You are on page 1of 144

ความรูทางเคมีทสี่ ําคัญสําหรับวิศวกรทั่วไป

รศ.แมน อมรสิทธิ์
ดร.ประวิทย สิงหโตทอง
ดร.ดํารงค สมมิตร
อัญชลี ทองสิมา
สันติ ตั้งประภา
บทที่ 1
อะตอม โมเลกุล และไอออน
(Atoms, Molecules, and Ions)

อะตอม (atom) คือ หนวยพื้นฐานของธาตุที่เขาทําปฏิกิริยาเคมี ประกอบดวย 2 สวน


ที่สําคัญ สวนแรกนิวเคลียส มีประจุไฟฟาเปนบวกซึ่งประกอบดวยโปรตอนและนิวตรอนสวน
ที่สองอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟาเปนลบเคลื่อนที่อยูรอบนิวเคลียสมีสมบัติดังในตาราง
e- อิเล็กตรอน

p+n นิวเคลียส (โปรตอน + นิวตรอน)

ชนิดของอนุภาค ประจุ มวล ( g )


โปรตอน , p + 1.67 x 10 –24 g = 1 amu
นิวตรอน , n 0 1.67 x 10 –24 g = 1 amu
อิเล็กตรอน , e- - 9.11 x 10 –28 g = 0.00055 amu

สั ญ ลั ก ษณ อ ะตอม (Atomic symbol) เป น สั ญ ลั ก ษณ ที่ แ สดงเลขมวล เลขอะตอม และ
สัญลักษณธาตุ

เลขมวล AX สัญลักษณธาตุ
( อานวา X → Z → A )
เลขอะตอม Z
2
เชน 1H อานวา Hydrogen – 1 - 2 หรือ ดิวทีเรียม

เลขอะตอม (Atomic number : Z) คือ จํานวนโปรตอนในนิวเคลียสของแตละอะตอม


ของธาตุ

Z=p
ในอะตอมที่ เปนกลาง จํานวนโปรตอนเทากับจํานวนอิเล็กตรอน ดังนั้นเลขอะตอมจึง
บอกจํานวนอิเล็กตรอนในอะตอมดวย

p = e-

เลขมวล (Mass number : A) คือ ผลรวมนิวตรอนและโปรตอนที่มีอยูในนิวเคลียสของธาตุ

A=p+n เลขมวล = จํานวนโปรตอน + จํานวนนิวตรอน


= เลขอะตอม + จํานวนนิวตรอน

ไอโซโทป (Isotope) คือ อะตอมที่มีเลขอะตอมเทากันแตมีเลขมวลตางกัน เชน


1 2 3 12 13 14
1H 1H 1H 6 C 6 C 6 C
ไฮโดรเจน ดิวทีเรียม ทริเทียม C-12 C-13 C-14

ไอออน (Ion) : อะตอมหรือกลุมของอะตอมที่มีการใหหรือรับอิเล็กตรอน


1. ไอออนบวก (Cation) คือ อะตอมหรือกลุมอะตอมทีม่ ีการให e-
2. ไอออนลบ (Anion) คือ อะตอมหรือกลุมอะตอมที่มีการรับ e-
เชน Na+ K+ Mg2+ Ca2+ Al3+
Cl- Br- F- S2- O2-
NH4+ NO3- SO42- CO32- PO43-

ตัวอยาง เติมจํานวนโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน ประจุ และสัญลักษณอะตอมใน ชองวาง


ใหถูกตอง

11 56
สัญลักษณ
5 B 26 Fe 2+ P Au Rn

โปรตอน 5 79 86
นิวตรอน 6 16 117 136
อิเล็กตรอน 5 18 79
ประจุสุทธิ 0 -3 0
มวลอะตอม (Atomic mass) คือ ตัวเลขที่ไดจากการเปรียบเทียบมวลของธาตุ 1 อะตอมกับ
มวลของ
ธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม ในรูปของหนวยมวลอะตอม (amu) เชน
1 12
H = 1.00 amu C = 12.00 amu
( เดิม ) ( ปจจุบัน )
มวลของธาตุ 1 อะตอม
มวลอะตอมของธาตุ =
1
มวลของ C-12 1 อะตอม
12
1
โดย 1 amu = มวลของ C-12 = 1.66 x 10-24 g
12
มวลอะตอมเฉลี่ย (Average atomic mass) คือ การนํามวลอะตอมของธาตุที่มีหลาย
ไอโซโทปมาหา
มวลอะตอมเฉลี่ย

∑ ( ปริมาณ%ของไอโซโทป x มวลของไอโซโทป )
มวลอะตอมเฉลี่ย =
100
∑ ( % ในธรรมชาติ x มวล )
=
100

ตัวอยางที่ 1 ทองแดงเปนโลหะที่มนุษยรจู ักมาตั้งแตสมัยโบราณใชทําสายไฟฟาและเหรียญ


63
กษาปณเปนตน มวลอะตอมของไอโซโทปที่เสถียร 2 ชนิดของทองแดง 29 Cu (69.09%) และ
65
29 Cu (30.91%)
มีคา 62.93 และ 64.9278 amu ตามลําดับ จงคํานวณมวลอะตอมเฉลี่ยของทองแดง

(69.09 × 62.93) + (30.91× 64.9278)


มวลอะตอมเฉลี่ย =
100
= 63.548 amu
10
ตัวอยางที่ 2 มวลอะตอมของไอโซโทปที่เสถียร 2 ไอโซโทปของโบรอน คือ 5 B (19.78 %)
11
และ 5 B (80.22 %) มีคา 10.0129 และ 11.0093 amu ตามลําดับ จงคํานวณมวลอะตอม
เฉลี่ยของโบรอน

(19.78 ×10.0129) + (80.22 ×11.0093)


มวลอะตอมเฉลี่ย =
100
= 10.812 amu
มวลโมเลกุล (Molecular mass) เปนผลบวกมวลอะตอม (เปน amu) ของอะตอมทั้งหมดใน
โมเลกุล
เชน มวลโมเลกุลของ NO2 = (1 x มวลอะตอมของ N) + (2 x มวลอะตอมของ O)
= (1 x 14 amu) + (2 x 16 amu)
= 46 amu
ตัวอยางที่ 3 จงคํานวณมวลโมเลกุลของสารประกอบตอไปนี้
( H = 1 , C = 12 , N = 14 , O = 16 )
3.1 HNO3 3.2 C6H8O6
3.3 H2O 3.4 CH3COOH
( 63 176 18 60
ตามลําดับ )

มวลสูตร (Formula Mass) คิดเหมือนมวลโมเลกุล แตใชสําหรับสารประกอบไอออนิก


เชน formula mass ของ NaCl = 23 amu + 35.5 amu
= 58.5 amu

ตัวอยางที่ 4 จงคํานวณ formula mass ของสารตอไปนี้


( C = 12 , O = 16 , Na = 23 , P = 31 , K = 39 , Br = 80 )
4.1 KBr 4.2 Na2SO4
4.3 Na2CO3 4.4 Na3PO4
( 119 142 106
164 ตามลําดับ )

โมล ( mole ) หมายถึง ปริมาณสารที่ประกอบไปดวยอนุภาค (อะตอม โมเลกุลหรืออนุภาคอื่น)


เทากับ จํานวนอะตอมของไอโซโทป C–12 จํานวน 12 กรัม
โมลเปนหนวยเรียกในระบบ SI โดยสัญลักษณของโมล คือ mol
1 mole = 6.022045 x 1023 อนุภาค
= Avogadro’s number
สารใดๆ 1 โมล จะมีจํานวนอนุภาค (อะตอม โมเลกุล ไอออน) เทากับ 6.02 x 1023
อนุภาค (อะตอม โมเลกุล ไอออน)

มวลตอโมล (Molar mass)


1. มวลตอโมล ของ ธาตุ หนึ่งๆ จะมีมวลเทากับมวลอะตอมที่มีหนวยเปนกรัม ( g )
เชน มวลอะตอมของ Na = 23 amu
มวลตอโมลของ Na = 23 กรัม
2. มวลตอโมล ของ สารประกอบ หนึ่งๆ จะมีมวลเทากับ มวลโมเลกุลที่มีหนวยเปนกรัม
(g)
เชน มวลโมเลกุลของ CO2 = 44 amu
มวลตอโมลของ CO2 = 44 กรัม
3. มวลตอโมล ของ ไอออน หนึ่งๆ จะมีมวลเทากับมวลของไอออนนั้นๆ หรือ formular
mass ที่มีหนวยเปน กรัม ( g )
เชน มวลอะตอมของ Na = 23 amu
มวลตอโมลของ Na+ = 23 กรัม

สรุป
1 mol ของ C อะตอม = 6.02 x 1023 อะตอม = 12 กรัม
1 mol ของ O2โมเลกุล = 6.02 x 1023 โมเลกุล = 32 กรัม
= 2 x 6.02 x 1023 อะตอม
1 mol ของ Na+ ไอออน = 6.02 x 1023 ไอออน = 23 กรัม

ตัวอยางที่ 5 เงิน (Ag) 1 อะตอมมีมวลกี่กรัม (มวลอะตอม Ag =107.9)


มวลตอโมล Ag = 107.9 กรัม ใน Ag 1 โมล มี 6.02 x 1023 อะตอม
Ag 6.02 x 1023 อะตอม มีมวล 107.9 กรัม
107.9 -22
ดังนั้น Ag 1 อะตอม มีมวล 23
= 1.792 x 10 กรัม
6.02 ×10
ตัวอยางที่ 6 ถานําสารประกอบของ C2H5OH 13.8 กรัม (H = 1,C = 12,O=16) จงคํานวณ
1) จํานวนโมลของ C2H5OH
มวลของสาร ( g )
จํานวนโมล =
มวลโมเลกุล
มวลโมเลกุล = 2 (12) + 6 (1) + 1 (16) = 46
13.8
ดังนั้น จํานวนโมลของ C2H5OH = = 0.3 โมล
46
2) จํานวนโมเลกุลของ C2H5OH
C2H5OH 1 โมล มีจํานวน 6.02 x 1023 โมเลกุล
ดังนั้น C2H5OH 0.3 โมล มีจํานวน = 0.3 x 6.02 x 1023 โมเลกุล
= 1.81 x 1023 โมเลกุล
3) จํานวนอะตอมของ C , H และ O ในโมเลกุลของ C2H5OH
C2H5OH 1 โมเลกุล มี C 2 อะตอม
ดังนั้น C2H5OH 1.81 x 1023 โมเลกุล มี C = 2 x 1.81 x 1023 อะตอม
= 3.61 x 1023 อะตอม
C2H5OH 1 โมเลกุล มี H 6 อะตอม
ดังนั้น C2H5OH 1.81 x 1023 โมเลกุล มี H = 6 x 1.81 x 1023 อะตอม
= 1.09 x 1024 อะตอม
C2H5OH 1 โมเลกุล มี O 1 อะตอม
ดังนั้น C2H5OH 1.81 x 1023 โมเลกุล มี O = 1 x 1.81 x 1023 อะตอม
= 1.81 x 1023 อะตอม

องคประกอบรอยละของสารประกอบ
เปนการคํานวณหาองคประกอบของอะตอมเปนรอยละโดยน้ําหนักของอะตอมใน
โมเลกุล

(จํานวนอะตอมของธาตุx มวลอะตอมของธาตุ) × 100


รอยละขององคประกอบ =
มวลโมเลกลุของสารประกอบ

ตัวอยางที่ 7 จงหารอยละองคประกอบของ H และ O ในสารประกอบ H2O2 (H = 1,O = 16)


มวลโมเลกุลของ H2O2 = 34 กรัม
2
ดังนั้น %H = × 100 = 5.9 %
34
32
%O = × 100 = 94.1 % ( 5.9 + 94.1 = 100 % )
34
ตัวอยางที่ 8 จงหารอยละองคประกอบของ H , S , O ในกรดซัลฟวริก (H2SO4 )
( H =1, O =16 , S = 32 )
2
%H = × 100 = 2.04 %
98
32
%S = × 100 = 32.65 %
98
64
%O = × 100 = 65.31 % ( 2.04 + 32.65 +
98
65.31 = 100 % )

สูตรอยางงาย (Empirical Formular, EF) เปนสูตรที่แสดงอัตราสวนอยางต่ําของธาตุในสาร


ประกอบ

สู ต รโมเลกุ ล (Molecular Formular , MF) เป น สู ต รที่ แ สดงจํ า นวนอะตอมของธาตุ ใ น


1 โมเลกุล
การเปลี่ยนสูตรอยางงายเปนสูตรโมเลกุล : (สูตรอยางงาย)n = มวลโมเลกุล

ตัวอยางที่ 9 กรดแอสคอบิ ก (วิ ต ามิ น ซี ) รั ก ษาเลื อ ดออกตามไรฟ น กรดนี้ ป ระกอบด ว ย


คารบอน ( C )
40.92 % ไฮโดรเจน ( H ) 4.58 % และออกซิเจน ( O ) 54.50 % โดยมวล
จงหาสูตรอยางงาย และสูตรโมเลกุลของกรดแอสคอบิก ( กําหนดมวลโมเลกุล
ของกรดแอสคอบิกเทากับ 176 )
อัตราสวนโดยมวลของ C : H : O = 40.92 : 4.58 : 54.50
40.92 4.58 54.50
อัตราสวนโดยโมลของ C : H : O = : :
12 1 16
= 3.41 : 4.58 : 3.41
3.41 4.58 3.41
หาอัตราสวนอยางต่ํา = : :
3.41 3.41 3.41
= 1.0 : 1.3 : 1.0
ดังนั้น สูตรอยางงาย คือ C1H1.3O1
ขั้นตอไปเปลีย่ น 1.3 ใหเปนเลขจํานวนเต็มโดยวิธลี องผิดลองถูก
คูณ 2 ตลอด จะได C2H2.6O2 ซึ่งยังปดไมได
คูณ 3 ตลอด จะได C3H3.9O3 ≈ C3H4O3
หาสูตรโมเลกุลจาก (สูตรอยางงาย)n = มวลโมเลกุล
(C3H4O3 )n = 176
( 3 (12) + 4 (1) + 3 (16))n = 176
88 n = 176
176
n =
88
= 2
ดังนั้น สูตรโมเลกุลของกรดแอสคอรบิก คือ (C3H4O3 )2 = C6H8O6
บทที่ 2
การจัดเรียงอิเล็กตรอนและตารางธาตุ
(Electron Configuration and Periodic Table)

ทฤษฎีควอนตัม (Quantum theory)


ใชอธิบายโครงสรางภายในอะตอมและบทบาทของอิเล็กตรอนในวิชาเคมี ทําให เรา
ทราบสมบัติของสารทั้งหมดในปฏิกิริยาเคมี เชน 1. จํานวนอิเล็กตรอนในอะตอม
2. พลังงานของอิเล็กตรอน
3. การจัดเรียงกันของอิเล็กตรอน
ควอนตัม (Quantum)
พลังงานปริมาณที่นอยที่สุด ที่เปลงออกมา (หรือดูดกลืน) ในรูปการแผรังสีแมเหล็กไฟฟา
(electromagnetic radiation)
คลื่นแมเหล็กไฟฟา (Electromagnetic wave, EM)
ประกอบด ว ย สนามแม เหล็ ก (magnetic field) และสนามไฟฟ า (electric field) ซึ่ งมี
ความยาวคลื่ น และความถี่ เดี ย วกั น ดั งนั้ น จึงมี อั ต ราเร็ว เท ากั น แต เคลื่อ นที่ ไปในระนาบตั้ ง
ฉากกัน ดังรูป

การแผรังสี (Radiation)
การเปลง (emission) และการสงผาน (transmission) พลังงานผานที่วางในรูปของคลื่น
ลักษณะของคลื่น มีองคประกอบ ดังนี้
1. ความยาวคลื่น (λ) คือ ระยะระหวางจุดที่เหมือนกันบนคลื่น มีหนวย m, cm หรือ m
2. ความถี่ ( ν ) คือ จํานวนคลื่นที่ผานจุดๆ หนึ่งในเวลา 1 วินาที มีหนวย cycle/sec,
hertz (Hz)
3. แอมพลิจูด (amplitude) ระยะในแนวตั้งจากจุดกึ่งกลางของคลื่นไปยังจุดสูงสุดหรือ
จุดต่ําสุด
4. ความเร็ว ( u ) คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ไดในระยะเวลา 1 วินาที
การศึกษาแบบจําลองของอะตอม
1873 Maxwell เสนอวา แสงในชวงที่เห็นได (visible light) ประกอบดวยคลื่นแมเหล็กไฟฟา
ที่มีทั้ง electric field และ magnetic field เคลื่อนที่ตั้งฉากกัน
1900 Planck กลาววาอะตอมและโมเลกุลสามารถเปลง (หรือดูดกลืน) พลังงานไดเฉพาะ
บางค าเท า นั้ น และพลั งงานนี้ มี ลั ก ษณะคล ายกลุ ม ก อ น เรีย กปริ ม าณของ
พลังงานที่นอยที่สุด ที่เปลงออกมา (หรือดูดกลืน) ในรูปการแผรังสีแมเหล็ก
ไฟฟาวา ควอนตัม (quantum)
1905 Einstein : ศึกษาปรากฏการณ Photoelectric effect การที่แสง
ที่ มี ค วามถี่ จํ า เพาะค า หนึ่ ง ตกกระทบผิ ว โลหะที่
สะอาดทําใหมีอิเล็กตรอนกระเด็นออกจากผิวโลหะ
อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจะถูกดึงดูดใหวิ่งเขาหาขั้ว
บวก การไหลของอิเล็กตรอนจะทราบไดจากเครื่อง
ตรวจวั ด ซึ่ งปรากฏการณ นี่ ไม ส ามารถอธิ บ ายได
ดวยทฤษฎีคลื่นแสง Einstein อธิบายอิเล็กตรอนที่
กระเด็นขึ้นอยูกับความถี่ของแสงและตั้งสมมติฐาน
ว า “Light is a stream of particles” (แ ส งเป น
สายธารของอนุ ภ าค)ไม ใช ค ลื่ น และเรี ย กอนุ ภ าค
ของแสงวา โฟตอน (photon)
1913 Bohr ศึ ก ษาสเปกตรั ม การเปล งแสง (emission spectrum) ของ H - atom พบว า
emission spectrum คื อ แถบการแผ รั ง สี ข องวั ต ถุ เ มื่ อ มี ก ารกระตุ น ด ว ย
พลังงาน โดย Bohr สรุปวา
1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เปนวงโคจร (orbit)
- ไมจํากัดจํานวน - รูปทรงกลม
- รัศมีแนนอน - พลังงานมีคาที่แนนอน
2. พลังงานของอิเล็กตรอนที่เพิ่มขึ้น ทําใหอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปอยู
ในวงโคจรที่ไกลขึ้น ถาอิเล็กตรอนจะกลับเขาสูวงโคจรเดิมจะตอง
แผรังสีออกมาเรียกวา photon
1924 de Broglie สรุ ป ว า อิ เล็ ก ตรอนมี คุ ณ สมบั ติ เ ป น ได ทั้ ง อนุ ภ าคและคลื่ น ในกรณี ข อง
H-atom อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่เปนวงโคจรรอบนิวเคลียสและมีพลังงานคงที่
โดยอิเล็กตรอน เปนไดทั้งอนุภาค และคลื่นเชนกัน แต ไมสามารถอธิบาย
กรณีอะตอมที่มีอิเล็กตรอนมากกวา 1 ตัว และ emission spectrum ของ H
ภายใตสนามแมเหล็ก
1926 Schrodinger พิ จ ารณาอิ เ ล็ ก ตรอนในเชิ ง mechanic เรี ย กว า wave mechanics หรื อ
quantum mechanics เขียนเปนสมการ Schrodinger ไดดังนี้

∂ 2ϕ ∂ 2ϕ ∂ 2ϕ 8π 2 m
+ + + 2 (E-V)ϕ = 0
∂X 2 ∂Y 2 ∂Z 2 h
2π x
wave function ϕ = A sin
λ
2π px h
= A sin ; λ =
h p
โดยที่ ϕ แสดงความนาจะเปน (Probability) ในการพบอิเล็กตรอนในสามมิติ
2

(space) ถามีคาสูงแสดงวามีโอกาสในการพบอิเล็กตรอนสูง สมการนี้เองใช


เปนขอสรุปวา อิเล็กตรอนเปนไดทั้งอนุภาคและคลื่น และยังบอกไดอีกวา
อิเล็กตรอนไมมีตําแหนงเดนชัดรอบ nucleus ดังนั้นจึงเรียก บริเวณที่จะพบ
อิเล็กตรอนวา electron density หรือ electron cloud ตอมาจึงเปลี่ยนมาเรียก
orbital หรือ atomic orbital ซึ่งจะมีความนาจะเปนในการพบ e- ถึง 90 % มีรูป
รางและพลังงานเฉพาะ
เลขควอนตัม ( Quantum Number )
เลขควอนตัม ไดมาจากการแกสมการ Schrodinger ซึ่งสามารถนํามาใชอธิบายพฤติ
กรรมและกําหนดตําแหนงของอิเล็กตรอนได โดยเลขควอนตัมแบงออกเปน 4 ชนิด คือ

1. เลขควอนตัมหลัก ( Principal quantum number ; n )


n เปนเลขจํานวนเต็ม มีคาตั้งแต 1 , 2 , 3 …….
บอกถึง - ระดับพลังงานหลักของอิเล็กตรอนใน orbital
- ระยะเฉลี่ยระหวางอิเล็กตรอนในออรบิทัลหนึ่งๆ กับนิวเคลียส
โดยถา n
มีคามาก ระยะเฉลี่ยระหวางอิเล็กตรอนในออรบิทัลถึงนิวเคลียสก็
ยิ่งมาก
ออรบิทัลนั้นจะมีขนาดใหญ (ออรบิทัลนั้นเสถียรนอยลง)

2. เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม ( Angular momentum quantum number ; λ )


บอกถึง - รูปรางของ orbital
- มีคาตั้งแต 0 ถึง ( n – 1 ) กลาวคือ
ถา n = 1 λ = 0
n = 2 λ = 0,1
n = 3 λ = 0,1,2
n = 4 λ = 0,1,2,3
โดยในแตละคาของ λ มีการกําหนดชื่อไวดังนี้
λ 0 1 2 3 4 5
ชื่อออรบิทัล s p d f g h

3. เลขควอนตัมแมเหล็ก (Magnetic quantum number ; mλ )


บอกถึง - การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสามมิติ ( space )
- คา mλ ขึน้ อยูกับคา λ โดย mλ = 2λ + 1 คา
แตละคาของ mλ มีคาอยูระหวาง - λ ถึง + λ ดังนี้
-λ, ( - λ + 1), … , 0 , … , (+λ – 1) , λ
- คา mλ จะเปนตัวบอกจํานวน orbital ในแตละระดับพลังงานยอย เชน

λ = 0 mλ = 2 (0) + 1 = 1 คา คือ 0 ดังนั้น s


orbital มี 1 orbital
λ = 1 mλ = 2 (1) + 1 = 3 คา คือ - 1 , 0 , 1 ดังนั้น p
orbital มี 3 orbital
λ = 2 mλ = 2 (2) + 1 = 5 คา คือ -2 , -1 , 0 , 1 , 2 ดังนั้น d
orbital มี 5 orbital

4. เลขควอนตัมสปน (Spin quantum number ; m s )


แสดงทิศ ทางการหมุ น (spin direction) ของอิเล็กตรอน มีคาเปน +½ หรือ
- ½ ลักษณะการหมุนของอิเล็กตรอน 2 ตัว จะหมุนรอบแกนตัวเองในทิศทาง
ตรงกันขาม คือ สปนขึ้น (+½ ) และสปนลง (-½ ) เหมือนแมเหล็กหันขั้วบวก
และลบ เขาหากัน

จากการแกสมการ Schrodinger หาคา ϕ แสดงความหนาแนนของอิเล็กตรอนในที่


2

วางรอบนิวเคลียสของอะตอม พบวา รูปรางและจํานวนออรบิทัลของแตละระดับพลังงานยอย


เปนดังนี้
s orbital เปนทรงกลม มี 1 orbital

p orbital เปน dumbell มี 3 orbital

d orbital เปนรูปราง 3 มิติ มี 5 orbital


ตารางสรุป คาเลขควอนตัมตางๆ
n 1 2 3 4
λ 0 0 1 0 1 2 0 1 2 3
orbital s s p s p d s p d f

mλ 0 0 -1,0,1 0 -1,0,1 -2,-1,0,1,2 0 -1,0,1 -2,-1,0,1,2 -3,-2,-1,0,1,2,3


no. orbital 1 1 3 1 3 5 1 3 5 7
no. electron 2 2 6 2 6 10 2 6 10 14
Σ orbital 1 4 9 16

จํานวนออรบิทัลในแตละระดับพลังงานหลัก = n2
จํานวนอิเล็กตรอนแตละระดับพลังงานหลัก = 2n2
พลังงานของออรบิทัล
พลังงานของอิเล็กตรอนในไฮโดรเจนอะตอมหาไดจากเลขควอนตัมหลัก ดังนี้
1s < 2s = 2p < 3s = 3p =3d < 4s = 4p = 4d = 4f < …

กรณีอะตอมมีหลายอิเล็กตรอน พลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอมไมไดขึ้นกับ n เพียง


อยางเดียว แตยังขึ้นกับ λ ดวย ดังนี้ 1s < 2s < 2p < 3s < 3p < 4s < 3d < 4p < …
หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอน
1. Aufbau Principle การจั ด เรี ย งอิ เ ล็ ก ตรอนจะต อ งเติ ม อิ เ ล็ ก ตรอนจากระดั บ
พลังงานต่ําไปสูง
คือ จาก 1s → 2s → 2p → 3s → 3p → 4s → 3d → 4p →…
2. Hund Principle การจัดเรียงอิเ ล็ ก ตรอนในออรบิทัลแบบที่เสถียรที่สุดคือแบบที่ มี
สปนขนานกันจํานวนมากที่สุด (กระจายมากที่สุด)

2Px 2Py 2Pz 2Px 2Py 2Pz 2Px 2Py 2Pz


ผิด ผิด ถูก

3. Pauli Exclusion Principle แต ล ะออรบิ ทั ล สามารถรับ อิ เล็ ก ตรอนได อย างมาก
2 ตัว และอิเล็กตรอนทั้งสองตัวนี้จะมีสปนตรงกันขามหรือมีเลขควอนตัมทั้ง 4 ชนิด
ไมเหมือนกันการศึกษาถึงพฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอม ตองรูถึงพื้นฐานใน
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
(electron configuration) ดังนี้
จํานวนอิเล็กตรอนใน orbital
nλ X

principle energy level


angular momentum quantum number
n = 1, 2, 3, ...
s , p , d , f , ..
เราจะทําการบรรจุอิเล็กตรอนจากออรบิทัลที่มีพลังงานต่ําสุดไปหา orbital ที่มีพลังงาน
สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยใชแผนภาพการจัดเรียงอิเล็กตรอนในออรบิทัลดังนี้
ตัวอยาง การจัดเรียงอิเล็กตรอน

อะตอม จํานวนอิเล็กตรอน การจัดเรียงอิเล็กตรอน


1H 1 1s1
2He 2 1s2
3Li 3 1s2 2s1
4Be 4 1s2 2s2
5B 5 1s2 2s2 2p1
6C 6 1s2 2s2 2p2
10Ne 10 1s2 2s2 2p6
21Sc 21 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d1

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในแตละออรบิทัล แตไมไดบอก spin ของอิเล็กตรอน (ms) และ


ไมไดบอก orientation ของ orbital (mλ) ดังนั้นเราอาจใช orbital diagram แสดงการจัดเรียง
อิเล็กตรอนในแตละออรบิทัล เพื่อชวยทํานายสภาพความเปนแมเหล็ก และความเสถียรของ
อิเล็กตรอน ดังนี้

สภาพความเปนแมเหล็ก
- Paramagnetic การจัดเรียงอิเล็กตรอนมี unpaired electron (โดดเดี่ยว)
ทําใหเกิดการเหนี่ยวนําในสนามแมเหล็ก
- Diamagnetic การจัดเรียงอิเล็กตรอนเปน paired electron (จับคูหมด)
ทําใหสนามแมเหล็กหักลางกันหมดไมเกิดการเหนี่ยวนําในสนามแมเหล็ก

ความเสถียรของอิเล็กตรอน
Complete filling > Half filling > Incomplete filling

เลขหมูและเลขคาบ
จากการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุตางๆ เราสามารถบอกเลขหมูและเลขคาบไดดังนี้
เลขคาบ ดูจากระดับพลังงานหลักทีส่ ูงที่สุด
เลขหมู ดูจากจํานวนอิเล็กตรอนทั้งหมด ในระดับพลังงานหลักที่สูงที่สุด
หมู (Groups) แถวตามแนวตั้ง (หรือfamilies)
มี e- วงนอกสุดเทากัน
คาบ (Periods) แถวตามแนวนอน
เลขอะตอมเพิ่มจากซายไปขวา
จํานวน n เทากัน

ตัวอยาง
คาบ หมู Orbital diagram สภาพความ
electron configuration filling
1s 2s 2p 3s เปนแมเหล็ก
5B 1s2 2s2 2p1 2 3 paramagnetic incomplete
6C 1s2 2s2 2p2 2 4 paramagnetic incomplete
7N 1s2 2s2 2p3 2 5 paramagnetic half
8O 1s2 2s2 2p4 2 6 paramagnetic incomplete
9F 1s2 2s2 2p5 2 7 paramagnetic incomplete
10Ne 1s2 2s2 2p6 2 8 diamagnetic complete
11Na 1s2 2s2 2p6 3s1 3 1 paramagnetic half
12Mg 1s2 2s2 2p6 3s2 3 2 diamagnetic complete

กรณีพิเศษ
24Cr : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d4 จัดใหมเปน 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d5

4s 3d 4s 3d
การจั ด เรี ย งอิ เล็ ก ตรอนแบบเดิ ม เป น Incomplete filling เพื่อใหมีความเสถียรมากขึ้น
อิ เล็กตรอน จาก 4s 1 ตัวจะกระโดดไปอยูในระดับพลังงาน 3d เพื่ อ ให เป น ก า ร จั ด เรี ย ง
อิเล็กตรอนแบบ Half filling
29 Cu : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d9 จัดใหมเปน 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d10

4s 3d 4s 3d
การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบใหมเปน Complete filling โดยอิเล็กตรอนจาก 4s 1 ตัว จะ
กระโดดไปอยูในระดับพลังงาน 3d ซึ่งมีความเสถียรกวา Incomplete filling
การจําแนกธาตุตามตารางธาตุ
Newlands (1864) เรียงตาม atomic mass
Mendeleev (1869)
Meyer (1869)
Moseley (1913) เรียงตามเลขอะตอมเหมือนปจจุบัน
เลขอะต อมแสดงจํ า น วน อิ เ ล็ ก ต รอน และเมื่ อจั ด เรี ย งอิ เ ล็ ก ต รอน (electron
configuration) พบวามีความสัมพันธกับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี โดยดูจากอิเล็กตรอน
วงนอก (valence electron) ประโยชนของตารางธาตุทําใหเขาใจสมบัติ แนวโนม (trend) และ
สามารถทํานายคุณสมบัติของธาตุได
Electron configuration ของ ions
Free element
-
ให e รับ e-
Cation Anion
(+) (-)

Ion จากธาตุ representative element (1A – 7A)


ปกติ cation
1A 11Na 1s2 2s2 2p6 3s1 Na+
1s2 2s2 2p6
2A 12Mg 1s2 2s2 2p6 3s2 Mg2+ 1s2 2s2 2p6
3A 13 Al 1s2 2s2 2p6 3s2 3p1 Al3+ 1s2 2s2 2p6

ปกติ anion
5A 7N 1s2 2s2 2p3 N 3-
1s2 2s2 2p6
6A 8O 1s2 2s2 2p4 O2- 1s2 2s2 2p6
7A 9F 1s2 2s2 2p5 F- 1s2 2s2 2p6

ion ที่มีจํานวน อิเล็กตรอนเทากัน เรียกวา isoelectronic atom


เชน Na+ , Mg2+ , Al3+ เปน isoelectronic กับ Ne (1s2 2s2 2p6)
N 3 -, O 2 -, F - เปน isoelectronic กับ Ne (1s2 2s2 2p6)
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุกลุม Noble gas จะบรรจุอิเล็กตรอนตัวสุดทายใน p-
orbital เต็ม (p6) ยกเวน He (s2) เชน
[ He ] = 1s2 e- ที่บรรจุในแตละ orbital เต็ม
[ Ne ] = 1s2 2s2 2p6

Cations ที่มาจาก transition metals


Transition metal มีอิเล็กตรอนแบบ ns (n-1)d เชน
2 2 6 2 6 2 5
25Mn = 1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d
เวลาเกิดเปน cation อิเล็กตรอนจะหลุดออกจาก 4s กอน 3d เสมอ
Mn2+ = 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 ไมใช 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d3

จะเห็นวาอิเล็กตรอนจะออกมาจาก ns กอน (n-1) d เสมอ เนื่องจาก (n-1) d เสถียร


มากกวา ns
- อาจเกิด cation ไดมากกวา 1 ชนิด
- cation ที่เกิดไมเปน isoelectronic กับ Ar (1s2 2s2 2p6 3s2 3p6)

ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอม
- สัมพันธกับสมบัติทางกายภาพ เชน ความหนาแนน จุดเดือด จุดหลอมเหลว
- ไมสามารถกําหนดไดแนนอน โดยคิดเทากับปริมาตรที่มี e- 90 % รอบนิวเคลียส
- ปจจัยที่มีผลตอขนาดอะตอมและขนาดไอออน
1. nuclear charge แรงดึงดูดที่ nucleus (p) มีตอ electron
2. electron – electron repulsion แรงผลักระหวาง electron
3. electron shield electron ขางในบัง electron ขางนอก
- ในคาบเดียวกัน nuclear charge เพิ่ม แต shielding ไมเพิ่ม ดังนั้นขนาดจะลดลง
- ในหมูเดียวกันรัศมีอะตอมเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม เชนโลหะแอลคาไล เวเลนซ
อิเล็กตรอนซึ่งอยูนอกสุดจะอยูใน ns-orbital เนือ่ งจากขนาดของออรบิทัลใหญขึ้นตาม
เลขควอมตัมหลัก n ที่เพิ่มขึน้ ขนาดอะตอมของโลหะจึงเพิ่มขึ้น
ขนาดไอออน
Atom เปนกลาง
-
รับ e ให e-
Anion ( - ) Cation ( + )
- รับ e- เพิ่ม - เสีย e- ไป
- แรงผลัก e- - e- เพิ่ม - ลดแรงผลักระหวาง e- - e-
- ขนาดเพิ่ม - ขนาดเล็กลง

F F- Na Na+

- จากบนลงลาง (หมู) ขนาด atom, ion เพิ่ม


- แถวนอนเดียวกัน (คาบ) ถาตางหมูกันเปรียบเทียบกันไมได ถาไมเปน
isoelectronic กัน
ตัวอยาง Na : p = 11 Na+ : p = 11
e- = 11 e- = 10
F : p = 9 F- : p = 9
e- = 9 e- = 10
จะเห็นวา Na+ มีขนาดเล็กกวา F– โดยที่ จํานวนอิเล็กตรอนเทากัน แตจํานวนโปรตอนไมเทากัน
การที่จํานวนโปรตอน (p) มากกวาแต e- เทากัน ทําใหจํานวน nuclear charge สูงกวา ขนาด
จึงเล็กกวา
Unipositive cation Na+ เนื่องจาก proton
Dipositive cation Mg2+ มากขึ้นทําให
+ Tripositive cation Al3+ nuclear chargeสูงขึ้น
Uninegative anion F–
- Dinegative anion O 2- มี proton นอยลง
Trinegative anion N 3-

- สําหรับพวก Transition metal มีลําดับ ไมแนนอน ดังรูป

พลังงานไอออไนเซชัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน และ อิเล็กโตรเนกาติวติ ี


พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization energy, IE)
: พลังงานนอยที่สุดที่จําเปนตองใชในการดึงอิเล็กตรอน 1 ตัวออกจากอะตอมในสถานะ
พื้นที่อยูในวัฏภาคแกส ทําใหเกิดไอออนประจุบวก
X (g) → X+ (g) + e-
- ความเสถียร (stability) ของ valence electron สามารถวัดโดยใชคา IE
- IE มาก อะตอมยึด e- แข็งแรงมาก จึงตองใชพลังงานมากเชนกัน
IE1 = การดึง e- ตัวแรก
IE 2 = การดึง e- ตัวที่สอง
IE 3 = การดึง e- ตัวที่สาม
( IE 1 < IE 2 < IE 3 < ... )
หลังจากที่ดึง e- ตัวหนึ่งออกจากอะตอมไปแลว แรงผลักระหวาง e- ที่เหลือจะลดลง
แตแรงดึงดูดของนิวเคลียส (ประจุ +) เทาเดิมจึงตองใชพลังงานมากขึ้นเพื่อดึง e- ตัว
ตอไป
IE เพิ่ม เพราะ nuclear charge เพิ่ม
IE เพิ่ม
หมู IA (Alkali metal) มีคา IE ต่ําที่สุด
หมู VIIIA (Noble gas) มีคา IE สูงสุด (เสีย electron ยากที่สุด)

หมูเดียวกันคา IE มีแนวโนมลดลงจากบนลงลาง เนื่องจากมี e- เพิ่มขึ้น ระดับพลังงาน


มากขึ้น ดังนั้นแรงผลักระหวาง e- - e- มากขึ้น (แรงดึงดูดระหวาง nucleus กับ e- นอยลง) พลัง
งานในการดึง e- จึงนอยลง

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron affinity ; EA)


: พลังงานที่เปลี่ยนแปลงเมื่ออะตอมในสถานะแกสรับอิเล็กตรอนเขามา 1 ตัว เชน
F (g) + e- → F – (g) EA = - 333 kJ / mol
- คาที่ไดติดคาลบ ถาพลังงานถูกปลอยออกมา (exothermic)
- อะตอมที่มีแรงดึงดูดอิเล็กตรอนมาก คา EA จะติดลบมากดวย
- จากซายไปขวาของตารางธาตุ คา EA ติดลบมากขึน้ อะตอมจะกลายเปนไอออน
ลบงายขึ้น
- ด า นซ า ยของตารางธาตุ จ ะเป น ธาตุ พ วก metal มี แ นวโน ม ที่ จ ะให e- ดั ง นั้ น EA
เปน +
- ดานขวาของตารางธาตุจะเปนธาตุพวก non – metal มีแนวโนมที่จะรับ e- ดังนั้น
EA เปน -

อิเล็กโตรเนกาติวิตี (Electronegativity : EN)


- ความสามารถของอะตอมในการดึงดูด electron ในพันธะเขาหาตนเอง ทําใหโมเลกุล
เกิดขั้ว (polarity) มีความสัมพันธกับคา IE, EA
สรุป IE, EA, EN
ขนาดอะตอม,
ขนาดไอออน

สรุปคุณสมบัติของ metal , non–metal และ metalloid

metal non–metal metalloid


- อยูดานซายของตารางธาตุ -18 ธาตุดานขวาของตารางธาตุ - มีสมบัติผสมระหวาง
- เปนของแข็ง ที่อุณหภูมิ 25 OC - ที่ 25 OC 11 ธาตุเปน gas โลหะ + อโลหะ
ยกเวน ปรอท 1 ธาตุ เปน liquid (Br2) เชน B, Si, Ge, As, Sb, Te
- lustrous appearance (มันเงา), 6 ธาตุ เปน solid)
นําไฟฟาและนําความรอนไดดี - low density , low m.p.
- เปลี่ยนรูปรางได (แทง เสน แผน) - high IE, EA →รับ e- งาย
- high density , high m.p. - รวมกับ metal → ionic cpd.
- low IE , EA → เสีย e- งาย รวมกับ non–metal→
- รวมกับ O2 → oxide, molecular cpd. covalent
รวมกับ halogen (X) → halide
บทที่ 3
พันธะเคมีและโครงสรางโมเลกุล
(Chemical Bonding and Molecular Structure)
ในบทนี้ จะเปนการศึกษาถึงแรงที่ยึดอะตอมไวดวยกันเปนโมเลกุลหรือยึดไอออนไวดวย
กันเปนสารประกอบไอออนิก โดยอาศัยพื้นฐานในการจัดเรียงอิเล็กตรอนและตารางธาตุในบทที่
แลว มาชวยในการทํานายชนิดของพันธะเคมีและชวยในการทํานายโครงสรางของโมเลกุล เพื่อ
ใชในการทํานายสมบัติตางๆ ของสารไดตอไป

Lewis Dot Symbol


: การเกิดเปนโมเลกุลและสารประกอบนั้น อะตอมที่จะทําปฏิกิริยากัน เพื่อใหตัวเองมี
electron configuration มีความเสถียร (stable) เหมือนอะตอมของ noble gas (หมู 8)
: การศึกษาพันธะเคมี จะพิจารณาเฉพาะ valence electron ของอะตอม
ั ลักษณ จุด (dot) แทน valence electron ลอมรอบอะตอมของธาตุนั้น
: นักเคมีใชสญ
: ธาตุหมู 1A – 8A จะมีจํานวน valence electron เทากับ 1 – 8 e- ตามลําดับ (ยกเวน
He = 2)

Lewis Structure ( Octet Rule )


เขียนโครงสรางแบบ Lewis dot (จุด) แทน valence electron ใหครบ 8 อิเล็กตรอนรอบ
อะตอม เชน NF3 7N 1s2 2s2 2p3 9F 1s2 2s2 2p5

................
F N F F N F
.....
F F
พันธะไอออนิก ( Ionic bond )
เปนแรงยึดเหนี่ยวระหวางประจุไฟฟาที่เปนประจุบวกและประจุลบของสารประกอบไอ
ออนิกหรือเกิดจากอะตอมของโลหะ (ไอออนบวก) เกิดพันธะไอออนิกกับอะตอมของอโลหะ
(ไอออนลบ) หรือเปนแรงดึงดูดที่เกิดจากอะตอมของโลหะใหอิเล็กตรอนเกิดเปนไอออนบวกกับ
อะตอมของอโลหะที่มีการรับอิเล็กตรอนเกิดเปนไอออนลบ
ยึดหลักที่วา - อะตอมที่มีคา IE ต่ํา จะเสีย e- งายกลายเปน cation ( + )
- อะตอมที่มีคา EA สูงจะรับ e- งายกลายเปน anion ( - )
- ความแรงของพันธะไอออนิกขึ้นอยูกับผลตางของคา EN ของทั้งสอง
อะตอม
ถาคา EN แตกตางกันมากพันธะไอออนิกจะคามากดวย

2
. ...
Li
..
1
. +
2
F
2 5
Li
+
2
...
F
. -
..1s 2s 2p
2 2 6
1s 2s 1s 2s 2p 1s
พันธะระหวาง Li + กับ F - เรียกวา พันธะไอออนิก ( ionic bond )
แรงดึงดูดระหวางประจุ + และประจุ - เรียกวา Coulombic force คิดเปนพลังงาน (Potential
energy ; E) ไดดังนี้
(Q + )(Q - )
E ∝ Q = ประจุ
r
r = ระยะระหวาง center ของไอออน

การเขียน Lewis structure จากสมการเคมี


2 Ca (s) + O2 (g) → 2 CaO (s)

. . ....
Ca + O Ca
2+ ......
O
2-

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 1s2 2s2 2p4 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 1s2 2s2 2p6
( Ar) ( Ne)
Lattice Energy ของสารประกอบไอออนิก
ปกติคาพลังงาน IE , EA จะแสดงถึงความเปนไปไดที่จะเกิดสารประกอบไอออนิก โดย
ความเสถียรของสารประกอบไอออนิกวัดไดจาก พลังงานแลตทิซ (Littice Energy)
นิยาม “ พลังงานที่ใชทําใหสารประกอบไอออนิกที่เปนของแข็ง 1 mole กลายเปนไอออนของกาซ ”

Lattice Energy (kJ/mol) m.p. (0C)


LiF 1,016 845
LiCl 828 610
LiBr 787 550
LiI 732 450

การคํานวณคาพลังงาน Lattice โดยใช Born – Habor Cycle


คาพลังงานแลตทิซวัดโดยตรงไมได ตองคํานวณทางออมโดยใช Born–Habor cycle
ซึ่งแบงออกเปนขั้นตอนยอย ๆ ที่สัมพันธกับคา IE , EA และ คุณสมบัติของไอออนหรือโมเลกุล
นั้นๆ
ตัวอยาง จงคํานวณคาพลังงาน Lattice ของสมการ
LiF (s) → Li + (g) + F – (g) , ∆H = ?

Li+(g) + F-(g)

∆HO3 = 520 kJ ∆HO4 = - 328 kJ

Li (g) + F (g) ∆HO5 = ?

∆HO1 = 155 kJ ∆HO2 = 75 kJ


∆HOOverall = - 594 kJ
Li (s) + ½ F2 (g) LiF (s)
เราสามารถอธิบายการเกิด LiF (s) ออกเปนขั้นตอนยอย 5 ขั้นตอนคือ
1. Li (s) → Li (g) ∆H01 = 155 kJ
2. ½ F2 (g) → F (g) ∆H02 = 75 kJ
3. Li (g) → Li+ (g) + e- ∆H03 = 520 kJ
4. F (g) + e- → F – (g) ∆H04 = - 328 kJ
5. Li+ (g) + F – (g) → LiF (s) ∆H05 = ?

Li (s) + ½ F2 (g) → LiF (s) ∆H0overall = - 594 kJ

จะเขียนไดวา ∆H0overall = ∆H01 + ∆H02 + ∆H03 + ∆H04 + ∆H05


-594 kJ = 155 kJ + 75 kJ + 520 kJ - 328 kJ + ∆H05
ดังนั้น ∆H05 = - 1,016 kJ
และจะไดพลังงานแลตทิซของ LiF เทากับ 1,016 kJ
พันธะโคเวเลนต ( Covalent bond ) (อโลหะ – อโลหะ)
พันธะที่เกิดจากอะตอม 2 อะตอมใชอิเล็กตรอนรวมกัน (share) โดยที่อะตอมทั้งสองมี
คา EN ใกลเคียงกัน หรือเปนแรงยึดเหี่ยวระหวางอะตอมของอโลหะกับอโลหะ

.
H .
.. .. + H ... .. หรือ
H H H H
.... ....
F + F
...
.......
F F หรือ F F

ชนิดของ Covalent Bond


1. พันธะเดี่ยว : ใชอิเล็กตรอนรวมกัน 1 คู ( 2 e- )
H2O H
....
O H ......
H O H

2. พันธะคู : ใชอิเล็กตรอนรวมกัน 2 คู ( 4 e- )


CO2 O C O
...... ......
O C O

3. พันธะสาม : ใชอิเล็กตรอนรวมกัน 3 คู ( 6 e- )


N2 N N N N
. .... .
เปรียบเทียบระหวาง Ionic bond กับ Covalent bond

Ionic bond Covalent bond


- ระหวาง โลหะ – อโลหะ - ระหวาง อโลหะ – อโลหะ
- คุณสมบัตทิ างกายภาพของ - คุณสมบัตทิ างกายภาพของ
สารประกอบ ionic สารประกอบ covalent
• เปนของแข็ง • เปนแกส , ของเหลว
• มีจุดหลอมเหลว ( m.p. ) สูง • มีจุดหลอมเหลวต่ํา
• ละลายน้ําไดดี , นําไฟฟาได • ไมละลายน้ํา , นําไฟฟาไมดี

ขอยกเวนของกฏออกเตต
1. The Incomplete Octet ( ไมครบ 8)
BeH2 H Be H
v.e. = 2 v.e. = 1
2. Odd – electron molecule : โมเลกุลมีจํานวน e- เปนเลขคี่ (odd)
NO
N
... .....
O

NO2 ..... . ....


O N
+
O

3. The Expanded Octet


- มี valence electron มากกวา 8
- พบในธาตุในคาบที่ 3 ขึ้นไปใช e- ใน 3d orbital ในการเกิดพันธะ
SF6
............
F

..............
F F
S
F F
F
ความแข็งแรงของพันธะโคเวเลนต
ความแข็งแรงของพันธะโคเวเลนต วัดโดยใชพลังงานพันธะ (Bond Energy)
Bond Bond Energy ( kJ / mol )
H—H 436.4
H — Cl 431.9
Cl — Cl 242.7
C—C 347.0
C = C 620.0
C ≡C 812.0
สังเกต – อะตอมขนาดเล็ก จะมีแรงระหวางพันธะมากกวาอะตอมขนาดใหญ
– ในอะตอมชนิดเดียวกัน พลังงานพันธะของ พันธะเดี่ยว < พันธะคู < พันธะ
สาม

พันธะโลหะ (Metallic bond)


พันธะที่เกิดจากอะตอมของโลหะยึดเหนี่ยวกับอะตอมของโลหะ หรือเปนพันธะทีเ่ กิด
จากแรงดึงดูดระหวางไอออนบวกซึ่งอยูกบั ที่กับกลุมของอิเล็กตรอนทีเ่ คลื่อนที่ไปรอบๆ ไอออน
บวก ทําใหโลหะทุกชนิดและโลหะผสมมีความหนาแนนสูง จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ดึงให
เปนเสน ตีใหเปนแผน นําไฟฟาไดและนําความรอนไดดี

รูปรางของโมเลกุล
รูปรางของโมเลกุล (รูปทรงทางเรขาคณิต) เกิดจากการจัดตัวของอะตอมภายในโมเลกุล
มีผลตอคุณสมบัติทางกายภาพ (m.p., b.p., density) และสมบัติทางเคมี ซึ่งตองทราบ
1. ความยาวพันธะ (Bond length) วัดไดจาก
2. มุมระหวางพันธะ (Bond angle) การทดลอง
เราสามารถทํานายรูปราง (geometry) ของโมเลกุลจากของ Valence Shell Electron Pair
Repulsion Model (VSEPR) โดยยึดหลักที่วา (valence) electron pair รอบอะตอมจะมีการผลัก
กันทําใหอิเล็กตรอน
แตละคูอยูหางกัน โดย valence electron รอบอะตอม (8 e- = 4 pair) มี 2 ชนิด
1. Bonding Pair : คู electron ที่เกิดพันธะ (bond)
2. Lone Pair : คู electron ที่อิสระ
......
H x Cl Lone Pair

Bonding Pair
โมเมนตขั้วคู (Dipole Moments)
ในโมเลกุลของสารประกอบ อะตอมที่มีคา EN ตางกัน มีการดึงอิเล็กตรอนทําใหเกิด
ขั้วขึ้น
โดยคิดจาก Dipole moment สุทธิของโมเลกุล (เปนผลรวมแบบ vector) ของขั้วของ
พันธะ
ตัวอยาง แสดงทิศทางการดึงของ e- H F
-
δ
+
แสดงขั้ว ( polar bond ) δ
H F
2.1 4.0
H F

...
O
โมเลกุล H2O H H dipole moment สุทธิ µ = 1.87 (เปนโมเลกุลมีขวั้ )

โมเลกุล CO2 µ = 0
(เปน non-polar molecule)
O C O
โมเลกุล C2H2Cl2

Cis Cl Cl H Cl Trans
C C
(polar)
C C
µ = 1. 89 Cl µ = 0
H H H

ทฤษฏี VSEPR สามารถนํามาทํานาย รูปราง (geometry) มุม (bond angle) และ ขั้ว
(polarity) ของโมเลกุลไดดังนี้
1. Diatomic molecule มีรูปรางแบบเสนตรง (linear)
H2 H—H
Cl2 Cl—Cl
HI H—I
มีสัญลักษณเปน A2 , AB
2. Polyatomic molecule (มี ≥ 3 atom)
ใชหลัก AB2 , AB3 , AB4 , AB5 , AB6
A = Central atom
B = อะตอมอื่น ๆ ที่เกิดพันธะกับ A
ถาไมมี lone pairs ที่ A ใช VSEPR ทํานาย (ตาราง 3.1)
ถาโมเลกุลมี lone pairs ≥ 1 ที่ central atom การทํานายรูปรางของโมเลกุลจะ
ซับซอน เพราะมีแรงผลักของ electron pairs เขามาเกี่ยวของ
1. แรงผลักระหวาง lone pair กับ lone pair
2. แรงผลักระหวาง lone pair กับ bonding pair
3. แรงผลักระหวาง bonding pair กับ bonding pair
โดยที่ แรง 1 > แรง 2 > แรง 3
แรงผลักนี้จะทําใหมุมระหวางพันธะที่ไดไมเปนไปตามที่คํานวณไว ซึ่งจะมากหรือนอย
ขึ้นกับอิทธิพลของแรงผลักนี้ ทําใหเกิดโครงสรางที่บิดงอไปที่เรียกวา “bent shape”
เชน H2O ถาคิดวาไมมี lone pair หรือคิดวาไมมีแรงผลักดังกลาว จะไดโครงสรางเปน
เสนตรง
180
0
......
H O H
...
O
H O H H H
แตโครงสรางจริงของ H2O ไมเปนเสนตรง (non-linear หรือ bent) เนื่องจากมีแรงผลัก
ของ อิเล็กตรอนคูโ ดดเดี่ยว (lone pairs electron) บนอะตอมของ O
หลักในการใช VSEPR model
1. เขียน Lewis structure (ดู e- pairs รอบ central atom)
2. นับจํานวน bonding pairs electron (พันธะ) และ lone pairs electron (อิสระ)
3. ใชตารางที่ 3.1, 3.2 ทํานาย geometry ของโมเลกุล
4. ใชตารางที่ 3.1 ทํานายมุมระหวางพันธะ (bond angle) ไดเลย แตถามี lone pairs e-
ใหใชตาราง 3.2 ดวย และตองพิจารณาแรงผลักทั้ง 3 ชนิด ในการทํานายมุม
พันธะเสมอ
โครงสราง AB5 , AB6 : อิเล็กตรอนของ A - B มีอยู 2 ระนาบ คือ
1. equatorial position อะตอมอยูในระนาบ (plane) เดียวกัน
2. axial position อะตอมอยูในตําแหนงตั้งฉากกับ plane
ตารางที่ 3.1
ตารางที่ 3.2
บทที่ 4
ปฏิกิริยาเคมี
(Chemical Reaction)
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เรียกวา “ปฏิกริ ิยาเคมี” (chemical reaction) เราสามารถเขียนปฏิกิริยาเคมี
ในรูปของ สมการเคมี เชน
2 H2 (g) + O2 (g) → 2 H2O (l)
reactant product
สมการเคมีบอกใหเราทราบวา

2 H2 (g) + O2 (g) → 2 H2O (l)


2 โมเลกุล (4 H) + 1 โมเลกุล (2 O) 2 โมเลกุล (4 H + 2 O)
2 โมล + 1 โมล 2 โมล
2( 2x1 g) = 4 g + 2 (16) = 32 g 2 (18)
( 4 + 32 = 36 g ) = 36 g

ในสมการเคมี ตองแสดงสถานะทางกายภาพดวย เชน


g = gas l = liquid
s = solid aq = aqueous (ในสารละลาย)

เชน 2 CO (g) + O2 (g) → 2CO2 (g)


2 HgO (s) → 2 Hg (l) + O2 (g)
KBr (aq) + AgNO3 (aq) → KNO3 (aq) + AgBr (s)
CH4 (g) + 2 O2 (g) → 2CO2 (g) + H2O (l)
จงดุลสมการเคมีตอไปนี้
Fe2O3 (s) + CO (g) → Fe (s) + CO2 (g)
NaHCO3 (s) → Na2CO3 (s) + CO2 (g) + H2O (l)
FeS (s) + HCl (aq) → FeCl2 (aq) + H2S (g)
C3H8 (g) + O2 (g) → CO2 (g) + H2O (l)
สารละลาย (Solution)
คือ ของผสมเนื้อเดียวของสารตั้งแต 2 ชนิดขึ้นไป ประกอบดวย
ตัวทําละลาย (Solvent) + ตัวถูกละลาย (Solute)
( ปริมาณมาก ) ( ปริมาณนอย )

สารละลายในน้ํา (aqueous solution) = ตัวถูกละลาย ( s , l ) + ตัวทําละลาย ( H2O )


ใน aqueous solution จะมีตัวถูกละลาย 2 ประเภทคือ
1. สารอิเล็กโทรไลต (electrolyte) : สารซึ่งเมื่อละลายน้ําแลวนําไฟฟาได
2. สารนอนอิเล็กโทรไลต (non– electrolyte) : สารซึ่งละลายน้ําแลวนําไฟฟาไมได

Electrolyte : แบงโดยใชความสามารถในการแตกตัวเปนไอออน

ก. อิเล็กโทรไลตแก (Strong electrolyte) : แตกตัวในน้าํ 100 %


- กรดแก เชน H2SO4 , HCl , HNO3 , HClO4 , HI , HBr
- เบสแก เชน NaOH , KOH , Ca(OH)2
- เกลือ เชน NaCl , KCl

ข. อิเล็กโทรไลตออน (Weak electrolyte) : แตกตัวนอยกวา 100 %


- กรดออน เชน CH3COOH , HF , HCOOH
- เบสออน เชน NH3

Non – Electrolyte
ไดแก C6H12O6 (น้ําตาลกลูโคส), C12H22O11 (น้ําตาลทราย) , (NH2)2CO (ปุยยูเรีย) ,
CH3OH (เมธานอล) , C2H5OH (เอธานอล) เปนตน

เราสามารถเขียนสมการการแตกตัวในน้าํ ของสาร Electrolyte ไดดังนี้


NaCl (s) → Na+ (aq) + Cl- (aq) แตกตัว 100 %
CH3COOH (aq) CH3COO- (aq) + H+ (aq) แตกตัว 5 %
และสาร Non – electrolyte : C6H12O6 (s) สารละลายน้ําตาล ไมแตกตัว

สารประกอบไอออนิกและสมการไอออนิก ( Ionic compound and Ionic equation )


สารประกอบไอออนิก หมายถึง สารที่เมือ่ ละลายน้ําแลวโมเลกุลสามารถจะแตกออกเปน
ไอออนบวกและไอออนลบ เชน
Al2O3 มาจาก Al 3+ O 2-

CaCl2 มาจาก Ca 2+ Cl -

Na2S มาจาก Na + S 2-

สมการไอออนิก ( ionic equation ) หมายถึง สมการที่แสดงสารประกอบไอออนิกที่ละลายได


ในรูปของไอออนอิสระ เชน
Pb 2+ (aq) + 2 I – (aq) → PbI2 (s)
Ag + (aq) + Cl - (aq) → AgCl (s)

สภาพการละลาย ( Solubility )
: ปริมาณตัวถูกละลายมากที่สุดที่สามารถละลายไดในตัวทําละลายที่กําหนด
ณ อุณหภูมิที่กําหนด
Ksp : Solubility product constant

สภาพการละลายของสารประกอบไอออนิก บอกใหทราบถึง
1. ความสามารถในการละลายของสารประกอบไอออนิกที่ไมเทากันจึงเปนคุณสมบัติ
เฉพาะของแตละสาร
2. สามารถกําหนด / บงชี้ไดวา การละลายจะเกิดตะกอนเมื่อไร

ละลายน้ําได ( Soluble )
1. สารประกอบทุกชนิดของโลหะแอลคาไล ( หมู 1 )
2. สารประกอบแอมโมเนียม ( NH4+ )
3. สารประกอบทุกชนิดของ NO3- , ClO3- , ClO4-
4. สารประกอบสวนใหญของ Cl-, Br-, I - ยกเวนกับ Ag+, Hg 22+ และ Pb2+
5. สารประกอบสวนใหญของ SO42 - ยกเวน BaSO4 , HgSO4 , PbSO4

ไมละลายน้ํา ( Insoluble )
1. สารประกอบสวนใหญของ OH –
ยกเวน OH – ของโลหะแอลคาไล และของ Ba(OH)2 ส วน Ca(OH)2 ละลายได
เล็กนอย
2. สารประกอบ CO32 - , PO43 - , S 2 –
ยกเวน สารประกอบของโลหะแอลคาไล (หมู 1) และ NH4+
ตัวอยาง จงจําแนกสารประกอบไอออนิกตอไปนี้ออกเปนสารที่ละลายได ละลายไดเล็กนอย
หรือไมละลาย
ก) Ag2SO4 ง) CuS
ข) CaCO3 จ) Ca(OH)2
ค) Na3PO4 ฉ) ZnSO4

เลขออกซิเดชัน (Oxidation number)


คือ ตัวเลขสมมติที่ใชกําหนดแกธาตุหรืออะตอมในสารประกอบ เพื่อแสดงประจุทาง
ไฟฟา

กฏเกณฑการกําหนดเลขออกซิเดชัน
1. เลขออกซิเดชันของธาตุอิสระ (ยังไมรวมกับธาตุใด) = 0 เชน Na , K , Cl2 , P4 ,
S8 , Br2 , O2
2. เลขออกซิเดชันของไอออนที่มีอะตอมเดียวมีคา = ประจุของไอออน เชน
Na+ มีเลขออกซิเดชัน เทากับ + 1
Al 3+ มีเลขออกซิเดชัน เทากับ + 3
Cl - มีเลขออกซิเดชัน เทากับ - 1
S 2 - มีเลขออกซิเดชัน เทากับ - 2
3. เลขออกซิเดชันของโลหะหมู 1 ในสารประกอบ = + 1 เชน NaCl
เลขออกซิเดชันของโลหะหมู 2 ในสารประกอบ = + 2 เชน MgCl2
4. เลขออกซิเดชันของธาตุ H ในสารประกอบโดยทั่วไป = + 1 เชน NH3 , HCl
ยกเวนโลหะไฮไดด = - 1 เชน NaH , CaH2
5. เลขออกซิเดชันของธาตุ O ในสารประกอบโดยสวนใหญ = - 2 เชน H2O , MgO
ยกเวนในสารประกอบ peroxide = -1 เชน H2O2 , Na2O2
และเมื่อรวมกับ F เปน OF2 มีคา = + 2 ( F มีเลขออกซิเดชัน -1 )
6. ผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดมีคาเทากับประจุสุทธิ ของกลุมอะตอม
นั้น เชน
- ในสารประกอบ (neutral) เทากับ 0 เชน สารประกอบ KMnO4
มาจาก K + Mn + 4 O
Ox. No. ( +1) + ( ? ) + 4 (-2 ) = 0
ดังนั้น เลขออกซิเดชันของ Mn = + 7
- ในกลุมอะตอมที่เปนไอออนจะเทากับประจุที่แสดงนั้น เชน NO3-
มาจาก N + 3O
Ox. No. ( ? ) + 3 ( -2 ) = - 1
ดังนั้น เลขออกซิเดชันของ N = + 5

แบบฝกหัด จงหาเลขออกซิเดชันของสารประกอบที่ขีดเสนใตไวตอไปนี้
1. K2Cr2O7 4. Na3PO4
2. CaCl2 5. H3AsO4
3. SO32 - 6. C2O42-
ปฏิกิริยารีดอกซ (Redox reaction)
คือ ปฏิกิริยาที่มีการถายโอน (ให–รับ) อิเล็กตรอน
แบงออกเปน 2 ครึ่งปฏิกิริยา (half – reaction)
1. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction)
คือ ครึ่งปฏิกิริยาที่มี การสูญเสีย (ให) อิเล็กตรอน เลขออกซิเดชัน
เพิ่มขึ้น
2. ปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction reaction)
คือ ครึ่งปฏิกิริยาที่มีการรับ อิเล็กตรอน เลขออกซิเดชัน ลดลง
ตัวออกซิไดซ Reduction
2+ 2+
Sn + Pb Sn + Pb

ตัวรีดิวซ Oxidation
ออกซิเดชัน : Sn → Sn2+ + 2e-
รีดัคชัน : Pb2+ + 2e- → Pb

ตัวออกซิไดซ (Oxidizing agent หรือ Oxidizer)


: สาร (atom, molecule, ion) ที่ทําหนาที่เปนตัวรับอิเล็กตรอน แตตัวมันเอง ถูกรีดิวซ
ทําใหเลขออกซิเดชันลดลง

ตัวรีดวิ ซ (Reducing agent หรือ Reducer)


: สาร (atom, molecule, ion) ที่ทําหนาที่เปนตัวใหอิเล็กตรอน ตัวมันเอง ถูก
ออกซิไดซ ใหเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น
หมายเหตุ ทั้งปฏิกิริยา oxidation และ reduction จะเกิดขึ้นพรอมๆ กัน จํานวนอิเล็กตรอนที่
ตัวรีดวิ ซสูญเสียไป จะเทากับจํานวนอิเล็กตรอนทีต่ ัวออกซิไดซไดรับมา
แบบฝกหัด จงเขียนครึ่งปฏิกิริยา และระบุตวั ออกซิไดซ และตัวรีดิวซ
1) Zn + Cu 2+ → Zn 2+ + Cu
ตัวออกซิไดซ : ……………..
ตัวรีดิวซ : ……………..
ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน : ……………………………….
ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน : ……………………………….
2) 2 Na + Cl2 → 2 NaCl
ตัวออกซิไดซ : ……………..
ตัวรีดวิ ซ : ……………..
ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน : ……………………………….
ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน : ……………………………….

แบบฝกหัด จงบอกวาปฏิกิริยาใดเปนปฏิกิริยารีดอกซ
1. Cl2 + 2 OH - → Cl - + ClO - + H2O
2. Ca 2+ + 2 F - → CaF2
3. NH3 + H + → NH4+
4. 2 Li + H2 → 2 LiH
5. Zn + 2 HCl → ZnCl2 + H2
6. 2 FeCl2 + Cl2 → 2 FeCl3
การดุลสมการรีดอกซ ใชวธิ ี ion – electron method
ตัวอยาง จงดุลสมการ Fe2+ + Cr2O7 2- → Fe 3+ + Cr 3+ ใน
สารละลายกรด
Step 1 แยกเปนสวน oxidation, reduction ดุลอะตอมที่มีการเปลี่ยนเลขออกซิเดชัน
และแสดงการให - รับ e-
Oxidation : Fe2+ → Fe 3+ + e –
Reduction : Cr2O7 2- + 6 e - → 2Cr 3+
Step 2 ในภาวะกรด - เติม H2O ดานที่ขาด O2 โดยโมลของ H2O ที่เติมเทากับ
O2ที่ขาด
- เติม H+ ดานที่ขาด H โมลของ H+ ที่เติมเทากับ H ที่ขาด
Oxidation : Fe2+ → Fe 3+ + e –
Reduction : Cr2O7 2- + 14 H+ + 6 e - → 2Cr 3+ + 7 H2O
Step 3 ทําจํานวนอิเล็กตรอน ( e - ) ของ oxidation = reduction
Oxidation : 6 Fe 2+ → 6 Fe 3+ + 6 e -
Reduction : Cr2O7 2- + 14 H+ + 6 e - → 2Cr 3+ + 7 H2O
Step 4 รวมปฏิกิริยา oxidation + reduction
Overall : 6 Fe 2+ + 14 H + + Cr2O7 2- → 2 Cr 3+ + 6 Fe 3+ + 7 H2O
Step 5 ตรวจสอบจํานวนอะตอม , จํานวน e- และ จํานวนประจุใหเทากัน
ตัวอยาง จงดุลสมการ S 2- + MnO4 - → S + MnO2 ในสารละลายดาง
Step 1 แยกเปนสวน oxidation, reduction ดุลอะตอมที่มีการเปลี่ยนเลขออกซิเดชัน
และแสดงการให - รับ e-
oxidation : S 2- → S + 2e –
reduction : MnO4 - + 3e - → MnO2
Step 2 ในภาวะดาง - เติม H2O ดานที่ O2 เกิน โดยโมลของ H2O ที่เติมเทากับ
O2ที่เกิน
- เติม OH- ดานตรงขาม 2 เทาของโมล H2O ที่เติม
oxidation : S 2- → S + 2 e –
reduction : MnO4 - + 2 H2O + 3e - → MnO2 + 4 OH -
Step 3 ทําจํานวนอิเล็กตรอน (e - ) ของ oxidation = reduction
oxidation : 3S 2- → 3S + 6 e –
reduction : 2 MnO4 - + 4 H2O + 6e - → 2 MnO2 + 8 OH -
Step 4 รวมสมการ oxidation + reduction
3 S 2- + 2 MnO4 - + 4 H2O → 3 S + 2 MnO2 + 8 OH -
Step 5 ตรวจสอบจํานวนอะตอม, จํานวน e- และจํานวนประจุใหเทากัน
บทที่ 5
ความสัมพันธเชิงมวล
(Mass Relationships in Chemical Reactions)
มวลสารสัมพันธ คือ มวล (mass) ของสารที่เขาทําปฏิกิริยาเคมี และมวลของสารผลิตภัณฑ
ที่มีความสัมพันธกัน เชน
2 CO (g) + O2 (g) → 2 CO2 (g)
2 โมล 1 โมล 2 โมล
2(12+16) 1(2x16) 2(12+(2x16))
88 g 88 g

การเปลี่ยน โมล (mole) ใหเปน มวล (mass, g)


1 โมล ของสารประกอบใดๆ จะมีมวล = มวลโมเลกุล ที่มีหนวยเปนกรัม
เชน สารประกอบ CO 1 โมล = 12 + 16 g = 28 g
ดังนั้นเราจะไดความสัมพันธ
มวลของ จํานวนโมลของ จํานวนโมลของ มวลของ
สารตั้งตน สารตั้งตน สารผลิตภัณฑ สารผลิตภัณฑ
กรัม โมล โมล กรัม
ตัวอยางที่ 1 โลหะโซเดียม ( Na ) ทําปฏิกิริยากับน้ําดังสมการ
2 Na (s) + 2 H2O (l) → 2 NaOH (aq) + H2 (g)
(มวลอะตอมของ Na = 23)
ก. ถา Na 5 mol ทําปฏิกริ ิยาอยางสมบูรณกับน้ําจะเกิด H2 กี่โมล
จากสมการ Na 2 mol จะให H2 1 mol
5 ×1
ดังนั้น ถา Na 5 mol จะให H2 = 2.5 mol
2
ข. ถา Na 69 g ทําปฏิกิริยาอยางสมบูรณกับน้ําจะเกิด H2 กี่กรัม
จากสมการ Na 2 x 23 g จะให H2 2x1 g
2 × 1 × 69
ดังนั้น ถา Na 69 g จะให H2 = 3 g
2 × 23
รีเอเจนตจํากัดปฏิกิริยา (Limiting reagent)
คือ สารตั้งตนที่ทําปฏิกิริยาหมดไปกอนสารอื่น
สวนสารอื่นๆซึ่งมีอยูมากกวาปริมาณที่จําเปนเรียกวา “Excess reagent”
ผลไดของปฏิกิริยา (Yields)
1. ผลไดทางทฤษฏี (Theoretical yield)
: ปริมาณของสารผลิตภัณฑที่ทํานายจากสมการที่ดุลแลวเมื่อรีเอเจนตจํากัด
ปฏิกิริยา
ทําปฏิกิริยาจนหมดไป
2. ผลไดจริง (Actual yield)
: ปริมาณของสารผลิตภัณฑที่ไดจากปฏิกิริยา
3. ผลไดรอยละของผลิตภัณฑ (Percent yield, % yield)
: สัดสวนของผลไดจริงตอผลไดตามทฤษฏี

ผลไดรอยละ = ผลไดจริง x 100


ผลไดตามทฤษฏี
ตัวอยางที่ 3 สารประกอบ Fe2O3 3200 g นํามาทําปฏิกิริยากับสาร coke (C) 960 g
ไดผลิตภัณฑเปน Fe 1500 g จงหาผลไดรอยละของผลิตภัณฑของ Fe
(มวลอะตอม Fe = 55.85 , C = 12 , O = 16)
Fe2O3 (s) + 3 C (s) → 2 Fe (l) + 3 CO (g)
mol 1 3 2
mass (2x55.85)+(3x16) (3 x 12) (2 x 55.85)
= 159.7 g = 36 g = 111.7 g
เราตองเปรียบเทียบปริมาณของสารที่ใชจริงของสารตั้งตนทีใ่ หมา
เมื่อใช Fe2O3 159.7 กรัม จะตองใช C 36 กรัม
3200 × 36
ถามี Fe2O3 3200 กรัม จะตองใช C = = 721.4 กรัม
159.7
แตจากโจทยเรามี C 960 กรัม ดังนั้น C เหลือแต Fe2O3 หมดกอน
ดังนั้นสารที่เปน limiting agent คือ Fe2O3

3200 g
จํานวนโมลของ Fe2O3 = = 20.04 mol
159.7
จากสมการ Fe2O3 1 mol จะให Fe 2 mol
ถามี Fe2O3 20.04 mol จะให Fe = 2 x 20.04 mol
= 2 x 20.04 x 55.85 = 2238.5 g
ดังนั้น Theoretical yield ของ Fe เทากับ 2238.5 g
ผลไดจริง
ผลไดรอยละ = x 100
ผลไดตามทฤษฎี
1500
= x 100
2238.5
= 67.01 %

ความเขมขนของสารละลาย
: ปริมาณตัวถูกละลายที่ละลายในตัวทําละลายตามปริมาณที่กําหนด
หนวย : โมลาริตี (molarity , M) หมายถึง จํานวนโมลของตัวถูกละลาย ในสารละลาย 1 ลิตร

จํานวนโมลของตัวถูกละลาย
M = โมลาริตี = mol / l
จํานวนลิตรของสารละลาย

ตัวอยางที่ 4 จงคํานวณความเขมขน เมื่อนําน้ําตาลซูโครส 17.1 g ละลายในน้ําจนสารละลายมี


ปริมาตรเปน 100 mL (มวลโมเลกุลของ C12H22O11 = 342 amu)
17.1
จํานวนโมลของซูโครส = = 0.05 mol
342
ในสารละลาย 100 mL จะมีเนื้อของซูโครสอยู 0.05 mol
0.05
ถาสารละลาย 1,000 mL จะมีเนื้อของซูโครสอยู x 1000 = 0.5 mol
100
∴ สารละลายน้ําตาลซูโครสมีความเขมขน 0.5 M

ตัวอยางที่ 5 จงคํานวณน้ําหนักของ NaCl ซึ่งละลายอยูในสารละลาย 2.50 M NaCl


ปริมาตร 50 mL (มวลโมเลกุลของ NaCl = 58.5 amu)
สารละลาย NaCl 2.50 M หมายความวา
ในสารละลาย 1,000 mL จะมีเนื้อของ NaCl อยู 2.50 mol
50
ถาสารละลาย 50 mL จะมีเนื้อของ NaCl x 2.50 = 0.125 mol
1000
ดังนั้นมวลของ NaCl = 0.125 x 58.5 = 7.31 g

การเจือจางสารละลาย (Dilution)
: การเตรียมสารละลายที่มคี วามเขมขนต่ําจากสารละลายที่มีความเขมขนสูงกวา
เมื่อเราเติมน้ําใหสารละลาย จะไมทําใหจํานวนโมลของตัวถูกละลาย (solute) เปลีย่ น
จะเปลี่ยนแตปริมาตร ซึ่งมากขึ้นทําใหความเขมขนเจือจางลง

เติมน้ําใหสารละลาย จํานวนโมลเทาเดิม

ดังนั้น จํานวนโมลของตัวถูกละลาย = จํานวนโมลของตัวถูกละลาย


กอนการเจือจาง หลังการเจือจาง
MiVi = MfVf
Mi = ความเขมขนของสารละลายกอนการเจือจาง ( M, mol / L)
Mf = ความเขมขนของสารละลายหลังการเจือจาง ( M, mol / L)
Vi = ปริมาตรของสารละลายกอนการเจือจาง ( cm3 )
VF = ปริมาตรของสารละลายหลังการเจือจาง ( cm3 )
ตัวอยางที่ 6 จงเตรียมสารละลาย 0.120 M HCl ปริมาตร 800 mL จากสารละลายเริ่มตน
(stock solution) 12 M HCl
แทนคาใน MiVi = MfVf
( 12 M ) V i = ( 0.120 M ) ( 800 mL )
0.120 × 800
Vi = = 8 mL
12
วิธีการเตรียม นําสารละลาย HCl 12 M มา 8 mL แลวเติมน้ําลงไปจนมีปริมาตรเปน 800 mL

การวิเคราะหโดยน้ําหนัก (Gravimetric analysis)


สารละลาย มี Solute A (สาร X ) = ? กรัม
ทําปฏิกิริยากับสารอื่น ใหตะกอน X → กรอง → ทําใหแหง → ชั่งน้ําหนัก ตะกอน X

คํานวณ น้ําหนัก สาร X

ควรทราบ : - การคํานวณรอยละขององคประกอบ
- สามารถระบุชนิดของสารที่เกี่ยวของได เชน
Ag + (aq) + Cl – (aq) → AgCl (s)
Pb 2+ (aq) + SO4 2 - (aq) → PbSO4 (s)
ตัวอยางที่ 7 สารประกอบไอออนิกชนิดหนึ่งประกอบดวยคลอไรดไอออน (Cl-) กับโลหะชนิด
หนึ่ง เมื่อละลายสารตัวอยางของสารประกอบนี้จํานวน 0.5 g ในน้ํา แลวเติม AgNO3 มากเกิน
พอ พบวา
เกิดตะกอน AgCl 1.0 g จงหาปริมาณรอยละโดยมวลของ Cl ในสารประกอบนี้
(มวลอะตอมของ Ag = 108, Cl = 35.5 )
เริ่มจากการหามวลตอโมล ของ AgCl = 108 + 35.5 = 143.5 g
จาก AgCl 143.5 g มี Cl = 35.5 g
35.5 × 1.0
ถา AgCl 1.0 g มี Cl = g = 0.2474 g
143.5
0.2474
ดังนั้น % Cl = x 100 = 49.48 %
0.5
การไทเทรต ( titration )
คือ การนําสารละลายทีท่ ราบความเขมขนอยางแมนยํา ซึ่งเราเรียกวา “สารละลาย
มาตรฐาน”
(standard solution) มาเติมลงในสารละลายที่ไมทราบความเขมขนทีละนอย จนปฏิกิริยาเกิด
ขึ้นอยางสมบูรณพอดี (end point ใช indicator) จาก ความเขมขนและปริมาตร ของสารละลาย
มาตรฐานจะสามารถคํานวณหาความเขมขนของสารละลายที่ไมทราบความเขมขนได

การไทเทรต กรด–เบส (Acid–Base Titration)


วิธีคํานวณใชหลักการเดียวกับ การเจือจางสารละลาย คือ
MaVa = MbVb
เมื่อ Ma = ความเขมขนของสารละลายกรด (mol / L , M)
Mb = ความเขมขนของสารละลายเบส (mol / L , M)
Va = ปริมาตรของสารละลายกรดที่ใช (mL , L)
Vb = ปริมาตรของสารละลายเบสทีใ่ ช (mL , L)

ตัวอยางที่ 8 ในการไทเทรตใชสารละลาย 0.120 M NaOH ปริมาตร 40.00 mL โดยทํา


ปฏิกิริยาอยางสมบูรณกับสารละลาย HCl ปริมาตร 20.00 mL จงคํานวณความเขมขนของสาร
ละลาย HCl
จาก MaVa = MbVb
แทนคา M a x ( 20.00 mL ) = (0.1200 M) x (40.00 mL)
0.120 x 40.00
Ma = = 0.240 M
20.00

ดังนั้น สารละลาย HCl มีความเขมขน 0.240 M

การไทเทรตรีดอกซ (Redox titration)


การไทเทรตแบบนี้ คลายกับ acid – base titration โดยที่ oxidizing agent และ
reducing agent จะทําปฏิกิริยาพอดีกันที่จุดสมมูล โดยใช indicator เปนตัวบอกจุดยุติ
(เปลี่ยนสี)
ตัวอยางตัวออกซิไดซที่นิยมใชคือ
KMnO4 : MnO4 - (มวง) → Mn 2+ (ชมพูออน)
K2Cr2O7 : Cr2O7 2- (เหลืองแกมสม) → Cr 3+ (เขียว)

ตัวอยางที่ 9 สารละลาย 0.150 M KMnO4 จํานวน 8.00 mL สามารถออกซิไดซสารละลาย


FeSO4 จํานวน 10.00 mL ในตัวกลางที่เปนกรด จงหาความเขมขนของสารละลาย
FeSO4 โดยสมการไอออนิกแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ

5 Fe 2+ + MnO4 - + 8 H + → Mn 2+ + 5 Fe 3+ + 4 H2O
จํานวนโมลของ Fe 2+ 5
=
จํานวนโมลของ MnO-4 1
จํานวนโมลของ Fe2+ = 5 x จํานวนโมล MnO4-
M Fe2+ VFe 2+ M MnO-4 × VMnO-4
= 5 x
1,000 1,000
M MnO-4 × VMnO-4
M Fe2+ = 5 x
VFe 2+
(0.150 M)(8.00 mL)
= 5 x
(10.00 mL)
= 0.600 M
ดังนั้น ความเขมขนของสารละลาย FeSO4 เทากับ 0.600 M
บทที่ 6
ของเหลว ของแข็งและแกส
(Liquid, Solid, and Gas)
สถานะของสารมี 3 สถานะ
1. ของแข็ง โมเลกุลชิดกัน มีแรงดึงดูดระหวางโมเลกุล
2. ของเหลว โมเลกุลไมติดกันแนน เคลื่อนที่ผานกันได
(intermolecular forces)
3. แกส โมเลกุลแยกหางกัน เคลื่อนที่อิสระ

Intermolecular forces (IMF)


: แรงดึงดูดระหวางโมเลกุลที่เปนของแข็งหรือของเหลว
: เปนแรงที่ออนกวา แรงภายในโมเลกุล ( intramolecular forces หรือ พันธะเคมี )
1. Dipole - dipole force รวมเรียกวา
2. Dipole - induced dipole force Van der Waals force
3. Dispersion force
4. Ion - dipole force
5. Ion - induced dipole force
หมายเหตุ Hydrogen bond เปน dipole - dipole force ชนิดพิเศษ

1. แรงขัว้ คู - ขั้วคู (dipole – dipole forces )


- เกิดระหวาง polar molecules เรียก permanent dipole bond ก็ได
- ทําใหโมเลกุลจัดตัวเพื่อมีแรงดึงดูดสูงสุด
- polar molecule ที่มี dipole moment สูง (แรง d - d มาก) เชน HCl,HBr,HI,H2S,NH3
dipole - dipole forces

+ - + - + -
+ - + - + - Polar molecule

+ - + - + -
2. แรงขัว้ คู - ขั้วคูเหนี่ยวนํา (dipole - induced dipole forces)
- เกิดระหวาง polar molecule กับ non - polar molecule
เชน H2O กับ I2

3. แรงแผกระจาย (dispersion forces)


- เกิดระหวางโมเลกุล ที่เปน non - polar molecules
เชน H2 กับ I2
- ถามีขนาดของโมเลกุลใหญ (จํานวนอิเล็กตรอนมาก) ก็จะยิ่งมีแรงชนิดนี้มากขึ้นดวย
เชน CH3F มีจุดหลอมเหลว -141.8oC แต CCl4 กลับมีจุดหลอมเหลว -23 oC ทั้งๆ ที่
CCl4 เปนโมเลกุลที่ไมมขี ั้ว แต CH3F เปนโมเลกุลทีม่ ีขั้ว

4. แรงประจุ – ขั้วคู (ion - dipole forces)


- เกิดระหวาง ion กับ polar molecule
- ความแรง (strength) ของแรงนี้ ขึ้นกับ
* ประจุ ขนาดของไอออน
* ขนาด dipole moment
* ขนาดโมเลกุล

polar polar molecule


- + - +
+
Na I -

ion - dipole force


5. แรงประจุ – ขั้วคูเหนี่ยวนํา (ion – induced dipole forces)
- เกิดระหวาง ion กับ nonpolar molecule ซึ่งถูกแรงดึงดูดจาก ion เหนี่ยวนํา
electron
ใหเคลื่อนที่ไปขางใดขางหนึ่ง เกิด dipole ขึ้นได เรียกวา induced dipole
- ความแรงขึ้นอยูกับ 1. ประจุไอออน 2. polarizability
- เกิดชั่วคราว

พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond)


- เปนพันธะแบบพิเศษของ dipole - dipole forces
- เกิดระหวางอะตอม H ใน polar bond กับอะตอมลบ (คา EN > H)
เชน N-H , O-H , F-H
- เปนพันธะที่แข็งแรง (40 kJ / mol)
เชน H2O H O H O
H H
HF H F H F

H
NH3 กับ HF
H F H N H O ..... H F

สถานะของเหลว (liquid state) H H

- สภาวะโมเลกุลชิดกัน (condensed)
- ศึกษาสมบัตขิ องของเหลว คือ ความตึงผิว และความหนืด

ความตึงผิว (surface tension)


: พลังงานที่ใชทําใหของเหลวขยายพื้นทีผ่ ิว (ใหโมเลกุลออกหางกัน)
- เกิดจากโมเลกุลของเหลวมีแรง IMF กับโมเลกุลรอบ ๆ ทุกทิศทาง
- สําหรับโมเลกุลที่ผิวเหลือแตแรงดานขางกับขางใต
- สงผลใหเหมือนชั้นโมเลกุล เปนแผนฟลมที่ดึงกันไวที่ผวิ
- ถา intermolecular force สูง = surface tension สูง
- intermolecular attraction ระหวางโมเลกุลเหมือนกัน = Cohesion
- intermolecular attraction ระหวางโมเลกุลตางกัน = Adhesion

น้ํา ปรอท
adhesion > cohesion adhesion < cohesion

ความหนืด (Viscosity)
: ความตานทานการไหล (flow) ของของไหล (fluid)
- ถาหนืดมาก → ไหลชาลง
- โมเลกุลมี IMF มาก → ความหนืดสูง
ของเหลว viscosity ( N.s / m2 )
glycerol 1.49
H2O 1.01 x 10-3
C2H5OH 1.20 x 10-3
Blood 4.00 x 10-3
H
O H
CH2 OH
เกิด H-bond มาก
CH OH
ดังนั้น viscosity สูงมาก
CH2 OH

สถานะของแข็ง (solid state)


ของแข็ง แบงออกเปน 2 ประเภท
CRYSTALLINE SOLIDS AMORPHOUS SOLIDS
- รูปรางแนนอน - อสัณฐาน
- อะตอม, โมเลกุลจัดตัวเปนระเบียบ - ไมมีรูปรางแนนอน
- เพื่อใหแรงดึงดูดระหวางกันสูงสุด เชน เพชร - ถาน กราไฟท

เพชร กราไฟท
Unit cell
: หนวย crystal เล็กสุด
: แสดงตําแหนงของไอออน , โมเลกุล
: จุด อนุภาค อะตอม ไอออน หรือโมเลกุล เรียกวา lattice point

unit cell crystal


ชนิดของ Unit cell
มี 7 ชนิด แบงยอยรวมได 14 แบบ คือ
Cubic 1. Simple cubic ( SC )
2. Body - centered cubic ( BCC )
3. Face - centered cubic ( FCC )
Tetragonal 4. Simple
5. Body - centered
Orthorhombic 6. Simple
7. Body - centered
8. End - centered
9. Face - centered
Rhombohedral 10. Rhombohedral
Monoclinic 11. Simple
12. End - centered
Triclinic 13. Triclinic
Hexagonal 14. Hexagonal
Cubic แบงเปน 3 ประเภท

(SC) (BCC) (FCC)

Coordination number
: จํานวนอะตอมที่หอมลอมอะตอมใดอะตอมหนึ่ง
เชน SC มี coordination number = 6

การจัดเรียงอนุภาคในแตละชั้น SC จํานวนอนุภาค
Packing efficiency (ประสิทธิภาพการเรียงตัว)
: แสดงเปอรเซ็นตของ unit cell ที่มี atom อยูภายใน
ปริมาตรอะตอมทั้งหมด
Packing efficiency = × 100
ปริมาตร unit cell

ตัวอยางที่ 1 ถา unit cell = SC จงคํานวณ packing efficiency


ก ) หาปริมาตร unit cell
ดาน a = 2r ; r = a/2 ; ปริมาตร = a3
ข ) หาปริมาตร atom
1 atom = 4/3 πr3 = 4/3 π ( a / 2 )3
1 unit cell มีอะตอมภายในรวม = 1 atom [ (1/8) x 8 ]
4/3 π ( a / 2 ) 3
ดังนั้น สําหรับ SC จะมี Packing efficiency = 3
×100
a
= ( π/6 ) x 100 = 52%
ดังนั้น SC = 52 % (BCC = 68 % ; FCC = 74 %)

SC BCC FCC
a = 2r b2 = a 2 + a2 = b = 4r
2a2 b2 = a 2 + a 2
c2 = a 2 + b 2 = 16r2 = 2a2
3a2 a = 8 r
c = 3a =
4r
4r
a =
3
ตัวอยางที่ 2 ทองมีผลึกแบบ FCC มี r = 144 pm (1 pm = 10-12 m)
จงหาความหนาแนน (density) ของผลึกนี้
มวล (g)
จาก ความหนาแนน =
ปริมาตร (cm)3
ดูรูป FCC ; a = 8 r = 8 (144 ) =
407 pm
3 3
unit cell มีปริมาตร = a = (407) pm = 6.74 x 10-23 cm3
ใน 1 unit cell นับจํานวนอะตอมได = 4 อะตอม
23
จะไดวา ใน 1 โมล มี 6.02 x 10 อะตอม = 197 กรัม
4 ×197
ถามี 4 อะตอม = = 1. 31 x 10-21 กรัม
6.02 ×10 23
1.31×10 −21
ความหนาแนน = = 19.4 g / cm3
6.74 ×10 −23
(จากการทดลองวัด d = 19.3 g / cm3)

ชนิดของผลึก
- แรงตาง ๆ ยึดอนุภาคใหเปนผลึกแบบตาง ๆ
- มีผลตอคุณสมบัติ
* ความแข็งแกรง จุดเดือด จุดหลอมเหลว

ชนิด แรงยึดเหนี่ยว สมบัติทวั่ ไป ตัวอยาง


แข็งเปราะ , m.p. สูง
ไอออนิก แรงไฟฟาสถิต NaCl , MgO
ไมนําไฟฟาและความรอน
แข็ง , m.p. สูง
โคเวเลนต พันธะโคเวเลนต เพชร , SiO2
ไมนําไฟฟาและความรอน
โมเลกุล แรงขั้วคู, พันธะไฮโดรเจน ออน , m.p. ต่ํา H2O , CO2
มีทั้งออนและแข็ง
โลหะ m.p. อาจสูง / ต่ํา Na , Mg , Fe
พันธะโลหะ
นําความรอนและไฟฟาได
ดี

Amorphous solids
- อสัณฐาน (ไมเปนผลึก)
- แกว (glass) 3 ประเภทใหญ ๆ คือ
Quartz Pyrex Soda - lime
- 100 % SiO2 - SiO2 , B2O3 , Al2O3 - SiO2 , Na2O, CaO
- แสงผานทุก λ - แสงผาน visible - แสงผาน visible
- ขยายตัวนอย - ขยายตัวนอย - ไมทนสาร ความรอน
- ใชในงานเกีย่ วกับแสง (optical) - ใชในเครื่องครัว - แกวทั่วไป

การเปลี่ยนแปลงวัฏภาค ( phase changes )


คือ การที่สารเปลี่ยนจากวัฏภาคหนึ่งไปยังอีกวัฏภาคหนึ่ง
(1) (2)
solid liquid vapor (gas)
(3)

1. Solid - liquid equilibrium


2. Liquid - vapor equilibrium
3. Solid - vapor equilibrium

Boiling point (b.p.) คือ อุณหภูมิที่ของเหลวมีความดันไอ = ความดันบรรยากาศ (1 atm)


Melting point (m.p.) คือ อุณหภูมิที่ solid และ liquid อยูในสภาพสมดุลไดนามิก ที่ 1 atm

Phase diagram
- แสดงความสัมพันธระหวาง อุณหภูมิ ความดัน และ phase ตาง ๆ
- จุดตัดของ 3 phase เรียก triple point = ทั้ง 3 phase อยูในภาวะสมดุลกัน
- ตัวอยาง H2 O ที่ P = 1 atm มี b.p. = 100 oC
ถา P < 1 atm มี b.p. < 100 oC

สถานะแกส (The Gaseous State)


Molecular compounds : ปกติเปนของแข็ง ของเหลว มีบางชนิดเปนแกส เชน
HF HBr CO NO2 NH3 SO2 CN
HCl HI CO2 N2O NO H2S CH4

Molecular element ที่เปนแกส


H2 N2 O2 F2 Cl2
He Ne Ar Kr Xe Rn
ลักษณะเฉพาะของแกส (Characteristic of Gases)
1. Expansion ขยายเต็มภาชนะบรรจุ
2. Indefinite shape รูปรางไมแนนอน ขึ้นอยูกับภาชนะบรรจุ
3. Compressibility การอัดได
4. Mixing ผสมกันทั่วภาชนะบรรจุ
5. Low density ความหนาแนนต่ํา (1/ 1000 เทาของของเหลว ของแข็ง)
Standard Temperature and Pressure (STP)
: สภาวะบรรยากาศปกติของแกส โดยมีอุณหภูมิเทากับ 0 0C และ ความดัน 1
บรรยากาศ

ความดัน (Pressure, P)
: ความดันมาตรฐานที่ระดับน้ําทะเล (0 0C) เทากับ 1 atm (atmosphere) ;
760 mmHg (760 torr) ; 1.013 x 10 5 Pa (Pascal – SI unit) ; 1.013 bar

อุณหภูมิ (Temperature, T)
- องศาเซลเซียส ( oC )
- อุณหภูมิสัมบูรณ หรือ อุณหภูมิเคลวิน ( K )
K = oC + 273

ปริมาตร (Volume)
1L = 1 dm3
= 1,000 cm3
= 1,000 mL
กฎของแกส (The Gas Laws)
1. Boyle’s law : ( P - V )
1
ที่อุณหภูมิคงที่ ( T ) V α (∴P เพิ่ม V ลด)
P
mass คงที่ PV = k

P1V1 = P2V2
2. Charles’ and Gay - Lussac's law : ( T – V )

ที่ความดันคงที่ ( P ) V α T (∴ T เพิ่ม V เพิ่ม)


V
mass คงที่ = k
T
V1 V
= 2
T1 T2

หมายเหตุ T = absolute temperature ( K )


0
T = C + 273
3. Avogadro’s law : ( V - mass )
: ที่อุณหภูมิและความดันคงที่
V α n n = จํานวนโมล
V = kn ( ∴ n เพิ่ม V เพิ่ม )
: ที่ T และ P เดียวกัน แกสชนิดตางๆ มีปริมาตรเทากัน ถามีจํานวนโมล เทากัน
(หรือมีจํานวนโมเลกุลเทากัน)
: ที่ STP แกสสมบูรณ 1 mole มีปริมาตร 22.4 ลิตร (L)

3 H2 (g) + N2 (g) → 2 NH3 (g)


3 moles 1 mole 2 moles
3 โมเลกุล 1โมเลกุล 2 โมเลกุล
3 volumes 1 volume 2 volumes
The Ideal Gas Equation
จากความสัมพันธ
1 nT
Boyle’s law : V α ( constant n , T )
P รวมกัน V α
P
Charles’s law : V α T ( constant n , P )
∴ PV α nT
Avogadro’s law : V α n ( constant P , T )

PV = nRT

: ใชอธิบายความสัมพันธระหวาง P , V , n , T ของ ideal gas

ideal gas - โมเลกุลไมดึงดูด / ผลักกัน


- ไมคิดปริมาตรของ gas เอง คิดเฉพาะของภาชนะ
คาคงที่ของแกส (gas constant, R)
คํานวณจาก standard condition (STP)
P = 1 atm n = 1 mole
V = 22.4 L T = 0 0C = 273 K
จาก PV = nRT
PV (1 atm)(22.4 L)
∴ R = =
nT (1 mole)(273 K)
= 0.082 L.atm / K . mol
= 8.314 J / K . mol
ถาคา n คงที่ R = gas constant
จาก PV = nRT เขียนใหมไดวา
P1V1 PV
= 2 2
T1 T2
ตัวอยางที่ 1 ฟองอากาศฟองหนึ่งเคลื่อนขึ้นจากกนทะเลสาบซึ่งมีอุณหภูมิและความดันเทา
กับ 8 oC และ 6.4 atm ตามลําดับ ขึ้นมายังผิวน้าํ ซึ่งมีอุณหภูมิ 25 oC และความดัน 1.0 atm จง
คํานวณปริมาตร
สุดทายของฟองอากาศถามีปริมาตรเริ่มตน 2.1 mL
วิธีทํา สภาวะเริ่มตน สภาวะสุดทาย
P1 = 6.4 atm P2 = 1.0 atm
V1 = 2.1 mL V2 = ? mL
T1 = 8 + 273 = 281 K T2 = 25+273 = 298K
P1 V1 P2 V2
=
T1 T2
(6.4 atm)(2.1 mL) (1.0 atm)V2
=
(281K) (298 K)
V2 = 14.25 mL
จะเห็นวา ฟองอากาศมีปริมาตรเพิ่มขึ้นจาก 2.1 mL เปน 14.25 mL
เนื่องจากความดันของน้ําลดลงและอุณหภูมิสูงขึ้น
Density Calculations
จาก PV = nRT
m mRT
PV = RT ; V =
M MP
m
จากความหนาแนน (density) d = แทนคา V จากสมการขางบน
V
MP
d =
RT
dRT
หรือ M = M = Molar mass
P
ใชระบุชนิดของสาร unknown ซึ่งปกติจะคํานวณจากสูตรโมเลกุล
ตัวอยางที่ 2 กําหนดแกส CH4 มีมวล 0.116 กรัม ที่สภาวะดังนี้ V = 279 mL, T =
31 0C,
P = 492 mmHg จงหา molar mass
V = 279 mL = 0.279 L
T = 31 0C ; T = 31 + 273 K = 304 K
P = 492 mmHg = 492 mmHg / 760 (mmHg / atm) = 0. 647 atm
m 0.116 g
จาก d = = = 0.4158 g / L
V 0.279 L
(0.4158 g/L)(0.082 L.atm/K.mol)(304 K)
∴ M = g / mol
(0.647 atm)
= 16.02 g / mol (CH4 = 12 + 4(1) = 16)

Stoichiometry ของแกส
ปฏิกิริยาเคมี - มวลสารสัมพันธ : จํานวนโมล, มวลสาร (g)
กรณีแกส - มวลสารสัมพันธ : จํานวนโมล, ปริมาตร ( V )
ตัวอยางที่ 3 จงคํานวณปริมาตร (L) ที่ STP ของ O2 ที่ตองใชในการเผาไหม C2H2 2. 64 L
ที่ STP อยางสมบูรณ จากสมการการเผาไหมของแกส acetylene
2 C2H2 (g) + 5 O2 (g) → 4 CO2 (g) + 2 H2O (l)
:ที่ STP ทั้งแกส C2H2 และ O2 จะมี T และ P เดียวกัน
จากสมการ C2H2 2 โมล จะทําปฏิกิริยากับ O2 5 โมล
หรือ C2H2 2 ลิตร จะทําปฏิกิริยากับ O2 5 ลิตร
5 × 2.64
ถา C2H2 2.64 ลิตร จะทําปฏิกิริยากับ O2 = L
2
= 6.60 L
ตัวอยางที่ 4 จงคํานวณปริมาตร ( L ) ที่ STP ของ CO2 เมื่อใชสาร CaCO3 หนัก 45 g
ทําปฏิกิริยาดังสมการ CaCO3(s)+2 HCl (aq)→ CaCl2 (aq)+H2O+CO2 (g)
( มวลอะตอมของ Ca = 40 , C = 12 , O = 16)
จากสมการ CaCO3 1 โมล จะเกิด CO2 1 โมล
หรือ CaCO3 100 g จะเกิด CO2 22.4 ลิตร
22.4 × 45
ถา CaCO3 45 g จะเกิด CO2 = = 10.1 L
100
ตั ว อย า งที่ 5 ขวดใบหนึ่ ง มี ป ริ ม าตร 0. 85 L บรรจุ แ ก ส CO2 ที่ ค วามดั น 1.44 atm และ
อุณหภูมิ 312 K เมื่อเติมสารละลาย LiOH ลงไปในขวดนี้พบวาในที่สุดความดัน
ของ CO2 ลดลงเหลือ 0. 56 atm เนื่องจาก CO2 บางสวนถูกใชไปในปฏิกิริยา
ในกระบวนการนี้มี Li2CO3 เกิดขึ้นกี่กรัม โดยอุณหภูมิคงที่ (มวลอะตอมของ
Li = 7 , C = 12 , O = 16 , H = 1)
CO2 (g) + 2 LiOH (aq) → Li2CO3 (aq) + H2O (l)

CO2 จะมี P ลดลง = 1.44 - 0. 56 = 0. 88 atm


∴ หาจํานวนโมล ( n ) ของ CO2 ที่เขาทําปฏิกิริยาจาก PV = nRT
PV (0.88 atm)(0.85 L)
∴ n = = = 0. 0292 mol
RT (0.082 L.atm/K.mol)(312 K)
จากสมการ CO2 1 mole ได Li2CO3 1 mole
∴ ถา CO2 0.0292 mole จะได Li2CO3 0.0292 mole เชนกัน
ดังนั้น ในกระบวนการนี้มี Li2CO3 เกิดขึ้น = 0.0292 x 74 = 2.16 g

Dalton’s law of partial pressures ( ความดันยอย )


แกส A , B , C อยูรวมกันในภาชนะเดียวเปนแกสผสม
PT = P A + P B + PC
ในทํานองเดียวกัน nT = nA + nB + nC
RT
nA
PA V
อัตราสวน =
PT PA + PB + PC
RT
nA
V nA
= =
RT RT RT n + n + n
nA + nB + nC A B C
V V V
n
= A = XA เมื่อ XA คือ เศษสวนโมล (mole fraction)
nT
PA = XA PT ความดันยอย = mole fraction x ความดันรวม
PB = XB PT
nA
PC = XC PT PA = PT
nT

ตัวอยางที่ 6 อากาศ (air) ประกอบดวย N2 0.78 mole O2 0.21 mole และ Ar 0.01 mole
โดยมีความดันรวม (PT) 1.0 atm จงหา PN 2 , PO2 , PAr
จาก nT = 0.78 + 0.21 + 0.01 = 1.00 mole
และ PA = XA PT
0.78
ดังนั้น PN 2 = (1 atm) = 0.78 atm
1.00
0.21
PO2 = (1 atm) = 0.21 atm
1.00
0.01
PAr = (1 atm) = 0.01 atm
1.00
Kinetic molecular theory of gas
- อธิบายสมบัติทางกายภาพของแกส
- การเคลื่อนไหวของโมเลกุลแกส
1. อยูหางกันมาก จนไมคํานึงถึงปริมาตรโมเลกุล
2. เคลื่อนทีต่ ลอดเวลา ชนกันเอง + ชนผนัง
3. เมื่อชนกัน มีการถายเทพลังงานระหวางโมเลกุลโดยที่ E ทั้งหมดคงที่
4. พลังงานจลนเฉลีย่ ของโมเลกุล
1 2 2
K.E. = m u ; m = มวล, u = mean square speed
2
u12 + u22 +... + uN2
u2 =
N
N = จํานวนโมเลกุลทั้งหมด, K.E. α T (ขึ้นกับอุณหภูมิ)
5. โมเลกุลแกส
- อนุภาคอิสระ ถือวาไมมีแรงผลัก / ดูด ระหวางโมเลกุล
- เคลื่อนที่ตลอดเวลา ไมมีทิศทางแนนอน
- เมื่อชนผนัง = ความดันแกส

Distribution of molecular speeds (การกระจาย / จําแนก ความเร็วของโมเลกุลแกส)


: การเคลื่อนทีม่ ีทิศทางไมแนนอน speed ไมเทากัน
: K.E. เฉลี่ย และ u คงที่ถา T คงที่
: speed แตละโมเลกุลคํานวณไมได แต คํานวณ speed ของโมเลกุลหลายตัว (1 ชุด)
ได เรียกวา “ Distribution of molecular speeds ” หรือ “ Maxwell speed
distribution ” โดยใชการวิเคราะหเชิงสถิติ
• เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของแกสจะมีการเคลื่อนที่เร็วขึ้น และมีพลังงานสูงขึ้น

ความสัมพันธระหวาง Kinetic molecular theory กับ P , V


1 2
PV = nM u M = molar mass (kg/mol)
3
และ PV = nRT
1 2
∴ nM u = nRT
3
3RT
u2 =
M
3RT
u rms = หนวย m/s ; R = 8.314 J/K.mol
M
Urms(root-mean-square speed) อัตราเร็วรากเฉลี่ยกําลังสอง = รากที่สองของคาเฉลี่ยของอัตรา
เร็วกําลังสอง

ตัวอยางที่ 7 จงหา u rms ของอะตอม He และโมเลกุลของ N2 ในหนวย m/s ที่อุณหภูมิ 250C


3RT
จาก u rms = ; T = 25 + 273 K = 298 K
M
สําหรับ He มวลตอโมล ( M ) ของ He คือ 4 g / mol = 4 x 10-3 kg / mol
3(8.314 J / K . mol)(298 K)
u rms =
4 ×10 -3 kg / mol
= 1.86 × 10 6 J / kg (1 J = 1kg m2/s2)
= 1.86 × 10 6 kg . m 2 / kg . s 2
= 1,363 m/s
สําหรับ N2 มวลตอโมล ( M ) ของ N2 = 2 x 14 g / mol = 2. 8 x 10-2 kg / mol
3(8.314 J / K . mol)(298 K)
u rms =
2.8 ×10 -2 kg / mol
= 2.65 × 10 5 J / kg
5 2 2
= 2.65 × 10 kg . m / kg . s
= 515 m / s
หมายเหตุ จะพบวาคา u rms จะลดลง เมื่อคา M เพิ่มขึ้น

ขอสังเกต เนื่องจากฮีเลียมอะตอมมีมวลนอยกวาโดยเฉลี่ยแลวจึงเคลื่อนไดเร็วกวาโมเลกุล
ของไนโตรเจนประมาณ 2.65 เทา (1,363 / 515 = 2.65)

Mean Free Path

: โมเลกุลของแกสเคลื่อนที่ ไมมีทิศทาง (path) แนนอน เพราะ path เปลี่ยนทุกครั้งที่ชนกัน


: mean free path คือ ระยะทางเฉลี่ยในการเคลื่อนที่ของโมเลกุลแกสระหวางการชนแต
ละครั้ง แปรผกผันกับความหนาแนน ( d ) หมายความวา ถาความหนาแนนมาก mean
free path นอย

Graham’s law of Diffusion


การแพร (Diffusion)
: การเคลื่อนทีอ่ ยางชาๆ ของโมเลกุลแกสจากบริเวณทีม่ ีความเขมขนมากไปหานอย จน
1
เทากัน โดยถา P , T เดียวกัน อัตราการแพร r1 α
M1

r1 M2
∴ =
r2 M1
1 2 1 2
ถา P , T เดียวกัน K.E. เทากัน; m1 u1 = m2 u2
2 2
u12 m2
=
u22 m1
(u rms )1 m2
=
(u rms ) 2 m1
การแพรผาน (Effusion) : แกสเคลื่อนที่ผานรูเล็กๆ จาก P สูงไปหา P ต่ํา
: แกสที่เบากวา ออกไปไดเร็วกวาแกสหนัก
1 1
อัตราการแพรผาน r α และ r α
m1 t

t1 r2 M1
= =
t2 r1 M2
ตัวอยางที่ 9 จงเปรียบเทียบอัตราการแพรผานของฮีเลียม และ ไนโตรเจน ที่อุณหภูมิและ
ความดันเดียวกัน (มวลอะตอมของ He = 4 , N = 14)
rHe M N2
=
rN2 M He
rHe 28 g / mol
= = 2.65
rN2 4 g / mol
ดังนั้น ฮีเลียมจะแพรผานไปไดเร็วเปน 2.65 เทาของไนโตรเจน

Deviation from Ideal behavior


การเบี่ยงเบนจาก ideal ( โมเลกุลไมมีแรงผลัก / ดูดกัน )
1. พิจารณาจากรูป
ถา T คงที่ PV = nRT
PV
กราฟ ตอ P ควรเปนเสนตรง (ideal gas)
RT
PV
เนื่องจาก = 1 ทุกๆ คา ของ P
RT
PV
(ถา n = 1 mole ; PV = RT ∴ = 1
RT
แต real gas ไมใช โดยเฉพาะที่ P มากๆ
2. ถาลดอุณหภูมิ ( T ) ของแกสลง พบวากลายเปนของแข็ง/ของเหลว
แสดงวา โมเลกุลมีแรงดึงดูดกัน จึงตองดัดแปลงสมการของ Van der Waals ใหม
โดยคิดวา real gas มี V และมีแรงดึงดูดระหวางโมเลกุล
an 2
P ideal = P real +
V2
V effective = V - nb
2
⎡ an ⎤
จาก PV = nRT แปลงไดเปน ⎢ P+ V 2 ⎥ [ V - nb ] = nRT
⎣ ⎦
บทที่ 7
จลนศาสตรเคมี (Chemical Kinetics )
KINETIC = motion = อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (ความเร็ว) เปน การศึกษาการเปลี่ยน
แปลงความเขมขนของสารที่ทําปฏิกิริยาหรือของผลิตภัณฑที่เกิดขึ้นกับเวลา

อัตราการเกิดปฏิกิริยา (rate of reaction)


สมการทั่วไป : Reactants → Products
A B

จํานวนโมเลกุล B เพิ่มขึ้น

A ลดลง

เวลา
อัตราการเกิดปฏิริยา = อัตราการลดลงของสารตั้งตน อั=ตราการเพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ
เวลา เวลา
Reaction rates and Stoichiometry
คํานวณวัดคา reaction rate จากการเปลี่ยนของ [ reactants ]
หรือการเปลี่ยนของ [ products ]
สมการทั่วไป aA + bB → cC + dD
1 ∆ [A] 1 ∆ [ B] 1 ∆ [ C] 1 ∆ [D]
rate = - = - = + = +
a ∆t b ∆t c ∆t d ∆t
ตัวอยางที่ 1 จงเขียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาตอไปนี้ในรูปของการลดความเขมขนของสาร
ตั้งตนและการเพิ่มความเขมขนของสารผลิตภัณฑ
1. 4 NH3 (g) + 5 O2 (g) → 4 NO (g) + 6 H2O (g)
1 ∆[ NH 3 ] 1 ∆[O2 ] 1 ∆[ NO] 1 ∆[ H 2O]
rate = - = - = + = +
4 ∆t 5 ∆t 4 ∆t 6 ∆t

2. 2 N2O5 (g) → 4 NO2 (g) + O2 (g)


ปจจัยที่มีผลตออัตราเร็วของปฏิกิริยา
1. ธรรมชาติของสารตั้งตน ขึน้ อยูกับสมบัตขิ องสารแตละชนิดซึ่งมีความวองไวในการถูก
สราง และถูกทําลายในปฏิกิริยาแตกตางกัน
2. ความเขมขนของสารตั้งตน ถาสารตั้งตนมีความเขมขนมาก อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะ
เกิดเร็วกวาสารตั้งตนที่มีความเขมขนนอย เพราะการเพิ่มความเขมขนทําใหโอกาส
ของการชนกันระหวางโมเลกุลเพิ่มขึ้นดวย
3. อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิทําใหอัตราการเกิดปฏิกริ ิยาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการชน
กันบอยขึ้น
4. พื้นที่ผิวของสารตั้งตน การเพิ่มพื้นที่ผิวใหกับสารตั้งตนที่เปนของแข็งทําใหมีพื้นที่ผิว
สัมผัสมากขึ้น โดยทําใหมีขนาดเล็กลง
5. ตัวเรงปฏิกิริยา ( catalyst ) เปนสารที่ใสลงในปฏิกิริยาปริมาณนอยๆ แลวจะชวยเรง
ใหปฏิกิริยาเกิดเร็ว ( ลดพลังงานกระตุน ) ขึ้นและเมื่อปฏิกิรยิ าสิ้นสุดลง ตัวเรงก็จะ
ออกมาจากปฏิกิริยาและยังคงมีสมบัติและปริมาณเหมือนเดิม

ผลของความเขมขนตอการเปลี่ยนแปลงอัตราเร็ว
ความเขมขนของสารตั้งตนมีผลตอ rate โดยดูจากผลตออัตราเร็วตอนเริ่มแรก (initial
rate )
ถาใช rate ตอนหลังจะวัดไดยาก เพราะอาจเกิดปฏิกิริยายอนกลับ

จากสมการ aA + bB → cC + dD
rate = k [ A ]x [ B ]y
คา k , x , y หาไดจากการทดลอง
x , y เรียกวา reaction order ( มีคา 0 , 1 , 2 , 3 ,… )
x + y เรียกวา overall reaction order
ถาอันดับเทากับ 0 แสดงวาการเปลี่ยนแปลงความเขมขนของสารตั้งตนตัวนั้นจะไมมี
ผลตอปฏิกิริยา ถาอันดับปฏิกิริยาของสารตั้งตนมีคาเทากับ 2 แสดงวาการเปลี่ยนแปลงความ
เขมขนของสารตั้งตนตัวนั้นจะมีผลตอปฏิกิริยามากกวาการเปลี่ยนแปลงความเขมขนของสารทีม่ ี
อันดับปฏิกิริยาเทากับ 1
ตัวอยางที่ 2 S2O82-(aq) + 3 I - (aq) → 2 SO42-(aq) + I3- (aq)
การทดลองไดขอมูล ดังตาราง จงหากฎอัตรา และคาคงที่อตั ราของปฏิกริ ิยา

ครั้งที่ [ S2O82- ] [I-] Initial rate (M/s


(M) (M) )
1 0.080 0.034 2.2 x 10- 4
2 0.080 0.017 1.1 x 10- 4
3 0.160 0.017 2.2 x 10- 4

rate = k [ S2O82- ]x [ I - ]y
rate 1 k [0.080 ]x [0.034 ]y 2.2 × 10 - 4
= =
rate 2 k [0.080 ]x [0.017 ]y 1.1 × 10 - 4
2y = 2 ; y = 1

rate 3 k [0.160 ]x [0.017 ]y 2.2 × 10 - 4


= =
rate 2 k [0.080 ]x [0.017 ]y 1.1 × 10 - 4
2x = 2 ; x = 1
2- 1 - 1
ดังนั้น rate = k [ S 2 O8 ] [ I ]
rate
k =
[S2 O82- ][ I- ]
2.2 × 10 - 4
แทนคาจากครั้งที่ 1 =
(0.080) (0.034)
= 8.09 x 10-2 M-1 s-1
Relation between reactant concentration and time
เปนความสัมพันธระหวางความเขมขนที่ลดลงเมื่อเวลาผานไป ทั้งนี้ขึ้นอยูกับชนิดของปฏิกิริยา
เวลาครึ่งชีวติ ( t1 / 2 ) หมายถึง เวลาที่ใชไปซึ่งทําใหความเขมขนลดลงครึ่งหนึ่งจากความเขมขนเดิม
[ A]0 หมายถึง ความเขมขนเริ่มตนของสาร ( mol/L )
[ A ]t หมายถึง ความเขมขนสุดทายเมือ่ เวลาผานไป t ( mol/L )
Order rate law conc.n - time t1 / 2

[A ] 0 0.693
1 rate = k [ A ] ln = kt
[A ] t k
1 1 1
2 rate = k [ A ]2 - = kt
[ A ]t [ A ]0 k [ A ]0

ตัวอยางที่ 3 การสลายตัวดวยความรอนของฟอสฟน ( PH3 ) กลายเปนฟอสฟอรัส และกาซ


ไฮโดรเจนดังสมการ
2 PH3 (g) → P4 (g) + 6 H2 (g)
ปฏิกิริยานี้เปนปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง ซึ่งมีครึ่งชีวติ ของปฏิกิริยาเทากับ 65 วินาที
ที่ 680 0C ถาความเขมขนเริ่มตนของ PH3 เทากับ 0.75 M จงหาความเขมขน
ของ PH3 เมื่อเวลาผานไป 5 นาที
จากขอมูล [ PH3 ]0 = 0.75 M
หาคา k จากสมการครึ่งชีวติ ของปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง

t1/2 = 0.693 ดังนั้น k = 0.693


k t1/2
แทนคาในสมการ เมื่อ t1/ 2 = 65 วินาที

k = 0.693 = 0.0107 / s
65
แทนคา k ที่ไดลงในสมการของปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง

ln
[ PH ] 3 0
= kt
[ PH ] 3 t

[ 0.75] 0
ไดวา ln = ( 0.0107 / s ) ( 5 x 60 s )
[ PH 3 ] t
∴ [ PH3 ] t = 0.03 M
คาคงที่ของอัตราเร็วจากปฏิกิริยาอันดับสอง 2 NOBr (g) → 2 NO (g) +
ตัวอยางที่ 4
Br2 (g) เท า กั บ 0.80 / M s ที่ 10 0C ถ า ความเข ม ข น เริ่ ม ต น ของ NOBr
เท า กั บ 0.086 M จงคํ า นวณ ความเข ม ข น ของ NOBr เมื่ อ เวลาผ า นไป
22 วินาที จากขอมูล k = 0.80 / M s , [ NOBr ]0 = 0.086 M
t = 22 s , [ NOBr ]t = ? M
แทนคาในสมการอันดับสอง
1 1
- = kt
[ NOBr ]t [ NOBr ]0
1 1
- = ( 0.80 / Ms )( 22 s )
[ NOBr ]t [ 0.086 ]
[ NOBr ]t = 0.0342 M

กลไกการเกิดปฏิกิริยา (reaction mechanism)


ลําดับขั้นตอนของขั้นตอนยอย (elementary steps) ที่นําไปสูการเกิดเปนผลิตภัณฑ
เชน - ปฏิกิริยาขั้นตอนเดียว A → B
- ปฏิกิริยาหลายขั้นตอน เชน กลไกของปฏิกิริยาตอไปนี้
H2O2 + I - → HOI + OH - ( ชา ) _______ ( 1 )
OH - + H+ → H2O ( เร็ว ) _______ ( 2 )
HOI + H+ + I - → I2 + H2O ( เร็ว ) _______ ( 3 )
overall H2O2 + 2 H+ + 2 I - → I2 + 2 H2O

สารมัธยันต ( intermediate ) คือ เปนสารที่เกิดขึ้นในขัน้ ตอนใดขั้นตอนหนึ่ง แลว


ถูกใชไปในขัน้ ตอนอื่น ในตัวอยางนี้คือ HOI และ OH –
ขั้ น ตอนกํ า หนดอั ต ราเร็ ว ( rate determining step ) คื อ ขั้ น ตอนที่ กํ า หนดว า
ปฏิกิริยานั้นจะเกิดขึ้นไดเร็วหรือชาจะขึ้นอยูกับขั้นที่ชาที่สุด ในตัวอยางนี้คือ ขั้นตอนที่ 1
กฏอัตรา ( rate law ) ของปฏิกิริยา คือ ความสัมพันธระหวางอัตราการเกิดปฏิกิริยา
กับความเขมขนของสารตั้งตน ในกรณีนจี้ ะคิดจากขั้นตอนที่ชา ในที่นี้คือ rate = k [H2O2] [ I - ]
ทั้งนี้อันดับของปฏิกิริยาใหดูจากตัวเลขสัมประสิทธิข์ างหนาสารตั้งตนในสมการที่ชา
Arrhenius Equation
การเพิ่มอุณหภูมิมีผลทําใหอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น มีความสัมพันธดังสมการ
ของอารรีเนียส
Ea
-
k = Ae RT
เมื่อEa = activation energy
R = 8.314 J/mol·K
T = absolute temperature in Kelvins
A = frequency factor
จากสมการของอารรีเนียส สามารถเขียนในรูป logarithmic ไดดังนี้
E
ln k = - a + ln A
RT
หลังจาก plot กราฟระหวางคา ln k กับคา 1/T จะไดกราฟเปนเสนตรง ซึ่งมีคาความชัน
Slope = - Ea / R จากคานี้สามารถนํามาหาคา Ea ได

ตัวอยางที่ 5 คาคงที่อัตราเร็วของปฏิกิริยาการสลายตัวของ acetaldehyde ดังสมการ


CH3CHO (g) → CH4 (g) + CO (g)
ซึ่งไดจากการวัด ณ อุณหภูมิที่ตางกัน 5 คาดังตาราง จงหาคาพลังงานกระตุน
( Ea, kJ / mol) ของปฏิกิริยานี้
k ( 1/ M ½ s ) T(K)
0.011 700
0.035 730
0.105 760
0.343 790
0.789 810
ตามขอมูลที่ใหมา จะตอง plot คา ln k กับคา 1 / T ซึ่งจะไดกราฟเสนตรงซึ่งมี
slope เทากับ
- Ea/R ดังนั้นกอนอื่นตองทําการเปลี่ยนแปลงขอมูลเพือ่ ใชในการเขียนกราฟกอนดังนี้
ln k 1 / T ( K -1 )
- 4.51 1.43 x 10 -3
- 3.35 1.37 x 10 -3
- 2.254 1.32 x 10 -3
- 1.070 1.27 x 10 -3
- 0.237 1.23 x 10 -3

หลังจากนั้นเมื่อ plot กราฟแลว จึงมาหาคาความชันของกราฟ


- 4.00 - (-0.45)
Slope = ( 1.41 - 1.24 ) x 10 -3 = - 2.09 x 10 4 K
E
เมื่อ slope = - a = - 2.09 x 10 4 K
R
ดังนั้น Ea = ( 8.314 J/K mol )( 2.09 x 10 4 K )
= 1.74 x 10 5 J/mol
= 1.74 x 10 2 KJ / mol
บทที่ 8
สมดุลเคมี (Chemical Equilibrium )
สมดุ ล เคมี (Chemical equilibrium) คื อ อัต ราการเกิ ด ปฏิ กิ ริย าไปข างหน าและอั ต รา
ยอนกลับมีคาเทากันโดยความเขมขนของทั้งสารตั้งตนและผลิตภัณฑไมเปลี่ยนแปลงตามเวลา
forward
Reactants reverse
Products

สําหรับปฏิกิรยิ าทั่วไปที่ผันกลับได ดังสมการ


aA + bB cC + dD
เมื่อ a, b, c และ d เปนสัมประสิทธิ์ปริมาณสัมพันธของสาร A , B, C และ D ตามลําดับ
คาคงที่สมดุล ณ อุณหภูมิหนึ่งหาไดจาก
[C]c [D]d
Kc =
[A]a [B]b
KC เปนคาคงที่ในรูปความเขมขน ( mol/L ) เชน
[NO 2 ]2
N2O4 (g) 2 NO2 (g) Kc =
[N 2 O 4 ]
PNO
2
2
ในรูป KP เปนคาคงที่ในรูปของความดัน ( atm ) KP =
P N 2O4
คา Kc จะเขียนเฉพาะสารที่มสี ถานะเปนสารละลาย ( aq ) และ แกสเทานั้น (g)
คา Kp จะเขียนเฉพาะสารที่มสี ถานะเปนแกสเทานั้น (g)
ตัวอยางที่ 1 จากสมดุลของ PCl5 (g) PCl3 (g) + Cl2 (g)
0
ถา KP = 1.05 ที่ 250 C ความดันยอย PCl5 = 0.8 atm , PCl3 =
0.4 atm
จงหาความดันยอย Cl2 ที่สมดุล ( 2500C )
PPCl3 PCl2
KP =
PPCl5
(0.4) PCl2
1.05 =
(0.8)
∴ PCl2 = 2.10 atm
โดยทั่วไป KC ≠ Kp แตเราสามารถหาความสัมพันธระหวาง KC กับ Kp ได ดังสมการนี้
∆n
KP = KC (RT)

เมื่อ ∆n คือ ผลตางของจํานวนโมลสารของแกสผลิตภัณฑกับแกสตั้งตน

aA + bB cC + dD

∆n = ( c + d ) – ( a + b )

ตัวอยางที่ 2 จากสมการ N2 (g) + 3 H2(g) 2 NH3 (g)


–4
ถา KP = 4.3 x 10 ที่ 2000C จงหาคา KC
∆n
จาก KP = KC (RT)
T = 273 + 200 = 473 K
∆n = 2 – ( 1 + 3 ) = - 2
แทนคา 4.3 x 10 – 4 = KC ( 0.082 x 473 ) – 2
KC = 0.65
ความสัมพันธระหวางคา K
- เมื่อนําสมการยอยมารวมกัน คา Kc ของสมการใหมไดจาก ผลคูณของ Kc ยอยแตละ
ปฏิกิริยา
- เมื่อกลับสมการ คา Kc ของสมการใหมไดจากเศษสวนกลับของ Kc เดิม
- เมื่อคูณตัวเลขเขาไปในสมการเดิม คา Kc ของสมการใหมไดจากคา Kc เดิมยกกําลัง
ดวยตัวเลขที่เอาไปคูณนั้นเอง
ตัวอยางที่ 3 จงหาความสัมพันธระหวาง KC จากสมการตอไปนี้
__________
N2 (g) + 3 H2 (g) 2 NH3 (g) K1 = 10 (1)
1
1
กลับสมการ ( 1 ) 2 NH3 (g) N2 (g) + 3 H2 (g) K2 = K = = 0.1
1 10

( K1 )
3
คูณ 3 ทั้งสมการ ( 1 ) 3 N2 (g) + 9 H2 (g) 6 NH3 (g) K3 = = ( 10 )3
__________
ตัวอยางที่ 4 กําหนดปฏิกิริยา A + 2 B C K1 = 0.25 (1)
__________
C K2 = 0.6 (2)
จงคํานวณหา Kc ของปฏิกิริยา A + 2 B D + E
จากโจทยจะเห็นวาสาร D และ E เปนสารตั้งตนในสมการ 2 แตเปนสารผลิตภัณฑ
ของสมการที่ตองการทราบ ดังนั้นตองกลับสมการของสมการที่ 2 จะไดวา
__________
A + 2B C K1 = 0.25 (1)
C D + E K2 = 1 __________
(3)
0.6
รวมสมการ A + 2B D + E Kc = K1 x K2

= ( 0.25 )( 1 ) = 0.42
0.6
การคํานวณความเขมขนของสารที่สมดุล

หลัก 1. เขียนสมการเคมีใหสมดุล
2. ระบุความเขมขนเริ่มตน
3. กําหนดความเขมขนที่เปลี่ยนไป = x
4. หาความเขมขนสมดุล (ความเขมขนเริ่มตน – x)
5. แทนคาความเขมขนสมดุลใน KC
6. คํานวณหาคา x + check

ตัวอยางที่ 5 จากสมดุลของ A B
เมื่อ [ A ]0 = 0.5 mol/L และ KC = 1.5 จงหา [A], [B] ที่สมดุล
A B
เริ่มตน ( M ) 0.5 0
เปลี่ยน -x +x
สมดุล 0.5 – x x

[B]
แทนคา KC =
[A]
x
1.5 =
0.5 - x
x = 1.5 ( 0.5 - x )
x = 0.75 - 1.5 x
2.5 x = 0.75
x = 0.3
[A] = 0.5 – 0.3 = 0.2 M
[B] = 0.3 M

ตัวอยางที่ 6 จากสมการ A2 (g) + B2 (g) 2 AB (g)


จํานวนโมลเริม่ ตนของสาร A และ B เปน 0.5 โมล ในภาชนะ 1 ลิตร
ที่อุณหภูมิ 430 0C คา KC = 49 จงหา [ A2 ] , [ B2 ] , [ AB ] ที่สมดุล
A2 (g) + B2 (g) 2 AB (g)
เริ่มตน 0.5 0.5 0
เปลี่ยน -x -x 2x
สมดุล ( 0.5 – x ) ( 0.5 – x ) 2x
[AB]2
แทนคา KC =
[A 2 ] [B 2 ]
( 2 x )2
49 =
( 0.5 - x ) ( 0.5 - x )
( 2 x )2
49 =
( 0.5 - x ) 2
(2x )
7 =
( 0.5 - x )
2x = 7 ( 0.5 – x )
2x = 3.5 – 7 x
9x = 3. 5
x = 0.39 M
ดังนั้นที่สมดุล [ A2 ] = 0.5 – 0.39 = 0.11 M
[ B2 ] = 0.5 – 0.39 = 0.11 M
[ AB ] = 2 (0.39) = 0.78 M

ปจจัยที่มีผลตอสมดุลเคมี
1. ความเขมขน 3. ปริมาตร
2. ความดัน 4. อุณหภูมิ
เมื่อระบบสมดุลถูกรบกวนดวยปจจัยเหลานี้ ระบบจะปรับตัวเองใหเขาสูสมดุลใหมอีก
ครั้งตามกฎของ Le Chatelier ( Le Chatelier’s Principle ) ที่กลาววา
“ เมื่อระบบสมดุลถูกรบกวนจนสมดุลเสียไป ระบบจะปรับตัวในทิศทาง
ทําใหปจจัยรบกวนลดนอยที่สุด เพื่อระบบจะเขาสูสมดุลเดิม ”
1. การเปลี่ยนความเขมขน
2 NH3 (g) + 5 O2 (g) 4 NO (g) + 6 H2O (g)
รบกวนสมดุล ทิศทางปฏิกิริยา
a. เติม NH3 ไปขางหนา
b. เอา O2 บางสวนออก ยอนกลับ
c. เอา NO บางสวนออก ไปขางหนา
จากขอ a. การเติม NH3 เพิ่มเขาไปในสมดุลเดิมจะทําใหสมดุลเสียไป ระบบจะทําการปรับสม
ดุลใหมโดยพยายามลดปริมาณของ NH3 ใหลดลงโดย NH3 จะทําปฏิกิริยากับ O2 เกิดปฏิกิริยา
ไปขางหนา
จากขอ b. การเอา O2 บางสวนออกจากสมดุลเดิมจะทําใหสมดุลเสียไป ระบบจะทําการปรับ
สมดุลใหมโดยพยายามเพิ่มปริมาณของ O2 ใหมากขึ้น โดยจะเกิดปฏิกิริยายอนกลับและเขาสูส ม
ดุลใหม

2. เปลี่ยนความดันและปริมาตร ผลของความดันและปริมาตรจะคิดเฉพาะภาวะแกส
เทานั้น
ความดันและปริมาตรของแกสมีความสัมพันธกันดังนี้ ( ใหคิดในรูปของความดัน )
ถาปริมาตรลด → ความดันเพิ่ม
ถาปริมาตรเพิ่ม → ความดันลด
หลักการ ถาเพิ่มความดันสมดุลจะเลื่อนจากดานโมลแกสมากไปโมลแกสนอย
ถาลดความดันสมดุลจะเลือ่ นจากดานโมลแกสนอยไปโมลแกสมาก
ถาระบบที่จาํ นวนโมลของแกสเทากันการเพิ่มหรือลดลงของความดันไมมีผลตอ
ระบบ
ตัวอยางที่ 7 จงทํานายทิศทางของปฏิกิริยา ถาเพิ่ม P ( ลด V ) ที่ T คงที่
1) 2 PbS (s) + 3 O2 (g) 2 PbO (s) + 2 SO2 (g)
สารตั้งตนมีจํานวนโมลของแกสเทากับ 3
สารผลิตภัณฑมีจาํ นวนโมลของแกสเทากับ 2
ดังนั้น การเพิ่มความดัน สมดุลใหมจะไปขางหนา
2) PCl5 (g) PCl3 (g) + Cl2 (g)
สารตั้งตนมีจํานวนโมลของแกสเทากับ 1
สารผลิตภัณฑมีจํานวนโมลของแกสเทากับ 2
ดังนั้น การเพิ่มความดัน สมดุลใหมจะยอนกลับ
3) H2 (g) + CO2 (g) H2O (g) + CO (g)
สารตั้งตนมีจํานวนโมลของแกสเทากับ 2
สารผลิตภัณฑมีจํานวนโมลของแกสเทากับ 2
ดังนั้น การเพิ่มความดันจะไมมีผลตอระบบ

3. การเปลี่ยนอุณหภูมิ
ถาเปลี่ยน ความเขมขน ปริมาตร ความดัน = เปลี่ยนสมดุล
การเปลี่ยนอุณหภูมิ มีผลทําใหคาคงที่สมดุล KC เปลี่ยนไปดวย
ถา N2O4 (g) 2 NO2 (g) ∆H 0 = 58.0 kJ ดูดความรอน
2 NO2 (g) N2O4 (g) ∆H 0 = -58.0 kJ คายความรอน
∴ ถา ↑ T = ↑ Heat ทําใหเพิ่ม endothermic reaction (ดูดความรอน) ปฏิกิริยาไปขางหนา
ถา ↓ T = ↓ Heat ทําใหเพิ่ม exothermic reaction (คายความรอน)

ปฏิกิริยาดูดความรอน ( ∆H 0 บวก ) ปฏิกิริยาคายความรอน ( ∆H 0 ลบ )


1. เพิ่มอุณหภูมิ ไปขางหนา 1. เพิ่มอุณหภูมิ ยอนกลับ
2. ลดอุณหภูมิ ยอนกลับ 2. ลดอุณหภูมิ ไปขางหนา

ตัวอยางที่ 8 จากสมดุล 4 NH3 (g) + 5 O2 (g) 4 NO (g) + 6 H2O (l) ∆H 0= - 248 kJ


จงทํานายทิศทางการดําเนินไปของปฏิกริ ิยาเมื่อรบกวนสมดุลดังตอไปนี้
ปจจัยการรบกวน ทิศทางที่ปฏิกิริยาดําเนินไป
a. เพิ่ม NH3 (g) ไปขางหนา
b. ลด O2 (g) ยอนกลับ
c. ลด NO (g) ไปขางหนา
d. เพิ่มปริมาตรของภาชนะบรรจุ 2 เทา ไปขางหนา
e. เพิ่มอุณหภูมิ ยอนกลับ
f. เพิ่มความดัน ยอนกลับ

4. ผลจาก catalyst
- ชวยลด activation energy ( Ea )
- ทําใหอัตราเร็วของปฏิกิรยิ าเร็วขึ้น ทั้งไปขางหนาและยอนกลับ
- ไมมีผลตอ KC และ equilibrium
บทที่ 9
กรด - เบส (Acid – base)
Bronsted Acids and Bases
Bronsted acid คือ สารทีส่ ามารถให proton หรือ hydronium ion ได
acids → H+ หรือ H3O+
Bronsted base คือ สารที่สามารถรับ proton หรือ hydronium ion ได
base ; OH - + H3O+ → 2 H2O
Conjugate acid – base Pairs
Acid → H+ + conjugate base (สวนที่เหลือของกรดหลังจากให proton ไป)
Base → conjugate acid + OH-
เชน CH3COOH (aq) + H2O(l) CH3COO- (aq) + H3O+(aq)
acid conjugate base
NH3(aq) + H2O(l) NH4+(aq) + OH-(aq)
base conjugate acid
การแตกตัวของน้ําบริสุทธิ์ ( Dissociation of water )
น้ําเปนตัวทําละลายที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว สมบัติประการหนึ่งของน้ําคือ เปนไดทั้ง กรด
และเบส และจัดเปนอิเล็กโทรไลตที่ออนมาก จึงนําไฟฟาไดไมดีแตก็แตกตัวเปนไอออนไดบาง
H2O (l) H+(aq) + OH-(aq)
Kw คือ ion product constant = [H+][OH-]
ดังนั้น Kw = [H+][OH-] = (1.0 x 10-7) (1.0 x 10-7) = 1.0 x 10-14 M

pH และการวัดความเปนกรด (acidity)
pH = - log [H+]

ในกรณีที่เปน เบส จะสามารถ หา pOH ไดจาก

pOH = - log [OH-]


pH + pOH = 14

ความแรงของกรด – เบส และการคํานวณหาคา pH


1. กรดแก กรดที่เมื่อละลายน้ําแลวสามารถแตกตัวได 100 % มี 6 ชนิดดวยกันคือ
HCl , HBr , HI , HNO3 , HClO4 , H2SO4
2. เบสแก เบสที่ เ มื่ อ ละลายน้ํ า แล ว สามารถแตกตั ว ได 100% เช น สารประกอบ
ไฮดรอกไซดของโลหะหมู 1 และหมู 2
เบสแกจากหมู 1 คือ LiOH , NaOH , KOH , CsOH เปนตน
เบสแกจากหมู 2 คือ Ca(OH)2 , Mg(OH)2 , Ba(OH)2 , Sr(OH)2 ยกเวน Be(OH)2
ตัวอยางที่ 1 จงหาคา pH ของสารละลาย HBr ความเขมขน 0.15 M
HBr → H+ + Br – ( เปนกรดแกแตกตัวหมด )
0.15 M 0.15 M 0.15 M
ดังนั้น [ H+ ] = 0.15 M นั่นเอง
จาก pH = - log [H+]
= - log [ 0.15 ]
= 0.82
ตัวอยางที่ 2 จงหาคา pH ของสารละลาย KOH ความเขมขน 0.2 M
KOH → K+ + OH - ( เปนเบสแกแตกตัวหมด )
0.2 M 0.2 M 0.2 M
ดังนั้น [ OH- ] = 0.2 M นั่นเอง
จาก pOH = - log [OH-]
= - log [ 0.2 ] = 0.7
หา pH จาก pH + pOH = 14
pH = 14 - pOH
= 14 - 0.7 = 13.30
ตัวอยางที่ 3 จงหาคา pH ของสารละลาย Mg(OH)2 ความเขมขน 0.25 M
Mg(OH)2 → Mg2+ + 2 OH - ( เปนเบสแกแตกตัวหมด )
0.25 M 0.25 M 2 x 0.25 = 0.5 M

ดังนั้น [ OH- ] = 0.5 M นั่นเอง


จาก pOH = - log [OH-]
= - log [ 0.5 ] = 0.30
หา pH จาก pH + pOH = 14
pH = 14 - pOH
= 14 - 0.30 = 13.7
3. กรดออน กรดที่เมื่อละลายน้ําแลวแตกตัวไดนอยกวา 100 % ( แตกตัวไมหมด )
HA(aq) H+(aq) + A-(aq) มีคา Ka
Ka = [H+ ][A- ]
[HA]
เมื่อ Ka คือ คาคงที่การแตกตัวของกรดออน ( acid ionization constant )

Acid Ka Conjugate base


HF 7.1 x 10- 4 F- 1.4 x 10-11
HNO2 4.5 x 10- 4 NO2- 2.2 x 10-11
HCOOH 1.7 x 10- 4 HCOO- 5.9 x 10-11
Ascorbic acid 8.0 x 10-5 C6H7O6- 1.3 x 10-10
CH3COOH 1.8 x 10-5 CH3COO- 5.6 x 10-10
HCN 4.9 x 10-10 CN- 2.0 x 10-5
Phenol 1.3 x 10-10 C6H5O- 7.7 x 10-5

4. เบสออน เบสที่เมื่อละลายน้ําแลวแตกตัวไดนอยกวา 100 % ( แตกตัวไมหมด )


NH3(aq) + H2O (l) NH4+(aq) + OH- (aq)
[NH +4 ][OH - ]
Kb =
[NH 3 ]
เมื่อ Kb คือ คาคงที่การแตกตัวของเบสออน ( basic ionization constant )

เบส Kb Conjugate acid Ka


C2H5NH2 5.6 x 10- 4 C2H5NH3+ 1.8 x 10-11
CH3NH2 4.4 x 10- 4 CH3NH3+ 2.3 x 10-11
NH3 1.8 x 10-5 NH4+ 5.6 x 10-11
C6H5NH2 3.8 x 10-10 C6H5NH3+ 2.6 x 10-5

ตั ว อย างที่ 4 จงคํ า นวณความเข ม ข น ที่ ส มดุ ล ของ HCOOH และ ion อื่น ๆ และ pH ของสาร
ละลาย โดยที่ HCOOH มีความเขมขนเริ่มตน 0.1 M ( Ka = 1.7 x 10- 4 )
เขียนสมการ HCOOH H+ + HCOO-
เริ่มตน (M) 0.1 0 0
เปลี่ยนแปลง (M) -x +x +x
สมดุล (M) (0.1-x) x x
Ka = [H+ ][HCOO- ]
[HCOOH]
-4 x2
แทนคา 1.7 x 10 =
(0.1 - x )
ใชการประมาณ : (0.1 – x) ≈ 0.1
-4 x2
1.7 x 10 =
0.1
x2 = 1.7 x 10-4 (0.1)
x = 4.1 x 10-3 M
ดังนั้น [HCOOH] = 0.1 – x
= 0.1 – 0.0041 = 0.096 M
[H+] = 0.0041 M
[HCOO-] = 0.0041 M
จะเห็นวา มีความเขมขนของ [H+] เทากับ 4.1 x 10-3 M
ดังนั้นสามารถหาคา pH ไดดังนี้
pH = - log [H+]
= - log (4.1 x 10-3)
= 2.39

หรือใชสูตร [H+] = Ka . M
โดยที่ [H+] คือ ความสามารถในการแตกตัวของกรด,
Ka คือ คาคงที่การแตกตัวของกรดออน
M คือ ความเขมขนของกรดออน
[H+] = (1.7 × 10 -4 )(0.1)
= 4.1 x 10-3 M
pH = - log [H+]
= - log (4.1 x 10-3) = 2.39

ตัวอยางที่ 5 จงหา pH ของสารละลาย 0.4 M แอมโมเนีย ( Kb = 1.8 x 10-5 )


NH3(aq) + H2O (l) NH4+(aq) + OH- (aq)
เริ่มตน (M) 0.4 0 0
เปลี่ยนแปลง (M) -x +x +x
สมดุล (M) (0.4 – x) x x
[NH +4 ][OH - ]
Kb =
[NH 3 ]
1.8 x 10-5 = x 2

(0.4 - x )
ใชการประมาณ : (0.4 – x) ≈ 0.4
1.8 x 10-5 = x 2

0.4
x = 2.7 x 10-3 M
x คือ ความเขมขนของ [OH-] ที่สภาวะสมดุล ซึ่งสามารถหาคา pOH จากความเขมขน
[OH-]
pOH = -log [OH - ]
= -log (2.7 x 10-3)
= 2.57
จาก pH = 14 – pOH
= 14 – 2.57
= 11.43
หรือใชสูตร [OH-] = Kb . M
= (1.8 ×10-5 )(0.4)
= 2.7 x 10-3 M
pOH = - log [OH-]
= - log (2.7 x 10-3)
= 2.57
จาก pH + pOH = 14
ดังนั้น pH = 14 – pOH
= 14 – 2.57
= 11.43
เปอรเซ็นตการแตกตัว ( % ionization )
คือ ปริมาณการแตกตัวเปน H+ หรือ OH – ของกรดออนและเบสออนตามลําดับ

กรดออน เบสออน
[H + ] x 100 [OH - ] x 100
% การแตกตัว = % การแตกตัว =
[ weak acid ] [ weak base ]

ตัวอยางที่ 6 จงหาเปอรเซ็นตการแตกตัวของสารละลาย CH3NH2 เขมขน 0.2 M ( Kb =


4.4 x 10- 4 )
CH3NH2 + H2O CH3NH3+ + OH –
เริ่มตน (M) 0.2 0 0
เปลี่ยนแปลง (M) -x +x +x
สมดุล (M) (0.2 – x) x x
[CH 3 NH 3+ ][OH - ]
Kb =
[CH 3 NH 2 ]
[ x2 ]
=
[0.2 - x ]
ใชการประมาณ : (0.2 – x) ≈ 0.2
x2
4.4 x 10- 4 =
0.2
x = 4.2 x 10 -3
∴ [ OH - ] = 4.2 x 10 -3 M

[OH - ] x 100
ดังนั้น เปอรเซ็นตการแตกตัว =
[ weak base ]

4.2 x 10 -3 x 100
= 0.2 = 2.1 %

เกลือ ( Salts )
เกลือเกิดจากปฏิกิริยาสะเทินระหวางกรดกับเบส ไดผลิตภัณฑเปนเกลือและน้ํา
กรด + เบส → เกลือ + น้ํา
พิจารณาองคประกอบของเกลือวามาจากกรดแก กรดออน เบสแก หรือเบสออน
1. Salts ที่เปน neutral solutions ( กรดแก + เบสแก )
เมื่อละลายน้ําจะแตกตัวเปนไอออน ซึ่งไอออนทั้งสองไมทําปฏิกิริยากับ H2O
ทําใหความเขมขนของ H + และ OH – ไมเปลี่ยนแปลง การละลายของเกลือประเภทนี้จะเปน
กลาง เชน
HNO3 + NaOH → NaNO3 + H2O pH = 7
2. Salts ที่เปน basic solutions ( กรดออน + เบสแก ) เชน CH3COONa , KCN
เมื่อละลายน้ําจะแตกตัวเปนไอออนของเบสแกและไอออนของกรดออน ไอออน
ของเบสแกไมทําปฏิกิริยากับ H2O แตไอออนของกรดออนสามารถรวมตัวกับน้ํา ไดสารละลาย
เปนเบส
CH3COONa (s) → CH3COO- (aq) + Na+ (aq)
CH3COO- (aq) + H2O (l) CH3COOH (aq) + OH- (aq)
[CH 3COOH][OH - ]
Kb =
[CH 3COO - ]
3. Salts ที่เปน acidic solutions (กรดแก + เบสออน) เชน NH4Cl , ( NH4 )2SO4
เมื่อละลายน้ําจะแตกตัวเปนไอออนของกรดแกและไอออนของเบสออน ไอออน
ของกรดแกไมทําปฏิกิริยากับน้ํา แตไอออนของเบสออนสามารถรวมตัวกับน้ําได ไดสารละลาย
เปนกรด
NH4Cl (s) → NH +4 (aq) + Cl- (aq)
NH+4 (aq) + H2O (l) NH3 (aq) + H3O+ (aq)
[NH 3 ][H + ]
Ka =
[NH +4 ]
4. Salts ที่มี cation และ anion ที่ hydrolyzed ไดทั้งคู
- เกิดจาก กรดออน + เบสออน และสามารถที่จะ hydrolyzed ไดทั้งคู
- pH ของสารละลายจะขึ้นกับคา Ka กับ Kb
- ถา Ka > Kb cation จะ hydrolyzed ให H+ ( เปน กรด )
Kb > Ka anion จะ hydrolyzed ให OH- ( เปน เบส )
Ka ≈ Kb เปนกลาง

การหา pH ของสารละลายเกลือ
นิยมหาคา pH จากเกลือที่มาจาก กรดแก + เบสออน หรือ กรดออน + เบสแก
ตัวอยางที่ 7 จงคํานวณคา pH ของสารละลาย 0.15 M CH3COONa (สารละลายเกลือเปน
เบส)
กําหนดคา Ka ของ CH3COOH เทากับ 1.8 x 10-5
CH3COONa(s) → CH3COO-(aq) + Na+(aq)
CH3COO-(aq) + H2O(l) CH3COOH (aq) +OH-(aq)
เริ่มตน (M) 0.15 0 0
เปลี่ยนแปลง (M) -x +x +x
สมดุล (M) (0.15 – x) x x
Kw [CH 3COOH][OH - ]
Kb = =
Ka [CH 3COO - ]
-10 x2
5.6 x 10 =
(0.15 - x )
ใชการประมาณ ; (0.15 – x) ≈ 0.15
-10 x2
5.6 x 10 =
0.15
จะได x = 9.2 x 10-6 M เปนความเขม
ขนของ [OH-] ที่สมดุล
ดังนั้น [OH-] = 9.2 x 10-6 M
pOH = -log [OH-]
= -log (9.2 x 10-6) = 5.04
pH = 14 – pOH
= 14 – 5.04 = 8.96
Kw
หรือใชสูตร [OH-] = ( )(M)
Ka
1.0×10 -14
= ( -5
)(0.15)
1.8×10
= 9.2 x 10-6 M
จาก pOH = -log[OH-]
= -log (9.2 x 10-6) = 5.04
pH = 14 – pOH = 14 – 5.04 = 8.96
ตัวอยางที่ 8 จงคํานวณ pH ของสารละลาย 0.2 M NH4Cl (สารละลายเกลือเปนกรด)
กําหนด Kb ของ NH3 เทากับ 1.8 x 10-5
NH4Cl (s) → NH+4 (aq) + Cl- (aq)
NH+4 (aq) + H2O (l) NH3 (aq) + H3O+ (aq)
เริ่มตน (M) 0.2 0 0
เปลี่ยนแปลง (M) -x +x +x
สมดุล (M) (0.2 – x) x x

[NH 3 ][H + ]
Ka =
[NH +4 ]
Kw x2
Ka = =
Kb 0.2 - x
ใชการประมาณ ; (0.2–x) ≈ 0.2
-10 x2
5.6 x 10 =
0.2
จะได x = 1.1 x 10-6 M เปนความเขมขน
+
ของ [H ] ที่สมดุล
ดังนั้น [H+] = 1.1 x 10-6 M
pH = -log [H+]
= -log (1.1 x 10-6) = 5.96
Kw
หรือใชสูตร [H+] = ( )(M)
Kb
1.0×10 -14
= ( -5
)(0.2)
1.8×10
= 1.1 x 10-6 M
pH = -log [H+] = -log (1.1 x 10-6)
= 5.96

การหา pH ที่มี กรดออนและเกลือของกรดออนอยูรวมกัน


HA(aq) H+(aq) + A-(aq)
[ เกล ือ ]
pH = pKa + log [ กรดอ อน ] , pKa = - log Ka
ตัวอยางที่ 9 จงหาคา pH ของสารละลายผสมระหวาง CH3COOH 2.0 M และ CH3COONa
1.0 M
( กําหนดคา Ka = 1.8 x 10 -5 )
[ เกล ือ ]
จาก pH = pKa + log
[ กรดอ อน ]
-5
1.0
= - log 1.8 x 10 + log
2.0
= 4.44

การหา pH ที่มี เบสออนและเกลือของเบสออนอยูรวมกัน


[ เกล ือ ]
pOH = pKb + log
[ เบสอ อน ] , pKb =
- log Kb
pH = 14 - pOH
ตัวอยางที่ 10 จงหาคา pH ของสารละลายผสมระหวาง NH3 1.50 M และ NH4Cl 3.0 M
( กําหนดคา Kb = 1.8 x 10 -5 )
[ เกล ือ ]
จาก pOH = pKb + log
[ เบสอ อน ]
3.0
-5
= - log 1.8 x 10 + log
1.5
= 5.04
pH = 14 - pOH
= 8.96

สารละลายบัฟเฟอร (Buffer Solutions)


สารละลายบัฟเฟอร คือ สารละลายที่ประกอบดวย ของผสมของสารละลาย 2 ลักษณะ คือ
1. กรดออน กับ เกลือของกรดออน
2. เบสออน กับ เกลือของเบสออน
สารละลายบัฟเฟอรมีคุณสมบัติในการตานการเปลี่ยนแปลง pH เมื่อเติมกรดแก (H+)
หรือเบสแก (OH-) กลาวคือ เมื่อเติมสารละลายของกรดแกหรือเบสแกลงในสารละลายบัฟเฟอร
คา pH ของสารละลายจะเปลี่ยนแปลงไปเล็กนอยเทานั้น แตถาไมใชสารละลายบัฟเฟอรจะทําให
คา pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปอยางมาก
เชน บัฟเฟอรที่เปนกรดออนผสมกับเกลือของกรดออน
CH3COONa / CH3COOH หรือ CH3COO- / CH3COOH
ถาเติม H+ (กรดแก) CH3COO- จากสารละลายเกลือจะทําปฏิกิริยากับ H+ ของกรดแกที่
เติม
CH3COO-(aq) + H+(aq) → CH3COOH (aq)
ถาเติม OH- (เบสแก) CH3COOH ของกรดออนจะทําปฏิกิริยากับ OH- ของเบสแกที่เติม
ลงไป
CH3COOH(aq) +OH-(aq) → CH3COO-(aq) + H2O (aq)
[H+] และ [OH-] ที่เติมลงไปจะถูกทําปฏิกิริยาโดย สารละลายบัฟเฟอร ทําให pH ไม
เปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงนอยมาก
ตัวอยางที่ 11 จงคํานวณ pH (Ka ของ CH3COOH เทากับ 1.8 x 10-5 )
a) บัฟเฟอร 1.0 M CH3COOH / 1.0 M CH3COONa
b) บัฟเฟอร หลังเติม 0.10 M HCl ในสารละลาย buffer 1 L
c) บัฟเฟอร หลังเติม 0.10 M NaOH ในสารละลาย buffer 1 L
a) CH3COONa → CH3COO-(aq) + Na+(aq)
CH3COOH CH3COO-(aq) + H+(aq)
[CH3COO- ][H+ ]
Ka =
[CH3COOH]
Ka [CH3COOH]
[H+] =
[CH3COO- ]
+ (1.8 × 10 -5 ) (1.0)
[H ] =
(1.0)
= 1.8 x 10-5 M
จาก pH = - log [H+]
= - log (1.8 x 10-5)
= 4.74
[CH3COO- ]
หรือการใชสูตร pH = pKa + log
[CH3COOH]
pH = - log (1.8 x 10-5) + log 1.0
1.0
= 4.74
b) เติม 0.1 M HCl คือ เติม [H+] = 0.1 M

เกิดปฏิกิริยาดังนี้ CH3COO- (aq) + H+(aq) → CH3COOH (aq)


0.1 M 0.1 M 0.1 M
เกิด CH3COOH = 0.1 M และ เสีย CH3COO- = 0.1 M
CH3COOH (aq) CH3COO- (aq) + H+ (aq)
หลังปฏิกิริยาจะได ; CH3COOH (aq) จะมีความเขมขนเพิ่มขึ้น คือ 1.0 + 0.1 = 1.1 M
CH3COO- (aq) จะมีความเขมขนลดลง คือ 1.0 – 0.1 = 0.9 M

[CH 3COO - ][H + ]


Ka =
[CH 3COOH]

1.8 x 10-5 = 0.9 [H + ]


1.1
[H+] = 2.2 x 10-5 M
จาก pH = - log [H+]
= - log (2.2 x 10-5) = 4.66
[CH 3COO - ]
หรือการใชสูตร pH = pKa + log
[CH 3COOH]
0.9
pH = - log (1.8 x 10-5) + log = 4.66
1.1
c) เติม 0.1 M NaOH คือ เติม [OH-] = 0.1 M

เกิดปฏิกิริยาดังนี้ CH3COOH (aq) + OH- (aq) → CH3COO- (aq)


0.1 M 0.1 M 0.1 M
เกิด CH3COO- = 0.1 M และ เสีย CH3COOH = 0.1 M
หลังการเกิดปฏิกิริยาสารละลายบัฟเฟอรจะมีการเปลี่ยนแปลงความเขมขนดังนี้
CH3COOH (aq) จะมีความเขมขนลดลง คือ 1.0 - 0.1 = 0.9 M
CH3COO- (aq) จะมีความเขมขนเพิ่มขึน้ คือ 1.0 + 0.1 = 1.1 M
[CH 3COO - ][H + ]
Ka =
[CH 3COOH]

-5 1.1 [H + ]
1.8 x 10 =
0.9
[H+] = 1.5 x 10-5 M
จาก pH = - log [H+]
= -log (1.5 x 10-5)
= 4.83
[CH3COO- ]
หรือการใชสูตร pH = pKa + log
[CH3COOH]
1.1
pH = - log (1.8 x 10-5) + log
0.9
= 4.83
บทที่ 10
ไฟฟาเคมี (Electrochemistry)
ปฏิกิริยารีดอกซ
ในกระบวนการทางไฟฟ า เคมี ทุ ก กระบวนการจะต อ งมี ก ารถ า ยเทอิ เล็ ก ตรอนจาก
สารหนึ่งไปยังสารหนึ่ง จึงจัดวาเปนปฏิกิริยารีดอกซ (ออกซิเดชัน-รีดักชัน)
ปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชันตองเกิดขึ้นพรอมกัน จะขาดปฏิกิริยาใดปฏิกิริยาหนึ่ง
ไมได เมื่ออะตอมหนึ่งสูญเสียอิเล็กตรอน ก็จะตองมีอีกอะตอมหนึ่งรับอิเล็กตรอน โดยแบงเปน
ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน (ใหอิเล็กตรอน) และรีดักชัน (รับอิเล็กตรอน) เชน เมื่อจุมแทงโลหะ
สังกะสี (Zn) ลงในสารละลาย CuSO4 โลหะ Zn จะถูกออกซิไดซเปน Zn2+ ไอออน สวน Cu2+
ไอออนจะถูกรีดิวซเปนโลหะ Cu
Oxidation : Zn (s) → Zn 2+(aq) + 2 e-
Reduction : Cu 2+(aq) + 2 e- → Cu (s)
_____________________________________________________
Overall : Zn (s) + Cu 2+(aq) → Zn 2+(aq) + Cu (s)

เซลลกัลวานิก (Galvanic cells)


ปฏิกิริยรีดอกซจะเกิดขึ้นไดเมื่อตัวออกซิไดซสัมผัสกับตัวรีดิวซ เชน ปฏิกิริยาระหวาง
Zn กับ Cu2+ ถาแยกตัวออกซิไดซและตัวรีดิวซออกจากกัน ตองมีตัวกลางที่ทําหนาที่ให
อิเล็กตรอนเกิดการถายเท อุปกรณนี้เรียกวา สะพานเกลือ (Salt bridge) ตัวอยางการทํางาน
ของเซลลกลั วานิก เซลลนี้ประกอบดวยแทงสังกะสีจุมอยูในสารละลาย ZnSO4 และแทงทองแดง
จุมอยูในสารละลาย CuSO4 เซลลกัลวานิก ทํางานโดยอาศัยหลักการวา ออกซิเดชันของ Zn
เปน Zn2+ และรีดักชัน Cu2+ เปน Cu นั้นเกิดขึ้นไดในขณะเดียวกันแตเกิดคนละที่ โดยมีการ
ถายเทอิเล็กตรอนผานวงจร แทงสังกะสีและแทงทองแดงในเซลลนเี้ รียกวา อิเล็กโทรด
(electrode) โดยอิเล็กโทรดที่เกิดปฏิกิริยาแบบออกซิเดชันเรียกวา แอโนด (anode) และอิเล็กโท
รดที่เกิดปฏิกริ ิยาแบบรีดักชัน เรียกวา แคโทด (cathode)
การที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากอิเล็กโทรดหนึ่งไปยังอีกอิเล็กโทรดหนึ่ง แสดงวามีความ
ตางศักยระหวางอิเล็กโทรดทั้งสอง ความตางศักยระหวางอิเล็กโทรดนี้ เรียกวา แรงเคลื่อนไฟฟา
(electromotive force, emf) มีหนวยเปน โวลต
Zn ถูกออกซิไดซไปเปน Zn2+ ที่ขั้ว anode Cu2+ ถูกรีดิวซไปเปน Cu ที่ขั้ว cathode
Zn(s) → Zn2+(aq) + 2 e- Cu2+(aq) + 2 e- → Cu(s)

Net reaction ; Zn(s) + Cu2+(aq) → Zn2+(aq) + Cu(s)


สัญลักษณที่นยิ มใชแทนกัลวานิกเซลล คือ แผนภาพเซลล (cell diagram) สําหรับแผน
ภาพเซลลตัวอยางขางลาง เปนตัวอยางทีม่ ี สารละลาย KCl ทําหนาทีเ่ ปนสะพานเกลือ
Zn(s) / Zn2+(aq, 1 M) / KCl (sat’d) / (Cu2+(aq, 1 M) / Cu(s)
จากแผนภาพเซลล จะนิยมเขียนขัว้ แอโนดไวทางซาย ตามดวยสวนประกอบอื่นๆ และ
ขั้วแคโทดอยูท างดานขวา

ศักยอิเล็กโทรดมาตรฐาน (Standard Electrode Potentials)


ในการวั ด ศั ก ย ไ ฟฟ า ของเซลล เราจํ า เป น ต อ งมี ศั ก ย ไ ฟฟ า มาตรฐานมาเป น ตั ว
เปรียบเทียบ โดยจะใชคาศักยไฟฟาของแกสไฮโดรเจนเปนคาอางอิง เราพบวา ศักยไฟฟาของ
ปฏิกิริยารีดักชันของ H+ ที่ 25oC จะมีคาเทากับศูนยพอดี
2H+(aq, 1 M) + 2e- → H2(g, 1 atm) Eo = 0 V
ตัวยก o เปนสัญลักษณแสดงสภาวะมาตรฐาน ศักยไฟฟาสําหรับปฏิกิริยารีดักชันที่
อิ เล็ ก โทรดเมื่ อตั ว ถูก ละลายทุ ก ชนิ ด มี ค วามเข ม ข น 1 M และแก ส ทุ ก ชนิ ด มี ค วามดั น 1 atm
เรียกวา ศักยรีดักชันมาตรฐาน (standard reduction potential) ดังนั้นเรากําหนดใหไฮโดรเจน
อิเล็กโทรดมีศักยรีดักชันมาตรฐานเทากับศูนย และเรียกอิเล็กโทรดนี้วา ไฮโดรเจนอิเล็กโทรด
มาตรฐาน (standard hydrogen electrode หรือ SHE) เราใช SHE ในการวัดศักย ไฟฟ าของ
เซลล เชน การหาศักยไฟฟามาตรฐานของสังกะสี ดังแผนภาพเซลล
Zn(s) / Zn2+(aq, 1 M) / KCl(sat’d) / H+(aq, 1 M) / (H2(g, 1 atm) / Pt(s)

ใช hydrogen electrode เปนมาตรฐาน เมื่อศึกษาพบวามวลของสังกะสีลดลง แสดงวาสังกะสี


ตองเสียอิเล็กตรอนจาก Zn เปน Zn2+ (oxidation)

2 H+ (aq, 1 M) + 2 e- → H2 (g , 1 atm) E0 = 0.0 V

แผนภาพเซลล: Zn (s) / Zn2+ (aq, 1 M) // H+(aq, 1 M) / H2(g, 1 atm) / Pt (s)


Anode : Zn (s) → Zn 2+(aq, 1 M ) + 2 e-
E 0Zn/Zn 2+
Cathode : 2 H+ (aq, 1 M ) + 2 e- → H2 (g, 1atm)
E 0H+ /H
2

Overall : Zn (s) + 2H+(aq, 1 M) → Zn 2+(aq, 1 M) + H2 (g, 1 atm)

วัดจาก Voltmeter E0cell = 0.76 V ที่ 250C


E0cell = E0ox + E0red
0 0
= E Zn/Zn 2+ + E H + /H
2
0
∴E Zn/Zn 2+
= 0.76 V เรียก “standard oxidation potential”
ถา H2 – electrode เปน cathode E 0H+ /H = 0.0 V electrode คูอื่นเปน anode เชน
2

oxidation : Zn / Zn 2+
E 0Zn/Zn 2+ = 0.76 V
0
ถาเขียนแบบ reduction : Zn2+ / Zn E Zn 2+ /Zn = - 0.76 V
การเขียน standard electrode potential นิยมเขียนเปนสมการ reduction
เรียกวา standard reduction potential ( E0 )
สามารถหาคา standard reduction potential ของ electrode ทุกตัวโดยเทียบกับ H2
– electrode
เชน ตองการหา potential ของ Cu-electrode

แผนภาพเซลล: Pt(s) / H2(g, 1 atm) / H+(aq, 1 M) // Cu2+(aq, 1 M) / Cu(s)


Anode : H2 (g, 1 atm) → 2H+ (aq), 1 M) + 2 e- E 0H /H+
2

Cathode : Cu2+ (aq, 1 M) + 2 e- → Cu (s) E 0Cu 2+ /Cu

Overall : H2 (g, 1 atm) + Cu2+ (aq, 1 M) → 2H+ (aq, 1 M) + Cu (s)

วัดจาก Voltmeter E0cell = 0.34 V ที่ 250C


E0cell = E0ox + E0red
0
0.34 = 0 + E Cu 2+ /Cu
ดังนั้นจะไดศักยไฟฟามาตรฐานของทองแดงเทากับ 0.34 V
0
และ standard reduction potential คือ E Cu 2+ /Cu = + 0.34 V
ตารางที่ 1 Standard Reduction Potentials at 25oC*
Half reactions EO ( V )
Li+(aq) + e- → Li(s) - 3.05
K+(aq) + e- → K(s) - 2.93
Sr2+(aq) + 2e- → Sr(s) - 2.89
Ca2+(aq) + 2e- → Ca(s) - 2.87
Na+(aq) + e- → Na(s) - 2.71
Mg2+(aq) + 2e- → Mg(s) - 2.37
Be2+(aq) + 2e- → Be(s) - 1.85
Al3+(aq) + 3e- → Al(s) - 1.66
Mn2+(aq) + 2e- → Mn(s) - 1.18
2H2O + 2e- → H2(g) + 2OH-(aq) - 0.83
Zn2+(aq) + 2e- → Zn (s) - 0.76
Cr3+(aq) + 3e- → Cr (s) - 0.74
Fe2+(aq) + 2e- → Fe (s) - 0.44
Cd2+(aq) + 2e- → Cd (s) - 0.40
Co2+(aq) + 2e- → Co (s) - 0.28
Ni2+(aq) + 2e- → Ni (s) - 0.25
Sn2+(aq) + 2e- → Sn (s) - 0.14
Pb2+(aq) + 2e- → Pb (s) - 0.13
2H+(aq) + 2e- → H2 (g) 0.00
Sn4+(aq) + 2e- → Sn2+(aq) + 0.13
Cu2+(aq) + e- → Cu+(aq) + 0.15
AgCl(s) + e- → Ag (s) + Cl-(aq) + 0.22
Cu2+(aq) + 2e- → Cu (s) + 0.34
O2(g) + 2H2O + 4e- → 4OH-(aq) + 0.40
I2(s) + 2e- → 2I-(aq) + 0.53
O2(g) + 2H+(aq) + 2e- → H2O2(aq) + 0.68
Fe3+(aq) + e- → Fe2+(aq) + 0.77
Ag+(aq) + e- → Ag(s) + 0.80
Half reactions EO ( V )
-
Hg (aq) + 2e → 2Hg(l)
2+
2
+ 0.85
2Hg2+(aq) + 2e- → Hg 22+ (aq) + 0.92
Br2(l) + 2e- → 2Br-(aq) + 1.07
O2(g) + 4H+(aq) + 4e- → 2H2O + 1.23
MnO2(s) + 4H+(aq) + 2e- → Mn2+(aq) 2H2O + 1.23
Cl2(g) + 2e- → 2Cl-(aq) + 1.36
Au3+(aq) + 3e- → Au(s) + 1.50
+ - 2+
MnO (aq) + 8H (aq) + 5e → Mn (aq) + 4H2O

4
+ 1.51
Ce4+(aq) + e- → Ce3+(aq) + 1.61
H2O2(aq) + 2H+(aq) + 2e- → 2H2O + 1.77
Co3+(aq) + e- → Co2+(aq) + 1.82
O3(g) + 2H+(aq) + 2e- → O2(g) + H2O + 2.07
F2(g) + 2e- → 2F- (aq) +2.87

ขอสังเกต
1. ศักยไฟฟาเปนคามาตรฐานที่ 250C ความเขมขน 1 M หรือ ความดัน 1 atm
2. อิเล็กโทรดที่เปน แอโนด (anode) จะมีคาศักยไฟฟาต่ํากวา อิเล็กโทรดที่เปน
แคโทด (cathode)
3. E0 มีคานอย แปลวา เปน reducing agent ที่ดี (ให e- ดีกวา)
4. E0 มีคามาก แปลวา เปน oxidizing agent ที่ดี (รับ e- ดีกวา)
ตัวอยางที่ 1 จงเรียงลําดับ oxidizing agent จากมากไปนอย
จากตารางที่ 1 เทียบคาศักยไฟฟาจากตาราง
MnO4- ในกรด E0 = + 1.51 V
3+ 0
Co E = + 1.82 V
+
Ag E0 = + 0.80 V
Sn2+ E0 = - 0.14 V
Al3+ E0 = - 1.66 V
จะได Co3+ > MnO4- > Ag+ > Sn2+ > Al3+
∴ คา E0 นอย เปน reducing agent ให e-
คา E0 มาก เปน oxidizing agent รับ e-
ตัวอยางที่ 2 จงคํานวณหาคา E0cell เมื่อเซลไฟฟามี Mg electrode ใน 1.0 M Mg(NO3)2 ,
Ag electrode ใน 1.0 M AgNO3
จากตารางที่ 1 : Mg2+(aq , 1 M ) + 2 e- → Mg (s) E0 = - 2.37 V
Ag+ (aq , 1 M ) + e- → Ag (s) E0 = + 0.80 V
Anode : Mg (s) → Mg2+(aq , 1 M ) + 2 e- E0 = + 2.37 V
Cathode : 2 [Ag+ (aq , 1 M) + e- → Ag (s)] E0 = + 0.80 V
2Ag+ (aq , 1 M) + 2 e- → 2Ag (s) E0 = +
0.80 V
Overall : Mg (s) + 2 Ag+ (aq , 1 M ) → Mg2+(aq , 1 M ) + 2 Ag (s)

E0cell = 2.37 + 0.80 V = 3.17 V เปน spontaneous ∴ การคูณจํานวนโมล


ไมมีผลตอ E0

การเกิดเองไดของปฏิกิริยารีดอกซ (Spontaneity of Redox reactions)

ปฏิกิริยารีดอกซ จะเกิดไดเองหรือไมตองพิจารณาจากเทอมของ thermodynamics คือ

∆G = free energy change


= Wmax = พลังงานที่เปลี่ยนของระบบ
= Welec = พลังงานไฟฟา
0
= - nFE cell
∆G0 = - nFE0cell

เมื่อ n คือ อิเล็กตรอนที่ถายเทในปฏิกิริยารีดอกซ


F คือ คาคงที่ของ ฟาราเดย (faraday) พบวา 1 ฟาราเดย เทากับ
96500 คูลอมบ
Eocell คือ ศักยไฟฟาของเซลลไฟฟาเคมี
สําหรับขบวนการที่เกิดเองไดนั้น ∆G0 จะมีคาติดลบ และคา n, F ก็มีคาเปนบวก ดังนั้น
E0 ตองเปนบวก
จาก ∆G0 = - RT ln K
∴ - nFE0cell = - RT ln K
RT
E0cell = ln k
nF
0.059
E0cell = log K
n

∆G0 E0cell reaction state K


ลบ บวก spontaneous >1
0 0 equilibrium =1
บวก ลบ non–spontaneous <1

ตัวอยางที่ 3 จงทํานายวาปฏิกิริยาตอไปนี้เกิดขึ้นในสารละลายในน้ําที่ 25 oC ไดหรือไม


สมมติวาไอออนทุกชนิดมีความเขมขนเริ่มตน 1.0 M

3.1 Ca (s) + Cd2+ (aq) → Ca2+ (aq) + Cd (s)


แบงครึ่งปฏิกริ ิยาทั้งสองคือ
Oxidation: Ca(s) → Ca2+(aq) + 2e-
Reduction: Cd2+(aq) + 2e- → Cd(s)
จากตาราง จะได E0 ของ Ca2+/Ca = -2.87 V และ E0 ของ Cd2+/Cd = -0.40 V ดังนั้น
จะได
E0cell = E0 + E0
Ca/Ca 2+ Cd 2+ /Cd
= 2.87 + (-0.40)
= 2.47 V
0
คา E cell เปน บวก แสดงวาเปนปฏิกิริยาทีเ่ กิดเองได (spontaneous process)
หมายเหตุ คา E0 ของ Ca2+/Ca = -2.87 V เปนสมการ reduction แตในเซลลไฟฟานี้
เปน ปฏิกิริยา oxidation (Ca/Ca2+) ดังนั้นจึงตองกลับคา E0 เปนตรงกันขาม

3.2 2 Br- (aq) + Sn2+ (aq) → Br2 (l) + Sn (s)


แบงครึ่งปฏิกริ ิยาทั้งสองคือ
Oxidation: 2Br-(aq) → Br2(l) + 2e-
Reduction: Sn2+(aq) + 2e- → Sn(s)
จากตาราง จะได E0 ของ Br2/Br- = 1.07V และ E0 ของ Sn2+/Sn = -0.14 V ดังนั้นจะได
E0cell = E0 - + E0
Br /Br2 Sn 2+ /Sn
= (-1.07) + (-0.14)
= -1.21 V
0
คา E cell เปน ลบ แสดงวาเปนปฏิกิริยาที่เกิดเองไมได (nonspontaneous process)

ตัวอยางที่ 4 จงคํานวณคาคงที่สมดุล (K) ของปฏิกริ ิยานี้ที่ 250C


Sn (s) + 2Cu2+ (aq) → Sn2+ (aq) + 2 Cu+ (aq)
วิธีทํา เขียนครึ่งปฏิกิริยา
2+ -
Oxidation : Sn (s) → Sn (aq) + 2 e
E0 = + 0.14 V
Reduction : 2Cu2+ (aq) + 2e- → 2Cu+ (aq) E0
= + 0.15 V
Overall : Sn (s) + 2Cu2+ (aq) → Sn2+ (aq) + 2 Cu+ (aq)

E0cell = E 0 Sn/Sn 2+ + E 0 Cu 2+ /Cu +


= 0.14 + 0.15 V = 0.29 V
0.059
จาก E0cell = log K
n
nE 0cell
log K =
0.059
(2)(0.29)
= = 9.8
0.059
K = 6 x 109

ตัวอยางที่ 5 จงคํานวณ standard free energy change ( ∆G0 ) ของปฏิกิริยาทํากําหนด


2 Au (s) + 3 Ca2+(aq, 1 M) → 2 Au3+(aq, 1 M) + 3 Ca (s)
วิธีทํา เขียนครึ่งปฏิกิริยา
Oxidation : 2 Au (s) → 2 Au3+(aq, 1 M) + 6 e-
E0 = - 1.50 V
Reduction : 3 Ca2+(aq, 1 M) + 6 e- → 3 Ca (s) E0 = - 2.87 V
Overall : 2 Au (s) + 3 Ca2+(aq, 1 M) → 2 Au3+(aq, 1 M) + 3 Ca (s)
0 0
E0cell = E Au/Au3+ + E Ca 2+ /Ca
= - 1.50 + ( - 2.87 ) = - 4.37 V
จาก ∆G0 = - nFE0cell
= - (6)(96,500)(-4.37) = 2.53 x 106 J
∆G0 = 2.53 x 103 kJ
∆G0 เปนบวกมาก ∴ ปฏิกิริยาเปน non–spontaneous reaction

ผลของความเขมขนตอแรงเคลื่อนไฟฟาของเซลล
สมการเนิรนสท (nernst Equation)
ที่ผานมาเราศึกษาคาศักยไฟฟาที่สภาวะมาตรฐาน คือ ปฏิกิริยาที่ standard state : 1
M, 1 atm, 250C แตในทางปฏิบัตินั้นกระทําไดยากมาก กลาวคือ ความความเขมขนจะมีผล
กระทบตอคาศักยไฟฟาของเซลล
[C]c [D]d
aA + bB cC + dD K =
[A]a [B]b

จาก thermodynamics ( free energy change )


∆G = ∆G0 + RT lnQ
เมื่อ ∆G = - nFE และ ∆G0 = - nFE0
∴ - nFE = - nFE0 + RT lnQ
2.303RT
E = E0 - log Q
nF
0.059
ที่ 25 oC E = E0 - log Q เมื่อ Q =
n
[product]n
[reactant] n
n คือ จํานวนอิเล็กตรอนทีถ่ ายเทในเซลลไฟฟาเคมี
ที่ equilibrium ไมมีการถายเทอิเล็กตรอน ( E = 0 , Q = K )
2.303RT
0 = E0 - log K
nF
2.303RT
E0 = log K เหมือนสมการเดิม
nF
ตัวอยางที่ 7 จากสมการ Zn (s) + Cu 2+ (aq) → Zn 2+ (aq) + Cu (s)
0.059
0 [Zn 2+ ]
Nernst’s equation; E = E - log
2 [Cu 2+ ]
⎡⎣ Zn 2+ ⎤⎦ ⎡⎣ Zn 2+ ⎤⎦
ถา =1, log = 0 ∴ E = E0
⎡⎣ Cu 2+ ⎤⎦ ⎡⎣ Cu 2+ ⎤⎦
⎡⎣ Zn 2+ ⎤⎦ ⎡⎣ Zn 2+ ⎤⎦
< 1, log ติดลบ ∴ E > E0
⎡⎣ Cu ⎤⎦
2+
⎡⎣ Cu 2+ ⎤⎦
⎡⎣ Zn 2+ ⎤⎦ ⎡⎣ Zn 2+ ⎤⎦
> 1, log เปนบวก ∴ E < E0
⎡⎣ Cu ⎤⎦
2+
⎡⎣ Cu 2+ ⎤⎦

ตัวอยางที่ 8 จงทํานายปฏิกิริยาวาเกิดเองไดหรือไม ที่ 298 K


Co (s) + Fe2+(aq) → Co2+(aq) + Fe (s)
โดย [ Fe2+ ] = 0.68 M , [ Co2+ ] = 0.15 M

วิธีทํา oxidation : Co (s) → Co2+(aq) + 2 e-


reduction : Fe2+(aq) + 2 e- → Fe (s)
จากตารางพบวา E 0Co2+ /Co = -0.28 V , E 0Co/Co 2+ = +0.28 V,
E 0Fe2+ /Fe = -0.44 V
∴ E0 = E 0Co/Co 2+ + E 0Fe2+ /Fe
= 0.28 + ( - 0.44 )
= - 0.16 V
0.059
0 [Co 2+ ]
Nernst’s equation; E = E - log 2+
2 [Fe ]
0.059 [0.15 M]
= -0.16 - log
2 [0.68 M]
= - 0.16 + 0.019
= - 0.14 V
คา E ติดลบ ∴ เกิดเองไมได ตามทิศทางที่เขียน
เซลลความเขมขน (Concentration Cells)
ในกรณีที่สารนั้นมีความเขมขนไมเทากัน แตอิเล็กโทรด และสารละลายอิเล็กโทรไลต
เปนชนิดเดียวกันทั้ง ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน และครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน คาศักยไฟฟาจะแปร
ตามความเขมขนของไอออนของสารละลาย เรียกเซลลชนิดนี้วา “concentration cells”
การคํานวณค าศั ก ยไฟฟ าของเซลล ค วามเข ม ข น เนื่ องจากเป น อิเล็ก โทรดและสาร
ละลายอิเล็กโทรไลตชนิดเดียวกัน เปนผลใหคาศักยไฟไฟที่สภาวะมาตรฐานมีคาเทากับศูนย
(E0cell = 0 V) โดยปกติ สารละลายที่ มี ค วามเข ม ข น มากจะชอบรับ อิเล็ก ตรอน (reduction)
สวนสารละลายที่มีความเขมขนนอยกวาจะชอบใหอิเล็กตรอน (oxidation) ดังนั้นสรุปสูตรการหา
ศักยไฟฟาของเซลลความเขมขนดังนี้
[conc.]dil
Ecell = E0cell - 0.059 log
n [conc.]conc.
[conc.]dil
แต E0cell = 0 V ดังนั้น Ecell = - 0.059 log
n [conc.]conc.
ตัวอยางที่ 9 เมื่อจุม Zn อิเล็กโทรดลงในสารละลาย ZnSO4 ที่มีความเขมขน 0.1 M และ
1.0 M ตามแผนภาพเซลลตอไปนี้ : Zn(s) / Zn2+(aq, 0.1M) // Zn2+(aq, 1.0M) / Zn(s)
จงคํานวณหาคาศักยไฟฟาของเซลลความเขมขนดังกลาว
oxidation : Zn (s) → Zn2+(aq, 0.1 M) + 2 e-
reduction : Zn2+(aq, 1.0 M) + 2 e- → Zn (s)

overall : Zn2+(aq, 1.0 M) → Zn2+(aq, 0.1 M)

reduction เกิดที่ Zn2+ = 1.0 M ไมใช 0.1 M เพราะตามหลักของ Le Chatelier


ถา [ Zn2+ ] สูง reduction จะเกิดมากขึ้น
0.059 ⎡
⎣ Zn 2+
⎤⎦
0 dil
E = E - log
2 ⎡⎣ Zn ⎤⎦
2+
conc.
0
E = 0 เพราะเปน electrode ชนิดเดียวกัน
0.059 0.1
E = 0 - log = 0.0296 V
2 1.0
คา E เปน บวก ดังนั้นปฏิกิริยาเกิดขึ้นไดเอง โดยมีอิเล็กตรอนถายเทจากความเขมขน
ของ Zn จางกวา (0.1 M) ไปยังที่มีความเขมขนสูงกวา (1.0 M) โดยจะทําให Zn2+ 0.1 M เพิ่ม
2+

ขึ้นเรื่อยๆ แต Zn2+ 1.0 M จะลดลง จนมีปริมาณเทากัน (Ecell = 0)


ตัวอยางที่ 10 จงคํานวณ emf ของเซลลความเขมขนตอไปนี้
Mg (s) / Mg2+ (aq, 0.2 M) // Mg2+ (aq, 0.4 M) / Mg (s)

Ecell = - 0.059 log [0.2]


2 [0.4]
-3
= 8.9 x 10 V

แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ (Battery) เปนเซลลไฟฟาเคมีชนิดหนึ่ง โดยมักจะเปนเซลลไฟฟาเคมีหลายๆ
เซลลตอกันแบบอนุกรม ใชเปนแหลงกําเนิดไฟฟากระแสตรงที่มีศักยไฟฟาคงที่ หลักการทํางาน
จะคลายกับเซลลกัลวานิก

แบตเตอรี่แบบเซลลแหง
เซลลแหง คือ เซลลที่ไมมีสวนประกอบที่เปนของไหลอยูเลย เซลลแหงที่พบมากคือ
เซลลเลอคลั งเซ (Leclanche’ cell) พบในถ านไฟฉายและวิท ยุ โดยขั้ ว แอโนดประกอบด ว ย
กระบอกสั ง กะสี มี แ มงกานิ ส ไดออกไซด (MnO2) และอิ เ ล็ ก โทรไลต บ รรจะอยู ภ ายใน
อิเล็กโทรไลตประกอบดวยแอมโมเนียมคลอไรดกับซิงคคลอไรดในน้ํา โดยมีแปงผสมอยูดวยให
เพื่อทําใหสารละลายมีความขนเหนียว และตรงกลางเซลลมีแทงคารบอนจุมอยูทําหนาที่เปนขั้ว
แคโทด ปฏิกิริยาในเซลลคือ
Anode: Zn(s) → Zn2+(aq) + 2e-
Cathode: 2 NH +4 (aq) + 2MnO2(s) +2 e- → Mn2O3(s) + 2NH3(aq) + H2O(l)

Overall Zn(s) + 2 NH +4 (aq) + 2MnO2(s) → Zn2+(aq) + 2NH3(aq) + H2O(l)


+ Mn2O3(s)

แบตเตอรี่แบบปรอท
แบตเตอรี่แบบปรอทนิยมใชกันมากในทางการแพทยและในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส
ประกอบดวยสังกะสีเคลือบปรอททําหนาที่เปนแอโนด สัมผัสอยูกับอิเล็กโทรไลตทเี่ ปนเบสแก
ผสม
ซิงคออกไซดและเมอรคิวรี (II) ออกไซด ทั้งหมดบรรจุอยูในกระบอกเหล็กกลาไรสนิม
ปฏิกิริยาในเซลล คือ
Anode: Zn(Hg) + 2OH-(aq) → ZnO(s) + H2O(l) + 2e-
Cathode: HgO(s) + H2O(l) + 2e- → Hg(l) + 2OH-(aq)
Overall: Zn(Hg) + HgO(s) → ZnO(s) + Hg(l)
แบตเตอรี่แบบปรอทใหศักยไฟฟาที่คงที่กวาเซลลเลอคลังเช ทั้งยังมีความจุสูงกวาและ
ใช ไดยาวนานกวา ทํ าให เหมาะกับ การใชนํามาใชงานในเครื่องควบคุมการทํางานของหัวใจ
เครื่องชวยฟง นาฬิกาไฟฟา

แบตเตอรี่สะสมไฟฟาแบบตะกัว่
แบตเตอรี่แบบนี้ใชในรถยนตประกอบดวยเซลลไฟฟาเหมือนกัน 6 เซลล ตอกันแบบ
อนุกรม แตละเซลลมีตะกั่วเปนแอโนด สวนแคโทด คือ เลด (IV) ออกไซด (PbO2) อัดอยูบ น
แผนโลหะ โดยที่ทั้งขั้วแคโทดและแอโนดจุมอยูในสารละลายกรดซัลฟวริกซึ่งเปนอิเล็กโทรไลต
ปฏิกิริยาในเซลล คือ

Anode: Pb(s) + SO2-4 (aq) → PbSO4(s) + 2e-


Cathode: PbO2(s) + 4H+(aq) + SO2-4 (aq) + 2e- → PbSO4(s) + 2H2O(l)

Overall:Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2 SO2-4 (aq) → 2 PbSO4(s) + 2H2O(l)

แตละเซลลมีศักยไฟฟา 2 V วงจรการจุดระเบิดเครื่องยนตรวมทั้งการทํางานของระบบ
ไฟฟาในรถยนตตองอาศัยศักยไฟฟารวม 12 V จาก 6 เซลล แบตเตอรี่สะสมไฟฟาแบบตะกั่ว
สามารถใหกระแสไฟฟาสูงๆ ไดในชวงเวลาสั้นๆ เชน การสตารทเครื่องยนต
ขอดีของแบตเตอรี่ประเภทนี้คือสามารถนํามาอัดไฟใหมได การอัดไฟหมายถึงการใช
ศักย ไฟฟาจากภายนอกผานเขาที่แคโทดกับแอโนด ทําปฏิกิริยาเกิดผันกลับ และจะทําใหเกิด
สารตั้งตน
ขึ้นมาใหม ดังสมการ

Anode: PbSO4(s) + 2e- → Pb(s) + SO2-4 (aq)


Cathode: PbSO4(s) + 2H2O(l) → PbO2(s) + 4H+(aq) + SO2-4 (aq) + 2e-

Overall:2 PbSO4(s) + 2H2O(l) → Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2 SO2-4 (aq)

แบตเตอรี่ลเิ ทียมแข็ง
แบตเตอรี่ชนิดนี้ตางจากที่กลาวมาเพราะวา อิเล็กโทรไลตเปนของแข็ง เชื่อมตอระหวาง
อิเล็กโทรด ขอดีของการใชลิเทียมเปนแอโนด คือ ลิเทียมมีคา E0 เปนลบมากที่สุด นอกจากนี้
ยังเปนโลหะเบา สวนอิเล็กโทรไลตเปนวัสดุพอลิเมอรที่ยอมใหไอออนผานไดแตอิเล็กตรอนผาน
ไม ได แคโทดทํ าดวยสารที่ เรียกวา สารประกอบแทรกชั้น (insert compound) ในที่นี้ ไดแก
TiS2 หรือ V6O13 แบตเตอรี่แบบนี้สามารถนํ ามาอัดใหมไดเหมือนกันเชนเดียวกับแบตเตอรี่
สะสมไฟฟาแบบตะกั่ว

เซลลเชื้อเพลิง (fuel cell)


เซลลเชื้อเพลิงเปนเซลลที่ถูกคาดวาจะชวยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟา เซลล
เชื้อเพลิงชนิดไฮโดรเจน-ออกซิเจนแบบงายที่สุดประกอบดวยสารละลายอิเล็กโทรไลต เชน สาร
ละลายโพแทสเซี ย มไฮดรอกไซด กั บ อิ เล็ ก โทรดเฉื่ อ ย 2 อิ เ ล็ ก โทรด แก ส ไฮโดรเจนและ
ออกซิเจนที่ผานเขาไปในชองแอโนดและชองแคโทด ทําใหเกิดปฏิกิริยาดังนี้
Anode: 2H2(g) + 4OH-(aq) → 4H2O(l) + 4e-
Cathode: O2(g) + 2H2O(l) + 4e- → 4OH-(aq)
Overall: 2H2(g) + O2(g) → 2H2O(l)

เมื่อคํานวณศักยไฟฟาเซลลนี้จะมี emf เทากับ 1.23 V จะเห็นวาสามารถเกิดขึ้นไดที่


สภาวะมาตรฐาน สังเกตวาเปนปฏิกิริยาการเผาไหมของแกสไฮโดรเจนนั้นเอง แตออกซิเดชัน
กับ รีดักชันเกิดขึ้นที่ แอโนดกับ แคโทด อิเล็ก โทรดทําหนาที่ นําไฟฟ า และมีพื้ นที่ผิวที่ จําเป น
สําหรับทําใหโมเลกุลสลายตัวเปนไอออนไดกอนที่จะมีการถายทอดอิเล็กตรอน เรียกวาทําหนาที่
เปนตัวเรงเชิงไฟฟา (electrocatalyst)
ตัวอยางเซลลเชื้อเพลิง เชน เซลลเชื้อเพลิงโพรเพน-ออกซิเจน มีครึ่งปฏิกิริยาเปนดังนี้
Anode: C3H8(g) + 6H2O(l) → 3CO2(g) + 20 H+(aq) + 20e-
Cathode: 5O2(g) + 20H+(aq) + 20e- → 10H2O(l)
Overall: C3H8(g) + 5O2(g) → 3CO2(g) + 4H2O(l)
ปฏิกิริยารวมก็เปนการเผาไหมของโพรเพนในออกซิเจนนั้นเอง
เซลลเชื้อเพลิงตางจากแบตเตอรี่เพราะเก็บพลังงานเคมีไวไมได สารตั้งตนตองผานเขา
เซลลตลอดเวลาและสารผลิตภัณฑจะตองผานออกจากเซลลตลอดเวลา เครื่องกําเนิดไฟฟา
แบบเซลลเชื้อเพลิงนี้จะมีเสียงคอนขางเงียบและการสั่นสะเทือนนอยมาก แตเซลลเชื้อเพลิงยัง
ไมนิยมมากนัก เพราะยังไมมีตัวเรงเชิงไฟฟาชนิดใดที่เหมาะสมสําหรับการทํางานเปนเวลา
นานๆ โดยไมมีการปนเปอนจากสารอื่น
การสึกกรอน
การสึ ก กร อ นหรื อ การกั ด กร อ น (Corrosion) หมายถึ ง การกร อ นตั ว ของโลหะโดย
กระบวนทางไฟฟาเคมี เชน เหล็กเปนสนิม เงินเปนฝามัว
ตัวอยางการกัดกรอนที่พบบอยที่สุดคือการเกิดสนิมเหล็ก เหล็กจะเปนสนิมไดก็ตอเมื่อมี
แกสออกซิเจนกับน้ําอยูดวย ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคอนขางซับซอน ออกซิเจนเกิดขึ้นเมื่อพื้นผิว
ของโลหะทําหนาที่เปนแอโนด
Fe(s) → Fe2+(aq) + 2e-
อิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้จะรีดิวซออกซิเจนในอากาศ กลายเปนน้ําที่แคโทดซึ่งก็คือ
พื้นผิวอีกสวนหนึ่งของโลหะ
O2(g) + 4H+(aq) + 4e- → 2H2O(l)

ปฏิกิริยารีดอกซ คือ
2Fe(s) + O2(g) + 4H+(aq) → 2Fe2+(aq) + 2H2O(l)
จะเห็นวาปฏิกิริยาเกิดขึ้นในตัวกลางที่เปนกรด (H+) ไอออนสวนหนึ่งไดมาจากปฏิกิริยา
ระหวางคารบอนไดออกไซดในอากาศกันน้ํา เกิดเปน H2CO3
Fe2+ ไอออนที่เกิดขึ้นที่แอโนดถูกออกซิไดซตอโดยออกซิเจน
4Fe2+(aq) + O2(g) + (4+2x)H2O(l) → 2Fe2O3.xH2O(s) + 8H+(aq)
ไอรออน (II) ออกไซดที่มีน้ําผลึกนี้เรียกวา สนิม

อิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis)
อิเล็กโทรไลซิสหรือการแยกสลายดวยไฟฟา คือ กระบวนการที่พลังงานไฟฟาทําใหเกิด
ปฏิกิริยาซึ่งตามปกติเกิดเองไมได
: กระบวนการที่ ใช พ ลั งงานไฟฟ า ทํ าให เกิ ด ปฏิ กิ ริย า ซึ่ งปกติ เกิ ด เองไม ได (non-
spontaneous)
: กระบวนการยอนกลับของ electrochemical cell
: ใชประโยชนในอุตสาหกรรม extraction, purification
อิเล็กโทรไลซิสของ NaCl หลอมเหลว

(a) (b)
a) แ ผ น ภ าพ ข อ ง Downs cell ซึ่ งใช ทํ า electrolysis ข อ ง NaCl ห ล อ ม เห ล ว
( mp = 801 OC ) โลหะโซเดียมที่เกิดขึ้นที่แคโทดอยูในสถานะของเหลว จะลอยขึ้น
ด า น บ น เนื่ องจาก เบ าก ว า NaCl เหลวทําใหแยกออกไปไดงายแกสคลอรีนซึ่ง
เกิดขึ้นที่แอโนดก็จะถูกดูด ขึ้นดานบน

b) แผนภาพงายๆ แสดงปฏิกิริยาที่ electrode ระหวางการทํา electrolysis ของ NaCl


หลอมเหลว แบตเตอรีเปนสิ่งจําเปนที่ทําใหปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได
ปฏิกิริยาที่ electrode ทั้งสอง คือ
Anode ( oxidation ) : 2 Cl- → Cl2 (g) + 2 e-
Cathode (reduction) : 2 Na+ + 2 e- → 2 Na (l)
Overall : 2 Na+ + 2 Cl- → 2 Na (l) + Cl2 (g)

ดังนั้น โลหะโซเดียมบริสุทธิ์ และแกสคลอรีนสวนใหญผลิตขึ้นดวยกระบวนการนี้

อิเล็กโทรไลซิสของ H2O
ภายใตสภาวะปกติ ( 1 atm , 25 OC) น้ําไมอาจแยกสลายออกเปนแกสไฮโดรเจนและ
ออกซิเจนไดเอง เพราะปฏิกิริยานี้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระเปนบวกมาก

2 H2O (l) → 2 H2 (g) + O2 (g) ∆G0 = 474.4 kJ


อยางไรก็ตาม อาจทําใหปฏิกิริยานี้เกิดขึน้ ไดโดยแยกสลายน้ําดวยไฟฟา ดังรูป ปฏิกิริยานี้เกิด
ขึ้นไดดีถาใชสารละลาย 0.1 M H2SO4 เพราะมีไอออนอยูมากพอที่จะนําไฟฟาได
Anode (oxidation) : 2 H2O (l) → O2 (g) + 4 H+ (aq) + 4 e-
Cathode (reduction) : 4 [ H+ (aq) + e- → H2 (g) ]
Overall : 2 H2O (l) → 2 H2 (g) + O2 (g)

Electrolysis ของสารละลาย NaCl


ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่อาจเกิดขึ้นที่แอโนด ไดแก

1) 2 H2O (l) → O2 (g) + 4 H+ (aq) + 4 e-


2) 2 Cl- (aq) → Cl2 (g) + 2 e-
จากตารางคา E0 ของทั้งสองปฏิกิริยาไมแตกตางกันมากนัก แต จากการทดลองพบวา
แกสที่เกิดขึ้นที่แอโนดคือ Cl2 ไมใช O2 ดังนั้น ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นที่แอโนด ไดแก
สมการที่ 1
สําหรับปฏิกิรยิ ารีดัคชันที่อาจเกิดขึ้นที่แคโทด ไดแก

3) Na+ (aq) + e- → Na (s) E0 = -2.71 V


4) 2 H2O (l) + 2 e- → H2 (g) + 2 OH- (aq) E0 = -0.83 V
5) 2 H+ (aq) + 2 e- → H2 (g) E0 = 0.00 V

ปฏิ กิ ริ ย า 3) มี ค า E0 เป น ลบมาก จึ ง ไม น า จะเกิ ด ขึ้ น ได ภายใต ส ภาวะมาตรฐาน


ปฏิกิริยา 5) ควรเกิดขึ้นไดงายกวา 4) อยางไรก็ตาม ที่ pH 7 (สารละลาย NaCl) ทั้ง 4) และ 5)
อาจเกิดขึ้นไดงายพอกัน เรามักถือวา ปฏิกิริยาที่แคโทด คือ 4) เพราะ H+ มี ค วามเข ม ข น ต่ํ า
( 1 x 10-7 M ) ปฏิกิริยา 5) จึงเกิ ด ยากกวา ดั งนั้ น ปฏิ กิ ริย าที่ เกิด ขึ้ น ในการแยกสลายสาร
ละลาย NaCl ดวยไฟฟา คือ

anode (oxidation) : 2 Cl- (aq) → Cl2 (g) + 2 e-


cathode (reduction) : 2 H2O (l) + 2 e- → H2 (g) + 2 OH- (aq)
overall : 2 H2O (l) + 2 Cl- (aq) → H2 (g) + Cl2 (g) + 2 OH- (aq)

นอกจากจะได H2 กับ Cl2 เปนผลิตภัณฑแลว เมื่อนําสารละลายที่เหลือไประเหยใหแหง


จะได NaOH เปนผลพลอยไดอีกดวย
การคํานวณเกี่ยวกับ electrolysis

กระแส → ประจุ → จํานวน → จํานวนโมลของ → จํานวนกรัมของ


(แอมแปร) เปน ฟาราเดย สารที่ถูกรีดิวซ สารที่ถูกรีดิวซ
และเวลา คูลอมบ หรือออกซิไดซ หรือออกซิไดซ

ตัวอยางที่ 12 ในการเกิด electrolysis ของ molten MgCl2 โดยใชกระแสไฟฟาจํานวน 0.452 A


และเวลา 1.5 hr จงหาปริมาณ (g) ของสารผลิตภัณฑที่เกิดขึ้น (Mg , Cl2)

วิธีทํา เขียน cell reaction MgCl2 (s) → Mg2+ (aq) + 2Cl- (aq)
Anode : 2Cl- (aq) → Cl2 (g) + 2e-
Cathode : Mg2+(aq) + 2e- → Mg (s)

Overall : Mg2+(aq) + 2Cl- (aq) → Mg (s) + Cl2 (g)

เปลี่ยน 0.452 A ใน 1.5 hr. → จํานวนโมล e-


1) Q (C) = I (Amperes) x t (second)
= (0.452 A)(1.5 x 60 x 60 วินาที) = 2.44 x 103 C
2) C → F (1F = 96,500 C)
2.44 ×10 3
= F
96, 500
3) F → mole product (ใช 2 e- หรือ 2 F ในการผลิต 1 mole ของ Mg, Cl2)
2.44 ×10 3
=
96, 500 × 2
4) mole → g
Mg มีมวลอะตอม 24
2.44 ×10 3
น้ําหนัก Mg = x 24 = 0.303 g
96, 500 × 2
Cl มีมวลอะตอม 35.5 (Cl2 = 35.5 x 2 = 71)
2.44 ×10 3
น้ําหนัก Cl2 = x 71 = 0.898 g
96, 500 × 2
บทที่ 11
ธาตุเรพรีเซนเตติฟและโลหะทรานซิชัน
( Representative and Transition Element )
ธาตุเรพรีเซนเตติฟ คือธาตุที่มีเวเลนซอิเล็กตรอนบรรจุใน s และ p ออรบิตอล โดยที่ใน
f และ d ออรบิตอล อาจจะไมมีอิเล็กตรอนอยูเลยหรือมีบรรจุอยูเต็ม ไมวาจะเปนอะตอมหรือ
ไอออน ไดแก ธาตุหมู 1A และ 2A ซึ่งอยูในกลุม s และหมู 3A, 4A, 5A, 6A, 7A รวมทั้งหมู 8A
(แกสมีตระกูล) ซึ่งอยูในกลุม P ตามตารางธาตุ
ธาตุเรพรีเซนเตติฟจําแนกออกเปนโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะตามแนวโนมการเปลี่ยน
แปลงสมบัติตามตารางธาตุ
1A 8A
H 2A 3A 4A 5A 6A 7A He
Li Be B C N O F Ne
Na Mg 3B 4B 5B 6B 7B 8B 1B 2B Al Si P S Cl Ar
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe
Cs Ba La Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn
Fr Ra Ac Rf Db Sg Bh Hs Mt

สมบัติทวั่ ไปของโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ

อาจแบงธาตุเรพรีเซนเตติฟออกไดเปน 3 พวก โลหะ และอโลหะจะอยูดานซายมือ และ


ขวามือของตารางธาตุ ตามลําดับ สวนกึ่งโลหะประกอบดวยธาตุ B Si Ge As Sb Te Po และ
At จะอยูในแนวทแยงมุม และอยูระหวางโลหะและอโลหะ
โลหะส ว นใหญ เ ป น ของแข็ ง ที่ อุ ณ หภู มิ ห อ ง (ยกเว น Hg ส ว น Cs และ Ga มี จ ะ
หลอมเหลวประมาณ 30 oC) นําความรอนและไฟฟาไดดี ตีแผใหเปนแผน หรือดึงใหเปนเสนได
ออกไซดของโลหะ เปนออกไซดเบส โลหะมักมีเลขออกซิเดชันเปนบวกเมื่อเกิดเปนสารประกอบ
นอกจากนี้ โลหะยังมี พ ลังงานไอออไนเซชัน และสัม พรรคภาพอิเล็ก ตรอนต่ํ า โลหะจึงไมทํ า
ปฏิกิริยากันเอง แตจะทําปฏิกิริยากับอโลหะ โดยโลหะจะเปนฝายใหอิเล็กตรอน และกลายเปน
ประจุบวก
อโลหะเปนของแข็งหรือแกสที่อุณหภูมิหอง (ยกเวน Br) สวนใหญเปนตัวนําความรอน
และไฟฟ าที่ ไม ดี ออกไซด ข องอโลหะเป นออกไซด กรด อโลหะมีพ ลังงานไอออไนเซชัน และ
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง และอโลหะยังมีคาอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงอีกดวย สงผลใหอโลหะมี
เลขออกซิเดชันเปนลบ ยกเวน คารบอนมีเลขออกซิเดชันเปนบวก
โลหะแอลคาไล
โลหะแอลคาไล (ธาตุ ในหมู 1A) ทั้ งหมู เป น ธาตุ ที่ มี ค าอิ เล็ ก โตรเนกาติ วิตี ต่ํ าที่ สุ ด มี
สมบัติคลายกันหลายประการ จากการจัดอิเล็กตรอนเราอาจคาดไดวาเมื่อธาตุเหลานี้อยูในสาร
ประกอบก็จะมีเลขออกซิเดชันเทากับ +1 เนื่องจากจะทําใหไอออนบวกเปนไอโซอิเล็กทรอนิก
กับแกสมีตระกูล ซึ่งจากการทดลองพบวาเปนเชนนั้นจริง
โลหะแอลคาไลมีจุดหลอมเหลวต่ําและนิ่มจนใชมีดตัดเปนชิ้นบางๆ ได โลหะเหลานี้มี
โครงสรางผลึกแบบลูกบาศกกลางตัว ซึ่งมีประสิทธิภาพการเรียงตัวต่ํา จึงมีความหนาแนนต่ํา
เมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ ลิเทียมจัดวาเปนโลหะที่เบาที่สุด
เนื่องจากโลหะแอลคาไลไวตอการเกิดปฏิกิริยามาก จึงไมมีปรากฏอยูในธรรมชาติในรูป
ของโลหะอิสระ แตมักรวมตัวกับเฮไลด ซัลเฟต คารบอเนต และซิลิเคตไอออน ในหัวขอนี้จะ
กลาวเฉพาะ โลหะโซเดียม และโลหะโพแทสเซียม สวนอันอื่นนั้นจะไมขอกลาวถึง โซเดียมและ
โพแทสเซียมมีอยูในธรรมชาติปริมาณพอๆกัน ในรูปของแรซิลิเคต
วิธีเตรียมโลหะโซเดียมที่งายคือการทําอิเล็กโทรไลซิสของโซเดียมคลอไรดหลอมเหลว
โดยใชเซลลดาวนส กระบวนการนี้สิ้นเปลืองพลังงานมาก สวนโลหะโพแทสเซียมนั้นเตรียม
โดยการทํา อิเล็กโทรไลซิสของ KCl ไดยากเพราะโพแทสเซียมละลายไดดีใน KCl เหลว จึงไม
ลอยขึ้นมายังดานบนของเซลลและทําใหแยกออกไปไมได การเตรียมโพแทสเซียมจึงมักทํา
โดยการกลั่น KCl เหลวในบรรยากาศของไอโซเดียมที่ 892 oC ปฏิกิริยาคือ

Na(g) + KCl(l) NaCl(l) + K(g)


ทั้งโซเดียมและโพแทสเซียมตางไวตอปฏิกิริยา แตโพแทสเซียมไวกวาโซเดียม โลหะทั้ง
สองนี้ทําปฏิกิริยากับน้ํา เกิดเปนสารประกอบไฮดรอกไซด ถาเผาโซเดียมในที่มีออกซิเจน
จํากัด จะเกิดโซเดียมออกไซด (Na2O) แตถามีออกซิเจนมากเกินพอจะไดสารประกอบเปอร
ออกไซดสีเหลืองออน
2Na(s) + O2(g) → Na2O2(s)

โซเดียมเปอรออกไซดทําปฏิกิริยากับน้ําไดสารละลายเบสกับไฮโดนเจนเปอรออกไซด
Na2O2(s) + 2H2O(l) → 2NaOH(aq) + H2O2(aq)
โพแทสเซียมก็เกิดเปอรออกไซดไดเชนเดียวกับโซเดียม และเมื่อเผาไหมในอากาศยังอาจเกิด
เปนซูเปอรออกไซดไดอีกดวย
K(s) +O2(g) → KO2(s)
เมื่อโพแทสเซียมซูเปอรออกไซดทําปฏิกริ ิยากับน้ํา จะเกิดแกสออกซิเจน
2KO2(s) + 2H2O(l) → 2KOH(aq) + O2(g) + H2O2(aq)
นอกจากนี้ KO2 ยังทําปฏิกิริยากับ CO2 ในลมหายใจ เกิดแกสออกซิเจน

สารประกอบบางชนิดของโซเดียมและโพแทสเซียม
โซเดียมคารบอเนต
โซเดียมคารบอเนตหรือโซดาแอช มีประโยชนในกระบวนการทุกชนิดในอุตสาหกรรม
รวมไปถึ ง ในการบํ า บั ด น้ํ า เสี ย และการผลิ ต สบู สารซั ก ฟอก ยา และสารผสมอาหารต า งๆ
สามารถเตรียมไดจากลารละลายแอมโมเนียทําปฏิกิริยากับโซเดียมคลอไรดอิ่มตัว แลวผานแกส
คารบอนไดออกไซดลงในสารละลาย จะไดตะกอนของโซเดียมไปคารบอเนต
NH3(aq) + NaCl(aq) + H2CO3(aq) → NaHCO3(s) + NH4Cl(aq)
และเผา NaHCO3 จะไดโซเดียมคารบอเนต

2NaHCO3(s) → Na2CO3(s) + CO2(g) + H2O(l)

โซเดียมไฮดรอกไซดและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด
ทั้งสองสารประกอบมีสมบัติคลายกันมาก เตรียมไดโดยการแยกสลายสารละลาย NaCl
และ KCl ดวยไฟฟา ไฮดรอกไซดทั้งสองชนิดเปนเบสแกและละลายน้ําไดดี โซเดียมไฮดรอก
ไซดมีประโยชนในการผลิตสบู รวมถึงปฏิกิริยาเคมีอื่นๆๆ สวนโพแทสเซียมไฮดรอกไซดนั้น
ใชเป นอิเล็กโทรไลตในแบตเตอรี่บ างชนิด และใชกําจัดคารบอนไดออกไซดและซัลเฟอรได
ออกไซดจากอากาศ

โซเดียมไนเตรตและโพแทสเซียมไนเตรต
โซเดียมไนเตรตสลายตัวใหแกสออกซิเจนที่อุณหภูมิประมาณ 500oC
2NaNO3(s) → 2NaNO2(s) + O2(g)
สวนโพแทสเซียมไนเตรต เปนสวนประกอบหนึ่งในการทําดินปน

โลหะแอลคาไลนเอิรท
โลหะแอลคาไลนเอิรทเปนธาตุที่ออกซิไดซยากกวาและไวตอปฏิกิริยานอยกวาโลหะ
แอลคาไล โลหะในกลุมนี้ มีส มบั ติท างเคมี ค ลายกั น ยกเวน เบริล เลีย ม (Be) ซึ่ งมี สมบั ติ บ าง
ประการคลายอะลูมิเนียม (Al) ซึ่งเปนธาตุหมู 3A เมื่ออยูในรูปสารละลายจะอยูในสภาพ M2+
และมักจะแสดงเลขออกซิเดชัน +2 ในที่นี้จะกลาวตัวอยางเพียง 2 ธาตุคือ แมกนีเซียม และ
แคลเซียม

แมกนีเซียม
โลหะแมกนีเซียมเตรียมไดจากอิเล็กโทรไลซิสเชนเดียวกับโลหะแอลคไล ในกรณี ใช
เกลือคลอไรด ห ลอมเหลว คื อ Mg2Cl ซึ่ งได จากน้ํ าทะเล แมกนี เซี ย มมี ส มบั ติ ท างเคมี ก้ํ ากึ่ ง
ระหว างเบริล เลีย มกับ ธาตุอื่น ที่ เหลือ ในหมู 2A แมกนี เซี ย มไม ทํ าปฏิ กิริยากั บ น้ําเย็น แตทํ า
ปฏิกิริยากับไอน้ํา
Mg(s) + H2O(g) → MgO(s) + H2(g)
เมื่ อนํ าโลหะแมกนี เซี ยมไปเผาจะเกิดเปลวไฟสวางจา พรอมทั้งไดแมกนีเซียมออกไซดและ
แมกนีเซียมไนไตร สมบัตินี้ทําใหแมกนีเซียมมีประโยชนในการทําไฟวาบที่ใชถายรูป และการ
ทําพลุ
2Mg(s) + O2(g) → 2MgO(s)
3Mg(s) + N2(g) → Mg3N2(s)
แมกนีเซียมออกไซดทําปฏิกิริยาชาๆ กับน้ํา เกิดแมกนีเซียมไฮดรอกไซดซึ่งเปนของ
แขวนลอยสี ข าว เรีย กว า มิ ล ค อ อฟแมกนี เซี ย ม (milk of magnesia) ซึ่ งใช เป น ยาลดกรดใน
กระเพาะอาหาร ประโยชนที่สําคัญของแมกนีเซียมคือ ใชทําโลหะผสม ทําโลหะโครงสรางที่มี
น้ําหนักเบาใชในการปองกันการผุกรอนของโลหะแบบแคโทดิก ในการสังเคราะหสารอินทรีย
และในการทําแบตเตอรี่ แมกนีเซียมเปนธาตุที่จําเปนในการดํารงชีวิตของพืชและสัตว และ Mg2+
ไอออนไมเปนพิษ แมกนีเซียมไอออนเปนสิ่งจําเปนตอการทํางานของเอนไซมหลายชนิด นอก
จากนี้ยังพบแมกนีเซียมในคลอโรฟลล ซึ่งมีบทบาทในการสังเคราะหดวยแสงของพืช

แคลเซียม
แคลเซียม มีอยูในหินปูน แคลไซต ชอลก และหินออน ในรูปของ CaCO3 ในโดโลไมต
ในรูปของ CaCO3.MgCO3 ในยิปซัมอยูในรูป CaSO4.2H2O และในฟลูออไรตในรูปของ CaF2
วิธีเตรียมแคลเซียมที่ดีที่สุดคือการทําอิเล็กโทรไลซิสของแคลเซียมคลอไรด (CaCl2) หลอมเหลว
แคลเซียมแตกตางจากแมกนีเซียมและเบริลเลียมตรงที่สามารถทําปฏิกิริยากับน้ําได
และให ไฮดรอกไซด แตอัตราการเกิดปฏิกิริยาต่ํากวาปฏิกิริยาของโลหะแอลคาไลมาก
Ca(s) + 2H2O(l) → Ca(OH)2(aq) + H2(g)
เรามักเรียกแคลเซียมไฮดรอกไซด วา ปูนสุก (slaked lime) หรือปูนขาว (hydrated lime)
ปูน (CaO) หรือมักเรียกกันวาปูนดิบ (quicklime) จัดวาเปนวัสดุเกาแกที่สุดชนิดหนึ่ง
ปูนดิบผลิตไดจากการสลายตัวดวยความรอนของแคลเซียมคารบอเนต
CaCO3(s) → CaO(s) + CO2(g)
สวนปูนสุกนั้นผลิตไดจากปฏิกิริยาระหวางปูนดิบกับน้ํา
CaO(s) + H2O(l) → Ca(OH)2(s)
แคลเซียมไฮดรอกไซดมีประโยชนในการบําบัดน้ํา แคลเซียมออกไซดใชในการกําจัด SO2 และ
ในโลหะวิทยา แคลเซียมเปนธาตุที่จําเปนตอสิ่งมีชีวิต เปนองคประกอบสําคัญของกระดูกและ
ฟน หนาที่เฉพาะของ Ca2+ ไอออนในระบบของสิ่งมีชีวิตคือ กระตุนการทํางานของกระบวนการ
ต า งๆ ในการสรา งและสลาย และแคลเซี ย มยั ง มี บ ทบาทสํ า คั ญ ยิ่ ง ในการทํ า งานของหั ว ใจ
การแข็งตัวของเลือด การหดตัวของกลามเนื้อ และการสงผานขอมูลในเสนประสาท

โลหะหมู 3A
โลหะหมู 3A ประกอบดวย Al Ga In และ Tl เทานัน้ เพราะธาตุตัวแรก คือ โบรอน (B)
เปนกึ่งโลหะ

อะลูมิเนียม
อะลูมิเนียมเปนโลหะที่มีมากที่สุดและเปนธาตุที่มีมากเปนอันดับสามในเปลือกโลก ไม
เกิดเปนเปนธาตุอิสระในธรรมชาติ สินแรสําคัญ คือ บอกไซต (bauxite, Al2O3.2H2O) แรอื่นๆ ที่
มีอะลูมิเนียมไดแก ออรโทเคลส (orthoclase, KAlSi3O3) เบริล (beryl, Be3Al2Si6O8) คอรันดัม
(corundum, Al2O3)
อะลู มิ เ นี ย มส ว นใหญ เ ตรี ย มได จ ากบอกไซต ซึ่ ง มั ก มี ซิ ลิ ค า (silica,SiO2) ไอร อ อน
ออกไซด และไทเทเนียม (IV) ออกไซดปนอยูดวย จึงตองนําสินแรไปตมในสารละลายโซเดียม
ไฮดรอกไซดเสียกอนเพื่อเปลี่ยนซิลิคาใหเปนซิลิเคตที่ละลายไดดีกวา

SiO2 (s) + 2OH-(aq) → SiO32- (aq) + H2O(l)

ขณะเดียวกัน อะลูมิเนียมออกไซดก็จะเปลี่ยนไปเปนอะลูมิเนตไอออน ( AlO-2 )

Al2O3(s) + 2OH-(aq) → 2 AlO-2 (aq) + H2O(l)

ไอรออนออกไซดและไทเทเนียมออกไซดไมมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนี้จึงกรองแยก
ออกไปได เมื่อนําสสารละลายนี้ไปเติมกรดเพื่อใหอะลูมิเนียมไฮดรอกไซดตกตะกอน
AlO-2 (aq) + H3O+(aq) → Al(OH)3(s)

เมื่อกรองตะกอนอะลูมิเนียมไฮดรอกไซดแลวนําไปเผาก็จะไดอะลูมิเนียมออกไซด

2Al(OH)3(s) → Al2O3(s) + 2H2O(g)


อะลูมิเนียมออกไซดที่ปราศจากน้ํานี้อาจรีดิวซเปนอะลูมิเนียมไดดวยกระบวนการฮอลล แคโทด
คือคารบอนที่เคลือบผิวดานในของเซลล ใชไครโอไลตเปนตัวทําละลายของอะลูมิเนียมออกไซด
เมื่อนําของผสมนี้ไปแยกสลายดวยไฟฟาก็จะไดอะลูมิเนียมกับแกสออกซิเจน
Anode: 3[2O2- → O2(g) + 4e-]
Cathode: 4[Al3+ + 3e- → Al(l)]

Overall:2Al2O3 → 4Al(l) + 3O2(g)


อะลูมิเนียมเปนโลหะที่ใชงานตางๆ ไดหลากหลาย มีความหนาแนนต่ํา และมีความทน
แรงดึงสูง ตีเปนแผนได มวนเปนแผนบางๆได เปนตัวนําไฟฟาที่ดีมาก จึงนิยมในการสงไฟฟา
แรงสูง อะลูมิเนียมจะใชประโยชนในการสรางเครื่องบินเปนสวนใหญ แตตองใชในลักษณะโลหะ
ผสม

อโลหะ
อโลหะมีสมบัติที่หลากหลายกวาโลหะ อโลหะมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกวาโลหะ ธาตุใน
ตารางธาตุมีเอเล็กโทรเนกาติวิตีเพิ่มขึ้นจากซายไปขวาในคาบเดียวกัน และจากลางขึ้นบนในหมู
เดียวกัน ในที่นี้จะกลาวถึงอโลหะที่สามัญและสําคัญบางชนิด คือ ไฮโดรเจน คารบอนในหมู 4A
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในหมู 5A ออกซิ เจนและกํ ามะถั น ในหมู 6A และฟลูออรีน คลอรีน
โบรมีน และไอโอดีนในหมู 7A

ไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนเป น ธาตุ ที่ มี ค วามซั บ ซ อ นน อ ยที่ สุ ด เพราะอะตอมประกอบด ว ยเพี ย ง 1
โปรตอนและ 1 อิเล็กตรอน แตอะตอมนี้เสถียรเฉพาะที่อุณหภูมิสูงมาก โดยปกติธาตุนี้จะอยูใน
สภาพโมเลกุลอะตอมคู และเปนปฏิกิริยาคายความรอน

H(g) + H(g) → H2(g) ∆Ho = -436.4 kJ


ไฮโดรเจนเปนแกสไมมีสี ไมมีกลิ่น แกสไฮโดรเจนมีความสําคัญในอุตสาหกรรมหลายอยาง
เชนอุตสาหกรรมการผลิตแอมโมเนีย การเตรียมแกสไฮโดรเจนปริมาณมากๆ ในอุตสาหกรรม
อาศัยปฏิกิริยาระหวางโพรเพนกับไอน้ําโดยมีตัวเรงอยูดวยที่ 900oC
C3H8(g) + 3H2O(g) → 3CO(g) + 7H2(g)
อีกกระบวนการหนึ่งที่ใชเตรียมไฮโดรเจน คือ ใหไอน้ําผานไปบนถานโคกที่รอนแดง
C(s) + H2O(g) → CO(g) + H2(g)
การเตรียมแกสไฮโดรเจนปริมาณนอยเพื่อใชในหองปฏิบัติการคือใชปฏิกิริยาระหวาง
สังกะสี กับกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง
Zn(s) + 2HC1(aq) → ZnCl2(aq) + H2(g)

ธาตุหมู 4A
คารบอน
คารบอนเปนธาตุที่จําเปนในสิ่งมีชีวิต คารบอนอาจอยูในรูปอิสระคือ เพชรและแกรไฟต
และมี อ ยู ใ นแก ส ธรรมชาติ ป โ ตรเลี ย ม และถ า นหิ น คาร บ อนรวมตั ว กั บ ออกซิ เ จนได
คารบอนไดออกไซดและเกิดเปนคารบอเนตในหินปูนและชอลก
เพชรและแกรไฟตเปนอัญรูปของคารบอน การสังเคราะหเพชรจากแกรไฟตอาจทําได
โดยใชความดันและอุณหภูมิสูงมาก โดยทั่วไปเพชนสังเคราะหจะมีสมบัติเชิงแสงนอยกวาเพชน
ธรรมชาติ

คารไบดและไซยาไนด
คาร บ อนรวมตั ว กั บ โลหะเป น สารประกอบไอออนิ ก เรี ย กว า สารประกอบคาร ไ บต
(carbide) ตัวอยางไดแก CaC2 และ Be2C ในสารประกอบประเภทนี้คารบอนจะอยูในรูปของ
C2-2 หรือ C4- ไอออนซึ่งเปนเบสแก

C2-2 (aq) + 2H2O(l) → 2OH-(aq) + C2H2(g)


C4-(aq) + 4H2O(l) → 4OH-(aq) + CH4(g)
นอกจากนี้ ค ารบ อนยั งรวมกั บ ซิ ลิ ค อนเป น สารประกอบโคเวเลนต ซิ ลิ ค อนคารไบด (silicon
carbide, SiC) หรือคารโบรัมดัม (carborundum) เตรียมไดจากปฏิกิริยา
SiO2(s) + 3C(s) → SiC(s) + 2CO(g)
สารประกอบที่สําคัญอีกประการหนึ่งของคารบอนคือ สารประกอบไซยาไนด (cyanide)
ซึ่งมีไอออนลบ เปนสวนประกอบ ไซยาไนดมีความเปนพิษสูงมาก ไฮโดรเจนไซยาไนดซึ่งมี
กลิ่นเหมือนอัลมอนด ยิ่งมีความเปนพิษรายแรงกวาไซยาไนดไอออนเพราะเปนสารระเหยงาย
HCN เขมขนเพียงไมถึง 1% โดยปริมาตรในอากาศอาจเปนอันตรายถึงชีวิตภายในเวลาเพียงไม
กี่นาที สารนี้เตรียมไดจากปฏิกิริยาระหวางโซเดียมไซยาไนดหรือโพแทสเซียมไซยาไนดกับกรด
NaCN(s) + HCl(aq) → NaCl(aq) + HCN(g)

ออกไซดของคารบอน
ในบรรดาออกไซด ห ลายชนิ ด ของคาร บ อน ออกไซด ที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด คื อ คาร บ อน
มอนอกไซด (CO) และคารบอนไดออกไซด (CO2) คารบอนมอนอกไซดเปนแกสไมมีสี ไมมี
กลิ่น เกิดขึ้นจากการเผาไหมไมสมบูรณของคารบอน หรือสารประกอบของคารบอน
2C(s) + O2(g) → 2CO(g)
ในอุตสาหกรรม CO เตรียมไดโดยผานไอน้ําไปบนถานโคกที่รอน คารบอนมอนอกไซดเผาไหม
ในออกซิเจนไดรวดเร็ว กลายเปนคารบอนไดออกไซด

2CO(g) + O2(g) → 2CO2(g) ∆Ho = -566 kJ

คารบ อนไดออกไซด เป น แก ส ไม มี สี ไม มี ก ลิ่ น และไม เป น พิ ษ แต เป น ออกไซด ก รด
คารบอนไดออกไซดมีประโยชนในการทําน้ําอัดลม ในอุปกรณดับเพลิง และในการผลิตโซดาทํา
ขนมป ง และโซดาแอช คาร บ อนไดออกไซด แ ข็ ง หรื อ น้ํ า แข็ งแห ง (dry ice) ใช เป น สารทํ า
ความเย็น นอกจากนี้ยังใชเปนตัวลอเมฆในการทําฝนเทียม

ธาตุหมู 5A
ไนโตรเจน
อากาศประมาณ 78% โดยปริมาตรคือไนโตรเจน แหลงแรที่สําคัญที่สุดของไนโตรเจน
คือ ดินประสิว (saltpeter, KNO3) และดินประสิวชิลี (Chile saltpeter, NaNO3) ไนโตรเจนเปน
ธาตุที่จําเปนตอชีวิตเพราะเปนสวนประกอบของโปรตีนและกรดนิวคลีอิก
ไนโตรเจนในสภาพโมเลกุลเตรียมไดโดยนําอากาศมากลั่นลําดับสวน ในหองปฏิบัติการ
ไนโตรเจนที่บริสุทธิ์มากๆ เตรียมไดจากการสลายตัวดวยความรอนของแอมโมเนียมไนไตรต
NH4NO2(s) → 2H2O(g) + N2(g)

แอมโมเนีย (ammonia)
แอมโมเนี ย เป น สารประกอบที่ รูจัก กัน ดีช นิ ด หนึ่ งของไนโตรเจน ในห องปฏิ บั ติ ก าร
เตรียมไดจากปฏิกิริยาระหวางแอมโมเนียมคลอไรดกับโซเดียมไฮดรอกไซด
NH4Cl(aq) + NaOH(aq) → NaCl(aq) + H2O + NH3(g)
แอมโมเนียเปนแกสไมมีสี มีกลิ่นฉุน ถูกนําไปใชทําปุย
ออกไซดและกรดออกโซของไนโตรเจน
ไนโตรเจนมีสารประกอบออกไซดหลายชนิด
ไนตรั ส ออกไซด (nitrous oxide, N2O) เป น แก็ ส ไม มี สี มี ก ลิ่ น หอมและมี ร สหวาน
เตรียมไดโดยเผาแอมโมเนียมไนเตรตใหรอนถึงประมาณ 270oC
NH4NO3(s) → N2O(g) + 2H2O(g)
ไนตรั ส ออกไซด เมื่ อ ได รับ ความร อ นเป น ระยะเวลาหนึ่ ง จะสลายตั ว ให แ ก ส ไนโตรเจนและ
ออกซิเจน

2N2O(g) → 2N2(g) + O2(g)


สวนใหญแกสนี้ใชเปนยาสลบในการทําทันตกรรมหรือผาตัด ไนตรัสออกไซดเปนที่รูจักกันอีกชื่อ
หนึ่งคือ แกสหัวเราะ เนื่องจากคนที่หายใจเอกแกสนี้เขาไปจะรูสึกขําตลอดเวลา
ไนตริกออกไซด (nitric oxide, NO) เปนแกสไมมีสี ปฏิกิริยาระหวาง N2 กับ O2

N2(g) + O2(g) 2NO(g) ∆Go = 173.4 kJ

โมเลกุลของไนตริกออกไซดมีสมบัติเปนพาราแมกเนติก คือ มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 1 อิเล็กตรอน

ไนโตรเจนไดออกไซด เปนแกสสีน้ําตาลเหลือง เปนพิษอยางแรง มีกลิ่นฉุน จนทํา


ใหหายใจไมออก เตรียมไดโดยปฏิกิริยาระหวางกรดไนตริกเขมขนกับทองแดง
Cu(s) + 4HNO3(aq) → Cu(NO3)2(aq) + 2H2O(l) + 2NO2(g)
ไนโตรเจนไดออกไซด เป น พาราแมกเนติ ก เป น ออกโซกรด ทํ าปฏิ กิ ริย ากั บ น้ํ าเย็ น ได อย าง
รวดเร็วใหทั้งกรดไนตรัสและกรดไนตริก
2NO2(g) + H2O(l) → HNO2(aq) + HNO3(aq)

ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสเปนธาตุในหมู 5 มีสมบัติหลายอยางคลายไนโตรเจน ฟอสฟอรัสปรากฏอยู
ในรู ป หิ น ฟอสเฟต (phosphate rocd) ซึ่ ง ส ว นใหญ คื อ แคลเซี ย มฟอสเฟต (Ca(PO4)2) และ
ฟลูออโรแอพาไทต (Ca5(PO4)3F) ฟอสฟอรัสเตรียมไดจากการเผาแคลเซียมฟอสเฟตกับถาน
โคกและทรายซิลิคา
2Ca3(PO4)2(s) + 10C(s) + 6SiO2(s) → 6CaSiO3(s) + 10CO(g) + P4(s)
ฟอสฟอรั ส มี ห ลายอั ญ รู ป แต ที่ สํ า คั ญ มี เพี ย ง 2 รูป คื อ ฟอสฟอรั ส ขาว และฟอสฟอรัส แดง
ฟอสฟอรัสขาวประกอบดวยโมเลกุลทรงสี่หนา ของ P4 แยกกัน เปนของแข็ง ละลายน้ําไมได
แตละลายไดในคารบอนไดซัลไฟด (CS2) ฟอสฟอรัสขาวเปนสารที่มีพิษรายแรง เมื่อสัมผัสกับ
อากาศจะติดไฟไดเอง จึงมีประโยชนในการทําระเบิดเพลิง และลูกระเบิด
P4(s) + 5O2(g) → P4O10(s)

ออกไซดและกรดออกโซของฟอสฟอรัส
แบ งเป น 2 ชนิ ด คื อ เตตระฟอสฟอรัส เฮกซะออกไซด (P4O6) และฟอสฟอรัส เดคะ
ออกไซด (P4O10) ซึ่งตางก็เตรียมไดจากการเผาฟอสฟอรัสในแกสออกซิเจนปริมาณจํากัด และ
ในแกสออกซิเจนมากเกินพอ
P4(s) + 3O2(g) → P4O6(s)
P4(s) + 5O2(g) → P4O6(s)
ออกไซดสองชนิดนี้เปนออกไซดกรด คือ เมื่อละลายน้ําจะกลายเปนกรด P4O10 เปนผงสีขาว
ซึ่งทําปฏิกิริยากับน้ําไดอยางรวดเร็ว
P4O10(s) + 6H2O(l) → 4H3PO4(aq)
กรดออกโซของฟอสฟอรัสมีหลายชนิด เชน กรดฟอสฟอรัส (H3PO3) กรดฟอสฟอริก
(H3PO4) กรดไฮโปฟอสฟอรัส (H3PO2) และกรดไตรฟอสฟอริก (H5P3O10)
ฟอสฟอรัสเปนธาตุที่จําเปนตอชีวิตเชนเดียวกับไนโตรเจน เปนสวนประกอบในโครง
กระดูกมนุษย ในฟน และสารประกอบฟอสเฟตเปนสารพันธุกรรมที่เรียกวากรดดีออกซีไรโบ
นิวคลีอิก และกรดไรโบนิวคลีอิก

ออกซิเจนและกํามะถัน
ออกซิเจน
ออกซิเจนเปนธาตุที่มีอยูมากที่สุดในเปลือกโลก ออกซิเจนปรากฏในรูปโมเลกุลอะตอม
คู เตรียมไดโดยการเผาโพแทสเซียมคลอเรตกับแกสออกซิเจน
KClO3(s) → 2KCl(s) + 3O2(g)
ปฏิ กิ ริย านี้ อ าจเรงด ว ยแมงกานี ส (IV)ออกไซด (MnO2) ออกซิ เจนบริสุ ท ธิ์ อ าจเตรี ย มได จ าก
การแยกน้ําดวยไฟฟา
สมบัติของออกซิเจนโมเลกุล ออกซิเจนมี 2 อัญรูป คือ O2 และ O3
โมเลกุ ล O2 เปนพาราแมกเนติกเพราะมีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 อิเล็กตรอน ออกซิ เจน
โมเลกุลเปนตัวออกซิไดซที่แรง
O2 เปนสารเคมีที่อุตสาหกรรมนิยมใชมากที่สุดชนิดหนึ่ง สวนใหญใชในอุตสาหกรรม
เหล็กกลา และบําบัดน้ําโสโครก นอกจากนี้ยังเปนสารฟอกขาวในการทําเยื่อกระดาษ

ออกไซด เปอรออกไซด และซูเปอรออกไซด


ออกซิ เ จนเกิ ด สารประกอบออกไซด ไ ด 3 ชนิ ด คื อ ออกไซด ธ รรมดา (O2-) เปอร
ออกไซด ( O2-2 ) และซูเปอรออกไซด ( O-2 )
จากซายไปขวาในแตละคาบของตารางธาตุ พันธะในสารประกอบออกไซดจะเปลี่ยนไป
ออกไซดของโลหะแอลคาไล และของโลหะแอลคาไลเอิรท มักเปนของแข็งไอออนิก และมีจุด
หลอมเหลวสูง ออกไซดของกึ่งโลหะและโลหะที่ อยูต อนกลางของตารางธาตุก็เปน ของแข็ง
เช น กั น แต มี ลั ก ษณะไอออนิ ก ต่ํ า กว า ส ว นออกไซด ข องอโลหะนั้ น ล ว นเป น สารประกอบ
โคเวเลนตและมักเปนของเหลวหรือแกสที่อุณหภูมิหอง ออกไซดเหลานี้มีความเปนกรดเพิ่มจาก
ซ า ยไปขวา ในหมู เดี ย วกั น จากบนลงล าง ออกไซด มี ค วามเป น เบสสู งขึ้ น เช น MgO ไม ทํ า
ปฏิกิริยากับน้ําแตทําปฏิกิริยาไดกับกรด
MgO(s) + 2H+(aq) → Mg2+(aq) + H2O(l)
แต BaO ซึ่งเปนเบสมากกวา เกิดไฮโดรไลซิส กลายเปนไฮดรอกไซด
BaO(s) + H2O(l) → Ba(OH)2(aq)

เปอรออกไซดที่รูจักดี คือ ไฮโดรเจนเปอรออกไซด (H2O2) ซึ่งเปนของเหลวหนืด ไมมีสี


สามารถเตรียมไดจ ากปฏิ กิ ริยาระหวางกรดซั ล ฟ ริก เจื อจางที่ เย็ น กั บ แบเรียมเปอรออกไซด
ออกตะไฮเดตร (barium peroxide octahydrate)
BaO2 . 8H2O(s) + H2SO4(aq) → BaSO4(s) + H2O2(aq) + 8H2O(l)
ไฮโดรเจนเปอรออกไซดสลายตัว ไดอยางรวดเร็ว เมื่ อไดรับ ความรอ นหรือได รับ แสงอาทิ ต ย
หรือแมกระทั่งเมื่อสัมผัสกับฝุนละอองหรือโลหะบางชนิด รวมทั้งเหล็กและทองแดง

2H2O2(l) → 2H2O(l) + O2(g) ∆Ho = -196.4 kJ


ไฮโดรเจนเปอร อ อกไซด ผ สมเป น เนื้ อ เดี ย วกั บ น้ํ า ได ทุ ก สั ด ส ว นเพราะสร า งพั น ธะ
ไฮโดรเจนกับน้ําได สารละลายไฮโดรเจนเปอรออกไซดเจือจาง (3% โดยมวล) เปนยาฆาเชื้อ
โรคอยางออน ถาเขมขนกวานี้ใชเปนน้ํายาฟอกขาวสําหรับผา ขนสัตว และใชกัดสีผม บางทีมี
อาจนําไปใชเปนเชื้อเพลิงจรวด
ไฮโดรเจนเปอรออกไซดเปนตัวออกซิไดซที่แรง สามารถออกซิไดซ Fe2+ ไอออนเปน
Fe3+ ไอออนไดในสารละลายกรด
H2O2(aq) + 2Fe2+(aq) + 2H+(aq) → 2Fe3+(aq) + 2H2O(l)

และยังสามารถออกซิไดซ SO32- ไอออนเปน SO2-4 ไอออนไดดวย

H2O2(aq) + SO32- (aq) → SO2-4 (aq) + H2O(l)


ไฮโดรเจนเปอรอ อกไซด อ าจทํ าหน าที่ เป น ตั ว รีดิ ว ซ ได ด ว ยถ า ทํ าปฏิ กิ ริย ากั บ สารที่ เป น ตั ว
ออกซิไดซที่แรงกวา เชน ไฮโดรเจนเปอรออกไซดรีดิวซซิลเวอรออกไซดเปนโลหะเงิน
H2O2(aq) + Ag2O(s) → 2Ag(s) +H2O(l) + O2(g)

โอโซน
โอโซนเปนแกสสีน้ําเงิน ที่คอนขางเปนพิษ เราไดกลิ่นฉุนของโอโซนในบริเวณที่มีแหลง
การถ ายประจุ ไฟฟ าจํานวนมาก เช น รถไฟใต ดิ น โอโซนเตรีย มได จากแก ส ออกซิ เจนด ว ย
ปฏิกิริยาเคมีเชิงแสงหรือโดยถายประจุไฟฟาใหแกออกซิเจน
3O2(g) → 2O3(g) ∆Go = 326.8 kJ
เนื่องจากการเกิดโอโซนเปนปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระมาตรฐานเปนบวกมาก
ดังนั้น โอโซนจึงเสถียรนอยกวาออกซิเจน โอโซนโมเลกุลมีโครงสรางเปนมุมงอ
เรามักใชโอโซนในการทําน้ําดื่มบริสุทธิ์ ฟอกอากาศและกําจัดกลิ่นของแกสเสียชนิด
ตางๆ และในการฟอกสีขี้ผึ้ง น้ํามัน และสิ่งทอ
โอโซนเปนตัวออกซิไดซที่แรงมาก โอโซนสามารถออกซิไดซสารประกอบซัลไฟดของ
โลหะหลายชนิดไปเปนสารประกอบซัลเฟต
4O2(g) + PbS(s) → PbSO4(s) + 4O2(g)
โอโซนออกซิไดซโลหะไดทุกชนิดยกเวนทองคําและแพลทินัม

กํามะถัน
กํามะถันเปนธาตุที่มีอยูไมมากนัก แตหาไดงายเพราะปรากฏอยูในธรรมชาติอิสระ นอก
จากนี้ กํามะถันยังอยูในรูปยิป ซัม (gypsum, CaSO4 . 2H2O) และแรซัลไฟดชนิดตางๆ เชน
ไพไรต (pyrite, FeS2) แกสตางๆ ในธรรมชาติ เชน H2S, SO2
กํ ามะถั น มี ห ลายอั ญ รู ป ที่ สํ าคั ญ ที่ สุ ด คื อ กํ า มะถั น รอมบิ ก และกํ า มะถั น โมโนคลี อิ ก
กํามะถันรอมบิกเปนอัญรูปที่เสถียรที่สุดในเชิงเทอรโมไดนามิกส มีโครงสรางเปนวงหยัก (S8)
S S S
S S
S
S S

กํามะถันรอมบิกเปนของแข็งสีเหลือง ไมมีรส ไมมีกลิ่น ไมละลายน้ําแตละลายไดในคารบอนได


ซัลไฟด เมื่อไดรับความรอนจะคอยๆเปลี่ยนเปนกํามะถันโมโนคลินิก เมื่อกํามะถันหลอมเหลว
จะแตกออกเปนสายพันกันยุงเหยิง ทําใหหนืด แตเมื่อรอนขึ้นไปอีกสายโมเลกุลจะขาดเปนสาย
สั้นลงและความหนือจะลดลงอีกครั้ง
สารประกอบระหวางกํามะถันกับไฮโดรเจน คือการเตรียม ไฮโดรเจนซัลไฟด ซึ่งเตรียม
ไดจากกรดกับสารประกอบซัลไฟด
FeS(s) + H2SO4(aq) → FeSO4(aq) + H2S(g)
ไฮโดรเจนซัลไฟดเปนแกสไมมีสี มีกลิ่นเหม็นเหมือนไขเนา ไฮโดรเจนซัลไฟดเปนสารที่มีความ
เปนพิษสูง สามารถทําลายเอนไซมในทางเดินหายใจไดเชนเดียวกับแกสไฮโดรเจนไซยาไนด
เปนกรดไดโปรติก

ออกไซดของกํามะถัน
สารประกอบออกไซด ที่ สํ าคั ญ คื อ ซั ล เฟอรไดออกไซด และ ซั ล เฟอร ไตรออกไซด
ซัลเฟอรไดออกไซดเกิดจากการเผากํามะถันในอากาศ
S(s) + O2(g) → SO2(g)

หรือปฏิกิริยาระหวางกรดกับซัลไฟต
2HCl(aq) + Na2SO3(aq) → 2NaCl(aq) + H2O(l) +SO2(g)
ซัลเฟอรไดออกไซดเปนแกสไมมสี มีกลิ่นฉุน จัดวาเปนแกสพิษ ออกไซดชนิดนี้เปนออกไซด
กรด

กรดซัลฟวริก (H2SO4)
กรดซัลฟวริกเปนกรดไดโปรติก เปนของเหลวขนไมมีสี อํานาจการออกซิไดซของกรด
ซัลฟวริกขึ้นอยูกับอุณหภูมิและความเขมขน ตัวออกซิไดซในสารนี้คือ ซัลเฟตไอออน

สารประกอบอื่นของกํามะถัน
คารบอนไดซัลไฟด เปนของเหลว ไมมีสี ติดไฟงาย เกิดจากการเผาคารบอนกับกํามะถันที่
อุณหภูมิสูง
C(s) + 2S(s) → CS2(l)
สารละลายนี้ ล ะลายได เพี ย งเล็ ก น อ ยในน้ํ า คารบ อนไดซั ล ไฟด เป น ตั ว ทํ าละลายที่ ดี สํ าหรับ
กํามะถัน ฟอสฟอรัส ไอโอดีน และสารไมมีขั้วตางๆ

ธาตุหมู 7A
เฮโลเจน
เฮโลเจน คื อ ฟลู อ อรี น คลอรี น โบนมี น และไอโอดี น เป น อโลหะที่ ไวต อ ปฏิ กิ ริ ย า
เฮโลเจนเกิดสารประกอบจํานวนมาก เมื่อเปนธาตุ เฮโลเจนจะอยูในสภาพโมเลกุลอะตอมคู
การเตรียมและสมบัติของเฮโลเจน
เนื่องจากฟลูออรีนและคลอรีนเปนตัวออกซิไดซที่แรง จึงเตรียมไดจากการ แยกสลาย
ดวยไฟฟ ามากกวาที่ จะทําการออกซิไดซ ฟ ลูออไรดและคลอไรดไอออนดวยวิธีทางเคมี สาร
ละลายฟลูออไรดในน้ําไมอาจนําไปแยกสลายดวยไฟฟาไดเพราะฟลูออรีนเปนตัวออกซิไดซที่
แรงกวาน้ํา
O2(g) + 4H+(aq) + 2e- → H2O(l) Eo = 1.23 V
F2(g) + 2e- → 2F-(aq) Eo = 2.87 V
ดวยเหตุนี้ จึงเตรียมฟลูออรีนดวยการทําอิเล็กโทรไลซิส ของไฮโดนเจนฟลูออไรดเหลวโดยมี
โพแทสเซียมฟลูไรดปนอยูดวยเพื่อเพิ่มสภาพนําไฟฟา
Anode: 2F- → F2(g) + 2e-
Cathode: 2H+ + 2e- → H2(g)
Overall:2HF(l) → H2(g) + F2(g)
ในอุตสาหกรรม แกสคลอรีน (Cl2) เตรียมไดจากอิเล็กโทรไลซิสของ NaCl หลอมเหลว หรืออิ
เล็กโทรไลซิสของสารละลาย NaCl เขมขน
2NaCl(aq) + 2H2O(l) → 2NaOH(aq) + H2(g) +Cl2(g)
หรือการทํ าอิเล็กโทรไลซิส โดยแคโทดคือ กอนปรอทเหลวที่ กนเซลล และแอโนดทํ ามาจาก
แกรไฟตหรือไทเทเนียมเคลือบดวยแพลทินัม
Anode: 2Cl-(aq) → Cl2(g) + 2e-
Cathode: 2Na+(aq) + 2e- → 2Na/Hg
Overall:2NaCl(aq) → 2Na/Hg + Cl2(g)
แกสคลอรีนที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้จะมีความบริสุทธิ์สูงมาก เพราะโซเดียมอะมัลกัมไมทําปฏิกิริยากับ
น้ําเกลือ
ไฮโดรเจนเฮไลด
ไฮโดรเจนเฮไลดเปนสารประกอบที่เกิดจากการรวมกันของธาตุโดยตรง
H2(g) + X2(g) 2HX(g)
เมื่อ X แทนเฮโลเจน ปฏิกิริยาเหลานี้อาจเกิดขึ้นพรอมกับการระเบิดอยางรุนแรง อาจเตรียม
ไฮโดรเจนฟลูออไรดและไฮโดรเจนคลอไรด ไดจากปฏิกิริยาระหวางเฮไลดของโลหะ กับกรดซัล
ฟวริกเขมขน
CaF2(s) + H2SO4(aq) → 2HF(g) + CaSO4(s)
2NaCl(s) + H2SO4(aq) → 2HCl(g) + Na2SO4(aq)
ไฮไดรเจนโบรไมดและไฮโดนเจนไอโอไดด นั้นเตรียมดวยวิธีนี้ไมไดเพราะสารทั้งสองจะถูกออก
ซิไดซเปนโบรมีนและไอโอดีน
การเตรียมไฮโดรเจนโบรไมดตองเริ่มจากปฏิ กิริยาระหวางโบรมีนกับฟอสฟอรัส ได
ฟอสฟอรัส ไตรโบรไมด
P4(s) + 6Br2(l) → 4PBr3(l)
PBr3(l) + 3H2O(l) → 3HBr(g) + H3PO3(aq)
ไฮโดรเจนไอโอไดดก็เตรียมไดโดยวิธีเดียวกัน
สารละลายไฮโดนเจนเฮไลดมีความเปนกรด โดยความแรงของกรดเพิ่มขึ้นตามลําดับ
ดังนี้

HF << HCl < HBr < HI

กรดออกโซของเฮโลเจน
เฮโลเจนเกิดกรดออกโซหลายชนิด มีสูตรทั่วไปดังนี้
HXO HXO2 HXO3
HXO4
กรดไฮโปเฮลัส กรดเฮลัส กรดเฮลิก
กรดเปอรเฮลิก
สําหรับเฮโลเจนแตละชนิด ความแรงของกรดลดลงจากกรดเปอรเฮลิกไปยังกรดไฮโปเฮลัส
ประโยชนของเฮโลเจน
ฟลูออรีน มีประโยชนในอุตสาหกรรม การบํารุงสุขภาพ เชน การเติม ฟลูออไรดในปริมาณ
เล็ ก น อ ยลงในน้ํ าดื่ ม เป น การกํ าจั ด ฟ น ผุ ในอุ ต สาหกรรม ฟลู อ อรีน เป น สารที่ ใช ในการผลิ ต
พอลิเตตระฟลูออไรเอทิลีน ซึ่งเปนสารพอลิเมอรที่เรียกวา เทฟลอน เทฟลอนนี้ใชเปนฉนวน
ไฟฟา เครื่องครัว พลาสติกอุณหภูมิสูง

คลอรีน มีบทบาททางชีววิทยาที่สําคัญในรางกาย คลอไรดไอออนเปนไอออนลบหลักใน


ของไหลภายในและภายนอกเซลล คลอรี น เป น สารฟอกขาวที่ ใ ช กั น อย า งกว า งขวางใน
อุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ สารออกฤทธิ์ในน้ํายาซักผาขาวคือ โซเดียมไฮโป
คลอไรด นอกจากนี้ยังใชน้ําคลอรีนทําใหน้ําสะอาดและฆาเชื้อโรคในน้ําได
คลอริเนเตดมีเทน เชน คารบอนเตรตระคลอไรดและคลอโรฟอรม เป นตัวทําละลาย
อินทรียที่มีประโยชนมาก เชน การผลิตยาฆาแมลง
โบรมีน มีประโยชนในการเตรียมเอทิลีนไดโบรไมด ซึ่งใชเปนยาฆาแมลง และใชในการ
กําจัดตะกั่ว ในน้ํานันรถยนตเพื่อไมใหมีตะกั่วเขาไปอุดตันในเครื่องยนต แตเอทิลีนไดโบรไมด
เปนสารกอมะเร็งที่รายแรง

ไอโอดีน ไอโอดีนในแอลกอฮอล เขมขน 50% เรียกวา ทิงกเจอไอโอดีน ใชเปนยาฆาเชื้อ


โรค ไอโอดีนเปนสวนประกอบสําคัญของไทรอยดฮอรโมนชื่อ ไทรอกซิน (thyroxine) การรับ
ประทานอาหารที่ขาดไอโอดีนอาจทําใหตอมไทรอยด็บวม
I I
H H O
HO O C C C
H NH2 OH
I I

โลหะทรานซิชัน
โดยทั่วไปธาตุทรานซิชันหมายถึงธาตุที่อะตอมหรือไอออนมีอิเล็กตรอนใน d- หรือ f-
ออรบิตอลไมเต็ม ธาตุทรานสิชันยังแบงเปนหมูตางๆ เปน 3B, 4B, 5B, 6B, 7B, 8B และ 1B
1A 8A
1 2A 3A 4A 5A 6A 7A 2
H He
3 4 5 6 7 8 9 10
Li Be B C N O F Ne
11 12 3B 4B 5B 6B 7B 8B 1B 2B 13 14 15 16 17 18
Na Mg Al Si P S Cl Ar
19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe
55 56 57 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86
Cs Ba La Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn
87 88 89 104 73 106 107 108 109
Fr Ra Ac Rf Ha Sg Ns Hs Mt

สมบัติของโลหะทรานซิชนั
โลหะทรานซิชันคือมีอิเล็กตรอนใน d ออรบิตอลไมเต็ม หรือเมื่อกลายเปนไอออนก็จะมี
อิเล็กตรอนใน d ออรบิตอลไมเต็ม ลักษณะดังกลาว ทําใหโลหะทรานซิชันมีสมบัติที่นาสนใจ
เชน มีสี เกิดสารประกอบเชิงซอน เปนพาราแมกเนติก เปนตัวเรงปฏิกิริยา
สําหรับโลหะทรานซิชัน แนวโนมของสมบัติตางๆ แตกตางไปจากธาตุอื่นๆ คือ จาก
สแกนเดียมไปถึงทองแดง ประจุนิวเคลียสมีคาเพิ่มขึ้นแตอิเล็กตรอนที่เพิ่มขึ้นเขาไปอยูใน 3d
ออรบิตอลและสามารถกําบังอิเล็กตรอนใน 4s ออรบิตอลจากแรงดึงดูดของประจุที่เพิ่มขึ้นใน
นิวเคลียสไดดี รัศมีอะตอมจากซายไปขวาจึงลดลงอยางชาๆ ดังนั้นคาของอิเล็กโทรเนกาติวิตี
และพลังงานไอออไนเซชันก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กนอยจากสแกนเดียมไปถึงทองแดง

สมบัติทางกายภาพทั่วไป
โลหะทรานซิชันสวนใหญมโี ครงสรางแบบชิดที่สุด ซึ่งแตละอะตอมจะมีเลขโคออรดิเน
ชันเทากับ 12 ธาตุเหลานี้ยงั ขนาดอะตอมคอนขางเล็ก ดวยสมบัตทิ าํ ใหเกิดพันธะโลหะที่แข็ง
แรงมาก ดังนั้นโลหะทรานซิชันจึงมีความหนาแนน จุดหลอมเหลวและจุดเดือด ความรอนของ
การกลายเปนไอสูงกวาโลหะหมู 1A, 2A และ 2B
ตารางแสดงสมบัติทางกายภาพ
1A 2A 2B
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn
รัศมีอะตอม 235 197 162 147 134 130 135 126 125 124 128 138
(pm)
จุดหลอมเหลว 63.7 838 1539 1668 1900 1875 1245 1536 1495 1453 1083 419.5
(oC)
จุดเดือด 760 1440 2730 3260 3450 2665 2150 3000 2900 2730 2595 906
(oC)
ความหนาแนน 0.86 1.54 3.0 4.51 6.1 7.19 7.43 7.86 8.9 8.9 8.96 7.14
(g/cm3)

การจัดเรียงอิเล็กตรอน
การจัดเรียงอิเล็กตรอนจากสแกนเดียมไปถึงทองแดงจํานวนอิเล็กตรอนใน d ออรบิตอล
จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของสแกนเดียม คือ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s23d1 ของ
ไทเทเนียม 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s23d2 ไปเรื่อยๆ มียกเวน 2 ธาตุคือ โครเมียมและทองแดง
ซึ่งมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนชั้นนอกเปน 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s13d5 และ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6
4s13d10 ตามลําดับ
เมื่ อ โลหะทรานซิ ชั น แถวแรกกลายเป น ไอออน อิ เ ล็ ก ตรอนจะหลุ ด ออกจาก 4s
ออรบิตอลกอน แลวจึงหลุดออกจาก 3d ออรบิตอล เชน Fe2+ การจัดอิเล็กตรอนชั้นนอกคือ 3d6
ไมใช 4s23d4
Fe การจัดเรียงอิเล็กตรอน : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s23d6
Fe2+ การจัดเรียงอิเล็กตรอน : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d6

สภาวะออกซิเดชัน
โลหะทรานซิ ชั น มี เลขออกซิ เดชั น ได ห ลายค าเมื่ อ อยู ในสารประกอบส ว นใหญ เลย
ออกซิเดชันของพวกโลหะทรานซิชันจะอยูใจชวง +1, +2, +3 พลังงานไอออนไนเซชันของ
โลหะทรานซิชันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยจากซายไปขวา แตบางธาตุก็มีสภาวะออกซิเดชันสูงสุดถึง +7

เคมีของเหล็กและทองแดง
เหล็ก
เหล็กบริสุทธิ์เปนโลหะสีเทา ไมแข็งนัก จัดวาเปนธาตุที่จําเปนในระบบสิ่งมีชีวิต เหล็ก
ทําปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ไดแกสไฮโดรเจน
Fe(s) + 2H+(aq) → Fe2+(aq) + H2(g)
กรดซัลฟวริกเขมขนออกซิไดซเหล็กเปน Fe3+ ได แตกรดไนตริกเขมขนทําปฏิกิริยากับเหล็กได
Fe3O4 เปนชั้นบางๆ เคลือบผิวโลหะไวจึงทําปฏิกิริยาตอไมได ปฏิกิริยาที่รูจักดีคือการเกิด
สนิมเหล็ก สภาวะออกซิเดชันที่เสถียรของเหล็ก คือ +2 และ +3

ทองแดง
โลหะทองแดง มีสีน้ําตาลแกมแดง ทองแดงไมบริสุทธิ์อาจทําใหบริสุทธิ์ไดโดยการแยก
สลายดวยไฟฟา ทองแดงมีสภาพการนําไฟฟาสูงเปนที่สองรองจากเงินซึ่งมีราคาแพงเกินกวาที่
จะนํามาใชใน ทองแดงมีประโยชนในการทําโลหะผสม สายไฟฟา ทอ และเหรียญกษาปณ
ทองแดงทํ า ปฏิ กิ ริ ย ากั บ กรดซั ล ฟ ว ริ ก และกรดไนตริ ก ที่ เ ข ม ข น สภาวะที่ สํ า คั ญ
2 สภาวะคื อ +1 และ +2 สภาวะ +1 ไม ค อ ยเสถี ย รนั ก และเมื่ อ อยู ใ นสารละลายจะเกิ ด
ดิสพรอพอรชันเนชัน
2Cu+(aq) → Cu(s) + Cu2+(aq)

สารประกอบทุ กชนิดชอง Cu (I) เปนไดอะแมกเนติกและไมมีสียกเวน Cu2O ซึ่งมีสีแดง สาร


ประกอบทุกชนิดของ Cu(II) เปนพาราแมกเนติก และมีสี Cu2+ ในสภาพของไฮเดรเตดไอออนมี
สีน้ําเงิน

สารประกอบโคออรดิเนชัน
โลหะทรานซิชันมีแนวโนมที่จะเกิดไอออนเชิงซอนไดสูงและไอออนเชิงซอนเหลานี้ก็
สามารถรวมตัวกับไอออนหรือไอออนเชิงซอนอื่น กลายเปนสารประกอบโคออรดิเนชันไดตอไป
สารประกอบโคออรดิเนชัน (coordination compound) หมายถึงสารไมมีประจุที่ประกอบดวย
ไอออนเชิงซอนตั้งแต 1 ชนิดขึ้นไป
ปจจุบันเราใชสูตร [Co(NH3)6]Cl3 เพื่อแสดงวาแอมโมเนียโมเลกุลรวมตัวกับโคบอลต
อะตอมเปนไอออนเชิงซอน สวนคลอไรดไอออนไมใชสวนหนึ่งของไอออนเชิงซอน แตดึงดูดกับ
ไอออนเชิ ง ซ อ นด ว ยแรงไอออนิ ก โลหะในสารประกอบโคออร ดิ เนชั น ส ว นใหญ คื อ โลหะ
ทรานซิชัน
โมเลกุลหรือไอออนที่อยูลอมรอบโลหะในไอออนเชิงซอนเรียกวา ลิแกนด (ligand) ใน
สารประกอบเชิงซอน ลิแกนด ทําหนาที่เปนเบสลิวอิส และอะตอมของโลหะทรานซิชันทําหนาที่
เปนกรดลิลอิส คือรับอิเล็กตรอนจากเบสลิวอิส
ในลิแกนด อะตอมที่สรางพันธะกับอะตอมโลหะโดยตรงเรียกวา อะตอมผูให เชน ใน
[Cu(NH3)4]2+ อะตอมผูใหคือ ไนโตรเจน ในสารประกอบโคออรดิเนชัน เลขโคออรดิเนชัน คือ
จํานวนอะตอมผูใหที่อยูลอมรอบอะตอมโลหะในไอออนเชิงซอน เชน Ag+ ใน [Ag(NH3)2]+ มีเลข
โคออรดิเนชันเทากับ 2 Cu2+ ใน [Cu(NH3)4]2+ มีเลขโคออรดิเนชัน เทากับ 4 และ Fe3+ ใน
[Fe(CN)6]3+ มีเลขโคออรดิเนชันเทากับ 6
ประโยชนของสารประกอบเชิงซอน
โลหะวิทยา
ตัวอยางการใชประโยชนของสารประกอบโคออรดิเนชันในโลหะวิทยา ไดแก การสกัด
เงินและทองคําโดยทําใหเกิดเปนสารเชิงซอนกับไซยาไนดไอออน และการทํานิกเกิลใหบริสุทธิ์
โดยทําใหกลายเปนสารประกอบ Ni(CO)4 ในสถานะแกส

ตัวคีเลตที่ใชบําบัดโรค
EDTA เปนคีเลตที่ใชในการบําบัดพิษจากตะกั่วผลจากการศึกษาพบวา สารประกอบ
เชิ ง ซ อ นบางชนิ ด ของ แพลทิ นั ม สามารถ ยั บ ยั้ ง การเติ บ โตของเซลล ม ะเร็ ง ได อ ย า งมี
ประสิทธิภาพ จากภาพแสดงรูปสารประกอบเชิงซอนของ Pt ซึ่งมีฤทธิ์ในการตานมะเร็ง สาร
เชิงซอนทั้งหมดนี้มีลักษณะสําคัญคือ มีลิแกนดคูหนึ่งที่เหมือนกันจัดตัวอยูในตําแหนงซิสตอกัน
สวน transdiamminedichloro-platinum (II) และไอโซเมอรแบบทรานสอื่นๆ ตางก็ไมมีฤทธิ์ตาน
มะเร็ง
NH3 Cl
Pt
Cl NH3

การวิเคราะหทางเคมี
ถึงแมวา EDTA จะจับตัวกับไอออนของโลหะไดมากมายหลายชนิด ตัวคีเลตบางชนิดก็
เลือกทําปฏิกิริยาที่จําเพาะเจาะจงกับโลหะบางชนิดเทานั้น เชน ไดเมทิลไกลออกไซม มีสูตร
โครงสรางดังนี้
CH3
C N OH
N OH
CH3
สามารถรวมตัวกับ Ni ไอออน เกิดเปนตะกอนสีแดงอิฐซึ่งไมละลายในน้ําและรวมตัวกับ Pd2+
2+

เปนตะกอนสีเหลือง สีที่เปนลักษณะเฉพาะดังกลาวนี้มีประโยชนในการวิเคราะหเชิงคุณภาพ คือ


ใชพิสูจนเอกลักษนของนิกเกิลและแพลเลเดียมได นอกจากนี้ยังวิเคราะหหาปริมาณของโลหะทั้ง
สองนี้โดยการวิเคราะหดวยน้ําหนัก ไดดวยวิธีการดังนี้ เติมไดเมทิลไกลออกไซมมากเกินพอลง
ในสารละลายที่มี Ni2+ อยู จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ กรองตะกอนออกทําใหแหง และนําไปชั่ง ก็
คํานวณหาปริมาณนิกเกิลในสารละลายเดิมได
การเจริญเติบโตของพืช
โลหะ บางชนิด มีสวนสําคัญในการเจริญเติบโตของพืชซึ่งหมายถึงโลหะบางชนิด เชน
เหล็ก ทองแดง แมกานิส และโมลิบดินัม เหล็กสวนใหญในสภาวะออกซิเดชัน +3 ในดินจะถูก
ไฮโดรไลซไปเปนไฮดรอกไซดซึ่งไมละลายน้ํา เชน Fe(OH)3 ซึ่งพืชใชเปนอาหารไมได พืชที่
ขาดเหล็ก มั ก เป น โรคที่ เรีย กว า ไอรอ อนคลอโรซิ ส (iron chlorosis) ซึ่ งทํ าให ใบกลายเป น สี
เหลือง โรคนี้ทําใหพืชประเภทสมมีผลผลิตลดลง วิธีแกคือใหเติมสารเชิงซอน Fe(III)-EDTA ลง
ในดิน สารเชิงซอนชนิดนี้ละลายในน้ําแลวดูดซึมเขาทางรากได และจะเปลี่ยนเปนอาหารที่พืช
นําไปเปนอาหารได ในดินที่เปนดาง ซึ่งไอรออนไฮดรอกไซดเกิดไดงาย

สารซักฟอก
การทําความสะอาดดวยสบูในน้ํากระดางทําไดยากเพราะ Ca2+ ในน้ําทําปฏิกิริยากับ
โมเลกุลสบู กลายเปนเกลือหรือไคลที่ไมละลายน้ํา ซึ่งถาเติมสารเชิงซอนประเภท โซเดียมไตร
พอลีฟอสเฟต (sodium tripolyphosphate) ไตรฟอสเฟตเปนตัวคีเลตที่รวมตัวกับ Ca2+ ไอออน
ได ดี เกิ ด เป น สารประกอบเชิ ง ซ อ นที่ เสถี ย รและละลายในน้ํ า ได แต ก็ มี ข อ เสี ย คื อ ถ าทิ้ ง สาร
ฟอสเฟตลงในแหลงน้ํามากๆ ทําใหพืชน้ําเจริญเติบโตดี และทําใหออกซิเจนในน้ําลดลง ซึ่งอาจ
ทําใหเกิดมลภาวะทางน้ําได
บทที่ 12
เคมีอินทรีย (Organic Chemistry)
เปนเคมีสาขาหนึ่งซึ่งศึกษาสารประกอบของคารบอน สารประกอบอินทรียสวนใหญอาจ
จํ า แนกออกได เพี ย งไม กี่ ป ระเภทเท านั้ น โดยพิ จ ารณาจากหมู ฟ งก ชั น ภายในโมเลกุ ล หมู
ฟงกชัน (functional group) คือ กลุมอะตอมที่แสดงสมบัติท างเคมีของโมเลกุล โมเลกุลตาง
ชนิดกันที่มีหมูฟงกชันชนิดเดียวกันจะเกิดปฏิกิริยาคลายๆกัน ดังนั้น ถาทราบสมบัติของหมู
ฟงกชันบางชนิด เราก็สามารถศึกษาสมบัติทางเคมีของสารประกอบอินทรียนั้นได สําหรับโครง
สร า งพื้ น ฐานของสารประกอบอิ น ทรี ย ทุ ก ชนิ ด ต อ งประกอบด ว ยสาร ไฮโดรคาร บ อน
(hydrocarbon) ประกอบดวยธาตุเพียง 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน และคารบอน สามารถแบงตาม
โครงสรางได 2 ประเภท คือ ประเภทอะลิฟาติก และประเภทอะโรมาติก
สารประกอบอินทรีย (organic compound) คือสารประกอบที่มี C เปนองคประกอบ มี
วาเลนซอิเล็กตรอน เทากับ 4 และสามารถสรางพันธะได 4 พันธะ

hydrocarbon

aliphatic aromatic

alkane cycloalkane alkene alkyne

อัลเคน (Alkane)
: มีสูตรทัว่ ไปเปน Cn H 2n + 2 เมื่อ n = 1, 2, 3, ...
: มีลักษณะเฉพาะคือ ตองเปนพันธะเดี่ยว
: C 1 - C 4 มีสถาระเปนแกส ถามีจํานวนคารบอนสูงกวานี้สวนใหญจะเปนของเหลว
และของแข็ง
ชื่อไฮโดรคารบอน จํานวนคารบอน สูตรโมเลกุล m.p. (oC) b.p. (oC)
methane 1 CH4 - 182.5 - 161.6
ethane 2 CH3 - CH3 - 183.3 - 88.6
propane 3 CH3 - CH2 - CH3 - 189.7 -42.1
butane 4 CH3 - ( CH2 )2 - CH3 - 138.3 -0.5
pentane 5 CH3 - ( CH2 )3 - CH3 - 129.8 36.1
hexane 6 CH3 - ( CH2 )4 - CH3 - 95.3 68.7
heptane 7 CH3 - ( CH2 )5 - CH3 - 90.6 98.4
octane 8 CH3 - ( CH2 )6 - CH3 - 56.8 125.7

Alkyl group : เปนหมูแทนที่ โดยที่จะไปแทนตําแหนงของ H อะตอมใน alkane


เชน CH3 - methyl
CH3 - CH2 - ethyl
CH3 - CH2 - CH2 - n-propyl

ไซโคลอันเคน (Cycloalkane) มีสูตรโครงสรางทั่วไปเปน ( Cn H2n ) คือ alkane ที่มีลักษณะ


เปนวง
CH CH 2 CH 2
2

CH CH 2 CH 2 CH 2
2

cyclopropane ( C3 ) cyclobutane ( C4 )
- C4 ขึ้นไปจะมี isomer
- cyclohexane ( C6 ) จะมี 2 isomer คือ
1. chair form 2. boat form

อัลคีน (Alkene)
อัลคืนหรือโอเลฟน (olefin) ประกอบดวยพันธะคูระหวางคารบอนกันคารบอนอยางนอย
1 พันธะ มีสูตรทั่วไปเปน (Cn H2n ) เมื่อ n = 2, 3, 4, ...

C C

- CH2 = CH2 (ethylene) มีความสําคัญในอุตสาหกรรมพลาสติก


- CH3CH = CHCH3 เรียก 2 – butene มี 2 isomers
CH 3 CH 3 CH 3 H
C C C C
H H H CH 3
cis - 2 - butene trans - 2 - butene

อัลไคน (Alkyne)
อัลไคน มีโมเลกุลที่มีพันธะสามระหวางคารบอนกับคารบอนอยางนอย 1 พันธะ มีสูตร
ทั่วไปเปน (Cn H2n - 2 ) เมื่อ n = 2, 3, 4, ... โดยภายโมเลกุลมีพันธะสาม (triple bond)
ระหวาง C กับ C อยางนอย 1 พันธะ
C C

HC CH acetylene หรือ ethyne ใชเตรียม vinyl chloride


→ CH2=CH-Cl ⎯⎯⎯⎯⎯ → PVC polymerization
HC CH + HCl
(vinyl chloride)

อะโรมาติก ไฮโดรคารบอน (Aromatic Hydrocarbon)


มีวงเบนซีนเปนแทนแสดงสมบัติความเปนอะโรมาติก คือมีพันธะคูสลับพันธะเดี่ยว มี
ลักษณะเปนวง และการดีโลคาไลส (delocalize) ของอิเล็กตรอนภายในวง
H
CH H H
CH CH

CH CH H H
CH
H

- H บนวงถูกแทนที่ดวยหมูแทนที่ จะทําใหสมบัติทางเคมีของสารประกอบเปลี่ยนไปขึ้นกับ
หมูแทนที่นั้นๆ
COOH CH3 OH CH = CH2 NH2

benzoic acid toluene phenol styrene aniline


- แทนที่ 2 ตําแหนงใช ortho- , meta- , para-
CH3 CH3
CH3 CH3
CH3

CH3
CH3 CH3
CH3

o - xylene m - xylene p - xylene 1, 3, 5 – trimethyl benzene

naphthalene anthracene phenanthrene

อัลกอฮอล (Alcohol) : ( R - OH )
: มีหมูไฮดรอกซิล ( -OH ) อยูในโมเลกุล
CH3 - OH : methanol, methyl alcohol, wood alcohol
: พิษ ตาบอด ถาดื่มหรือเขาสูรางกายในปริมาณทีเ่ หมาะสมอาจทํา
ใหเสียชีวิต
CH3CH2-OH : ethanol, ethyl alcohol
: ในเครื่องดื่ม เตรียมจากการหมักน้ําตาล
: alcohol ในอุตสาหกรรมเตรียมจาก ethylene (CH2=CH2)
H+
CH2 = CH2 + H2O ⎯→ C2H5OH
: Denatured alcohol คือ ethyl alcohol ที่มี CH3OH หรือ สารอื่นเจือปน

: alcohol ที่มีหมู -OH มากกวา 1 หมู เชน

CH2 OH เรียก ethylene glycol ใชเปน antifreeze เติมหมอ


น้ํารถ
CH2 OH
CH2 OH
เรียก glycerol หรือ glycerine
CH OH เตรียมจากปฏิกิริยาระหวางไขมันกับ NaOH ในอุตสาหกรรม
ทําสบู CH2 OH
ใชเปนสวนประกอบในยา และสารใหความชุมชื้น
อีเทอร (Ether) ( R O R )
: ประกอบดวยพันธะ R – O – R′ เมื่อ R หรือ R′ เปนหมูแอลคิล หรือ เอริล
เชน CH3-CH2-O-CH2-CH3 diethyl ether
- ยาสลบ ยาชา มีอาการขางเคียงอยางอื่นประกอบดวย
- เปนตัวทําละลาย (solvent)
CH3-O-CH2CH3 methyl ethyl ether
- ใชเปนยาสลบไดดีกวา ไมเกิด side effect

แอลดีไฮด (Aldehyde)
C O
H
: มี H อยางนอย 1 อะตอม ที่สรางพันธะกับ C ในหมูคารบอนิล
เชน O
H C H
formaldehyde ใชทําน้ํายา formalin, polymer
O
acetaldehyde ผลจากการ oxidize ethanol
CH3 C H
กินเหลา - เมา เพราะสารนี้ ถาตกคางจะทําใหตบั แข็ง

R
คีโตน (Ketone) C O เมื่อ R และ R′ เปนหมูแอลคิลหรือเอริล
R
: ไมมี H ที่สรางพันธะกับ C ในหมูคารบอนิล เชน
O
CH3 C CH3 acetone เปน solvent ที่ดีในอุตสาหกรรม

O
C OH

กรดคารบอกซิลิก (Carboxylic acid) ( R-COOH )


: มีหมูคารบอกซิล ( –COOH ) อยูในโมเลกุล
เชน CH3-COOH เรียก acetic acid หรือ กรดน้ําสม
HCOOH เรียก formic acid หรือ กรดมด

อีเทอร (Ester) O
C OR
- มาจาก carboxylic acid + alcohol , มีกลิ่นหอม
O
O
CH2 O C R
CH3 C O C2H5 O
ethyl acetate CH O C R ไขมันเปนเอสเทอร
O
CH2 O C R
เอมีน (Amine) R
N
R
: เปนสารอินทรีย ที่มีสมบัติเปนเบส
: สูตรทัว่ ไป คือ R3N เมื่อ R อาจเปน H, หมูแอลคิล หรือ หมูเอริล
: มีกลิ่นเฉพาะตัว (ปกติมีกลิ่นคาวของปลา)

CH3 - NH2 CH3CH2 - NH2 NH2

methyl amine ethyl amine aniline

ตารางที่ 1 Functional groups

Functional groups name


alkene
C C
C C alkyne
R - X (X = F, Cl, Br, I) halide
R - OH Alcohol
C O carbonyl

C O Aldehyde
H
R Ketone
C O
R
O
Caboxylic acid
C OH
O Ester
C OR

R O R Ether
R
N Amine
R
น้ํามันปโตรเลียม (Petroleum)
ปโตรเลียม โดยทั่ วไปหมายถึง น้ํามันดิบ (crude oil) ซึ่งประกอบด วย สารประกอบ
alkane , alkene , cycloalkane และสารประกอบ aromatic เมื่อนํามาผานกระบวนการกลั่น
ลําดับสวน (fractional distillation) แยกตามจุดเดือดของสาร ดังตาราง

fraction C-atom boiling point range ( การใชงาน


o
C)
natural gas C 1 – C4 -161 – 20 เชื้อเพลิง กาซหุงตม
petroleum ether C 5 – C6 30 – 60 ตัวทําละลาย
Gasoline C6 – C12 30 – 180 เชื้อเพลิง
Kerosene C11 – C16 170 – 290 เชื้อเพลิง
Heating fuel oil C14 – C18 260 – 350 เชื้อเพลิง
Lubricating oil C15 – C24 300 - 370 สารหลอลืน่

Polymer : ประกอบดวยหนวยเล็กๆ (monomer) ตอกันเปนโมเลกุลใหญ


: อาจมีอยูตามธรรมชาติ เชน ยาง แปง เซลลูโลส โปรตีน หรือสามารถสังเคราะหได

ชนิดของ polymer
1. addition polymer : การเติม monomer ไปที่ monomer อื่นเรื่อยๆ
CH2 = CH2 → ∼ CH2 - CH2 - CH2 - CH2 - CH2 ∼
ethylene polyethylene

CH2 = CH
CH2 CH CH2 CH CH2 CH
Cl
vinyl chloride polyvinyl chloride
Cl Cl Cl

- Homopolymer = polymer ที่ เ กิ ด จาก monomer ชนิ ด เดี ย วกั น เช น polyethylene = n
( C 2 H4 )
- Copolymer = polymer ที่เกิดจาก monomer ตางชนิดกัน
เชน styrene + butadiene → ยางสังเคราะห (styrene butadiene rubber : SBR)
2. Condensation polymer : เปน polymer ที่เกิดจาก monomer ที่มี functional
group > 2
เชน
H2N ( CH2 )6 NH2 + HOOC ( CH2 )4 COOH
condensation

O
H2N ( CH2 )6 NH C ( CH2 )4 COOH
condensation

O
Nylon 66O O
( CH2 )4 C ( CH2 )6 NH C ( CH2 )4 C NH ( CH2 )6 NH

O O

HO C C OH + HO CH2CH2 OH
Terephthalic acid ethylene glycol

O O

C C O CH CH2 O
Dacron ( polyester2 ) n
ชนิดของพลาสติก
1. Thermoplastic : พลาสติกหลอมใหมได
- นิยมมากที่สุด
- ถูกความรอน หลอมเปลี่ยนรูป
เชน polyethylene (PE), polypropylene (PP), polystyrene (PS)
2. Thermosetting plastics : พลาสติกทนความรอน
- หลอมใหมไมได เปลี่ยนรูปไมได
- ทนสารเคมี
เชน melamine , epoxy , polyurethane
Natural polymer หรือ macromolecule ที่มีตามธรรมชาติไดแก
1. Carbohydrates
2. Proteins
3. Rubber

You might also like