You are on page 1of 18

แบบจำลองอะตอม

(Atomic model)

อะตอมนัน
้ มีขนาดเล็กมาก อีกทัง้ ไม่มีใครเคยมองเห็นอะตอมมาก่อน
การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอะตอมจึงเป็ นการแปลผลจากข้อมูลที่ได้จากการ
ทดลองและนำมาสร้างเป็ นนโมภาพหรือแบบจำลอง
โดยเริ่มจากนักปรัชญาชาวกรีกในสมัยโบราณได้เสนอ
แนวคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบของสสาร และแนวคิดที่โดดเด่น
คือ แนวคิดของดิโมคริตุส (Democritus) ซึง่ กล่าวไว้ว่า
“เมื่อนำสสารมาแบ่งย่อยลงไปเรื่อย ๆ จะได้อนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก
และไม่สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก” โดยเรียกอนุภาคนีว้ ่า “อะตอม
(atom)”

1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึน
้ ทำให้
แนวคิดของดิโมคริตุสนัน
้ ไม่สามารถ อธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึน
้ เกี่ยวกับ
สสารได้ ในปี คริสตวรรษที่ 19 จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาว อังกฤษ
ได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับอะตอมเพื่อที่จะอธิบายผลการทดลองของเขาใน
ขณะนัน
้ ได้ดังนี ้
1) ธาตุแต่ละชนิดจะประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุด เรียกว่า
“อะตอม” ซึ่งอะตอมไม่สามารถ แบ่งแยกออกไปได้อีก และไม่สามารถถูก
สร้างขึน
้ หรือทำลายได้
2) อะตอมในธาตุชนิดเดียวกันจะมีมวลและสมบัติต่างๆ เหมือนกัน
ส่วนอะตอมในธาตุต่างชนิดกัน จะมีมวลและสมบัติต่างกัน
3) สารประกอบเคมีเกิดจากอะตอมของธาตุตงั ้ แต่ 2 ชนิดขึน
้ ไปมารวม
กันด้วยพันธะเคมีใน อัตราส่วนเลขลงตัวน้อยๆ

รูปที่ 1.1 ภาพแบบจำลองอะตอมของดอลตัน

แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
2. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

นักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ทำการศึกษาต่อ โดยศึกษาการนำไฟฟ้ า
ของแก๊ส ในปี พ.ศ. 2540 เซอร์ โจเซฟ จอห์น ทอมสัน นักวิทยาศาสตร์ชาว
อังกฤษ ทำการทดลองบรรจุแก๊สชนิดหนึ่งไว้ในหลอดแก้วที่ต่อไว้กับ เครื่อง
สูบอากาศเพื่อลดความดันภายในหลอด ที่แอโนดเจาะรูตรงกลาง และต่อไว้
กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ า กระแสตรงศักย์สูง ที่ปลายหลอดมีฉากเรืองแสงวาง
ขวางอยู่ พบว่าเมื่อลดความดันในหลอดแก้วให้ต่ำลงมาก ๆ จนเกือบเป็ น
สุญญากาศ จะมีจุดสว่างเกิดขึน
้ ตรงบริเวณศูนย์กลางของฉากเรืองแสงที่ฉาบ
ด้วยซิงค์ซัลไฟด์ (ZnS) จากนัน
้ ทอมสันเพิ่มขัว้ ไฟฟ้ าบวกและลบเข้าไปใน
หลอดรังสีแคโทด ขัว้ ทัง้ สองนีท
้ ำให้เกิดสนามไฟฟ้ าตัง้ ฉากกับทิศทางของ
รังสี จะพบว่ารังสีเบนเข้าหาขัว้ บวกของสนามไฟฟ้ า ทอมสันลองเปลี่ยนชนิด
ของแก๊สและ ชนิดของโลหะที่ใช้เป็ นขัว้ แคโทด แล้วทำการทดลองเหมือน
เดิม ปรากฏว่าผลการทดลองเหมือนกันหมด
รูปที่ 1.2 (ซ้าย) ภาพหลอดรังสีแคโทด (ขวา) ภาพหลอดรังสีแคโทดที่
ดัดแปลงแล้วโดยทอมสัน
จากการทดลองทอมสัน สรุปว่า
1) รังสีจากขัว้ แคโทดเป็ นลำอนุภาคที่มีประจุลบ
2) รังสีแคโทดพบในทุกธาตุ จึงเป็ นส่วนย่อยของธาตุ
3) ให้ช่ อ
ื รังสีแคโทดว่า “อิเล็กตรอน”
8
4) ประจุต่อมวลอิเล็กตรอน q/me = 1.76 x 10 C/g

รูปที่ 1.3 ภาพแบบจำลองอะตอมของทอมสัน

แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
แบบฝึ กหัดที่ 1.1
เรื่อง แบบจำลองอะตอมดอลตันและทอมสัน

คำชีแ
้ จง ให้นักเรียนเติมตัวอักษรหน้าข้อความต่อไปนีใ้ ห้ถูกต้อง

ก.แบบจำลองอะตอมของดอลตัน ข.แบบจำลอง
อะตอมของทอมสัน

………… 1. สสารประกอบขึน
้ จากอนุภาคที่เล็กที่สุด เรียกว่าอะตอม มี
ลักษณะเป็ นทรงกลมตันที่ไม่สามารถ แบ่งแยกได้อีก

………… 2. อะตอมเป็ นทรงกลมที่เป็ นกลางทางไฟฟ้ า ซึง่ ประกอบขึน


้ ด้วย
อนุภาคที่มีประจุบวกและอนุภาคที่มี ประจุลบ ซึ่งมีค่าประจุไฟฟ้ า
เท่ากัน

………… 3. อะตอมไม่สามารถสร้างขึน
้ ใหม่ หรือทำลายได้

………… 4. การทดลองโดยใช้หลอดรังสี แคโทด


………… 5. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีคุณสมบัติเหมือนกัน ในทาง
กลับกันอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน จะมีสมบัติต่างกัน

………… 6. เมื่ออะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมตัวกัน จะเกิดเป็ น


สารประกอบ โดยสารประกอบจะมี อัตราส่วนของธาตุเป็ นเลขลงตัวจำนวน
ต่ำ ๆ

………… 7. ประจุบวกและประจุลบของอะตอมจะกระจายตัวอยู่ทั่วทัง้
อะตอมอย่างสม่ำเสมอ โดยประจุลบจะ ฝั งตัวอยู่ในเนื้ออะตอมที่มีประจุบวก

………… 8.

3. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

ในปี ค.ศ. 1911 ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด พิสูจน์แบบจำลอง


อะตอมของทอมสัน โดยการยิงอนุภาคแอลฟา ไปยังแผ่นทองคำบางๆ และ
ใช้ฉากเรืองแสงที่เคลือบด้วยซิงค์ซล
ั ไฟต์ (ZnS) โค้งเป็ นวงรอบแผ่นทองคำ
จากผลการทดลองพบว่าส่วนใหญ่จะเกิดการเรืองแสงบนฉากที่อยู่บริเวณ
ด้านหลังของแผ่นทองคำ มีบางครัง้ เกิดการเรืองแสงบริเวณด้านหลัง และมี
การเรืองแสงบริเวณด้านหน้าของแผ่นทองคำด้วยแต่น้อยครัง้ มาก ซึ่งหาก
เป็ นแบบจำลองอะตอมที่ทอมสันศึกษา การเรืองแสงน่าจะมีการเบี่ยงเบน
อย่างสม่ำเสมอ

จากการทดลอง พบว่ารังสีแอลฟา ส่วนใหญ่เคลื่อนที่เป็ นเส้นตรง


แสดงว่า อะตอมส่วนใหญ่เป็ นที่ว่าง ส่วนน้อยมากสะท้อนกลับ แสดงว่า
อนุภาคแอลฟาชนส่วนที่มีขนาดเล็กมากและมีประจุบวก โอกาสชนจึงน้อย
ครัง้ มากบางส่วนเบี่ยงเบนไปจากแนวเส้นตรง แสดงว่าเคลื่อนที่เฉียดส่วนที่มี
ประจุบวกเหมือนกันจึงถูกผลักให้เบนไป

รัทเทอร์ฟอร์ดจึงได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึน
้ มาใหม่ว่า “อะตอม
ประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมากอยู่ตรงกลาง และมีประจุไฟฟ้ า
เป็ นบวก โดยมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่บริเวณรอบๆ”

รูปที่ 1.4 แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
4. แบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์

1.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ดังนี ้


1.1 ความยาวคลื่น (λ) ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ 1 รอบ มีหน่วยเป็ น เมตร
1.2 ความเร็วของคลื่น (C) ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ในเวลา 1 วินาที มี
หน่วยเป็ นเมตรต่อวินาที ในสุญญากาศคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าทุกชนิดจะมี
8
ความเร็วในการเคลื่อนที่เท่ากันคือ ประมาณ 3x10 เมตรต่อวินาที
1.3 ความถี่ของคลื่น (v) จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งใน
เวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็ น เฮิรตซ์(Hz)
1.4 แอมพลิจูด (A) ความสูงของคลื่น

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าที่มีความยาวคลื่นต่างๆกัน และมีความถี่ต่อเนื่อง


กันเป็ นช่วงกว้างมีทงั ้ ที่มองเห็นและมองไม่เห็น รวมกันเรียกว่า สเปกตรัมแม่
เหล็กไฟฟ้ า ซึ่งเรียงลำดับจากความถี่สูงสุดไปยังความถี่ต่ำสุดได้
2. สเปกตรัม หมายถึง แถบสีหรือเส้นสีที่ได้จากการผ่านพลังงานรังสีเข้าไป
ในชุดศึกษา เช่น ปริซึม
ซึ่งทำให้พลังงานรังสีแยกออกเป็ นแถบหรือเป็ นเส้น ที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ
เรียงลำดับกันไป แสงที่ประสาทตาของมนุษย์สามารถรับรู้ได้เรียกว่าแสงที่
มองเห็นได้ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400 - 700 นาโนเมตร แต่ไม่
สามารถแยกเป็ นสีต่างๆ ได้ จึงมองเห็นเป็ นสีรวมกันซึ่งเรียกว่า แสงขาว
มักซ์ พลังค์ (Max Planck) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการศึกษา
เกี่ยวกับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า โดยพลังค์ได้ข้อสรุปว่า พลังงาน
ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าแปรผันตรงตามความถี่ของคลื่นและแปรผกผันกับ
ความยาวคลื่น ดังความสัมพันธ์ต่อไปนี ้
E ∝ v
หรือ E = hv

c
เนื่องจาก v = λ

hc
ดังนัน
้ E=λ

เมื่อ E = พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า (หน่วยเป็ น จูล )


-34
h = ค่าคงที่ของพลังค์ = 6.626 x 10 Js
-1
v = ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า (Hz หรือ s )
8 -1
c = ความเร็วของคลื่น 2.997 x 10 ms หรือ โดยประมาณ c
8 -1
= 3.0 x 10 ms
λ = ความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า หน่วยเป็ นเมตร
4
ตัวอย่าง จงหาความถี่ของคลื่นอินฟราเรด ที่มีความยาวคลื่น 1.36 x 10
nm

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

3. สเปกตรัมของธาตุและการแปลความหมาย

จากการทดลองศึกษาสเปกตรัมของแสงขาวและธาตุบางชนิด สังเกตได้ว่า
สเปกตรัมจากแสงอาทิตย์มีแสงต่อเนื่องกันเป็ น แถบสเปกตรัม ส่วน
สเปกตรัมที่ส่องจากธาตุบางชนิดจะมีเส้นสีเฉพาะตัว เรียกว่า เส้นสเปกตรัม
แบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสเปกตรัมของแก๊ส เพราะว่ามีอะตอมอยู่ห่าง
กัน และใช้อะตอมไฮโดรเจนเนื่องจากมี 1 อิเล็กตรอน พบว่ามีเส้นสเปกตรัม
ที่ปรากฏในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้โดยมีความยาวคลื่น 410 , 434 ,
486 และ 656 นาโนเมตร ตามลำดับ นอกจากนีก
้ ารศึกษาเส้นสเปกตรัม
ของอะตอมของธาตุอ่ น
ื ๆ ก็พบว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของแต่ละธาตุคาย
พลังงานได้บางค่า และมีเส้นสเปกตรัมเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน
สถานะพื้น (ground state)
หมายถึงอะตอมที่อิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีพลังงาน
เฉพาะตัวอยู่ในระดับพลังงานต่ำ อะตอมในสถานะพื้นจะมีความเสถียร
เนื่องจากมีพลังงานต่ำ
สถานะกระตุ้น (excited state)
หมายถึงอะตอมที่ได้รับพลังงานเพิ่มขึน
้ ทำให้อิเล็กตรอนถูกกระตุ้นให้
อยู่ในระดับพลังงานสูงขึน
้ ที่สถานะกระตุ้นอะตอมจะไม่เสถียร เนื่องจากมี
พลังงานสูง
การที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อะตอมของไฮโดรเจนเป็ นตัวอย่างในการแปล
ความหมายของเส้นสเปกตรัม เพราะเป็ นอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเดียว จาก
การทดลองหลายครัง้ พบว่าอะตอมของไฮโดรเจนให้เส้นสเปกตรัมได้หลาย
เส้นที่มีลักษณะเหมือนกันทุกครัง้ จึงสรุปได้ว่าอิเล็กตรอนในอะตอมของ
ไฮโดรเจนขึน
้ ไปอยู่ในสถานะกระตุ้นที่มีพลังงานแตะต่างกันได้หลายระดับ
ค่าพลังงานของเส้นสเปกตรัมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนระดับพลังงานของ
อิเล็กตรอนในอะตอมจากระดับพลังงานสูงมายังระดับพลังงานต่ำ
ลักษณะแบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์
จากความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอนและ
การเกิดสเปกตรัม นีลส์ โบร์ สร้างแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบาย
พฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอมได้ โดยกล่าวว่า อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่
รอบนิวเคลียสเป็ นวงคล้ายกับการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
แต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว ระดับพลังงานนของอิเล็กตรอนที่
อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุดซึ่งมีพลังงานต่ำที่สุดเรียกว่าระดับ K และระดับ
พลังงานที่อยู่ถัดออกมาเรียกเป็ น L M N... ตามลำดับต่อมาได้มีการใช้
ตัวเลขแสดงถึงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน คือ n=1 หมายถึง ระดับ
พลังงานที่ 1 ซึ่งอยู่ใกล้กับนิวเคลียสที่สุด และชัน
้ ถัดออกมาเป็ น n=2
หมายถึงระดับพลังงานที่ 2 ต่อจากนัน
้ n=3 4 ... หมายถึงระดับพลังงาน
ที่ 3 4 และสูงขึน
้ ไปตามลำดับ

แบบฝึ กหัดเรื่องแบบจำลองอะตอมของโบร์

1.จงเรียงลำดับคลื่นที่กำหนดให้ต่อไปนี ้ จากคลื่นที่มีความถี่มากที่สุด ไปยัง


คลื่นที่มีความถี่น้อยที่สุด (ตอบโดยใช้เครื่องหมาย >)

อินฟราเรด รังสีแกมมา คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ แสงขาว อัลตราไวโอเลต


ไมโครเวฟ

ตอบ……………………………………………………………………………………………………
………………………………………………
2.จงหาความถี่ของแสงที่มีความยาวคลื่นเท่ากับ 478 nm

วิธีทำ

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

3. โฟตอนของแสงสีม่วงมีความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร, โฟตอนของแสงสี


แดงมีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร โฟตอนทัง้ สองมีพลังงานแตกต่างกัน
อย่างไร ตอบในหน่วยจูล (J)

วิธีทำ

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

........................................................................................................................
........................................................................................................................
......................................... ................................................................
...............

........................................................................................................................
........................................................................................................................
........................................................................................................................

........................................................................................................................
............................................................

5. แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

เนื่องจากแบบจำลองอะตอมของโบร์มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้อธิบาย
สเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษา
เพิ่มเติมจนได้ข้อมูลเพียงพอที่จะเชื่อว่าอิเล็กตรอนมีสมบัติเป็ นทัง้ อนุภาค
และคลื่น โดยเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสในลักษณะของคลื่นนิง่ บริเวณที่พบ
อิเล็กตรอนพบได้หลายลักษณะเป็ นรูปทรงต่าง ๆ ตามระดับพลังงานของ
อิเล็กตรอน จากการใช้ความรู้ทางกลศาสตร์ควอนตัมสร้างสมการขึน
้ เพื่อ
คำนวณหาโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ

พบว่าแบบจำลองนีส
้ ามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของธาตุได้ถูกต้อง
กว่าแบบจำลองอะตอมของโบร์ อิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่
อย่างรวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทัง้ อะตอม จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่
แน่นอนของอิเล็กตรอนได้ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีโอกาสที่จะ
พบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสบางบริเวณเท่านัน
้ ทำให้สร้างมโนภาพได้ว่า
อะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนได้
มากกว่าบริเวณที่มีกลุ่มหมอกจาง

แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

You might also like