ า ง 5 พบว่า เวลาที่ เหมาะสม
ในการย่อยสลายเซลลูโลสในชานอ้อยและซังข้าวโพดคือ 4 ชัว่ โมง เนื่องจากที่ เวลา 4 ชัว่ โมงในการย่อย
สลายเซลลูโลสจากชานอ้อยจะทํา ให้เกิด ปริ มาณนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์เท่ า กบั 9.02 กรัมต่ อลิต ร ซึ่ งน้อยกว่า
ชัว่ โมงที่ทาํ ให้เกิดปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์สูงสุดเพียงแค่ 0.53 กรัมต่ อลิต ร แต่ สามารถลดเวลาในการย่อย

รายงานฉบับสุดท้าย 7-38
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สลายเซลลูโลสลงไปได้ถึง 8 ชั่ว โมง (เซลลูโลสในชานอ้อยถูกย่อยสลายเป็ นนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ได้สูงสุ ด ที่


เวลา 12 ชัว่ โมง ซึ่งผลิตนํ้าตาลรี ดิวซ์ได้เท่าก ับ 9.55 กรัมต่ อลิต ร) ดังนั้นจึ งเลือกเวลา 4 ชั่ว โมงมาใช้ใน
การย่อยสลายเซลลูโลสในชานอ้อย ส่ ว นการย่อยสลายเซลลูโลสในซังข้า วโพดที่ เวลา 4 ชั่ว โมง เป็ น
เวลาที่ทาํ ให้เกิดปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์สูงที่สุดคือ 8.74 กรัมต่อลิต ร ดังนั้นจึ งเลือกเวลา 4 ชัว่ โมงมาใช้ใน
การย่อยสลายเซลลูโลสในซังข้าวโพดเช่นเดียวก ับชานอ้อย
จากผลการทดลองตามข้อ 7.5.3 ทํา ให้สามารถเลือกสภาวะที่ เหมาะสมที่ สุด สํา หรับการย่อย
สลายเซลลูโลสในชีวมวลแต่ละชนิด เนื่องจากเป็ นสภาวะที่มีปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์ผลผลิต มาก ในขณะที่
มีการใช้เอนไซม์เซลลูเลสน้อยที่สุด ซึ่งจะส่ งผลลดราคาเอนไซม์ที่มีราคาแพงในส่ ว นการย่อยสลายให้
เป็ นนํ้าตาลรี ดิวซ์ เพื่อใช้ในการศึกษาสภาวะในการหมักเอทานอลด้ว ยเชื้ อ Zymomonas mobilis ต่ อไป
โดยสามารถแสดงเป็ นตารางสรุ ปสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละชีวมวลได้ดงั ตารางที่ 7.5-3

ตารางที่ 7.5-3 สภาวะการย่อยสลายเซลลูโลสที่เหมาะสมสําหรับชีวมวลแต่ละชนิด

ชีวมวล ปริมาณเอนไซม์ ค่ าความเป็ น เวลา (ชั่วโมง) ปริมาณนํา้ ตาลรีดวิ ซ์


(FPU/g) กรดด่าง (กรัมต่อลิตร)
ฟางข้าว 15 5.5 1 9.78
ชานอ้อย 10 5 4 9.02
ซังข้าวโพด 10 5 4 8.74

7.5.4 การศึกษาสภาวะในการหมักเอทานอลด้วยเชื้อ Zymomonas mobillis

7.5.4.1 การศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อ Zymomonas mobilis


การศึกษาการเจริ ญเติบโตของเชื้ อ Zymomonas mobilis เป็ นการศึกษาเวลาที่ เหมาะสมที่ สุด ใน
การเตรี ยมเชื้อหมักเริ่ มต้น เพื่อใช้ในการหมักนํ้าตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลายชี ว มวลที่ ผ่า นการปรับ
สภาพ ให้เป็ นเอทานอลซึ่ งจะเลือกใช้เชื้ อที่ เจริ ญเติ บโตอยู่ในช่ ว ง Log phase โดยเริ่ มจากการเขี่ ยเชื้ อ
Zymomonas mobilis ในอาหารเอียงลงในหลอดอาหารเหลวที่ ใช้กลูโคสเป็ นแหล่งคาร์ บอน บ่ มที่ 30
องศาเซลเซียส เขย่าด้วยอัตราเร็ว 150 รอบต่อนาที เป็ นเวลา 48 ชัว่ โมง วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ ค วามยาว
คลื่น 600 นาโนเมตร ให้ได้เท่าก ับ 0.4 จากนั้นถ่ายเชื้อ 5 มิลลิลิตร จากหลอดทดลองที่ ได้ในขวดรู ปชมพู่
ที่ มีอาหารเลี้ย งเชื้ อที่ ฆ่า เชื้ อ แล้ว ทํา การวัด ค่ า การดู ด กลื นแสงที่ ค วามยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ทุ ก 3
ชัว่ โมง เพื่อสร้างกราฟการเจริ ญของเชื้อ (Growth curve) ซึ่งได้ผลการทดลองดังรู ปที่ 7.5-11

รายงานฉบับสุดท้าย 7-39
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.5-11 การเจริ ญเติบโตของเชื้อ Zymomonas mobilis

จากรู ป ที่ 7.5-11 เมื่อทํา การศึ กษาการเจริ ญ เติ บโตของเชื้ อ Zymomonas mobilis พบว่า เชื้ อ
ดังกล่า วสามารถเจริ ญได้ในภาวะที่ มีอากาศเล็กน้อย โดยเจริ ญเติ บโตไม่มากนักในช่ ว งเริ่ มต้นถึง 10
ชั่ว โมง หลังจากนั้นเจริ ญอยู่ในช่ ว ง Log phase ซึ่ งเพิ่มจํา นวนอย่า งรวดเร็ ว ที่ เวลาประมาณ 12 – 24
ชัว่ โมง แล้วเจริ ญแบบคงที่เมื่อเวลาหลังจาก 30 ชัว่ โมง และมีการเจริ ญเติ บโตลดลงหลังจาก 60 ชั่ว โมง
ของการเจริ ญเติบโตเป็ นต้นไป ซึ่งจากผลการทดลองดังกล่า วสามารถเลือกเวลาในการเจริ ญเติ บโตของ
เชื้อนี้ได้ที่ระยะเวลา 18 ชั่ว โมง (ซึ่ งมีอตั ราการดู ด กลืนแสงที่ 600 นาโนเมตร เท่ า กบั 0.938) มาใช้ใน
การเตรี ย มเชื้ อ หมัก เริ่ มต้น เนื่ อ งจากเป็ นการเจริ ญ อยู่ใ นช่ ว งกึ่งกลางของ Log phase ซึ่ ง เชื้ อ กาํ ลัง
เจริ ญเติบโตสมบูรณ์ที่สุด

7.5.4.2 ผลของค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ ม ต้ น ที่ เ หมาะสมในการหมั ก ชี ว มวลด้ ว ยเชื้ อ


Zymomonas mobilis
ทําการศึกษาผลของค่าความเป็ นกรดด่างเริ่ มต้นที่เหมาะสมในการหมักชี ว มวลให้เป็ นเอทานอล
ด้ว ยเชื้ อ Zymomonas mobilis โดยนํา นํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ไ ด้จ ากการย่อยสลายฟางข้า ว ชานอ้อย และซัง
ข้าวโพดที่ปรับสภาพในสภาวะที่เหมาะสมจากตารางที่ 7.5-3 มาใช้ในการเตรี ยมอาหารหมักโดยใช้สูต ร

รายงานฉบับสุดท้าย 7-40
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เช่นเดียวก ันก ับอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่ไม่เติมนํ้าตาลกลูโคส (ใช้น้ าํ ตาลรี ดิ ว ซ์แ ทนนํ้า ตาลกลูโคส) แล้ว ปรับ
ค่าความเป็ นกรดด่างตั้งแต่ 5 5.5 6 และ 6.5 ด้วยสารละลายกรดไฮโดรคลอริ กและโซเดี ยมไฮดรอกไซด์
ทําการหมักในสภาวะปราศจากอากาศ ที่ อุณ หภูมิ 30 องศาเซลเซี ยส เขย่า ด้ว ยเครื่ องเขย่า อัต ราเร็ ว 150
รอบต่อนาที เป็ นเวลา 48 ชัว่ โมง ได้ผลการทดลองแสดงดังรู ปที่ 7.5-12 7.5-13 และ 7.5-14 ตามลําดับ

รูปที่ 7.5-12 ปริ มาณเอทานอลจากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์จากฟางข้าว

จาก รู ปที่ 7.5-12 เมื่อทําการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายฟางข้าวปรับสภาพ ด้ว ยเชื้ อ


Zymomonas mobilis โดยทํา การแปรผันค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ มต้นของสารละลายที่ ใช้ใ นการหมัก
พบว่า ฟางข้าวผลิตเอทานอลได้ลดลงเมื่อสารละลายมีค่ า ความเป็ นกรดด่ า งอยู่ในช่ ว ง 5–5.5 แต่ เมื่อค่ า
ความเป็ นกรดด่างเพิ่มเป็ น 6–6.5 จะทํา ให้ปริ มาณเอทานอลที่ ผลิต ได้เพิ่มสู งขึ้ น โดยปริ มาณเอทานอล
เพิ่ มขึ้ นสู ง สุ ด ที่ ค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเท่ า ก บั 6 ซึ่ งมีป ริ มาณเท่ า ก บั 1.84 กรัม ต่ อลิ ต ร โดยคิ ด เป็ น
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนนํ้าตาลเป็ นผลิตภัณฑ์ (%Conversion) เท่าก ับ 30.11 หรื อคิด เป็ น 16.75% ของเอทา
นอลที่ผลิตได้เมื่อเทียบก ับค่าทางทฤษฎี ดังตารางที่ 7.5-4

รายงานฉบับสุดท้าย 7-41
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.5-13 ปริ มาณเอทานอลจากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์จากชานอ้อย

จาก รู ปที่ 7.5-13 เมื่อทํา การหมักนํ้า ตาลรี ดิ ว ซ์ที่ได้จ ากการย่อยสลายชานอ้อยปรับสภาพด้ว ย


เชื้อ Zymomonas mobilis โดยทําการแปรผันค่าความเป็ นกรดด่างเริ่ มต้นของสารละลายที่ ใช้ในการหมัก
พบว่า ชานอ้อยผลิตเอทานอลได้ลดลงเมื่อเพิ่มค่าความเป็ นกรดด่างมากกว่า 5 โดยสภาวะที่ สามารถผลิต
เอทานอลได้สูงที่สุด คือ เมื่อสารละลายไม่ถูกปรับสภาพความเป็ นกรดด่ า ง หรื อที่ ค่ า ความเป็ นกรดด่ า ง
เท่ากบั 5.08 ซึ่ งมีปริ มาณเท่ า กบั 1.38 กรัมต่ อลิต ร คิ ด เป็ นเปอร์ เซ็นต์การเปลี่ยนนํ้า ตาลเป็ นผลิต ภัณ ฑ์
(%Conversion) เท่าก ับ 28.48 หรื อคิดเป็ น 24.63% ของเอทานอลที่ ผลิต ได้เมื่อเที ยบกบั ค่ า ทางทฤษฎีด ัง
ตารางที่ 7.5-4

รายงานฉบับสุดท้าย 7-42
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รูปที่ 7.5-14 ปริ มาณเอทานอลจากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์จากซังข้าวโพด

จาก รู ปที่ 7.5-14 ทําการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายซังข้า วโพดปรับสภาพด้ว ยเชื้ อ


Zymomonas mobilis โดยทํา การแปรผันค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเริ่ มต้นของสารละลายที่ ใช้ใ นการหมัก
พบว่า ซังข้าวโพดผลิตเอทานอลได้ลดลงเมื่อเพิ่มค่ า ความเป็ นกรดด่ า งมากกว่า 5 เช่ นเดี ยวกบั ชานอ้อย
โดยสภาวะที่สามารถผลิต เอทานอลได้สูงที่ สุด คื อ เมื่อสารละลายไม่ถูกปรับสภาพความเป็ นกรดด่ า ง
หรื อที่ค่าความเป็ นกรดด่างเท่าก ับ 5.45 ซึ่งมีปริ มาณเท่าก ับ 1.99 กรัมต่ อลิต ร คิ ด เป็ นเปอร์ เซ็นต์ข องการ
เปลี่ยนนํ้าตาลเป็ นผลิตภัณฑ์ (%Conversion) เท่าก ับ 28.48 หรื อคิด เป็ น 34.24% ของเอทานอลที่ ผลิต ได้
เมื่อเทียบก ับค่าทางทฤษฎี ดังตารางที่ 7.5-4

รายงานฉบับสุดท้าย 7-43
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 7.5-4 ปริ มาณเอทานอลที่ได้จากการหมักนํ้าตาลรี ดิวซ์ของชีวมวลแต่ละชนิด

ร้ อยละการ ร้ อยละของ
ค่ าความเป็ นกรดด่าง ปริมาณเอทานอล
ชีวมวล เปลี่ยนนํา้ ตาลเป็ น เอทานอลที่ผลิตได้
เริ่มต้ นในการหมัก (กรัมต่อลิตร)
ผลิตภัณฑ์ เทียบกับค่ าทางทฤษฎี
5 1.709 17.02 17.50
5.5 1.492 19.89 14.27
6 1.849 30.11 16.75
ฟางข้าว
6.5 1.833 32.65 15.77
ไม่ปรับค่าความเป็ นกรด
1.576 20.03 14.14
ด่าง (5.26)
5 1.308 35.72 22.68
5.5 1.146 30.29 19.23
6 0.828 35.47 13.93
ชานอ้ อย
6.5 0.858 41.20 14.10
ไม่ปรับค่าความเป็ นกรด
1.381 28.48 24.63
ด่าง (5.08)
5 1.786 31.70 35.81
5.5 1.625 37.75 29.70
6 1.299 37.76 21.87
ซังข้าวโพด
6.5 1.227 41.18 19.70
ไม่ปรับค่าความเป็ นกรด
1.945 36.64 34.24
ด่าง (5.45)

รายงานฉบับสุดท้าย 7-44
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.5.5 สรุปผลการวิจัย

จากผลการทดลองการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสในชีวมวล 3 ชนิด คือ ฟางข้า ว ชานอ้อย และ


ซังข้าวโพด ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถสรุ ปผลการวิจ ัยแยกเป็ นแต่ ละชนิ ด ชี ว มวล ซึ่ งเป็ นสภาวะที่
เหมาะสมในการผลิตเอทานอลแต่ละชนิด โดยสภาวะดังกล่าวเป็ นสภาวะที่ทาํ ให้ได้ปริ มาณผลผลิต เอทา
นอลสูงที่สุดเมื่อเทียบก ับสภาวะอื่นๆที่ทาํ การศึษา ได้ดงั นี้

7.5.5.1 สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากฟางข้าว
สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากฟางข้า ว คื อ สภาวะที่ ฟางข้า วผ่า นการปรับสภาพ
ด้วยวิธีทางเคมี โดยการแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชัว่ โมง แล้ว
นําไปย่อยเพื่อให้ได้น้ าํ ตาลรี ดิวซ์ ภายใต้สภาวะความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 15 FPU/g ในสารละลาย
ซิเตรตบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็ นกรดด่าง 5.5 เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง ทํา การหมักด้ว ยเชื้ อ Zymomonas mobilis
ที่ค่าความเป็ นกรดด่าง 5 จะทําให้ได้ร้อยละการผลิตเอทานอลเทียบก ับค่าทางทฤษฎีสูงที่ สุด คื อ 17.50%
หรื อเท่าก ับปริ มาณเอทานอลที่ผลิตได้ 1.71 กรัมต่อลิตร

7.5.5.2 สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากชานอ้ อย
สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากชานอ้อย คื อ สภาวะที่ ชานอ้อยผ่า นการปรับสภาพ
ด้วยวิธีทางเคมี โดยการแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% เป็ นเวลา 24 ชั่ว โมง แล้ว
นําไปย่อยเพื่อให้ได้น้ าํ ตาลรี ดิวซ์ภายใต้สภาวะความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 10 FPU/g ในสารละลายซิ
เตรตบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็ นกรดด่าง 5 เป็ นเวลา 4 ชั่ว โมง ทํา การหมักด้ว ยเชื้ อ Zymomonas mobilis ที่
ค่ า ความเป็ นกรดด่ า ง 5.08 จะทํา ให้ไ ด้ร้ อยละการผลิต เอทานอลเที ย บก บั ค่ า ทางทฤษฎี สูงที่ สุด คื อ
24.63% หรื อเท่าก ับปริ มาณเอทานอลที่ผลิตได้ 1.38 กรัมต่อลิตร

7.5.5.3 สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากซังข้าวโพด
สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากซังข้า วโพด คื อ สภาวะที่ ซังข้า วโพดผ่า นการปรับ
สภาพด้วยวิธีทางเคมีร่วมก ับการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 5 นาที แล้ว นํา ไป
ย่อยเพื่อให้ได้น้ าํ ตาลรี ดิวซ์ภายใต้สภาวะความเข้มข้นเอนไซม์เซลลูเลส 10 FPU/g ในสารละลายซิ เตรต
บัฟเฟอร์ ที่มีค่ า ความเป็ นกรดด่ า ง 5 เป็ นเวลา 4 ชั่ว โมง ทํา การหมักด้ว ยเชื้ อ Zymomonas mobilis ที่ ค่ า
ความเป็ นกรดด่าง 5 จะทําให้ได้ร้อยละการผลิตเอทานอลเทียบก ับค่าทางทฤษฎีสูงที่ สุด คื อ35.81% หรื อ
เท่าก ับปริ มาณเอทานอลที่ผลิตได้ 1.79 กรัมต่อลิตร

รายงานฉบับสุดท้าย 7-45
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

7.5.5.4 การเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น
งานวิจยั อื่นที่มีการศึกษาการผลิตเอทานอลจากฟางข้า วของ Linde และคณะ (2008) ศึกษาการ
ผลิต เอทานอลจากฟางข้า วสาลีที่ผ่า นการปรั บสภาพด้ว ยกรดซัล ฟุริก โดยนํา ฟางข้า วสาลี มาแช่ ด ้ว ย
กรดซัลฟุริกเจือจางที่มีความเข้มข้น 0.2% (20 กรัมสารละลายต่อกรัมนํ้าหนักแห้งฟางข้า วสาลี) เป็ นเวลา
1 ชัว่ โมง แล้วทําการปรับสภาพต่อด้วยความร้อน จากนั้นใช้ฟางข้า วสาลีที่ผ่า นการแช่ ด ้ว ยกรดซัลฟุริก
ปริ มาณ 60 กรัม ใช้ความร้อน 190 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 10 นาที แล้ว ใช้ฟางข้า วสาลีที่ทํา การปรับ
สภาพแล้วในการหมักด้ว ยกระบวนการย่อยเป็ นนํ้า ตาลและหมักพร้อมกนั โดยใช้เอนไซม์ทางการค้า
Celluclast 1.5 L (เซลลูเลส) ที่ มีแ อคติ วิตี 3-14 FPU/g ส่ ว นไม่ละลายนํ้า และ เอนไซม์ Novozyme 188
(เบตา-กลูโคซิเดส) ที่มแี อคติวิตี 3-17 FPU/g ส่วนไม่ละลายนํ้า ในการย่อยสลายร่ ว มกบั การหมักโดยใช้
S. cerevisiae พบว่า สภาวะที่ เหมาะสมคื อ ใช้เ อนไซม์แ อคติ วิตี 14 FPU/g เซลลูโลส เป็ นเวลา 70
ชัว่ โมง อุณหภูมิ ซึ่งได้ผลผลิตเป็ นเอทานอล 0.132 กรัมต่อกรัมฟางข้า วสาลี หรื อคิ ด เป็ น 67% ของเอทา
นอลที่ผลิต ได้เมื่อเที ยบกบั ค่ า ทางทฤษฎี ซึ่ งมากกว่า งานวิจ ัยนี้ ไม่มากนัก ซึ่ งงานวิจ ัยนี้ ได้เท่ า กบั 0.09
กรัมต่อกรัมฟางข้าว
ส่วนงานวิจ ัยอื่นที่ มีการศึกษาการผลิต เอทานอลจากชานอ้อยในงานวิจ ัยของ Salas และคณะ
(2009) ได้ศึกษาการผลิตเอทานอลของชานอ้อย โดยการปรับสภาพด้ว ยความร้อนที่ 121 องศาเซลเซี ยส
และความดัน 1.1 กิโลกรั มต่ อลูกบาศก์เซนติ เ มตร แล้ว นํา ชานอ้อยที่ ได้มาทํา การปรับสภาพต่ อด้ว ย
โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2% โดยนําชีวมวล 2 กรัมผสมก ับสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ปริ มาตร
5 มิลลิลิตร แล้วให้ความร้อนที่ 121 องศาเซลเซียสและความดัน 1.1 กิโลกรัมต่ อลูกบาศก์เซนติ เมตรเป็ น
เวลา 4 ชั่ว โมง หลัง จากปรับสภาพแล้ว ปรับค่ า ความเป็ นกรดด่ า งเท่ า กบั 5-7 จากนั้นผสมเอนไซม์
Celluclast ที่มีแอคติวิตี 107 CFU/ml ปริ มาณ 20% โดยนํ้าหนัก ให้ค วามร้อนที่ อุณ ภูมิ55 องศาเซลเซี ยส
เป็ นเวลา 4 ชัว่ โมง แล้ว หมักด้ว ย S. cerevisiae โดยหมักแบบกะ บ่ มที่ อุณ หภูมิ 30 องศาเซลเซี ยส เป็ น
เวลา 48 ชั่ว โมง พบว่ า มีป ริ มาณเอทานอลผลผลิต ที่ ได้เป็ น 0.12 กรัมต่ อ กรัม ชานอ้อย ซึ่ งน้อ ยกว่ า
งานวิจยั นี้
และเมื่อ เปรี ยบเที ยบก บั งานวิจ ัยอื่ น ที่ มี การศึ ก ษาการผลิ ต เอทานอลจากซัง ข้า วโพด ดัง ใน
งานวิจยั ของ Kahar Taku และ Tanaka (2010) ได้ทาํ การศึกษาการผลิตเอทานอลจากซังข้า วโพด โดยนํา
ซังข้าวโพดบดด้วยเครื่ อง ball-milled ให้มีข นาด 5 มิลลิเมตร ปรับสภาพด้ว ยสารละลายกรดซัลฟิ วริ ก
0.5% และให้ค วามร้ อนที่ 122 องศาเซลเซี ย ส เป็ นเวลา 20 นาที จากนั้น ทํา การย่อ ยด้ว ยเอนไซม์
Celluclast 1.5 L ที่มีแอคติวิตี 32 FPU 16 CFU และ Novozyme 188 80 CFUต่ อกรัมเอนไซม์ ที่ อุณ หภูมิ
50 องศาเซลเซียส เขย่าด้วยเครื่ องเขย่า 150 รอบต่อนาที เป็ นเวลา 30 นาที ทํา ให้ได้น้ าํ ตาลรี ดิ ว ซ์คิ ด เป็ น
80%โดยนํ้าหนัก เมื่ อ ใช้เ อนไซม์ใ นการย่อ ย 0.024 กรั ม ต่ อ กรั ม ซัง ข้า วโพด แล้ว นํา มาหมัก ด้ว ย
กระบวนการย่อยพร้อมหมักในสภาวะเหมาะสมที่พีเอช 5 อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซี ยส ซึ่ งมีซังข้า วโพดที่

รายงานฉบับสุดท้าย 7-46
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ไม่ได้ทาํ การปรับสภาพเป็ นตัวควบคุมใช้ในการเปรี ยบเที ยบ หมักด้ว ยเชื้ อ S. cerevisiae NBRC2114 48


ชัว่ โมง พบว่าได้ปริ มาณเอทานอลผลผลิตเท่าก ับ 0.12 กรัมเอทานอลต่ อกรัมซังข้า วโพด หรื อ 48.6 กรัม
ต่อลิตร คิดเป็ น 77 %โดยนํ้าหนัก จะเห็นได้ว่าปริ มาณเอทานอลในงานวิจยั นี้มากกว่างานวิจ ัยของ Kahar
และคณะ ซึ่งทําการย่อยด้ว ยเอนไซม์ 2 ชนิ ด แต่ ทํา การย่อยพร้อมการหมัก จึ งอาจทํา ให้เกิด เอทานอล
น้อย ซึ่งอาจเกิดจากเมื่อสิ้นสุดกระบวนการแล้ววัตถุดิบยังถูกย่อยสลายไม่ห มด ทํา ให้ได้ปริ มาณนํ้า ตาล
ที่เป็ นสารตั้งต้นในการหมักเป็ นเอทานอลน้อย ดังตารางที่ 7.5-5
ส่วนในงานวิจยั ที่เกีย่ วกบั การผลิต เอทานอลจากชี ว มวลอื่นๆ ยังคงมีการศึกษาอีกเป็ นจํา นวน
มาก ซึ่ งเป็ นการศึก ษาในระดับห้ องปฏิ บัติก าร โดยส่ ว นใหญ่จ ะศึก ษาวิธีก ารปรั บสภาพชี ว มวลให้
เหมาะสมในการย่อยสลาย เพื่อให้ได้น้ าํ ตาลปริ มาณมากมาใช้เป็ นสารตั้งต้นในกระบวนการหมัก ทั้งยัง
ลดการใช้สารเคมีที่ใช้ในการปรับสภาพและการย่อยสลายลง เพื่อให้ พฒั นาไปสู่ ระดับอุต สาหกรรม
ต่อไป ดังตารางที่ 7.5-6

รายงานฉบับสุดท้าย 7-47
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 7.5-5 เปรี ยบเทียบผลการผลิต เอทานอลที่ได้จากการย่อยสลายและหมักเซลลูโลสที่ใช้ในงานวิจยั นี้ ก ับงานวิจยั อื่นๆ


สภาวะในการทดลอง ความเข้มข้นของ ความเข้มข้นของ Ethanol yield
วัสดุชีวมวล จุลนิ ทรีย์ เวลา นํ้าตาลเริ่มต้น เอทานอล %Conversion (กรัมต่อกรัมชีว เอกสารอ้างอิง
พีเอช อุณหภูมิ (กรัมต่อลิตร) (กรัมต่อลิตร) มวล)
(ชั่วโมง)
Saccharomyces
ฟางข้าว 5.0 30 96 2.70 1.306 - - ระวีวรรณ แกล้วกล้า, 2538
cerevisiae
Saccharomyces
ซังข้าวโพด 5.0 38 168 - 11.60 62.00 0.18 Chang, V. และคณะ, 2001
cerevisiae
Saccharomyces
ฟางข้าวสาลี 5.0 35 72 - 11.70 67.00 0.13 Linde, M. และคณะ, 2008
cerevisiae
Saccharomyces
ชานอ้อย 5.0 30 48 50.08 12.90 25.76 0.12 Salas, J. และคณะ, 2009
cerevisiae
Saccharomyces
- 30 72 20.00 - 93.80 0.17
cerevisiae TMB3400

ชานอ้อย Saccharomyces Carrasco, C. และคณะ, 2010


- 30 72 20.00 - 100.00 0.36
cerevisiae TMB3006
Pichia stipitis
- 30 72 20.00 - 17.60 0.09
CBS6054

รายงานฉบับสุดท้าย 7-48
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

สภาวะในการทดลอง ความเข้มข้นของ ความเข้มข้นของ Ethanol yield


วัสดุชีวมวล จุลนิ ทรีย์ นํ้าตาลเริ่มต้น เอทานอล %Conversion (กรัมต่อกรัมชีว เอกสารอ้างอิง
พีเอช อุณหภูมิ เวลา (กรัมต่อลิตร) (กรัมต่อลิตร) มวล)
(ชั่วโมง)
S. cerevisiae และ P.
ฟางข้าว 6 30 79 - 19.1 74.00 - Jeung, P. และคณะ, 2010
stipitis
Saccharomyces
Kahar, P., Taku, T., และ
ซังข้าวโพด cerevisiae 5.0 30 48 - 48.60 - 0.12
Tanaka, S., 2010
NBRC2114
E. coli ATCC_ 55124
และ Li, X., Kim, T., และ Nghiem,
ซังข้าวโพด 5.0-7.0 37 120 - 22.30 83.40 0.28
S. cerevisiae ATCC_ N., 2010
200062 (D5A)
Zymomonas mobilis
ฟางข้าว 6.0 30 48 6.54 1.85 30.11 0.09 งานวิจยั นี้
strain TISTR 405

Zymomonas mobilis
ชานอ้อย 5.08 30 48 3.93 1.38 28.48 0.14 งานวิจยั นี้
strain TISTR 405

Zymomonas mobilis
ซังข้าวโพด 5.45 30 48 3.94 1.95 36.64 0.21 งานวิจยั นี้
strain TISTR 405

รายงานฉบับสุดท้าย 7-49
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ 7.5-6 เปรี ยบเทียบผลการผลิต เอทานอลที่ได้จากการย่อยสลายและหมักเซลลูโลสอื่นๆในงานวิจยั อื่น


สภาวะในการทดลอง ความเข้มข้นของ ความเข้มข้นของ
Ethanol yield
วัสดุชีวมวล จุลนิ ทรีย์ เวลา นํ้าตาลเริ่มต้น เอทานอล %Conversion เอกสารอ้างอิง
พีเอช อุณหภูมิ (กรัมต่อกรัม)
(ชั่วโมง) (กรัมต่อลิตร) (กรัมต่อลิตร)

หญ้าสวิตซ์ Saccharomyces cerevisiae 5.0 38 168 - 14.10 72.00 0.17 Chang, V. และคณะ, 2001

ไม้ปอพลาร์ Saccharomyces cerevisiae 5.0 38 168 - 15.40 73.00 0.19 Chang, V. และคณะ, 2001

Saccharomyces cerevisiae
ไม้ยคู าลิปตัส 5.0 35 96 - 28.47 79.01 0.40 วนิดา ปานอุทัย และคณะ, 2551
Sc90
ยอดและ Saccharomyces cerevisiae Dawson, L., และ Boopathy, R.,
13 30 240 - 0.34 - -
ใบอ้อย strain 765 2007
ผักตบชวา E. coli KO11 5.0 37 96 - 16.90 - 0.17 Mishima, D. และคณะ, 2008
ดอกจอก E. coli KO11 5.0 37 96 - 16.20 - 0.16 Mishima, D. และคณะ, 2009
กากว่านหางจระเข้ Saccharomyces cerevisiae 5.0 30 48 56.37 6.60 11.71 0.11 Salas, J. และคณะ, 2010
Zymomonas mobilis
เหง้ามันสําปะหลัง 5.0 30 60 25.00 10.60 69.84 0.68 พรรณวิไล กิง่ สุวรรณรัตน์, 2545
strain TISTR 405

รายงานฉบับสุดท้าย 7-50
7-51
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

อภิธานศัพท์

คําศัพท์ ตัวย่อ ความหมาย

Brix °Bx เป็ นหน่ ว ยวัด ค่ า ความหวานชนิ ด หนึ่ งใช้ใ น


อุ ต สาหกรรมผลิ ต นํ้าผลไม้แ ละไวน์ โ ดยใช้
เครื่ องมือวัดค่าความหวานที่ เรี ยกว่า รีเ ฟรกโต
มีเตอร์
Colony-forming unit CFU/ ml โคโลนี ข องเชื้ อจุ ลินทรี ยท์ ี่ ใช้ผลิต เอนไซม์ต่อ
1 มิลลิลิตร
Minimum loan rate MLR ดอกเบี้ยเงินกู ้ธรรมดาขั้นตํ่า
Minimum over draft rate MOR ดอกเบี้ยเงินกู ้เบิกเกินบัญชีข้ นั ตํ่า
Minimum retail rate MRR ดอกเบี้ยเงินกู ้ลูกค้ารายย่อยขั้นตํ่า

รายงานฉบับสุดท้าย
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

รายการอ้างอิง

ภาษาไทย

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2551. ศักยภาพชี ว มวลในประเทศไทย. สถานที่


ผลิต: กระทรวงพลังงาน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=437 [1 มิถุนายน 2553]
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ งแวดล้อม. กรมควบคุ มมลพิษ. 2548. แนวปฏิ บัติ ที่ดี ด ้า นการ
ป้ องก ันและลดมลพิษอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เล่มที่ 5/8.
กล้าณรงค์ ศรี รอต, สิริพล โกสินทรเสนี ย,์ เกือ้ กูล ปิ ยะจอมขวัญ, สุ ทธิ พนั ธุ์ แกว้ สมพงษ์, ปฐมา
จาตกานนท์ และ สิทธิโชค วัลลภาทิตย์. 2548. การพัฒนาการผลิต เอทานอลจากวัสดุ เหลือ
ทิ้งทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตและปลอดจากผลกระทบต่ อสิ่ งแวดล้อม. รายงาน
วิจยั เสนอสํานักงานคณะกรรมการวิจยั แห่ งชาติ.
กลุ่มมิต รผล. 2552. มิต รผลแหล่ งความรู ้ เรื่ องกระบวนการผลิต นํ้า ตาล [ออนไลน์]. แหล่งที่ มา:
http://www.mitrphol.com/th
เกษม สุขสถาน. 2538. อ้อย. สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนเล่ม 5: หน้า 65 - 127.
ฉัตรชัย ไกรสรพงษ์ และ ศุภกานต์ วงศ์พานิช. 2548. การผลิตเอทานอลจากของเสี ยการเกษตรและ
อุตสาหกรรมการเกษตร. กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุต สาหกรรมป้ องกนั ประเทศ
และพลังงานทหาร.
บัณฑิตวิทยาลัยร่ วมด้า นพลังงานและสิ่ งแวดล้อม. สร้า งพลังงานทดแทนจากฟางข้า ว. ข่ า วด่ ว น
ธุรกิจ ไอที-นวัตกรรม : เทคโนโลยี. 4 ธันวาคม 2552.
ปนิดา กิตติรัตน์หมาย. 2546. การปรับปรุ งประสิทธิภาพการหมักเอทานอลโดยใช้ยีสต์ต กตะกอน
และเทคนิครี พีทเฟดแบทช์. วิทยานิ พนธ์ปริ ญญามหาบัณ ฑิต . ภาควิชาจุ ลชี ว วิทยา คณะ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณวิไล กิง่ สุวรรณรัตน์. 2545. การผลิตเอทานอลจากเหง้า มันสํา ปะหลัง . วิทยานิ พนธ์ปริ ญญา
มหาบัณฑิต. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รายงานฉบับสุดท้าย
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

มณฑา แก ้วกิติพงษ์, ทศพร เหล็กชาย และ ภาดร กาญจนดุ ล. 2546. มันสํา ปะหลัง. ส่ ว นพัฒนา
พลัง งาน 2 สํา นัก พัฒ นาพลัง งาน กรมพัฒนาพลัง งานทดแทนและอนุ รั กษ์พ ลัง งาน
กระทรวงพลังงาน.
มณฑา แกว้ กิติพงษ์, ผจญ เข่ งเงิ น, เปลี่ยน วาทโยธา และ พงษ์ศกั ดิ์ พรหมกร. 2546. พืชข้า ว.
ส่ ว นพัฒนาพลัง งาน 2 สํา นัก พัฒนาพลังงาน กรมพัฒนาพลัง งานทดแทนและอนุ รัก ษ์
พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
วนิดา ปานอุทยั , นิคม แหลมสัก, สาโรจน์ ศิริศนั สนี ยกุล, วิรัต น์ วาณิ ชย์ศรี รัต นา และ ประมุข ภระ
กูลสุขสถิตย์. 2551. การผลิตเอทานอลจากไม้ยูค าลิปตัส โดยกระบวนการย่อยเป็ นนํ้า ตาล
และหมักพร้อ มกนั . การประชุ มทางวิ ชาการ ครั้ งที่ 48: การเสนอผลงานทางวิ ช าการ
ห ม ว ด วิ ท ยา ศ า ส ต ร์ เท ค โน โ ลยี แ ละ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม สา ข า อุ ต ส า ห ก รร ม เก ษ ต ร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลลิดา นิทศั นจารุ กุล. 2541. ผลของอุณหภูมิและค่าความเป็ นกรดเป็ นด่ า งต่ อ Cellulase Activity ใน
ดิ นนาข้า ว. โครงการการเรี ย นการสอนเพื่อเสริ มประสบการณ์ . ภาควิชาวิ ทยาศาสตร์
ทัว่ ไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ งประเทศไทย, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ แ ห่ งชาติ ,
กระทรวงวิทยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี, กระทรวงพลังงาน, 2551. การศึกษาเปรี ยบเที ยบ
เทคโนโลยีการผลิต เอทานอลของสหรัฐ อเมริ กาและไทย. สมุทรปราการ: พิมพ์พินิจ การ
พิมพ์.
สรวง อุด มวรภัณ ฑ์, คํา พูน คุ ณ านุ กร และ ธัชพล กิต ติ จิ ต ต์. 2525. ความสัมพันธ์ ระหว่ า งการ
เจริ ญเติบโตของ Zymomonas mobillis ก ับความสามารถในการผลิต แอลกอฮอร์ . โครงการ
เรี ยนการสอนเพื่อเสริ มประสบการณ์ . ภาควิชาจุ ลชี ว วิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุ ฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุ รีพร เกตุ งาม. 2543. เอกสารประกอบการสอนวิชาธัญพืช. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ส่วนบริ หารจัดการข้อมูลและปรึ กษาแนะนํา สํา นักบริ ห ารยุทธศาสตร์ กรมส่ งเสริ มอุต สาหกรรม.
2552. การศึกษาความเป็ นไปได้ของการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง
หรรษา ปุณณะพยัคฆ์ และ เนริ สา คุณประทุม. 2544. การผลิต เอ็นไซม์จ ากวัสดุ ทางการเกษตรเพื่อ
เป็ นแนวทางการใช้ในอาหารสัต ว์. การประชุ มวิชาการการขยายปรับปรุ งพันธุ์แ ละความ
สมบูรณ์พนั ธุ์ในสัตว์ ประจําปี 2544 (การใช้ว สั ดุ ห ลือใช้ทางการเกษตรอย่า งยัง่ ยืนในการ
ผลิตสัตว์): 2-7.

รายงานฉบับสุดท้าย
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ธันวดี เตชะภัททวรกุล สุ ข สาโรจน์. การผลิต ไบโอเอทานอลจากนํ้า เสี ยโรงงานอุต สาหกรรม.


รายงานการประชุ มวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริ นทร์ ครั้งที่ 7.
21-22 พฤษภาคม 2552. มหาวิทยาลัยสงขลานคริ นทร์ จังหวัดสงขลา.

ภาษาอังกฤษ

A. Aden et al. 2002. Lignocellulosic Biomass to Ethanol Process Design and Economics Utilizing
Co-Current Dilute Acid Prehydrolysis and Enzymatic Hydrolysis for Corn Stover,
National Renewable Energy Laboratory.
Bertolini, M. C., Erlandes, J. R., Laluse, C. 1991. New yeast strains for alcoholic
fermentation of high sugar concentration. Biotechnol Bioeng 13: 197–202.
Carrasco, C., Baudel, H.M., Sendelius, J., Modig, T., Roslander, C., Galbe, M., Hahn, B.,
Zacchi, G., and Lidn, G. 2010. SO2-catalyzed steam pretreatment and fermentation of
enzymatically hydrolyzed sugarcane bagasse. Enzyme and Microbial Technology 46:
64–73
Caylak, B., and Sukan, F.V. 1998. Comparison of Different Production Processes for
Bioethanol. Chemistry 22: 351-359.
Chang, V. S., Kaar, W. E., Burr, B., and Holtzapple, M. T. 2001. Simultaneous
saccharification and fermentation of lime-treated biomass. Biotechnology Letters 23:
1327-1333.
Converti, A., Ami, S., Sato, S., de Carvalho, J.C.M., and Aquarone, E. 2003. Simplified
modeling of fed-batch alcohol fermentation of sugarcane blackstrap molasses.
Biotechnol Bioeng. 84(1): 88-95.
Dawson, L., and Boopathy, R. 2007. Use of post-harvest sugarcane residue for ethanol
production. Bioresource Technology 98: 1695–1699.
Di Serio, M., Tesser, R., and Santacesaria, E. 2001. A kinetic and mass transfer model to
simulate the growth of baker’s yeast in industrial bioreactor. Chem Eng J. 82: 347-354.
Doran, P.M. 1995. Bioprocess Engineering Principles. London: Academic Press.
Jeung, P., Riki, S., Muhammad, I.A., Ying, Z., Masakazu, I., Yumiko, A., Atsuhi, I.,
Motohiko, K., and Ken, T. 2010. A novel lime pretreatment for subsequent bioethanol

รายงานฉบับสุดท้าย
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

production from rice straw–Calcium capturing by carbonation (CaCCO) process.


Bioresource Technology 101: 6805–6811.
Kahar, P., Taku, K., and Tanaka, S. 2010. Enzymatic digestion of corncobs pretreated with
low strength of sulfuric acid for bioethanol production. Journal of Bioscience and
Bioengineering. doi:10.1016/j.jbiosc.2010.05.002.
Li, X., Kim, T., and Nghiem, N. 2010. Bioethanol production from corn stover using aqueous
ammonia pretreatment and two-phase simultaneous saccharification and fermentation
(TPSSF). Bioresource Technology 101: 5910–5916.
Linde, M., Jakobsson, E. L., Galbe, M., and Zacchi, G. 2008. Steam pretreatment of dilute
H2SO4–impregnated wheat straw and SSF with low yeast and enzyme loadings for
bioethanol production. Biomasss and bioenergy 32: 326-332.
Mishima, D., Kuniki, M., Sei, K., Soda, S., Ike, M., and Fujita, M. 2008. Ethanol
production from candidate energy crops: water hyacinth (Eichhornia crassipes) and water
lettuce (Pistia stratiotes L.). Bioresource Technology 99: 2495–2500.
Neelam, A., and Amarjit, S. 1991. Ethanol production by thermotolerant yeast and its UV
resistant mutants. Acta Microbiol Pol. 40: 171-175.
Parisi, F. 1989. Advances in lignocellulosics hydrolysis and in the utilization of the
hydrolyzates. Advances in Biochemical Engineering/Biotechnology 38: 53-87.
Pattra, S., Sangyoka, S., Boonmee, M., and Reungsang, A. 2008. Bio-hydrogen production
from the fermentation of sugarcane bagasse hydrolysate by Clostridium butyricum.
International journal of hydrogen energy 33: 5256 – 5265.
Salas, J.M., Ramirez, M.S., Rendon, J.S., Hernandez, K.N., Cesar, R.A., Espinosa, M.A.,
and Estrada, S.R. 2009. Comparative hydrolysis and fermentation of sugarcane and
agave bagasse. Bioresource Technology 100: 1238–1245.
Sanchez, O. J., and Cardona, C. A. 2008. Trends in biotechnological production of fuel
ethanol from different feedstock. Bioresource Technology 99: 5270-5295.
Silverstein, R. A. 2004. A comparison of chemical pretreatment methods for converting cotton
stalks to ethanol. Master’s Thesis. Biological and Agricultural Engineering, North
Carolina State University.

รายงานฉบับสุดท้าย
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

TAPPI, 2001. Method for determination of alpha-, beta- and gamma-cellulose in pulp.
Technical Association of Pulp and Paper Industry.
Wheals, A.E., Basso, L.C., Alvesand, D.M.G., and Amorim, H.V. 1999. Fuel ethanol after
25 years. Trends Biotechnol 17: 482-487.

รายงานฉบับสุดท้าย
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ภาคผนวก ก
รายละเอียดการศึกษาวิจัยการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส

1. การศึกษาลักษณะองค์ ประกอบของชีวมวล

1.1 การวิเคราะห์ ปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน โดยวิธี TAPPI 203 om-88

1. ชัง่ ชีวมวลหนัก 1.5 กรัมนํ้าหนักแห้ง ใส่ ลงบี กเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร บันทึกนํ้าหนักชีวมวลไว้ เติ ม
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 17.5 เปอร์เซ็นต์ ปริ มาตร100 มิลลิลิตร ปิ ดด้วยกระจกนาฬิกา จับเวลาทันที
ที่เติมสารละลาย นําไปกวนบนเครื่ องกวนสาร 30 นาที เติ มนํ้ากลัน่ 100 มิลลิลิตร หลังครบเวลากวนให้เข้ากนั ตั้งทิ้ง
ไว้ที่อุณหภูมิห้อง 30 นาที
2. กรองสารละลายเพื่อแยกตะกอนออกโดยทิ้งสารละลายใส 10 มิลลิลิตรแรกของการกรอง เก็บสารละลาย
ใสเพื่อนําไปวิเคราะห์ 100 มิลลิลิตร
3. วิเคราะห์ปริ มาณแอลฟา-เซลลูโลส (เซลลูโลส)
3.1 ปิ เปตสารละลายจากข้อ 2 ปริ มาตร 10 มิลลิลิต ร ใส่ ข วดรู ปชมพู่ข นาด 250 มิลลิลิต ร เติ มสารละลาย
โพแทสเซียมไดโครเมตเข้มข้น 0.5 นอร์มลั 10 มิลลิลิตร และนํ้ากลัน่ 50 มิลลิลิตร ผสมให้เข้าก ัน
3.2 ค่ อยๆเทกรดซัลฟิ วริ กเข้มข้น 30 มิลลิลิต รลงไป โดยเอียงขวดทํา มุม 45 องศากบั พื้นเพื่อป้ องกนั การ
เดือดอย่างรุ นแรงของสารละลาย ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
3.3 หยดอินดิเคเตอร์ 2–4 หยด นําไปไตเตรตก ับสารละลายเฟอร์ รัสแอมโมเนี ยซัลเฟตที่ ทราบความเข้มข้น
แน่นอน จนสารละลายเปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็ นสีน้ าํ ตาลอมม่วง บันทึกปริ มาตรสารละลายเฟอร์ รัสแอมโมเนี ย
ซัลเฟต
3.4 เตรี ยมสารละลายแบลงค์ (Blank) โดยปิ เปตโซเดี ยมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 17.5 เปอร์ เซ็นต์ 5 มิลลิลิต ร
ใส่ขวดรู ปชมพู่ขนาด 250 มิลลิลิตรที่มีน้ าํ กลัน่ บรรจุอยู่ 5 มิลลิลิตร แล้วทําวิธีเดียวก ับสารละลายในข้อ 3.1 – 3.3
3.5 การคํานวณ

แอลฟา-เซลลูโลส (เปอร์เซ็นต์) = 100 – [(6.85 (V2-V1) x N x 20) / AW]

เมื่อ V1 = ปริ มาตรเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟตที่ใช้ในการไตเตรตก ับสารตัวอย่าง, มิลลิลิตร


V2 = ปริ มาตรเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟตที่ใช้ในการไตเตรตก ับแบลงค์, มิลลิลิตร
N = ความเข้มข้นที่แน่นอนของสารละลายเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟต, นอร์มลั
A = ปริ มาตรสารละลายตัวอย่างที่ใช้, มิลลิลิตร
W = นํ้าหนักชีวมวล, กรัม

ก-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6.85 = มิลลิกรัมสมมูลของสารละลายเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟตที่ทาํ ปฏิกริ ิ ยาพอดีก ับเซลลูโลส

4. การวิเคราะห์ปริ มาณแกมม่า-เซลลูโลส
4.1 ปิ เปตสารละลายจากข้อ 2 ปริ มาตร 50 มิลลิลิต รลงในกระบอกตวงที่ มีจุ กปิ ด เติ มกรดซัลฟุริกความ
เ ข้ ม ข้ น 3 น อ ร์ มั ล ป ริ ม า ต ร 50 มิ ล ลิ ลิ ต ร ผ ส ม ใ ห้ เ ป็ น เ นื้ อ เ ดี ย ว ก ั น ใ ห้ ค ว า ม ร้ อ น
70-90 องศาเซลเซียสเป็ นเวลา 2-3 นาที เพื่อให้ตกตะกอนอย่างสมบู รณ์ แ ล้ว กรองสารละลายโดยเก็บส่ ว นวิเคราะห์
วิธีเดียวก ับข้อ 3.1-3.3
4.2 การคํานวณ

แกมม่า-เซลลูโลส = [(6.85 (V4-V3) x N x 20) / AW]

เมื่อ V3 = ปริ มาตรเฟอร์ รัสแอมโมเนียซัลเฟตที่ ใช้ในการไตเตรตก ับสารตัวอย่าง, มิลลิลิตร


V4 = ปริ มาตรเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟตที่ใช้ในการไตเตรตก ับแบลงค์, มิลลิลิตร

5. การวิเคราะห์ปริ มาณเบต้า-เซลลูโลส (เฮมิเซลลูโลส)

เบต้า-เซลลูโลส = 100 – (แอลฟา-เซลลูโลส + แกมม่า-เซลลูโลส)

1.2 การวิเคราะห์ ปริมาณลิกนิน

ปริ มาณลิกนิน = 100 – เปอร์เซ็นต์เซลลูโลส – เปอร์เซ็นต์เฮมิเซลลูโลส

ก-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ ก-1 ผลการปรับสภาพด้วยสารละลายกรดซัลฟุริกและโซเดียมไฮดรอกไซด์

ชีวมวล การ ปริมาณองค์ ประกอบ (%) การเปลี่ยนแปลงองค์ ประกอบ


ปรับสภาพ (%)
เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน
เซลลูโลส เซลลูโลส
ฟางข้าว ชุดควบคุม 70.55 26.73 2.72 - - -
กรด 24 hr 70.97 26.37 2.66 0.42 -0.36 -0.06
ด่าง 24 hr 88.96 10.04 1.01 18.41 -16.69 -1.71
ชานอ้อย ชุดควบคุม 63.00 20.21 16.79 - - -
กรด 24 hr 71.98 13.73 14.29 8.98 -6.48 -2.50
ด่าง 24 hr 86.90 6.22 6.88 23.90 -13.99 -9.91
ซัง ชุดควบคุม 66.52 19.21 14.27 - - -
ข้าวโพด กรด 24 hr 71.03 14.50 14.47 4.51 -4.71 -0.20
ด่าง 24 hr 88.40 5.55 6.05 21.88 -13.66 -8.22

ก-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ ก-2 ผลการปรับสภาพชีวมวลด้วยสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์แ ละกรดซัลฟุริกร่ ว มกบั การให้ค วาม


ร้อน

ชีวมวล อุณหภูมิ (oC) ปริมาณองค์ ประกอบ (%) การเปลี่ยนแปลงองค์ ประกอบ


(%)
เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน
เซลลูโลส เซลลูโลส
ฟางข้าว ชุดควบคุม 70.55 26.73 2.72 - - -
120oC 20 นาที 87.42 11.34 1.24 16.87 -15.39 -1.48
150 oC 20 นาที 88.47 10.44 1.09 17.92 -16.29 -1.63
170 oC 20 นาที 87.39 11.42 1.19 16.84 -15.31 -1.53
ชานอ้อย ชุดควบคุม 63.00 20.21 16.79 - - -
120oC 20 นาที 83.95 8.35 7.70 20.95 -11.86 -9.09
150 oC 20 นาที 81.20 9.83 8.97 18.20 -10.38 -7.82
170 oC 20 นาที 80.31 9.85 9.85 17.31 -10.36 -6.94
ซัง ชุดควบคุม 66.52 19.21 14.27 - - -
ข้าวโพด 120oC 20 นาที 87.45 6.73 5.82 20.93 -12.48 -8.45
150 oC 20 นาที 86.37 6.90 6.73 19.85 -12.31 -7.54
170 oC 20 นาที 87.91 6.23 5.86 21.39 -12.98 -8.41

ก-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ ก-3 ผลการปรับสภาพชี ว มวลด้ว ยสารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์แ ละกรดซัลฟุริกร่ ว มกบั การให้ค วาม
ร้อนในซังข้าวโพดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เวลา 5-20 นาที

ชีวมวล อุณหภูมิ (oC) ปริมาณองค์ ประกอบ (%) การเปลี่ยนแปลงองค์ ประกอบ


(%)
เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน เซลลูโลส เฮมิ ลิกนิน
เซลลูโลส เซลลูโลส
ซัง ชุดควบคุม 66.52 19.21 14.27 - - -
ข้าวโพด 170oC 5 นาที 92.25 4.15 3.60 25.73 -15.06 -10.67
170 oC 10 นาที 92.36 4.14 3.50 25.84 -15.07 -10.77
170 oC 15 นาที 88.77 6.23 5.00 22.25 -12.98 -9.27
170 oC 20 นาที 87.91 6.23 5.86 21.39 -12.98 -8.41

2. การหาความสามารถในการทํางานของเอนไซม์ (FPU assay)

การหาความสามารถในการทํา งานของเอนไซม์ในการย่อ ยกระดาษกรอง โดยใช้วิธีข อง Mandel และ


Stembery มีวิธีการดังนี้
1. ใส่กระดาษกรอง เบอร์ 1 ขนาด 1x6 เซนติเมตร จํานวน 50 มิลลิกรัม ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง
2. เติมสารละลายซิเตรตบัฟเฟอร์เข้มข้น 0.05 โมลาร์ ที่มีความเป็ นกรดด่ า ง 4.8 ปริ มาตร 1 มิลลิลิต ร และ
เติมสารละลายเอนไซม์ 0.5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้าก ัน
3. นําไปอุ่นในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่ 50 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 1 ชัว่ โมง
4. เมื่อครบเวลาหยุดปฏิกริ ิ ยาโดยการต้มในนํ้าเดือดเป็ นเวลา 5 นาที แยกตะกอนออกโดยเครื่ องปั่ นเหวี่ยง
นําส่วนใสไปวิเคราะห์ปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์
5. การคํานวณหาค่าแอกทิวิตีของเซลลูเลส

กาํ หนดให้ 1 ยูนิต ของเอนไซม์ คื อ ปริ มาณเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารตั้งต้นให้เป็ นกลูโคส 1 ไมโครโมล


ภายใน 1 นาที ภายใต้สภาวะที่ใช้ทดสอบ นัน่ คือ

1 ยูนิตของเอนไซม์ = 1 ไมโครโมลของกลูโคสที่ถูกปล่อยออกมาใน 1 นาที


= 0.180 มิลลิกรัมของกลูโคสที่ถูกปล่อยออกมาใน 1 นาที

ก-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

กลูโคส 0.180 มิลลิกรัม มีค่าเท่าก ับ 1 ไมโครโมล


ถ้าเอนไซม์ยอ่ ยสลายได้กลูโคส X มิลลิกรัม จะมีค่าเท่าก ับ X หรื อ 5.556X ไมโครโมล
0.180
ในระยะเวลา 60 นาที กลูโคสถูกปล่อยออกมาเท่าก ับ 5.556X ไมโครโมล
ระยะเวลา 1นาที จะมีกลูโคสถูกปล่อยออกมาเท่าก ับ 5.556X
60
หรื อ 0.0926X ไมโครโมล/นาที
เมื่อใช้เอนไซม์ 0.5 มิลลิลิตร จะมีกลูโคสเท่าก ับ 0.0926X ไมโครโมล/นาที
ถ้าใช้เอนไซม์ 1.0 มิลลิลิตร จะมีกลูโคสเท่าก ับ 0.0926X
0.5
หรื อ 0.185X ไมโครโมล/นาที/มิลลิลิตร
ซึ่งเท่าก ับ 0.185X ยูนิต/มิลลิลิตร (Filter paper units: FPU/มิลลิลิตร)

3. การวิเคราะห์ นาํ้ ตาลรีดวิ ซ์ (DNS method)

1. ปิ เ ป ต สา ร ล ะล า ย ตั ว อ ย่ า ง ที่ จ ะวิ เ ค รา ะ ห์ 1 มิ ลลิ ลิ ต ร ล ง ใน ห ล อด ท ด ลอ ง โ ด ย มี


ตัวทําละลายเป็ นสารละลายแบลงค์
2. เติมสารละลายไดไนโตรซาลิไซลิก 1 มิลลิลิตร ผสมให้เข้าก ัน
3. นําไปต้มในอ่างควบคุมอุณหภูมิที่ 100 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 5 นาที แล้ว ทํา ให้เย็นโดยแช่ ในนํ้า แข็ง
เพื่อหยุดปฏิกริ ิ ยา
4. เติมนํ้ากลัน่ 10 มิลลิลิตรลงในหลอดทดลอง เขย่าให้เข้าก ันแล้วนําไปวัด ค่ า การดู ด กลืนแสงที่ ค วามยาว
คลื่น 550 นาโนเมตร
5. นําค่าการดูดกลืนแสงที่วดั ได้มาคํานวณหาปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์จากกราฟมาตรฐาน

การสร้างกราฟมาตรฐาน
1) อบกลูโคสที่อุณหภูมิ 105-110 องศาเซลเซี ยส เป็ นเวลา 2 ชั่ว โมง เพื่อใช้เตรี ยมสารละลายมาตรฐาน
กลูโคสที่ มีค วามเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่ อมิลลิลิต ร เตรี ยมหลอดทดลองให้มีสารละลายมาตรฐานกลูโคสที่ มีค วาม
เข้มข้นต่างๆ โดยใช้สูตรการคํานวณคือ N1V1 = N2V2
N1 คือ ความเข้มข้นของสารละลายนํ้าตาลกลูโคสเริ่ มต้น 3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
V1 คือ ปริ มาตรของสารละลายนํ้าตาลกลูโคสเริ่ มต้นที่ตอ้ งใช้ตามตารางช่องที่ 2
N2 คือ ความเข้มข้นของสารละลายนํ้าตาลกลูโคสที่ตอ้ งการตามตารางช่องที่ 4

ก-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

V2 คือ ปริ มาตรของสารละลายนํ้าตาลกลูโคสสุดท้าย 1 มิลลิลิตร


ดังตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ ก-4 การเตรี ยมสารละลายนํ้าตาลกลูโคสมาตรฐาน


หลอดที่ สารละลายกลูโคส นํา้ กลั่น ความเข้มข้นกลูโคส
เข้มข้ น 3 มก./มล. (มล.) (มก./มล.)
(มล.)
1 0.0 1.0 0.0
2 0.1 0.9 0.3
3 0.2 0.8 0.6
4 0.3 0.7 0.9
5 0.4 0.6 1.2
6 0.5 0.5 1.5
7 0.6 0.4 1.8
8 0.7 0.3 2.1
9 0.8 0.2 2.4
10 0.9 0.1 2.7
11 1.0 0.0 3.0

2) ทําตามข้อ 2-4 ของการวิเคราะห์สารตัวอย่าง


3) นําค่าที่ได้มาเขียนกราฟมาตรฐาน และหาค่าความชัน

ก-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

กราฟมาตรฐานสําหรั บการหานํ้าตาลรีดวิ ซ์

กราฟมาตรฐานนํ�าตาลรีดิวซ์
1.600
ค่าการดูดกลืนแสงที่ 550 นาโนเมตร

1.400

1.200

1.000
y = 0.4465x + 0.0139
0.800 R2 = 0.9989

0.600

0.400

0.200

0.000
0.0 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 3.0 3.5
ความเข้มข้นของนํ้าตาลรีดิวซ์(มก./มล.)

ตารางที่ ก-5 ผลของความเป็ นกรดด่างต่อปริ มาณนํ้าตาลรี ดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายเซลลูโลสในฟางข้าว ชานอ้อย


และซังข้าวโพด

ชีวมวล ค่ าความเป็ นกรดด่าง ความเข้มข้นนํา้ ตาลรีดวิ ซ์ (กรัม/ลิตร)


ฟางข้าว 4.5 9.09
5 9.49
5.5 9.78
6.5 8.59
ชานอ้อย 4.5 6.88
5 7.55
5.5 6.91
6.5 6.83
ซังข้าวโพด 4.5 7.58
5 8.32
5.5 7.91
6.5 7.67

ก-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตา ร า ง ที่ ก -6 ผ ล ข อ งค ว า ม เ ข้ ม ข้ น เอ น ไ ซ ม์ เ ซ ล ลู เ ล ส ต่ อ ก า ร ย่ อ ย ส ล า ย เ ซ ล ลู โล ส ใ น ฟ า ง ข้ า ว
ชานอ้อย และซังข้าวโพด

ชีวมวล ความเข้มข้นเอนไซม์ (FPU/g) ความเข้มข้นนํา้ ตาลรีดวิ ซ์ (กรัม/ลิตร)


ฟางข้าว 5 4.76
10 9.48
15 9.85
30 9.78
60 8.63
90 7.03
ชานอ้อย 5 7.08
10 7.43
15 7.55
30 7.78
60 6.74
90 6.09
ซังข้าวโพด 5 7.75
10 8.21
15 8.31
30 8.52
60 8.39
90 7.83

ก-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ ก-7 ผลของเวลาการทําปฏิกริ ิ ยาต่อการผลิตนํ้าตาลรี ดิวซ์ จากฟางข้าว ชานอ้อย และซังข้าวโพด

ชีวมวล เวลา(ชั่วโมง) ความเข้มข้นนํา้ ตาลรีดวิ ซ์ (กรัม/ลิตร)


ฟางข้าว 1 9.78
4 9.68
8 9.60
12 9.83
16 9.96
20 9.64
24 9.66
32 9.93
48 9.58
ชานอ้อย 1 7.43
4 9.02
8 9.27
12 9.55
16 9.36
20 9.18
24 9.46
32 9.42
48 8.25
ซังข้าวโพด 1 8.21
4 8.74
8 8.50
12 8.41
16 8.41
20 8.31
24 8.55
32 8.38
48 7.54

ก-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

4. การหาปริมาณเอทานอลโดยวิธี Gas Chromatography (GC)

นํานํ้าหมักหลังจากปั่ นแยกเซลล์แล้ว 420 ไมโครลิตร มาเจือจางด้วยนํ้ากลัน่ ปริ มาตร 280 ไมโครลิตร ใส่
ในหลอด vial ปิ ดปากหลอดให้แน่ น ผสมให้เข้าก ันด้วย vortex แล้ววิเคราะห์หาปริ มาณเอทานอลโดยวิธีกา๊ ซโครมา
โตรกราฟี ภายใต้ภาวะดังนี้

ชนิดของ column : แพคคอลัมน์ (packed column) ชนิด 10% OV-


101 Chromosorb W AW-DMCS 60/60 mesh ขนาด
2 m. x 1/8”
อุณหภูมิของ column : 45 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิของ injector : 120 องศาเซลเซี ยส
ชนิดของ detector : FID
ก๊าซตัวพา (carrier gas) : H2 (อัตราการไหล 40 ml/min)
ปริ มาตรฉี ด : 1 ไมโครลิตร

นําค่าที่ได้เปรี ยบเทียบก ับกราฟมาตรฐานความเข้มข้นของเอทานอล หน่วยเป็ นกรัมต่ อลิตร คํานวณหา


ปริ มาณเอทานอล หน่วยเป็ นกรัมต่ อลิตร

กราฟมาตรฐานเอทานอล

ก-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

การคํานวณหาเปอร์เซ็นต์ของเอทานอลที่ผลิตได้จริ งเมื่อเทียบก ับค่าเอทานอลที่ผลิตได้ทางทฤษฎี


นํา ปริ มาณเซลลูโลสของชี ว มวลแต่ ล ะชนิ ด ที่ วิ เคราะห์ ไ ด้มาคํา นวณหาปริ มาณเอทานอลที่ ผ ลิต ได้ทาง
ทฤษฎี เมื่อคิดในกรณี ที่สามารถเปลี่ยนเซลลูโลสไปเป็ นนํ้าตาลกลูโคสได้อย่า งสมบู รณ์ และนํ้า ตาลที่ ได้เปลี่ยนเป็ น
เอทานอลได้ท้ งั หมด ดังนี้
ปริ มาณนํ้าตาลกลูโคส (เปอร์เซ็นต์) = ปริ มาณเซลลูโลส (เปอร์เซ็นต์) x 1.111

จากสมการการใช้น้ าํ ตาลของ Zymomonas mobilis ในทางทฤษฎีสามารถเปลี่ยนนํ้า ตาลกลูโคสไปเป็ นเอทา


นอลได้ 49.8 เปอร์เซ็นต์ และคาร์บอนไดออกไซด์ 50.2 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้

CH O 1.8 C H OH + 1.9 CO
6 12 6 2 5 2

180 กรัม 1.8 x 46 กรัม 1.9 x 44 กรัม


49.8 เปอร์เซ็นต์ 50.2 เปอร์เซ็นต์

ปริ มาณเอทานอล (กรัมต่อกรัมเซลลูโลส) = ปริ มาณนํ้าตาลกลูโคส (เปอร์ เซ็นต์) x 0.498


100

ปริ มาณเอทานอล (มิลลิลิตรต่อกรัมเซลลูโลส) = ปริ มาณเอทานอล (กรัมต่อกรัมเซลลูโลส)


0.789
โดย 0.789 = ความหนาแน่นของเอทานอล (กรัมต่ อมิลลิลิตร)

ปริ มาณเอทานอล (มิลลิลิตรต่อกรัมชีวมวล) = เอทานอล (มล. /กรัม เซลลูโลส) x กรัมเซลลูโลส


กรัมชีวมวล

ร้อยละของเอทานอลที่ผลิตได้เมื่อเทียบก ับทางทฤษฎี = ปริ มาณเอทานอลที่ผลิตได้จริ ง x 100


ปริ มาณเอทานอลที่ผลิตได้ทางทฤษฎี

ร้อยละการเปลี่ยนนํ้าตาลเป็ นผลิตภัณฑ์ = นํ้าตาลรี ดิวซ์เริ่ มต้น-นํ้าตาลที่เหลือ x 100


(%Conversion) นํ้าตาลรี ดิวซ์เริ่ มต้น

ก-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตารางที่ ก-8 ผลการเจริ ญเติบโตของเชื้อ Z. mobilis

ระยะเวลาในการ ค่าการดูดกลืนแสงที่
เจริ ญเติบโต (ชัว่ โมง) 600 นาโนเมตร
0 0.036
3 0.043
6 0.056
9 0.133
12 0.322
15 0.637
18 0.938
21 1.206
24 1.340
27 1.472
30 1.507
33 1.498
48 1.498
57 1.466
75 1.402

ก-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5. รายละเอียดค่ าใช้ จ่ายในการผลิตเอทานอลของชีวมวลทั้ง 3 ชนิด

ตาราง ก-9 ค่าใช้จ่ายในการผลิตเอทานอลจากฟางข้าว 1 ลิตร

เอทานอลจากฟางข้าว 1 ลิตร
รายการค่ าใช้ จ่าย ปริมาณทีใ่ ช้ / ปริมาณทีใ่ ช้ / ราคาต่อหน่ วย จํานวนเงิน
1 กรัม ฟางข้าว เอทานอล 1 ลิตร (บาท)
วัตถุดิบ
ฟางข้าว ­ 9.90 กิโลกรัม 300 บาท/ตัน 2.97
รวม 2.97
การปรับสภาพ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.2 กรัม 1.98 กิโลกรัม 29.83 บาท/ตัน 0.06
รวม 0.06
การย่อยสลาย
เอนไซม์เซลลูเลส 5.18 มิลลิลิตร 59.63 ลิตร 42.30 บาท/ลิตร 2,522.35
โซเดียมซิเตรต 0.25 กรัม 2.46 กิโลกรัม 2.98 บาท/ตัน 0.0007
รวม 2,522.35
การหมัก
สารสกัดยีสต์ 0.39 กรัม 3.82 กิโลกรัม 29.83 บาท/กิโลกรัม 113.91
โพแทสเซียมได 0.06 กรัม 0.57 กิโลกรัม 14.92 บาท/กิโลกรัม 8.55
ไฮโดรเจนออโท
ฟอสเฟต
แมกนีเซียมซัลเฟต 0.02 กรัม 0.19 กิโลกรัม 0.30 บาท/กิโลกรัม 0.06
แอมโมเนียมซัลเฟต 0.04 กรัม 0.38 กิโลกรัม 2.98 บาท/ตัน 0.001
รวม 122.52
รวมทั้งสิ้น 2,647.90

ก-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ก-10 ค่าใช้จ่ายในการผลิตเอทานอลจากชานอ้อย 1 ลิตร

เอทานอลจากชานอ้อย 1 ลิตร
รายการค่ าใช้ จ่าย ปริมาณทีใ่ ช้ / ปริมาณทีใ่ ช้ / ราคาต่อหน่ วย จํานวนเงิน
1 กรัม ชานอ้อย เอทานอล 1 ลิตร (บาท)
วัตถุดิบ
ชานอ้อย ­ 7.20 กิโลกรัม 300 บาท/ตัน 2.16
รวม 2.16
การปรับสภาพ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.2 กรัม 1.44 กิโลกรัม 29.83 บาท/ตัน 0.04
รวม 0.04
การย่อยสลาย
เอนไซม์เซลลูเลส 5.18 มิลลิลิตร 37.29 ลิตร 42.30 บาท/ลิตร 1,577.36
โซเดียมซิเตรต 0.59 กรัม 4.25 กิโลกรัม 2.98 บาท/ตัน 0.01
รวม 1,511.37
การหมัก
สารสกัดยีสต์ 0.63กรัม 4.53 กิโลกรัม 29.83 บาท/กิโลกรัม 135.13
โพแทสเซียมได 0.09 กรัม 0.65 กิโลกรัม 14.92 บาท/กิโลกรัม 9.69
ไฮโดรเจนออโท
ฟอสเฟต
แมกนีเซียมซัลเฟต 0.03 กรัม 0.23 กิโลกรัม 0.30 บาท/กิโลกรัม 0.07
แอมโมเนียมซัลเฟต 0.06กรัม 0.43 กิโลกรัม 2.98 บาท/ตัน 0.001
รวม 144.89
รวมทั้งสิ้น 1,724.46

ก-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ก-11 ค่าใช้จ่ายในการผลิตเอทานอลจากซังข้าวโพด 1 ลิตร

เอทานอลจากซังข้าวโพด 1 ลิตร
รายการค่าใช้จ่าย ปริมาณที่ใช้/ ปริมาณที่ใช้/ ราคาต่อหน่วย จํานวนเงิน
1 กรัม ซังข้าวโพด เอทานอล 1 ลิตร (บาท)
วัตถุดิบ
ซังข้าวโพด ­ 4.66 กิโลกรัม 600 บาทต่อตัน 2.79
รวม 2.79
การปรับสภาพ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.2 กรัม 0.93 กิโลกรัม 29.83 บาท/ตัน 0.03
กรดซัลฟุริก 0.1 มิลลิลิตร 0.47 ลิตร 2.54 บาท/ลิตร 1.19
รวม 1.22
การย่อยสลาย
เอนไซม์เซลลูเลส 5.18 มิลลิลิตร 24.14 ลิตร 42.30 บาท/ลิตร 1,021.12
โซเดียมอะซิเตต 0.59 กรัม 2.75 กิโลกรัม 2.98 บาท/ตัน 0.008
รวม 1,021.13
การหมัก
สารสกัดยีสต์ 0.66 กรัม 3.08 กิโลกรัม 29.83 บาท/กิโลกรัม 91.87
โพแทสเซียมได 0.09 กรัม 0.42กิโลกรัม 14.92 บาท/กิโลกรัม 6.27
ไฮโดรเจนออโทฟอสเฟต
แมกนีเซียมซัลเฟต 0.03 กรัม 0.14 กิโลกรัม 0.30 บาท/กิโลกรัม 0.04
แอมโมเนียมซัลเฟต 0.07 กรัม 0.33 กิโลกรัม 2.98 บาท/ตัน 0.001
รวม 98.18
รวมทั้งสิ้น 1123.39

* ห มา ย เห ตุ ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ดั ง ก ล่ า ว คิ ด จา ก สา ร เค มี ที่ ใ ช้ จ ริ งใ น กา ร ผลิ ตเ อ ทา น อล ป ริ ม า ณ
1 ลิตร โดยไม่รวมค่าไฟฟ้ า ค่ากลัน่ เอทานอลให้บริ สุทธิ์และค่าแรงงาน

ก-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

6. สารเคมีและวิธีการเตรียม

วิธีการศึกษาลักษณะองค์ ประกอบของชีวมวล (TAPPI 203 om-88)

1. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 17.5 เปอร์ เซ็นต์


วิธีเตรี ยม : ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 175 กรัมในนํ้ากลัน่ และเจือจางเป็ น 1,000 มิลลิลิตร
2. สารละลายโพแทสเซียมไดโครเมต [K2Cr2O7] เข้มข้น 0.5 นอร์ มลั
วิธีเตรี ยม : ละลายโพแทสเซียมไดโครเมต 24.52 กรัมในนํ้ากลัน่ ปรับปริ มาตรเป็ น 1,000 มิลลิลิต ร ด้ว ยขวดปรับ
ปริ มาตร
3. สารละลายโพแทสเซียมไดโครเมตมาตรฐาน [K2Cr2O7] เข้มข้น 0.100 นอร์ มลั
วิธีเตรี ยม : ละลายโพแทสเซียมไดโครเมต 4.904 กรัมในนํ้ากลัน่ ปรับปริ มาตรเป็ น 1,000 มิลลิลิต ร ด้ว ยขวดปรับ
ปริ มาตร
4. สารละลายเฟอร์ รัสแอมโมเนียซัลเฟตเข้มข้น 0.100 นอร์ มลั
วิ ธี เ ต รี ย ม : ล ะ ล า ย เ ฟ อ ร์ รั ส แ อ ม โ ม เ นี ย ซั ล เ ฟ ต [Fe(NH4)(SO4).6H2O] ห นั ก 40.5 ก รั ม ใ น
นํ้ากลัน่ เติมกรดซัลฟุริกเข้มข้นปริ มาตร 10 มิลลิลิต ร ปรับปริ มาตรเป็ น 1,000 มิลลิลิต ร ด้ว ยนํ้า กลัน่ ทํา การหา
ค่าความเข้มข้นที่แน่นอนทุกครั้งที่ใช้ โดยนําไปไตเตรทก ับสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมตมาตรฐาน
วิธีหาค่าความเข้มข้นที่แน่นอน : ปิ เปตสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมตมาตรฐานปริ มาตร 10 มิลลิลิต ร ใส่ ลง
ในขวดรู ปชมพู่ขนาด 250 มิลลิลิตร เติมนํ้ากลัน่ 90 มิลลิลิต ร ค่ อยๆเทกรดซัลฟุริกเข้มข้นปริ มาตร 12 มิลลิลิต ร
ลงในขวด โดยเอียงขวดทํา มุมประมาณ 45 องศากบั พื้น ตั้งทิ้ งไว้ให้เย็น หยดอินดิ เคเตอร์ 2 ถึง 4 หยด นํา ไป
ไตเตรทก ับสารละลายเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟตที่ตอ้ งการทราบความเข้มข้นที่แน่นอน

วิธีการคํานวณ :

N2 V2 = N 1 V1

เมื่อ N1 = ความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมต, นอร์มลั


N2 = ความเข้มข้นของสารละลายเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟต, นอร์มลั
V1 = ปริ มาตรของสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมต, มิลลิลิตร
V2 = ปริ มาตรของสารละลายเฟอร์รัสแอมโมเนียซัลเฟต, มิลลิลิตร

ก-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

5. สารละลายอินดิเคเตอร์ (indicator)
วิ ธี เ ต รี ย ม : ล ะ ล า ย 1,10-ฟี น า น โ ธ ร ลี น โ ม โ น ไ ฮ เ ด ร ท (C12H8N2.H2O) ห นั ก 1.5 ก รั ม ก ับ
เฟอร์รัสซัลเฟต (FeSO4.H2O) หนัก 0.7 กรัมในนํ้ากลัน่ ปริ มาตรเป็ น 100 มิลลิลิต ร ใช้เป็ นอินดิ เคเตอร์ ในการไต
เตรท
6. กรดซัลฟุริกเข้มข้น 98 เปอร์ เซ็นต์ (ค่ าความถ่ วงจําเพาะเท่ ากับ 1.84)
7. สารละลายกรดซัลฟุริกเข้มข้น 3 นอร์ มลั
วิธีเตรี ยม : ค่อยๆเทกรดซัลฟุริกเข้มข้นปริ มาตร 83.5 มิลลิลิต ร ลงในบี กเกอร์ ที่มีน้ ํา กลัน่ บรรจุ อยู่ ปรับปริ มาตร
เป็ น 1,000 มิลลิลิตร

วิธีการหาความสามารถในการทํางานของเอนไซม์ (FPU assay)


1. สารละลายซิเตรตบัฟเฟอร์ เข้มข้น 0.05 โมลาร์ ที่มคี วามเป็ นกรดด่าง 4.8
วิธีเตรี ยม : ชัง่ ไตรโซเดียมซิเตรตไดไฮเดรตปริ มาณ 14.72 กรัม ละลายในนํ้ากลัน่ ประมาณ 800 มิลลิลิต ร ปรับค่ า
ความเป็ นกรดด่างเป็ น 4.8 ด้วยกรดไฮโดรคลอริ กเข้มข้น 3 โมลาร์ ปรับปริ มาตรสุทธิให้เป็ น 1,000 มิลลิลิต รด้ว ย
นํ้ากลัน่
2. สารละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิก
วิธีเตรี ยม : ละลายกรดไดไนโตรสาลิไซลิก 5 กรัม กบั สารละลายโซเดี ยมไฮดรอกไซด์ 8 กรัมในนํ้า กลัน่ 200
มิลลิลิตร ทํา ให้ละลายเป็ นเนื้ อเดี ยวกนั ในอ่า งควบคุ มอุณ หภูมิที่อุณ หภูมิ 70 องศาเซลเซี ยส และค่ อยๆละลาย
โซเดียมโปแตสเซียมทาร์เทรตอีก 150 กรัมจนได้สารละลายใส ปรับปริ มาตรสุ ด ท้า ยให้เป็ น 500 มิลลิลิต ร และ
เก็บในขวดทึบแสงที่อุณหภูมิห้อง

ก-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ภาคผนวก ข
ตารางวิเคราะห์ ด้านเศรษฐศาสตร์ และการเงิน

การวิเคราะห์โครงการในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสในเชิงพาณิ ชย์น้ ัน ได้ทาํ การวิเคราะห์โครงการ


ทางการเงิน และการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยการใช้วตั ถุดิบทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ฟางข้าว ชานอ้อย
ซังข้าวโพด โดยทําการวิเคราะห์ที่ระดับการผลิต และเงื่ อนไขการลงทุ นที่แตกต่างก ัน โดยมีรายละเอียดของการ
ก ําหนดกรณี ศึกษา ดังนี้

1) ประเภทของวัตถุดบิ มีการใช้วตั ถุดิบ 3 ประเภท คือ


- ฟางข้าว มีค่าความร้อน เท่าก ับ 12,330 kJ/kg และมีราคา 300 บาท/ตัน
- ชานอ้อย ค่าความร้อน เท่าก ับ 7,368 kJ/kg และมีราคา 300 บาท/ตัน
- ซังข้าวโพด ค่าความร้อน เท่าก ับ 9,615 kJ/kg และมีราคา 600 บาท/ตัน

2) ระดับการผลิต มีการก ําหนดระดับการผลิตเป็ น 4 ระดับ คือ


- การผลิตที่ระดับ 100,000 ลิตรต่อวัน
- การผลิตที่ระดับ 200,000 ลิตรต่อวัน
- การผลิตที่ระดับ 500,000 ลิตรต่อวัน
- การผลิตที่ระดับ 1,000,000 ลิตรต่อวัน

3) รูปแบบการลงทุนอุปกรณ์ ประกอบและต้นทุนค่ าย่อยสลาย มีการก ําหนด 4 รู ปแบบ คือ


- รู ปแบบที่ 1 ต้องลงทุนค่าอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด มีตน้ ทุนค่าย่อยสลายในปี ที่ 1 ถึง 10
- รู ปแบบที่ 2 ต้องลงทุนค่าอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด มีต ้นทุ นค่ า ย่อยสลายในปี ที่ 1 แต่ ในปี ที่ 2
ถึงปี ที่ 10 ไม่มีตน้ ทุนค่าย่อยสลาย
- รู ปแบบที่ 3 ต้องลงทุนค่าอุปกรณ์ประกอบร้อยละ 50 มีตน้ ทุนค่าย่อยสลายในปี ที่ 1 แต่ ในปี ที่ 2 ถึง
ปี ที่ 10 ไม่มีตน้ ทุนค่าย่อยสลาย
- รู ปแบบที่ 4 ต้องลงทุนค่าอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด มีตน้ ทุนค่าย่อยสลายเป็ นศูนย์
- รู ปแบบที่ 5 มีตน้ ทุนค่าย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นค่ า อุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน

ข-1
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-1 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน และ
ต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 83,339.60 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,533.29 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 (1,138.00) (1,138.00)
2 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -84,009.35
3 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -166,880.70
4 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -249,752.05
5 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -332,623.40
6 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -415,494.75
7 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -498,366.10
8 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -581,237.45
9 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -664,108.80
10 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -746,980.15
11 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 (82,871.35) -829,851.50
1,138.00 833,396.04 1,452.16 835,986.20 6,134.70 (829,851.50) (4,570,442.26)
PV@ 6% 635.46 578,668.54 1,008.31 580,312.31 3,425.62 (463,389.08)
PV@ 7% 578.45 617,149.77 1,075.36 618,803.58 3,118.27 (421,813.52)
กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )
อัตราคิดลด 6% (2,135.70) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (1,622.10) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-2
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-2 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000 ลิต ร
ต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 77,506 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,355.96 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 (1,058.34) (1,058.34)
2 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -78,085.75
3 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -155,113.17
4 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -232,140.58
5 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -309,167.99
6 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -386,195.40
7 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -463,222.82
8 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -540,250.23
9 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -617,277.64
10 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -694,305.06
11 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 (77,027.41) -771,332.47
1,058.34 775,058.32 1,350.51 777,467.17 6,134.70 (771,332.47) (4,248,149.44)

PV@ 6% 590.98 538,161.74 937.73 539,690.45 3,425.62 (430,712.05)


PV@ 7% 537.95 573,949.29 1,000.09 575,487.33 3,118.27 (392,068.29)

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,985.18) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (1,507.78) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-3
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-3 การวิเคราะห์ โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 49,949.87 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,521.48 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 (1,138.00) (1,138.00)
2 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -50,619.62
3 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -100,101.24
4 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -149,582.86
5 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -199,064.48
6 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -248,546.10
7 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -298,027.72
8 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -347,509.34
9 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -396,990.96
10 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -446,472.58
11 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 (49,481.62) -495,954.20
1,138.00 499,498.74 1,452.16 502,088.90 6,134.70 (495,954.20) (2,734,007.11)

PV@ 6% 635.46 346,826.95 1,008.31 348,470.72 3,425.62 (276,940.83)


PV@ 7% 578.45 369,890.80 1,075.36 371,544.61 3,118.27 (252,093.52)

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,340.71) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (1,025.85) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-4
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-4 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000 ลิต ร
ต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 46,453 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,414.98 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 (1,058.34) (1,058.34)
2 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -47,033.30
3 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -93,008.27
4 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -138,983.23
5 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -184,958.20
6 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -230,933.16
7 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -276,908.12
8 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -322,883.09
9 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -368,858.05
10 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -414,833.01
11 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 (45,974.96) -460,807.98
1,058.34 464,533.83 1,350.51 466,942.68 6,134.70 (460,807.98) (2,540,264.75)

PV@ 6% 590.98 322,549.06 937.73 324,077.77 3,425.62 (257,315.18)


PV@ 7% 537.95 343,998.45 1,000.09 345,536.49 3,118.27 (234,228.70)

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,245.83) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (953.27) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-5
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-5 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
และต้องลงทุ นอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 33,831.68 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,033.05 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 (1,138.00) (1,138.00)
2 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -34,501.43
3 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -67,864.86
4 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -101,228.29
5 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -134,591.72
6 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -167,955.15
7 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -201,318.58
8 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -234,682.01
9 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -268,045.44
10 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -301,408.87
11 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 (33,363.43) -334,772.30
1,138.00 338,316.84 1,452.16 340,907.00 6,134.70 (334,772.30) (1,847,506.66)

PV@ 6% 635.46 234,910.30 1,008.31 236,554.07 3,425.62 (186,936.85)


PV@ 7% 578.45 250,531.74 1,075.36 252,185.55 3,118.27 (170,164.76)

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (956.94) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (738.03) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-6
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-6 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ซังข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 31,463 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 960.74 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 (1,058.34) (1,058.34)
2 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -32,043.39
3 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -63,028.43
4 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -94,013.48
5 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -124,998.53
6 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -155,983.58
7 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -186,968.62
8 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -217,953.67
9 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -248,938.72
10 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -279,923.76
11 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 (30,985.05) -310,908.81
1,058.34 314,634.66 1,350.51 317,043.51 6,134.70 (310,908.81) (1,715,819.34)

PV@ 6% 590.98 218,466.58 937.73 219,995.28 3,425.62 (173,611.48)


PV@ 7% 537.95 232,994.52 1,000.09 234,532.56 3,118.27 (158,034.95)

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (888.93) 0.02 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (685.60) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-7
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-7 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน และ
ต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 125,008.37 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,530.65 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 (1,138.00) (1,138.00)
2 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -125,371.39
3 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -249,604.77
4 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -373,838.16
5 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -498,071.54
6 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -622,304.93
7 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -746,538.31
8 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -870,771.70
9 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -995,005.08
10 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -1,119,238.47
11 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 (124,233.39) -1,243,471.85
1,138.00 1,250,083.74 1,452.16 1,252,673.90 9,202.05 (1,243,471.85) (6,845,354.19)

PV@ 6% 635.46 867,995.64 1,008.31 869,639.41 5,138.42 (694,354.68)


PV@ 7% 578.45 925,717.01 1,075.36 927,370.82 4,677.40 (632,056.74)

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (3,120.51) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (2,360.70) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-8
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-8 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต ร
ต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 116,258 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,353.51 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 (1,058.34) (1,058.34)
2 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -116,530.97
3 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -232,003.61
4 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -347,476.24
5 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -462,948.88
6 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -578,421.51
7 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -693,894.14
8 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -809,366.78
9 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -924,839.41
10 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -1,040,312.04
11 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 (115,472.63) -1,155,784.68
1,058.34 1,162,577.88 1,350.51 1,164,986.73 9,202.05 (1,155,784.68) (2,760,950.79)

PV@ 6% 590.98 807,235.95 937.73 808,764.65 5,138.42 (645,390.16)


PV@ 7% 537.95 860,916.82 1,000.09 862,454.86 4,677.40 (587,485.35)

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (2,900.54) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (2,194.30) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-9
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-9 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน และ
ต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 74,923.78 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,518.84 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 (1,138.00) (1,138.00)
2 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -75,286.79
3 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -149,435.58
4 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -223,584.37
5 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -297,733.16
6 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -371,881.95
7 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -446,030.74
8 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -520,179.53
9 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -594,328.32
10 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -668,477.11
11 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 (74,148.79) -742,625.90
1,138.00 749,237.79 1,452.16 751,827.95 9,202.05 (742,625.90) (4,090,701.46)

PV@ 6% 635.46 520,233.26 1,008.31 521,877.03 5,138.42 (414,682.30)


PV@ 7% 578.45 554,828.57 1,075.36 556,482.37 4,677.40 (377,476.75)

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,928.02) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (1,466.34) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-10
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-10 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 69,679 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,412.53 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 (1,058.34) (1,058.34)
2 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -69,952.30
3 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -138,846.26
4 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -207,740.22
5 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -276,634.18
6 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -345,528.14
7 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -414,422.10
8 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -483,316.06
9 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -552,210.02
10 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -621,103.98
11 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 (68,893.96) -689,997.95
1,058.34 696,791.14 1,350.51 699,200.00 9,202.05 (689,997.95) (3,800,809.57)

PV@ 6% 590.98 483,816.93 937.73 485,345.64 5,138.42 (385,294.85)


PV@ 7% 537.95 515,990.57 1,000.09 517,528.61 4,677.40 (350,725.96)

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,791.52) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (1,362.54) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-11
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-11 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 50,746.49 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,030.41 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 (1,138.00) (1,138.00)
2 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -51,109.51
3 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -101,081.01
4 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -151,052.52
5 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -201,024.02
6 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -250,995.53
7 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -300,967.03
8 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -350,938.54
9 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -400,910.04
10 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -450,881.55
11 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 (49,971.51) -500,853.05
1,138.00 507,464.94 1,452.16 510,055.10 9,202.05 (500,853.05) (2,760,950.79)

PV@ 6% 635.46 352,358.28 1,008.31 354,002.05 5,138.42 (279,676.34)


PV@ 7% 578.45 375,789.97 1,075.36 377,443.77 4,677.40 (254,583.61)

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,352.37) 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (1,034.60) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-12
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-12 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 47,194 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 958.29 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 (1,058.34) (1,058.34)
2 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -47,467.43
3 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -93,876.51
4 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -140,285.60
5 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -186,694.68
6 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -233,103.77
7 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -279,512.85
8 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -325,921.94
9 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -372,331.02
10 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -418,740.11
11 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 (46,409.09) -465,149.19
1,058.34 471,942.39 1,350.51 474,351.24 9,202.05 (465,149.19) (2,564,141.44)

PV@ 6% 590.98 327,693.20 937.73 329,221.91 5,138.42 (259,739.31)


PV@ 7% 537.95 349,484.67 1,000.09 351,022.71 4,677.40 (236,435.34)

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% (1,256.17) 0.02 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% (961.03) 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-13
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-13 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 416,689.76 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,532.16 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -419,363.03
3 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -833,588.06
4 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -1,247,813.09
5 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -1,662,038.12
6 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -2,076,263.15
7 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -2,490,488.18
8 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -2,904,713.21
9 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -3,318,938.24
10 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -3,733,163.27
11 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -4,147,388.30
5,138.00 4,166,897.64 6,026.16 4,178,061.80 30,673.50 -4,147,388.30 -22,838,894.66

PV@ 6% 2,869.06 2,893,285.38 4,184.27 2,900,338.70 17,128.08 -2,315,901.63


PV@ 7% 2,611.65 3,085,687.71 4,462.52 3,092,761.87 15,591.34 -2,108,117.47

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -10,596.50 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -8,039.13 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-14
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-14 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 387,521.48 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,354.91 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -389,792.90
3 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -774,807.47
4 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -1,159,822.03
5 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -1,544,836.59
6 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -1,929,851.16
7 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -2,314,865.72
8 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -2,699,880.29
9 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -3,084,894.85
10 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -3,469,909.41
11 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -3,854,923.98
4,778.34 3,875,214.81 5,604.33 3,885,597.48 30,673.50 -3,854,923.98 -21,228,362.74

PV@ 6% 2,668.23 2,690,755.40 3,891.37 2,697,314.99 17,128.08 -2,152,589.55


PV@ 7% 2,428.83 2,869,689.57 4,150.14 2,876,268.54 15,591.34 -1,959,457.86

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -9,849.63 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -7,472.55 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-15
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-15 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 249,741.11 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,520.35 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -252,414.38
3 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -499,690.76
4 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -746,967.14
5 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -994,243.52
6 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -1,241,519.90
7 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -1,488,796.28
8 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -1,736,072.66
9 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -1,983,349.04
10 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -2,230,625.42
11 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -2,477,901.80
5,138.00 2,497,411.14 6,026.16 2,508,575.30 30,673.50 -2,477,901.80 -13,656,718.91

PV@ 6% 2,869.06 1,734,077.43 4,184.27 1,741,130.75 17,128.08 -1,383,660.37


PV@ 7% 2,611.65 1,849,392.89 4,462.52 1,856,467.05 15,591.34 -1,259,517.49

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -6,621.53 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -5,057.90 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-16
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-16 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 232,259.24 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,413.92 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -234,530.66
3 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -464,282.98
4 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -694,035.30
5 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -923,787.62
6 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -1,153,539.94
7 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -1,383,292.25
8 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -1,613,044.57
9 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -1,842,796.89
10 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -2,072,549.21
11 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -2,302,301.53
4,778.34 2,322,592.36 5,604.33 2,332,975.03 30,673.50 -2,302,301.53 -12,688,939.29

PV@ 6% 2,668.23 1,612,692.01 3,891.37 1,619,251.60 17,128.08 -1,285,605.17


PV@ 7% 2,428.83 1,719,935.38 4,150.14 1,726,514.36 15,591.34 -1,170,259.87

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -6,152.91 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -4,700.01 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-17
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-17 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 169,150.16 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,031.92 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -171,823.43
3 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -338,508.86
4 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -505,194.29
5 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -671,879.72
6 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -838,565.15
7 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -1,005,250.58
8 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -1,171,936.01
9 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -1,338,621.44
10 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -1,505,306.87
11 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -1,671,992.30
5,138.00 1,691,501.64 6,026.16 1,702,665.80 30,673.50 -1,671,992.30 -9,224,216.66

PV@ 6% 2,869.06 1,174,494.16 4,184.27 1,181,547.49 17,128.08 -933,640.50


PV@ 7% 2,611.65 1,252,597.56 4,462.52 1,259,671.72 15,591.34 -849,873.69

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -4,702.70 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -3,618.78 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-18
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-18 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 157,309.65 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 959.68 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -159,581.08
3 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -314,383.81
4 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -469,186.55
5 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -623,989.28
6 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -778,792.02
7 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -933,594.75
8 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -1,088,397.49
9 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -1,243,200.22
10 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -1,398,002.96
11 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -1,552,805.70
4,778.34 1,573,096.53 5,604.33 1,583,479.20 30,673.50 -1,552,805.70 -8,566,712.20

PV@ 6% 2,668.23 1,092,279.57 3,891.37 1,098,839.16 17,128.08 -867,086.70


PV@ 7% 2,428.83 1,164,915.73 4,150.14 1,171,494.70 15,591.34 -789,291.14

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -4,368.40 0.02 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -3,361.63 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-19
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-19 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 833,377.46 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,532.02 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -838,555.13
3 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -1,666,972.26
4 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -2,495,389.39
5 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -3,323,806.52
6 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -4,152,223.65
7 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -4,980,640.78
8 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -5,809,057.91
9 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -6,637,475.04
10 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -7,465,892.17
11 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -8,294,309.30
10,138.00 8,333,774.64 11,743.66 8,355,656.30 61,347.00 -8,294,309.30 -45,674,460.16

PV@ 6% 5,661.06 5,786,556.42 8,154.21 5,800,371.69 34,256.16 -4,631,542.31


PV@ 7% 5,153.15 6,171,360.13 8,696.46 6,185,209.74 31,182.68 -4,215,997.42

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -21,172.50 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -16,060.41 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-20
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-20 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 775,041.04 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2,354.78 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -779,426.84
3 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -1,549,425.34
4 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -2,319,423.85
5 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -3,089,422.35
6 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -3,859,420.85
7 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -4,629,419.35
8 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -5,399,417.85
9 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -6,169,416.36
10 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -6,939,414.86
11 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -7,709,413.36
9,428.34 7,750,410.42 10,921.61 7,770,760.36 61,347.00 -7,709,413.36 -42,453,629.35

PV@ 6% 5,264.79 5,381,497.47 7,583.42 5,394,345.67 34,256.16 -4,304,936.42


PV@ 7% 4,792.43 5,739,364.92 8,087.71 5,752,245.06 31,182.68 -3,918,694.81

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -19,680.20 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -14,928.52 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-21
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-21 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 499,480.16 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,520.21 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -504,657.83
3 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -999,177.66
4 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -1,493,697.49
5 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -1,988,217.32
6 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -2,482,737.15
7 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -2,977,256.98
8 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -3,471,776.81
9 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -3,966,296.64
10 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -4,460,816.47
11 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -4,955,336.30
10,138.00 4,994,801.64 11,743.66 5,016,683.30 61,347.00 -4,955,336.30 -27,310,108.66

PV@ 6% 5,661.06 3,468,140.52 8,154.21 3,481,955.79 34,256.16 -2,767,059.79


PV@ 7% 5,153.15 3,698,770.49 8,696.46 3,712,620.10 31,182.68 -2,518,797.44

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -13,222.57 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -10,097.96 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-22
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-22 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 464,516.55 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,413.79 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -468,902.35
3 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -928,376.37
4 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -1,387,850.38
5 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -1,847,324.39
6 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -2,306,798.41
7 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -2,766,272.42
8 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -3,225,746.43
9 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -3,685,220.44
10 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -4,144,694.46
11 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -4,604,168.47
9,428.34 4,645,165.53 10,921.61 4,665,515.47 61,347.00 -4,604,168.47 -25,374,782.46

PV@ 6% 5,264.79 3,225,370.68 7,583.42 3,238,218.88 34,256.16 -2,570,967.67


PV@ 7% 4,792.43 3,439,856.56 8,087.71 3,452,736.69 31,182.68 -2,340,298.83

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -12,286.76 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -9,383.44 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-23
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-23 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อ
วัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 338,298.26 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 1,031.78 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -343,475.93
3 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -676,813.86
4 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -1,010,151.79
5 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -1,343,489.72
6 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -1,676,827.65
7 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -2,010,165.58
8 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -2,343,503.51
9 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -2,676,841.44
10 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -3,010,179.37
11 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -3,343,517.30
10,138.00 3,382,982.64 11,743.66 3,404,864.30 61,347.00 -3,343,517.30 -18,445,104.16

PV@ 6% 5,661.06 2,348,974.00 8,154.21 2,362,789.27 34,256.16 -1,867,020.06


PV@ 7% 5,153.15 2,505,179.84 8,696.46 2,519,029.45 31,182.68 -1,699,509.84

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -9,384.90 0.01 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -7,219.71 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-24
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-24 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 1,000,000


ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 314,617.39 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 959.55 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -319,003.19
3 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -628,578.03
4 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -938,152.88
5 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -1,247,727.72
6 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -1,557,302.57
7 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -1,866,877.42
8 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -2,176,452.26
9 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -2,486,027.11
10 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -2,795,601.95
11 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -3,105,176.80
9,428.34 3,146,173.86 10,921.61 3,166,523.80 61,347.00 -3,105,176.80 -17,130,328.27

PV@ 6% 5,264.79 2,184,545.82 7,583.42 2,197,394.02 34,256.16 -1,733,930.73


PV@ 7% 4,792.43 2,329,817.25 8,087.71 2,342,697.38 31,182.68 -1,578,361.37

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -8,717.74 0.02 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -6,706.66 0.01 หาค่าไม่ได้ -

ข-25
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-25 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 8,425.81 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 263.18 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 83,339.60 145.22 83,484.82 613.47 -82,871.35 -84,009.35
3 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -83,643.15
4 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -83,276.95
5 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -82,910.75
6 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -82,544.55
7 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -82,178.35
8 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -81,812.15
9 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -81,445.95
10 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -81,079.75
11 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -80,713.55
1,138.00 84,258.09 1,452.16 86,848.25 6,134.70 -80,713.55 -824,752.51

PV@ 6% 635.46 - 77,817.69 1,008.31 - 76,173.92 3,425.62 -45,070.45


PV@ 7% 578.45 - 7,023.65 1,075.36 - 5,369.84 3,118.27 -41,026.70

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,852.58 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,436.30 -0.58 หาค่าไม่ได้ -

ข-26
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-26 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 7,836.00 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 244.75 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 77,505.83 135.05 77,640.88 613.47 -77,027.41 -78,085.75
3 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -77,702.24
4 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -77,318.74
5 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -76,935.23
6 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -76,551.72
7 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -76,168.21
8 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -75,784.70
9 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -75,401.19
10 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -75,017.68
11 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -74,634.17
1,058.34 78,360.02 1,350.51 80,768.87 6,134.70 -74,634.17 -764,657.98

PV@ 6% 590.98 - 72,370.45 937.73 - 70,841.75 3,425.62 -41,675.72


PV@ 7% 537.95 - 6,531.99 1,000.09 - 4,993.95 3,118.27 -37,936.55

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,721.87 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,334.99 -0.62 หาค่าไม่ได้ -

ข-27
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-27 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 5,062.18 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 161.25 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 49,949.87 145.22 50,095.09 613.47 -49,481.62 -50,619.62
3 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -50,226.03
4 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -49,832.44
5 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -49,438.85
6 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -49,045.26
7 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -48,651.67
8 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -48,258.08
9 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -47,864.49
10 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -47,470.90
11 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -47,077.31
1,138.00 50,621.85 1,452.16 53,212.01 6,134.70 -47,077.31 -489,622.66

PV@ 6% 635.46 - 46,533.84 1,008.31 - 4,890.08 3,425.62 -26,287.97


PV@ 7% 578.45 - 4,108.43 1,075.36 - 2,454.63 3,118.27 -23,929.40

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,171.06 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -914.52 -1.27 หาค่าไม่ได้ -

ข-28
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-28 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 4,707.83 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 149.96 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 46,453.38 135.05 46,588.43 613.47 -45,974.96 -47,033.30
3 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -46,624.32
4 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -46,215.34
5 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -45,806.36
6 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -45,397.38
7 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -44,988.40
8 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -44,579.42
9 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -44,170.43
10 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -43,761.45
11 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -43,352.47
1,058.34 47,078.32 1,350.51 49,487.17 6,134.70 -43,352.47 -452,987.22

PV@ 6% 590.98 - 43,276.47 937.73 - 41,747.77 3,425.62 -24,208.02


PV@ 7% 537.95 - 3,820.84 1,000.09 - 2,282.80 3,118.27 -22,036.06

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,088.06 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -849.74 -1.37 หาค่าไม่ได้ -

ข-29
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-29 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 3,504.12 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 114.03 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 33,831.68 145.22 33,976.90 613.47 -33,363.43 -34,501.43
3 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -34,167.57
4 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -33,833.71
5 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -33,499.85
6 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -33,165.99
7 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -32,832.13
8 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -32,498.27
9 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -32,164.41
10 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -31,830.55
11 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -31,496.69
1,138.00 35,041.23 1,452.16 37,631.39 6,134.70 -31,496.69 -331,128.61

PV@ 6% 635.46 - 30,856.86 1,008.31 - 29,213.09 3,425.62 -17,587.75


PV@ 7% 578.45 - 2,154.13 1,075.36 - 500.32 3,118.27 -16,009.77

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -842.32 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -662.81 -6.23 หาค่าไม่ได้ -

ข-30
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-30 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 3,258.83 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 106.05 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 31,463.47 135.05 31,598.52 613.47 -30,985.05 -32,043.39
3 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -31,689.95
4 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -31,336.52
5 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -30,983.09
6 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -30,629.66
7 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -30,276.22
8 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -29,922.79
9 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -29,569.36
10 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -29,215.93
11 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -28,862.49
1,058.34 32,588.34 1,350.51 34,997.19 6,134.70 -28,862.49 -305,587.75

PV@ 6% 590.98 - 28,696.88 937.73 - 27,168.17 3,425.62 -16,116.82


PV@ 7% 537.95 - 2,003.34 1,000.09 - 465.30 3,118.27 -14,670.81

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -782.34 -0.13 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -615.64 -6.70 หาค่าไม่ได้ -

ข-31
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-31 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 12,637.68 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 260.54 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 125,008.37 145.22 125,153.59 920.21 -124,233.39 -125,371.39
3 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -124,748.45
4 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -124,125.51
5 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -123,502.57
6 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -122,879.63
7 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -122,256.69
8 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -121,633.75
9 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -121,010.81
10 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -120,387.87
11 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -119,764.93
1,138.00 126,376.82 1,452.16 128,966.98 9,202.05 -119,764.93 -1,226,819.56

PV@ 6% 635.46 -116,733.70 1,008.31 - 115,089.94 5,138.42 -66,876.74


PV@ 7% 578.45 - 10,543.11 1,075.36 - 8,889.31 4,677.40 -60,876.51

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -2,695.83 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -2,082.01 -0.53 หาค่าไม่ได้ -

ข-32
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-32 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 11,753.04 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 242.30 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 116,257.79 135.05 116,392.84 920.21 -115,472.63 -116,530.97
3 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -115,887.23
4 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -115,243.48
5 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -114,599.73
6 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -113,955.98
7 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -113,312.23
8 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -112,668.48
9 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -112,024.74
10 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -111,380.99
11 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -110,737.24
1,058.34 117,530.44 1,350.51 119,939.29 9,202.05 -110,737.24 -1,137,399.40

PV@ 6% 590.98 - 108,562.35 937.73 - 107,033.64 5,138.42 -61,835.67


PV@ 7% 537.95 - 9,805.09 1,000.09 - 8,267.06 4,677.40 -56,287.74

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -2,505.59 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,935.12 -0.57 หาค่าไม่ได้ -

ข-33
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-33 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 7,592.25 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 158.61 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 74,923.78 145.22 75,069.00 920.21 -74,148.79 -75,286.79
3 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -74,622.77
4 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -73,958.74
5 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -73,294.72
6 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -72,630.69
7 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -71,966.67
8 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -71,302.64
9 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -70,638.62
10 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -69,974.59
11 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -69,310.57
1,138.00 75,922.46 1,452.16 78,512.62 9,202.05 -69,310.57 -724,124.79

PV@ 6% 635.46 - 69,807.93 1,008.31 - 68,164.16 5,138.42 -38,703.02


PV@ 7% 578.45 - 6,170.29 1,075.36 - 4,516.48 4,677.40 -35,230.56

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,673.55 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,299.34 -1.04 หาค่าไม่ได้ -

ข-34
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-34 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 7,060.79 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 147.51 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 69,679.11 135.05 69,814.17 920.21 -68,893.96 -69,952.30
3 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -69,270.34
4 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -68,588.39
5 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -67,906.43
6 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -67,224.47
7 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -66,542.51
8 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -65,860.56
9 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -65,178.60
10 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -64,496.64
11 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -63,814.68
1,058.34 70,607.88 1,350.51 73,016.73 9,202.05 -63,814.68 -669,893.26

PV@ 6% 590.98 - 64,921.38 937.73 - 63,392.67 5,138.42 -35,634.12


PV@ 7% 537.95 - 5,738.37 1,000.09 - 4,200.33 4,677.40 -32,437.00

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,554.87 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,207.24 -1.11 หาค่าไม่ได้ -

ข-35
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-35 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 5,255.15 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 111.40 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 50,746.49 145.22 50,891.71 920.21 -49,971.51 -51,109.51
3 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -50,535.08
4 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -49,960.65
5 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -49,386.22
6 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -48,811.79
7 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -48,237.36
8 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -47,662.93
9 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -47,088.50
10 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -46,514.07
11 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -45,939.64
1,138.00 52,551.53 1,452.16 55,141.69 9,202.05 -45,939.64 -486,383.71

PV@ 6% 635.46 -46,292.45 1,008.31 -44,648.69 5,138.42 -25,652.69


PV@ 7% 578.45 - 3,238.84 1,075.36 - 1,585.03 4,677.40 -23,351.12

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,180.44 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -921.77 -2.95 หาค่าไม่ได้ -

ข-36
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-36 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 4,887.29 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 103.60 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 47,194.24 135.05 47,329.29 920.21 -46,409.09 -47,467.43
3 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -46,868.79
4 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -46,270.16
5 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -45,671.52
6 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -45,072.89
7 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -44,474.26
8 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -43,875.62
9 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -43,276.99
10 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -42,678.35
11 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -42,079.72
1,058.34 48,872.92 1,350.51 51,281.77 9,202.05 -42,079.72 -448,794.06

PV@ 6% 590.98 - 43,051.98 937.73 -41,523.28 5,138.42 -23,497.32


PV@ 7% 537.95 - 3,012.12 1,000.09 - 1,474.08 4,677.40 -21,389.12

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,096.28 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -856.10 -3.17 หาค่าไม่ได้ -

ข-37
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-37 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 42,120.79 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 262.04 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 416,689.76 602.62 417,292.38 3,067.35 -414,225.03 -419,363.03
3 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -417,400.31
4 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -415,437.59
5 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -413,474.87
6 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -411,512.15
7 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -409,549.43
8 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -407,586.71
9 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -405,623.99
10 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -403,661.27
11 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -401,698.55
5,138.00 421,207.89 6,026.16 432,372.05 30,673.50 -401,698.55 -4,110,445.91

PV@ 6% 2,869.06 - 389,145.79 4,184.27 - 382,092.46 17,128.08 -224,308.47


PV@ 7% 2,611.65 - 35,179.37 4,462.52 - 28,105.21 15,591.34 -204,183.37

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -9,180.90 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -7,110.14 -0.55 หาค่าไม่ได้ -

ข-38
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-38 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 39,172.33 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 243.70 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 387,521.48 560.43 388,081.91 3,067.35 -385,014.56 -389,792.90
3 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -387,752.86
4 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -385,712.82
5 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -383,672.77
6 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -381,632.73
7 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -379,592.68
8 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -377,552.64
9 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -375,512.60
10 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -373,472.55
11 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -371,432.51
4,778.34 391,723.34 5,604.33 402,106.01 30,673.50 -371,432.51 -3,810,905.40

PV@ 6% 2,668.23 - 361,905.58 3,891.37 -355,345.99 17,128.08 -207,407.91


PV@ 7% 2,428.83 -32,716.82 4,150.14 - 26,137.85 15,591.34 -188,799.14

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -8,533.12 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -6,608.59 -0.60 หาค่าไม่ได้ -

ข-39
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-39 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 25,302.67 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 160.12 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 249,741.11 602.62 250,343.73 3,067.35 -247,276.38 -252,414.38
3 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -250,314.71
4 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -248,215.04
5 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -246,115.37
6 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -244,015.70
7 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -241,916.03
8 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -239,816.36
9 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -237,716.69
10 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -235,617.02
11 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -233,517.35
5,138.00 253,026.69 6,026.16 264,190.85 30,673.50 -233,517.35 -2,434,796.66

PV@ 6% 2,869.06 -232,726.54 4,184.27 -225,673.22 17,128.08 -130,396.09


PV@ 7% 2,611.65 - 20,603.30 4,462.52 - 13,529.14 15,591.34 -118,696.87

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -5,773.32 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -4,501.26 -1.15 หาค่าไม่ได้ -

ข-40
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-40 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 23,531.48 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 148.91 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 232,259.24 560.43 232,819.67 3,067.35 -229,752.32 -234,530.66
3 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -232,363.25
4 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -230,195.84
5 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -228,028.44
6 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -225,861.03
7 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -223,693.62
8 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -221,526.21
9 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -219,358.81
10 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -217,191.40
11 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -215,023.99
4,778.34 235,314.82 5,604.33 245,697.49 30,673.50 -215,023.99 -2,252,551.60

PV@ 6% 2,668.23 - 216,435.69 3,891.37 - 209,876.09 17,128.08 -120,069.40


PV@ 7% 2,428.83 - 19,161.07 4,150.14 - 12,582.10 15,591.34 -109,296.70

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -5,364.07 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -4,182.33 -1.24 หาค่าไม่ได้ -

ข-41
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-41 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 17,512.36 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 112.90 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 169,150.16 602.62 169,752.78 3,067.35 -166,685.43 -171,823.43
3 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -170,022.41
4 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -168,221.39
5 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -166,420.37
6 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -164,619.35
7 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -162,818.33
8 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -161,017.31
9 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -159,216.29
10 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -157,415.27
11 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -155,614.25
5,138.00 175,123.59 6,026.16 186,287.75 30,673.50 -155,614.25 -1,642,326.41

PV@ 6% 2,869.06 - 154,341.62 4,184.27 -147,288.29 17,128.08 -86,895.00


PV@ 7% 2,611.65 - 10,831.78 4,462.52 - 3,757.62 15,591.34 -79,098.72

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -4,129.62 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -3,242.69 -4.15 หาค่าไม่ได้ -

ข-42
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-42 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 16,286.49 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 105.00 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 157,309.65 560.43 157,870.09 3,067.35 -154,802.74 -159,581.08
3 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -157,691.41
4 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -155,801.75
5 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -153,912.09
6 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -152,022.42
7 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -150,132.76
8 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -148,243.10
9 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -146,353.44
10 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -144,463.77
11 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -142,574.11
4,778.34 162,864.94 5,604.33 173,247.61 30,673.50 -142,574.11 -1,515,554.26

PV@ 6% 2,668.23 - 143,537.71 3,891.37 - 136,978.11 17,128.08 -79,613.38


PV@ 7% 2,428.83 - 10,073.56 4,150.14 - 3,494.59 15,591.34 -72,470.42

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -3,835.43 -0.13 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -3,011.87 -4.46 หาค่าไม่ได้ -

ข-43
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-43 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 84,239.51 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 261.90 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 833,377.46 1,174.37 834,551.83 6,134.70 -828,417.13 -838,555.13
3 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -834,596.76
4 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -830,638.39
5 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -826,680.02
6 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -822,721.65
7 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -818,763.28
8 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -814,804.91
9 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -810,846.54
10 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -806,888.17
11 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -802,929.80
10,138.00 842,395.14 11,743.66 864,276.80 61,347.00 -802,929.80 -8,217,562.66

PV@ 6% 5,661.06 - 778,305.91 8,154.21 - 764,490.64 34,256.16 -448,356.00


PV@ 7% 5,153.15 -70,374.03 8,696.46 - 56,524.42 31,182.68 -408,129.22

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -18,341.29 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -14,202.43 -0.55 หาค่าไม่ได้ -

ข-44
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-44 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 78,342.75 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 243.57 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 775,041.04 1,092.16 776,133.20 6,134.70 -769,998.50 -779,426.84
3 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -775,316.13
4 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -771,205.42
5 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -767,094.70
6 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -762,983.99
7 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -758,873.28
8 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -754,762.56
9 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -750,651.85
10 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -746,541.14
11 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -742,430.43
9,428.34 783,427.48 10,921.61 803,777.43 61,347.00 -742,430.43 -7,618,714.68

PV@ 6% 5,264.79 - 723,824.50 7,583.42 - 710,976.29 34,256.16 -414,573.15


PV@ 7% 4,792.43 -65,447.85 8,087.71 - 52,567.71 31,182.68 -377,377.39

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -17,047.18 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -13,200.59 -0.59 หาค่าไม่ได้ -

ข-45
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-45 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 50,603.27 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 159.97 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 499,480.16 1,174.37 500,654.53 6,134.70 -494,519.83 -504,657.83
3 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -500,425.56
4 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -496,193.29
5 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -491,961.02
6 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -487,728.75
7 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -483,496.48
8 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -479,264.21
9 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -475,031.94
10 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -470,799.67
11 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -466,567.40
10,138.00 506,032.74 11,743.66 527,914.40 61,347.00 -466,567.40 -4,866,264.16

PV@ 6% 5,661.06 - 465,467.42 8,154.21 -451,652.15 34,256.16 -260,531.24


PV@ 7% 5,153.15 - 41,221.88 8,696.46 - 27,372.27 31,182.68 -237,156.21

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -11,526.13 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -8,984.68 -1.14 หาค่าไม่ได้ -

ข-46
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-46 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 47,061.04 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 148.78 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 464,516.55 1,092.16 465,608.71 6,134.70 -459,474.01 -468,902.35
3 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -464,536.91
4 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -460,171.47
5 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -455,806.03
6 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -451,440.59
7 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -447,075.15
8 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -442,709.71
9 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -438,344.27
10 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -433,978.83
11 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -429,613.39
9,428.34 470,610.45 10,921.61 490,960.39 61,347.00 -429,613.39 -4,502,007.07

PV@ 6% 5,264.79 - 432,884.70 7,583.42 -420,036.50 34,256.16 -239,896.12


PV@ 7% 4,792.43 - 38,336.35 8,087.71 - 25,456.21 31,182.68 -218,372.49

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -10,709.08 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -8,348.08 -1.22 หาค่าไม่ได้ -

ข-47
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-47 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อ
วัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 35,022.65 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 112.76 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 338,298.26 1,174.37 339,472.63 6,134.70 -333,337.93 -343,475.93
3 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -339,840.96
4 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -336,205.99
5 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -332,571.02
6 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -328,936.05
7 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -325,301.08
8 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -321,666.11
9 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -318,031.14
10 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -314,396.17
11 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -310,761.20
10,138.00 350,226.54 11,743.66 372,108.20 61,347.00 -310,761.20 -3,281,323.66

PV@ 6% 5,661.06 - 308,697.57 8,154.21 - 294,882.30 34,256.16 -173,529.06


PV@ 7% 5,153.15 - 21,678.85 8,696.46 - 7,829.24 31,182.68 -157,959.92

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -8,238.74 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -6,467.54 -3.98 หาค่าไม่ได้ -

ข-48
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-48 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 1,000,000


ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 32,571.07 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 104.87 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 314,617.39 1,092.16 315,709.55 6,134.70 -309,574.85 -319,003.19
3 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -315,193.24
4 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -311,383.28
5 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -307,573.33
6 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -303,763.38
7 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -299,953.43
8 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -296,143.48
9 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -292,333.53
10 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -288,523.58
11 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -284,713.63
9,428.34 325,710.68 10,921.61 346,060.63 61,347.00 -284,713.63 -3,028,012.41

PV@ 6% 5,264.79 -287,088.74 7,583.42 - 274,240.54 34,256.16 -158,984.09


PV@ 7% 4,792.43 - 20,161.33 8,087.71 - 7,281.19 31,182.68 -144,719.94

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -7,651.80 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -6,007.15 -4.28 หาค่าไม่ได้ -

ข-49
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-49 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 8,425.81 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 80.40 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 259.49 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 569.00 569.00 -569.00 -569.00
2 0 83,339.60 80.40 83,420.01 613.47 -82,806.54 -83,375.54
3 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -82,944.52
4 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -82,513.51
5 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -82,082.49
6 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -81,651.48
7 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -81,220.46
8 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -80,789.45
9 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -80,358.43
10 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -79,927.42
11 0 102.05 80.40 182.46 613.47 431.01 -79,496.40
569.00 84,258.09 804.01 85,631.10 6,134.70 -79,496.40 -814,928.68

PV@ 6% 317.73 - 77,817.69 558.26 - 76,941.70 3,425.62 -44,390.79


PV@ 7% 289.22 - 7,023.65 595.39 - 6,139.04 3,118.27 -40,408.02

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,769.75 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,364.02 -0.51 หาค่าไม่ได้ -

ข-50
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-50 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 529.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 7,836.00 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 74.77 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 241.32 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 529.17 529.17 -529.17 -529.17
2 0 77,505.83 74.77 77,580.60 613.47 -76,967.13 -77,496.30
3 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -77,052.52
4 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -76,608.73
5 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -76,164.94
6 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -75,721.16
7 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -75,277.37
8 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -74,833.58
9 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -74,389.80
10 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -73,946.01
11 0 94.91 74.77 169.68 613.47 443.79 -73,502.22
529.17 78,360.02 747.73 79,636.92 6,134.70 -73,502.22 -755,521.81

PV@ 6% 295.49 - 72,370.45 519.19 - 71,555.78 3,425.62 -41,043.64


PV@ 7% 268.98 - 6,531.99 553.71 - 5,709.30 3,118.27 -37,361.18

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,644.84 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,267.77 -0.55 หาค่าไม่ได้ -

ข-51
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-51 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 5,062.18 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 80.40 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 157.56 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 569.00 569.00 -569.00 -569.00
2 0 49,949.87 80.40 50,030.28 613.47 -49,416.81 -49,985.81
3 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -49,527.40
4 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -49,069.00
5 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -48,610.59
6 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -48,152.19
7 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -47,693.78
8 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -47,235.38
9 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -46,776.97
10 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -46,318.57
11 0 74.66 80.40 155.07 613.47 458.40 -45,860.16
569.00 50,621.85 804.01 51,994.86 6,134.70 -45,860.16 -479,798.83

PV@ 6% 317.73 - 46,533.84 558.26 - 45,657.85 3,425.62 -25,608.31


PV@ 7% 289.22 - 4,108.43 595.39 - 3,223.82 3,118.27 -23,310.72

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,088.23 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -842.24 -0.97 หาค่าไม่ได้ -

ข-52
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-52 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 529.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 4,707.83 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 74.77 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 146.53 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 529.17 529.17 -529.17 -529.17
2 0 46,453.38 74.77 46,528.16 613.47 -45,914.69 -46,443.86
3 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -45,974.60
4 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -45,505.34
5 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -45,036.08
6 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -44,566.82
7 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -44,097.56
8 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -43,628.30
9 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -43,159.04
10 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -42,689.78
11 0 69.44 74.77 144.21 613.47 469.26 -42,220.52
529.17 47,078.32 747.73 48,355.22 6,134.70 -42,220.52 -443,851.05

PV@ 6% 295.49 - 43,276.47 519.19 - 42,461.80 3,425.62 -23,575.94


PV@ 7% 268.98 - 3,820.84 553.71 - 2,998.15 3,118.27 -21,460.69

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,011.03 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -782.52 -1.04 หาค่าไม่ได้ -

ข-53
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-53 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 3,504.12 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 80.40 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 110.35 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 569.00 569.00 -569.00 -569.00
2 0 33,831.68 80.40 33,912.09 613.47 -33,298.62 -33,867.62
3 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -33,468.94
4 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -33,070.27
5 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -32,671.59
6 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -32,272.92
7 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -31,874.24
8 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -31,475.57
9 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -31,076.89
10 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -30,678.22
11 0 134.39 80.40 214.80 613.47 398.67 -30,279.54
569.00 35,041.23 804.01 36,414.24 6,134.70 -30,279.54 -321,304.78

PV@ 6% 317.73 - 30,856.86 558.26 - 29,980.86 3,425.62 -16,908.10


PV@ 7% 289.22 - 2,154.13 595.39 - 1,269.52 3,118.27 -15,391.09

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -759.49 -0.11 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -590.53 -2.46 หาค่าไม่ได้ -

ข-54
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-54 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 529.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 3,258.83 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 74.77 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 102.62 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 529.17 529.17 -529.17 -529.17
2 0 31,463.47 74.77 31,538.24 613.47 -30,924.77 -31,453.94
3 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -31,040.23
4 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -30,626.52
5 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -30,212.81
6 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -29,799.10
7 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -29,385.39
8 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -28,971.68
9 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -28,557.96
10 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -28,144.25
11 0 124.99 74.77 199.76 613.47 413.71 -27,730.54
529.17 32,588.34 747.73 33,865.24 6,134.70 -27,730.54 -296,451.58

PV@ 6% 295.49 - 28,696.88 519.19 - 27,882.20 3,425.62 -15,484.74


PV@ 7% 268.98 - 2,003.34 553.71 - 1,180.65 3,118.27 -14,095.44

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -705.31 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -548.42 -2.64 หาค่าไม่ได้ -

ข-55
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-55 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 12,637.68 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 80.40 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 258.08 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 569.00 569.00 -569.00 -569.00
2 0 125,008.37 80.40 125,088.78 920.21 -124,168.57 -124,737.57
3 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -124,049.82
4 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -123,362.06
5 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -122,674.31
6 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -121,986.55
7 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -121,298.80
8 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -120,611.04
9 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -119,923.29
10 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -119,235.53
11 0 152.05 80.40 232.45 920.21 687.75 -118,547.78
569.00 126,376.82 804.01 127,749.83 9,202.05 -118,547.78 -1,216,995.73

PV@ 6% 317.73 - 116,733.70 558.26 - 115,857.71 5,138.42 -66,197.08


PV@ 7% 289.22 - 10,543.11 595.39 - 9,658.50 4,677.40 -60,257.83

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -2,613.00 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -2,009.72 -0.48 หาค่าไม่ได้ -

ข-56
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-56 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 529.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 11,753.04 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 74.77 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 240.01 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 529.17 529.17 -529.17 -529.17
2 0 116,257.79 74.77 116,332.56 920.21 -115,412.36 -115,941.53
3 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -115,237.50
4 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -114,533.47
5 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -113,829.45
6 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -113,125.42
7 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -112,421.39
8 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -111,717.37
9 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -111,013.34
10 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -110,309.31
11 0 141.41 74.77 216.18 920.21 704.03 -109,605.29
529.17 117,530.44 747.73 118,807.34 9,202.05 -109,605.29 -1,128,263.24

PV@ 6% 295.49 - 108,562.35 519.19 -107,747.67 5,138.42 -61,203.59


PV@ 7% 268.98 -9,805.09 553.71 -8,982.41 4,677.40 -55,712.37

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -2,428.56 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,867.89 -0.52 หาค่าไม่ได้ -

ข-57
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-57 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 7,592.25 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 80.40 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 156.15 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 569.00 569.00 -569.00 -569.00
2 0 74,923.78 80.40 75,004.18 920.21 -74,083.98 -74,652.98
3 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -73,924.14
4 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -73,195.30
5 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -72,466.46
6 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -71,737.62
7 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -71,008.78
8 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -70,279.94
9 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -69,551.10
10 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -68,822.26
11 0 110.96 80.40 191.37 920.21 728.84 -68,093.42
569.00 75,922.46 804.01 77,295.47 9,202.05 -68,093.42 -714,300.95

PV@ 6% 317.73 - 69,807.93 558.26 - 68,931.94 5,138.42 -38,023.36


PV@ 7% 289.22 -6,170.29 595.39 - 5,285.68 4,677.40 -34,611.88

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,590.72 -0.07 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,227.06 -0.88 หาค่าไม่ได้ -

ข-58
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-58 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 529.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 7,060.79 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 74.77 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 145.22 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 529.17 529.17 -529.17 -529.17
2 0 69,679.11 74.77 69,753.89 920.21 -68,833.68 -69,362.85
3 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -68,620.62
4 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -67,878.38
5 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -67,136.15
6 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -66,393.91
7 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -65,651.67
8 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -64,909.44
9 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -64,167.20
10 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -63,424.97
11 0 103.20 74.77 177.97 920.21 742.24 -62,682.73
529.17 70,607.88 747.73 71,884.78 9,202.05 -62,682.73 -660,757.10

PV@ 6% 295.49 - 64,921.38 519.19 -64,106.70 5,138.42 -35,002.04


PV@ 7% 268.98 - 5,738.37 553.71 -4,915.68 4,677.40 -31,861.63

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,477.84 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -1,140.02 -0.95 หาค่าไม่ได้ -

ข-59
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-59 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 5,255.15 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 80.40 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 108.94 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 569.00 569.00 -569.00 -569.00
2 0 50,746.49 80.40 50,826.90 920.21 -49,906.69 -50,475.69
3 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -49,836.45
4 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -49,197.20
5 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -48,557.96
6 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -47,918.71
7 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -47,279.47
8 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -46,640.22
9 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -46,000.98
10 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -45,361.73
11 0 200.56 80.40 280.96 920.21 639.24 -44,722.49
569.00 52,551.53 804.01 53,924.54 9,202.05 -44,722.49 -476,559.88

PV@ 6% 317.73 - 46,292.45 558.26 - 45,416.46 5,138.42 -24,973.04


PV@ 7% 289.22 - 3,238.84 595.39 - 2,354.22 4,677.40 -22,732.44

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,097.62 -0.11 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -849.49 -1.99 หาค่าไม่ได้ -

ข-60
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-60 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 529.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 4,887.29 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 74.77 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 101.31 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 529.17 529.17 -529.17 -529.17
2 0 47,194.24 74.77 47,269.01 920.21 -46,348.81 -46,877.98
3 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -46,219.07
4 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -45,560.15
5 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -44,901.24
6 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -44,242.33
7 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -43,583.42
8 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -42,924.50
9 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -42,265.59
10 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -41,606.68
11 0 186.52 74.77 261.29 920.21 658.91 -40,947.77
529.17 48,872.92 747.73 50,149.82 9,202.05 -40,947.77 -439,657.90

PV@ 6% 295.49 - 43,051.98 519.19 - 42,237.31 5,138.42 -22,865.23


PV@ 7% 268.98 - 3,012.12 553.71 - 2,189.43 4,677.40 -20,813.75

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,019.25 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -788.88 -2.14 หาค่าไม่ได้ -

ข-61
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-61 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 2,569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 42,120.79 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 309.10 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 258.71 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 2,569.00 2,569.00 -2,569.00 -2,569.00
2 0 416,689.76 309.10 416,998.87 3,067.35 -413,931.52 -416,500.52
3 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -414,244.28
4 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -411,988.05
5 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -409,731.81
6 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -407,475.58
7 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -405,219.34
8 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -402,963.11
9 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -400,706.87
10 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -398,450.64
11 0 502.01 309.10 811.12 3,067.35 2,256.23 -396,194.40
2,569.00 421,207.89 3,091.01 426,867.90 30,673.50 -396,194.40 -4,066,043.58

PV@ 6% 1,434.53 - 389,145.79 2,146.24 - 385,565.02 17,128.08 -221,234.95


PV@ 7% 1,305.82 - 35,179.37 2,288.97 - 31,584.58 15,591.34 -201,385.61

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -8,806.91 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -6,783.77 -0.49 หาค่าไม่ได้ -

ข-62
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-62 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 2,389.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 39,172.33 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 287.46 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 240.60 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 2,389.17 2,389.17 -2,389.17 -2,389.17
2 0 387,521.48 287.46 387,808.94 3,067.35 -384,741.59 -387,130.76
3 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -384,817.75
4 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -382,504.74
5 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -380,191.73
6 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -377,878.71
7 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -375,565.70
8 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -373,252.69
9 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -370,939.67
10 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -368,626.66
11 0 466.87 287.46 754.34 3,067.35 2,313.01 -366,313.65
2,389.17 391,723.34 2,874.64 396,987.15 30,673.50 -366,313.65 -3,769,611.23

PV@ 6% 1,334.11 - 361,905.58 1,996.01 - 358,575.47 17,128.08 -204,549.54


PV@ 7% 1,214.42 - 32,716.82 2,128.74 - 29,373.66 15,591.34 -186,197.23

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -8,185.31 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -6,305.07 -0.53 หาค่าไม่ได้ -

ข-63
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-63 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 2,569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 25,302.67 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 309.10 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 156.78 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 2,569.00 2,569.00 -2,569.00 -2,569.00
2 0 249,741.11 309.10 250,050.22 3,067.35 -246,982.87 -249,551.87
3 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -247,158.68
4 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -244,765.50
5 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -242,372.31
6 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -239,979.13
7 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -237,585.94
8 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -235,192.76
9 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -232,799.57
10 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -230,406.39
11 0 365.06 309.10 674.17 3,067.35 2,393.18 -228,013.20
2,569.00 253,026.69 3,091.01 258,686.70 30,673.50 -228,013.20 -2,390,394.33

PV@ 6% 1,434.53 - 232,726.54 2,146.24 - 229,145.77 17,128.08 -127,322.57


PV@ 7% 1,305.82 - 20,603.30 2,288.97 - 17,008.51 15,591.34 -115,899.11

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -5,399.33 -0.07 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -4,174.89 -0.92 หาค่าไม่ได้ -

ข-64
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-64 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 2,389.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 23,531.48 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 287.46 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 145.81 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 2,389.17 2,389.17 -2,389.17 -2,389.17
2 0 232,259.24 287.46 232,546.70 3,067.35 -229,479.35 -231,868.52
3 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -229,428.14
4 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -226,987.77
5 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -224,547.39
6 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -222,107.01
7 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -219,666.64
8 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -217,226.26
9 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -214,785.88
10 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -212,345.51
11 0 339.51 287.46 626.97 3,067.35 2,440.38 -209,905.13
2,389.17 235,314.82 2,874.64 240,578.63 30,673.50 -209,905.13 -2,211,257.43

PV@ 6% 1,334.11 - 216,435.69 1,996.01 - 213,105.57 17,128.08 -117,211.03


PV@ 7% 1,214.42 - 19,161.07 2,128.74 -15,817.91 15,591.34 -106,694.78

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -5,016.26 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -3,878.81 -0.99 หาค่าไม่ได้ -

ข-65
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-65 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 2,569.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 17,512.36 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 309.10 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 109.57 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 2,569.00 2,569.00 -2,569.00 -2,569.00
2 0 169,150.16 309.10 169,459.27 3,067.35 -166,391.92 -168,960.92
3 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -166,866.38
4 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -164,771.85
5 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -162,677.31
6 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -160,582.78
7 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -158,488.24
8 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -156,393.71
9 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -154,299.17
10 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -152,204.64
11 0 663.71 309.10 972.82 3,067.35 2,094.53 -150,110.10
2,569.00 175,123.59 3,091.01 180,783.60 30,673.50 -150,110.10 -1,597,924.08

PV@ 6% 1,434.53 - 154,341.62 2,146.24 - 150,760.85 17,128.08 -83,821.48


PV@ 7% 1,305.82 - 10,831.78 2,288.97 - 7,236.99 15,591.34 -76,300.96

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -3,755.63 -0.11 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -2,916.32 -2.15 หาค่าไม่ได้ -

ข-66
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-66 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซังข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 2,389.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 16,286.49 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 287.46 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 101.90 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 2,389.17 2,389.17 -2,389.17 -2,389.17
2 0 157,309.65 287.46 157,597.12 3,067.35 -154,529.77 -156,918.94
3 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -154,756.30
4 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -152,593.67
5 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -150,431.04
6 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -148,268.41
7 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -146,105.78
8 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -143,943.14
9 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -141,780.51
10 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -139,617.88
11 0 617.25 287.46 904.72 3,067.35 2,162.63 -137,455.25
2,389.17 162,864.94 2,874.64 168,128.75 30,673.50 -137,455.25 -1,474,260.09

PV@ 6% 1,334.11 - 143,537.71 1,996.01 - 140,207.59 17,128.08 -76,755.01


PV@ 7% 1,214.42 - 10,073.56 2,128.74 - 6,730.40 15,591.34 -69,868.50

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -3,487.62 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -2,708.35 -2.32 หาค่าไม่ได้ -

ข-67
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-67 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,069.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 84,239.51 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 594.98 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 258.61 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 5,069.00 5,069.00 -5,069.00 -5,069.00
2 0 833,377.46 594.98 833,972.44 6,134.70 -827,837.74 -832,906.74
3 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -828,368.98
4 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -823,831.22
5 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -819,293.46
6 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -814,755.70
7 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -810,217.94
8 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -805,680.18
9 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -801,142.42
10 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -796,604.66
11 0 1,001.96 594.98 1,596.94 6,134.70 4,537.76 -792,066.90
5,069.00 842,395.14 5,949.76 853,413.90 61,347.00 -792,066.90 -8,129,937.20

PV@ 6% 2,830.53 -778,305.91 4,131.22 - 771,344.16 34,256.16 -442,290.16


PV@ 7% 2,576.57 - 70,374.03 4,405.94 - 63,391.52 31,182.68 -402,607.61

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -17,603.36 -0.04 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -13,558.46 -0.49 หาค่าไม่ได้ -

ข-68
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-68 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,714.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 78,342.75 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 553.33 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 240.51 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,714.17 4,714.17 -4,714.17 -4,714.17
2 0 775,041.04 553.33 775,594.37 6,134.70 -769,459.67 -774,173.84
3 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -769,524.29
4 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -764,874.75
5 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -760,225.20
6 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -755,575.66
7 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -750,926.11
8 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -746,276.56
9 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -741,627.02
10 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -736,977.47
11 0 931.83 553.33 1,485.15 6,134.70 4,649.55 -732,327.93
4,714.17 783,427.48 5,533.28 793,674.93 61,347.00 -732,327.93 -7,537,223.00

PV@ 6% 2,632.39 -723,824.50 3,842.03 - 717,350.07 34,256.16 -408,931.91


PV@ 7% 2,396.21 -65,447.85 4,097.52 - 58,954.11 31,182.68 -372,242.29

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -16,360.90 -0.05 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -12,601.70 -0.53 หาค่าไม่ได้ -

ข-69
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-69 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,069.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 50,603.27 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 594.98 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 156.68 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,069.00 5,069.00 -5,069.00 -5,069.00
2 0 499,480.16 594.98 500,075.14 6,134.70 -493,940.44 -499,009.44
3 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -494,197.78
4 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -489,386.12
5 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -484,574.46
6 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -479,762.80
7 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -474,951.14
8 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -470,139.48
9 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -465,327.82
10 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -460,516.16
11 0 728.06 594.98 1,323.04 6,134.70 4,811.66 -455,704.50
5,069.00 506,032.74 5,949.76 517,051.50 61,347.00 -455,704.50 -4,778,638.70

PV@ 6% 2,830.53 - 465,467.42 4,131.22 - 458,505.67 34,256.16 -254,465.39


PV@ 7% 2,576.57 - 41,221.88 4,405.94 - 34,239.37 31,182.68 -231,634.60

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -10,788.19 -0.07 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -8,340.70 -0.91 หาค่าไม่ได้ -

ข-70
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-70 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,714.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 47,061.04 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 553.33 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 145.71 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,714.17 4,714.17 -4,714.17 -4,714.17
2 0 464,516.55 553.33 465,069.88 6,134.70 -458,935.18 -463,649.35
3 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -458,745.08
4 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -453,840.80
5 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -448,936.53
6 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -444,032.26
7 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -439,127.99
8 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -434,223.71
9 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -429,319.44
10 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -424,415.17
11 0 677.10 553.33 1,230.43 6,134.70 4,904.27 -419,510.90
4,714.17 470,610.45 5,533.28 480,857.90 61,347.00 -419,510.90 -4,420,515.40

PV@ 6% 2,632.39 - 432,884.70 3,842.03 - 426,410.28 34,256.16 -234,254.88


PV@ 7% 2,396.21 - 38,336.35 4,097.52 -31,842.61 31,182.68 -213,237.39

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -10,022.80 -0.08 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -7,749.19 -0.98 หาค่าไม่ได้ -

ข-71
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-71 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อ
วัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,069.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 35,022.65 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 594.98 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 109.47 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,069.00 5,069.00 -5,069.00 -5,069.00
2 0 338,298.26 594.98 338,893.24 6,134.70 -332,758.54 -337,827.54
3 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -333,613.18
4 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -329,398.82
5 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -325,184.46
6 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -320,970.10
7 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -316,755.74
8 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -312,541.38
9 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -308,327.02
10 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -304,112.66
11 0 1,325.36 594.98 1,920.34 6,134.70 4,214.36 -299,898.30
5,069.00 350,226.54 5,949.76 361,245.30 61,347.00 -299,898.30 -3,193,698.20

PV@ 6% 2,830.53 - 308,697.57 4,131.22 - 301,735.82 34,256.16 -167,463.21


PV@ 7% 2,576.57 - 21,678.85 4,405.94 - 14,696.34 31,182.68 -152,438.31

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -7,500.80 -0.11 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -5,823.57 -2.12 หาค่าไม่ได้ -

ข-72
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-72 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 1,000,000


ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบร้อยละ50 แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายปี ที่ 2 ถึงปี ที่ 10

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,714.17 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 32,571.07 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 553.33 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 101.81 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,714.17 4,714.17 -4,714.17 -4,714.17
2 0 314,617.39 553.33 315,170.71 6,134.70 -309,036.01 -313,750.18
3 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -309,401.40
4 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -305,052.62
5 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -300,703.83
6 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -296,355.05
7 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -292,006.26
8 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -287,657.48
9 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -283,308.70
10 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -278,959.91
11 0 1,232.59 553.33 1,785.92 6,134.70 4,348.78 -274,611.13
4,714.17 325,710.68 5,533.28 335,958.13 61,347.00 -274,611.13 -2,946,520.73

PV@ 6% 2,632.39 - 287,088.74 3,842.03 - 280,614.32 34,256.16 -153,342.85


PV@ 7% 2,396.21 - 20,161.33 4,097.52 - 13,667.59 31,182.68 -139,584.84

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -6,965.52 -0.12 หาค่าไม่ได้ -
อัตราคิดลด 7% -5,408.25 -2.28 หาค่าไม่ได้ -

ข-73
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-73 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 102.05 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 10.94 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -771.80
3 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -405.60
4 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 -39.40
5 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 326.80
6 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 693.00
7 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 1,059.20
8 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 1,425.40
9 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 1,791.60
10 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 2,157.80
11 0 102.05 145.22 247.27 613.47 366.20 2,524.00
1,138.00 1,020.54 1,452.16 3,610.70 6,134.70 2,524.00 7,622.99

PV@ 6% 635.46 708.61 1,008.31 2,352.38 3,425.62 1,409.40


PV@ 7% 578.45 755.73 1,075.36 2,409.54 3,118.27 1,282.95

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -153.85 1.46 23% 5
อัตราคิดลด 7% -135.71 1.29 23% 5

ข-74
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-74 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 94.91 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 10.18 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -674.83
3 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 -291.32
4 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 92.19
5 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 475.69
6 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 859.20
7 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 1,242.71
8 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 1,626.22
9 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 2,009.73
10 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 2,393.24
11 0 94.91 135.05 229.96 613.47 383.51 2,776.75
1,058.34 949.10 1,350.51 3,357.95 6,134.70 2,776.75 9,451.24

PV@ 6% 590.98 659.01 937.73 2,187.71 3,425.62 1,550.54


PV@ 7% 537.95 702.83 1,000.09 2,240.87 3,118.27 1,411.42

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -142.06 1.57 29% 4
อัตราคิดลด 7% -125.44 1.39 29% 4

ข-75
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-75 การวิเคราะห์ โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 74.66 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 10.11 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -744.41
3 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 -350.82
4 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 42.77
5 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 436.36
6 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 829.95
7 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 1,223.54
8 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 1,617.13
9 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 2,010.72
10 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 2,404.31
11 0 74.66 145.22 219.88 613.47 393.59 2,797.90
1,138.00 746.64 1,452.16 3,336.80 6,134.70 2,797.90 9,129.44

PV@ 6% 635.46 518.43 1,008.31 2,162.20 3,425.62 1,562.35


PV@ 7% 578.45 552.90 1,075.36 2,206.71 3,118.27 1,422.17

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -153.20 1.58 26% 4
อัตราคิดลด 7% -135.22 1.41 26% 4

ข-76
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-76 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 69.44 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 9.40 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -649.36
3 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 -240.38
4 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 168.60
5 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 577.59
6 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 986.57
7 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 1,395.55
8 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 1,804.53
9 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 2,213.51
10 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 2,622.49
11 0 69.44 135.05 204.49 613.47 408.98 3,031.47
1,058.34 694.38 1,350.51 3,103.23 6,134.70 3,031.47 10,852.24

PV@ 6% 590.98 482.14 937.73 2,010.84 3,425.62 1,692.78


PV@ 7% 537.95 514.20 1,000.09 2,052.24 3,118.27 1,540.90

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -141.45 1.70 32% 4
อัตราคิดลด 7% -124.99 1.52 32% 4

ข-77
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-77 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 134.39 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 11.92 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -804.14
3 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -470.28
4 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 -136.42
5 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 197.44
6 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 531.30
7 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 865.16
8 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 1,199.02
9 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 1,532.88
10 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 1,866.74
11 0 134.39 145.22 279.61 613.47 333.86 2,200.60
1,138.00 1,343.94 1,452.16 3,934.10 6,134.70 2,200.60 5,844.29

PV@ 6% 635.46 933.16 1,008.31 2,576.93 3,425.62 1,228.81


PV@ 7% 578.45 995.22 1,075.36 2,649.03 3,118.27 1,118.56

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -154.62 1.33 18% 5
อัตราคิดลด 7% -136.29 1.18 18% 5

ข-78
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-78 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 124.99 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 11.09 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -704.91
3 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 -351.47
4 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 1.96
5 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 355.39
6 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 708.82
7 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 1,062.26
8 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 1,415.69
9 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 1,769.12
10 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 2,122.55
11 0 124.99 135.05 260.04 613.47 353.43 2,475.99
1,058.34 1,249.86 1,350.51 3,658.71 6,134.70 2,475.99 7,797.05

PV@ 6% 590.98 867.84 937.73 2,396.55 3,425.62 1,382.59


PV@ 7% 537.95 925.55 1,000.09 2,463.59 3,118.27 1,258.54

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -142.78 1.43 25% 4
อัตราคิดลด 7% -125.98 1.27 25% 4

ข-79
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-79 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 152.05 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.30 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 -515.06
3 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 107.88
4 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 730.82
5 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 1,353.76
6 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 1,976.70
7 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 2,599.64
8 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 3,222.58
9 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 3,845.52
10 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 4,468.46
11 0 152.05 145.22 297.27 920.21 622.94 5,091.40
1,138.00 1,520.49 1,452.16 4,110.65 9,202.05 5,091.40 21,743.69

PV@ 6% 635.46 1,055.75 1,008.31 2,699.52 5,138.42 2,843.04


PV@ 7% 578.45 1,125.96 1,075.36 2,779.77 4,677.40 2,587.96

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -147.74 1.90 51% 3
อัตราคิดลด 7% -131.13 1.68 51% 3

ข-80
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-80 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 141.41 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 7.72 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 -414.59
3 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 229.16
4 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 872.91
5 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 1,516.65
6 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 2,160.40
7 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 2,804.15
8 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 3,447.90
9 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 4,091.65
10 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 4,735.40
11 0 141.41 135.05 276.46 920.21 643.75 5,379.14
1,058.34 1,414.06 1,350.51 3,822.91 9,202.05 5,379.14 23,764.42

PV@ 6% 590.98 981.85 937.73 2,510.55 5,138.42 3,003.71


PV@ 7% 537.95 1,047.14 1,000.09 2,585.18 4,677.40 2,734.22

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -135.86 2.05 58% 3
อัตราคิดลด 7% -120.80 1.81 58% 3

ข-81
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-81 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 110.96 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 7.47 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 -473.98
3 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 190.05
4 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 854.07
5 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 1,518.10
6 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 2,182.12
7 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 2,846.15
8 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 3,510.17
9 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 4,174.20
10 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 4,838.22
11 0 110.96 145.22 256.18 920.21 664.02 5,502.25
1,138.00 1,109.64 1,452.16 3,699.80 9,202.05 5,502.25 24,003.36

PV@ 6% 635.46 770.48 1,008.31 2,414.25 5,138.42 3,072.46


PV@ 7% 578.45 821.72 1,075.36 2,475.52 4,677.40 2,796.79

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -146.76 2.13 56% 3
อัตราคิดลด 7% -130.39 1.89 56% 3

ข-82
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-82 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 103.20 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 6.95 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 -376.38
3 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 305.57
4 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 987.53
5 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 1,669.49
6 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 2,351.45
7 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 3,033.40
8 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 3,715.36
9 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 4,397.32
10 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 5,079.28
11 0 103.20 135.05 238.25 920.21 681.96 5,761.23
1,058.34 1,031.97 1,350.51 3,440.82 9,202.05 5,761.23 25,865.92

PV@ 6% 590.98 716.55 937.73 2,245.25 5,138.42 3,217.07


PV@ 7% 537.95 764.19 1,000.09 2,302.23 4,677.40 2,928.44

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -134.95 2.29 62% 3
อัตราคิดลด 7% -120.11 2.03 62% 3

ข-83
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-83 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 200.56 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 145.22 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 9.28 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,138.00 1,138.00 -1,138.00 -1,138.00
2 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 -563.57
3 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 10.86
4 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 585.29
5 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 1,159.72
6 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 1,734.15
7 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 2,308.58
8 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 2,883.01
9 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 3,457.44
10 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 4,031.87
11 0 200.56 145.22 345.78 920.21 574.43 4,606.30
1,138.00 2,005.59 1,452.16 4,595.75 9,202.05 4,606.30 19,075.64

PV@ 6% 635.46 1,392.58 1,008.31 3,036.35 5,138.42 2,572.16


PV@ 7% 578.45 1,485.19 1,075.36 3,138.99 4,677.40 2,341.38

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -148.89 1.69 47% 3
อัตราคิดลด 7% -131.99 1.49 47% 3

ข-84
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-84 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 1,058.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 186.52 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 135.05 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.63 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 1,058.34 1,058.34 -1,058.34 -1,058.34
2 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 -459.71
3 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 138.93
4 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 737.56
5 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 1,336.20
6 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 1,934.83
7 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 2,533.46
8 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 3,132.10
9 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 3,730.73
10 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 4,329.37
11 0 186.52 135.05 321.57 920.21 598.63 4,928.00
1,058.34 1,865.20 1,350.51 4,274.05 9,202.05 4,928.00 21,283.13

PV@ 6% 590.98 1,295.10 937.73 2,823.80 5,138.42 2,751.80


PV@ 7% 537.95 1,381.22 1,000.09 2,919.26 4,677.40 2,504.90

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -136.94 1.82 54% 3
อัตราคิดลด 7% -121.60 1.60 54% 3

ข-85
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-85 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ น กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 502.01 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 9.81 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -3,175.28
3 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 -1,212.56
4 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 750.16
5 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 2,712.88
6 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 4,675.60
7 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 6,638.32
8 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 8,601.04
9 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 10,563.76
10 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 12,526.48
11 0 502.01 602.62 1,104.63 3,067.35 1,962.72 14,489.20
5,138.00 5,020.14 6,026.16 16,184.30 30,673.50 14,489.20 51,431.59

PV@ 6% 2,869.06 3,485.73 4,184.27 10,539.06 17,128.08 8,090.77


PV@ 7% 2,611.65 3,717.53 4,462.52 10,791.70 15,591.34 7,364.86

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -687.27 1.63 31% 4
อัตราคิดลด 7% -607.20 1.44 31% 4

ข-86
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-86 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 466.87 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 9.12 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -2,738.30
3 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 -698.25
4 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 1,341.79
5 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 3,381.84
6 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 5,421.88
7 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 7,461.92
8 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 9,501.97
9 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 11,542.01
10 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 13,582.06
11 0 466.87 560.43 1,027.31 3,067.35 2,040.04 15,622.10
4,778.34 4,668.73 5,604.33 15,051.40 30,673.50 15,622.10 59,640.68

PV@ 6% 2,668.23 3,241.73 3,891.37 9,801.32 17,128.08 8,723.38


PV@ 7% 2,428.83 3,457.31 4,150.14 10,036.28 15,591.34 7,940.71

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -634.05 1.75 37% 4
อัตราคิดลด 7% -560.86 1.55 37% 4

ข-87
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-87 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิ นกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 365.06 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.98 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -3,038.33
3 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 -938.66
4 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 1,161.01
5 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 3,260.68
6 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 5,360.35
7 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 7,460.02
8 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 9,559.69
9 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 11,659.36
10 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 13,759.03
11 0 365.06 602.62 967.68 3,067.35 2,099.67 15,858.70
5,138.00 3,650.64 6,026.16 14,814.80 30,673.50 15,858.70 58,963.84

PV@ 6% 2,869.06 2,534.82 4,184.27 9,588.15 17,128.08 8,855.50


PV@ 7% 2,611.65 2,703.39 4,462.52 9,777.55 15,591.34 8,060.98

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -684.01 1.79 35% 4
อัตราคิดลด 7% -604.76 1.59 35% 4

ข-88
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-88 การวิเคราะห์ โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 339.51 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.35 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -2,610.93
3 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 -443.53
4 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 1,723.88
5 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 3,891.29
6 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 6,058.70
7 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 8,226.10
8 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 10,393.51
9 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 12,560.92
10 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 14,728.33
11 0 339.51 560.43 899.94 3,067.35 2,167.41 16,895.73
4,778.34 3,395.10 5,604.33 13,777.77 30,673.50 16,895.73 66,645.67

PV@ 6% 2,668.23 2,357.38 3,891.37 8,916.98 17,128.08 9,434.58


PV@ 7% 2,428.83 2,514.15 4,150.14 9,093.12 15,591.34 8,588.10

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -631.02 1.92 40% 4
อัตราคิดลด 7% -558.59 1.71 40% 4

ข-89
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-89 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 5,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 663.71 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 602.62 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 10.79 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 5,138.00 5,138.00 -5,138.00 -5,138.00
2 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -3,336.98
3 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 -1,535.96
4 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 265.06
5 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 2,066.08
6 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 3,867.10
7 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 5,668.12
8 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 7,469.14
9 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 9,270.16
10 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 11,071.18
11 0 663.71 602.62 1,266.33 3,067.35 1,801.02 12,872.20
5,138.00 6,637.14 6,026.16 17,801.30 30,673.50 12,872.20 42,538.09

PV@ 6% 2,869.06 4,608.50 4,184.27 11,661.82 17,128.08 7,187.84


PV@ 7% 2,611.65 4,914.96 4,462.52 11,989.12 15,591.34 6,542.94

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -691.12 1.47 27% 4
อัตราคิดลด 7% -610.09 1.30 27% 4

ข-90
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-90 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 4,778.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 617.25 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 560.43 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 10.03 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 4,778.34 4,778.34 -4,778.34 -4,778.34
2 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -2,888.68
3 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 -999.01
4 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 890.65
5 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 2,780.31
6 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 4,669.97
7 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 6,559.64
8 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 8,449.30
9 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 10,338.96
10 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 12,228.63
11 0 617.25 560.43 1,177.69 3,067.35 1,889.66 14,118.29
4,778.34 6,172.54 5,604.33 16,555.21 30,673.50 14,118.29 51,369.72

PV@ 6% 2,668.23 4,285.90 3,891.37 10,845.50 17,128.08 7,883.65


PV@ 7% 2,428.83 4,570.91 4,150.14 11,149.89 15,591.34 7,176.33

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -637.63 1.58 33% 4
อัตราคิดลด 7% -563.55 1.40 33% 4

ข-91
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-91 การวิเคราะห์โครงการทางการเงิน กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 1,001.96 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 9.67 บาท/ลิตร

ค่า ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
ดําเนินการ สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -6,179.63
3 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 -2,221.26
4 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 1,737.11
5 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 5,695.48
6 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 9,653.85
7 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 13,612.22
8 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 17,570.59
9 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 21,528.96
10 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 25,487.33
11 0 1,001.96 1,174.37 2,176.33 6,134.70 3,958.37 29,445.70
10,138.00 10,019.64 11,743.66 31,901.30 61,347.00 29,445.70 106,192.34

PV@ 6% 5,661.06 6,957.14 8,154.21 20,772.41 34,256.16 16,442.48


PV@ 7% 5,153.15 7,419.78 8,696.46 21,269.39 31,182.68 14,967.25

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,354.04 1.65 32% 4
อัตราคิดลด 7% -1,196.56 1.47 32% 4

ข-92
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-92 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 931.83 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.99 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -5,317.63
3 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 -1,206.91
4 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 2,903.80
5 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 7,014.51
6 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 11,125.22
7 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 15,235.94
8 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 19,346.65
9 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 23,457.36
10 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 27,568.08
11 0 931.83 1,092.16 2,023.99 6,134.70 4,110.71 31,678.79
9,428.34 9,318.27 10,921.61 29,668.21 61,347.00 31,678.79 122,377.47

PV@ 6% 5,264.79 6,470.14 7,583.42 19,318.34 34,256.16 17,689.44


PV@ 7% 4,792.43 6,900.40 8,087.71 19,780.54 31,182.68 16,102.33

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,249.03 1.77 38% 4
อัตราคิดลด 7% -1,105.14 1.58 38% 4

ข-93
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-93 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 728.06 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.84 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -5,905.73
3 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 -1,673.46
4 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 2,558.81
5 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 6,791.08
6 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 11,023.35
7 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 15,255.62
8 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 19,487.89
9 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 23,720.16
10 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 27,952.43
11 0 728.06 1,174.37 1,902.43 6,134.70 4,232.27 32,184.70
10,138.00 7,280.64 11,743.66 29,162.30 61,347.00 32,184.70 121,256.84

PV@ 6% 5,661.06 5,055.31 8,154.21 18,870.58 34,256.16 17,971.94


PV@ 7% 5,153.15 5,391.49 8,696.46 19,241.10 31,182.68 16,359.48

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,347.52 1.82 36% 4
อัตราคิดลด 7% -1,191.67 1.62 36% 4

ข-94
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-94 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 677.10 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 8.22 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -5,062.90
3 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 -697.46
4 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 3,667.98
5 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 8,033.42
6 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 12,398.86
7 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 16,764.30
8 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 21,129.74
9 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 25,495.18
10 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 29,860.62
11 0 677.10 1,092.16 1,769.26 6,134.70 4,365.44 34,226.06
9,428.34 6,771.00 10,921.61 27,120.94 61,347.00 34,226.06 136,387.46

PV@ 6% 5,264.79 4,701.44 7,583.42 17,549.64 34,256.16 19,111.83


PV@ 7% 4,792.43 5,014.08 8,087.71 17,894.22 31,182.68 17,397.11

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,242.97 1.95 42% 4
อัตราคิดลด 7% -1,100.59 1.74 42% 4

ข-95
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-95 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อ
วัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 10,138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 1,325.36 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,174.37 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 10.65 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 10,138.00 10,138.00 -10,138.00 -10,138.00
2 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -6,503.03
3 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 -2,868.06
4 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 766.91
5 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 4,401.88
6 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 8,036.85
7 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 11,671.82
8 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 15,306.79
9 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 18,941.76
10 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 22,576.73
11 0 1,325.36 1,174.37 2,499.73 6,134.70 3,634.97 26,211.70
10,138.00 13,253.64 11,743.66 35,135.30 61,347.00 26,211.70 88,405.34

PV@ 6% 5,661.06 9,202.66 8,154.21 23,017.94 34,256.16 14,636.61


PV@ 7% 5,153.15 9,814.64 8,696.46 23,664.25 31,182.68 13,323.41

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,361.74 1.49 28% 4
อัตราคิดลด 7% -1,202.34 1.32 28% 4

ข-96
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-96 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 1,000,000


ลิตรต่อวัน และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด แต่มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์

รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า


ค่าลงทุน 9,428.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 1,232.59 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 1,092.16 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 9.90 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 9,428.34 9,428.34 -9,428.34 -9,428.34
2 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -5,618.39
3 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 -1,808.44
4 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 2,001.51
5 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 5,811.46
6 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 9,621.41
7 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 13,431.37
8 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 17,241.32
9 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 21,051.27
10 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 24,861.22
11 0 1,232.59 1,092.16 2,324.75 6,134.70 3,809.95 28,671.17
9,428.34 12,325.89 10,921.61 32,675.83 61,347.00 28,671.17 105,835.56
PV@ 6% 5,264.79 8,558.48 7,583.42 21,406.68 34,256.16 16,009.98
PV@ 7% 4,792.43 9,127.61 8,087.71 22,007.75 31,182.68 14,573.56

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1,256.19 1.60 34% 4
อัตราคิดลด 7% -1,110.51 1.42 34% 4

ข-97
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-97 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน มี
การปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 102.05 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 4.45 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 342.55
3 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 823.10
4 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 1,303.65
5 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 1,784.20
6 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 2,264.75
7 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 2,745.30
8 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 3,225.85
9 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 3,706.40
10 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 4,186.95
11 0 102.05 30.87 132.92 613.47 480.55 4,667.50
138.00 1,020.54 308.66 1,467.20 6,134.70 4,667.50 24,912.24
PV@ 6% 77.06 708.61 214.32 999.99 3,425.62 2,606.33
PV@ 7% 70.15 755.73 228.57 1,054.45 3,118.27 2,372.49

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -8.27 3.43 348% 2
อัตราคิดลด 7% -8.67 2.96 348% 2

ข-98
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-98 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000 ลิต ร


ต่ อ วัน มีก ารปรั บลดต้น ทุ น ย่อ ยสลายเป็ นศู น ย์ และต้อ งลงทุ น อุ ป กรณ์ ป ระกอบใหม่ท้ ัง หมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 94.91 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 4.13 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 361.51
3 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 851.37
4 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 1,341.22
5 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 1,831.08
6 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 2,320.93
7 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 2,810.79
8 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 3,300.64
9 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 3,790.49
10 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 4,280.35
11 0 94.91 28.71 123.62 613.47 489.85 4,770.20
128.34 949.10 287.06 1,364.50 6,134.70 4,770.20 25,530.24
PV@ 6% 71.67 659.01 199.32 929.99 3,425.62 2,663.68
PV@ 7% 65.24 702.83 212.57 980.64 3,118.27 2,424.69

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -6.67 3.68 382% 2
อัตราคิดลด 7% -7.30 3.18 382% 2

ข-99
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-99 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน มี
การปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 74.66 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.62 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 369.94
3 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 877.88
4 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 1,385.82
5 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 1,893.76
6 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 2,401.70
7 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 2,909.64
8 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 3,417.58
9 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 3,925.52
10 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 4,433.46
11 0 74.66 30.87 105.53 613.47 507.94 4,941.40
138.00 746.64 308.66 1,193.30 6,134.70 4,941.40 26,418.69
PV@ 6% 77.06 518.43 214.32 809.81 3,425.62 2,759.28
PV@ 7% 70.15 552.90 228.57 851.62 3,118.27 2,511.71

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -7.62 4.23 368% 2
อัตราคิดลด 7% -8.18 3.66 368% 2

ข-100
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-100 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 100,000
ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 69.44 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.36 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 386.99
3 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 902.31
4 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 1,417.64
5 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 1,932.97
6 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 2,448.29
7 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 2,963.62
8 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 3,478.95
9 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 3,994.28
10 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 4,509.60
11 0 69.44 28.71 98.14 613.47 515.33 5,024.93
128.34 694.38 287.06 1,109.77 6,134.70 5,024.93 26,931.24
PV@ 6% 71.67 482.14 199.32 753.12 3,425.62 2,805.92
PV@ 7% 65.24 514.20 212.57 792.01 3,118.27 2,554.17

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -6.06 4.55 402% 2
อัตราคิดลด 7% -6.84 3.94 402% 2

ข-101
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-101 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000 ลิต รต่ อวัน
มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 134.39 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 5.43 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 310.21
3 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 758.42
4 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 1,206.63
5 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 1,654.84
6 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 2,103.05
7 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 2,551.26
8 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 2,999.47
9 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 3,447.68
10 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 3,895.89
11 0 134.39 30.87 165.26 613.47 448.21 4,344.10
138.00 1,343.94 308.66 1,790.60 6,134.70 4,344.10 23,133.54
PV@ 6% 77.06 933.16 214.32 1,224.54 3,425.62 2,425.74
PV@ 7% 70.15 995.22 228.57 1,293.94 3,118.27 2,208.10

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -9.04 2.80 325% 2
อัตราคิดลด 7% -9.25 2.41 325% 2

ข-102
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-102 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 100,000


ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 33,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 124.99 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 613.47 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 5.05 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 331.44
3 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 791.22
4 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 1,250.99
5 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 1,710.77
6 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 2,170.55
7 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 2,630.33
8 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 3,090.11
9 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 3,549.88
10 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 4,009.66
11 0 124.99 28.71 153.69 613.47 459.78 4,469.44
128.34 1,249.86 287.06 1,665.26 6,134.70 4,469.44 23,876.05
PV@ 6% 71.67 867.84 199.32 1,138.83 3,425.62 2,495.74
PV@ 7% 65.24 925.55 212.57 1,203.36 3,118.27 2,271.82

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -7.39 3.01 358% 2
อัตราคิดลด 7% -7.83 2.59 358% 2

ข-103
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-103 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน มี
การปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 152.05 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.97 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 599.29
3 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 1,336.58
4 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 2,073.87
5 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 2,811.16
6 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 3,548.45
7 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 4,285.74
8 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 5,023.03
9 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 5,760.32
10 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 6,497.61
11 0 152.05 30.87 182.92 920.21 737.29 7,234.90
138.00 1,520.49 308.66 1,967.15 9,202.05 7,234.90 39,032.94
PV@ 6% 77.06 1,055.75 214.32 1,347.13 5,138.42 4,039.97
PV@ 7% 70.15 1,125.96 228.57 1,424.68 4,677.40 3,677.50

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -2.16 3.81 534% 2
อัตราคิดลด 7% -4.08 3.28 534% 2

ข-104
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-104 การวิเคราะห์โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 141.41 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.70 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 621.75
3 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 1,371.85
4 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 2,121.94
5 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 2,872.04
6 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 3,622.13
7 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 4,372.22
8 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 5,122.32
9 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 5,872.41
10 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 6,622.50
11 0 141.41 28.71 170.11 920.21 750.09 7,372.60
128.34 1,414.06 287.06 1,829.45 9,202.05 7,372.60 39,843.42
PV@ 6% 71.67 981.85 199.32 1,252.83 5,138.42 4,116.86
PV@ 7% 65.24 1,047.14 212.57 1,324.95 4,677.40 3,747.49

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -0.47 4.10 584% 2
อัตราคิดลด 7% -2.65 3.53 584% 2

ข-105
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-105 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน มี
การปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 110.96 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.14 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 640.37
3 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 1,418.75
4 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 2,197.12
5 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 2,975.50
6 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 3,753.87
7 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 4,532.25
8 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 5,310.62
9 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 6,089.00
10 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 6,867.37
11 0 110.96 30.87 141.83 920.21 778.37 7,645.75
138.00 1,109.64 308.66 1,556.30 9,202.05 7,645.75 41,292.61
PV@ 6% 77.06 770.48 214.32 1,061.86 5,138.42 4,269.39
PV@ 7% 70.15 821.72 228.57 1,120.43 4,677.40 3,886.33

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1.18 4.84 564% 2
อัตราคิดลด 7% -3.35 4.17 564% 2

ข-106
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-106 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 150,000
ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 103.20 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2.92 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 659.96
3 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 1,448.27
4 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 2,236.57
5 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 3,024.87
6 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 3,813.17
7 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 4,601.48
8 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 5,389.78
9 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 6,178.08
10 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 6,966.39
11 0 103.20 28.71 131.90 920.21 788.30 7,754.69
128.34 1,031.97 287.06 1,447.36 9,202.05 7,754.69 41,944.92
PV@ 6% 71.67 716.55 199.32 987.53 5,138.42 4,330.22
PV@ 7% 65.24 764.19 212.57 1,042.00 4,677.40 3,941.71

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 0.43 5.20 614% 2
อัตราคิดลด 7% -1.97 4.49 614% 2

ข-107
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-107 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000 ลิต รต่ อวัน
มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 200.56 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 4.95 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 550.78
3 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 1,239.56
4 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 1,928.34
5 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 2,617.12
6 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 3,305.90
7 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 3,994.68
8 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 4,683.46
9 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 5,372.24
10 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 6,061.02
11 0 200.56 30.87 231.43 920.21 688.78 6,749.80
138.00 2,005.59 308.66 2,452.25 9,202.05 6,749.80 36,364.89
PV@ 6% 77.06 1,392.58 214.32 1,683.96 5,138.42 3,769.09
PV@ 7% 70.15 1,485.19 228.57 1,783.90 4,677.40 3,430.92

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -3.31 3.05 499% 2
อัตราคิดลด 7% -4.95 2.62 499% 2

ข-108
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-108 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 150,000


ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 49,500,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 186.52 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 920.21 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 4.61 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 576.64
3 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 1,281.62
4 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 1,986.60
5 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 2,691.58
6 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 3,396.56
7 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 4,101.54
8 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 4,806.52
9 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 5,511.50
10 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 6,216.48
11 0 186.52 28.71 215.23 920.21 704.98 6,921.46
128.34 1,865.20 287.06 2,280.59 9,202.05 6,921.46 37,362.14
PV@ 6% 71.67 1,295.10 199.32 1,566.08 5,138.42 3,864.94
PV@ 7% 65.24 1,381.22 212.57 1,659.03 4,677.40 3,518.18

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% -1.55 3.28 549% 2
อัตราคิดลด 7% -3.45 2.82 549% 2

ข-109
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-109 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน มี
การปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 502.01 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.31 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 2,396.47
3 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 4,930.94
4 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 7,465.41
5 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 9,999.88
6 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 12,534.35
7 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 15,068.82
8 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 17,603.29
9 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 20,137.76
10 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 22,672.23
11 0 502.01 30.87 532.88 3,067.35 2,534.47 25,206.70
138.00 5,020.14 308.66 5,466.80 30,673.50 25,206.70 137,877.84
PV@ 6% 77.06 3,485.73 214.32 3,777.11 17,128.08 14,075.42
PV@ 7% 70.15 3,717.53 228.57 4,016.25 15,591.34 12,812.56

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 40.63 4.53 1837% 2
อัตราคิดลด 7% 28.01 3.88 1837% 2

ข-110
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-110 การวิเคราะห์โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 466.87 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.08 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 2,443.43
3 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 5,015.20
4 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 7,586.97
5 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 10,158.75
6 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 12,730.52
7 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 15,302.29
8 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 17,874.06
9 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 20,445.83
10 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 23,017.60
11 0 466.87 28.71 495.58 3,067.35 2,571.77 25,589.37
128.34 4,668.73 287.06 5,084.13 30,673.50 25,589.37 140,035.69
PV@ 6% 71.67 3,241.73 199.32 3,512.71 17,128.08 14,289.11
PV@ 7% 65.24 3,457.31 212.57 3,735.11 15,591.34 13,007.08

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 42.90 4.88 2004% 2
อัตราคิดลด 7% 29.88 4.17 2004% 2

ข-111
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-111 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน มี
การปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 365.06 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2.48 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 2,533.42
3 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 5,204.84
4 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 7,876.26
5 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 10,547.68
6 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 13,219.10
7 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 15,890.52
8 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 18,561.94
9 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 21,233.36
10 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 23,904.78
11 0 365.06 30.87 395.93 3,067.35 2,671.42 26,576.20
138.00 3,650.64 308.66 4,097.30 30,673.50 26,576.20 145,410.09
PV@ 6% 77.06 2,534.82 214.32 2,826.20 17,128.08 14,840.15
PV@ 7% 70.15 2,703.39 228.57 3,002.10 15,591.34 13,508.68

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 43.89 6.06 1936% 2
อัตราคิดลด 7% 30.45 5.19 1936% 2

ข-112
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-112 การวิเคราะห์โครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 500,000
ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 339.51 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2.31 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 2,570.79
3 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 5,269.93
4 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 7,969.06
5 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 10,668.20
6 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 13,367.33
7 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 16,066.47
8 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 18,765.60
9 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 21,464.74
10 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 24,163.87
11 0 339.51 28.71 368.22 3,067.35 2,699.13 26,863.01
128.34 3,395.10 287.06 3,810.49 30,673.50 26,863.01 147,040.68
PV@ 6% 71.67 2,357.38 199.32 2,628.37 17,128.08 15,000.30
PV@ 7% 65.24 2,514.15 212.57 2,791.96 15,591.34 13,654.47

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 45.93 6.52 2103% 2
อัตราคิดลด 7% 32.16 5.58 2103% 2

ข-113
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-113 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 500,000 ลิต รต่ อวัน
มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 663.71 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 4.29 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 2,234.77
3 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 4,607.54
4 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 6,980.31
5 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 9,353.08
6 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 11,725.85
7 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 14,098.62
8 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 16,471.39
9 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 18,844.16
10 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 21,216.93
11 0 663.71 30.87 694.58 3,067.35 2,372.77 23,589.70
138.00 6,637.14 308.66 7,083.80 30,673.50 23,589.70 128,984.34
PV@ 6% 77.06 4,608.50 214.32 4,899.88 17,128.08 13,172.49
PV@ 7% 70.15 4,914.96 228.57 5,213.68 15,591.34 11,990.64

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 36.78 3.50 1719% 2
อัตราคิดลด 7% 25.12 2.99 1719% 2

ข-114
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-114 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 500,000


ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 165,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 617.25 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 3,067.35 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.99 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 2,293.05
3 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 4,714.44
4 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 7,135.83
5 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 9,557.22
6 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 11,978.61
7 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 14,400.00
8 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 16,821.39
9 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 19,242.78
10 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 21,664.17
11 0 617.25 28.71 645.96 3,067.35 2,421.39 24,085.56
128.34 6,172.54 287.06 6,587.94 30,673.50 24,085.56 131,764.73
PV@ 6% 71.67 4,285.90 199.32 4,556.89 17,128.08 13,449.38
PV@ 7% 65.24 4,570.91 212.57 4,848.72 15,591.34 12,242.69

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 39.32 3.76 1887% 2
อัตราคิดลด 7% 27.20 3.22 1887% 2

ข-115
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-115 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ฟางข้าวเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 1,001.96 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.17 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 4,963.87
3 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 10,065.74
4 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 15,167.61
5 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 20,269.48
6 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 25,371.35
7 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 30,473.22
8 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 35,575.09
9 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 40,676.96
10 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 45,778.83
11 0 1,001.96 30.87 1,032.83 6,134.70 5,101.87 50,880.70
138.00 10,019.64 308.66 10,466.30 61,347.00 50,880.70 279,084.84
PV@ 6% 77.06 6,957.14 214.32 7,248.52 34,256.16 28,411.78
PV@ 7% 70.15 7,419.78 228.57 7,718.50 31,182.68 25,862.66

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 101.76 4.73 3697% 2
อัตราคิดลด 7% 73.85 4.04 3697% 2

ข-116
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-116 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ฟางข้า วเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000
ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 931.83 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2.95 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 5,045.83
3 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 10,220.00
4 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 15,394.16
5 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 20,568.33
6 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 25,742.50
7 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 30,916.67
8 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 36,090.84
9 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 41,265.00
10 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 46,439.17
11 0 931.83 28.71 960.53 6,134.70 5,174.17 51,613.34
128.34 9,318.27 287.06 9,733.66 61,347.00 51,613.34 283,167.50
PV@ 6% 71.67 6,470.14 199.32 6,741.12 34,256.16 28,820.89
PV@ 7% 65.24 6,900.40 212.57 7,178.21 31,182.68 26,235.06

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 104.86 5.08 4032% 2
อัตราคิดลด 7% 76.35 4.34 4032% 2

ข-117
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-117 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัตถุดิบ มีก ําลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อวัน
มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่ รัฐ
ให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 728.06 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2.34 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 5,237.77
3 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 10,613.54
4 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 15,989.31
5 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 21,365.08
6 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 26,740.85
7 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 32,116.62
8 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 37,492.39
9 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 42,868.16
10 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 48,243.93
11 0 728.06 30.87 758.93 6,134.70 5,375.77 53,619.70
138.00 7,280.64 308.66 7,727.30 61,347.00 53,619.70 294,149.34
PV@ 6% 77.06 5,055.31 214.32 5,346.69 34,256.16 29,941.24
PV@ 7% 70.15 5,391.49 228.57 5,690.21 31,182.68 27,254.89

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 108.28 6.41 3895% 2
อัตราคิดลด 7% 78.75 5.48 3895% 2

ข-118
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-118 การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์กรณี ใช้ชานอ้อยเป็ นวัต ถุดิ บ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000


ลิต รต่ อวัน มีการปรับลดต้นทุ นย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด ยกเว้น
เครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 677.10 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 2.18 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 5,300.55
3 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 10,729.45
4 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 16,158.34
5 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 21,587.24
6 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 27,016.13
7 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 32,445.03
8 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 37,873.92
9 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 43,302.82
10 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 48,731.71
11 0 677.10 28.71 705.81 6,134.70 5,428.89 54,160.61
128.34 6,771.00 287.06 7,186.39 61,347.00 54,160.61 297,177.48
PV@ 6% 71.67 4,701.44 199.32 4,972.42 34,256.16 30,243.28
PV@ 7% 65.24 5,014.08 212.57 5,291.89 31,182.68 27,529.84

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 110.93 6.89 4230% 2
อัตราคิดลด 7% 80.90 5.89 4230% 2

ข-119
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-119 การวิเคราะห์โครงการทางการเงินกรณี ใช้ซงั ข้าวโพดเป็ นวัตถุดิบ มีกาํ ลังการผลิต 1,000,000 ลิต รต่ อ
วัน มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุนอุปกรณ์ประกอบใหม่ท้ งั หมด ยกเว้นเครื่ องจักรที่
รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 138.00 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 1,325.36 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 30.87 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 4.15 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 138.00 138.00 -138.00 -138.00
2 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 4,640.47
3 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 9,418.94
4 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 14,197.41
5 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 18,975.88
6 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 23,754.35
7 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 28,532.82
8 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 33,311.29
9 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 38,089.76
10 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 42,868.23
11 0 1,325.36 30.87 1,356.23 6,134.70 4,778.47 47,646.70
138.00 13,253.64 308.66 13,700.30 61,347.00 47,646.70 261,297.84
PV@ 6% 77.06 9,202.66 214.32 9,494.04 34,256.16 26,605.92
PV@ 7% 70.15 9,814.64 228.57 10,113.36 31,182.68 24,218.82

กรณี ปกติ NPV BCR FIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 94.06 3.61 3463% 2
อัตราคิดลด 7% 68.08 3.08 3463% 2

ข-120
โครงการศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตเอทานอล
จากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

ตาราง ข-120 การวิเ คราะห์ โ ครงการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ กรณี ใ ช้ซังข้า วโพดเป็ นวัต ถุดิ บ มีก าํ ลังการผลิ ต
1,000,000 ลิตรต่อวัน มีการปรับลดต้นทุนย่อยสลายเป็ นศูนย์ และต้องลงทุ นอุปกรณ์ ประกอบใหม่ท้ ังหมด
ยกเว้นเครื่ องจักรที่รัฐให้การสนับสนุน
รายการ มูลค่ า รายการ มูลค่ า
ค่าลงทุน 128.34 ล้านบาท ปริ มาณการผลิต 330,000,000 ลิตร/ปี
ต้นทุนผลิต 1,232.59 ล้านบาท มูลค่าผลประโยชน์โดยเฉลี่ย 6,134.70 บาท/ปี
ค่าดําเนินการ 28.71 ล้านบาท ต้นทุนการผลิต 3.86 บาท/ลิตร

ผลประโยชน์
ปี ที่ ค่าลงทุน ต้นทุนผลิต ค่าดําเนินการ รวมต้นทุน ผลประโยชน์ ผลรวม
สุทธิ
1 128.34 128.34 -128.34 -128.34
2 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 4,745.07
3 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 9,618.47
4 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 14,491.88
5 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 19,365.28
6 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 24,238.69
7 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 29,112.10
8 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 33,985.50
9 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 38,858.91
10 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 43,732.31
11 0 1,232.59 28.71 1,261.29 6,134.70 4,873.41 48,605.72
128.34 12,325.89 287.06 12,741.28 61,347.00 48,605.72 266,625.59
PV@ 6% 71.67 8,558.48 199.32 8,829.46 34,256.16 27,141.43
PV@ 7% 65.24 9,127.61 212.57 9,405.42 31,182.68 24,706.29

กรณี ปกติ NPV BCR EIRR คืนทุน (ปี )


อัตราคิดลด 6% 97.70 3.88 3797% 2
อัตราคิดลด 7% 70.98 3.32 3797% 2

ข-121

You might also like