You are on page 1of 13

รายงาน

เรื่อง การจัดโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่นและมารยาทบทโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่น

จัดทาโดย
นายจักรพรรดิ์ จิตติเรืองเกียรติ์ ม.5/1 เลขที่3
นายนรภัทร กลิ่นศรีสุข ม.5/1 เลขที่8
นายภัทรินทร์ จันทนเสวี ม.5/1 เลขที่ 14
นายศาศรันย์ บุญสิงห์ ม.5/1 เลขที่ 18
นางสาวกุลภรณ์ บุญจันทร์เชย ม.5/1 เลขที่23
นางสาววรรษชล คุณพรม ม.5/1 เลขที่33
นายรพีภัทร ทองโชติ ม.5/1 เลขที่ 38

เสนอ
อาจารย์ศิริลักษณ์ ชัยบัณฑิตย์

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ง32101 การงานอาชีพ


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
โรงเรียนสาธิต”พิบูลบาเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา
คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อให้ได้
ศึกษาหาความรู้ในเรื่องการจัดโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่นและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการ
เรียน

คณะผู้จัดทาหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กาลังหา


ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนาหรือข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทาขอน้อมรับไว้และขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา
สำรบัญ
การจัดโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่น 1
การจัดชุดอาหารในฤดูใบไม้ผลิ 2
การจัดชุดอาหารในฤดูร้อน 3
การจัดชุดอาหารในฤดูใบไม้ร่วง 4
การจัดชุดอาหารในฤดูหนาว 5
มารยาทบนโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่น 6
ตัวอย่างเมนูอาหารคาวสัญชาติญี่ปุ่น 8
ตัวอย่างเมนูของหวานสัญชาติญี่ปุ่น 9
บรรณานุกรม 10
1

การจัดโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่น
พื้นฐานของอาหารญี่ปุ่นตั้งอยู่บนกฎที่ว่า 「一汁三菜」หรือ "หนึ่งซุป สามกับ" หมายถึง กับข้าว
สาม ซุปหนึ่ง และ ข้าวหนึ่งนั่นเอง เดิมทีการจัดอาหารของญี่ปุ่นมีหลากหลายวิธี ไม่มีกฎตายตัว จนมาถึงยุคมุ
โระมะจิ ( 室町幕府 ) จึงได้มีการจัดการธรรมเนียมในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องอาหารให้เป็นแนวทางเดียว
ด้านหน้าซ้ายมือจะเป็นตาแหน่งวางชามข้าว ด้านหน้าขวาจะวางชามซุป ซ้ายบนจะเป็นตาแหน่ง
อาหารจานหลัก ขวาบนจะเป็นตาแหน่งอาหารจานรอง ตรงกลางจะเป็นตาแหน่งวางอาหารจานย่อยพวก
เครื่องเคียง
ในปัจจุบันอาหารในบ้านอาจใช้วิธีวางเสริฟอาหารจานหลักจานรองไว้กลางโต๊ะ แล้วแต่ละคนสามารถ
ตักอาหารกินเอง (คล้ายอาหารไทย) ขึ้นอยู่กับประเภทอาหาร และความสะดวก อย่างไรก็ตาม ข้างหน้าของแต่
ละคนจะต้องวาง "ชามซุปข้างขวา และชามข้าวด้านซ้ายมือ " ซึ่งจะเป็นความเคยชินในการทานอาหารของคน
ญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่น จะให้ความสาคัญต่อจานชามที่ใส่อาหารต่างๆมากเช่นเดียวกับอาหาร ทาให้มื้ออาหาร
น่าสนใจมากขึ้น การจัดชุดอาหารญี่ปุ่นในแต่ละฤดูนั้นแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงทั้งสีสันของอาหาร อุปกรณ์
และภาชนะใส่อาหารตามฤดู รวมถึงรูปแบบของอาหารที่นามาเสริฟ แบ่งตาม 4 ฤดูกาลของญี่ปุ่นได้ดังนี้
2

การจัดชุดอาหารในฤดูใบไม้ผลิ
ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงอากาศที่อบอุ่นสาหรับคนญี่ปุ่นและมีสภาพแวดล้อม
ธรรมชาติที่สวยงาม พืชผลมักผลิบาน ชุดอาหารที่จัดจะยึดโทนสีชมพูหรือสีเขียวในการตกแต่ง เช่นผักดอง
ต่างๆหลายชนิด และมักใช้ดอกไม้ใบไม้สดในการตกแต่งอาหาร มักเลือกใช้ถ้วยเล็กๆ เยอะๆ เพราะช่วงนี้เป็น
ช่วงที่ปลาชุกชุม ทาให้เมนูที่เสริฟนั้นมักพร้อมไปด้วยปลาและเครื่องเคียงมากมาย ถ้วยที่เลือกใช้ใส่อาหารอาจ
เป็นลวดลายซากุระ
อาหารที่นิยมทานในฤดูใบไม้ผลิ ได้แก่ เมนูหอยอาซาริ ปลา ผักดอง
3

การจัดชุดอาหารในฤดูร้อน
ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม มีอากาศร้อนชื้นและฝนตกในช่วงสั้นๆ นิยมเสริฟอาหารในถ้วยแก้ว
ใสๆ เพื่อให้รู้สึกถึงความเย็นสบาย ซึ่งจะใช้ทั้งกับของคาวและของหวานเย็นๆ ใช้ถ้วยชามทรงปากกว้างและตื้น
เพื้อให้อาหารสัมผัสกับอากาศ โทนของอาหารและการตกแต่งช่วงฤดูร้อนจะมีสีสดใส เช่นเป็นสีแดง (จาก
เนื้อสัตว์) สีเขียว สีม่วง สีฟ้าแบบท้องฟ้า และบางทีก็เลือกอาหารที่ช่วยคลายร้อน เช่นบะหมี่เย็น
อาหารที่นิยมทานในฤดูร้อน ได้แก่ ข้าวหน้าปลาไหลย่าง ซาชิมิกุ้งสด บะหมี่เย็นโซเม็ง
4

การจัดชุดอาหารในฤดูใบไม้ร่วง
ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน อากาศค่อนข้างสบายและเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต อาหารมักจะ
เกี่ยวกับปลาและผักหลายชนิด อาหารมักตกแต่งด้วยใบไม้ที่เปลี่ยนสีและเน้นการใช้ชามเป็นหลัก โดยมักใช้
ภาชนะที่เป็นไม้หรือเซรามิคสีค่อนข้างทึบ โทนสีการตกแต่งอาหารในฤดูใบไม้ร่วงนั้นมักจะเป็นสีแดง เหลือง
และส้ม เพื่อแสดงถึงใบไม้เปลี่ยนสี
อาหารที่นิยมทานในฤดูใบไม้ร่วง ได้แก่ ซูชิปลาต่างๆ ซาชิมิปลาสด ปลาย่าง
5

การจัดชุดอาหารในฤดูหนาว
ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นถึงขั้นติดลบ ด้วยเหตุนี้ถ้วยชามที่เลือกนามาใส่นั้น
จะเป็นทรงลึกเพื่อกักเก็บความร้อนให้คงอยู่ รวมถึงจะใช้หม้อหลากหลายรูปแบบเพราะเมนูหลักมักจะเป็นเมนู
หม้อไฟและซุปร้อนประกอบเป็นหลักในชุดอาหาร โทนสีการตกแต่งอาหารในฤดูหนาวนั้นจะเป็นสีขาว
อาหารที่นิยมทานในฤดูหนาว ได้แก่ เมนูปูและปลาหมึกยักษ์ต่างๆ หม้อไฟ
6

มารยาทบนโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่น
• พูด “อิทะดะคิมัส” ก่อนเริ่มมื้ออาหาร
ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปที่คนญี่ปุ่นจะพูด “อิทะดะคิมัส (いただきます)” ก่อน
เริ่มลงมือรับประทานอาหาร ความหมายตามอักษรแปลว่า “ขอรับมื้ออาหาร” และมีตานานและ
เรื่องราวหลากหลายฉบับที่อธิบายที่มาที่ไปของวลีนี้ แต่โดยปกติวลีนี้ถือเป็นวลีสาหรับแสดงความรู้สึก
ขอบคุณต่อเชฟ ต่อเหล่าเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงวัตถุดิบในจาน และต่อเหล่าวัตถุดิบที่ได้สละชีวิตมาเป็น
อาหารให้เราได้ทานนั่นเอง
หากอยู่ในร้านอาหาร ไม่เป็นอะไรหากจะไม่พูดวลีนี้เสียงดังจนโต๊ะรอบข้างได้ยิน แต่หากไป
รับประทานอาหารที่บ้านคนอื่น ควรพูดให้เสียงดังพอที่คนปรุงอาหารหรือเจ้าของบ้านได้ยิน เพราะ
การไม่พูดถือเป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
• ถ้าตะเกียบเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ให้เอาตะเกียบออกมาจากซองก่อนเป็นอันดับแรก
ตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งจะมาพร้อมกับซองกระดาษที่ห่อหุ้มอยู่เสมอ ให้หยิบตะเกียบออกจาก
ซองก่อน หลังจากนั้น แยกตะเกียบออกจากกันตามแนวยาว ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกต้อง คุณควร
ถือตะเกียบในแนวนอนแล้วแยกเกียบออกตามแนวยาวของตะเกียบในระดับที่สูงกว่าเข่า
• อย่าแยกตะเกียบออกตามแนวขวาง (โดยตั้งตะเกียบชี้ขึ้นหรือลง)
แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่การแยกตะเกียบออกตามแนวขวางโดยตั้ง
ตะเกียบชี้ขึ้นหรือลงถือเป็นการเสียมารยาท เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะมืออาจไปกระทบคนที่นั่งอยู่ข้างๆ
ได้หากแยกตะเกียบในแนวนี้

• การนาตะเกียบมาถูกันเพื่อกาจัดเสี้ยนไม้ ถือเป็นการเสียมารยาท
การนาตะเกียบมาถูกันเพื่อกาจัดเสี้ยนไม้ถือเป็นการกระทาที่แสดงต่อพนักงานร้านว่า
ตะเกียบที่ร้านใช้นั้นเป็นตะเกียบราคาถูก หากตะเกียบของมีเสี้ยนไม้อยู่จริงๆ ให้หยิบออกด้วยท่าทาง
ที่ไม่สะดุดตา

• หากทางร้านไม่มีที่วางตะเกียบ ให้พับซองกระดาษของตะเกียบเพื่อทดแทน
การวางตะเกียบบนชามข้าวถือเป็นเรื่องที่ผิดธรรมเนียมปฏิบัติสาหรับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นหาก
ทางร้านไม่มีที่วางตะเกียบเตรียมไว้ให้บนโต๊ะอาหาร ให้คุณพับซองกระดาษห่อตะเกียบเป็นที่วางด้วย
ตัวเองและ ระหว่างมื้ออาหารห้ามวางตะเกียบลงบนโต๊ะหรือผ้ารองชามตรงๆ ให้วางบนซองกระดาษ
7

• หากทานข้าว ให้ถือชามข้าวตรงหน้าด้วยมืออีกข้างที่ไม่ได้ใช้ถือตะเกียบ
หากรับประทานเมนูข้าว ให้ใช้มือข้างหนึ่งถือชามข้าวขึ้นมาตรงหน้า การวางชามข้าวบนโต๊ะ
แล้วรับประทานถือเป็นมารยาทที่ไม่ถูกต้อง ถ้วยใส่ซุปก็มีหลักปฏิบัติเช่นเดียวกัน
หากรับประทานซุป เช่น มิโสะซุป ควรถือถ้วยซุปขึ้นมาด้วยมือข้างที่ไม่ได้ใช้ถือตะเกียบ
เช่นกัน โดยเมื่อยกขึ้นมา ให้ใช้ตะเกียบเขี่ยวัตถุดิบอื่นๆ ออกเพื่อให้คุณสามารถซดน้าซุปได้ สาหรับ
ส่วนประกอบอื่นๆ ให้ใช้ตะเกียบรับประทาน
ตามความจริงมีกฎอื่นๆ อีกสาหรับการรับประทานอาหารแบบเป็นทางการ แต่สาหรับการ
รับประทานอาหารแบบเป็นกันเอง วิธีปฏิบัติเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทา

• รับประทานอาหารในจานให้หมด
ร้านอาหารส่วนมากในญี่ปุ่นจะไม่อนุญาตให้ห่ออาหารกลับไปรับประทานต่อที่บ้าน ด้วย
เหตุผลทางสุขอนามัย แม้ว่าจะไม่สามารถทานได้หมดจริงๆ ก็ไม่ต้องฝืนทาน แต่อย่างน้อยก็ควร
พยายามทานให้หมด สามารถบอกกับพนักงานตอนสั่งอาหารได้ว่าต้องการอาหารไซส์ขนาดไหน
โดยเฉพาะปริมาณข้าว สามารถขอปริมาณน้อยได้

• เมื่อรับประทานอาหารเสร็จให้ใส่ตะเกียบกลับลงในซอง แล้วพับปลายซองทบกลับมา
หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้ใส่ตะเกียบกลับลงไปในซองและพับปลายซองความ
ยาวประมาณนึ่งในสามทบกลับมา เพื่อให้พนักงานรู้ว่าเป็นตะเกียบที่ถูกใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีที่
วางตะเกียบ สามารถวางตะเกียบทิ้งไว้บนที่วางตะเกียบได้เลย
• พูด “โกะจิโซซามะเดชิตะ” หลังจบมื้ออาหาร
“โกะจิโซะซามะเดชิตะ (ごちそうさまでした)” แปลตามตัวอักษรได้ว่า “ขอบคุณ
สาหรับมื้ออาหาร” โดยคาว่า “จิโซ (馳走)” หมายถึง “การเลี้ยงอาหาร” เป็นคาที่ประกอบด้วย
ตัวอักษรคันจิสองตัวที่มีความหมายถึง “การวิ่ง” ทั้งคู่ เป็นการบ่งบอกโดยนัยว่ามื้ออาหารนี้ได้มาจาก
การลงน้าพักน้าแรงในการวิ่งเพื่อทางานอย่างยากลาบากของผู้คนหลากหลายฝ่าย ส่วนคาว่า “โกะ”
และ “ซามะ” เป็นรูปยกย่องสาหรับทาให้วลีฟังดูสุภาพเมื่อพูดขอบคุณผู้ที่ลงน้าพักน้าแรงเพื่อให้ได้
อาหารมื้อนี้มา ดังนั้นจึงควรพูด “โกะจิโซะซามะเดชิตะ” ด้วยความขอบคุณและซาบซึ้ง
อาจจะเห็นคนญี่ปุ่นบางคนพูดวลี “อิทะดะคิมัส” และ “โกะจิโซะซามะเดชิตะ” พร้อมพนม
มือคล้ายกับการไหว้ขอพร แต่การพนมมือนี้ไม่ถือเป็นสิ่งบังคับ เพราะเป็นเพียงแนวปฏิบัติของบาง
พื้นที่เท่านั้น การพูด “โกะจิโซะซามะเดชิตะ” กับพนักงานร้านเมื่อเดินออกจากร้านถือเป็นอีกหนึ่ง
มารยาทที่แสดงถึงความขอบคุณเช่นกัน
8

ตัวอย่างเมนูอาหารคาวสัญชาติญี่ปุ่น

1.ราเมน (Ramen) 5.ทงคัตสึ (Tonkatsu)

2.ข้าวหน้าเนื้อ (Gyudon)

3.ข้าวแกงกะหรี่ (Kare raisu)

4.โอโคโนมิยากิ (Okonomiyaki)
9

ตัวอย่างเมนูของหวานสัญชาติญี่ปุ่น
1.เมล่อนปัง (Melonpan) 5.โมจิหยดน้า (Mizu Mochi)

2.ดังโงะ (Dango)

3.ไดฟูกุ (Daifuku)

4.ขนมปลาไทยากิ (Taiyaki)
10

บรรณานุกรม
Moonlight Yoku. (2562). รู้จักการจัดจานอาหารญี่ปุ่นทั้ง 4 ฤดู. สืบค้น 6 สิงหาคม 2565. จาก
https://allabout-japan.com/th/article/7880/
Marumura. (2562). การจัดวางอาหารญี่ปุ่น. สืบค้น 6 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.facebook.com/marumuradotcom/posts/588093587889441
Supawichable. (2563). แนะนามารยาทบนโต๊ะอาหารญี่ปุ่นที่ทุกคนควรรู้. สืบค้น 6 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.tsunagujapan.com/th/japanese-table-manners-for-beginners/
Morning Kids. (2564). 50 อันดับ อาหารญี่ปุ่น ที่ไปแล้วต้องกิน !. สืบค้น 6 สิงหาคม 2565. จาก
https://chillchilljapan.com/50-japan-food/

You might also like